Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทความวัฒนธรรมสัมพันธ์

บทความวัฒนธรรมสัมพันธ์

Published by phudindanchanathip, 2022-03-02 15:46:57

Description: บทความวัฒนธรรมสัมพันธ์

Keywords: บทความวัฒนธรรมสัมพันธ์

Search

Read the Text Version

วฒั นธรรมสมั พนั ธ์ : ชเู ชดิ เกยี รติ “ปราชญผ์ รู้ ู้ ครผู สู้ บื สาน” มรดกภมู ปิ ญั ญาทางวฒั นธรรม1 อนรุ กั ษ์ เรยี งสขุ 2 ในปีพทุ ธศักราช 2548 มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ โดยสำนกั วัฒนธรรม (ปจั จบุ นั คือ ศนู ย์วฒั นธรรม) ไดจ้ ัด งานยกย่องเชิดชเู กยี รติ “ศิลปนิ มรดกอีสาน” ขึ้นเปน็ ปีแรก เน่อื งในโอกาสวันคล้ายวนั พระราชสมภพสมเด็จ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี และวันอนุรักษม์ รดกไทย โดยมีวตั ถุประสงค์เพื่อยกย่องเชิดชู เกยี รตศิ ิลปินในสาขาทัศนศิลป์ วรรณศลิ ป์ และศิลปะการแสดง ผเู้ ป็นตน้ ธารของการสร้างสรรค์ศลิ ปกรรมที่ สะท้อนอตั ลักษณ์ทอ้ งถิ่นอีสาน จนกลายเปน็ มรดกตกทอดสอู่ นุชนรุ่นหลงั ในกาลต่อมา (มารศรี สอทิพย,์ และ พมิ พช์ นก ศรีคง.(บรรณาธกิ าร), 2562) ตอ่ มาในปีพุทธศกั ราช 2551 ได้มกี ารมอบรางวัลให้กบั ผู้ทำคณุ ประโยชนใ์ นดา้ นวัฒนธรรม เรยี กวา่ “วฒั นธรรมสัมพนั ธ์” ขึ้น เพ่อื ยกยอ่ งผู้นำศลิ ปะและภูมิปัญญาท้องถ่ินมาเชอ่ื มโยงสัมพนั ธ์ให้เกิดประโยชนส์ ุข ศานติในชมุ ชนและสังคมอสี านอยา่ งยั่งยืน ซง่ึ เปน็ สว่ นสำคัญยิ่งต่อการนำพาสงั คมอสี านให้เป็นสงั คมที่อุดมดว้ ย โยนโิ สมนสิการ สามารถเชือ่ มร้อย ความดี ความจริง และความงามเข้าด้วยกัน การยกย่องผู้ทำคณุ ประโยชน์ใน ดา้ นวฒั นธรรมหรือ “วัฒนธรรมสัมพนั ธ์” จึงเป็นการเชิดชูเกยี รติผู้ทส่ี บื สานมรดกภูมปิ ัญญาทางวัฒนธรรม คำวา่ “มรดกภูมปิ ัญญาทางวัฒนธรรม” คณะกรรมการวฒั นธรรมแห่งชาติ(2552 อา้ งใน กลมุ่ สงวน รกั ษามรดกภมู ิปัญญาทางวัฒนธรรมและกลุ่มประชาสมั พนั ธ์ กรมสง่ เสริมวฒั นธรรม,2561) ได้ให้ความหมาย ไวว้ ่า “ความรู้ การแสดงออก การประพฤติปฏบิ ัติหรือทักษะทางวัฒนธรรมท่ีแสดงออกผา่ นบุคคล เคร่ืองมือ หรือวัตถุ ซง่ึ บคุ คลหรือชุมชนยอมรับและรู้สึกเปน็ เจา้ ของร่วมกนั และสืบทอดจากรุ่นหน่ึงไปส่อู ีกรุ่นหนง่ึ โดย อาจมีการปรบั เปล่ียนเพ่ือตอบสนองตอ่ สภาพแวดล้อมของตน” มรดกภูมิปญั ญาทางวัฒนธรรมจงึ มงุ่ เน้นการ ถ่ายทอดจากคนร่นุ หนงึ่ ไปยังคนอกี รุน่ หน่ึง โดยเปน็ สง่ิ ที่ชุมชนและกลุ่มชนสรา้ งขึน้ มาอย่างสม่ำเสมอ เพ่อื ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน และเปน็ ปฏิสัมพันธ์ของคนทม่ี ตี ่อธรรมชาตแิ ละประวตั ศิ าสตร์ของตน ทำใหค้ นเหล่านัน้ เกิดความภาคภูมิใจในตวั ตน กอ่ ใหเ้ กดิ ความเคารพตอ่ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและ การคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ภูมิปัญญาพนื้ ถิ่นอสี านคอื ผลของพฒั นาการการปรบั ตัวและปรับวิถีชวี ิตของคนไท – ลาวและกลุ่มชาติ พันธอ์ุ ่ืน ๆ ทอ่ี ยู่รวมกบั ธรรมชาตแิ วดลอ้ มรายรอบทรี่ าบสูงกว้างใหญ่ของพนื้ ที่อษุ าคเนย์ อันมีแม่น้ำโขง ชี มูล หล่อเลยี้ งชีวติ เมือ่ มแี มน่ ำ้ จึงก่อใหเ้ กดิ ชีวิต สงั คม ภมู ิปัญญา และวฒั นธรรมตามมา เนอื่ งจากวฒั นธรรมอีสาน และวฒั นธรรมลาวมคี วามสัมพันธเ์ ชิงชาตพิ นั ธ์ุและอำนาจใกลช้ ิดกนั มาก อีกท้ังมกี ารอพยพเคล่ือนย้าย ประชากรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากฝ่งั ตะวนั ออกของแม่น้ำโขงสตู่ ะวันตกในชว่ งสมยั รัตนโกสินทร์ วิถีชวี ติ 1 บทความนี้เปน็ ส่วนหนึง่ ของการปฏบิ ตั สิ หกจิ ศกึ ษา ณ ศนู ยศ์ ิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ ปกี ารศึกษา 2564 2 นกั ศึกษาปฏิบตั สิ หกิจศกึ ษา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

ของสองฝ่ังแม่น้ำโขงจึงมีความคล้ายคลึงกันจนยากที่จะแยกแยะความแตกตา่ งได้ อนง่ึ ในมติ ิของประวัติศาสตร์ วิถชี ีวติ และภูมิปญั ญาอสี าน มีรากฐานมาจากวฒั นธรรมทไ่ี ดร้ บั แตกต่างกันตามลกั ษณะภูมปิ ระเทศ อาทิ รากฐานวัฒนธรรมล้านช้าง - ลา้ นนา ในพ้ืนท่ีอีสานตอนบนและแอง่ สกลนคร วัฒนธรรมขอมในบริเวณอสี าน ตอนใต้ และวัฒนธรรมสยามสมัยกรงุ ศรีอยุทธยาและรัตนโกสินทรใ์ นพ้นื ท่ีแอง่ โคราช ดว้ ยเหตุปจั จยั ทาง ภมู ิศาสตร์และประวัตศิ าสตร์น้ี จึงทำให้วัฒนธรรมและภมู ิปญั ญาอีสานมีความหลาหลายมิใช่นอ้ ย อยา่ งไรกต็ าม ลักษณะร่วมของภมู อิ ากาศ ระบบนิเวศ อทิ ธพิ ลของพุทธศาสนาวัฒนธรรมขา้ วและสายสมั พนั ธท์ างชาติพันธ์ุ ลว้ นเปน็ องค์ประกอบสำคญั ที่มอี ิทธิพลในการหล่อหลอมวถิ ีชีวิตของชาวอีสานโดยรวม และเกื้อกูลใหเ้ กิด พัฒนาการทางภูมปิ ัญญาที่มีลักษณะเดน่ เป็นของอสี าน ซ่ึงอาจนำมาสืบสานหรือประยุกตใ์ หเ้ กิดประโยชนใ์ น บรบิ ทใหม่แห่งปจั จบุ นั และอนาคตได้ (เอกวทิ ย์ ณ ถลาง,2554) มหาวทิ ยาลัยขอนแก่นในฐานะท่ีเปน็ ฐานของการศึกษาในท้องถ่นิ และเปน็ มหาวิทยาลยั เพื่อชมุ ชน ตามปณิธานที่ไดต้ ั้งไว้ จงึ ได้กำหนดแนวทางในการผลิตบัณฑิต การศึกษาวิจัย การบริหารจดั การวิชาการ และ การทำนุบำรุงศิลปวฒั นธรรมให้สอดรบั กับฐานความรู้ภูมปิ ัญญาท้องถน่ิ โดยเชอื่ มโยงกับภมู ปิ ญั ญาสากลท่ีต้อง ผสานท้ังเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสงั คมยุค 4.0 เขา้ ดว้ ยกนั ภายใต้แนวคดิ “ไมห่ ลงของเก่า ไม่เมาของใหม่” แต่ดำเนนิ ไปอย่างสอดคล้องและเหมาะสมเพื่อใหเ้ กดิ ความตระหนกั รใู้ นคณุ ค่าของตวั เอง และสามารถนำ ความร้แู ละความภาคภมู ใิ จไปพฒั นาตอ่ ยอดให้เกดิ มูลคา่ (มารศรี สอทิพย์, และพิมพช์ นก ศรคี ง.(บรรณาธิการ), 2562) ภารกจิ ดา้ นการทำนุบำรุงศลิ ปวฒั นธรรม เป็น 1 ใน 4 พนั ธกจิ หลกั ท่ีทีส่ ำคญั ของ มหาวิทยาลยั ขอนแก่นท่ีไดด้ ำเนินการมาอยา่ งต่อเนอื่ งตั้งแตก่ อ่ ต้ังมหาวิทยาลยั จนถึงปจั จุบนั ภายใตค้ วาม ห่วงใยและใสใ่ จ (Caring) ในคณุ คา่ ของศิลปวัฒนธรรมทอ้ งถน่ิ โดยการเชื่อมโยงการจัดการองคค์ วามรู้ (Connecting) กับศลิ ปวฒั นธรรมทเ่ี ปน็ ภูมิปญั ญา เพราะ “ภูมปิ ญั ญาทางวัฒนธรรม” คือ ความเจริญงอกงาม ทเี่ กดิ จากการเรยี นรู้และสะสมทมี่ าจากแผ่นดนิ ถน่ิ เกิด ซงึ่ ชุมชนใด สงั คมใดท่ีอยู่มาได้นานต้องมีภูมปิ ัญญาเปน็ ของตนเอง ซง่ึ แนน่ อนว่าภูมภิ าคอีสานคือแหล่งที่อดุ มไปด้วยภูมิแผ่นดินทลี่ ้ำค่ามากมายดว้ ยคุณค่าในมลู มัง มรดก (ทรงวทิ ย์ พิมพะกรรณ์, และมารศรี สอทิพย์ (บรรณาธิการ), 2557) การจัดโครงการยกย่องเชดิ ชูเกียรติ “ศลิ ปินมรดกอสี าน สืบสาน วฒั นธรรมสัมพันธ์” ถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของมหาวทิ ยาลัยขอนแก่นท่ีได้ ทำนุบำรุงศลิ ปวัฒนธรรมพื้นถ่ินอนั เปน็ เสมือนขุมปัญญาอีสานตงั้ แตเ่ ร่มิ ก่อต้ังมหาวิทยาลัย และดำเนินเร่ือยมา จนถงึ ปจั จบุ นั เพ่ือยกยอ่ งคุณงามความดีของ “อมรศลิ ปิน” และ “ศิลปินมรดกสาน” ผเู้ ปน็ ตน้ แบบของการ รงั สรรค์คุณค่าความงามใน 3 สาขา คือ ทัศนศลิ ป์ วรรณศลิ ป์ และศลิ ปะการแสดง อกี ทัง้ เชดิ ชู “นักวฒั นธรรม สัมพันธ์” ผูเ้ ปน็ ปราชญ์ภูมปิ ัญญาที่ไดป้ ระยุกต์ใชว้ ัฒนธรรมเพ่ือก่อใหเ้ กิดคุณคา่ ต่อสงั คมในดา้ นต่าง ๆ ไดแ้ ก่ 1. ดา้ นเกษตรกรรม 2.ด้านอตุ สาหกรรมและหตั ถกรรม 3.ดา้ นแพทย์แผนไทย 4.ดา้ นนเิ วศนว์ ฒั นธรรมและ สง่ิ แวดลอ้ ม 5.ดา้ นวสิ าหกจิ และธรุ กจิ ชมุ ชน 6.ดา้ นศลิ ปกรรม 7.ดา้ นภาษาและวรรณกรรม 8.ดา้ นศาสนาและ

ประเพณี 9.ดา้ นอาหารและโภชนการ และ10.ดา้ นสอ่ื สารวฒั นธรรม ซ่งึ ทงั้ ศลิ ปนิ และนักวฒั นธรรมสัมพันธ์ท่ี ได้รับยกย่องเชิดชูนัน้ ล้วนเปน็ “ปราชญ์” และ “คร”ู ผสู้ ร้างคุณูประโยชนใ์ นกับสังคมและประเทศชาติอยา่ ง ต่อเน่ือง คำว่า “คร”ู นนั้ ก็เปน็ คำเกา่ ท่ีเรยี กผูท้ ่ีมหี นา้ ทปี่ ระสิทธป์ิ ระสาทวิชา หรือถ่ายทอดสรรพความในดา้ น ตา่ ง ๆ แก่ลกู ศิษย์ หากแปลตามรูปศพั ท์ภาษาบาลี-สนั สกฤต แปลวา่ ผหู้ นัก หมายถึง ผู้ที่ตอ้ งมภี าระหนกั ใน การทจ่ี ะอบรมสัง่ สอนศิษย์และในการถา่ ยทอดวิชาความรู้ให้แก่ศษิ ย์ ในทางพระพทุ ธศาสนาถอื กนั ว่า ครูเปน็ ทิศเบ้อื งขวา เพราะเป็นบุคคลทีส่ ำคัญยิ่งในอนั ท่จี ะสรา้ งบคุ คลในสังคมใหเ้ ปน็ ผมู้ ีความรู้ มีคณุ ธรรม อนั จะเปน็ กำลังทางสงั คมของประเทศชาติต่อไป สว่ นในแวดวงศิลปวัฒนธรรมมกั จะเรยี ก “คร”ู กับผูท้ ีม่ หี นา้ ทีป่ ระสทิ ธ์ิ ประสาทวิชาและถ่ายทอดองคค์ วามร้ใู นด้านต่าง ๆ ให้แกศ่ ิษย์ รวมถึงผ้ทู ี่ทำหน้าทีส่ รา้ งสรรค์ผลงานดา้ น วรรณกรรมอีกด้วย คนกลมุ่ น้ีเป็นผู้มกี ารศึกษา รหู้ นงั สือ ซึ่งส่วนใหญ่จะเปน็ พระสงฆ์ หรือผทู้ ี่ลาสกิ ขาออกมา เป็นฆราวาส แตม่ ีความรู้ในดา้ นวรรณกรรมจงึ ทำหนา้ ทสี่ รา้ งสรรค์และถ่ายทอดความร้ผู ่านการแต่งหนังสือการ จารใบลาน การอ่านวรรณกรรม เปน็ ต้น(ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, และมารศรี สอทพิ ย์ (บรรณาธกิ าร),2561) ปราชญ์ ในความหมายของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา(ม.ป.ป.) ให้ความหมายไว้ว่า “ผูม้ ีปัญญารอบ รู้” ผ้เู ปน็ ปราชญ์คือผทู้ ี่แกไ้ ขปัญหาต่าง ๆ ทเี่ กิดขึน้ ในชุมชนหรือสังคมของตน โดยใชค้ วามรู้จากการส่ังสม ประสบการณ์ไมว่ ่าจะดว้ ยวธิ กี ารสบื ทอดมาจากบรรพบุรุษ การคดิ ค้น การทดลอง การเรียนรูด้ ว้ ยวธิ ีการลอง ผดิ ลองถูก จนสามารถถ่ายทอดองค์ความร้ใู ห้คนในชมุ ชนและสงั คมได้รับรู้ ทำให้เกิดการเรยี นรูแ้ ละสามารถ นำไปใช้ในการดำรงชวี ิตรวมท้ังสามารถแกไ้ ขปญั หาในชุมชนไดจ้ นประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับในชมุ ชน และสงั คม ปราชญ์จึงถือเป็น “ผรู้ ู้ในทอ้ งถน่ิ ” ท่ีทำหนา้ ที่แกไ้ ขปัญหาต่าง ๆ ในชมุ ชน เป็นเจ้าของภมู ิปัญญา และนำภูมิปญั ญามาใช้ประโยชนใ์ นการดำรงชวี ติ จนประสบผลสำเรจ็ “ปราชญ์” และ “ครู” จงึ เป็นบคุ คลสำคญั ในการสร้างสรรคส์ ังคม สืบสานองคค์ วามรู้ ภูมิปัญญาอัน ลำ้ ค่าและถา่ ยทอดสู่ศษิ ยานศุ ิษย์และอนชุ นรุ่นหลังให้เห็นถึงวฒั นธรรมอันดีงามที่คงอยเู่ รื่อยมา การจัดงานเพื่อ ยกย่องเชิดชูเกียรติปราชญแ์ ละครูเชน่ งาน “ศิลปินมรดกอีสาน สืบสาน วฒั นธรรมสมั พันธ์” จงึ เป็นการสร้าง กระบวนการสรา้ งให้เกิดการรับรู้และตระหนักรู้ เห็นถึงคณุ คา่ ของมรดกภมู ปิ ัญญาทส่ี ่งั สมอยูใ่ นตวั บุคคลให้กบั สงั คมไดป้ ระจักษ์ เพื่อให้ท่าเกิดความภาคภูมิใจในตวั ตน และเกิดศรทั ธาในการสร้างสรรค์สังคมให้เปน็ สังคม อุดมปญั ญา อีกทง้ั เพื่อสง่ ตอ่ ความรอู้ ันเปน็ ขุมปญั ญา และแรงบนั ดาลใจจากปชู นยี บคุ คลท่ีเป็นปราชญ์และครสู ู่ สังคม สูค่ นรุ่นใหม่สืบไป

อา้ งองิ กล่มุ สงวนรักษามรดกภมู ปิ ัญญาทางวัฒนธรรมและกล่มุ ประชาสมั พนั ธ์ กรมสง่ เสริมวฒั นธรรม. (2561). มรดก ภมู ปิ ญั ญาอสี าน. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พช์ ุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. ทรงวทิ ย์ พมิ พะกรรณ์, และมารศรี สอทิพย์ (บรรณาธิการ). (2557). ศลิ ปนิ มรดกอสี าน สบื สาน วฒั นธรรม สมั พนั ธ์ 2557. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ . ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ,์ และมารศรี สอทิพย์ (บรรณาธกิ าร). (2561). ศลิ ปนิ มรดกอสี าน สบื สาน วฒั นธรรม สมั พนั ธ์ 2561. ขอนแกน่ : โรงพมิ พม์ หาวิทยาลยั ขอนแกน่ . มารศรี สอทิพย์, และพิมพช์ นก ศรีคง.(บรรณาธกิ าร). (2562). ศลิ ปนิ มรดกอสี าน สบื สาน วฒั นธรรมสัมพันธ์ 2562. ขอนแกน่ : โรงพิมพ์มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น. สำนักงานราชบณั ฑิตยสภา. (ม.ป.ป.). พจนานุกรม ฉบบั ราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ. 2554. สบื คน้ เมอื่ 6 มกราคม 2565, จาก https://dictionary.orst.go.th/ หอมหวน บัวระภา(บรรณาธกิ าร). (2551).ศลิ ปนิ มรดกอสี าน 2551. ขอนแกน่ :หจก.ขอนแก่นการพิมพ์. เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2554). ภมู ิปญั ญาอสี าน. กรงุ เทพ ฯ : อมรินทร์.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook