Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 1-4-ธีรพัฒน์-18

1-4-ธีรพัฒน์-18

Published by teerapat01032003, 2021-12-03 05:30:01

Description: ธีรพัฒน์-18

Search

Read the Text Version

หลักการนำเสนอข้อมูลและสร้างสื่ อนำเสนอ การนำเสนองานหรือผลงานนั้นสื่อนำเสนอเปรียบ เสมือนสะพานเชื่อมเนื้อหา ของผู้บรรยายไปยังผู้ฟัง และผู้ชม ดังนั้นสื่อจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมาก สื่อที่ดี จะช่วยให้การถ่ายทอดเนื้อหาสาระทำได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งขึ้น ผู้ฟังโดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ อันจะทำให้บรรลุ ผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ 1. เพื่อให้ผู้ชม ผู้ฟังรับเข้าใจสาระสำคัญของการนำ เสนอข้อมูล 2. ให้ผู้ชม ผู้ฟังเกิดความประทับใจและนำไปสู่ความ เชื่อถือในข้อมูลที่นำเสนอ การนำเสนอผลงานโดยใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ มีผลใน ทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งได้มีการ ค้นพบจากการ วิจัยว่าการรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัสสอง อย่าง คือ ตา และหูพร้อมกันนั้น

จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้ 1. เข้าใจหลักการ กระบวนการคิดสื่อสร้างสรรค์ทาง ธุรกิจ 2. สามารถผลิตสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ 3. มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงานด้วยความ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ละเอียดรอบคอบ สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้ หลักการ กระบวนการคิดสื่อสร้างสรรค์ ทางธุรกิจ 2. ออกแบบสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ 3. ผลิตสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและ กระบวนการคิดสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ องค์ประกอบ และรูปแบบของสื่อดิจิทัล เทคนิคการสร้างสรรค์สื่อ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอตาม แนวคิดกลยุทธ์เนื้อหาและการออกแบบให้สอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ผลิตสื่อสร้างสรรค์ทาง ธุรกิจโดยใช้เครื่องมือดิจิทัลให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ ของธุรกิจที่กำหนด

หลักการพื้นฐานของการนำเสนอผลงาน 1) การดึงดูดความสนใจ โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจขึ้น เมื่อชมการนำเสนอ ดังนั้นการเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น สีพื้น แบบ สี และขนาดของตัวอักษร รูปประกอบ ต้องเหมาะสม สวยงาม 2) ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่ เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพ ประกอบ มีประโยชน์มาก ดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ ว่า \"A picture is worth a thousand words\" หรือ \"ภาพภาพหนึ่ งนั้ นมีค่าเทียบเท่ากับคำพูดหนึ่ งพันคำ\" 3) ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างจุดเน้นตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้นต้องคำนึงถึง กลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก การใช้สี สด ๆ และภาพการ์ตูนมีความเหมาะสม การใช้สีสันมากเกินไปและการใช้รู ปการ์ตูนอาจทำให้ดู ไม่น่าเชื่อถือเพราะขาดภาพลักษณ์

1) ทำความเข้าใจกับงานที่เราต้องการนำเสนอ ก่อนการเลือกระบบสารสนเทศมาใช้ในการนำเสนอ งานนั้น เราต้องเข้าใจถึงลักษณะงานที่เราต้องการนำ เสนอก่อนว่า เป็นงานในลักษณะใด เช่น เป็นข้อความ หรือมีการคำนวณหรือเป็นงานที่เกี่ยวกับการค้น การ เก็บรักษาข้อมูล 2) เลือกโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ เมื่อทราบลักษณะของงานที่ต้องการนำเสนอแล้ว เรา จะเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับการนำเสนอ งานนั้น งานบางอย่างเราอาจใช้ระบบสารสนเทศใน การนำเสนอได้หลายอย่าง 3) จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความ สามารถไม่เหมือนกัน ขนาดของโปรแกรมก็ไม่เท่ากัน ทำให้ความต้องการของฮาร์ดแวร์ในการทำงานตาม โปรแกรมนั้นแตกต่างกัน ในคู่มือการใช้งานโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์นั้นจะบอกข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์ที่ ต้องการสำหรับการใช้งานไว้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบ อะไรบ้าง เราจะต้องจัดหาฮาร์ดแวร์ให้ได้ตามข้อ กำหนดนั้นเพื่อให้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

และฮาร์ดดิสก์จะพอใช้หรือไม่ เพราะในไมโคร คอมพิวเตอร์หนึ่ งเครื่องนั้ นเรามักจะบรรจุโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ไว้หลายชนิด และปริมาณแฟ้มข้อมูลที่ มีอยู่เดิมอาจมากจนกระทั่งพื้นที่ที่เหลือไม่เพียงพอต่อ การใช้งานโปรแกรมสำเร็จรู ปใหม่นั้น 4 ) การใช้งานโปรแกรม ในการใช้งานนั้น นอกาจากผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจ การทำงานของฮาร์ดแวร์ว่าใช้งานอย่างไรแล้ว ราย ละเอียดการใช้งานซอฟต์แวร์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะ ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนการใช้งาน ส่วนใหญ่ จะศึกษาจากคู่มือของโปรแกรมสำเร็จรู ปนั้นเพื่อความ เข้าใจในความสามารถก่อน ปกติแล้วคู่มือการใช้งานมา จากเจ้าของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ปัจจุบันนี้มีการทำคู่มือการใช้งานในรู ปของสื่อ คอมพิวเตอร์ที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ทำเป็นซีดีการใช้ งาน เป็นต้น ฉะนั้นผู้ใช้งานที่ยังไม่มีประสบการณ์จึง ควรเรียนรู้จากคู่มือการใช้งาน ทำความเข้าใจให้ชัดเจน ก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

รู ปแบบการนำเสนอข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันที่นิยมใช้กันมี 2 รูปแบบ คือ 1. การนำเสนอแบบ Web page เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต การนำ เสนอแบบนี้สามารถสร้างการเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อน ระหว่างส่วนต่าง ๆ ตลอดจน สามารถสร้างการเชื่อม โยงเอกสารที่ต่างรู ปแบบกันได้ 2. การนำเสนอแบบ Slide Presentation เป็นการนำเสนอโดยใช้โปรแกรมนำเสนอ ซึ่งเป็น โปรแกรม ที่ใช้ง่ายมากมีรูปแบบการนำเสนอให้เลือก ใช้หลายแบบ สามารถเรียกใช้ตาราง แผนภูมิ หรือ รูปภาพประกอบ ในปัจจุบันสื่อนำเสนอรูปแบบ Slide Presentationหรือ สไลด์ดิจิทัล มักจะสร้างด้วย โปรแกรมในกลุ่ม Presentation เช่น Microsoft PowerPoint, OfficeTLE Impress เทคนิคการ ออกแบบสื่อนำเสนอ

มีการสรุปประเด็น หรือสาระสำคัญโดยมีแนวทาง 3 ประการในการออกแบบ ได้แก่ 1) สื่อความหมายได้รวดเร็ว สื่อนำเสนอที่ดีต้องสามารถสื่อความหมายให้ผู้ฟัง ผู้ชม ได้อย่างรวดเร็ว การออกแบบ สื่อนำเสนอในประเด็นนี้ ผู้ออกแบบจะต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาสาระที่ ต้องการนำเสนอ สถานที่ และเวลาที่ต้องการนำเสนอ เพื่อประกอบการออกแบบสื่อ เช่น กลุ่มเป้าหมาย ขนาดเล็ก สื่อควรมีให้ความสำคัญกับผู้ฟังมากกว่า เนื้อหา สามารถนำเทคนิค หรือ Effect ต่าง ๆ 2) เนื้อหาเป็นลำดับ สื่อนำเสนอที่ดีควรมี การจัดลำดับเนื้อหา เป็นลำดับ มีระเบียบ ดู ง่าย ไม่สับสนสิ่งที่ จะ ช่วยให้การออกแบบสื่อ นำเสนอที่ต้องการจัด ลำดับเนื้อหาให้เป็น ระเบียบ และดูง่าย คือ 2.1) รูปแบบเนื้อหา สื่อนำเสนอแต่ละสไลด์ ควรหลีก เลี่ยงการนำเสนอแบบย่อหน้า พื้นหลังสีขาว ตัวอักษร สีดำ ควรเน้นแนวคิดหลัก ( Main Idea)ด้วยสีแดง เป็นต้น แต่ละสไลด์เนื้อหาไม่ควรเกิน 6 – 8 บรรทัด ควรสรุปเนื้อหาให้เป็นหัวเรื่อง (Title)

2.2) แบบอักษร การควบคุมการแสดงข้อความใน แต่ละสไลด์ ควรให้ความสำคัญ กับขนาดตัวอักษร ดังนี้ - หัวข้อใหญ่กำหนดขนาดตัวอักษรใหญ่กว่า หัวข้อย่อย - เลือกใช้แบบอักษรที่เหมาะสม - เปลี่ยนลักษณะของตัวอักษรนั้น ใช้ตัวหนาใน ข้อความที่ต้องการเน้น - ใช้ช่องว่างในการจัดกลุ่มของเนื้อหา - ข้อความที่ต้องการให้อ่านก่อน ควรจัดไว้ที่ ตำแหน่งมุมซ้ายบนของหน้า - พิมพ์ตัวอักษรลงกรอบที่วางแบบไว้แล้ว - ขึ้นหัวข้อก่อนแล้วจึงอธิบายอย่างละเอียด - ใช้สีที่แตกต่างกัน หรือตัวอักษรสีสลับกัน 3) สื่อนำเสนอต้องสะดุดตาและน่าสนใจ สื่อนำเสนอที่ดีนั้นจะต้องมีจุดเด่นน่าสนใจ สามารถดึงดูดสายตาของผู้ดู ผู้ฟังได้ ซึ่งจุดเด่นนี้ได้ มาจากขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่ หรือจากการใช้สีที่ แตกต่างออกไป รวมถึง การเลือกใช้ภาพ การใช้สี และการใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอ ที่เหมาะสม ประกอบ การนำเสนอ

3.1) การใช้ภาพ นื่องจากภาพจะช่วยให้ผู้ชม ผู้ฟัง สามารถจดจำได้นาน กว่าตัวอักษร ดังนั้น การแปลงเนื้อหาให้เป็นรูปภาพ หรือผังภาพก็เป็นเทคนิ คหนึ่ งที่สามารถสร้างความน่ า สนใจ ให้กับสื่อที่นำเสนอการเลือกใช้ภาพก็ควรเลือกใช้ ภาพที่มีลักษณะที่เหมาะสมกันและกัน คือถ้าในสไลด์ นั้นเลือกใช้ ภาพถ่ายก็ควรใช้ภาพถ่ายกับภาพทุกภาพ ในสไลด์ แต่ถ้าเลือกใช้ภาพวาด ก็ควรเลือก ภาพวาดทั้ง สไลด์เช่นกันดังนั้นจึงไม่ควรใช้ภาพวาดผสมกับ ภาพถ่าย 3.2) การใช้สี การเลือกใช้สี ควรเลือกใช้สีที่ตัดกันระหว่างสีตัวอักษร สีวัตถุ และสี พื้น เช่น เลือกใช้พื้นสไลด์เป็นสีขาวหรือสีอ่อน ๆ สีตัว อักษรก็ควรจะเป็นสีดำ สีน้ำเงินเข็มหรือสีแดงเลือด หมู กรณีเลือกใช้พื้นสไลด์เป็นสีเข็ม ควรเลือกใช้สีตัว อักษรที่มองเห็นได้ชัด ในระยะไกลเช่น สีขาว สีฟ้าอ่อน ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีในโทนร้อน เช่น สีแดงสด สี เหลือกสด สีเขียวสด สีวัตถุ สีแท่งกราฟหรือสีของ ตาราง ก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับสีตัวอักษร

3.3) การใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอ ไม่ควรใส่ Effect มากเกินไป เพราะจะส่งผลให้ผู้ชม ผู้ ฟัง สนใจ Effect มากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ หรืออาจ ไม่สนใจการนำเสนอเลยก็ได้ และ Effect ที่มากนี้จะ เป็น การรบกวนการจดจำ การอ่าน หรือการชมอย่าง รุนแรง เลือกใช้ Effect ไม่ควรเกิน 3 แบบ ในแต่ละ สไลด์ควรเลือกใช้ Effectแสดงข้อความที่เลื่อนจาก ขอบ อุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงาน 1. โพรเจกเตอร์ (Projector) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพที่ ใช้ในการนำเสนอ โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพ จากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี และ เครื่องกำเนิดภาพอื่น ๆ แล้วแสดงผล ขยายขนาดบน จอรับภาพช่วยให้มองเห็นได้ไกลขึ้น เหมาะสำหรับ การนำเสนอข้อมูลในห้องประชุม 2. วิชวลไลเซอร์ (Visualizer) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพ ระบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากโอเวอร์เฮด หรือเครื่องฉายข้ามศีรษะ ใช้แสดงภาพวัตถุและ เอกสารสู่จอรับภาพที่มีอยู่จริงได้เลย โดยไม่ต้อง ดัดแปลง อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ในการนำเสนอ งานต่าง ๆ โดยเฉพาะครู-อาจารย์ที่สอนหนังสือ และ ใช้ได้ดีในการนำเสนอภาพนิ่งมากกว่าภาพเคลื่อนไหว

3. กล้องถ่ายรูปดิจิทัล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับภาพที่เปลี่ยนจากฟิล์มมาเป็นอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อถ่ายรูปที่ต้องการแล้ว รูปจะถูก เก็บลงในหน่วยความจำ (memory) ที่อยู่ในกล้อง เมื่อ ต้องการดูรู ปทำได้โดยการถ่ายข้อมูลจากหน่วยความ จำลงบนเครื่องพิมพ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้ จะมีขนาดตามที่ต้องการ สามารถย่อหรือขยาย ปรับ แสงหรือเงาแล้วแต่ความพอใจหรือจะเพิ่มรู ปแบบก็ สามารถทำได้ 4. กล้องถ่ายวีดิทัศน์ ดิจิทัล ป็นอุปกรณ์รับภาพที่ บันทึกข้อมูล ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และ เสียง เก็บไว้ในหน่วย ความจำแบบแฟลชภายในกล้อง สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงเงาของภาพได้ และในปัจจุบันสามารถคัด ลอกข้อมูลลงในแผ่นดีวีดีได้เลย โดยไม่ต้องโอนลงใน เครื่องคอมพิวเตอร์

5. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์ขนาดสมุด บันทึกหรือโน้ตบุ๊ก ป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอ เป็นสื่อกลางในการ เชื่อมโยงอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น โพรเจกเตอร์ เพื่อนำเสนอ งาน และใช้นำเสนองานผ่านจอภาพของเครื่อง คอมพิวเตอร์ 6. เครื่องเล่นเสียง หรือเครื่องเล่นเอ็มพีสาม (MP3) ป็นอุปกรณ์ซึ่งบรรจุข้อมูลเสียงที่ใช้เล่นใน คอมพิวเตอร์และสามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปใน คอมพิวเตอร์ได้ โดยข้อมูลเสียงนั้นใช้เทคโนโลยีบีบอัด ให้มีขนาดเล็กลงมากกว่าข้อมูลเสียงปกติถึง 12 เท่า แม้ ขนาดข้อมูลจะเล็กลง แต่คุณภาพเสียงไม่ได้เสียไป

7. โทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่น เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ผู้ใช้สามารถนำเสนองานที่สร้าง ด้วยซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ผ่านเครื่อง โพรเจกเตอร์ได้สะดวก ง่ายต่อการติดตั้ง เพียงเชื่อม ต่อโพรเจกเตอร์เข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสาย เคเบิล แล้วเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบลูทูธ คำบรรยาย หรือบท พากย์ ซึ่งเป็นองค์ ประกอบด้านโสตหรือ เสียงนั่นเอง โดยมีวิธี การและหลักในการ พิจารณาดังนี้ 1. การบรรยายสด เหมาะสำหรับการประชุมหรือ สัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เพราะผู้บรรยาย ในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี รู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฏิกิริยาจากผู้ชมทำให้ผู้ บรรยายรู้ว่าผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจได้ เพียงพอหรือไม่รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความ มากน้อยเพียงใด

2. การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอด ได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดีคือ สามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรี หรือเสียงประกอบ (Sound effect) เพื่อสร้างบรรยากาศ แต่ข้อเสียคือไม่มีความ ยืดหยุ่น ไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของ ผู้ชมในขณะนั้น


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook