แบบฝึกเสริมทักษะ ภาษาไทย การเขียนเรื่องจากภาพ ป.๖ โดย นางสาวพัชราภรณ์ แก้วสุวรรณ์ ครูผู้สอน ถฮสจฬอปศ ฐ ชื่อ.................................................................................... ชั้น............................... เลขที่ ................. ภ โรงเรียน.................................................................................... ข น ฒ ก
ก คำนำ การพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องจากภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ด้วยกระบวนการบันได ๖ ขั้น จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนของ ผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด ซึ่งผู้จัดทำได้ศึกษาวิธี การสร้างเครื่องมือเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย และหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน ตลอดจนเป็นพัฒนาการจัดการเรียนการ สอนในรายวิชาภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องจากภาพของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ด้วยกระบวนการบันได ๖ ขั้น ในครั้งนี้จะเป็น เครื่องมือช่วยแก้ไขปัญหาและเป็นเครื่องมือพัฒนาทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้ ดียิ่งขึ้น พัชราภรณ์ แก้วสุวรรณ์ ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย
สารบัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข แบบทดสอบก่อนเรียน ๑ การเขียนเรื่องตามจินตนาการ ๒ แบบฝึกทักษะชุดที่ ๑ ๖ แบบฝึกทักษะชุดที่ ๒ ๑๒ แบบทดสอบหลังเรียน ๑๘ บรรณานุกรม ๑๙
หน้า ๑ แบบทดสอบก่อนเรียน : จงเขียนเรื่องจากภาพด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรรทัด โดยใช้ภาษาไทยมาตรฐาน ความยาว ๔-๗ บรรทัด ค ะ แ น น เ ต็ ม : ค ะ แ น น ที่ ไ ด้ : ห ม า ย เ ห ตุ ค ะ แ น น เ ต็ ม ๑ ๐ ค ะ แ น น = ๒ คะแนน
หน้า ๒ อ่านเสริมเพิ่มความรู้ การเขียนเรื่องจากภาพ เป็นการใช้ประสบการณ์ร่วมกับจินตนาการ ของผู้เขียนโดยดูรายละเอียดต่าง ๆ จากภาพ เป็นพื้นฐานในการสร้างจินตนาการ เขียนเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจหรือให้ความ สนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน เรียบเรียง เรื่องราวต่าง ๆ จากภาพให้มีความต่อเนื่องและ สัมพันธ์กัน จินตนาการ คือ ความคิดเชื่อมโยงประสบการณ์และ ความจริงในชีวิตไปสู่อดีต อนาคต หรือ เชื่อมโยงเป็นเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ใน ปัจจุบัน โดยผูกเรื่องราวขึ้นมาจากความคิด ของตนเอง
หน้า ๓ อ่านเสริมเพิ่มความรู้ การหลักการเขียนเรื่องจากภาพ การหลักการเขียนเรื่องจากภาพ มีขั้นตอนการเขียนดังต่อไปนี้ ๑. พิจารณารายละเอียดภาพต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ๒. จินตนาการผูกโยงเรื่องราวให้มีความสัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงความเป็นจริงหรือความสมเหตุสมผล ๓. ลำดับเรื่องราวให้ต่อเนื่อง มีเอกภาพและสัมพันธภาพ ๔. ตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ ๕. เขียนลายมือให้อ่านง่าย เว้นวรรคให้ถูกต้อง
หน้า ๔ อ่านเสริมเพิ่มความรู้ เทคนิคการเขียนเรื่องจากภาพ เทคนิค ๕ W ๑ H ตัวอย่างการเขียนเรื่องจากภาพ โดยใช้เทคนิค ๕ W ๑ H คือ ใช้คำสำคัญในการตั้งประเด็น ได้แก่ ใคร เด็กชายแดง ทำอะไร เห็นเงินของเด็กหญิงคนหนึ่งตกอยู่บนพื้น ใคร ทำอะไร ที่ไหน ที่ไหน ตลาดสด เมื่อไหร่ อย่างไร เมื่อไหร่ หลังเลิกเรียน วันศุกร์ อย่างไร เด็กชายแดงส่งเงินคืนเด็กหญิงคนนั้น ในการเขียนใช้ประเด็นใดเขียนขึ้นต้นก่อนก็ได้ เช่น ที่ไหน (สถานที่) อาจขึ้นต้นด้วยคำว่า \"ณ....(สถานที่)........ แห่งหนึ่ง\" หรือ เมื่อไหร่ (เวลา) อาจขึ้นต้นด้วยคำว่า \"เช้าวันหนึ่ง\" บเรียงเป็นเรื่อง เรีย เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากเลิกเรียนแล้ว เด็กชายแดงแวะไปตลาดขณะที่เดินผ่าน หน้าร้านแกง เขาเห็นธนบัตรใบละ ๑๐๐ บาท ตกอยู่เขาคิดว่าเป็นเงินของเด็กหญิงที่กำลัง ยืนซื้อแกง เขาจึงคิดจะหยิบธนบัตรเพื่อสงคืนให้กับเด็กหญิงคนนั้น เขายังคิดต่อไปอีกว่า หากไม่บอกและส่งเงินคืนให้เด็กหญิงคนนั้น อาจทำให้เธอเดือดร้อนได้
หน้า ๕ ตัวอย่างการเขียนเรื่องจากภาพ : จงเขียนเรื่องจากภาพด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรรทัด โดยใช้ภาษาไทยมาตรฐาน ความยาว ๔-๗ บรรทัด ณ ริมชายหาดแห่งหนึ่ง มีเด็กชายคนหนึ่งชื่อ กาย พ่อแม่ของเขาประกอบอาชีพบริการ ด้านการท่องเที่ยว ทุกวันหยุดเขามักจะมาเดินเล่นที่ชายหาดเป็นประจำ แต่ในช่วงนี้ไม่ค่อย มีนักท่องเที่ยวมาพักพักผ่อนที่ชายหาดแห่งนี้เลย เมื่อเดินเลียบชายหาดมาสักพัก เขาพบว่า มีเศษขยะและถุงพลาสติกวางเกลื่อนกลาดเต็มไปหมด และนี้คงเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่มี นักท่องเที่ยว เขาจึงรีบกลับเข้าไปในบ้านเพื่อหยิบถุงดำมาเก็บขยะเหล่านี้ ในขณะที่ กำลังเก็บขยะอยู่นั้น เขาได้จินตนาการถึงภาพทีี่ท้องทะเลกลับมาสวยงาม มีน้ำทะเลที่ ใสสะอาด และอีกไม่นานคงมีนักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวพักผ่อนเช่นเดิม ค ะ แ น น เ ต็ ม : ค ะ แ น น ที่ ไ ด้ : ห ม า ย เ ห ตุ ค ะ แ น น เ ต็ ม ๑ ๐ ค ะ แ น น = ๒ คะแนน
ชุดที่ ๑ หน้า ๖ ขั้นที่ ๑ : อ่านคล่อง : ให้นักเรียนอ่านเรื่องที่กำหนดให้ และใช้ปากกาสีแดงขีดเส้นใต้คำศัพท์ยาก
ชุดที่ ๑ หน้า ๗ ขั้นที่ ๒ : วิเคราะห์เป็น : ให้นักเรียนเขียนแผนผังวิเคราะห์โครงเรื่องจากเรื่องที่กำหนดให้ในขั้นที่ ๑ โดยใช้ หลักการ ๕ W ๑ H (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร)
ชุดที่ ๑ หน้า ๘ ขั้นที่ ๓ : เน้นบรรยาย (ภาพ) : ให้นักเรียนเรียบเรียงลำดับเหตุการณ์ และเขียนบรรยายเรื่องไว้ใต้ภาพแต่ละภาพ
ชุดที่ ๑ หน้า ๙ ขั้นที่ ๔ : ขยายโครงเรื่อง : ให้นักเรียนพิจารณาภาพ จากนั้นเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่องให้ถูกต้อง คะแนน :
ชุดที่ ๑ หน้า ๑๐ ขั้นที่ ๕ : ร้อยเรียงเรื่องราว : ให้นักเรียนนำโครงเรื่องจากใบงานในขั้นที่ ๔ มาเขียนเรียบเรียงเป็นเรื่องราวให้สมบูรณ์ เรื่อง คะแนน :
ชุดที่ ๑ หน้า ๑๑ ขั้นที่ ๖ : เขียนอิสระ : ให้นักเรียนพิจารณาภาพ พร้อมกับ ตั้งชื่อตัวละครและแต่งเรื่องตามจินตนาการให้ สมบูรณ์ หัวเราะ สวนครัว มอมแมม งอกงาม รดน้ำ เรื่อง คะแนน :
ชุดที่ ๒ หน้า ๑๒ ขั้นที่ ๑ : อ่านคล่อง : ให้นักเรียนอ่านเรื่องที่กำหนดให้ โดยวิเคราะห์เรื่องที่อ่านตามหลักการ ๕ W ๑ H และใช้ปากกาแดงขีดเส้นใต้ใจความสำคัญที่อ่าน
ชุดที่ ๒ หน้า ๑๓ ขั้นที่ ๒ : วิเคราะห์เป็น : ให้นักเรียนเขียนแผนผังวิเคราะห์โครงเรื่องจากเรื่องที่กำหนดให้ในขั้นที่ ๑ โดยใช้ หลักการ ๕ W ๑ H (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร)
ชุดที่ ๒ หน้า ๑๔ ขั้นที่ ๓ : เน้นบรรยาย (ภาพ) : ให้นักเรียนเรียบเรียงลำดับเหตุการณ์ และเขียนบรรยายเรื่องไว้ใต้ภาพแต่ละภาพ
ชุดที่ ๒ หน้า ๑๓ ขั้นที่ ๔ : ขยายโครงเรื่อง : ให้นักเรียนพิจารณาภาพ จากนั้นเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่องให้ถูกต้อง คะแนน :
ชุดที่ ๒ หน้า ๑๖ ขั้นที่ ๕ : ร้อยเรียงเรื่องราว : ให้นักเรียนนำโครงเรื่องจากใบงานในขั้นที่ ๔ มาเขียนเรียบเรียงเป็นเรื่องราวให้สมบูรณ์ เรื่อง คะแนน :
ชุดที่ ๒ หน้า ๑๗ ขั้นที่ ๖ : เขียนอิสระ : ให้นักเรียนพิจารณาภาพ พร้อมกับ ตั้งชื่อตัวละครและแต่งเรื่องตามจินตนาการให้ สมบูรณ์ ตื่นเต้น กระเป๋า เสียใจ รถเมล์ หมูปิ้ ง เรื่อง คะแนน :
หน้า ๑๘ แบบทดสอบหลังเรียน : จงเขียนเรื่องจากภาพด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรรทัด โดยใช้ภาษาไทยมาตรฐาน ความยาว ๔-๗ บรรทัด ค ะ แ น น เ ต็ ม : ค ะ แ น น ที่ ไ ด้ : ห ม า ย เ ห ตุ ค ะ แ น น เ ต็ ม ๑ ๐ ค ะ แ น น = ๒ คะแนน
๑๙ บรรณานุกรม จิรวัฒน์ เพชรรัตน์. (๒๕๕๖). การอ่านและการเขียนทางวิชาการ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ฉัตรียา เลิศวิชา และชนากานต์ กองรัตน์. (๒๕๖๔). ทักษะการเขียน. เชียงใหม่ : ธารปัญญา จำกัด. ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (๒๕๕๒). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : เกรท เอ็ดดูเคชั่น. ประภาศรี สีหอำไพ. (๒๕๔๐). ภาษาไทย ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ผจงวาด พูลแก้ว. (๒๕๔๗). แบบฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน. กรุงเทพฯ : สุวีรยาสาส์น. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. ศึกษาธิการ, กระทรวง, กรมวิชาการ. (๒๕๔๖). แนวทางการจัดกิจกรรม พัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. สุคนธ์ สินธพานนท์. (๒๕๕๒). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา คุณภาพของเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : เทคนิคพริ้นติ้ง.
การเขียนเรื่องจากภาพ ป.๖ ถฮสจฬอปศ ฐ ข น ฒ ภ ก
Search
Read the Text Version
- 1 - 23
Pages: