ภูมิปัญญาการทำมวยนึง่ ข้าวเหนยี ว ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จงั หวดั สกลนคร The wisdom of making a container for sticky rice, Hai Yong Subdistrict, Phang Khon District, Sakon Nakhon Province นนทธ์ ิวรรธณ์ ธรี ะภาพ นกั ศกึ ษาปริญญาโท หลักสตู รวจิ ยั วฒั นธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บทนำ นับพันปีมาแล้ว ที่มนุษย์ได้รู้จักวิธีการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติ มาดัดแปลงเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ จากขั้นตอนที่ง่ายจนวิวัฒนาการสู่ความละเอียดอ่อน ประณีตงดงามในเชิงศิลปะและ ประโยชน์ใช้สอย จนสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี และมีการสืบทอดมาโดยตลอด กรรมวิธี ดังกล่าว ช่วยให้มนุษย์ได้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า หตั ถกรรม ซ่ึงหมายถงึ การสรา้ งสิง่ ของเครื่องใชด้ ้วยมือ เพื่อให้ได้มาซึง่ ประโยชน์ใชส้ อยต่อการดำรง ชวี ิตประจำวันของมนษุ ย์ (สารานกุ รมไทยสำหรบั เยาชน เลม่ 22,2537) การทมี่ นุษย์ได้ใช้ความคิด และลงมอื ดดั แปลงส่ิงที่มีอยู่ในธรรมชาติให้มรี ูปรา่ งผิดไปจากเดิม เพ่อื ใหใ้ ชส้ อยได้อย่างเหมาะสม นบั วา่ เป็นการเริ่มตน้ การสร้างานหัตถกรรมของมนษุ ย์ และเมือ่ มนุษย์ พฒั นางานหตั ถกรรมนนั้ ให้สอดคลอ้ งกับวถิ ีชวี ิตขนบธรรมเนยี ม และประเพณีความเชอ่ื ของแตล่ ะกลุ่ม ชนแลว้ นน้ั งานหตั ถกรรมจะมีลกั ษณะเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพน้ื ท่ี และเฉพาะถ่นิ มีรปู ทรงแตกตา่ งกนั ไป ตามแตล่ ะทอ้ งถน่ิ มักจะถูกเรียกวา่ งานหตั ถกรรมพ้นื บา้ น (วิบูรณ์ ล้ีสวุ รรณ,2542) มวยน่งึ ขา้ วเหนยี ว ตำบลไฮหย่อง อำเภอพงั โคน จงั หวัดสกลนคร เปน็ งานจกั สาน ที่ทำด้วย ไม้ไผ่ จากฝมี อื ความคิด ภมู ปิ ัญญาของชาวบ้านในพื้นที่ คำวา่ จัก มีความหมาย คือการทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย หรืออีกวิธกี ารหนึ่ง การที่ชาวบา้ นใช้คมมดี ผา่ ไม้ไผ่แล้วทำให้เป็นเสน้ บางๆ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่วนไม้ไผ่ ที่จักออกมาเป็นเส้นบางๆ นั้นเรียกว่า ตอก การท่ี ชาวบา้ นนำตอกมาขัดกนั จนเกิดลวดลายทตี่ อ้ งการสาน ตอ่ จากนัน้ แล้วกจ็ ะเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิด รูปทรง จนท้ายทสี่ ดุ เปน็ ภาชนะท่ีสามารถนำไปใช้สอยได้ตามตอ้ งการ ถือไดว้ า่ เป็นภูมิปัญญาพ้ืนบ้าน อยา่ งหนงึ่ ที่ชาวบ้านคดิ วิธีการต่างๆ ขึ้นเพื่อใช้สร้าง เครอื่ งมอื เครอ่ื งใช้ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตการ ดำรงอยู่ (วิบลู ย์ ลีส้ ุวรรณ,2532)
วตั ถุประสงคก์ ารวจิ ยั 1.เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภูมิปัญญาการทำมวยนึ่งข้าวเหนียว ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวดั สกลนคร บรบิ ทพ้ืนที่ตำบลไฮหย่อง อำเภอพงั โคน จังหวดั สกลนคร ไฮหย่องเป็นชอ่ื ภาษาถ่ิน มาจากคำวา่ ไฮ ทห่ี มายถึงตน้ ไทร และ หย่อง ทีแ่ ปลว่า ห้อย หรือ ยอ้ ยลงมา ชาวบ้านเลา่ สืบตอ่ กนั มาวา่ บรรพบรุ ษุ ของพวกเขาได้อพยพมาตัง้ ถน่ิ ฐาน ต้ังแตส่ มัยรชั กาล ท่ี 3 เนื่องจากเป็นพ้นื ทอ่ี ุดมสมบูรณ์ทางทรพั ยากรธรรมชาติ อกี ทง้ั ยงั มีหนองนำ้ ขนาดใหญ่ทั้งทางทิศ เหนือและทิศใต้ เหมาะแก่การตั้งรกราก และเห็นต้นไทรใหญ่ขึ้นอยู่ในบริเวณนั้น จึงกลายเป็นทีม่ า ของชอ่ื หมบู่ ้านในปจั จบุ ัน (ศนู ย์มานุษยวิทยาสริ ินธร,2547) ลักษณะทางธรรมชาติ เป็นองคป์ ระกอบทมี่ สี ว่ นสำคญั ตอ่ การต้ังถิ่นฐานของมนษุ ย์ เน่ืองจาก บริเวณใดกต็ ามที่มีความอุดมสมบรู ณท์ างทรัพยากรน้ำ ดิน ปา่ ไม้ และสตั ว์ปา่ มกั จะพบเห็นร่องลอย ของการตั้งถ่นิ ฐานของมนุษย์นบั ตัง้ แต่อดตี ทัง้ น้ีเพราะมนษุ ย์ได้เหน็ คณุ ค่าของทรพั ยากรทางธรรมชาติ ท่ีทำใหช้ ีวติ ความเปน็ อยดู่ ียิ่งข้นึ ท่ีสามารถอธิบายลกั ษณะทางสังคม และการดำรงอยู่ของมนุษย์มกั จะ อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ในรูปแบบสังคมชุมชนตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากลักษณะ พื้นฐานของนั้นมนุษย์เป็นสัตว์สงั คม ชอบทำกิจกรรมและสิง่ ต่างๆ ร่วมกันเพราะมีการใชส้ ติปัญญา ความคดิ ในทุกๆ ดา้ นตอ่ การดำรงชวี ิต ดงั จะเหน็ ได้จากการเลือกใช้พน้ื ท่แี ละทรัพยากรทางธรรมชาติ ต่อการต้ังถน่ิ ฐาน และพัฒนาเปน็ รูปแบบท่ีมีลกั ษณะเฉพาะถิน่ (อรณุ ศักดิ์ กิง่ มณี,2540) มวยนึง่ ข้าวเหนยี ว ภูมิปัญญา เกิดจากการดำรงชีวติ ของมนุษย์กับธรรมชาติ เนื่องจากมนุษย์มักอยูร่ ว่ มกันเปน็ สังคมตั้งแตข่ นาดเล็ก ไปถึงขนาดใหญ่ ดังจะเห็นได้จาก การเลือกสรร พัฒนา และการแก้ไขปัญหา เพื่อปรับคุณภาพของชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และเหมาะสมต่อการ ดำรงชีวิตที่ (กรมสง่ เสรมิ วัฒนธรรม,2559) มวย คอื อุปกรณ์ในการประกอบอาหารท่แี ทบจะทกุ ครัวเรอื นของคนอีสานจะต้องมีติดครัว ไว้ เนื่องจากพ้ืนทีภ่ าคอีสานนัน้ มกี ารบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก มวย กบั คนอสี าน จึงเป็นของที่คู่กัน เพราะคนอีสานจะตอ้ งนึ่งข้าวเหนียวเพื่อบริโภค แม้กระทั้งประเพณี วัฒนธรรมที่มีอยูใ่ นภาคอีสาน ข้าวเหนยี วถือเป็นปจั จยั หลกั ท่คี นอีสานใหค้ วามสำคญั มวยนงึ่ ขา้ วเหนียวจึงเปน็ สว่ นหนงึ่ ของรากฐาน อนั ดีงามของคนอสี าน (ตกิ๊ แสนบุญ,2560) ดงั น้นั ผูว้ ิจัยจึงให้ความสำคัญกับพ้นื ที่ ตำบลไฮหยอ่ ง อำเภอพังโคน จังหวดั สกลนคร ทีม่ ีการ สานมวยนึ่งข้าวเหนียว ที่เป็นงานจักสานที่ทำด้วยไม้ไผ่ ซึ่งเป็น งานจักสานที่ใช้ฝีมือในการดัดแปลง
วัสดุจากธรรมชาติท่ีมอี ยู่ในพื้นที่ของ ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร แล้วนำมาเป็น ส่ิงของเคร่อื งใช้ในชีวติ ประจำวนั ซึ่งการสานมวยน่งึ ข้าวเหนยี วนน้ั ขั้นตอนในการผลิตต้ังแต่เร่ิมต้นไป จนถึงไปสิ้นสดุ กระบวนการนั้นจะใช้ผีมอื ของคนในชุมชนทำทุกขัน้ ตอน มวยน่ึงข้าวเหนียวจึงเป็นงาน ฝีมือที่สะท้อนเทคนิคของคนในชุมชนตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ได้เป็นอย่างดี เปน็ การสรา้ งสรรคผ์ ลงานพื้นบ้าน และมีคณุ คา่ ตอ่ คนในชุมชน บทวเิ คราะห์ และสรุป ภูมิปญั ญาการทำมวยนึ่งข้าวเหนยี ว มวยนึ่งข้าวเหนียว ทำมาจากวัสดจุ ากธรรมชาติท่ีมีอยูใ่ นพื้นที่ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร มาใช้ประโยชน์สูงสุด คือ ไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีอยู่จำนวนมาก ตามท้องไร่ ท้องนา และหาได้ง่าย ซึ่ง ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่มีความเหนียว ยืดหยุ่นสูง ทนความร้อนได้ดีกว่าไมช้ นิดอื่น และที่ สำคญั คอื ไม้ไผ่ไม่แตกหกั งา่ ย ดังน้นั คนในพน้ื ท่ีตำบลไฮหยอ่ ง อำเภอพังโคน จงั หวัดสกลนคร จึงได้ นำมาไม้ไผ่มาสร้างสรรค์เปน็ งานจักสาน นัน่ คือ มวยนึ่งขา้ วเหนยี ว ขา้ วเหนียว ถอื เปน็ อาหารหลักของคนในตำบลไฮหยอ่ ง อำเภอพังโคน จังหวดั สกลนคร ดังนัน้ การท่ีจะนึ่งขา้ วเหนยี วด้วยภาชนะอื่นๆ ก็สามารถทีจ่ ะทำได้ แต่หาใช้มวยนึ่งข้าวท่ีทำจากไม้ไผ่จะให้ ความแตกต่างระหว่างน่งึ ด้วยภาชนะท่ัวไป กลา่ วคือ ภาชนะทีท่ ำจากไมไ้ ผเ่ วลานึ่งจะทำให้ข้าวไม่อุ้ม น้ำ หรอื แฉะจนเกนิ ไป เน่ืองจากไมไ้ ผม่ ีคณุ สมบตั ิในการดดู นำ้ ไดด้ ี และที่สำคญั อีกอยา่ งหน่ึง คือมวย นึ่งขา้ วเหนียวตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จงั หวดั สกลนคร มีลกั ษณะการสานทีส่ ลบั กันไปมา เหตุผล กเ็ พราะเพื่อให้ไอความรอ้ นท่อี ย่ภู ายในมีความคงที่ ทำใหข้ ้าวสกุ ท่ัวถึง เปน็ เมด็ เรยี วทสี่ วยงสม และใน
สว่ นฐานของมวยนึง่ ข้าวเหนียวน้ันได้ทำเป็น 2 ชั้น เพื่อป้องกนั น้ำทีก่ ระเดน็ เข้าไปยังข้าวขณะท่ีน้ำกำ รงั เดอื ด เหตุผลทท่ี ำเชน่ นี้ กเ็ พราะชาวบ้านตำบลไฮหย่อง อำเภอพงั โคน จงั หวัดสกลนคร เคยนึ่งข้าว เหนียวจากภาชนะอ่ืนๆ ผลทไ่ี ด้ คอื ข้าวไม่เปน็ เม็ดเรียว ขา้ วไมส่ กุ ใชเ้ วลาในการนง่ึ ข้าวคอ่ นข้างนาน กวา่ ขา้ วจะสุก นำ้ กระเด็นใส่ข้าวจนทำให้ขา้ วแฉะ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาชาวบ้านเลยหาวิธีแก้ไขปัญหา น้ัน จากการสงั เกต และลองผิดลองถูก เกิดการเรยี นร้ทู ีจ่ ะรบั มือกบั ปัญหานั้นๆ ได้ บรรณานกุ รม กรมสง่ เสริมวฒั นธรรม. (2559). วฒั นธรรมวถิ ชี วี ติ และภมู ปิ ัญญา. พมิ พค์ ร้ังท่ี 1. กรงุ เทพฯ: รุ้งศิลป์ การพิมพ์ (1971) จำกดั . วิบลู ย์ ล้ีสุวรรณ. (2532). ศลิ ปหัตถกรรมไทย. กรุงเทพฯ : การท่องเทย่ี วแห่งประเทศไทย. วิบูลย์ ล้ีสวุ รรณ. (2542). ศลิ ปหัตถกรรมพืน้ บา้ น. กรงุ เทพฯ : ต้นออ้ 1999 จำกัด. ศูนย์มานษุ ยวิทยาสริ ินธร ไทยอ้ สบื ค้นเมอื่ วนั ที่ 30 กนั ยายน พ.ศ.2564 จาก http://www.sac.or.th/databases/ethnic/Content/Information/taiyo.html สำนกั งานกลาง หอรษั ฎากรพพิ ัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง. (2537). สารานกุ รมไทยสำหรับเยาวชน. เล่มท่ี 22. พมิ พค์ รงั้ ท่ี 1. โดยพระราชประสงคใ์ นพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัว. อรณุ ศกั ด์ิ กงิ่ มณี. (2540). รอยอดตี สกลนคร. พมิ พ์ครั้งที่ 1 สำนักงานโบราณคดีและพิพธิ ภัณฑสถาน แหง่ ชาติที่ 7. ขอนแก่น : คลงั นานาวทิ ยา.
Search
Read the Text Version
- 1 - 4
Pages: