Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทความศิลปวัฒนธรรมหมอลำออนไลน์

บทความศิลปวัฒนธรรมหมอลำออนไลน์

Published by phudindanchanathip, 2022-03-02 15:33:19

Description: บทความศิลปวัฒนธรรมหมอลำออนไลน์

Keywords: บทความศิลปวัฒนธรรมหมอลำออนไลน์

Search

Read the Text Version

1 บทความวชิ าการดา้ นศิลปวัฒนธรรม ศลิ ปวัฒนธรรม: “หมอลาเรือ่ งตอ่ กลอน” การจดั การจาก Onsite สู่ Online ท่ามกลางสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคตดิ เชอื้ ไวรัส COVID – 191 Arts & Culture: \"Mohlamruangtorklon\" Management from Onsite to Online In the midst of the COVID – 19 pandemic พงษศ์ กั ดิ์ บุตรดาวาปี2 Pongsak Bootdavapee บทคัดยอ่ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการรูปแบบการแสดงหมอลาเรื่องต่อกลอน ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID – 19 ทั้งรูปแบบวิธีการแสดง และการปรบั ตวั ของคณะหมอลาต่าง ๆ การศกึ ษาในคร้ังนีน้ ักศึกษาไดร้ วบรวมจากบทความในสื่อออนไลน์ท่ีได้ เผยแพร่มาก่อนหน้าน้ี รวมถึงเอกสารวิชาการ บทความ วิจัย เว็บไซต์วิชาการต่าง ๆ โดยพบว่า สภาพปัญหา ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบต่อคณะหมอลาเรื่องต่อ กลอนซึ่งได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ส่วนการจัดการรูปแบบการแสดงหมอลานั้น คณะหมอลา ใช้กลวิธีในการปรับรูปแบบการแสดงโดยใช้ช่องทางออนไลน์ และนาเอาสื่อเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามาประกอบ มากขึ้น พร้อมกับปรับกลยุทธ์ในการทางานให้สามารถพยุงคณะหมอลาของตนให้อยู่ต่อไปได้ และนาเสนอ ผ่านช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ โดยการจัดการด้วยระบบสมาชิก โดยการสร้างกลุ่ม Facebook ขึ้นมาเพื่อคัดกรองผู้เข้าชมและเสียค่าบริการในการรับชม เสมือนการเก็บบัตรหน้างาน และช่องทาง YouTube ทีท่ างคณะหมอลาเปิด Channel เปน็ ของตนเองเพ่ือเก็บรายได้จากยอดผู้เขา้ ชมอีกทางหน่ึง คาสาคัญ: ศลิ ปวฒั นธรรม, หมอลาเรื่องต่อกลอน, การจัดการ, โรคติดเชอื้ ไวรสั COVID – 19 1 บทความวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมน้ี เป็นผลงานส่วนหนึ่งในการฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษาฝึกสหกิจศึกษา มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ ภายใต้การดูแลขของศูนย์ศิลปวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแก่น 2 นักศึกษาฝึกสหกิจศึกษา รหัสนักศึกษา 613420104 – 5 สาขาวิชาสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต คณะสหวทิ ยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วทิ ยาเขตหนองคาย

2 บทนา: เปิดผา้ มา่ นก้งั การแพรร่ ะบาดของไวรสั โควดิ – 19 ในปี 2563 ท่ีผา่ นมา ได้ส่งผลกระทบต่ออตุ สาหกรรมสื่อ และบันเทิงทั่วโลกอย่างรุนแรง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่า ทาให้มูลค่าการใช้จ่ายในอุตสาหกรรมลดลง โดยผลสารวจทิศทางอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงในปี 2563 – 2567 ของบริษัท PricewaterhouseCoopers (PwC) พบว่า มูลค่าการใช้จ่ายในอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงทั่วโลกในปี 2563 ลดลง 5.6% ในขณะทอี่ ตุ สาหกรรมสอื่ และบันเทงิ ในประเทศไทยก็ลดลง 2% เช่นกนั อยา่ งไรก็ดคี าดการณว์ า่ ในปนี ี้ (2564) จะสามารถฟื้นตัวได้จากการที่ธุรกิจต่าง ๆ และผู้บริโภคเองสามารถปรับตัว ปรับรูปแบบการดาเนินธุรกิจ รวมถึงภาพรวมความเชื่อมั่นที่คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้นหลังหลายประเทศเริ่มมีการแจกจ่ายและฉีดวัคซีน ให้กับประชาชน ซึ่งทั้งหมดน่าจะทาให้ผู้คนเริ่มกลับมาใช้จ่ายและภาคธุรกิจกลับมาลงทุนได้ในที่สุด (ธติ ินนั ท์ แว่นแก้ว, 2564) สาหรับประเทศไทยนั้น อุตสาหกรรมธุรกิจบันเทิงของไทยก็เป็นกลุ่มธุรกิจแขนงใหญ่ อีกแขนงหนึ่งที่ได้รับผลกระทบหนักจากไวรัส COVID – 19 สาหรับประชาชนที่เกี่ยวข้องกับอาชีพแขนงน้ี ของประเทศไทยนั้นคาดการณ์ว่ามีมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประเภทนี้ก็ประกอบไปด้วย กลุ่มประชาชนหลากหลายสาขา ได้แก่ พนักงานในร้านคาราโอเกะ, พนักงานในสถานอาบอบนวด, พนักงาน ในไนต์คลับทั้งนักร้อง นักดนตรี, พนักงานเสิร์ฟอาหาร, พนักงานบริการ, บาร์น้าเครื่องดื่ม, เชฟ พ่อครัว แม่ครัว, พนักงานทาความสะอาด, นักการภารโรง, ยาม หรือ รปภ., นักแสดงและนักเต้นราตามสถานบันเทงิ , นักมวยชาย – หญิง, พี่เลี้ยงนักมวย, โค้ชมวย, โฆษก, พิธีกร, วงดนตรี, หมอลา, นาฏดนตรี, ครูรามโนราห์, นายหนังตะลุง เป็นต้น (บทบรรณาธิการ, 2563) ทาให้หลายภาคส่วนได้นาเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วย ประคับประคองธุรกิจของตนนั้นให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 นี้ไปได้ โดยมีการใช้ Platform Online เช่น Facebook, การเปดิ ช่อง YouTube คณะหมอลาก็ถือเป็นองค์กรธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมธุรกิจบันเทิงอีกประเภทหนึ่ง ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว อันเนื่องมาจากการ ทาการแสดงที่มีผู้คนนับร้อย นับพันเข้ามาชมการแสดง รวมถึงตัวโครงสร้างองค์กรเองที่ใช้บุคลากร ในการทางานจานวนมาก เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ส่งผลให้ต้องระงับการแสดงไป ในช่วงหลายเดอื นทผ่ี า่ นมา (ตั้งแต่มนี าคม 2563) ส่งผลใหว้ งหมอลาหลายคณะไดป้ รบั รูปแบบการทาการแสดง จากการแสดงในพื้นที่จริง การแสดงหน้าเวที (Onsite) สู่การแสดงในรูปแบบ Live Streaming ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เช่น การเปิดกลุ่มปิดโดยระบบสมาชิก Live Streaming ผ่าน Facebook เพื่อทาการแสดงหมอลา เป็นการปรับตัวใช้โซเชียลมีเดีย จัดไลฟ์การแสดงในระบบสมาชิกเพื่อให้วงหมอลา ของตนนั้นมีรายได้ และอยู่รอดในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ซึ่งน่าสนใจว่า รูปแบบกระบวนการจัดการ การปรับตัวดังกล่าวก่อให้เกิดผลอย่างไร และสามารถเพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมหมอลา ให้คงอยู่หรือสามารถทาการแสดงในสถานการณ์เช่นนี้ได้อย่างไร

3 โดยในเนื้อหาบทความผู้เขียนจะได้นาเสนอถึงรูปแบบ กลวิธีในการปรับเปลี่ยนการบริการจัดการ รูปแบบ การแสดงหมอลาของคณะหมอลาเร่ืองต่อกลอนในภาคอสี าน วตั ถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการและรูปแบบการแสดงหมอลาของคณะหมอลาเรื่องต่อกลอน ในภาคอสี านทา่ มกลางสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชื้อไวรัส COVID – 19 ศัพท์เฉพาะ : ศลิ ปวัฒนธรรม, หมอลาเร่อื งต่อกลอน, การจัดการ, โรคติดเชื้อไวรสั COVID – 19 พัฒนาการหมอลาเร่ืองตอ่ กลอนในภาคอีสาน หมอลานั้นมีอยู่หลายประเภททั้งท่วงทานองการขับลา และรูปแบบการแสดง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือหมอลาหมู่ คาว่า “หมอลาหมู่” หรือ “หมอลาเรื่องต่อกลอน” เป็นลาหมู่ตามรูปศัพท์ หมายถึงการร้องเป็นหมู่ ความจริงลาหมู่เป็นการแสดงของกลุ่มศิลปินหมอลาหมู่ การลาหมู่เพิ่งจะเกิดขึ้นได้ เมื่อประมาณ 50 – 60 ปี สิ่งที่เกิดมาก่อนลาหมู่คือ ลาพื้น และได้แบบอย่างการลามาจาการลาพ้ืน และลากลอน (สานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคาแหง, ม.ป.ป.) เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปวิวัฒนาการ ของหมอลาหมู่ เป็นการลาที่มีผู้แสดงครบหรือเกือบจะครบตามจานวนตัวละครในเรื่องที่ดาเนินการแสดง มีอุปกรณ์ประกอบ ทั้งฉาก เสื้อผ้าสมจริงสมจัง และยังมีเครื่องดนตรีประกอบ แต่เดิมที่มีหลัก ๆ คือ พิณ (ซุง หรือ ซึง) แคน กลอง การลาจะมี 2 แนวทาง คือ ลาเวียง และลากลอน ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพล มากขึ้นจึงเกิดวัฒนาการของหมอลาหมู่อีกครั้งหนึ่ง โดยได้ประยุกต์กลายเป็น ลาเพลิน ซึ่งมีจังหวะที่เร้าใจ ชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลาเรื่องในช่วงหัวคาจะมีการนาเอารูปแบบของวงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้องมาร้องเพลงลูกทุ่งหรือบางคณะหมอลาได้นาเพลงสตริงที่กาลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น มาขับร้อง มีหางเครื่องหรือแดนซ์เซอร์เต้นประกอบ นาเอาเครื่องดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีต้าร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเป็ต และกลองชุด เป็นต้น โดยนามาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิม ได้แก่ พิณ แคน ทาให้ได้รสชาติของดนตรีท่ีแตกตา่ งออกไป ในปัจจุบันนี้นับวา่ หมอลาเฟื่องฟูมากทีส่ ุด คณะหมอลาดัง ๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี อุดรธานี หมอลา หมู่สามารถแบ่ง ตามทานองของบทกลอนลาได้อีก ซึ่งแต่ละทานองจะออกเสียงสูงต่าไม่เหมือนกัน ได้แก่ ทานองขอนแก่น ทานองกาฬสินธ์ุ ทานองสารคาม ทานองอบุ ล เป็นต้น (ศริ ิชัย ทัพขวา และ สมคดิ สขุ เอิบ, 2561) วิกฤตการณ์เศรษฐกิจต่อคณะหมอลาเรื่องต่อกลอนท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือ ไวรัส COVID – 19 จากบทความของวราภรณ์ บันเทิงใจ และศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม เรื่องผลกระทบต่ออาชีพ หมอลาเรื่องต่อกลอนในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19)

4 ในวารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal) ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2564) มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้นาเสนอผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่ออาชีพหมอลาเรื่องต่อกลอน ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อธิบายว่า ผลกระทบ ที่เกิดขึ้นกับคณะหมอลาเรื่องต่อกลอนนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 มิติประกอบด้วย 1. มิติด้านสังคม 2. มิติด้านเศรษฐกจิ 3. มติ ิด้านอาชีพ 1 มิติด้านสังคม ก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 คณะหมอลาเรื่องต่อกลอนได้มีการจ้างงานให้ไปทาการแสดงจากทางเจ้าภาพอยู่เสมอ เนื่องจากในสมัย ตั้งแต่อดีต หมอลาจะมีความเกี่ยวข้องกับสังคมมาอย่างยาวนาน ซึ่งหมอลาเป็นศิลปะพื้นบ้านของภาคอีสาน ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเทศกาลบญุ ประเพณีทั้ง 12 เดือน เมื่องานบุญในตอนเช้าเสรจ็ สิ้น ในยามค่าคืนชาวอีสานจะมีเจ้าภาพนามหรสพมาร่วมสมโภชให้งานมีความสนุกสนานและย่ิงใหญ่ ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งหมอลาแต่ละคณะจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ทั้งทานองลา รูปแบบการแสดงโชว์ แต่ในปัจจุบันด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ทาให้การแสดงหมอลา ต้องถูกยกเลิกไปด้วยมาตรการและนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งทางเจ้าภาพเกิดเกรงว่าจะไม่มีความปลอดภัย ต่อคนชุมชน และหวาดระแวงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ท่ีกาลัง เกิดขึ้นอยใู่ นขณะนี้ จงึ ทาให้คณะหมอลาทกุ คณะต้องประสบกบั ปญั หาและไดร้ ับผลกระทบท่เี กิดขึน้ 2.2 มิติด้านเศรษฐกิจ ก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 คณะหมอลาเรื่องต่อกลอนมีรายได้จากการแสดงหมอลามีเงินมาจุนเจือทางคณะ ทาให้คนในคณะหมอลา มีรายได้ เพื่อนาไปใช้จ่ายหมุนเวียนในชีวิตประจาวัน บางคณะไปกู้เงินจากธนาคารเพื่อขยายและพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ทใี่ ช้ในการแสดงให้มีความยิ่งใหญแ่ ละทันสมัยมากข้นึ แต่ดว้ ยสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของเชื้อไวรัส สายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ทางคณะหมอลาไดถ้ ูกยกเลิกการแสดงทั้งหมด ทาให้มีผลกระทบจากการขาดรายได้ เป็นอย่างมาก อีกทั้งรัฐบาลออกมาตรการการควบคุม การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยมีการสั่งปิด บางสถานทเ่ี ปน็ การชว่ั คราว เชน่ ห้างสรรพสนิ ค้า การระงับการใหบ้ ริการของสถานบริการต่าง ๆ รวมทั้งมีการ ปิดสถานศึกษา มีการงดกิจกรรม อาทิ การแข่งขันกีฬา งานบันเทิง งานอบรมสัมมนา การแสดงสินค้า การเดินทางข้ามจังหวดั และประเทศ เปน็ ตน้ ส่งผลใหท้ กุ ภาคสว่ นนนั้ ตอ้ งไดร้ บั ผลกระทบ 2.3 มิติด้านอาชีพ ก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 คณะหมอลา เรื่องต่อกลอนมีการแสดงตามปกติทุกวัน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส สายพันธุ์ใหม่ COVID-19 โดยมีมาตรการและนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 จากทางรัฐบาลจึงท าให้ทุกคนที่อยู่ในคณะหมอลาเรื่องต่อกลอนตกงานไม่มีงานแสดง เพราะงานแสดงถูกยกเลิกงานทงั้ หมด คนในคณะหมอลาเรื่องต่อกลอนต้องแยกย้ายกระจัดกระจายไปคนละที่ ซง่ึ ส่วนใหญ่จะหันกลับไปทาอาชพี เกษตรกรรม

5 จาก Onsite สู่ Online ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID – 19 คณะหมอลา เรื่องต่อกลอนจึงได้มีวิธีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์อันประกอบไปด้วย 1. การปรับรูปแบบการแสดง 2. การเปลี่ยนอาชีพ และ 3. การวางแผนดา้ นการเงิน 1. การปรับรูปแบบการแสดง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส สายพันธุ์ใหม่ COVID – 19 คณะหมอลาเรื่องต่อกลอนจึงมีวิธีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงใหม่ โดยใช้วิธีการแสดงไลฟ์สดผา่ นช่องทางออนไลน์ โดยไลฟ์สดผา่ นช่องทางของ Youtube , Facebook, Twiter หรือ Instargram เป็นต้น เป็นการประชาสมั พันธ์คณะหมอลาเรื่องต่อกลอนและเป็นการปรับตัวเพื่อหารายได้ ในช่วงของการแพรร่ ะบาดของเชื้อไวรัสสายพนั ธ์ุใหม่ COVID – 19 นอกจากน้ีจากการมีโอกาสได้เข้าร่วมชมคณะหมอลาเรื่องต่อกลอนต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา ผู้เขียนยังได้เห็นว่า ทางคณะหมอลาเรื่องต่อกลอนต่าง ๆ ยังได้สร้างคอนเท้นต์ด้วยการ นาศิลปินจากวงอื่น ๆ หรือศิลปิน นักร้องที่กาลังเป็นกระแส สังคมให้ความสนใจ เข้ามาร่วมทาการแสดงด้วย เพ่ือเปน็ การโปรโมทและร่วมกนั แลกเปลยี่ นประสบการณ์ ดงึ ดูดกลุ่มผูช้ ม แฟนคลับเป็นอย่างดี 2. การเปลี่ยนอาชีพ คนในคณะหมอลาเรื่องต่อกลอนต้องกระจัดกระจายแยกย้าย กันไปคนละทาง ทั้งหัวหน้าคณะและศิลปินต่างหาอาชีพเสริมเพื่อเป็นการหารายได้มาใชจ้ ่ายในชวี ติ ประจาวนั ซึ่งส่วนใหญ่ที่ทางคณะหมอลาเรื่องต่อกลอนไปประกอบอาชีพนั้น ประกอบด้วย อาชีพเกษตรกรรม การหารายไดเ้ สริมโดยการขายของออนไลน์ ทางานพาร์ทไทม์ การรับผา้ โหลจากโรงงานมาเยบ็ ท่ีบา้ น เป็นต้น 3. การวางแผนด้านการเงิน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสาย พันธุ์ใหม่ COVID – 19 ทาให้ทางคณะหมอลาเรื่องต่อกลอนต้องขาดรายได้ ไม่มีเงินนามาเป็นค่าใช้จ่าย ในชวี ติ ประจาวนั ดังน้ันจงึ จาเปน็ อย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนในการใช้จา่ ยเงนิ อย่างประหยดั และมธั ยสั ถ์ สาหรับด้านบทบาทของภาครัฐที่เข้าไปช่วยเหลือและเยียวยาคณะหมอลาเรื่องต่อกลอน จากการแพร่ระบาดของของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ซึ่งภายหลังการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 จากการตรวจพบในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 ส่งผลให้รัฐบาล ยังคงมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดไว้อย่างต่อเนื่อง สาหรับความช่วยเหลือและเยียวยาคณะหมอลา เร่ืองต่อกลอนยังไมม่ มี าตรการและนโยบายท่ีชดั เจน อันเนือ่ งมาจากสาเหตุหลักดงั ตอ่ ไปน้ี 1. หนว่ ยงานภาครฐั สว่ นใหญจ่ ะไมร่ ับรูถ้ ึงปญั หาของคณะหมอลาเร่ืองตอ่ กลอน 2. ทัศนคติของหน่วยงานภาครัฐที่มีต่ออาชีพหมอลา ซึ่งหน่วยงานของภาครัฐ ยงั มองว่าอาชพี หมอลาเป็นอาชีพอิสระไม่ไดม้ ีฐานะเป็นแรงงานหรือลูกจา้ ง 3. นโยบายและการวางแผนในการเยียวยาคณะหมอลาเรื่องต่อกลอน จากทางภาครฐั ยงั ไมม่ คี วามชดั เจนทีแ่ นน่ อน (วราภรณ์ บนั เทงิ ใจ และศิรศิ กั ด์ิ เหล่าจันขาม, 2564) ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า คณะหมอลาเรื่องต่อกลอนนั้นใช้กลวิธีในการปรับรูปแบบการแสดง โดยใช้ช่องทางออนไลน์ และนาเอาสื่อเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามาประกอบมากขึ้น พร้อมกับปรับกลยุทธ์

6 ในการทางานใหส้ ามารถพยุงคณะหมอลาของตนให้อยู่ต่อไปได้ และนาเสนอผ่านช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์ ต่าง ๆ โดยเฉพาะ กลุ่ม Facebook ที่มีการสร้างระบบสมาชิกขึ้นมาเพื่อคัดกรองผู้เข้าชมและเสียค่าบริการ ในการรับชม เสมือนการเก็บบัตรหน้างาน และช่องทาง YouTube ที่ทางคณะหมอลาเปิด Channel เป็นของตนเองเพ่ือเกบ็ รายไดจ้ ากยอดผเู้ ข้าชมอีกทางหนง่ึ แนวทางจากผู้เขยี น ด ้ ว ย แ น ว โ น ้ ม ส ถ า น ก า ร ณ ์ ก า ร แ พ ร ่ ร ะ บ า ด ใ น ขณ ะ น ี ้ ย ั ง ค ง ม ี ย อ ด ผ ู ้ ต ิ ด เ ช ื ้ อ เ พ ิ ่ ม ส ู ง ข้ึน อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการอนุญาตให้คณะหมอลาต่าง ๆ ทาการแสดงได้ในบางพื้นที่แต่ก็นับว่าเป็นส่วนน้อย ส่งผลให้การจัดการคณะหมอลานั้นยังคงขาดสภาพคล่องในการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ อีกทั้งยังมีภาวะ ของเชื้อไวรัสกลายพันธ์ุ ซึ่งหากสถานการณ์ไม่ซบเซาลงหมอลานั้นก็อาจจะกลับมาแสดงในรูป Onsite ได้น้อยลงหรือไม่ได้เลยก็เป็นได้ ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่าการจัดการคณะหมอลาเรื่องต่อกลอนในสภาวะเช่นนี้ นน้ั ควรเร่งดาเนินการดงั นี้ 1. คณะหมอลาเรื่องต่อกลอนควรมีการตั้งงบฉุกเฉินไว้สารองในกรณีมีปัญหาการระบาดซ้า หลายระลอกทผี่ ่านมา เพอื่ เป็นทนุ สารองใหแ้ ก่ลูกน้องในคณะหมอลา 2. ทางผู้บริหาร ลูกน้อง ของคณะหมอลาเรื่องต่อกลอนจะต้องพยายามมองหาอาชีพ หรอื สร้างมีธรุ กิจสารอง เชน่ การสร้างรีสอร์ท รา้ นกาแฟแล้วดงึ บุคลากรในคณะหมอลานนั้ เขา้ มาเป็นส่วนหนึ่ง ในการทางาน เพ่ือเป็นทุนและเป็นรายได้สารองในยามเกิดภาวะวิกฤติเช่นนี้ และยังจะช่วยพยุงเศรษฐกิจ ของคณะหมอลาให้ยรู่ อดได้ และมแี ผนบรหิ ารจดั การเงินอยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ เช่น การนารูปแบบแผนธรุ กิจมา ใช้สร้างแผนงานธรุ กจิ ของคณะหมอลา 3. ท่ามกลางสถานการณ์ที่ผ่านมานั้น คณะหมอลาเรื่องต่อกลอนควรจะต้องมีการพัฒนา และวางแผนการบริหารงานสารองไว้หลาย ๆ แผน เพื่อความยืดหยุ่นในการทางานทั้งแบบการแสดง Onsite และ Online 4. คณะหมอลาเรื่องต่อกลอนควรมีการพูดคุย และจัดทาแนวทางเพื่อจัดตั้งกองทุนธุรกิจ สารองให้แก่บุคลากรในคณะเพื่อที่จะเป็นบรรทัดฐาน และเป็นช่องทางสาหรับลูกวงที่อยากจะลืมตาอ้าปาก ดว้ ยการมีธุรกจิ เป็นของตนเอง และเปน็ งานสารองไว้ในกรณีฉุกเฉินเชน่ น้ี โดยการกยู้ มื จากกองทนุ ซึ่งนอกจาก จะเป็นเงินทุนหมุนเวียนแล้ว ยังน่าจะเป็นความสบายใจกว่าที่ต้องไปกู้ธนาคารเพราะบางคนมีหลักทรัพย์ ค้าประกนั ไมเ่ พียงพอ แต่ทั้งน้ที ัง้ นั้นกต็ อ้ งมรี ะบบทร่ี ัดกุม ในส่วนของภาครัฐ ต้องเร่งสารวจความต้องการในการช่วยเหลือ เยียวยา และรับรู้ถึงปัญหา ของคณะหมอลาเรื่องต่อกลอน ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมบันเทิงทางวัฒนธรรมควรได้รับพิจารณา ที่เป็นทางการมากขึ้น และรัฐต้องเร่งให้มีนโยบายออกมาคุ้มครองอาชีพหมอลาอย่างเป็นทางการโดยเร็ว รวมถึงหารือเพอ่ื สร้างกองทนุ เพ่ือเขา้ มารองรบั อาชีพหมอลา หรอื ธุรกิจบนั เทงิ ในลกั ษณะที่คลา้ ยกนั

7 สรปุ : ปิดผ้าม่านก้งั ในช่วงที่ผ่านมานั้นมีความท้าทายเกิดขึ้นมากมายท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID – 19 ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคด้านการทาการแสดงที่ต้องหยุดชะงักไปในช่วงเดือนที่วงหมอลามีงานเต็ม ทุกวันทาให้สูญเสียรายได้จานวนมหาศาล ทั้งนี้ยังส่งผลต่อบุคลากร เศรษฐกิจ สังคมของคณะหมอลา เรื่องต่อกลอนไปด้วย อย่างไรก็ดี คณะหมอลาเรื่องต่อกลอนนั้นใช้กลวิธีในการปรับรูปแบบการแสดง โดยใช้ช่องทางออนไลน์ และนาเอาสื่อเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามาประกอบมากขึ้น พร้อมกับปรับกลยุทธ์ในการ ทางานให้สามารถพยุงคณะหมอลาของตนให้อยู่ต่อไปได้ และนาเสนอผา่ นช่องทางแพลตฟอรม์ ออนไลน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ กลุ่ม Facebook ที่มีการสร้างระบบสมาชิกขึ้นมาเพื่อคัดกรองผู้เข้าชมและเสียค่าบริการ ในการรับชม เสมือนการเก็บบัตรหน้างาน และช่องทาง YouTube ที่ทางคณะหมอลาเปิด Channel เป็นของตนเองเพื่อเก็บรายได้จากยอดผู้เข้าชมอีกทางหนึ่ง เพื่อเป็นการพยุงคณะหมอลาของตนให้ผ่านพ้น สภาวะวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID – 19 นี้ไปได้ นอกจากการปรับตัวของ คณะหมอลาเรื่องต่อกลอนดังกล่าวแล้ว ผู้เขียนยังเห็นว่า ภาครัฐต้องเร่งสารวจความต้องการในการช่วยเหลอื เยียวยา และรับรู้ถึงปัญหาของคณะหมอลาเรื่องต่อกลอน ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมบันเทิงทางวัฒนธรรม ควรได้รับพิจารณาที่เป็นทางการมากขึ้น และรัฐต้องเร่งให้มีนโยบายออกมาคุ้มครองอาชีพหมอลา อย่างเป็นทางการโดยเร็ว รวมถึงหารือเพื่อสร้างกองทุนเพื่อเข้ามารองรับอาชีพหมอลา หรือธุรกิจบันเทิง ในลักษณะที่คล้ายกัน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงทางวัฒนธรรมให้สามารถเผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมของตนตอ่ ไปไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ แมใ้ นสภาวะวิกฤตการณอ์ น่ื ๆ เอกสารอ้างอิง ไทยรัฐออนไลน์. (2563). หมอลำท่ัวอีสำน รับโควิด-19 กระทบเล็กนอ้ ย แต่ยนั ไม่ยกเลิกงำนโชว์แน่. สบื คน้ เม่ือ 5 มกราคม 2565, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/1792726 ธิตนิ นั ท์ แว่นแกว้ . (2564). 6 แนวทำงรอดของอตุ สำหกรรมสือ่ และบนั เทิงในยุคโควิด – 19. สืบคน้ เมื่อ 28 ธันวาคม 2564, จาก https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs/blog-20210128.html บทบรรณาธิการ. (2563). ปญั หำอตุ สำหกรรมบนั เทงิ . สบื คน้ เมือ่ 24 ธนั วาคม 2564, จาก https://www.naewna.com ผจู้ ัดการออนไลน์. (2564). สน่ันโซเชียล “หมอลำร่นุ ใหม่” ทมุ่ จดั คอนเสริ ์ตออนไลน์ ช่วยศิลปนิ รนุ่ เกำ่ ฝำ่ วิกฤต โควิด-19. สืบค้นเม่ือ 8 มกราคม 2565, จาก https://mgronline.com/local/detail/9640000094652 วราภรณ์ บันเทิงใจ และศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม. (2564). ผลกระทบต่ออาชีพหมอลาเรื่องต่อกลอน ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19), วำรสำรกำรบรหิ ำรปกครอง 10(2), 134 – 155. วัชชิรานนท์ ทองเทพ. (2563). โควิด – 19: มำลัยออนไลน์ แจ่วบอง กะหรี่ปั๊บ ส่วนหนึ่งของทำงรอดของ หมอลำอีสำน. สบื คน้ เม่ือ 5 มกราคม 2565, จาก https://www.bbc.com/thai.

8 วอยซ์ออนไลน์. (2564). 'เปิดกลุ่มไลฟ์สด-เก็บค่ำสมำชิก' ทำงรอด 'หมอลำ' ยุคโควิด. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565, จาก https://voicetv.co.th/read/oZ7uRk3OR ศิริชัย ทัพขวา และ สมคิด สุขเอิบ. (2561). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการพัฒนารูปแบบ การแสดงหมอลาหมเู่ ชิงธรุ กจิ , วำรสำร มจร สงั คมศำสตรป์ รทิ รรศน์ 7(4), 277 – 285. ส านักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามค าแหง. (ม.ป.ป.). หมอล ำ. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2564, จาก https://www.lib.ru.ac.th/journal/isan/art/index.html อารียา โตสุข. (2564). ผลกระทบต่อธุรกิจดนตรีจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), วำรสำรศิลปกรรมศำสตรว์ ิชำกำร วจิ ยั และงำนสรำ้ งสรรค์ 8(1), 274 – 301.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook