แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพการมองเหน็ ในงานอาชวี อนามัย Guideline for Standardization and Interpretation of Vision Tests in Occupational Health Setting พ.ศ. 2561 2018 Version มลู นิธสิ มั มาอาชวี ะ Summacheeva Foundation จดั พมิ พแ์ ละเผยแพรโ่ ดยมูลนธิ สิ ัมมาอาชวี ะ เลขที่ 800/3 ถนนสขุ มุ วทิ ตาํ บลแสนสขุ อาํ เภอเมืองชลบรุ ี จังหวัดชลบรุ ี 20130 ข้อมลู บรรณานุกรม มูลนธิ ิสัมมาอาชวี ะ. แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพการมองเหน็ ในงานอาชีวอนามยั พ.ศ. 2561. ชลบุรี: มูลนธิ ิสมั มาอาชีวะ; 2561. จํานวน 19 หน้า หมวดหมหู่ นังสือ 616.98 วันทเ่ี ผยแพร่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561 จดั พิมพข์ ้นึ เพ่ือแจกฟรใี หแ้ กผ่ ้สู นใจ หากผูใ้ ดตอ้ งการหนงั สอื เล่มนใ้ี นรปู แบบอิเล็กทรอนกิ สส์ ามารถดาวนโ์ หลดได้ที่ www.summacheeva.org เผยแพร่โดยไมส่ งวนลิขสทิ ธิ์
คําเตอื น หนังสือเลม่ นมี้ ลู นธิ ิสัมมาอาชวี ะกําลังทาํ การปรับปรุงพฒั นาเน้อื หา อาจมีเน้อื หาบางส่วนไม่ครบถว้ นสมบูรณ์ โปรดใช้วจิ ารณญาณในการนาํ เนื้อหาจากหนงั สือเล่มนี้ไปใช้
คาํ นาํ การตรวจสมรรถภาพการมองเห็น เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหน่ึงที่มีความสําคัญในการ ดําเนินงานด้านอาชีวอนามัย เนื่องจากเป็นการตรวจท่ีช่วยประเมินว่าคนทํางานมีการมองเห็นชัดเจนเพียงใด และสมรรถภาพการมองเห็นนั้น เพียงพอท่ีจะทําให้ทํางานได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ รวมถึงเป็นการคัดกรอง ความผดิ ปกติของการมองเห็นในด้านต่างๆ ซง่ึ อาจสามารถทาํ การแกไ้ ขใหด้ ขี น้ึ หรือรกั ษาให้หายได้ โดยทั่วไปการตรวจสมรรถภาพการมองเห็นในงานอาชีวอนามัยน้ันจะเป็นการตรวจในระดับการคัด กรองโรค ซ่ึงเป็นการตรวจท่ีทําได้ง่าย รวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายไม่มาก และไม่ทําให้คนทํางานเจ็บตัว แต่แม้ว่าจะ เป็นการตรวจท่ีทําได้ไม่ยากนัก ในเร่ืองเทคนิคในการตรวจท่ีถูกต้อง และเกณฑ์ในการแปลผลท่ีเหมาะสม เป็น มาตรฐานเดียวกัน ก็มีความสําคัญที่จะทําให้การตรวจสมรรถภาพการมองเห็นในงานอาชีวอนามัยมีความ นา่ เชอื่ ถอื สามารถนํามาใชป้ ฏิบตั ิเพือ่ ประโยชน์ของคนทํางานและนายจ้างไดจ้ ริง ด้วยเล็งเห็นถึงความสําคัญ ในประเด็นเทคนิคการตรวจและเกณฑ์การแปลผลการตรวจสมรรถภาพ การมองเห็นในงานอาชีวอนามัย มูลนิธิสัมมาอาชีวะ จึงได้จัดทําหนังสือ “แนวทางการตรวจและแปลผล สมรรถภาพการมองเหน็ ในงานอาชวี อนามัย พ.ศ. 2561” ฉบับนี้ขึ้น เพื่อหวงั ให้เป็นแนวทางในเบ้ืองต้น เพ่ือให้ ผู้ประกอบวชิ าชพี ทางด้านอาชีวอนามยั ใช้เปน็ เกณฑอ์ า้ งองิ ในการตรวจและแปลผลสมรรถภาพการมองเห็นใน งานอาชีวอนามยั ของประเทศไทยให้เหมาะสมและถูกต้องตรงกัน หวังเปน็ อย่างยิ่งว่า หนงั สือ “แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพการมองเห็นในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2561” ฉบับนี้ จะใหป้ ระโยชน์กับผู้ทํางานดา้ นอาชีวอนามยั ของประเทศไทยได้บา้ งไมม่ ากกน็ อ้ ย มูลนธิ สิ มั มาอาชวี ะ 22 ตลุ าคม พ.ศ. 2561 ก
สารบญั ก ข คาํ นาํ 1 สารบัญ 1 บทนํา 3 ส่วนที่ 1 คาํ แนะนําในภาพรวม 6 สว่ นท่ี 2 การตรวจความชัดเจนในการมองภาพ 7 สว่ นที่ 3 การตรวจความสามารถในการจําแนกสี 9 สว่ นท่ี 4 การตรวจลานสายตา 11 ส่วนที่ 5 การตรวจสมรรถภาพการมองเหน็ ด้วยเคร่อื งทดสอบสายตา เอกสารอา้ งองิ ข
หากท่านมขี อ้ สงสยั หรอื ขอ้ เสนอแนะเก่ียวกับเนอื้ หาในหนังสอื “แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพการมองเห็นในงานอาชีวอนามยั พ.ศ. 2561” ฉบับน้ี สามารถติดตอ่ สอบถามหรือใหข้ อ้ เสนอแนะมาได้ท่ี นพ.วิวัฒน์ เอกบรู ณะวฒั น์ ทางอเี มล์ [email protected] ค
แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพการมองเหน็ ในงานอาชวี อนามัย พ.ศ. 2561 บทนํา “การตรวจสมรรถภาพการมองเห็น (Vision test)” หรืออาจเรียกว่า “การตรวจสมรรถภาพสายตา” น้ัน เป็นการตรวจทางการแพทย์ท่ีได้รับความนิยมนํามาใช้ในงานด้านอาชีวอนามัยของประเทศไทยอย่าง แพรห่ ลาย เนือ่ งจากการตรวจสมรรถภาพการมองเหน็ เป็นการตรวจหน้าที่การทํางาน (Function) ของร่างกายที่ สําคัญ ที่ใช้ในการพิจารณาว่าคนทํางานนั้นมีความพร้อมในการทํางาน (Fitness to work) ที่จะสามารถทํางาน ท่ีสนใจได้อย่างปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจที่ช่วยลดความเส่ียงในการเกิดอันตรายจากการ ทาํ งานขึ้นต่อคนทาํ งานผู้นั้นและเพื่อนร่วมงาน นอกจากนี้การตรวจสมรรถภาพการมองเห็นยังเป็นการตรวจ คัดกรองโรคหรือความผดิ ปกตทิ ่ีเกีย่ วกบั การมองเห็นให้กบั คนทํางาน ทําให้แพทย์ผู้ทําการตรวจสามารถประเมิน ได้วา่ คนทาํ งานมคี วามผิดปกติของการมองเห็นในด้านต่างๆ เกิดข้ึนหรือไม่ ในบางกรณีเมื่อพบความผิดปกติแล้ว อาจสามารถสง่ ตอ่ คนทํางานท่มี ีความผดิ ปกตินั้นไปทาํ การแก้ไขความผิดปกติเพื่อให้มองเห็นชัดเจนข้ึน หรือทํา การรกั ษาโรคของดวงตาใหห้ ายและมีการมองเหน็ ดขี นึ้ ได้ สว่ นที่ 1 คําแนะนาํ ในภาพรวม ส่วนนี้จะเป็นคําแนะนําในการตรวจและแปลผลสมรรถภาพการมองเห็นในงานอาชีวอนามัยใน ภาพรวม ซงึ่ มีรายละเอยี ดดังนี้ แนวคิดในการดําเนินการ (Concept of practice) จุดประสงค์ของการตรวจสมรรถภาพการ มองเห็นในงานอาชีวอนามัยนั้น เป็นการตรวจเพื่อประเมินความสามารถของการมองเห็นในด้านต่างๆ ของ คนทํางาน เช่น ความชัดเจนในการมองภาพ ลานสายตา หรือความสามารถในการจําแนกสี ซึ่งความผิดปกติ ของความสามารถของการมองเห็นด้านต่างๆ เหล่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทํางานของ คนทํางานนั้น รวมไปถึงความปลอดภัยต่อตัวคนทํางานผู้น้ันเองหรือเพื่อนร่วมงานด้วย เนื่องจากในทางปฏิบัติ ผู้ทําการตรวจจะต้องทําการตรวจสมรรถภาพสายตาในคนทํางานจํานวนมากให้ได้อย่างรวดเร็ว เม่ือพบความ ผดิ ปกตแิ ลว้ จะมกี ารสง่ ตอ่ ผูท้ ่มี ีความผดิ ปกติไปทําการตรวจโดยละเอียดเพื่อวินิจฉัยยืนยันความผิดปกติน้ันกับ ผู้เชี่ยวชาญ เช่น จักษุแพทย์ (Ophthalmologist) หรือนักทัศนมาตร (Optometrist) จึงกล่าวได้ว่า การตรวจ สมรรถภาพการมองเห็นในงานอาชีวอนามัยน้ัน เป็นการตรวจในระดับการคัดกรองความผิดปกติ (Screening test) คือเป็นการตรวจคัดกรองสมรรถภาพการมองเห็น (Vision screening) ไม่ใช่การตรวจในระดับการ วินิจฉัยยืนยัน (Diagnostic test) ซ่ึงเป็นการตรวจสมรรถภาพการมองเห็นโดยละเอียด (Comprehensive eye examination) อย่างไรก็ตาม เมื่อทําการตรวจคัดกรองพบความผิดปกติแล้ว ควรมีการส่งต่อคนทํางานผู้นั้น 1
ไปพบผู้เชี่ยวชาญเพ่อื ทําการตรวจวินิจฉยั ยืนยัน รวมถึงทาํ การรกั ษาโรคหรอื แกไ้ ขความผดิ ปกติ (ถ้าสามารถรักษา หรือแก้ไขได)้ ตอ่ ไป ผู้สั่งการตรวจ (Director) ผู้สั่งการตรวจสมรรถภาพการมองเห็นในงานอาชีวอนามัย ควรเป็น แพทย์ (หมายถึงผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525) และถ้าผลการ ตรวจน้ัน จะถูกนํามาใช้ประกอบการตรวจสุขภาพลูกจ้างตาม “กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ตรวจสุขภาพของลูกจ้างและส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547” แล้ว แพทย์ผู้ส่ังการตรวจ นั้นจะต้องเป็นแพทย์ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือแพทย์ท่ีผ่านการอบรมด้าน อาชีวเวชศาสตร์ตามข้อกําหนดของกฎหมาย ผู้ส่ังการตรวจควรผ่านการอบรมที่เกี่ยวกับการตรวจและแปลผล สมรรถภาพการมองเหน็ ในงานอาชีวอนามัยมาแล้ว โดยผู้สง่ั การตรวจจะตอ้ งทําหน้าที่สั่งการตรวจ แปลผลการ ตรวจ รับรองผลการตรวจ มีความรับผิดชอบทางกฎหมายต่อผลการตรวจท่ีเกิดขึ้น รวมถึงมีหน้าที่ควบคุม ปัจจัยต่างๆ ที่จะสง่ ผลต่อคณุ ภาพการตรวจดว้ ย ผทู้ ําการตรวจ (Technician) ผู้ทําการตรวจสมรรถภาพการมองเห็นในงานอาชีวอนามัย ควรจบ การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเป็นอย่างน้อย และผ่านหลักสูตรอบรมการตรวจสมรรถภาพ การมองเห็นในงานอาชีวอนามยั มาแลว้ โดยหลักสูตรทเี่ ข้ารับการอบรมควรมีระยะเวลาของหลักสูตรอย่างน้อย 20 ช่ัวโมง มีการฝึกอบรมในภาคปฏิบัติไม่ต่ํากว่า 50 % ของระยะเวลาหลักสูตร หลังจากเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็น ผู้ทําการตรวจแล้ว ควรทําการอบรมเพื่อฟื้นฟูความรู้ซํ้าอย่างน้อยทุก 5 ปี ผู้ทําการตรวจมีหน้าท่ีดําเนินการ ตรวจสมรรถภาพการมองเห็นตามคําส่ังของผู้ส่ังการตรวจ ควบคุมคุณภาพด้านเทคนิค ควบคุมคุณภาพด้านการ ควบคุมการตดิ เชือ้ ดแู ลรกั ษาเคร่อื งมอื ท่ใี ชใ้ นการตรวจสมรรถภาพการมองเหน็ ให้มีสภาพดีอยู่เสมอ ข้อบ่งชี้ (Indication) ในการตรวจสมรรถภาพการมองเห็นในงานอาชีวอนามัย มีดังนี้ (1.) ทํา การตรวจเพ่ือคัดกรองสมรรถภาพการมองเห็นในคนทํางานที่มีความเสี่ยง (2.) ทําการตรวจเพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ของระบบการเฝ้าระวงั โรค (3.) ทําการตรวจเพ่ือนาํ ผลตรวจไปเปน็ สว่ นหนึ่งของการประเมินความพร้อมในการ ทํางาน (Fitness to work) หรือความพร้อมในการกลับเข้าทํางาน (Return to work) และ (4.) ทําการตรวจ เพ่อื ประกอบการทาํ วิจัยทางด้านอาชีวอนามยั โดยทั่วไปแล้ว การตรวจสมรรถภาพการมองเห็นในงานอาชีวอนามัย ซ่ึงเป็นการตรวจในระดับ การคัดกรองความผิดปกติน้ัน จัดว่าเป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยสูง จึงไม่มีข้อห้าม (Contraindication) ในการตรวจ และไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน (Complication) จากการตรวจขึ้น [หมายเหตุ: การตรวจ สมรรถภาพการมองเห็นในงานอาชีวอนามัย เป็นเพียงการตรวจในระดับการคัดกรองความผิดปกติ จะไม่มีการ ขยายม่านตา (Eye dilation) ในคนทํางานผมู้ าเขา้ รบั การตรวจในทุกกรณ]ี สําหรับการเตรียมตัวของคนทํางานเพ่ือเข้ารับการตรวจสมรรถภาพการมองเห็นในงานอาชีวอนามัย น้ัน แนะนําให้คนทํางานที่มีแว่นสายตา (Glasses) นําแว่นสายตาท่ีมีมาใช้ในการตรวจด้วย หากคนทํางานมีแว่น สายตาอันเดียว กใ็ ห้นําแวน่ สายตาที่มีอันเดียวนั้นมา หากคนทํางานมีแว่นสายตาสองอัน (คืออันหนึ่งไว้สําหรับ มองภาพระยะไกล อีกอันหนงึ่ ไวส้ ําหรับมองภาพระยะใกล้) ก็ให้นําแว่นสายตาท่ีมีท้ัง 2 อันน้ันมา หากคนทํางาน 2
ปกติแล้วใส่คอนแทคเลนส์ (Contact lens) ในระหว่างการทํางาน ก็ให้ใส่คอนแทคเลนส์มาทําการตรวจเหมือน เวลาทํางานปกติ สว่ นที่ 2 การตรวจความชดั เจนในการมองภาพ ในส่วนนี้จะกล่าวถึงแนวทางการตรวจและแปลผลความชัดเจนในการมองภาพ (Visual acuity) ซึ่งเป็น การตรวจสมรรถภาพการมองเหน็ พ้ืนฐานที่มีความสําคัญท่สี ุด ความชดั เจนในการมองภาพ (Visual acuity; VA) เป็นความสามารถในการมองเห็นที่มีความสําคัญ ทีส่ ดุ เนอ่ื งจากเปน็ ความสามารถของสายตา ท่จี ะทําให้คนทาํ งานเห็นภาพไดช้ ัดเจนมากน้อยเพียงใด การตรวจ ความชดั เจนในการมองภาพนท้ี ําโดยให้ผู้เข้ารบั การตรวจมองภาพสญั ลักษณ์ (Optotype) ท่อี ยู่บนแผน่ ทดสอบหรือ จอภาพจากระยะทก่ี าํ หนด แลว้ พิจารณาวา่ ผเู้ ขา้ รบั การตรวจสามารถอา่ นภาพสัญลักษณ์ไดถ้ ูกตอ้ งหรอื ไม่ ความสว่างของพื้นท่ีตรวจความชัดเจนในการมองภาพ จะต้องมีความสว่างอย่างน้อย 400 ลักซ์ข้ึน ไป เพ่ือให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศไทย คือ “กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการ จัดการดา้ นความปลอดภัย อาชวี อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเก่ียวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549” ลักษณะของดวงไฟทใ่ี ชค้ วรเปน็ แสงขาว และจะต้องให้ความสว่างได้อย่างต่อเน่ือง ไม่กระพริบจน สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปลา่ ตรวจความชัดเจนในการมองภาพระยะไกล กรณีตรวจความชดั เจนในการมองภาพระยะไกล (Far vision test) ให้ทําการตรวจโดยกําหนดให้ แผ่นทดสอบกับผู้เข้ารับการตรวจ มีระยะห่างกันในตอนแรกเท่ากับ 20 ฟุต (6 เมตร) การใช้กระจกสะท้อนแผ่น ทดสอบหรอื เลนส์ขยายแผ่นทดสอบทาํ ให้เสมอื นมรี ะยะหา่ งเท่ากับ 20 ฟุต เช่น ในกรณีของเคร่ืองทดสอบสายตา (Vision tester) อนุโลมใหส้ ามารถใช้ได้ ภาพสัญลักษณ์ (Optotype) ท่ีใช้ในแผ่นทดสอบ อาจเป็น Landolt ring (Landolt “C”) หรือรูป ตวั อี (E chart) หรอื ตวั อกั ษร (Letter) หรอื ตัวเลข (Number) ก็ได้ โดยลักษณะของภาพสัญลักษณ์ และการเรียง ตัวของภาพสัญลักษณ์บนแผ่นตรวจ ให้ใช้ตามมาตรฐานขององค์กร International Council of Ophthalmology (ICO) ฉบับปี ค.ศ. 1984 การเรยี งตัวของภาพสัญลักษณใ์ นลักษณะ logMAR chart สามารถใช้ได้ การบันทึกผลการตรวจ จะใช้หนว่ ยแบบทศนิยม (Decimal) หรือหน่วยฟุต (Feet) หรือหน่วยเมตร (Meters) หรือหน่วยลอการิทึม (logMAR) ในการบันทึกผลก็ได้ ขึ้นกับชนิดของแผ่นทดสอบที่ใช้และความ เหมาะสม ให้ทําการบนั ทึกด้วยว่าผู้เข้ารับการตรวจ มาเข้ารับการตรวจโดยใช้ตาเปล่า หรือใส่แว่นสายตามา หรือใสค่ อนแทคเลนส์มา ลําดับในการตรวจในกรณีทัว่ ไป ท่ีผู้เข้ารับการตรวจไม่ได้ใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์มา (ตา เปล่า) ใหท้ าํ การตรวจตาขวาโดยการมองด้วยตาเปล่า (Uncorrected right eye หรือ Naked right eye) ถ้าผล ออกมาผดิ ปกติใหท้ าํ การตรวจตาขวาในแบบที่แกไ้ ขการมองแล้ว (Corrected right eye) โดยใช้การมองลอดรเู ขม็ 3
(Pinhole) จากน้ันทําการตรวจตาซ้ายโดยการมองด้วยตาเปล่า (Uncorrected left eye) ถ้าผลออกมาผิดปกติ ให้ทาํ การตรวจตาซ้ายในแบบที่แก้ไขการมองแล้ว (Corrected left eye) โดยใช้การมองลอดรูเข็ม จากน้ันตรวจ การมองทง้ั 2 ตาพร้อมกนั โดยการมองด้วยตาเปล่า (Uncorrected both eye) ไปตามลําดับ ลําดับในการตรวจในกรณีผู้เข้ารับการตรวจใส่แว่นสายตามา ให้ทําการตรวจตาขวาโดยการมอง ด้วยตาเปล่า (Uncorrected right eye) และตาขวาแบบใส่แว่นสายตา (Corrected right eye) จากนั้นทําการ ตรวจตาซ้ายโดยการมองด้วยตาเปล่า (Uncorrected left eye) และตาซ้ายแบบใส่แว่นสายตา (Corrected left eye) จากน้ันตรวจการมองท้ัง 2 ตาพร้อมกันโดยการมองด้วยตาเปล่า (Uncorrected both eye) และทั้ง 2 ตา พรอ้ มกันแบบใสแ่ ว่นสายตา (Corrected both eye) ไปตามลาํ ดบั ลาํ ดับการตรวจในกรณีผู้เข้ารับการตรวจใส่คอนแทคเลนส์มา ให้ทําการตรวจโดยผู้เข้ารับการตรวจ ไม่ต้องถอดคอนแทคเลนส์ออก โดยให้ตรวจตาขวาแบบใส่คอนแทคเลนส์ (Corrected right eye) จากนั้นทําการ ตรวจตาซ้ายแบบใสค่ อนแทคเลนส์ (Corrected left eye) แล้วจากนั้นทําการตรวจการมองทั้ง 2 ตาพร้อมกัน แบบใส่คอนแทคเลนส์ (Corrected both eye) ไปตามลาํ ดบั ข้ันตอนการตรวจ ให้ผู้เข้ารับการตรวจอ่านภาพสัญลักษณ์ท่ีอยู่บนแผ่นทดสอบจากแถวบนสุด (ท่ีมี ขนาดใหญ่ที่สุด) ไลล่ งมาเรือ่ ยๆ ทีละแถว จนถงึ แถวที่มีขนาดเล็กท่ีสุดเท่าท่ีสามารถอ่านได้ การพิจารณาในแต่ละ แถวว่าอ่าน “ได้” หรือ “ไม่ได้” พิจารณาจากการที่ผู้เข้ารับการตรวจสามารถอ่านภาพสัญลักษณ์ได้ถูกต้อง อยา่ งน้อยครึ่งหนึ่งของจํานวนภาพสัญลกั ษณท์ มี่ อี ยู่ในแถวน้ัน เช่น ถ้าแถวท่ีพิจารณามีภาพสัญลักษณ์อยู่จํานวน 4 ตัว หากผ้เู ข้ารบั การตรวจสามารถอ่านได้ถูกตอ้ งต้ังแต่ 2 ตวั ข้นึ ไป ใหถ้ ือวา่ สามารถอ่านแถวนัน้ “ได”้ ทาํ การบันทกึ ผลการตรวจตามค่าท่ผี เู้ ข้ารับการตรวจอ่านไดล้ งในแผน่ บนั ทกึ ผล เช่น 20/20, 20/40, 20/200 ดังนเ้ี ปน็ ตน้ (หากใชห้ น่วยอื่นในการบนั ทกึ ผลกใ็ หบ้ ันทกึ ลงไปตามแบบของหน่วยน้นั ๆ) กรณีตรวจคนทํางานที่ส่วนใหญ่เป็นคนมีสุขภาพดี การร่นระยะเวลาการตรวจ โดยบอกให้ผู้เข้ารับ การตรวจ “อ่านภาพสัญลกั ษณแ์ ถวทีเ่ ลก็ ทส่ี ดุ เทา่ ท่คี ุณสามารถอ่านได้” เลย สามารถทําได้ แต่หากผู้เข้ารับการตรวจไม่สามารถอ่านภาพสัญลักษณ์ได้แม้จะเป็นภาพสัญลักษณ์ตัวท่ีอยู่แถว บนสุด (ท่ีมีขนาดใหญ่ที่สุด) แล้วก็ตาม ให้บอกผู้เข้ารับการตรวจให้เดินขยับเข้าหาแผ่นทดสอบให้ใกล้ขึ้นอีก ครึ่งหนึ่ง (เป็นห่าง 10 ฟุต) ถ้าสามารถอ่านได้ให้ลงบันทึกผลโดยเอาระยะ 10 ฟุต เป็นตัวต้ัง คือลงบันทึกเป็น 10/200 หากยังอา่ นไม่ไดอ้ ีก ใหข้ ยบั เขา้ ใกลแ้ ผ่นทดสอบอกี เป็น 5 ฟุต และ 2.5 ฟตุ ตามลําดับ ถ้ายังอ่านไมไ่ ด้ อกี ให้ผ้ทู ําการตรวจชูนวิ้ ไวห้ น้าดวงตาของผู้เขา้ รับการตรวจ แลว้ ถามว่าเห็นก่ีนิ้ว ถ้านับจํานวนนิ้วได้ถูกต้องให้ ลงบันทึกผลว่า CF (Counting fingers) แล้วตามด้วยระยะห่างที่สามารถนับนิ้วได้ถูกต้อง เช่น CF at 2 feet (หรือ CF 2), CF at 1 feet (หรือ CF 1) หากนับนิ้วไม่ได้ ให้โบกมือหน้าดวงตาของผู้เข้ารับการตรวจแล้วถามว่า เหน็ อะไรเคล่อื นไหวหรือไม่ ถา้ เห็นใหล้ งบนั ทกึ ผลวา่ HM (Hand motion) หากไมเ่ หน็ อีกให้ใชไ้ ฟฉายส่องหน้า ดวงตาของผู้ป่วย แล้วถามว่าเห็นดวงไฟหรือไม่ ถ้าเห็นดวงไฟแล้วสามารถบอกตําแหน่งของดวงไฟได้ถูกต้อง ด้วย ให้ลงบันทึกผลว่า PJ (Projection of light) หากเห็นดวงไฟแต่ไม่สามารถระบุตําแหน่งของดวงไฟได้ ให้ 4
ลงบันทึกผลว่า PL (Perception of light) หากไม่สามารถมองเห็นดวงไฟได้เลย ซึ่งบ่งบอกว่าตาบอดสนิท ให้ ลงบนั ทกึ ผลว่า no PL (No perception of light) กรณที ําการรายงานผลในหนว่ ยฟตุ (Feet) หรอื หนว่ ยเมตร (Meters) ไม่จําเป็นต้องใส่ประจุลงใน ผลการตรวจทบี่ ันทกึ เช่น หากผเู้ ข้ารับการตรวจอ่านแถวท่เี ล็กทีส่ ดุ ได้ถกู ตอ้ งคือแถว 20/20 ฟุต ซ่ึงมีจํานวนภาพ สัญลกั ษณท์ ั้งส้ิน 6 ตัว แต่อา่ นผดิ ไป 2 ตัว ใหล้ งบันทึกผลวา่ 20/20 ไม่ใชล่ งบนั ทึกผลว่า 20/20-2 ในการแปลผลการตรวจนั้น หากเป็นการแปลผลเพ่ือดูความพร้อมในการทํางาน (Fitness to work) ให้พิจารณาจากผลการตรวจโดยการมองท้ัง 2 ตา (Both eye) เมื่อแก้ไขให้ดีที่สุดเท่าที่ทําได้ ณ เวลาน้ัน (Best corrected) หากเป็นการแปลผลเพื่อวัตถุประสงค์การคัดกรองโรค (Disease screening) ให้พิจารณาจากผลการ ตรวจของตาแต่ละข้าง (Each eye) แยกจากกัน โดยพิจารณาทั้งจากผลการตรวจแบบที่มองด้วยตาเปล่า (Uncorrected) และแบบทแ่ี กไ้ ขให้ดีข้ึนแล้ว (Corrected) ในการแปลผลการตรวจกรณีเพ่ือดูความพร้อมในการทํางาน (Fitness to work) ให้แปลผลตาม เกณฑ์ที่กฎหมายกาํ หนด หากเป็นเรอื่ งทีม่ ีการกําหนดไว้ในกฎหมาย หรือแปลผลตามเกณฑ์ที่มีองค์กรทางด้าน วิชาการ หรือระเบยี บของหนว่ ยงานราชการ หรือกฎของบรษิ ทั กําหนดไว้ ตามความเหมาะสม ในการแปลผลการตรวจกรณีเพื่อการคัดกรองโรค อาจยึดตามเกณฑ์ขององค์กร International Council of Ophthalmology (ICO) ฉบับปี ค.ศ. 2002 ซ่ึงจะแปลผลว่าความชัดเจนในการมองภาพมีความ “ผดิ ปกต”ิ เมื่อมองได้แย่กวา่ 0.8 (ในหนว่ ยทศนยิ ม) หรอื 20/25 (ในหนว่ ยฟุต) หรอื 6/7.5 (ในหนว่ ยเมตร) หรือ 0.1 (ในหนว่ ย logMAR) หากแปลผลแล้วพบว่าความชัดเจนในการมองภาพผิดปกติ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ผู้แปลผลควร ส่งตัวผเู้ ขา้ รับการตรวจไปพบผู้เชี่ยวชาญ เชน่ จักษุแพทย์ เพือ่ ตรวจหาความผิดปกตแิ ละทําการแกไ้ ข (ถ้าความ ผิดปกตนิ ั้นสามารถทาํ การแก้ไขได)้ ต่อไป ตรวจความชดั เจนในการมองภาพระยะใกล้ กรณีตรวจความชดั เจนในการมองภาพระยะใกล้ (Near vision test) ให้ใช้แผ่นทดสอบสําหรับการ มองภาพระยะใกล้ (Near chart) ในการทดสอบ โดยกําหนดให้แผ่นทดสอบกับผู้เข้ารับการตรวจมีระยะห่าง กนั เท่ากบั 14 นิว้ (ประมาณ 35 เซนติเมตร) การใช้เลนส์ขยายแผ่นทดสอบทําให้เสมือนมีระยะห่างเท่ากับ 14 นิว้ เชน่ ในกรณขี องเครอื่ งทดสอบสายตา (Vision tester) อนโุ ลมใหส้ ามารถใชไ้ ด้ ภาพสัญลักษณ์ (Optotype) ที่ใช้ในแผ่นทดสอบ อาจเป็น Landolt ring (Landolt “C”) หรือรูป ตัวอี (E chart) หรือตัวอักษร (Letter) หรือตัวเลข (Number) ก็ได้ หรืออาจใช้แผ่นทดสอบที่มีลักษณะเป็น ข้อความทมี่ ีขนาดตัวอักษรเลก็ ลงเรื่อยๆ เช่น แผน่ ทดสอบเจเกอร์ (Jaeger chart) ก็ได้ การบันทกึ ผล จะใช้หนว่ ยแบบทศนิยม หรอื หนว่ ยฟตุ หรือหน่วย Jaeger กไ็ ด้ ลําดับในการตรวจ วิธีการตรวจ และการแปลผลของการตรวจความชัดเจนในการมองภาพ ระยะใกล้ (Near vision test) ให้ทําเหมือนกับกรณีของการตรวจความชัดเจนของการมองภาพระยะไกล (Far vision test) ยกเว้นในเรื่องการย่นระยะห่างระหวา่ งแผน่ ทดสอบกับผู้เขา้ รบั การตรวจ ไม่ต้องทาํ 5
สว่ นท่ี 3 การตรวจความสามารถในการจําแนกสี ในส่วนนจ้ี ะกลา่ วถงึ แนวทางการตรวจและแปลผลความสามารถในการมองจําแนกสี (Colour discrimi- nation ability) หรือท่ีนิยมเรียกโดยทัว่ ไปวา่ การตรวจคน้ หาภาวะตาบอดสี (Colour blindness) หรอื ภาวะความ บกพรอ่ งในการจาํ แนกสี (Colour vision deficiency) ในงานอาชวี อนามัย การเรียกบุคคลที่ไม่สามารถจาํ แนกสีต่างๆ ออกได้เหมือนคนปกติว่ามีภาวะ “ตาบอดสี (Colour blindness)” นั้น แทจ้ ริงแล้วอาจเปน็ การเรยี กที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการนัก เนื่องจากคนที่มีภาวะตาบอดสี น้ันไม่ใช่คนตาบอด คือส่วนใหญ่มักยังมีความสามารถในการมองภาพได้ชัดเจน เพียงแต่ไม่สามารถมองจําแนก สบี างสีออกจากกนั ไดเ้ หมอื นคนปกตเิ ทา่ นั้น ภาวะความบกพร่องในการจําแนกสี แบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ 3 กลุ่ม คือ (1.) ความบกพร่องในการ จําแนกสีทุกสี (Total colour vision deficiency) (2.) ความบกพร่องในการจําแนกสีแดง-เขียว (Red-green colour vision deficiency) และ (3.) ความบกพร่องในการจําแนกสีเหลือง-ม่วง (Yellow-purple colour vision deficiency) ภาวะความบกพร่องในการจําแนกสีส่วนใหญ่จะเป็นภาวะท่ีเป็นแต่กําเนิด (Congenital colour vision deficiency) แต่ก็มีส่วนน้อยท่ีเกิดข้ึนในภายหลัง (Acquired colour vision deficiency) โดยมัก สมั พนั ธ์กบั การเจ็บปว่ ยเป็นโรคเรอ้ื รงั บางอยา่ ง เชน่ เบาหวาน หลอดเลือดในสมองตีบ โรคพาร์กินสัน ภาวะความ บกพร่องในการจําแนกสนี ้ี เมือ่ เกดิ ขึน้ แลว้ โดยปกตจิ ะไม่สามารถรักษาใหห้ ายได้ การตรวจภาวะความบกพร่องในการจําแนกสีที่ถือว่าเป็นมาตรฐานสูงสุด (Gold standard) คือ การตรวจยนื ยันด้วยกล้องอโนมาโลสโคป (Anomaloscope) ซ่ึงเป็นการตรวจท่ีตอ้ งใชเ้ คร่ืองมือเฉพาะ ซ่ึงปกติจะ มีอย่เู พียงในสถาบันทางการแพทย์ขนาดใหญ่เท่าน้ัน อีกทั้งยังใช้เวลาในการตรวจนาน และต้องทําการตรวจและ แปลผลโดยผู้เชี่ยวชาญทไ่ี ดร้ ับการอบรมการใชเ้ ครือ่ งมอื ชนดิ นีม้ าแล้วเทา่ นน้ั ในทางอาชวี อนามยั นนั้ โดยทวั่ ไปจะ ไมไ่ ด้ใชก้ ลอ้ งอโนมาโลสโคปในการตรวจใหก้ ับคนทํางาน ในทางปฏิบัติแล้ว การดําเนินงานในทางอาชีวอนามัยจะนิยมใช้การตรวจในระดับคัดกรองเพื่อ ตรวจความบกพร่องในการจาํ แนกสขี องคนทาํ งาน และถา้ หากมเี หตุผลสมควรจึงค่อยส่งต่อคนทํางานที่พบว่ามี ความบกพร่องในการจําแนกสีไปทาํ การตรวจยนื ยนั เพ่ิมเติม (เฉพาะกรณีท่แี พทย์เห็นว่ามีประโยชน์และมีความ จาํ เปน็ อย่างยง่ิ ) สําหรับการตรวจภาวะความบกพร่องในการจําแนกสีในระดับคัดกรองท่ีสามารถนํามาใช้ในงานอา- ชีวอนามัยได้น้ันมีหลายชนิด เช่น (1.) Pseudoisochromatic plates มีลักษณะเป็นแผ่นทดสอบพิมพ์ด้วยสี ต่างๆ เป็นรูปตัวเลขหรือภาพ แล้วให้ผู้เข้ารับการทดสอบมองแล้วบอกว่าเห็นตัวเลขหรือภาพอะไร การทดสอบ แบบนี้ท่ีได้รับความนิยมในการนํามาใช้ เช่น Ishihara pseudoisochromatic plates, Dvorine pseudoiso- chromatic plates เป็นต้น (2.) Arrangment test มีลักษณะเป็นแป้นสีต่างๆ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบทําการ เรียงให้สีท่ีคล้ายคลึงกันไว้อยู่ติดกัน จากน้ันนําผลการเรียงแป้นสีท่ีได้มาใช้แปลผล การทดสอบแบบน้ีที่นิยม นํามาใช้ เช่น Farnsworth D-15 arrangement test, Farnsworth-Munsell 100 hue test เป็นต้น (3.) 6
Lantern test มีลักษณะเป็นดวงไฟสีต่างๆ ให้ผู้เข้ารับการตรวจดู แล้วบอกว่าเห็นดวงไฟสีอะไร การทดสอบ แบบนี้ที่นิยมนํามาใช้ เช่น Holmes-Wright lanterns เป็นต้น วิธีการตรวจและแปลผลการทดสอบเหล่านี้ ให้ ดาํ เนนิ การตามคู่มือการใช้งานของแบบทดสอบแต่ละชนิด ความสว่างของพ้ืนท่ีตรวจความสามารถในการจําแนกสี จะต้องมีความสว่างอย่างน้อย 400 ลักซ์ ข้ึนไป ลักษณะของแสงสวา่ งที่ใช้อาจใช้แสงแดดธรรมชาติ (Natural light) หรือแสงจากดวงไฟก็ได้ หากใช้แสง จากดวงไฟจะต้องเป็นดวงไฟท่ีให้แสงขาว (Daylight หรือ Natural white) ห้ามใช้แสงจากดวงไฟที่ให้แสง เหลือง (Warm white) หรือแสงนวล (Cool white) ในการตรวจ แสงจากดวงไฟจะต้องให้ความสว่างต่อเน่ือง ไมก่ ระพรบิ จนสามารถสังเกตไดด้ ้วยตาเปล่า ในทางปฏิบัติน้ัน การตรวจคัดกรองภาวะความบกพร่องในการจําแนกสีในงานอาชีวอนามัยของ ประเทศไทย นิยมใช้การทดสอบด้วย Ishihara pseudoisochromatic plates มากที่สุด ข้ันตอนในการตรวจ ด้วยการทดสอบชนิดน้ี ให้ผู้ทําการตรวจดําเนินการตามคู่มือการใช้งาน (Manual) เช่น ควรให้แผ่นทดสอบอยู่ ห่างจากผู้เข้ารับการทดสอบเป็นระยะห่าง 75 เซนติเมตร (ประมาณ 29.5 นิ้ว) เป็นต้น การแปลผลการทดสอบ ชนิดนี้ให้แปลผลตามคู่มือการใช้งานเช่นกัน โดยการทดสอบด้วยรุ่น 38 แผ่น จะใช้แผ่นทดสอบเฉพาะ 21 แผ่น แรกในการแปลผล และถือว่าผู้เข้ารับการตรวจมีความผิดปกติในการจําแนกสีเมื่ออ่านแผ่นทดสอบได้ถูกต้อง น้อยกว่า 17 แผ่นจาก 21 แผ่น สําหรับการทดสอบด้วยรุ่น 24 แผ่น จะใช้แผ่นทดสอบเฉพาะ 15 แผ่นแรกใน การแปลผล และถือว่าผู้เข้ารับการตรวจมีความผิดปกติในการจําแนกสีเม่ืออ่านแผ่นทดสอบได้ถูกต้องน้อยกว่า 13 แผน่ จาก 15 แผ่น สําหรับการทดสอบด้วยรุ่น 14 แผ่น (Concise edition) จะใช้แผ่นทดสอบเฉพาะ 11 แผ่น แรกในการแปลผล และถือว่าผู้เข้ารับการตรวจมีความผิดปกติในการจําแนกสีเมื่ออ่านแผ่นทดสอบได้ถูกต้อง น้อยกว่า 10 แผน่ จาก 11 แผ่น การดูแลรักษาแผ่นทดสอบ Ishihara pseudoisochromatic plates ไม่ควรให้ถูกนํ้า จะทําให้ แผน่ ทดสอบเสียหาย และไม่ควรวางไว้ตากแดด จะทาํ ให้แผน่ ทดสอบมีสซี ีดจางลง เกิดความเสียหาย ไมแ่ นะนาํ ให้ใช้ การทดสอบตาบอดสีทีไ่ ม่ใชก่ ารทดสอบมาตรฐาน (เช่น แผ่นทดสอบตาบอดสที ่ีพมิ พ์ ขน้ึ เพื่อให้เด็กใช้เรียนรู้) ในการตรวจทดสอบในงานอาชวี อนามัย เน่ืองจากถือว่าเป็นการทดสอบทางการแพทย์ และผลการทดสอบที่ไดจ้ ะมีผลตอ่ การได้ทํางานหรือไมไ่ ดท้ าํ งานของผเู้ ข้ารบั การทดสอบ ส่วนที่ 4 การตรวจลานสายตา การตรวจลานสายตา (Visual field) เป็นการตรวจเพ่ือดูความสามารถในการมองว่ามีขอบเขตพ้ืนที่ใน การมองเป็นปกติดีหรือไม่ การมีลานสายตาท่ีปกติ เป็นปัจจัยท่ีมีความสําคัญในการทํางานให้ปลอดภัยสําหรับ บางกล่มุ อาชพี เชน่ พนกั งานขับรถโดยสาร พนักงานขับเครน พนักงานขับรถฟอร์คลิฟต์ พนักงานขับเรือเร็ว เป็น ต้น การตรวจลานสายตาในงานอาชวี อนามยั นัน้ สว่ นใหญ่มกั ทาํ การตรวจในระดับการคัดกรองโรค ในทางปฏิบัติทางด้านอาชีวอนามัย การตรวจลานสายตามีความสําคัญในการประเมินเพื่อความ ปลอดภัยในการทํางานสําหรับบางกลุ่มอาชีพ เช่น พนักงานขับรถโดยสาร พนักงานขับเครน พนักงานขับรถฟอร์ค- 7
ลิฟต์ พนักงานขับเรือเร็ว เป็นต้น การตรวจคัดกรองความผิดปกติของลานสายตาในคนทํางานกลุ่มน้ีทําได้โดย 2 วิธหี ลัก คือการตรวจโดยแพทยด์ ้วยวิธี Confrontation test และการตรวจดว้ ยเครอ่ื งทดสอบสายตา การตรวจโดยแพทย์ด้วยวิธี Confrontation test ทําได้โดยให้แพทย์ผู้ตรวจ (ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีลาน สายตาปกติ) น่ังหันหน้าเข้าหาผู้เข้ารับการตรวจในลักษณะหน้าตรงกัน ห่างกันประมาณ 2 ฟุต กรณีตรวจตาขวา ของผู้เข้ารับการตรวจ ให้ผู้เข้ารับการตรวจใช้มือซ้ายปิดตาซ้ายของตนเองไว้ ส่วนแพทย์ผู้ตรวจใช้มือขวาปิดตา ขวาของตนเองไว้ (จะทําให้ตาซ้ายของแพทย์ผู้ตรวจตรงกับตาขวาของผู้เข้ารับการตรวจ) กรณีท่ีจะตรวจตาซ้ายก็ ให้ทํากลับขวาเป็นซ้ายกัน แจ้งให้ผู้เข้ารับการตรวจมองตรงไปข้างหน้า แพทย์ผู้ทําการตรวจใช้มือท่ีว่างอยู่ ชูน้ิว มือไปในตําแหน่งขอบลานสายตาของผู้เข้ารับการตรวจ แล้วให้ผู้เข้ารับการตรวจแจ้งเม่ือเร่ิมเห็นนิ้วมือของแพทย์ ผ้ตู รวจ หากไมเ่ หน็ ใหค้ อ่ ยๆ เลอื่ นนวิ้ มือเขา้ หาศนู ย์กลางจนกวา่ ผ้เู ขา้ รับการตรวจจะเหน็ น้ิวมือ ทาํ ซ้ําในทิศทาง ต่างๆ จะแปลผลว่าผู้เข้ารับการตรวจมีความผิดปกติของลานสายตาจากการตรวจคัดกรองเม่ือผู้เข้ารับการตรวจ ไมส่ ามารถมองเห็นนิ้วมือของแพทยผ์ ู้ตรวจไดเ้ ท่าเทยี มกับที่แพทยเ์ ห็นนวิ้ มือของตนเอง การตรวจคัดกรองลานสายตาด้วยเครื่องทดสอบสายตา (Vision tester) เช่น Titmus, Optec เป็น อกี วธิ ีหน่ึงท่ีสามารถคดั กรองความผิดปกติของลานสายตาในคนทํางานได้ แต่เป็นวิธีการท่ีต้องใช้เคร่ืองมือคือต้อง มีเคร่อื งทดสอบสายตา การตรวจทําได้โดยให้ผู้เข้ารับการตรวจมองแผ่นสไลด์ภาพสําหรับการมองประสานตา (ใน กรณขี องเครอ่ื งตรวจ Titmus จะเปน็ แผ่นสไลด์ภาพแรก ซ่งึ เปน็ ภาพลกู เต๋า 3 ลูก) โดยให้มองไปท่ีลูกเต๋าลูกกลาง จากน้ันทําการตรวจลานสายตาโดยผู้ทําการตรวจกดปุ่มดวงไฟกระพริบ แล้วถามผู้เข้ารับการตรวจว่าเห็นดวงไฟ กระพรบิ ที่บริเวณขอบของลานสายตาหรือไม่ โดยท่ัวไปเครื่องทดสอบสายตาจะมีดวงไฟกระพริบอยู่ข้างละ 4 ดวง คือที่มุม 45 องศาด้านจมูก (Nasal side) และที่มุม 55, 70, และ 85 องศาด้านขมับ (Temporal side) ซ่ึงมุมที่ ทดสอบนี้ จัดวา่ เป็นมมุ ที่มีความสําคัญสาํ หรบั การมองบนพื้นราบ (มคี วามสาํ คญั ต่อผทู้ ่ีทํางานขับยานพาหนะแบบ ทตี่ ้องมองในแนวระนาบเป็นหลัก เช่น พนักงานขับรถโดยสาร พนักงานขับรถขนส่ง พนักงานขับรถฟอร์คลิฟต์ พนักงานขับเรือเร็ว แต่อาจไม่ครอบคลุมสําหรับการตรวจพนักงานขับเครนยกของ ซ่ึงต้องมีลานสายตาที่ดี สาํ หรบั ทง้ั ในแนวระนาบและในแนวด่ิงดว้ ย) ควรให้ผู้เข้ารับการตรวจถอดแว่นออกก่อนที่จะตรวจลานสายตาด้วยเครื่องทดสอบสายตา เพ่ือ ปอ้ งกันเหตกุ ารณท์ ่ีกรอบแวน่ บดบงั ดวงไฟกระพริบที่ใช้ทดสอบ ทาํ ใหผ้ ูเ้ ขา้ รบั การตรวจมองไมเ่ ห็นดวงไฟ ในการแปลผลการตรวจลานสายตาด้วยเคร่ืองทดสอบสายตานั้น ให้ทําการแปลผลตามคู่มือการใช้ งาน (Manual) เช่น ในกรณขี องเครอื่ ง Titmus การแปลผลจะถือว่าลานสายตาเป็นปกติเมื่อผู้เข้ารับการตรวจ มองเห็นดวงไฟกระพริบที่ใช้ทดสอบครบท้ัง 8 ดวง (ข้างละ 4 ดวง) หากมองไม่เห็นดวงไฟกระพริบแม้เพียงดวง เดียว จะถือวา่ มีความผิดปกตใิ นการตรวจคัดกรองลานสายตา เมื่อตรวจพบความผดิ ปกตขิ องลานสายตาในการตรวจคัดกรองในงานอาชีวอนามัยแล้ว แพทย์ผู้แปล ผลการตรวจควรส่งคนทํางานท่ีมีผลการตรวจผิดปกติไปพบจักษุแพทย์ เพื่อทําการตรวจวินิจฉัยยืนยัน ซึ่งจักษุ แพทย์อาจทําการตรวจซํ้า หรือให้คนทํางานเข้ารับการตรวจที่ละเอียดข้ึน เช่น ทํา Comprehensive eye exami- nation ร่วมกบั ทาํ การตรวจ Computerized visual field (CTVF) เปน็ ตน้ 8
สว่ นที่ 5 การตรวจสมรรถภาพการมองเหน็ ด้วยเครอ่ื งทดสอบสายตา เครื่องทดสอบสายตา (Vision tester) หรืออาจเรียกว่าเครื่องคัดกรองความผิดปกติของสายตา (Vision screener) เป็นเคร่ืองมือที่มีลักษณะเป็นกล่องเคลื่อนย้ายได้ มีความสามารถในการใช้ทดสอบสายตาได้หลาย อยา่ งในเครอ่ื งเดียว เครื่องมอื ชนดิ น้ีได้รับความนิยมในการนํามาใช้ในการทดสอบสายตาในงานอาชีวอนามัยของ ประเทศไทยอย่างกว้างขวาง คาํ แนะนาํ ในการตรวจและแปลผลการตรวจจากเครอื่ งมอื ชนดิ น้ี มดี งั ต่อไปน้ี เคร่ืองทดสอบสายตามลี กั ษณะเป็นกล่อง ซ่ึงมชี ่องให้ผู้เขา้ รับการตรวจมองเข้าไปภายในได้ เคร่ือง ชนิดนีม้ กั มีขนาดไม่ใหญ่มาก สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก รวมถึงสามารถนําเข้าไปตรวจภายในสถาน ประกอบการได้ หลักการของเครื่องชนดิ น้ีคอื จะมีแผน่ ทดสอบที่อยู่ในรปู ของแผ่นสไลด์จํานวนหลายแผ่น แต่ละ แผน่ จะเป็นการทดสอบสมรรถภาพการมองเห็นในด้านต่างๆ ทําให้สามารถทําการทดสอบผู้เข้ารับการตรวจได้ หลายอย่างดว้ ยเคร่อื งเดยี ว เคร่ืองทดสอบสายตาน้ีมีการผลติ และจาํ หน่ายโดยบรษิ ัทผู้พัฒนาหลายแห่ง ที่ได้รับ ความนิยม เช่น เครื่องตรวจ Titmus, Optec, Keystone เปน็ ต้น ชนิดของการทดสอบสายตาที่เครื่องทดสอบสายตาโดยท่ัวไปสามารถตรวจได้ มีดังนี้ (1.) ความ- สามารถในการมองประสานตา (Binocular vision) คือตรวจดูว่าผู้เข้ารับการตรวจใช้ตาทั้ง 2 ข้างในการมอง หรือไม่ และถ้าใช้ตาท้ัง 2 ข้างมองแล้ว ภาพที่มองเห็นประสานกันดีหรือไม่ (2.) ความชัดเจนในการมองภาพ (Visual acuity) โดยจะตรวจได้ทั้งการมองภาพระยะไกล (Far vision) และการมองภาพระยะใกล้ (Near vision) ตรวจไดท้ ้ังการมองด้วยตาขวาข้างเดียว ตาซ้ายข้างเดียว และใช้ท้ัง 2 ตามองพร้อมกัน (3.) ความสามารถในการ มองภาพเป็น 3 มิติ (Stereopsis) เป็นการตรวจความสามารถในการมองเห็นความลึก (Deph perception) เมื่อ ใช้ท้ัง 2 ตามองพร้อมกัน (4.) ความสามารถในการจําแนกสี (Colour discrimination) เป็นการตรวจคัดกรอง ความผิดปกติในการจําแนกสี (5.) คัดกรองภาวะความสมดุลของกล้ามเนื้อตาผิดปกติ เป็นการตรวจเพ่ือคัดกรอง ภาวะตาเขแบบซ่อนเร้น (Phoria) รวมถึงสามารถคัดกรองตาเขแบบท่ีเห็นได้ชัดเจน (Tropia) ได้ด้วย การตรวจ มกั จะคัดกรองไดท้ ง้ั ตาเขในแนวดง่ิ (Vertical) และแนวระนาบ (Lateral) (6.) การตรวจลานสายตา (Visual field) ทดสอบโดยการให้ดดู วงไฟกระพริบท่ีตาํ แหนง่ ต่างๆ นอกจากสามารถตรวจความชัดเจนในการมองภาพระยะไกล (Far vision) และระยะใกล้ (Near vision) ไดแ้ ล้ว ในเครื่องทดสอบสายตาบางรุ่นยังสามารถตรวจความชัดเจนในการมองภาพระยะกลาง (Inter- mediate vision) ไดด้ ว้ ย หากทําการใสเ่ ลนส์พิเศษเสรมิ เขา้ ไป ความชัดเจนในการมองภาพระยะกลางน้ี หมายถึง การมองในระยะประมาณ 50 – 100 เซนตเิ มตร ซึง่ จะเป็นระยะการมองในทางปฏิบัติสําหรับการทํางานบางอย่าง เชน่ การทาํ งานกบั หนา้ จอคอมพิวเตอร์ เปน็ ต้น ในการเลอื กชดุ สไลด์เพ่ือมาใช้กับเคร่ืองทดสอบสายตาในการใช้ตรวจในงานอาชีวอนามัย แนะนํา ให้ใช้ชุดสไลด์สําหรับงานอาชีวอนามัยเท่านั้น (โดยกรณีของเคร่ืองตรวจ Titmus จะระบุไว้ว่า Occupational set, กรณีของเคร่ืองตรวจ Optec จะระบุไว้ว่า Industrial slide package, กรณีของเครื่องตรวจ Keystone จะ ระบุไว้ว่า Employee vision screening เป็นต้น) ถ้าไม่มีชุดสไลด์สําหรับงานอาชีวอนามัย อนุโลมให้ใช้ชุดสไลด์ 9
มาตรฐาน (Standard set) ท่เี อาไว้ใช้สําหรับการตรวจคนท่ัวไปแทนได้ แต่ไม่ควรใช้ชุดสไลด์สําหรับเด็ก (Pediatric set) ในการนาํ มาตรวจสุขภาพคนทาํ งานในสถานประกอบการ เทคนิคในการตรวจและการบํารงุ รักษาเครอ่ื งทดสอบสายตา แนะนําให้ดําเนนิ การตามคู่มือการใช้ งาน (Manual) ของเครื่องแต่ละรุ่น การทดสอบก่อนใช้งานควรทําทุกวัน โดยให้ผู้ทําการตรวจซึ่งมีสายตาเป็น ปกติดี ทําการทดสอบเป็นผู้ถูกตรวจ หากพบว่ามีความผิดปกติเกิดข้ึน เช่น ดวงไฟส่องสว่างของเคร่ืองดับ ทําให้ มองไม่เหน็ แผ่นสไลดท์ ีใ่ ช้ทดสอบ หรือป่มุ กดไม่ทํางาน หรือสายไฟขาด ให้งดเว้นการตรวจแลว้ สง่ เครื่องไปซ่อม กับบริษัทผู้จัดจําหน่ายหรือช่างซ่อมเคร่ืองมือแพทย์ หากพบว่าเลนส์ของเคร่ืองทดสอบขุ่นมัวหรือมีสิ่งสกปรก ติดอยู่ ทําให้บดบังการมองเห็นแผ่นสไลด์ท่ีใช้ทดสอบ ให้ใช้ผ้าเช็ดและนํ้ายาทําความสะอาดเลนส์ เช็ดให้สะอาด เสียกอ่ น สําหรับการแปลผลนั้น โดยท่ัวไปเมื่อซื้อเครื่องทดสอบสายตา จะมีเกณฑ์การแปลผลแนบมาให้ พร้อมกับคู่มือการใช้งานของเคร่ืองแต่ละรุ่นอยู่แล้ว แนะนําให้ใช้เกณฑ์การแปลผลตามคู่มือการใช้งานของ เครื่องแต่ละรุน่ นั้น การแปลผลในกรณีของเครื่องตรวจ Titmus จะมีการแปลผลโดยแบ่งตามกลุ่มอาชีพของผู้เข้ารับ การตรวจ ซึ่งจะแบ่งเป็น 6 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ (1.) งานธุรการและเสมียน (2.) งานตรวจสอบคุณภาพช้ินงาน (3.) งานควบคุมยานพาหนะ (4.) งานควบคุมเคร่ืองจักร (5.) งานช่างและงานฝีมือ (6.) งานกรรมกร การแบ่งกลุ่มอาชีพ ในลักษณะนี้อ้างอิงมาจากงานวิจัยของ Occupational Research Center แห่ง Purdue University ในปี ค.ศ. 1945 โดยเช่อื วา่ หากผเู้ ข้ารับการตรวจมีความสามารถในการมองเห็นผ่านเกณฑ์ตามกลุ่มอาชีพของตนเองแล้ว จะช่วยลดโอกาสการเกิดอบุ ตั เิ หตุจากการทํางานได้ เมอื่ ตรวจพบความผดิ ปกติจากการตรวจคัดกรองด้วยเคร่อื งทดสอบสายตา แพทย์ผู้แปลผลควรส่ง ผู้เข้ารับการตรวจที่มีผลการตรวจผิดปกติไปพบผู้เช่ียวชาญ เช่น จักษุแพทย์ เพ่ือทําการตรวจยืนยันความ ผดิ ปกติและทําการแกไ้ ขหรอื รกั ษา (หากภาวะความผดิ ปกตินน้ั สามารถแก้ไขหรือรกั ษาได้) ต่อไป 10
เอกสารอ้างอิง 1. กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงาน ตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547. ราชกจิ จานุเบกษา เล่ม 122 ตอนท่ี 4 ก. (ลงวนั ที่ 13 มกราคม 2547). 2. กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเก่ียวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549. ราชกิจจานุเบกษา เลม่ 123 ตอนท่ี 23 ก. (ลงวนั ท่ี 6 มนี าคม 2549). 3. Visual Functions Committee, International Council of Ophthalmology (ICO). Visual acuity measurement standard. Kos, Greece: ICO; 1984. 4. Levenson JH, Kozarsky A. Visual acuity. In: Walker HK, Hall WD, Hurst JW, editors. Clinical methods - The history, physical, and laboratory examinations, 3rd ed. GA: Butterworths; 1990. p. 563-4. 5. Colenbrander A. Visual standards – Aspects and ranges of vision loss, with emphasis on population surveys (ICO report). Sydney, Australia: ICO; 2002. 6. Clinical Practice Guideline Expert Committee. Canadian Ophthalmological Society evidence-based clinical practice guidelines for the periodic eye examination in adults in Canada. Can J Ophthalmol 2007;42(1):39-45. 7. Feder RS, Olsen TW, Prum BE Jr, Summers CG, Olson RJ, Williams RD, et. al. American Academy of Opthalmology - Comprehensive Adult Medical Eye Evaluation Preferred Practice Pattern Guidelines. Ophthalmology 2016;123(1):P209-36. 8. National Research Council. Procedures for testing color vision (Report of working group 41, Committee on vision, Assembly of behavioral and social sciences). Washington, D.C.: National academic press: 1981. 9. Blais B. Color vision in the occupational setting: analysis and testing, 1st ed. GA: RP Press; 2008. 10. Ishihara S. Instruction: The series of plates designed as a test for colour deficiency. Tokyo: Kanehara trading Inc.; n.d. 11. Sperian protection optical Inc. Titmus vision screener (TNO Occupational) – Slides information brochure. Virginia: Sperian protection optical Inc.; n.d. 12. Sperian protection optical Inc. User instruction manual: Vision screener Titmus V4 / Titmus V2. Virginia: Sperian protection optical Inc.; 2010. 11
13. Sperian protection optical Inc. Job standards for use with the Titmus Vision Screener. Virginia: Sperian protection optical Inc.; 2008. 14. Stereo Optical Company. Vision tester slide package: Industrial slide package. Illinois: Stereo Optical Company; n.d. 15. Keystone View Company. Instruction manual: Employee vision screening. Nevada: Keystone View Company; n.d. 16. Keystone View Compant. Instruction manual: Vision screening with the VS-V vision screener model #1155. Nevada: Keystone View Company; n.d. 17. McAlister WH, Peters JK. The validity of Titmus Vision testing results. Mil Med 1990;155(9):396-400. 18. Tiffin J, Wirt SE. Determining visual standards for industrial jobs by statistical methods. Trans Am Acad Ophthalmol Otolaryngol 1945;49:72-93. 12
Search
Read the Text Version
- 1 - 19
Pages: