สื่ อประกอบการเรียนการสอน นาฏศิลป์โขน 3 ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
คำนำ หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของกระบวนการรบระหว่างพระกับ พญายักษ์ กระบวนการรบระหว่างพระมงกุฎพระลบกับพญาวานร ฟ้อนไทภูเขา เซิ้งสัมพันธ์ เซิ้ง โปงลาง การแต่งกายในแต่ละเพลงและการแสดงพื้นเมืองแต่ละภาค ศึกษาวิธีการแสดง สร้างสรรค์ เป็นเพลงในหลักสูตรนาฏศิลป์ไทย 3 ของนักเรียน ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่1
20301-2003 นาฏศิลป์โขน 3 0-12-6 จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้ 1.รู้และเข้าใจเกี่ยวกับ หลักและกระบวนการรบ การขึ้นลอยก กระบวนการรบ การแสดงเบ็ดเตล็ด การแสดง สร้างสรรค์และการแสดงพื้นเมืองของแต่ละภูมิภาค 2.ปฏิบัติกระบวนการรบ การขึ้นลอย กระบวนการรบการแสดงเบ็ดเตล็ด การแสดงสร้างสรรค์และการแสดง พื้นเมืองของแต่ละภูมิภาค 3.รักความเป็นไทย มีวินัย ความรับผิดชอบ อดทนและขยันหมั่นเพียรในการเรียน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ตระหนักและเห็นคุณค่า จารีตประเพณีของนาฏศิลป์โขนเพื่ออนุรักษ์สืบทอดศิลปะวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ไทย สมรรถนะรายวิชา 1.ปฏิบัติกระบวนการรบด้วยอาวุธและการขึ้นลอย พระ กระบวนการรบด้วยอาวุธศร พระขรรค์ และท่าขึ้นลอย (ตีไม้7) กระบวนการรบระหว่างพระกับพญา ยักษ์ ด้วยอาวุธศร ท่า 1-2 การขึ้นลอย 1-3 และลอยพิเศษ กระบวนการรบระหว่างพระมงกุฎพระลบกับพญา วานร ยักษ์ กระบวนการรบด้วยอาวุธศร พระขรรค์ และท่าขึ้นลอย (ตีไม้7) กระบวนการรบระหว่างพญายักษ์กับ พระ ด้วยอาวุธศร ท่า 1-2 การขึ้นลอย 1-3 และลอยพิเศษ ลิง กระบวนการรบระหว่างพญาวานรกับพญาวานร กระบวนการรบระหว่าพญาวานรกับพระมงกุฎ พระลบ 2.การแสดงเบ็ดเตล็ด เซิ้งสัมพันธ์ ฟ้อนไทภูเขา การแสดงสร้างสรรค์และการแสดงพื้นเมืองของแต่ละ ภูมิภาค คำอธิบายรายวิชา หลักและกระบวนการรบด้วยอาวุธศร พระขรรค์ (ตีไม้7) และท่าขึ้นลอย ระหว่างพระกับพญายักษ์ กระบวนการรบด้วยอาวุธกระบอง ศร ท่า 1-4 ระหว่างพญายักษ์ กระบวนการรบด้วยอาวุธศร ท่า 1-2 การขึ้น ลอย 1-3 และลอยพิเศษ ระหว่างพระกับพญายักษ์และพญายักษ์กับพญาวานร กระบวนการรบระหว่างพญา วานรกับพระญาวานร กระบวนการรบระหว่างพระกุมารกับพญาวานร การแสดงเบ็ดเตล็ด เซิ้งสัมพันธ์ เซิ้ง โปงลาง ฟ้อนไทภูเขา การแสดงสร้างสรรค์และการแสดงสร้างสรรค์และการแสดงพื้นเมืองแต่ละภูมิภาค
สารบัญ เรื่อง หน้า กระบวนการรบระหว่างพระกับพญายักษ์ 1 -ประวัติการแสดงยกรบ 2 -เครื่องแต่งกาย 4 กระบวนการรบระหว่างพระมงกุฎพระลบ 9 กับพญาวานร -ประวัติการแสดงปล่อยม้าอุปการ 10 -เนื้อเรื่อง 12 -เครื่องแต่งกาย 14 ฟ้อนไทภูเขา 18 -ประวัติฟ้อนไทภูเขา 19 -เครื่องแต่งกาย 21 เซิ้งสัมพันธ์ 24 -ประวัติเซิ้งสัมพันธ์ 25 -เครื่องแต่งกาย 27
สารบัญ เรื่อง หน้า เซิ้งโปงลาง 30 - ประวัติเซิ้งโปงลาง 31 - เครื่องแต่งกาย 33 การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค 36 - ภาคเหนือ 37 - ภาคกลาง 38 - ภาคอีสาน 39 - ภาคใต้ 40 การแสดงสร้างสรรค์ 41 - หลักและวิธีการสร้างสรค์การแสดง 41 - การแสดงสร้างสรรค์โดยใช้องค์ประกอบ 42 นาฏศิลป์ 47 การแสดงสร้างสรรค์ในวิทยาลัย 47 - นครชัยบุรินทร์ 48 - เสน่ห์มนตราลีลาป๊ะโทน 49 อ้างอิง
1
2
3 การแสดงโขนชุด “ยกรบ” นี้เป็นการทำสงครามระหว่าง พระราม พระลักษณ์ไพร่พลวานรกับ ทศกัณฐ์ พญายักษ์เจ้ากรุงลงกา การรบของสองฝ่ายเต็มไปด้วยชั้นเชิงลีลาท่ารำ กระบวนการรบ และความสามารถที่มีเอกลักษณ์ปราณีตงดงามส่วนใหญ่การแสดงจะมีแต่การบรรเลงเพลงหน้า พาทย์ประกอบการแสดง ประกอบการยกทัพมีบทพากย์และเจรจาแต่ไม่มีบทร้อง นิยมแสดงเป็นโขนกลางแปลง
4
5 1. กำไลข้อเท้า (หัวบัว) 10. ทับทรวง 2. สนับเพลา หรือกางเกง 11. อินทรธนู 3. ผ้านุ่ง หรือภูษา หรือพระภูษา 12. สังวาล พร้อมตาบทิศ และตาบหลัง 4. ห้อยข้าง หรือเจียระบาด หรือชายแครง 13. แหวนรอบ (แหวนรองกำไลเท้า) 5. เสื้อ หรือฉลององค์ 14. แหวนรอบ (แหวนรองกำไลแผง) 6. รัดสะเอว หรือรัดองค์ หรือรัดพัสตร์ 15. ปะวะหล่ำ 7. ห้อยหน้า หรือชายไหว พร้อมสุวรรณกระถอบ 16. กำไลแผงหรือทองกร 8. กรองคอ หรือนวมคอ หรือกรองศอ 17. ชฎา 9. เข็มขัด หรือปั้นเหน่ง (ชฎาพระ ติดอุบะและดอกไม้ทัดด้านขวา)
6 1. กำไลข้อเท้า (หัวบัว) 10. ทับทรวง 2. สนับเพลา หรือกางเกง 11. อินทรธนู 3. ผ้านุ่ง หรือภูษา หรือพระภูษา 12. สังวาล พร้อมตาบทิศ และตาบหลัง 4. ห้อยข้าง หรือเจียระบาด หรือชายแครง 13. แหวนรอบ (แหวนรองกำไลเท้า) 5. เสื้อ หรือฉลององค์ 14. แหวนรอบ (แหวนรองกำไลแผง) 6. รัดสะเอว หรือรัดองค์ หรือรัดพัสตร์ 15. ปะวะหล่ำ 7. ห้อยหน้า หรือชายไหว พร้อมสุวรรณกระถอบ 16. กำไลแผงหรือทองกร 8. กรองคอ หรือนวมคอ หรือกรองศอ 17. ชฎา 9. เข็มขัด หรือปั้นเหน่ง (ชฎาพระ ติดอุบะและดอกไม้ทัดด้านขวา)
7 1. สนับเพลา 9. รัดสะเอว 2. ผ้าพอก 10. ผ้าดิบ 3. เสื้อ 11. ปั้นเหน่งหรือเข็มขัด 4. ภูษาหรือผ้านุ่ง 12. สังวาล 5. ห้อยข้างหรือชายแครง 13. ทับทรวงหรือสร้อย 6. ห้อยหน้า ชายไหว 14. กรองศอ 7. หางลิง 15. ข้อเท้าหรือผ้าที่ใส่ข้อเท้า 8. ผ้าปิดก้น 16. หัวโขน (หัวหนุมาน)
8 1. กำไลเท้า 11. ตาบหน้า หรือ ตาบทับ ในวรรณคดีเรียกว่า ทับทรวง 2. สนับเพลา 12. กรองคอ หรือ นวมคอ ในวรรณคดีเรียกว่า กรองศอ 3. ผ้านุ่ง ในวรรณคดี เรียกว่า ภูษา หรือพระภูษา 13. ทับทรวง 4. ห้อยข้าง หรือเจียระบาด หรือชายแครง 14. สังวาล 5. ผ้าปิดก้น หรือห้อยก้น อยู่ข้างหลัง 15. ตาบทิศ 6. เสื้อ ในวรรณคดีเรียกว่า ฉลององค์ 16. แหวนรอบ 7. รัดสะเอว หรือรัดองค์ หรือรัดพัสตร์ 17. ปะวะหล่ำ 8. ห้อยหน้า หรือชายไหว 18. กำไลแผง ในวรรณคดีเรียกว่า ทองกร 9. เข็มขัด หรือปั้นเหน่ง 19. พวงประคำคอ 10. รัดอก หรือรัดองค์ ในวรรณคดีเรียกว่า รัดพระอุระ 20. หัวโขน ในภาพนี้เป็นหัวทศกัณฐ์
9 กระบวนการรบระหว่างพระมงกุฎ พระลบกับพญาวานร
10
11 ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชนิพนธ์เมื่อพ.ศ.๒๓๑๓ จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อใช้เล่นละครหลวงด้วย ในพ.ศ.๒๓๑๓ นี้พระองค์ทรงยก กองทัพไปปราบเจ้านครศรีธรรมราชจึงโปรดให้หัดละครหลวงขึ้น และทรงพระราชนิพนธ์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์เพื่อใช้เล่นละครและใช้ในงานสมโภชต่างๆ ลักษณะการแต่ง : ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละคร และบอกชื่อเพลงหน้าพาทย์ ไว้ด้วย ต้นฉบับบทละครเรื่องนี้เป็นสมุดไทยดำ ตัวหนังสือเป็นเส้นทอง มีจำนวน ๔ เล่มสมุดไทย คุณค่าของหนังสือ : เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรง ฟื้นฟูวรรณคดีในรัชสมัยของพระองค์ และแสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ในการละคร อีกด้วย บทละครที่ทรงคัดเลือกมาทรงพระราชนิพนธ์ก็เป็นตอนที่มีคุณธรรม ปลุกปลอบ ให้ประชาชนมีขวัญและกำลังใจดีขึ้นดั่งเช่นตอนพระมงกุฎประลองศร เมื่อพระรามกับ พระมงกุฎเข้าใจกันแล้วก็ทำให้เกิดความสงบสุข บางตอนก็สอดแทรกคำสอนทาง พระพุทธศาสนาไว้ เช่น พระฤาษีโคตบุตรสอนทศกัณฐ์ให้มีศีลและมีหิริโอตตัปปะ เป็นต้น
12
13 วันหนึ่งพระมงกุฎกับพระลบ ลาฤๅษีและพระมารดา ไปเที่ยวป่า แล้วชวนกันประลองศรเกิดเสียง สนั่นไปทั่ว พระรามได้ยิน รู้ว่าคงจะมีผู้มีบุญมาทดลองฤทธิ์ และโหรประจำราชสำนักได้ทูลให้ปล่อยม้า อุปการไปเสี่ยงทาย พร้อมกับให้หนุมานตามสะกดรอยไป หากใครจับไปขี่ย่อมแปลว่าคิดขบถให้จับตัว มาถวาย พระรามเห็นด้วยจึงให้ไปเชิญพระพรตและพระสัตรุตมา แล้วให้ตามม้าอุปการไปด้วย ฝ่าย นางสีดาตั้งแต่พระมงกุฎและพระลบ ขอไปเที่ยวป่า แล้วไปประลองศรก็ร้อนรุ่มใจ คิดว่าอาจมีกษัตริย์ ผู้มีฤทธิ์เกิดความริษยามาจับตัวไปได้ ก็ห้ามไม่ให้ทั้งสองไปเที่ยวป่าอีก แต่โอรสทั้งสองไม่เชื่อ ลาไป ป่าอีก ขณะที่กำลังเที่ยวป่าอยู่ พระมงกุฎเห็นม้าอุปการหน้าดำตัวขาวตลอดหาง เท้ามีสีแดง ก็บอก พระลบว่าเป็นม้าประหลาด ให้ช่วยกันจับ จับได้แล้วก็พบสาสน์แขวนคอม้า เมื่ออ่านแล้วก็รู้ว่าเป็น สาสน์ของพระรามที่ปล่อยม้ามา หากใครพบให้มาบูชาม้าอุปการ แต่หากใครนำไปขี่จะถูกฆ่าตาย ก็ โมโหมาก ก็จับ ม้าอุปการขี่ หนุมานซึ่งสะกดรอยตามมาเห็นคิดว่า สองกุมารน่าจะเป็นลูกกษัตริย์เมืองใดเมืองหนึ่ง จะ ฆ่าเสียก็ได้ แต่กลับแผลงฤทธิ์เข้าจับ ถูกพระมงกุฎตีด้วยศรสิ้นสติ แล้วสองกุมารก็ขี่ม้าเล่นต่อไป เมื่อหนุมานฟื้นก็คิดอุบายโดยแปลงเป็นลิงป่าเข้าไปตีสนิท พอได้โอกาสจะเข้าจับถูกตีด้วยศรล้มลง แล้วทั้งสองโอรสเอาเถาวัลย์มัดหนุมานและสักหน้าด้วยยางไม้เขียนเป็นคำสาป หนุมานแก้ไม่หลุดเดิน กลับไปหาทัพพระพรตและพระสัตรุต เล่าเรื่องให้ฟัง พระพรตเอาพระขรรค์ตัดเถาวัลย์ก็ไม่ขาด เมื่อ เห็นคำสาปบนหน้าผาก ก็รู้ว่าแก้ไม่ได้ จึงพากันกลับไปเฝ้าพระราม พระรามแก้มัดให้เถาวัลย์จึงหลุด ออก หนุมานเล่าให้ฟัง พระรามโกรธมาก ให้หนุมานไปทูลพระพรตและพระสัตรุต ให้ไปจับตัวทั้งสอง มาลงโทษให้ได้
14
พระมงกุฎ 15 1. กำไลข้อเท้า (หัวบัว) 10. ทับทรวง 2. สนับเพลา หรือกางเกง 11. อินทรธนู 3. ผ้านุ่ง หรือภูษา หรือพระภูษา 12. สังวาล พร้อมตาบทิศ และตาบหลัง 4. ห้อยข้าง หรือเจียระบาด หรือชายแครง 13. แหวนรอบ (แหวนรองกำไลเท้า) 5. เสื้อ หรือฉลององค์ 14. แหวนรอบ (แหวนรองกำไลแผง) 6. รัดสะเอว หรือรัดองค์ หรือรัดพัสตร์ 15. ปะวะหล่ำ 7. ห้อยหน้า หรือชายไหว พร้อมสุวรรณกระถอบ 16. กำไลแผงหรือทองกร 8. กรองคอ หรือนวมคอ หรือกรองศอ 17.หัวกุมาร 9. เข็มขัด หรือปั้นเหน่ง (หัวกุมาร ติดอุบะและดอกไม้ทัดด้านขวา)
16 1. กำไลข้อเท้า (หัวบัว) 10. ทับทรวง 2. สนับเพลา หรือกางเกง 11. อินทรธนู 3. ผ้านุ่ง หรือภูษา หรือพระภูษา 12. สังวาล พร้อมตาบทิศ และตาบหลัง 4. ห้อยข้าง หรือเจียระบาด หรือชายแครง 13. แหวนรอบ (แหวนรองกำไลเท้า) 5. เสื้อ หรือฉลององค์ 14. แหวนรอบ (แหวนรองกำไลแผง) 6. รัดสะเอว หรือรัดองค์ หรือรัดพัสตร์ 15. ปะวะหล่ำ 7. ห้อยหน้า หรือชายไหว พร้อมสุวรรณกระถอบ 16. กำไลแผงหรือทองกร 8. กรองคอ หรือนวมคอ หรือกรองศอ 17.หัวกุมาร 9. เข็มขัด หรือปั้นเหน่ง (หัวกุมาร ติดอุบะและดอกไม้ทัดด้านขวา)
17 1. สนับเพลา 9. รัดสะเอว 2. ผ้าพอก 10. ผ้าดิบ 3. เสื้อ 11. ปั้นเหน่งหรือเข็มขัด 4. ภูษาหรือผ้านุ่ง 12. สังวาล 5. ห้อยข้างหรือชายแครง 13. ทับทรวงหรือสร้อย 6. ห้อยหน้า ชายไหว 14. กรองศอ 7. หางลิง 15. ข้อเท้าหรือผ้าที่ใส่ข้อเท้า 8. ผ้าปิดก้น 16. หัวโขน (หัวหนุมาน)
18 ฟ้อนไทภูเขา
19
20 ฟ้อนไทภูเขาเป็นการแสดงที่สื่อถึงภาพวิถีชีวิตในการทำมาหากินของชาว ภูไทที่อาศัยตามแนวเทือกเขาภูพาน อันเป็นแนวทิวเขาที่ทอดยาวพาดผ่านหลายจังหวัด ในอีสานตอนบน แสดงถึงการหาของป่าหรือการหาพืชพันธุ์เพื่อนำมาใช้ประกอบอาหาร การแสดงชุดนี้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นโดยวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ โดยการเข้าไปลงพื้นที่ เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลการทำมาหากิน ที่หมู่บ้านของชาวภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการเป็นหมู่บ้านต้นแบบการทอผ้าสไบไหม แพรวาของชาวภูไท ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านในจังหวัดกาฬสินธุ์ แหล่งอื่นๆก็นิยมทอกันอย่าง แพร่หลาย ฟ้อนไทภูเขา การแสดงชุด “ฟ้อนไทภูเขา” แสดงถึง การเดินขึ้นภูเขา การขุดหาหน่อ ไม้ เก็บเห็ด เก็บผักหวาน เก็บใบย่านาง และการตัดหวาย จึงเป็นการแสดงที่มีความโดด เด่น ในการสื่อถึงการทำมาหากินและความสวยงามของผ้าไหมแพรวา ของชาวภูไทที่นำ มาใช้เป็นเครื่องแต่งกายของนักแสดง ดนตรี ที่ใช้ เริ่มต้นจากลายภูไท ที่มีทำนองช้าแล้วขึ้นลายใหม่ที่มีจังหวะและทำนองที่ สนุกสนาน
21
22 – หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีแดง ใช้ผ้าสไบไหมแพรวาสีแดงพับครึ่งเป็น ตัว V ที่ด้านหน้าให้ปลายผ้าทั้งสองข้างพาดไหล่ นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สีดำมีตีนซิ่น ยาวคลุมเข่า พันศีรษะด้วยผ้าแพรวาสีแดงปล่อยให้ชายครุยของปลายผ้า ปรกใบหน้า สวมเครื่องประดับเงิน และสะพายหลังด้วยเครื่องจักสาน ลักษณะตะกร้าสะพายหลัง ชาวภูไทเรียกเครื่องจักสานชนิดนี้ว่า “กระม้อง”
22 – ชาย สวมเสื้อสีครามมีการตกแต่งเสื้อด้วยแถบผ้าลายแพรวา นุ่ง กางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าแพรวาพันศีรษะและมัดเอว สะพายย่ามลายขิดสีแดง
24
25
26 เซิ้งสัมพันธ์ เป็นศิลปะพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลีลาของการเซิ้งที่ คล่องแคล่ว ว่องไว กระฉับกระเฉง งดงามและแปลกตาอีกชุดหนึ่ง ลีลาการแสดง จะเป็นการนำเซิ้งสวิงและเซิ้งกระติบข้าวมาแสดงให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน
27
28 - ผู้หญิงสวมเสื้อแขนกระบอกคอกลม - นุ่งผ้าซิ่น - เกล้าผมมวยทัดดอกไม้ - สะพายกระติบข้าว
29 - ผู้ชายสวมเสื้อม่อฮ่อม - นุ่งกางเกงขาก๊วย - เอาผ้าขาวม้าคาดเอว - และโพกศีรษะ - สะพายข้อง - ถือสวิง
30
31
32 โปงลางเดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ ที่เรียกว่า โปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไป ค้าขายยังต่างแดน โดยใช้บรรทุกสินค้าบนหลังวัว ยกเว้นวัวต่างเพราะเป็นวัวที่ใช้นำหน้า ขบวนผูกโปงลางไว้ตรงกลางส่วนบนของต่าง เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใด และกำลังมุ่งหน้าไป ทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทางส่วนระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันนี้ พบมากที่จังหวัด กาฬสินธุ์ เรียกว่า \"ขอลอ\" หรือ \"เกาะลอ\" ดังเพลงล้อสำหรับเด็กว่า \"หัวโปก กระโหลก แขวนคอ ตีขอลอดังไปหม่องๆ\" ชื่อ \"ขอลอ\" ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า \"โปงลาง\" และนิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม้ที่นำมาทำเป็นโปงลางที่นิยมกันได้แก่ ไม้มะหาด และไม้หมากเหลื่อม การเล่นทำนองดนตรีของโปงลางจะใช้ลายเดียวกันกับ แคน และพิณ ลายที่นิยมนำมาจัด ท่าประกอบการฟ้อน เช่น ลายลมพัดพร้าว ลายช้างขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายแมงภู่ตอมดอก ลายกาเต้นก้อน เป็นต้น
33
34 - สวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น - นุ่งผ้ามัดหมี่ - ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่ - ผูกโบว์ตรงเอว - ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้
35 - สวมชุดม่อฮ่อม - นุ่งกางเกงขาก๊วย - ผ้าขาวม้าคาดเอว - ใช้ผ้าขาวม้าโพกศรีษะ
36
37 การแสดงพี้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกัน ทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้ คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงาม ประกอบกับการบรรเลงและขับ ร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอ่ว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้อนรับแขกบ้าน แขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง
38 เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่ มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิต และเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อ เสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทิง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรม ของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
39 เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมัก เรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรำกระทบสาก รำกระเน็บติงต็อง หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลาง วงดนตรี ที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี คือ ซอด้วง ซอครัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาด เอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนอง ดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน
40 เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรม ใหญ่ๆ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลอง โนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปะต่างๆ เข่น ระบำร่อนแร่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น
41 กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดรูปแบบการแสดง ในการสร้างสรรค์การแสดง - ทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการ การแสดงเป็นหมู่ จัดงานนั้น ว่าคืออะไร เพื่อที่จะ - การแสดงที่มีผู้แสดงตั้งแต่2คนขึ้นไป สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ตรง ตามวัตถุประสงค์ของงาน การแสดงรำเดี่ยว - การแสดงที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียวมุ่ง การแสดงเป็นชุดเป็นตอน - การแสดงที่สอดแทรกอยู่ในการ เน้นความสายงามของลีลาการรำ แสดงละครแต่ได้ตัดตอนนำมา การแสดงละคร แสดงเป็นชุดเป็นตอนสั้นๆ เพื่อ - การแสดงเป็นเรื่องราวผู้แสดงจะต้อง รับบทบาทเป็นตัวละครถ่ายทอดเรื่องราว อวดฝีมือผู้แสดง ตามบทละคร การทำดนตรีที่ใช้ในการแสดง ในการแสดงเชื่อมโยงกับหัวข้อความเป็น มา รวมถึงการเรียบเรียงการวางงานเล่าเรื่องการแสดง
42 ๑.การฟ้อนรำหรือลีลาการใช่ท่ารำ - การแสดงนาฏศิลป์ไทยเป็นการแสดงที่มีการร่ายรำสวยงาม โดยประดิษฐ์ คิดค้นท่า รำต่างๆ ให้เป็นระเบียบแบบแผนให้เหมาะสมกับการแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว และ สื่อความหมายในการแสดง เช่น ระบำพรหมาสตร์ เป็นการร่ายรำของเทวดา นางฟ้า ที่มีความหมายสวยงาม ดูมีความสุข ๑.๑นาฏยศัพท์ ศัพท์เฉพาะที่ครูโบราณาจารย์ท่านให้ใช้เรียกอวัยวะที่เราใช้ในการร่ายรำเป็นที่เข้าใจกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ๑.๒ภาษาท่า ภาษาท่าเสมือนเป็นภาษาภาษาพูดโดยไม่เปล่งเสียงออกมา แต่อาศัยส่วนประกอบ อวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง โดยเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ชม สามารถเข้าใจได้
๒.ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง 43 - ในการแสดงนาฏศิลป์ไทย จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลง ประกอบการแสดงบางเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง แบ่งออกเป็น หน้าพาทย์ธรรมดาและหน้าพาทย์ชั้น สูงส่วนใหญ่บรรเลงไม่มีเนื้อร้อง การบรรเลงเพลง หน้าพาทย์จะบรรเลงตามความหมายและอารมณ์ ของตัวละครที่แตกต่างกันไป ๒.๑ เพลงหน้าพาทย์ เพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงประเภทหนึ่งที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาของมนุษย์ สัตว์ วัตถุหรือธรรมชาติ เช่น ยืน เดิน กิน นอน เพลงหน้าพาทย์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ - เพลงหน้าพาทย์ธรรมดาใช้กับตัวละครสามัญทั่วไปไม่มีความสำคัญมากนัก เช่น เพลงเสมอ - เพลงหน้าพาทย์ชั้นกลางใช้กับตัวละครที่สำคัญมากขึ้น เช่น เสมอข้ามสมุทรเพลง เสมอเถร เพลงเสมอมาร - เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงใช้กับตัวละครที่สูงศักดิ์ เช่น เพลงบาทสกุณี เพลงดำเนินพราหมณ์
Search