Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

รายงานคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

Published by worachet096, 2022-01-20 15:50:05

Description: รายงานคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

Search

Read the Text Version

ผู้จัดทำ นายวรเชษฐ์ โลเกตุ เลขที่ 18 รหัสนักศึกษา 16215177 น.ส.อมรรัตน์ ฤกษ์ฉวี เลขที่ 24 รหัสนักศึกษา 16215184 นายเกรียงศักดิ์ ใสสุข เลขที่ 28 รหัสนักศึกษา 16215188 ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชา การสอนภาษาไทย

ร้าน พิม รี่ พาย ขายทุกอย่าง

การวิจัย (research)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย 1. การวิจัย (research) ศิริพงษ์ เศาภายน (2555) กล่าวว่า การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ ที่เชื่อถือได้ มนัส สุวรรณ (2556) กล่าวว่า การวิจัย คือ กระบวนการที่มีการดำเนินการอย่างมีระบบ และระเบียบแบบแผน เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ ที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ วรรณี แกมเกตุ (2555) กล่าวว่า การวิจัย หมายถึง กระบวนการของการแสวงหาความรู้ ความจริงของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่ เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธี การที่เป็นระบบ มีเหตุมีผล และมีความ น่าเชื่อถือ

การวิจัย (research) จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า การวิจัย หมายถึง การวิจัยเป็นกระบวนการ แสวงหาความรู้ อย่างเป็นระบบความเป็นเหตุ เป็นผล เพื่อที่จะค้นพบข้อความจริงและความ สัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ หรือข้อค้นพบใหม่ ๆ ที่เชื่อถือได้ โดยเลือกใช้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการวิจัยมี จุดมุ่งหมายที่สำคัญหลายประการ ซึ่งในการ วิจัยหนึ่ง อาจมีจุดมุ่งหมายมากกว่า 1 ประการ ขึ้นอยู่กับประเด็นวิจัยที่ต้องการศึกษา

วิธีการอุปมาน (inductive method)

2. วิธีการอุปมาน (inductive method) Francis Bacon กล่าวว่า เป็นผู้ริเริ่มนำ วิธีการนี้มาใช้โดยเสนอว่าการค้นคว้าความรู้ ให้ได้ความรู้ใหม่ หรือข้อเท็จจริงใหม่นั้นจะ ต้องเป็นไปในลักษณะของการเก็บรวบรวม ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงย่อย ๆ แล้วจึงนำมา จำแนกประเภทและแปลความหมายสรุปผล Inductive Reasoning, Inductive Method, Inductive ให้ความหมายในทาง เดียวกัน คือ อุปมาน อุปนัย เทียนฉาย กีระนันทน์ (2544) กล่าวว่า วิธีการอุปมานเป็นการพิจารณาจากส่วนใหญ่ ที่ใช้อธิบายส่วนที่เล็กกว่า หรือเป็นการศึกษา สิ่งที่ไม่รู้จากสิ่งที่รู้แล้ว

วิธีการอุปมาน (inductive method) จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า การอุปมาน หมายถึง วิธีอุปมาน (Inductive Method) เป็นการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ย่อย ๆ ก่อนแล้วมาจำแนก ตามลักษณะและ หาความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริง ตามลักษณะ ต่าง ๆ จึงค่อยแปลความหมายและสรุปผล

วิธีการอนุมาน (deductive method)

3. วิธีการอนุมาน (deductive method) อริสโตเติล (300s ก่อนคริสตศักราช) กล่าวว่า อนุมาน อันเกิดข้อสรุปตรรกะจาก สถานที่เป็นที่รู้จักหรือสันนิษฐานว่าจะเป็นจริง ด้วยกฎหมายของการอนุมานที่ถูกต้องมีการ ศึกษาในตรรกะการเหนี่ยวนำ คือการอนุมาน จากสถานที่เฉพาะไปยังข้อสรุปสากล เทียนฉาย กีระนันทน์ (2544) กล่าวว่า การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นการอ้างเหตุผล ที่มีข้อสรุปตามเนื้ อหาสาระที่อยู่ภายใน ขอบเขตของข้ออ้างที่กำหนด วรรณี แกมเกตุ (2555) กล่าวว่า เป็นกระบวนการคิดค้นจากเรื่องทั่วไปสู่เรื่อง เฉพาะเจาะจง

วิธีการอนุมาน (deductive method) จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า การอนุมาน หมายถึง วิธีอนุมาน (Deductive Method) เกิดขึ้นจากการนำเอาหลักการของ เหตุผลมาใช้ในการหาความรู้ความจริง วิธีนี้ เป็นวิธีการเริ่มต้น ของการหาความรู้ความจริง โดยใช้เหตุผลคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและ อาศัยความสัมพันธ์ของเหตุผล 2 ประการนั้น มาสรุปเป็นผล โดยเหตุใหญ่ (Major Course) เป็นข้อเท็จจริงใหญ่ ๆ ที่จะบอกเรื่องราวทั้งหมด เหตุย่อย (Minor Course) ข้อเท็จจริงที่ เกิดขึ้นเฉพาะกรณี

การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research)

4. การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2549) กล่าวว่า เป็นวิธี ค้นหาความรู้ และความจริงโดยเน้นที่ข้อมูล เชิงตัวเลข การวิจัยเชิงปริมาณจะพยายาม ออกแบบวิธีการวิจัย ให้มีการควบคุมตัวแปร ที่ศึกษา ดร.ยุพา กูลประดิษฐ (2555) กล่าวว่า เป็นการแสวงหาความรู้เชิงประจักษ์ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์ (2550) กล่าวว่าเป็นการประมาณค่าซึ่งมีระดับของ ความคลาดเคลื่อนเข้ามาเกี่ยวข้อง และอาศัย กฏของความน่าจะเป็นในการอธิบายความ

การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปริมาณ หมายถึง เป็นวิธีค้นหา ความรู้และความจริง โดยเน้นที่ข้อมูลเชิงตัวเลข การวิจัยเชิงปริมาณจะพยายามออกแบบวิธีการ วิจัย ให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษาต้องจัด เตรียมเครื่องมือ รวบรวมข้อมูลให้มีคุณภาพ จัดกระทำสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ ให้เป็น มาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติช่วยวิเคราะห์ และประมวลข้อสรุปเพื่ อให้เกิดความคลาด เคลื่อน (Error) น้อยที่สุด

การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research)

5. การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) อ. บุษกร อนุชาติวรกุล (2557) กล่าวว่า เป็นการวิจัยที่ \"ต้องการค้นหาความจริงจาก เหตุการณ์สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง\" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่ อให้ เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ แววดาว พรมเสน (2549) กล่าวว่า เป็นการวิจัยที่นักวิจัยนั้น จะต้องลงไปศึกษา สังเกต และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดย ละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก นงลักษณ์ วิรัชชัย (2560 : ออนไลน์) กล่าวว่า เป็นวิธีการศึกษาโดยมีเป้าหมายเพื่อ หาความจริงโดยการพิจารณาปรากฏการณ์ จากสภาพแวดล้อมตามความจริงในทุกมิติ

การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) จากความหมายดังกล่า วข้างต้น สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ หมายถึง การวิจัยเชิง คุณภาพ หรือ Qualitative Research เป็นการ วิจัยที่ \"ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง\" ซึ่งจะมี หัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่ อที่ จะให้เกิด ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวม ที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง

การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research)

6. การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) Best and Kahn (1993 : 125) กล่าวว่า การวิจัยเชิงทดลองจะเป็นการวิจัยที่มุ่งบรรยาย และวิเคราะห์สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นอยู่ภายใต้ สภาพการณ์ควบคุมอย่างระมัดระวัง พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2543 : 31) กล่าวว่า การวิจัยเชิงทดลองนั้นเป็นการวิจัยที่ศึกษาถึง ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของตัวแปรของ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยมี การจัดกระทำกับ ตัวแปรที่เป็นเหตุแล้วสังเกตดูว่าจะเกิดผล เช่นไร บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2551 : 131) กล่าวว่า การวิจัยเชิงทดลองเป็นการค้นหา ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ และผล (cause and effect relationship) ที่เกิดขึ้นภายใต้ภาวการณ์ควบคุม

การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) จากความหมายดังกล่าว ข้างต้น สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงทดลอง หมายถึง การศึกษา หาความสัมพันธ์เชิงเหตุ และผลของตัวแปร ภายใต้การควบคุมสถานการณ์ตามวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (cause and effect relationship) ระหว่างตัวแปรและมุ่ง ตรวจสอบทฤษฎี

ตัวแปรอิสระ (independent variable)

7. ตัวแปรอิสระ (independent variable) นภาภรณ์ จันทรศัพท์ (2547) กล่าวว่า หมายถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อน และเป็นตัวเหตุ ทําให้เกิดผลตามมา ศิริชัย กาญจนวาส (2550) กล่าวว่า ตัวแปรอิสระ หรือบางครั้งเรียกว่า ตัวแปรต้น หมายถึง ตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อน และถือว่าเป็น เหตุของตัวแปรอื่ น ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม (2543) กล่าวว่า คือตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนหรือเป็นตัวแปรที่เป็น เหตุ ทำให้เกิดผลตามมา

ตัวแปรอิสระ (independent variable) จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ตัวแปรอิสระ หม ายถึง ตัวแปรอิสระ (independent variable) หรือตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่อิสระไม่ขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่น ๆ จะเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อน เป็นต้นเหตุทำให้ เกิดผลตามมา และมักจะเป็นตัวที่สามารถ เปลี่ยนแปลงค่าได้ยาก หรือไม่สามารถที่จะ เปลี่ยนแปลงค่าได้เลย

ตัวแปรตาม (dependent variable)

8. ตัวแปรตาม (dependent variable) ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม (2543) กล่าวว่า คือ ตัวแปรที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากตัวแปรต้น หรือเป็นตัวแปรผล อันเกิดจากเหตุตัวอย่าง ของตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม นภาภรณ์ จันทรศัพท์ (2547) กล่าวว่า ตัวแปรตาม หมายถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นเนื่องมา จากตัวแปรอิสระ หรือกล่าวได้ว่าเป็นตัวแปรที่ เป็นผลเมื่ อตัวแปรอิสระเป็นเหตุ ศิริชัย กาญจนวาส (2550) กล่าวว่า ตัวแปรตามนั้นจะหมายถึงคุณลักษณะของ ปรากฏการณ์ที่ต้องการจะศึกษาในงานวิจัย แต่ละครั้ง จัดว่าเป็นตัวแปรที่เกิดจากการจัด กระทำเป็นตัวแปรที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อให้เป็น ตัวบ่งชี้หรือตอบคำถามวิจัย

ตัวแปรตาม (dependent variable) จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ตัวแปรตาม หมายถึง ตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่ เหกริืดอขอึ้นาจแกลล่ะาจวะไแดป้ว่ราผันเปไ็ นปตตัวาแมปตัรวทแี่ เปป็รนต้ผนลเมื่ อ ตัวแปรต้นเป็นเหตุ ตัวแปรตามอาจเรียกว่า ตัวแปรผลหรือตัวแปรที่ถูกกำหนด (output variable หรือ assigned variable) คือ เป็นผลที่ถูกกำหนดเนื่ องจากตัวแปรที่จัด กระทำหรือทดลองนั่นเอง

ตัวแปรแทรกซ้อน (extraneous variable)

9. ตัวแปรแทรกซ้อน (extraneous variable) ศิริชัย กาญจนวาส (2550) กล่าวว่า ตัวแปรแทรกซ้อน หรือตัวแปรเกินเป็นตัวแปร ที่ผู้วิจัยไม่ได้สนใจที่จะศึกษาแต่ตัวแปรนี้จะมี ผลกระทบต่อตัวแปรตาม ดังนั้นจึงต้องมีการ ควบคุมตัวแปรเหล่านี้ นภาภรณ์ จันทรศัพท์ (2547) กล่าวว่า ตัวแปรแทรกซ้อน หรือเรียกว่าตัวแปรเกินเป็น ตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษาของงานวิจัยเรื่อง หนึ่ง ๆ ในขณะนั้น มีลักษณะเหมือนตัวแปร อิสระ ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม (2543) กล่าวว่า ตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรเกิน เป็นตัวแปร ที่ผู้วิจัยไม่ได้มุ่งศึกษา ซึ่งอาจจะมีผลหรือ มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามทำให้ข้อสรุปของการ วิจัยขาดความถูกต้อง

ตัวแปรแทรกซ้อน (extraneous variable) จากความหมายดังกล่า วข้างต้น สรุปได้ว่า ตัวแปรแทรกซ้อน หมายถึง ตัวแปร แทรกซ้อนหรือตัวแปรเกิน (extraneous variable) มีลักษณะเหมือนตัวแปรอิสระแต่ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได ้มุ่งศึกษา ซึ่งอาจจะมี ผลหรือมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามและจะทำให้ ข้อสรุปของการวิจัยขาดความถูกต้อง หรือจะ เกิดความคลาดเคลื่ อนเพราะผลการวิจัยนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวแปรอิสระ ดังนั้นในการวิจัย ผู้วิจัยจึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมตัวแปร แทรกซ้อนให้เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด

ความตรง / ความเที่ยงตรง (validity)

10. ความตรง / ความเที่ยงตรง (validity) ศราวุธ จ้อนอยู่เกษม (2550) กล่าวว่า ความตรง (Validity) หรือความถูกต้องเป็น คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของ เครื่องมือ วิจัย กล่าวคือ เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดได้ ตรงกับที่ต้องการจะวัด ยุพดี ฉิมอ่อง (2557) กล่าวว่า ความตรงหรือความเที่ยงตรง ( Validity ) หมายถึงแบบทดสอบนั้นให้ผลการวัดได้ตรง คุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการวัด Bingham (Wainer and Other. 1988. p.20 Citing Bingham. 1937, p.214) กล่าวว่า คือสหสัมพันธ์อย่างง่ายของคะแนน แบบทดสอบที่สร้างขึ้นกับแบบทดสอบอื่น ๆ

ความตรง / ความเที่ยงตรง (validity) จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ความตรง / ความเที่ยงตรง หมายถึง การตรวจสอบเครื่องมือที่วัดได้ตรงตามที่ ผู้วิจัยต้องการศึกษาหรื อไม่ เช่นการสร้าง เครื่องมือที่ต้องการวัดเกี่ยวกับเรื่องใด เรื่องหนึ่งแต่ข้อคำถามไปสอบถามเกี่ยวกับ เรื่องอื่ นที่ไม่เกี่ ยวข้องจึงได้ว่าเครื่องมือวัดนั้น ไม่มีความตรง

ความเที่ยง/ ความเชื่อมั่น (reliability)

11. ความเที่ยง/ ความเชื่อมั่น (reliability) ยุพดี ฉิมอ่อง (2557) กล่าวว่า ความเชื่อมั่น (Reliability) เป็นคุณสมบัติของ เครื่องมือวัดที่แสดงให้ทราบว่า เครื่องมือนั้น ๆ ให้ผลการวัดที่คงที่ไม่ว่าจะใช้วัดกี่ครั้ง พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2543 : 121) กล่าวว่า ความเชื่อมั่นจะบอกให้ทราบว่าผลของการวัด เกิดจากความแปรปรวนของคะแนนจริงอยู่ เท่าใด จากคะแนนความแปรปรวนที่วัดได้ รัตนะ บัวสนธ์ (2540) กล่าวว่า ค่า \"ความเชื่อมั่น\" ของเครื่องมือ หรือว่า แบบทดสอบนั้นให้ผลการสอบคงเส้นคงวา ในการสอบวัดคนกลุ่มเดิมไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม

ความเที่ยง/ ความเชื่อมั่น (reliability) จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ความเที่ยง / ความเชื่อมั่น หมายถึง เป็นคุณลักษณะของเครื่องมือที่จะแสดงว่า เครื่องมือนั้นให้ผลการ วัดคงที่ไม่ว่าจะวัด ถึงกี่ครั้งหรือวัดในสภาพการณ์ที่แตกต่างกัน ก็ยังคงได้ผลการวัดคงเดิม หรือใกล้เคียง กับค่าเดิม เครื่องมือที่สำคัญของการวัดใน ภาคปฏิบัติ คือ ผู้วัดถ้าเครื่องมือมีคุณภาพ คุณลักษณะที่วัดชัดเจน มีหลักเกณฑ์การให้ คะแนนที่ดี แม้จะประเมินต่างเวลาหรือ ผู้วัดคนละคนก็ควรให้ผลสอดคล้องกัน

ประชากร (population)

12. ประชากร (population) ศราวุธ จ้อนอยู่เกษม (2550) กล่าวว่า ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มของ สิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ ซึ่งอาจเป็น กลุ่มของ สิ่งของ คน หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ นภาภรณ์ จันทรศัพท์ (2547) กล่าวว่า ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มของ สิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ อาจจะเป็น สิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ประชากรในทาง สถิติอาจจะหมายถึง บุคคล หรือกลุ่มบุคคล องค์กรต่าง ๆ สัตว์ สิ่งของ ผศ. ดร.สุรินทร์ หลวงนา (2552) กล่าวว่า ประชากร(Population)คือกลุ่ม ของสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต

ประชากร (population) จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ประชากร หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มของ สิ่งของ คน หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ได้

กลุ่มตัวอย่าง (sample)

13. กลุ่มตัวอย่าง (sample) บุญธรรม จิตอนันต์ (2540) กล่าวว่า กลุ่มตัวอย่างนั้นคือกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็น ส่วนหนึ่งของประชากรที่ศึกษา เพื่อนำข้อสรุป นั้นไปอ้างอิงสู่ประชากรทั้งหมด โดยที่กลุ่ม ตัวอย่างจะมีคุณลักษณะ หรือจะสะท้อนภาพ ของประชากรทั้งหมดได้ ปาริชาต สถาปิตานนท์ (2546) กล่าวว่า กลุ่มตัวอย่างนั้น หมายถึง สมาชิกกลุ่มย่อย ๆ ของประชากรที่ต้องการศึกษา ที่นำมาเป็น ตัวแทนเพื่ อศึกษาคุณลักษณะของประชากร พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544) กล่าวว่า กลุ่มตัวอย่างหมายถึงบางหน่วยของประชากร ที่นำมาศึกษาแทนประชากรเป้าหมายในงาน วิจัย

กลุ่มตัวอย่าง (sample) จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง กลุ่มตัวอย่าง จะเป็นส่วนหนึ่งของประชากร ที่ผู้วิจัยสนใจ กลุ่มตัวอย่างที่ดี หมายถึงกลุ่มตัวอย่างที่มี ลักษณะต่าง ๆ ที่สำคัญครบถ้วนเหมือนกับ กลุ่มประชากร และเป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่ม ประชากรได้

สถิติเชิงบรรยาย (descriptive statistics)

14. สถิติเชิงบรรยาย (descriptive statistics) ดิเรก ศรีสุโข (2537) กล่าวว่า สถิติเชิงบรรยาย(Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่มุ่งนำเสนอสารสนเทศ เพื่อที่ใช้ บรรยายสรุปลักษณะของตัวแปรในกลุ่ม ตัวอย่างหรือประชากรว่าเป็นอย่างไร นงลักษณ์ วิรัชชัย (2543) กล่าวว่า เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลในรูปของ ของการบรรยายลักษณะทั่ว ๆ ไปของข้อมูล โดยจัดนำเสนอเป็นรูปแบบบทความ ศิริชัย กาญจนวาส (2537) กล่าวว่า สถิติเชิงบรรยายคือสถิติที่ ใช้เพื่ ออธิบาย บรรยาย หรือสรุป ลักษณะของกลุ่มข้อมูลที่ เป็นตัวเลข ที่เก็บรวบรวมมาซึ่งไม่สามารถ อ้างอิงลักษณะประชากรได้

สถิติเชิงบรรยาย (descriptive statistics) จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า สถิติเชิงบรรยาย หมายถึง สถิติที่จะ ต้องใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณทุกเรื่อง สถิติที่ นิยมใช้กัน เช่น ร้อยละ การแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดและ การกระจาย สหสัมพันธ์

สถิติเชิงอ้างอิง (inferential statistics)

15. สถิติเชิงอ้างอิง (inferential statistics) ดิเรก ศรีสุโข (2537) กล่าวว่า สถิติเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics) เป็นเทคนิคทางสถิติที่ศึกษาข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างหรือค่าสถิติเพื่ อใช้สรุปอ้างอิงข้อมูล ไปสู่ประชากรหรือค่าพารามิเตอร์ นงลักษณ์ วิรัชชัย (2543) กล่าวว่า สถิติเชิงอ้างอิงเป็นการนําผลข้อมูลที่เก็บมา ได้จากกลุ่มตัวอย่าง (Sample) ไปใช้อ้างอิง และอธิบายถึงกลุ่มประชากรทั้งหมด ศิริชัย กาญจนวาส (2537) กล่าวว่า สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) เป็นสถิติที่ใช้อธิบายถึงคุณลักษณะ ของสิ่งที่ ต้องการศึกษา ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแล้วจะ สามารถอ้างอิงไปยังกลุ่มอื่น ๆ ได้

สถิติเชิงอ้างอิง (inferential statistics) จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า สถิติเชิงอ้างอิง หมายถึง สถิติที่ใช้ ในการอธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการ ศึกษา ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แล้วสามารถที่จะ อ้างอิงไปยังกลุ่มอื่น ๆ ได้ โดยกลุ่มที่นำมา ศึกษาจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร ตัวแทนที่ดีของประชากรได้มาโดยวิธีการสุ่ม ตัวอย่าง และตัวแทนที่ดีของประชากรนั้นจะ เรียกว่า \"กลุ่มตัวอย่าง\"

ขอตัว ไปส่งของ ก่อนนะคะ

บรรณานุกรม ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2550). การเรียน การสอนและการประเมินผลตามสภาพจริง. พิษณุโลก : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2535). การวัด และประเมินผลการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช. บุญรักษ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์. (2542). การประเมินผลการเรียนกลุ่มวิชคณิตศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook