Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Anhedonia (ภาวะสิ้นยินดี)

Anhedonia (ภาวะสิ้นยินดี)

Published by Guset User, 2022-12-29 02:51:16

Description: Anhedonia (ภาวะสิ้นยินดี)

Search

Read the Text Version

Anhedonia (ภาวะส้นิ ยนิ ด)ี ดร.อภริ ชั ศกั ด์ิ รัชนีวงศ์ ทีม่ า https://www.innnews.co.th/lifestyle/health/news_255178/ หากมองภาพตนเอง ไม่ยินดียินร้ายกับเร่ืองต่างๆ ในชีวิต คงเป็นความรู้สึกท่ีแปลกน่าดู แต่มีอยู่จริงกับภาวะ Anhedonia (อ่านว่า แอนฮีโดเนีย) ภาวะส้ินยินดี หรือ Anhedonia มรี ากศพั ท์มาจากภาษากรีก แปลได้ว่า “ไรซ้ ง่ึ ความพงึ พอใจ” ภาวะน้เี ป็นอาการไม่ยินดียินร้ายกับ เร่ืองท่เี กิดข้ึนในชวี ิต ไม่มีอารมณร์ ่วมกับสง่ิ ท่ีเจอ ไมว่ า่ จะสุข จะเศรา้ ท้ังที่ส่ิงน้ันเคยสร้างความสุข ให้กับตัวเราได้ เช่น การไปเที่ยว การดูซีรีส์ กินของอร่อยๆ การได้ฟังเพลง หรือ เร่ือง sex “ภาวะส้นิ ยนิ ดี” เปน็ ความผดิ ปกติทางอารมณ์ สาเหตกุ ารเกิดนัน้ มักพบวา่ เป็นสว่ นหน่ึงของอาการ โรคซมึ เศร้า สมาคมจติ เวชของประเทศสหรัฐอเมริกา ระบไุ วว้ า่ ภาวะสน้ิ ยนิ ดีน้ันเป็นความผิดปกติ ทางอารมณ์ พบไดใ้ นโรคจิตเภทและความผดิ ปกติทางจิตอื่นๆ ความผิดปกตินี้อาจจะเก่ียวข้องกับ สารแห่งความสุขที่เรียกว่า โดปามีน (dopamine) โดยปกติสมองจะหล่ังสารเคมีน้ีออกมา เมื่อเราทากิจกรรมท่ีสนุก มีความสุข แต่เมื่ออยู่ในภาวะส้ินยินดี สมองน้ันทางานผิดปกติ ทาให้ เรารู้สึกไม่สนใจ ไม่มีความสุขกับสิ่งท่ีทา ปิดกันความรู้สึกของเราไปเลย บางคนที่เป็นเริ่มแรก อาจจะไม่ค่อยรู้สึกอะไร ยังใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่เม่ือความเหน่ือยเร่ิมข้ึน ความเบ่ือก็เร่ิมเข้ามา

2 จะเร่ิมไม่อยากทาอะไร อยากอยู่เฉยๆ รู้สึกว่าทาอะไรไปก็ไม่ได้มีผลอะไรข้ึนมา แล้วหลุมแห่ง ความคิดกจ็ ะลึกข้นึ เรอื่ ยๆ จนไม่ร้สู กึ อะไรเลย มองไปทางไหนก็เห็นแต่ความว่างเปล่า Anhedonia หรือภาวะส้ินยินดี2 เป็นอาการผิดปกติทางจิตเวชท่ีผู้ป่วยจะเฉยชาต่อ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวและมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างน้อยลง มักพบได้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหรือ โรคไบโพลาร์ แต่กอ็ าจเปน็ ผลจากโรคทางกายหรือพบในคนปกติทั่วไปได้เช่นเดียวกัน อาการของ ภาวะน้ีอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และเพศหญิงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Anhedonia มากกวา่ เพศชาย Anhedonia หรอื ภาวะสนิ้ ยินดี4 จะพรากความรู้สึกของเราออกจากสิ่งต่าง ๆ ท่ีเราเคย ชอบทาหรือเคยทาแล้วมีความสุขกับมัน เช่น ดนตรี อาหาร การสนทนา หรือแม้แต่เร่ืองเพศ เป็นส่วนหนง่ึ ของอาการโรคซึมเศรา้ ท่ีจะสุขก็ไม่สุข จะทุกข์ก็ไม่ทุกข์ ไม่รู้ว่าตัวเองรู้สึกอะไรกันแน่ และสมาคมจิตเวชศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ระบุด้วยว่า ภาวะส้ินยินดีน้ันสามารถพบได้ใน โรคจิตเภทและความผิดปกตทิ างจติ อ่นื ๆ อีกดว้ ย ภาวะ Anhedonia แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ ภาวะส้ินยินดีทางสังคม (Social Anhedonia) ที่ผู้ป่วยไม่ต้องการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่ืน และภาวะสิ้นยินดีทางร่างกาย (Physical Anhedonia) ที่ผู้ป่วยรู้สึกไม่มีความสุขหรือไม่เพลิดเพลินต่อการทาส่ิงต่าง ๆ ซึ่งใน ภาวะปกติสามารถสร้างความพึงพอใจให้ได้ เช่น การรับประทานอาหาร การอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น การทากิจกรรม2 ซ่ึงอาจจะสันนิฐานได้ว่าเกิดจากสารเคมีในสมอง เพราะโดยปกติเมื่อเรา ทากจิ กรรมต่างๆทช่ี อบร่างกายจะหลง่ั สารแห่งความสุขทเ่ี รียกว่าโดปามีน(dopamine) แต่เมื่ออยู่ ในภาวะสิ้นยินดี สมองน้นั ทางานผดิ ปกติ ทาใหเ้ กดิ ปิดกันความรสู้ ึกของเราไปเลย3 สาเหตุของ Anhedonia2 ภาวะ Anhedonia คาดวา่ อาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง ของสมองในการผลิตหรือตอบสนองอย่างผิดปกติต่อสารโดปามีน (Dopamine) ซ่ึงกระตุ้นให้ ร่างกายรู้สึกดีหรือพึงพอใจ ทาให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้หรือมีความสุข ส่วนใหญ่แล้วภาวะ Anhedonia จะพบได้มากในผู้ที่มีผิดปกติทางจิต เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) โรคจิตเภท (Schizophrenia) (“โรคอารมณ์สองข้ัว” (BIPOLAR DISORDER)3 โรคนี้ ยังไม่มียารักษาได้ตรงอาการ ส่วนใหญ่จะบาบัดด้วยการพูดคุย พาตัวเองไปอยู่กับเพ่ือนฝูงและ สงั คมดีๆ หรือกับครอบครัวและคนที่รัก ให้กาลังใจตัวเองทากิจกรรมที่เคยชอบกินอาหารอร่อยๆ ออกกาลงั กายบอ่ ยๆ หาสัตว์เล้ียงเพ่ือช่วยให้น้องๆช่วยกันบาบัดเรา ถึงจะไม่ยินดียินร้ายกับอะไร ขอให้ลองหยบิ กระจกขึ้นมาและพูดกบั ตัวเองว่า“เรารักเธอนะ”แล้วอย่าลืมย้ิมบ่อยๆเติมพลังบวก ให้ตัวเองเสมอ อย่างไรก็ตามขอให้ควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์เพ่ือแนวทางการรักษา ที่ถูกต้อง) รวมถึงผู้ท่ีใช้ยาต้านเศร้า (Antidepressant) หรือยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics) และอาจพบได้ในผปู้ ว่ ยโรคเบาหวาน โรคพารก์ ินสนั โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ ผู้ท่ีใช้สารเสพติดด้วยเช่นกัน นอกจากน้ี ผู้ท่ีมีความเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะนี้ คือเป็นเพศหญิง มีสมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรคการกินผิดปกติ (Eating Disorder) เคยมีประวัติการใช้สารเสพติด เคยถูกทาร้ายหรือถูกทอดท้ิง เพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่ตึงเครียดหรือ

3 กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง เจ็บป่วยด้วยโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตหรือป่วยด้วยโรคที่มี ความรุนแรง อาการของ Anhedonia จะแตกต่างกันไปและผู้ป่วยอาจไม่สามารถสังเกตเห็นความ เปล่ียนแปลงของอาการท่ีเกิดขึ้นได้2 ในระยะแรก4 ของผู้ท่ีมีอาการภาวะส้ินยินดีนี้จะใช้ชีวิตได้ อยา่ งปกตไิ ม่มอี ะไรเปล่ียนแปลงมาก แต่เมื่อนานเข้าอาการก็จะเร่ิมแสดงออกมาเอง รับรู้ได้จาก ทุกอย่างทเ่ี ราเคยทาเปน็ ปกตทิ ุกวนั อยู่ ๆ กไ็ ม่อยากทาอีกต่อไปเพราะคดิ ว่าทาไปกไ็ มไ่ ดอ้ ะไรข้ึนมา เชน่ แคห่ วผี มก็ไม่อยากทา เพราะคิดว่าการท่ีตัวเองดูแย่ก็ไม่ทาให้รู้สึกอะไร และจากคาบอกเล่า ของผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าหลายคนที่มีอาการของภาวะสิ้นยินดียังบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เกลียดความรู้สึกว่างเปล่าน้ีซะย่ิงกว่าอาการของโรคซึมเศร้าเสียอีก เพราะการท่ีไม่สามารถทา ในสิ่งท่ีตวั เองเคยทาไดเ้ หมือนเคย เป็นอะไรท่ีทุกข์มาก และผู้ป่วยยังบอกอีกว่าการที่ตนรู้สึกเศร้า นั้นยังดีกว่าการไมร่ ู้สกึ อะไรเลย เม่อื ไมม่ คี วามสนใจหรือไม่อยากทาอะไรอีกแล้ว กิจวัตรประจาวัน ของผู้ป่วยก็จะไม่เหมือนเดิม ทาให้ตัวตนของผู้ป่วยเปลี่ยนไปจากเคยเป็นคนที่ช่างพูดช่างคุย ก็ไม่อยากสนทนากับใคร หรือจากท่ีเป็นคนเงียบ ๆ อยู่แล้วก็จะยิ่งเข้าสังคมน้อยลงไปอีกและ ไมค่ ่อยอยากเป็นมติ รกับใคร หนึ่งในการศกึ ษาทน่ี า่ สนใจ พบกวา่ ผู้ป่วยโรคซมึ เศรา้ ท่ีมีอาการภาวะ สิ้นยินดีในแถบยุโรปท่ีมีอาการรุนแรงในระดับร้อยละ 86.29 ผู้ป่วยกลุ่มน้ีจะมีความรู้สึกเฉยชา กบั เรื่องทางเพศ เพราะความผิดปกติของสารในสมองไปกดอารมณ์ความรู้สึกทางเพศไว้ จึงทาให้ ไม่รสู้ กึ อยากมเี ซ็กซ์ และการศึกษายังพบอีกว่าภาวะสิ้นยินดีมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความคิด ท่ีอยากจะฆ่าตัวตาย เพราะว่าไม่รู้สึกอะไรเลยทาให้ไม่กลัวความตาย เพราะ ฉะนั้น จึงบอก ไดเ้ ลยว่าภาวะส้นิ ยนิ ดีนเ้ี ปน็ ปัญหาที่สาคัญต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างมาก โดยท่ัวไป ผู้ท่ีป่วยด้วย ภาวะ Anhedonia2 จะแสดงใหเ้ หน็ ถึงความผดิ ปกติตา่ ง ๆ ต่อไปน้ี (๑) ร้สู ึกเฉื่อย ๆ เฉยชาหรือไม่ มีความรู้สึกต่อส่ิงรอบข้าง (๒) เก็บตัวหรือแยกตัวออกจากสังคม มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง น้อยลง (๓) มีอาการของโรคกลัวสังคม (Social Anxiety) (๔) เกิดความรู้สึกส้ินหวัง (๕) มีความคิดด้านลบตอ่ ตนเองและผอู้ น่ื (๖) แสดงออกด้านอารมณ์ท้ังทางการกระทาและคาพูด น้อยลง (๗) ไม่ย้ิมหรือมีความสุขกับส่ิงที่เคยชื่นชอบ (๘) ฝืนที่จะต้องแสดงอารมณ์ต่าง ๆ (๙) ความตอ้ งการทางเพศลดลง (๑๐) เกิดความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายอยบู่ อ่ ยคร้งั การตรวจภาวะสิน้ ยินดีเบื้องต้น1 (๑) รูส้ ึกหมดกาลังใจ มีความรู้สกึ สิน้ หวัง (๒) ไม่รู้สึกสุข ไม่รู้สึกเศร้า (๓) ไม่อยากเขา้ สังคม (๔) หวาดระแวงคนรอบตัว (๕) ไม่อยากได้รับความช่วยเหลือ จากใคร (๖) ไม่อยากฟังเร่ืองราวคนอื่น หากรู้สึกว่าเกิดภาวะน้ีกับตัวเองควรปรึกษาแพทย์หรือ จติ แพทย์เพอ่ื รับคาแนะนาต่อไป รู้จักให้กาลังใจตัวเอง ค่อยๆ ใช้ชีวิต ค่อยๆ กลับไปทาในสิ่งที่รัก อกี คร้ัง การวนิ ิจฉัย Anhedonia2 จิตแพทยจ์ ะตรวจประวัตทิ างการแพทยแ์ ละสอบถามเก่ียวกับ อาการและอารมณ์ทั่วไปของผู้ป่วยเก่ียวกับความคิด อารมณ์ความรู้สึกและพฤติกรรมต่าง ๆ ก่อนจะตรวจร่างกายเพื่อหาโรคหรือความผิดปกติอ่ืน ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ แพทย์อาจ

4 เจาะเลือดเพ่ือตรวจหาภาวะขาดวิตามินหรือปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เพราะอาจเป็นสาเหตุ ของความผดิ ปกติทางอารมณไ์ ด้ การรักษา Anhedonia2 ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาภาวะ Anhedonia โดยตรง แตผ่ ปู้ ่วยควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุท่ีแท้จริง หากผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติด้านร่างกายหรือ สงสยั วา่ ผูป้ ่วยมคี วามผิดปกตทิ างสขุ ภาพจติ แพทย์อาจส่งต่อการรักษาไปยังจติ แพทย์ นกั จิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการบาบัด โดยมีท้ังในรูปแบบของการพูดคุยหรือการรับประทานยา โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มอี าการของภาวะ Anhedonia รว่ มกับโรคซมึ เศรา้ มจี ะอาการดีขึ้นพร้อมกับการ รักษาโรคทเี่ กยี่ วขอ้ ง ในกรณีท่ีผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาเหล่านั้น แพทย์อาจรักษาโดยการ กระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) การใช้ เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส (Vagus Nerve Stimulation: VNS) และการรักษาด้วย กระแสไฟฟ้าดว้ ยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy: ECT) ซ่งึ พบว่าได้ผลดีในการรักษาผู้ป่วย ภาวะซมึ เศร้า นอกจากน้ี แพทย์อาจใช้ยาเคตามีน (Ketamine) ในบางรายเน่ืองจากมีการทดลอง ใช้ยาชนิดน้ีแล้วพบว่าเป็นผลดีต่อผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม การใช้เคตามีนในการรักษาภาวะ Anhedonia ยังอยรู่ ะหว่างการค้นควา้ และวจิ ัย ภาวะแทรกซ้อนของ Anhedonia2 หากไม่รับการรักษาท่ีเหมาะสม ภาวะ Anhedonia อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจาวันของผู้ป่วย มีปัญหาด้านอารมณ์และด้านความสัมพันธ์กับ คนรอบข้าง และอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะ Anhedonia รว่ มกบั ปัญหาด้านสุขภาพจติ การป้องกัน Anhedonia2 โดยทั่วไปแล้ว ปัญหาด้านสุขภาพจิตยังคงเป็นปัญหา ที่ไม่สามารถป้องกันได้ และอาจเกิดได้จากปัจจัยหลาย ๆ อย่างรวมกัน แต่หากสังเกตเห็นว่า อาการต่าง ๆ คล้ายกับภาวะ Anhedonia หรือปัญหาทางสุขภาพจิตอ่ืน ๆ ควรปรึกษาแพทย์ เพ่อื รกั ษาและหาทางแก้ไขปัญหาอยา่ งเหมาะสม และรับความช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อน เพื่อให้คนรอบข้างสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติที่อาจเกิดข้ึนได้ในอนาคต รวมท้ังควรดูแล สขุ ภาพรา่ งกายของตนเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกาลังกาย พักผ่อนอย่าง เพยี งพอและดแู ลสขุ ภาพจิตของตนเองอย่เู สมอ ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เขตภาคใต้5 การศึกษานีเ้ ป็นการวิจยั เชงิ บรรยาย มวี ัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะส้ินยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรท่ีมีความสัมพันธ์กับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วย โรคซมึ เศรา้ กลมุ่ ตวั อยา่ ง คอื ผู้ป่วยอายุ20-59 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า สามารถฟัง พูดภาษาไทยได้ร่วมมือและยินยอมให้ข้อมูล และไม่มีอาการทางจิต รักษาท่ีแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิต เขตภาคใต้ จานวน 144 ราย เคร่ืองมือที่ใช้คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดอาการย้าคิดย้าทา 3) แบบวัดภาวะซึมเศร้า 4) แบบประเมินการทาหน้าท่ีทางสังคม 5) แบบวัดความวิตกกังวล 6) แบบวัดเหตุการณ์เครียด

5 ในชวี ิต และ 7) แบบวัด Temporal experience of pleasure scale วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ไคสแควร์และสถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีภาวะสิ้นยินดี ร้อยละ 62.5 จากการหาความสัมพันธ์พบว่าอายุมีความสัมพันธ์กับภาวะส้ินยินดีของผู้ป่วย โรคซึมเศร้าอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ความรุนแรงของอาการย้าคิดย้าทา ภาวะ ซมึ เศรา้ ความวิตกกงั วล และเหตกุ ารณ์เครยี ดในชวี ิต มคี วามสมั พันธท์ างบวกกับภาวะส้ินยินดีของ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การทาหน้าที่ทางสังคมมีความสัมพันธ์ ทางลบกับภาวะสิน้ ยนิ ดขี องผู้ปว่ ยโรคซมึ เศร้า อยา่ งมนี ัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเพศไม่มี ความสัมพันธ์กับภาวะส้ินยนิ ดีของผปู้ ่วยโรคซมึ เศรา้ ทม่ี า https://hellokhunmor.com/ หากพูดถึงภาวะหมดไฟ ภาวะซึมเศร้า หรือแม้แต่ภาวะส้ินยินดี ซ่ึงนับเป็นภาวะท่ีอาจ นาไปสู่โรคนั้น หลายคนอาจจะเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง แต่หลังจากการระบาดของโควิด -19 นกั จิตวิทยาในสหรัฐอเมริกาพบว่า มีภาวะหนงึ่ ที่แตกต่างจากภาวะหมดไฟหรือซึมเศร้า ที่พบว่ามี ผู้คนจานวนมากเผชิญภาวะนี้อยู่โดยไม่รู้ตัวสูงข้ึน และถือเป็นภัยเงียบของสุขภาพจิตของยุคสมัย ซ่ึงเรียกว่า “ภาวะเหนื่อยล้า” ทางอารมณ์ หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า “ภาวะเหน่ือยชีวิต (Languishing)”6 ขณะท่ี ภาวะหมดไฟ หมายถงึ อาการเครียดเร้ือรังจากท่ีทางาน ท่ีสะสมจนเกิด ความเหน่ือยล้าทางอารมณ์ และมีปัจจัยต่าง ๆ ในที่ทางานที่ไม่ตรงกับความคาดหวัง และภาวะ ซึมเศร้า ท่ีมีอาการรู้สึกส้ินหวัง ไม่สนุกในสิ่งที่เคยสนุก รู้สึกซึมเศร้าและวิตกกังวล รวมถึง ภาวะสิ้นยินดี จะมีอาการไม่ยินดียินร้าย ขาดอารมณ์ร่วมท้ังอารมณ์สุขและเศร้า แต่ภาวะ เหนือ่ ยชีวิตนน้ั แตกต่างออกไป อดัม แกรนท์ (Adam Grant) นักจิตวทิ ยาอเมริกัน ซ่ึงปัจจุบันเป็น ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาองค์การ ที่วาร์ตันสคูล (Wharton School) แห่งมหาวิทยาลัย

6 เพนซิลเวเนีย ได้เปิดเผยว่า ภาวะเหน่ือยชีวิต อาจเรียกได้ว่า เป็นภาวะทางจิตใจแห่งปี 2564 ท่ีน่ากังวลไม่แพ้โรคระบาดเลยทีเดียว และภาวะเหน่ือยชีวิต ไม่ใช่ภาวะหมดไฟ เพราะผู้ที่เกิด ภาวะน้ียงั มพี ลังในการทาส่งิ ตา่ ง ๆ และไม่ใช่ภาวะซึมเศร้า เพราะผู้ที่เกิดภาวะน้ี ไม่ได้รู้สึกส้ินหวัง แต่จะมีอาการไม่สนุกและไม่มีเป้าหมาย ภาวะเหนื่อยชีวิตเป็นความรู้สึกเหนื่อยล้าและว่างเปล่า รสู้ ึกเหมอื นว่าชีวติ กาลงั ยุง่ เหยงิ ตลอดทัง้ วันและเม่ือมองไปข้างหน้ากเ็ ห็นแต่หมอกมวั ภาวะเหล่านี้ ถูกสังเกตเห็นได้จากในหมู่นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ท่ีทางานอย่างหนักเพ่ือต่อสู้กับการแพร่ ระบาดของโควิด-19 ท่ีกินระยะเวลายาวนาน ทาใหห้ ลายคนไมท่ ันไดเ้ ตรยี มตัวหรือหยุดพักในการ ต้ังรับทางอารมณ์ ทั้งยังต้องเผชิญกับการสูญเสียบุคคลใกล้ชิดจากโรคระบาด อดัม แกรนท์ ตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงต้นของการระบาดโควิด-19 สมองของมนุษย์ในส่วน อมิกดาลา (amygdala) ซึง่ เกย่ี วข้องกบั ความวิตกกงั วลและความกลัว จะมีการต่ืนตัว เพื่อตั้งรับกับภัยท่ีอาจ คุกคามชีวิต แต่เมื่อเราเผชิญกับภัยคุกคามบ่อย ๆ จนกิจกรรมเหล่าน้ีพัฒนากลายเป็นกิจวัตร จึงทาให้เกิดภาวะเหน่ือยล้าเร้ือรังทางอารมณ์ ในทางจิตวิทยา เราอาจมองภาวะซึมเศร้า ในลักษณะเป็นขั้วตรงกันข้ามกับความเฟื่องฟูทางอารมณ์ ในขณะที่ภาวะเหน่ือยล้าทางอารมณ์ ถือเป็นจุดตรงกลาง ท่ีถูกมองข้าม เนื่องจาก ผู้ท่ีมีภาวะน้ี จะไม่มีอาการทางสุขภาพจิต แต่ก็ไมส่ ามารถไปถงึ จดุ ท่เี ฟอื่ งฟูทางอารมณ์ได้เช่นกัน ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ทาให้แรงจูงใจ ตกตา่ และขดั ขวางความสามารถในมีสมาธิกับสิ่งต่าง ๆ อาการเหล่าน้ี ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ ของคนทั่วไป มากกว่าภาวะซึมเศร้าท่ีมักจะถูกพูดถึง แต่ภาวะเหล่านี้สามารถนาไปสู่โรคทาง สุขภาพจติ ไดเ้ ช่นกัน แม้ว่าในขณะน้ี นักจิตวิทยาจะยังไม่ทราบถึงต้นตอของ ภาวะเหนื่อยล้าทาง อารมณ์ได้อย่างแน่ชัด และยังไม่มีวิธีการรักษาที่ชัดเจน แต่ในข่ันต่าสุด นักจิตวิทยาเสนอว่า ผู้ท่ีรู้สึกเหนื่อยล้าในชีวิต ควรยอมรับถึงความรู้สึกเหน่ือยล้า ส่ือสารความรู้สึกของตนเองออกไป โดยไม่จาเป็นต้องพยายามมองโลกในแง่ดี เพราะอาจทาให้สุขภาพจิตย่าแย่กว่าเดิม มองว่า การพูดคุยเรื่องอารมณ์เหล่านี้เป็นเร่ืองปกติ เม่ือได้แบ่งปันความรู้สึกกับคนอ่ืน ๆ จะช่วย ยา้ เตือนวา่ มันเปน็ เร่อื งปกติ ท่ีเราจะรู้สึกเหน่ือย และเราไมไ่ ดต้ ่อสอู้ ย่างเหนื่อยลา้ อยเู่ พียงคนเดียว Adam Grant ท่มี า https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_6350059

7 ที่มา https://www.innnews.co.th/lifestyle/health/news_255178/

8 อ้างองิ 1 inn lifestyle. 2564. ภาวะสนิ้ ยนิ ดี Anhedonia ไมเ่ ศร้า ไม่สขุ ไม่ทุกข์ ไมร่ ้วู ่าตวั เองรสู้ ึก อยา่ งไร. เขา้ ถึงขอ้ มูลไดจ้ าก https://www.innnews.co.th/lifestyle/health/news_ 255178/ วนั ที่สืบค้นข้อมูล 30 สงิ หาคม 2565. 2 POBPAD. ม.ป.พ. ความหมาย ภาวะสิน้ ยนิ ดี (Anhedonia). เข้าถงึ ข้อมูลไดจ้ าก https://www.pobpad.com/ วันที่สืบคน้ ขอ้ มลู 30 สิงหาคม 2565. 3 สถานสี ุขภาพ. 2565. ไมท่ ุกข์ ไม่สขุ ไม่สน “ภาวะสิน้ ยนิ ดี” เฉยเมย แต่เจบ็ ปวด. เข้าถึงข้อมูล ได้จาก https://www.pptvhd36.com/health/how-to/1657 วันทีส่ บื ค้นขอ้ มูล 30 สงิ หาคม 2565. 4 BrandThink. ม.ป.พ. Anhedonia ภาวะส้ินยนิ ดี แยก่ ว่าซึมเศร้าเสยี อกี . เข้าถึงข้อมูลไดจ้ าก https://www.brandthink.me/content/anhedonia วนั ท่สี บื คน้ ขอ้ มูล 30 สงิ หาคม 2565. 5 วนดิ า อาแว และ รัชนีกร อปุ เสน. 2561. “ปจั จยั คดั สรรทมี่ คี วามสัมพนั ธ์กบั ภาวะสิน้ ยินดีของ ผปู้ ่วยโรคซมึ เศร้า เขตภาคใต้” วารสารพยาบาลทหารบก ปีท่ี 19 ฉบับพเิ ศษ มกราคม – เมษายน 2561. เข้าถงึ ขอ้ มูลได้จาก https://www.car.chula.ac.th › วันท่สี บื ค้นข้อมลู 30 สงิ หาคม 2565. 6 Khaosod Online. 2564. ชวนรจู้ ัก ภาวะเหนอื่ ยลา้ ทางอารมณ์ ไมใ่ ช่หมดไฟ-ซึมเศรา้ แต่ไมส่ นกุ ไม่มีเป้าหมาย. เข้าถงึ ข้อมูลได้จาก https://www.khaosod.co.th/lifestyle/ news_6350059 วนั ที่สืบค้นขอ้ มูล 30 สิงหาคม 2565.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook