Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การค้นหาพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลข่าวสารลับของราชการ

การค้นหาพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลข่าวสารลับของราชการ

Published by jirut.ja, 2020-01-10 13:29:27

Description: รายงานฉบับที่ 2

Search

Read the Text Version

๑ รายงานฉบับที่ 2 ชดุ วิชา 41717 กฎหมายวธิ พี จิ ารณาความอาญาและพยานชน้ั สงู Advanced Criminal Procedural and Evidence Laws เรื่อง การเรียกพยานเอกสารทีเ่ ป็นเอกสารลบั ของราชการ 2614002349 โดย นางสาวจริ ตั น์ชยา พรฟ้านิมติ สาขาวชิ านิติศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช สมั มนาเสริม วันที่ 11 – 12 มกราคม 2563 ณ มหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช

๑ คานา การจัดทารายงานฉบับท่ี 2 เป็นการจัดทารายงานทางวิชาการ โดยมีการศึกษาปรัชญา แนวคิด หรือทฤษฎีทางกฎหมายลักษณะพยานหลกั ฐานหรือการคุ้มครองพยาน อันเป็นส่วนหน่ึงของการศึกษาระดับ บณั ฑติ ศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1/2562 ของกจิ กรรมการศึกษา ชุดวิชา 41717 กฎหมายวธิ ีพจิ ารณาความ อาญาและพยานช้ันสงู การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยานเอกสารที่ใช้ในคดีอาญา ในประเด็นการค้นหา พยานหลักฐานท่ีเป็นข้อมูลข่าวสารลับของทางราชการ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราช การ พ.ศ. 2540 ซ่ึงการศึกษาคร้ังนี้ได้ดาเนินการตามที่ระบุไว้ในแผนกิจกรรมการศึกษาอันเป็นกรอบสาหรับ นกั ศึกษาในการทางานท่ีไดร้ ับมอบหมายประจาชุดวชิ าดังกลา่ วอย่างครบถ้วนแลว้ จริ ตั น์ชยา พรฟ้านิมติ

สารบัญ เรื่อง หนา้ บทที่ 1 บทนา 1 1.1 ความเปน็ มาและความสาคัญ 1 1.2 วตั ถปุ ระสงค์ของการศึกษา 1 1.3 วิธกี ารศกึ ษา 1 1.4 สมมุติฐานของการศึกษา 2 1.4 ประโยชน์ทคี่ าดว่าจะได้รบั บทที่ 2 แนวคดิ ของการคน้ หาพยานหลกั ฐานท่ีเปน็ ข้อมูลข่าวสารลบั ของทางราชการ 3 ในการดาเนนิ คดอี าญา 3 2.1 แนวคดิ การค้นหาขอ้ เทจ็ จริง และการพสิ ูจนพ์ ยานหลักฐานในคดีอาญา 3 2.1.1 ระบบกลา่ วหา 3 2.1.2 ระบบไตส่ วน 4 2.1.3 ทฤษฎหี ลักการควบคุมอาชญากรรม 4 2.1.4 ทฤษฎีหลกั กระบวนการนติ ธิ รรม 2.2 การคน้ หาพยานหลกั ฐานทเ่ี ป็นขอ้ มูลข่าวสารลับของทางราชการ 4 ในการดาเนินคดอี าญา 6 2.2.1 หลักการกาหนดใหเ้ ป็นขอ้ มลู ข่าวสารลบั ของทางราชการ 2.2.2 วิธีการค้นหาพยานหลกั ฐานทเี่ ปน็ ข้อมลู ข่าวสารลับของทางราชการ ตามพระราชบญั ญตั ิขอ้ มลู ขา่ วสารของราชการ พ.ศ. 2540 บทที่ 3 การคน้ หาพยานหลักฐานในการดาเนนิ คดีอาญาของตา่ งประเทศ 9 3.1 การคน้ หาพยานหลกั ฐานในการดาเนินคดอี าญาประเทศฝร่ังเศส 9 3.2 การค้นหาพยานหลักฐานในการดาเนินคดีอาญาประเทศสหรัฐอเมริกา 10 3.3 การคน้ หาพยานหลักฐานในการดาเนินคดอี าญาประเทศอังกฤษ บทท่ี 4 วิเคราะห์ปัญหาการค้นหาพยานหลกั ฐานทเี่ ปน็ ข้อมูลขา่ วสารลับของทางราชการ ในการดาเนนิ คดีอาญา 4.1 เปรยี บเทียบการค้นหาพยานหลกั ฐานในการดาเนนิ คดีอาญาของประเทศไทย 12 และตา่ งประเทศ 4.2 วเิ คราะหก์ รณีการให้คู่ความหรือทนายความได้ทราบข้อมลู ข่าวสารลับ 13 ของทางราชการในการดาเนินคดอี าญา

สารบัญ (ต่อ) เรอื่ ง หนา้ บทที่ 5 บทสรุปและขอ้ เสนอแนะ 15 5.1 บทสรปุ 15 5.2 ข้อเสนอแนะ บรรณานกุ รม

1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ควำมเปน็ มำ ควำมสำคัญ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กาหนดให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งท่ีมาของข้อมูล ข่าวสาร ตลอดจนการเปิดเผยรายงานการแพทย์ ย่อมถือเป็นความลับของทางราชการ ตามมาตรา 15 ซ่ึงไม่อาจเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ และยังเป็นการเปิดช่องให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้อานาจดุลยพินิจ ของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าท่ีของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าว โดยอ้างว่า การกระทา ดังกล่าวเป็นความลับของทางราชการ ท่ีเจ้าพนักงานกระทาไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือจาเลยและทนายจะทราบก็ต่อเมื่อผลการดาเนินการดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ของรัฐเสร็จส้ินเรียบร้อยแล้ว และปรากฏเปน็ รายงานในสานวนคดีของศาล เมื่อกฎหมายไมเ่ ปิดช่องใหค้ ู่ความหรอื ทนายความมโี อกาสเข้าไป รับรู้หรือรับทราบการดาเนินการดังกล่าวได้ ย่อมเป็นการสนับสนุนโดยตรงให้เจา้ หน้าที่ของรัฐบางกลุ่มที่จะใช้ อานาจโดยมิชอบ ทาการทุจริต เพ่ือแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ อันเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรม ทเี่ ปิดโอกาสให้มสี ่วนรวมและตรวจสอบการทางานของเจ้าหนา้ ท่ีของรัฐไดต้ ามหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บทบัญญตั ดิ ังกล่าวจึงลักหล่ันกันกบั หลักการค้นหายานหลักฐาน และอาจจะขดั ต่อสิทธขิ องผู้เสยี หาย ผตู้ ้องหา หรือจาเลยท่ีจะต้องไดร้ ับความคุ้มครองตามรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย 1.2 วตั ถปุ ระสงค์ของกำรศึกษำ 1.2.1 ศึกษาหลักเกณฑ์การค้นหาพยานหลักฐานท่ีเป็นข้อมูลข่าวสารลับของทางราชการตาม พระราชบญั ญตั ิข้อมลู ขา่ วสารของราชการ พ.ศ. 2540 1.2.2 ศึกษาวิธีการมีส่วนร่วมของคู่ความและทนายความในการค้นหาพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูล ขา่ วสารลับของทางราชการตามพระราชบัญญัตขิ อ้ มลู ข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 1.2.3 วิเคราะห์การมีส่วนร่วมของคู่ความและทนายความในการค้นหาพยานหลักฐานท่ีเป็นข้อมูล ขา่ วสารลบั ของทางราชการตามพระราชบัญญตั ิข้อมลู ขา่ วสารของราชการ พ.ศ. 2540 1.3 วธิ ีกำรศกึ ษำ ในการศึกษาครั้งน้ีจะใช้ข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ รายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และตัวบทกฎหมาย ท่ีเก่ียวข้อง ซึ่งจะทาการค้นหาข้อมูลทางเอกสาร และข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยดาเนินการศึกษาค้นคว้า เอกสาร ตารา และบทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการและวิเคราะห์เน้ือหาจากทฤษฎีท่ี เก่ียวข้อง และคาพพิ ากษาฎกี าท่ีเก่ยี วข้อง 1.4 สมมติฐำนของกำรศกึ ษำ การเปิดช่องให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้อานาจดุลยพินิจในการพิจารณาเปิดเผยข้อมูลข่าวสารท่ีเป็น ความลับของทางราชการ โดยที่คู่ความและทนายความท่ีมีส่วนเกี่ยวข้องไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการ ทราบการดาเนินการของรัฐได้ ย่อมเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรมที่เปิดโอกาสให้มีส่วนรวมและตรวจสอบ การทางานของเจา้ หนา้ ท่ีของรฐั ไดต้ ามหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

2 1.5 ประโยชน์ทค่ี ำดวำ่ จะได้รบั 1.5.1 ทราบหลักเกณฑ์การค้นหาพยานหลักฐานท่ีเป็นข้อมูลข่าวสารลับของทางราชการตาม พระราชบัญญัตขิ ้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 1.5.2 ทราบวิธีการมีส่วนร่วมของคู่ความและทนายความในการค้นหาพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูล ขา่ วสารลับของทางราชการตามพระราชบญั ญัตขิ อ้ มูลขา่ วสารของราชการ พ.ศ. 2540 1.5.3 สามารถวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของคู่ความและทนายความในการค้นหาพยานหลักฐานท่ีเป็น ขอ้ มูลขา่ วสารลับของทางราชการตามพระราชบัญญัติขอ้ มลู ข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

3 บทที่ 2 แนวคิดของกำรคน้ หำพยำนหลกั ฐำนท่ีเป็นข้อมลู ข่ำวสำรลบั ของทำงรำชกำรในกำรดำเนินคดอี ำญำ 2.1 แนวคดิ กำรคน้ หำขอ้ เท็จจริง และกำรพิสจู นพ์ ยำนหลกั ฐำนในคดอี ำญำ 2.1.1 ระบบกลำ่ วหำ ระบบกล่าวหา เป็นระบบการค้นหาข้อเท็จจริงท่ีรับอิทธิพลมาจากระบบกฎหมายจารีต ประเพณขี องชาวองั กฤษที่สรา้ งระบบกลา่ วหาขนึ้ เพ่ือเปิดโอกาสให้ศาลสามารถสร้างแนวปฏิบัตทิ ี่นามาบัญญัติ เป็นกฎหมายในภายหลังได้ กล่าวคือ บุคคลทั่วไปอาจเป็นผู้เสียหายได้และบุคคลสามารถนาเร่ืองราวท่ีตนเองเดือดร้อน มาฟ้องร้องกล่าวหากับบุคคลท่ีสร้างความเดือดร้อนกับรัฐที่ใช้อานาจตุลาการเพื่อให้รับตัดสินและชาระคดี ความให้แก่ตน โดยถือหลักว่า ศาลจะต้องจะต้องวางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัดและรับฟังพยานหลักฐานจาก ท้ังสองฝ่าย เพราะรฐั เปิดโอกาสใหค้ ูก่ รณีสามารถนาพยานหลักฐานมาพิสจู นข์ ้อกลา่ วอา้ งของฝ่ายตนเองได้1 2.1.2 ระบบไตส่ วน ระบบไต่สวน เป็นระบบท่ีได้รับอิทธิพลโดยตรงจากหลักศาสนาท่ีเป็นแนวคิดของศาสนา คริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก บัญญัติกฎหมายในลักษณะท่ีเป็นแบบลายลักษณ์อักษร และมีการนาไปปรับใช้ใน หลายประเทศ เช่น ฝร่ังเศส เยอรมัน เป็นต้น ระบบนี้ถือว่ารัฐอยู่ในฐานะเป็นผู้ปกครองมีอานาจในการดูแล ปกครองประชาชน หากมีการกระทาผิดหรือละเมิดต่อประชาชน รัฐย่อมเป็นผู้เสียหายและรัฐจะต้องจัดหา บุคลากรเพื่อมาค้นหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและหาตัวผู้กระทาความผิด ตลอดจนแสวงหาพยานหลักฐานและ นาผ้กู ระทาความผิดมาลงโทษตามกฎหมายดว้ ย2 การค้นหาข้อเท็จจริงและการพิสูจน์พยานหลักฐานท่ีใช้ในคดีอาญาของไทยในปัจจุบัน ยึดหลักการ ในระบบกล่าวหาเป็นพ้ืนฐานมากกว่าระบบไต่สวน เพราะประเทศไทยใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เปิดโอกาสให้ทั้งรัฐและเอกชนสามารถฟ้องร้องเป็นคดีอาญาได้ ดังจะเห็นได้จากมาตรา 28 ของประมวลกฎหมาย วธิ ีพิจารณาความอาญา ที่บัญญัติให้ผเู้ สยี หาย และพนกั งานอัยการ ย่นื ฟอ้ งคดีต่อศาลไดซ้ ึ่งรวมถึงผู้ทีจ่ ะกระทาการ แทนผ้เู สียหายดว้ ย 2.1.3 ทฤษฎหี ลักกำรควบคุมอำชญำกรรม เป็นแนวคิดท่ีมงุ่ เน้นในการควบคุมป้องกันอาชญากรรม อันถือเป็นภยันตรายสูงสุดของสังคม ในการดาเนินการอย่างรวดเร็ว รวบรัด และมีประสิทธิภาพ โดยเร่ิมต้นต้ังแต่การสืบสวนก่อนทาการจับกุม การจับกุม การสอบสวนภายหลังการจบั กุม การเตรียมคดีฟ้องร้องต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิพากษา ลงโทษผู้กระทาผิด และการปลดปล่อยจาเลยด้วยการกาหนดให้ดาเนินงานอย่างสม่าเสมอโดยไม่หยุดชะงัก และมีการกล่ันกรองในทุกข้ันตอน ดังนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ตัวผู้ต้องสงสัยว่าจะกระทาความผิดมาแล้ว ต้องสันนิษฐานว่า ผู้นั้นกระทาความผิดไว้ก่อน จากนั้นจึงจะดาเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย การนาเสนอ พยานหลักฐานต่าง ๆ ต่อศาลจึงมีอยู่น้อยมาก เนื่องจากเน้นการวินิจฉัยคดีให้เสร็จส้ินไปตั้งแต่ขั้นตอนของ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการแลว้ อันทาให้ผู้ต้องสงสัยหรือผู้บริสุทธิ์ได้รบั การปลดปล่อยโดยเรว็ และทาให้ การดาเนนิ คดกี ับผ้ตู ้องหามพี ยานหลกั ฐานแน่น ก่อให้เกิดประสทิ ธภิ าพในการบังคับใชก้ ฎหมายในท้ายท่ีสุด3 1 เข็มชยั ชุติวงศ.์ คาอธบิ ายกฎหมายลกั ษณะพยาน. หนา้ 2-3. 2 คณติ ณ นคร. กฎหมายวธิ พี จิ ารณาความอาญา. หน้า 56. 3 อารีรตั น์ เลาพหล. มาตรฐานในกระบวนการยตุ ธิ รรมไทย. หน้า 3-4.

4 2.1.4 ทฤษฎหี ลักกระบวนกำรนิตธิ รรม ถือเป็นแนวคิดท่ีเป็นการดาเนินการอย่างซับซ้อน เพราะมีการตรวจสอบในทุกข้ันตอน เพื่อป้องกันความผิดพลาด และคุ้มครองสิทธิของบุคคลมากกว่าประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรม ดังน้ัน เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ตัวผู้ต้องสงสัยว่าจะกระทาความผิดมาแล้ว ต้องสันนิษฐานว่า ผู้ต้องสงสัยเป็น เป็นผู้บริสุทธิ์เสมอ จนกว่าศาลได้พิจารณาพิพากษาว่ามีความผิดจริง ฉะน้ันการแสวงหาข้อเท็จจริง การพิจารณาคดี หรอื การไตส่ วนข้อกลา่ วหา ของผ้ตู อ้ งหาต้องกระทาโดยเปิดเผยในศาลและศาลจะเปิดโอกาส ให้จาเลยแสวงหาพยานหลักฐานต่าง ๆ มาพิสูจน์ความบริสุทธ์ิได้ตลอดเวลาในทางกลับกันเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องกระทาให้ถูกต้องตามข้ันตอนที่กฎหมายกาหนดไว้ การใช้กลอุบายเพื่อให้ได้มาซ่ึงพยานหลักฐานโดยที่ บุคคลนั้นไมม่ เี จตนาทจี่ ะกระทาความผิดยังไมส่ ามารถนาพยานหลักฐานน้นั เสนอต่อศาลได้ กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยจะดาเนินการไปในแนวความคิดทางทฤษฎีใดก็ตาม ย่อมมี พื้นฐานท่ีเหมือนกันอยู่ประการหนึ่ง คือ การเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ยุติธรรมซึ่งหลักการมีส่วนร่วมนี้ ย่อมหมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็น ในการตัดสินใจในปญั หาสาคัญต่าง ๆ ไม่วา่ ดว้ ยการแจง้ ความคิดเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ การรับฟังความคิดเห็น และการรับเรื่องราวร้องทุกข์ หรือกระบวนการอื่น ๆ ตามกรอบ ของรัฐธรรมนูญที่ผูกพันองค์กรต่าง ๆ ของรัฐ ขณะเดียวกันรัฐต้องวางตัวเป็นกลางและให้การสนับสนุน การเขา้ มามีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุตธิ รรมดว้ ย 2.2 กำรค้นหำพยำนหลักฐำนทเี่ ป็นข้อมูลขำ่ วสำรลับของทำงรำชกำรในกำรดำเนนิ คดอี ำญำ 2.2.1 หลักกำรกำหนดใหเ้ ป็นข้อมลู ข่ำวสำรลับของทำงรำชกำร พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีเจตนารมณ์ให้สิทธิประชาชนเข้าถึง ข้อมูลข่าวสารของราชการอันเป็นการสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม การตรวจสอบของประชาชนช่วยให้การบริหารจัดการภาครัฐมีความโปร่งใสเป็นธรรมเพ่ือประโยชน์สุข ไปสูป่ ระชาชนโดยส่วนรวม และมีหลกั การวา่ “เปดิ เผยเป็นหลกั ปกปดิ เปน็ ข้อยกเวน้ ” แตก่ ย็ งั มขี ้อมูลข่าวสาร ของราชการบางประเภทท่ีหากเปิดเผยแล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความม่ันคงผลประโยชน์ของชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจเป็นอุปสรรคทาให้การปฏิบัติภารกิจของรัฐไม่สาเร็จหรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล จึงต้องสงวนข้อมูลข่าวสารเหลา่ นี้ไว้เป็นความลบั โดยมีหลักการที่ว่า “ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น” ซ่ึงการรักษาความลับของทางราชการในปัจจบุ ัน ปฏิบัติตามระเบยี บวา่ ด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 ซึ่งจะต้องสนองตอบต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายแม่บทด้วย ดังน้ัน จึงต้องปกปิดข้อมูลข่าวสาร เฉพาะเทา่ ที่จาเปน็ อยา่ งแท้จรงิ จึงสรุปเป็นหลักการไดว้ า่ “ถ้าจาเปน็ ปิดให้สนทิ เสร็จกจิ อาจตอ้ งเปิดเผย” 1) ลักษณะจำเพำะของข้อมลู ขำ่ วสำรท่สี ำมำรถสงั่ ใหเ้ ปน็ “ข้อมูลขำ่ วสำรลบั ” ได้ 1.1) เป็นข้อมูลข่าวสารท่ีกาหนดไว้ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 หากข้อมูลน้ันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จะเปิดเผยมิได้ (มาตรา 14) และเป็นข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งตามความในมาตรา 15 ซ่ึงหากเมื่อเปิดเผยแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ , ความม่ันคงแห่งชาติ , ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ , ทาให้การบังคับใช้กฎหมาย เสื่อมประสิทธิภาพหรือปฏิบัติภารกิจไม่สาเร็จตามวัตถุประสงค์ , เป็นความเห็น คาแนะนาภายในหน่วยงาน ของรัฐ หรือเป็นเร่ืองท่ีอยู่ระหว่างดาเนินการยังไม่แล้วเสร็จ , เป็นข้อมูลที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ความปลอดภัย

5 ของบุคคล เช่น พยาน ผู้ให้ปากคา แหล่งข่าว หรือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล เช่น ประวัติการทางาน ประวตั ิส่วนตวั หลักฐานการทาธุรกรรม ประวัติผ้ปู ว่ ย หรอื เป็นขอ้ มูลท่ีกฎหมายบัญญัติห้ามไม่ใหเ้ ปิดเผย หรือ ข้อมูลขา่ วสารทีผ่ ้ใู หข้ อ้ มูลขา่ วสารไมป่ ระสงคจ์ ะเปิดเผย 1.2) อยูใ่ นความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเก่ียวกับการดาเนนิ งานของรฐั หรอื เอกชน หมายถึง บรรดาขอ้ มูลข่าวสาร (เอกสาร หนงั สือ วัตถุคอมพวิ เตอร์) หรือ “หนงั สอื ราชการ” โดยมกี าร ลงทะเบียนไว้เปน็ หลักฐานในฐานะทเี่ ปน็ “หนังสอื ราชการ” 1.3) มีคาสั่งไม่เปิดเผย หมายความว่า จะต้องแสดงเครื่องหมายช้ันความลับช้ันใด ช้ันหนึง่ คอื ลบั , ลับมาก , ลบั ที่สุด บนขอ้ มลู ข่าวสารลบั นั้น ตามท่ีระเบียบกาหนดเพียงชน้ั เดียวตลอดทง้ั ฉบับ 2) กำรให้เหตผุ ลประกอบกำรกำหนดชน้ั ควำมลับ วัตถุประสงค์ที่ต้องให้เหตุผลประกอบการสั่งให้เป็นข้อมูลข่าวสารลับก็เพ่ือปฏิเสธการ เปดิ เผยข้อมูลกบั ผมู้ าขอดูข้อมลู ขา่ วสารลบั นน้ั อาจให้เหตผุ ลว่า กรณีเข้ำองค์ประกอบตำมมำตรำ 14 กรณีเข้ำองค์ประกอบตำมมำตรำ 15 - หากเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ - หากเปิดเผยจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สถาบนั พระมหากษัตรยิ ์ - หากเปิดเผยจะกระทบต่อความมั่นคงแหง่ ชาติ - ต้องสงวนเป็นความลับ เพราะอาจจะกระทบ - หากเปดิ เผยจะกระทบตอ่ ความมั่นคงทางเศรษฐกจิ ตอ่ สถาบันพระมหากษัตริย์ - หากเปิดเผยจะทาให้การบังคับใช้กฎหมายเส่ือม ประสิทธิภาพ - หากเปิดเผยจะทาให้การปฏิบัติภารกิจไม่สาเร็จตาม วัตถุประสงค์ - เรื่องดังกล่าวเป็นความเห็น / ข้อพิจารณา / ข้อเสนอ ภายในหน่วยงาน - เร่ืองอยู่ระหวา่ งการดาเนินการ - หากเปดิ เผยจะเป็นอันตรายต่อพยาน หรอื ผู้ให้ปากคา - เป็นขอ้ มลู ข่าวสารท่ีได้มาจากแหลง่ ข่าวลบั - เป็นข้อมลู ขา่ วสารสว่ นบคุ คล - หากเปิดเผยจะเปน็ การรุกลา้ สิทธิสว่ นบคุ คลโดยไม่สมควร - กฎหมายกาหนดให้เปน็ ความลับ - เจา้ ของข้อมลู ไมป่ ระสงคใ์ หเ้ ปดิ เผย 3) กำรสั่งเปิดเผยข้อมูลขำ่ วสำรของรำชกำร 3.1) การเปิดเผยเฉพาะข้อมูลข่าวสารลับตามมาตรา 15 และหน่วยงานเป็นเจ้าของเรื่อง เท่าน้นั หากเป็นหน่วยงานอ่ืนแนะนาใหผ้ ขู้ อไปขอกบั หนว่ ยงานเจ้าของเร่อื งเอง 3.2) เจ้าหน้าทขี่ องรับระดับ 6 หรือเทยี บเท่า สั่งให้เปิดเผขอ้ มูลได้โดย - อยูใ่ นฐานะเปน็ เจา้ ของเรื่องโดยตรง - การเปิดเผยจะเปน็ ประโยชนต์ ่อสาธารณะ (ต่อสวนรวมหรอื เอกชนก็ได)้ - เปน็ ไปโดยสุจรติ หรอื อาจกาหนดเงือ่ นไขเพ่มิ ได้ เชน่ หา้ มเผยแพร่

6 - อาจลบคา หรอื ขอ้ ความทไ่ี ม่ต้องการให้ถงึ กนั ได้ - การเกิดความเสียหายขึ้น หน่วยงานของรัฐที่สังกัดเป็นผู้รับผิดชอบ (ต้องพิสูจน์ ทราบกอ่ นว่าเปดิ เผยโดยสจุ ริต) 3.3) อาจะเสนอเรื่องให้คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน ช่วยพิจารณาการ เปิดเผยก็ได้ เพือ่ ปอ้ งกันความเสีย่ งต่อความเสียหายท่ีอาจเกดิ ขึ้น 2.2.2 วิธีกำรค้นหำพยำนหลกั ฐำนทีเ่ ป็นข้อมูลขำ่ วสำรลับของทำงรำชกำรตำมพระรำชบญั ญัติ ขอ้ มูลข่ำวสำรของรำชกำร พ.ศ. 2540 ข้อมูลข่าวสารลับของทางราชการถือเป็นพยานหลักฐานด้านนิติวิทยาศาสตร์อย่างหน่ึง ท่นี ามาประยกุ ต์ใช้ในคดีอาญา กฎหมายกาหนดไวใ้ ห้เป็นอานาจหนา้ ท่ขี องเจ้าพนักงานของรัฐ ตามทบ่ี ญั ญัติไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(10) และมาตรา 2(11) ท่ีให้ความหมายคาว่า การสืบสวนและการสอบสวน ท่ีเป็นอานาจหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานของรัฐ อันได้แก่ ตารวจ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า และพนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น แต่อย่างใดก็ตาม การค้นหาพยานหลักฐานทางด้านนิตวิ ิทยาศาสตร์ในคดีอาญา มุ่งเน้นไปในทางการใช้อานาจ ของเจ้าพนักงานตารวจเป็นหลัก และการค้นหาพยานหลักฐานเพ่อนาเข้ามาสู่กระบวนพิจารณาคดีของศาล ดังนั้น การค้นหาพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานตารวจอาศัยวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย วิธพี จิ ารณาความอาญา การค้นหาพยานหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 52 ให้อานาจกับพนักงานสอบสวนพนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจช้ันผู้ใหญ่ หรือศาลในการออกหมายเรียกบุคคล หรือสิ่งของเข้ามาในสานวนคดีได้ ส่วนทนายความอาจร้องขอต่อ พนักงานสอบสวนหรือศาลให้ทาการออกหมายเรียกบุคคลหรือสิ่งของเข้ามาในสานวนคดี ซึ่งกรณีดังกล่าว พนักงานสอบสวนหรือศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการออกหมายเรียกให้กับคู่ความหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ย่อมอยู่ ภายใต้กรอบอานาจของพนักงานสอบสวนหรือศาลเป็นหลัก ในการเลอื กบุคคลก็ดีเอกสารกด็ ีวัตถสุ งิ่ ของก็ดีเข้า มาสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา “หมายเรียก” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาสามารถ แยกพิจารณาไดเ้ ปน็ 2 ส่วนคือ ๑) หมำยเรยี กในชั้นของพนักงำนสอบสวน การออกหมายเรียกของพนักงานสอบสวนที่กฎหมายให้อานาจกับพนักงานสอบสวน ออกหมายเรียก บุคคล เอกสาร หรือวัตถุพยาน เข้าสู่สานวนคดีที่พนักงานสอบสวนจะต้องแสวงหาและ รวบรวมพยานหลักฐาน เพ่ือให้ทราบถึงข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธ์ิตามข้อกล่าวหาว่า พนักงานสอบสวนจะทาด้วยตัวเองหรือประสานงานกับหน่วยงานอ่ืนให้กระทาการแทน ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ แพทย์นิติเวช หรือนักวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เช่น พนักงานสอบสวนขอให้แพทย์ หรือผ้เู ช่ยี วชาญด้านวิทยาศาสตร์ มาทาการเกบ็ พยานหลกั ฐานทางวิทยาศาสตร์ (มาตรา 131/1) หรือพนักงานสอบสวนจดั ทาภาพถา่ ยแผนท่ี หรอื ภาพวาดจาลอง หรือพิมพ์ลายนว้ิ มือ ลายมือ หรือลายเท้า (มาตรา 132) หรือขอให้แพทย์นิติเวชทาการชันสูตรพลิกศพ (มาตรา 150) เป็นต้น เพื่อให้ได้มา ซง่ึ พยานหลกั ฐานเขา้ สสู่ านวนคดีในทา้ ยทส่ี ุด

7 ๒) หมำยเรียกในชนั้ พจิ ำรณำอรรถคดขี องศำล ศาลมีอานาจเรียกบุคคล เอกสาร หรือวัตถุพยาน มาเพ่ือประกอบการพิจารณาได้ โดยศาลจะใช้อานาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 181 ประกอบมาตรา 139 จนถึง มาตรา 166 ในส่วนของอานาจการออกหมายเรียกของศาลในกรณีใดกรณีหนึ่ง อาทิเช่น หมายเรียกเอกสาร ตา่ ง ๆ เข้ามาไวใ้ นสานวนคดขี องศาล หรือหมายเรียกบุคคลมาควบคมุ ขงั หรอื ปล่อยตัวชว่ั คราวเข้ามาสสู่ านวน คดีของศาลเพ่ือประโยชน์แก่การพิจารณาคดีของศาลโดยด้านหลังหมายเรียกจะมีข้อความแจ้งว่า “ผู้ใดขัดขืน ไม่ไปศาลตามหมายน้ี ศาลอาจออกหมายจับ เอาตัวกักขังไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 และผ้นู ัน้ อาจถูกฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 170 ต้องระวางโทษจาคกุ ไมเ่ กินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจาท้ังปรับ” และข้อความ “ผู้ใดเบิกความเท็จ มีความผิดตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 177 หรือมาตรา 181 ต้องระวางโทษอย่างสูงจาคุกไม่เกิน 15 ปีและปรับไม่เกิน 30,000 บาท” ซ่ึงขอ้ ความดังกล่าว จะปรากฏเป็นคาเตือนในหลังหมายเรยี กพยานบุคคลทุกฉบับ เพือ่ ให้ผู้รับ หมายเรียกดังกล่าวปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเมื่อได้รับหมายเรียกจากศาล ซ่ึงหมายเรียกดังกล่าวของศาลย่อมเป็น เครือ่ งมอื ของศาลในการพจิ ารณาคดตี า่ ง ๆ ของศาลนน้ั เอง การออกหมายเรียกของศาลดังกล่าวแม้จะเป็นอานาจของศาลโดยตรงก็ตาม แต่ในทาง ปฏิบัติแล้วบทบาทในการขอให้ศาลออกหมายเรียกประเภทต่าง ๆ เช่น หมายเรียกพยานบคุ คล พยานเอกสาร และพยานวัตถุ อันอยู่ในความหมายของคาคู่ความตามท่ีบญั ญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 และมาตรา 166 นอกเหนือไปจากคาฟ้องหรือคาให้การ ทนายความของคู่ความย่อมรู้ว่าควรจะ แสวงหา หรือค้นหาพยานหลักฐานใด ๆ เพื่อนาเข้าสู่ระบบการพิจารณาของศาล เพื่อพิสูจน์ความผิดหรือ ความบริสุทธ์ิของผู้ต้องหาหรือจาเลย รวมถึงการพิสูจน์ความเสียหายของผู้เสียหายต่อศาลได้ อันถือเป็นการ นาเสนอข้อเท็จจริงทช่ี ่วยใหศ้ าลพจิ ารณาวนิ จิ ฉัยชี้ขาดคดีได้ ๓) กำรค้นหำพยำนหลักฐำนทเ่ี ป็นขอ้ มลู ข่ำวสำรลับของทำงรำชกำรตำมพระรำชบัญญัติ ขอ้ มูลขำ่ วสำรของรำชกำร พ.ศ. 2540 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 และมาตรา 8 กาหนดให้คู่ความ หรือทนายความสามารถเข้ามารับรู้ข้อมูลข่าวสารของเจ้าพนักงานของรัฐดังกล่าวได้ อันเป็นการใช้สิทธิของ คู่ความหรือทนายความของเขา ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กล่าวคือ คู่ความหรือ ทนายความย่อมมีสิทธิในการรับทราบข้อเท็จจริง ตรวจสอบ รับทราบพยานหลักฐาน เสนอข้อโต้แย้งและ พยานหลักฐาน สิทธิในการรับทราบและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ สิทธิในการเข้ามามีส่วนร่วมใน กระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าท่ีของรัฐ โดยรัฐต้องจัดระบบงานในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ ให้ประชาชนและองค์กรวิชาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนตรวจสอบการใช้อานาจรัฐ ทกุ ระดบั ของเจ้าหนา้ ที่ของรัฐได้เสมอ การดาเนินคดีอาญาผู้เสียหายหรือคู่ความมักจะแต่งตั้งทนายความ เพื่อดาเนินการ ตรวจหาข้อมูลพยานหลักฐานต่าง ๆ เพ่ือประกอบสานวนในคดี หากข้อมูลท่ีต้องการนั้นเป็นข้อมูลข่าวสารท่ี หน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของเอกสารและกาหนดให้เป็นข้อมูลข่าวสารลบั ของทางราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐมัก อ้างการใช้อานาจดุลพินิจในการไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวให้กับคู่ความหรือทนายความ และหากเป็น หน่วยงานท่ีมีหน้าที่โดยตรงอย่าง กองพิสูจน์หลักฐาน สานักงานวิทยาการตารวจ สานักงานตารวจแห่งชาติ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เจ้าหน้าท่ีของรัฐก็อาจปฏิเสธได้โดยอ้างว่า เพื่อประโยชน์ใน การตรวจสอบและทดสอบผลทางวิทยาศาสตร์ท่ีกระทบต่อการฟ้องร้องดาเนินคดีอาญา อันเป็นการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมที่จะเกิดข้ึนได้ เจา้ หนา้ ท่ขี องรัฐดังกล่าว ยอ่ มปฏเิ สธไดเ้ สมอ ท้ังนี้ การดาเนินการ

8 ดังกล่าวเน้นไปท่ีการดาเนินคดีอาญาของภาครัฐ โดยให้อานาจแก่พนักงานสอบสวนท่ีเป็นตารวจมากกว่าการ ให้สิทธิของคู่ความที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการดาเนินคดีอย่างเท่าเทียมกัน พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ. 2540 ย่อมขัดแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เทียบเคียงตามนัยคาพิพากษา ฎีกาท่ี 1035/2536 ที่กาหนดให้ข้อมูลต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งท่ีมาของข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการเปิดเผยรายงานการแพทย์ ย่อมถือเป็นความลับของทางราชการ ตามมาตรา 15 ท่ีไม่อาจเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ และยังเป็นการเปิด ช่องทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อานาจดุลยพินจิ ของหน่วยงานของรัฐ หรอื เจา้ หนา้ ท่ีของรัฐในการเปดิ เผยข้อมูล ข่าวสารดังกล่าว โดยอ้างว่าการกระทาดังกล่าวเป็นความลับของทางราชการที่เจ้าพนักงานกระทาไปโดยชอบ ด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่อาจเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ ซ่ึงในความเป็นจริงไม่ว่าผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือจาเลย และทนายความของเขา จะทราบก็ต่อเมื่อผลการดาเนินการดังกล่าวของเจ้าหนา้ ท่ขี องรฐั เสร็จสน้ิ เรยี บร้อยแล้ว และปรากฏเปน็ รายงานในสานวนคดขี องศาล ซง่ึ บทบัญญัติดงั กล่าวย่อมขัดตอ่ สทิ ธิของผู้เสยี หาย ผ้ตู ้องหาหรอื จาเลย และทนายความของเขาที่ได้รบั ความรบั รองคุ้มครองตามรัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย

9 บทท่ี 3 กำรค้นหำพยำนหลักฐำนในกำรดำเนนิ คดอี ำญำของต่ำงประเทศ 3.1 กำรค้นหำพยำนหลักฐำนในกำรดำเนินคดอี ำญำประเทศฝรงั่ เศส กฎหมายลักษณะพยานของประเทศฝร่ังเศส ตารวจหรือศาลอาจค้นหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน ต่าง ๆ ในคดีได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายวิธีพิจารณาความ ด้วยวิธีการใดวิธีหน่ึง กล่าวคือ การตรวจสอบ ข้อเท็จจริงด้วยตัวของผู้พิพากษาเอง หรือให้คู่ความมาเบิกความต่อศาล หรือให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง มาเบกิ ความตอ่ ศาล หรือใหผ้ ู้เชี่ยวชาญดาเนนิ การและรายงานต่อศาล4 เพื่อพสิ ูจน์ความจริงจากพยานหลกั ฐาน ท่ีคู่ความนาเสนอต่อศาล โดยกฎหมายของประเทศฝร่ังเศสให้อานาจแก่เจ้าหน้าที่ตารวจฝ่ายคดีมีอานาจ ในการตรวจค้นจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือด เป็นต้น ตามท่ีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของฝรั่งเศส5 และให้สิทธิแก่คู่ความ เช่น ผู้เสียหายหรือผู้จัดการแทนผู้เสียหายเข้ามาในคดีอาญาได้ กล่าวคือ ผู้เสียหายตามกฎหมายฝรั่งเศส ซ่ึงผเู้ สียหายตามกฎหมายฝร่ังเศสน้ันต้องเป็นผู้ไดร้ ับความเสียหายเป็นการส่วนตวั และโดยตรงจากการกระทา ผิดเท่าน้ัน ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของฝรั่งเศส แต่ศาลฎีกาของฝรั่งเศสได้ ตีความกฎหมายและขยายความไปถึงผู้มีอานาจจัดการแทนผู้เสียหายด้วย เช่น บิดา มารดา บุตร และคู่สมรส โดยเฉพาะคู่สมรสนั้น ศาลฎีกาของฝร่ังเศสยังขยายความรวมไปถึงคู่สามีภริยาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือคู่รักร่วมเพศที่อยู่กินฉันท์สามีภริยาได้เฉพาะในคดีอาญาที่สามารถเรียกค่าสินไหม ทดแทนในทางแพ่งได้ และความเสียหายดังกล่าวก็ไม่จาเป็นต้องเกิดจากมูลละเมิดโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งทนายความจะอยู่ในฐานะของผู้ตรวจสอบการทางานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมทาง อาญา6 ให้เกิดความถูกต้องกับพยานหลักฐานทุกประเภท และกฎหมายว่าด้วยทนายความเช่ียวชาญเฉพาะ ด้านของประเทศฝร่งั เศส เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรมในกระบวนการยุตธิ รรมทางอาญา อันเปน็ การนาไปสู่การ พัฒนาศักยภาพของทนายความให้มีความรู้ความชานาญเฉพาะด้านของประเทศฝรั่งเศส เพ่ือก่อให้เกิดความ ยุติธรรมนกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อันเป็นการนาไปสู่การพัฒนาศักยภาพของทนายความให้มีความรู้ ความชานาญเฉพาะดา้ นข้ึน 3.2 กำรคน้ หำพยำนหลักฐำนในกำรดำเนินคดอี ำญำประเทศสหรฐั อเมรกิ ำ การสืบสวนค้นหาพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา จะเปิดโอกาสให้ ทนายความเข้ามามีส่วนร่วมในการทาการตรวจสอบถ่วงดุลอานาจของเจ้าหน้าท่ีรัฐ จากนั้นจะนาผลที่ได้มา เสนอต่อศาล หากพนักงานสอบสวนมิได้กระทาตามขั้นตอนของกฎหมายหรือเป็นการกระทาการขัดต่อสิทธิ ของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้แล้ว การดาเนินการดังกล่าวก็จะไม่สามารถนามาใช้เป็น พยานหลักฐานต่อศาลได้ ตามแนวคาพิพากษาในคดี Colorado v. Connelly ค.ศ. 19867 ทั้งน้ี เพราะบุคคล 4 ธนกร วรปรชั ญากลู . การรับฟังพยานหลกั ฐานประเภทตา่ ง ๆ. หน้า 109-112. 5 อุทัย อาทเิ วช. ตารวจกับการสอบสวนคดอี าญาในประเทศฝรง่ั เศส, บทบัณฑติ ย์ 62. หน้า 52. 6 Herbert Jacob. Justice in America: Courts, Lawyer, and the Judicial Process, (New York: MeGraw-Hill, 1978), pp. 141-142. อา้ งใน, ณฏั ฐ์ สมบรู ณ.์ การมีส่วนร่วมของทนายความในการคน้ หาพยานหลกั ฐานทางดา้ นนติ ิ วทิ ยาศาสตรใ์ นการดาเนินคดอี าญา. หน้า 91-93. 7 คณะนิติศาสตร์. เอกสารประกอบคาบรรยายวชิ ากฎหมายลกั ษณะพยานเปรียบเทยี บ, “บทความเร่อื ง The Criminal Law,”. หนา้ 72.

10 ย่อมได้รับความคุ้มครองตามสิทธิของเขาตามท่ีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็ย่อมถือได้ว่า การได้พยานหลักฐาน เหล่านั้นเป็นการได้มาซ่ึงพยานหลักฐานท่ีมิชอบด้วยกฎหมาย หากนาพยานหลักฐานน้ันเข้าสู่สานวนคดีของ ศาลแล้ว ศาลก็อาจไม่นามาใช้รับฟังได้ ทานองเดยี วกนั กับคาพิพากษาในคดี Miranda v. Arizona ค.ศ. 1966 การกระทาของเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมิก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิส่วนบุคคล แม้การค้นหาพยานหลักฐาน มาประกอบสานวนคดี จะเปน็ การจับ หรอื การยดึ ของเจ้าพนกั งานของรัฐที่อาจถูกจากัดสิทธิดังกลา่ ว กเ็ ปน็ ไป เพอ่ื ประโยชนใ์ นการดาเนนิ คดีอาญา การกาหนดข้อบังคับว่าด้วยพยานหลักฐานของศาลสหรัฐอเมริกา Federal Rules of Evidence8 ไว้ว่า พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ต้องผ่านการนาเสนอของพยานผู้ชานาญการพิเศษที่ได้ให้ความเห็นต่อ ศาล และขณะลูกขุนตามข้อบังคับที่ 701 , 702 และ 703 โดยอาศัยความรู้ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ อธิบาย และเปรียบเทียบผลรายงานการตรวจสอบท่ีผู้ชานาญการพิเศษรับรองรายงานฉบับที่ผู้ชานาญการ พิเศษทาขึ้นไว้ได้ ตามข้อบังคับท่ี 901 (3) อันเป็นไปตามหลักทฤษฎีนิติธรรม แต่ห้ามมิให้รับฟังพยาน ใน ข้อบังคับที่ 402 ท่ีไม่เก่ียวข้องกับข้อเท็จจริงแห่งคดี ซ่ึงย่อมร่วมไปถึงการท่ีเจ้าหน้าที่ของรัฐท่ีมิได้ปฏิบัติให้ เป็นไปตามข้ันตอนของกฎหมาย ตามหลักทฤษฎีผลไม้เป็นพิษที่มิให้ศาลรับฟังพยานชิ้นนั้นเลย เพราะถือว่า เป็นพยานทม่ี ิชอบด้วยกฎหมาย จึงยอ่ มไมม่ คี วามนา่ เชื่อถือ ในอันทจ่ี ะรับฟงั พยานนั้นได้ในการพิจารณาคดี ซ่ึง ความน่าเช่ือถือของพยานน้ัน ต้องพิจารณาว่า พยานหลักฐานนั้นสามารถเช่ือมโยงกับพยานหลักฐานอ่ืนท่ีได้ จากในที่เกิดเหตุไปสู่ตัวบุคคลผู้ต้องสงสัย และสามารถบ่งเฉพาะช้ีถึงตัวบุคคลอันเป็นผู้ต้องสงสัยตามอานาจ หน้าท่ีของเจ้าพนักงานสอบสวนในการค้นหาและพิสูจน์ข้อเท็จจริงท่ีเกิดข้ึนจากพยานหลักฐานได้ อันเป็นการ ง่ายต่อการนาเสนอพยานหลักฐานตอ่ ศาล ในการรับรู้ข้อมูลข่าสาวสารของการทางานของเจ้าหน้าที่รัฐ กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา กาหนดให้ทนายความผู้เช่ียวชาญเฉพาะด้านสามารถเข้าไปมีสว่ นร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการทางาน ของเจ้าหน้าท่ีของรัฐได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของสภาทนายความผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีอาญาของ มลรัฐ การทางานของทนายความก็เพ่อื ป้องกันสิทธเิ สรีภาพของบุคคลตามรฐั ธรรมนูญ 3.3 กำรคน้ หำพยำนหลักฐำนในกำรดำเนินคดอี ำญำประเทศอังกฤษ ศาลประเทศอังกฤษจะรับฟงั พยานหลักฐานดา้ นนิติวิทยาศาสตร์ทน่ี ามาประกอบการพจิ ารณาวินิจฉัย คดีของศาลได้ ซ่ึงพยานหลักฐานนั้นจะต้องได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะพยานท่ีสามารถระบุถึงตัว บคุ คลต่อศาลได้ เพ่ือใชย้ ืนยนั กับพยานที่เจ้าหนา้ ที่ของรฐั ได้มาจากสถานที่เกิดเหตุ และจากตวั ผูเ้ สียหายนามา เปรียบเทียบกับผู้ต้องสงสัยในคดี ยกตวั อย่างคดี Hamrick v. Carolinas 1989 นาย Hamrick ตกเปน็ ผู้ต้องหา ในคดีข่มขืนกระทาชาเราหญิงอายุ 25 ปี ผู้เสียหายชี้ตัวผู้ต้องสงสัยและให้ปากคากับเจ้าหน้าท่ีท่ีทาการสเกต ภาพหลังจากเกิดเหตุไปแล้วนานกว่า 3 อาทิตย์ แต่เม่ือผลการตรวจลายพิมพ์สารพันธุกรรมที่ได้จากสถานท่ี เกิดเหตุกับลายพิมพ์สารพันธุกรรมท่ีได้จากผู้ต้องสงสัยกลับมีความแตกต่างกัน ซ่ึงสามารถตอบได้ว่า ผู้ต้อง สงสัยไม่ใชค่ นร้ายที่แทจ้ รงิ ในคดีน้ี9 8 พรเพชร วชิ ิตชลชยั , ผู้แปล. ขอ้ บังคบั ว่าด้วยพยานหลกั ฐานของศาลสหรฐั อเมรกิ า แกไ้ ขเพมิ่ เตมิ ถงึ ปี 2003 Federal Rules of Evidence for United States Courts and Magistrates USA 2003. อา้ งใน, ณฏั ฐ์ สมบรู ณ.์ การมสี ่วนรว่ ม ของทนายความในการค้นหาพยานหลักฐานทางดา้ นนิติวทิ ยาศาสตร์ในการดาเนนิ คดอี าญา. หน้า 93-94. 9 รุ่งระวี โสขุมา, “การนาลายพิมพ์ ดี เอน็ เอ มาใชเ้ ป็นพยานในคดอี าญา” วิทยานพิ นธ์นติ ศิ าสตรมหาบณั ฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539) หน้า 35.

11 สาหรับการการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการทางานของเจ้าหน้าท่ีของรัฐในการค้นหาพยานหลกั ฐานท่ีมี คุณลักษณะบ่งเฉพาะตัวบุคคลที่ได้มาจากสถานที่เกิดเหตุและสามารถเช่ือมโยงถึงตัวบุคคลท่ีแวดล้อมเพื่อ พิสูจน์หรือสนับสนุนเปรียบเทียบตัวอย่างจากผู้ต้องหาหรือจาเลยกับที่ค้นหาได้จากสถานท่ีเกิดเหตุ หาก ทนายความของคู่ความปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายลกั ษณะพยาน จะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมการรบั รู้ข้อมลู ข่าวสารดังกล่าวได้ ดังคาพิพากษาคดี R. v. Breslin 1984 อันเป็นการพิสูจน์หรือสนับสนุนเปรียบเทียบ ตัวอย่างจากผู้ต้องหาหรือจาเลยกับที่ค้นหาได้จากสถานท่ีเกิดเหตุในความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา หรือจาเลยได้เป็นอย่างดีเทียบเท่ากับประจักษ์พยาน10 นอกจากน้ี ทนายความผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทาง คดอี าญา ตอ้ งอยู่ภายใตก้ ารควบคุมของสภาทนายความผเู้ ชยี่ วชาญเฉพาะทางด้านคดีอาญา 10 McAlhone and Stockdale, op. cit., pp. 145 – 146. อา้ งใน, ณัฏฐ์ สมบรู ณ.์ การมสี ่วนร่วมของทนายความใน การค้นหาพยานหลักฐานทางด้านนิติวทิ ยาศาสตรใ์ นการดาเนินคดอี าญา. หนา้ 94-95.

12 บทท่ี 4 วิเครำะหป์ ัญหำกำรค้นหำพยำนหลกั ฐำนที่เปน็ ข้อมลู ขำ่ วสำรลับของทำงรำชกำรในกำรดำเนินคดอี ำญำ 4.1 เปรยี บเทียบกำรค้นหำพยำนหลักฐำนในกำรดำเนนิ คดีอำญำของประเทศไทยและตำ่ งประเทศ กระบวนการค้นหาพยานหลักฐานในประเทศฝร่ังเศสและประเทศอังกฤษเป็นไปในทานองเดียวกันกับ ประเทศไทย คือ เป็นอานาจของพนักงานสอบสวนท่ีเป็นตารวจ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ตารวจฝ่าย ปกครองและตารวจฝ่ายคดี ซึ่งตารวจฝ่ายคดีมีบทบาทเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนของตารวจไทย แต่มี อานาจในการตรวจค้นจากความกา้ วหนา้ ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลอื ด ฯลฯ และเปิดโอกาสให้มีการพิสูจน์พยานในคดีอาญา โดยเฉพาะพยานที่สามารถระบุถึงตัวบุคคลต่อศาลได้ เพื่อใช้ ยันกบั พยานทเี่ จ้าหน้าที่รฐั ได้มาจากสถานที่เกิดเหตแุ ละจากตัวผูเ้ สยี หาย เพอ่ื นามาเปรยี บเทียบกับผ้ตู ้องสงสัย ในคดี ทานองเดียวกันกับศาลประเทศไทยท่ีรับฟังพยานหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยศาลจะรับฟัง ประกอบข้อเท็จจริงกับพยานหลักฐานอื่น ๆ ว่าสามารถรับฟังเก่ียวเนื่องเช่ือมโยงไปสูต่ ัวผู้ต้องหาหรือจาเลยได้ มากนอ้ ยแคไ่ หน โดยศาลจะพจิ ารณาถึงการไดม้ าของวตั ถพุ ยานทน่ี าไปตรวจพสิ ูจน์ สาหรับกระบวนการค้นหาพยานหลักฐานตา่ ง ๆ ในประเทศสหรฐั อเมริกา ตามท่บี ัญญัตไิ วใ้ นกฎหมาย จะให้อานาจพนักงานสอบสวนในการตรวจค้น ยึด จัดเก็บ และการค้นหาพยานหลักฐานใด ๆ มาเพื่อพิสูจน์ ความผิดของผู้ต้องหา หรือจาเลย รวมไปถึงการออกคาสั่งให้ แพทย์ หรือนักวิทยาศาสตร์ดาเนินการแทนได้ ด้วย แต่การกระทาของเจ้าหน้าท่ีรัฐดังกล่าวต้องคานึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสาคัญ มิฉะนั้นศาล อาจจะไม่รับฟังพยานหลักฐานน้ันในการพิจารณาคดี ในการรับฟังพยานหลักฐานด้านนิติวิทยาศาสตร์ของ สหรัฐอเมรกิ า ศาล และขณะลกู ขนุ จะรบั ฟังผ่านพยานผเู้ ชีย่ วชาญท่ีมาอธิบาย และเปรียบเทยี บผลรายงานการ ตรวจสอบท่ีผู้เชี่ยวชาญรับรองรายงานฉบับที่ผู้เชี่ยวชาญทาข้ึนไว้ได้ เช่นเดียวกันกับศาลประเทศไทย แต่ ประเทศไทยไม่ได้กาหนดให้มีทนายความผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังน้ัน ทนายความจึงไม่สามารถที่จะเข้าไป รบั ทราบกระบวนการดาเนนิ งานของเจ้าหน้าท่ขี องรฐั ใด ๆ ได้ เพราะกฎหมายไมไ่ ดก้ าหนดไว้ เม่ือเปรียบเทียบการรับฟังพยานหลักฐานกับประเทศสหรัฐอเมริกา การรับฟังพยานหลักฐานท่ีต้อง ผ่านการนาเสนอของพยานผู้เชี่ยวชาญที่ได้ให้ความเห็นต่อศาล และคณะลูกขุน โดยอาศัยความรู้ และทฤษฎี ทางวิทยาศาสตร์มาใช้อธิบาย และเปรียบเทียบผลรายงานการตรวจสอบที่ผู้เชี่ยวชาญรับรองรายงานฉบับที่ ผู้เช่ียวชาญทาข้ึนโดยถูกต้องตามข้ันตอนของกฎหมาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐท่ีมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอน ของกฎหมายด้วย ศาลจะไม่รับฟังพยานหลักฐานดังกล่าว หรือในประเทศฝร่ังเศสกฎหมายเปิดกว้างให้รับฟัง พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ท่ีเจ้าหน้าท่ีของรัฐได้มาจากการตรวจค้น ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่ง ศาลรับฟังพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการนาเสนอของพยานผู้เช่ียวชาญ ท่ีได้ให้ความเห็นต่อศาล และขณะลูกขุน มาอธิบายประกอบผลรายงานตรวจสอบของผู้เช่ียวชาญท่ีสามารถเชื่อมโยงผู้กระทาผิดกับ พยานหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ภายใต้การตรวจสอบการทานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในฐานะที่เป็น ผู้เชีย่ วชาญด้วยนน่ั เอง

13 4.2 วิเครำะห์กรณีกำรให้คู่ควำมหรือทนำยควำมได้ทรำบข้อมูลข่ำวสำรลับของทำงรำชกำรในกำร ดำเนินคดอี ำญำ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ให้สิทธิกับเจ้าหน้าท่ีของรัฐมากกว่าสิทธิของ คู่ความในคดี อันได้แก่ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือจาเลย และทนายความในการมีส่วนร่วมในการทางานของ เจ้าหน้าท่ีของรัฐ เพราะเหตุว่า การทางานของเจ้าหน้าท่ีของรัฐเป็นไปเพ่ือการป้องกันและปราบปราม การกระทาความผิดอาญา และรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชน ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา อันถือเป็นอานาจหน้าที่โดยตรงของพนักงานสอบสวนที่เป็นตารวจ เพราะ พระราชบัญญัตติ ารวจ พ.ศ. 2547 ประกอบประมวลกฎหมายวธิ ีพจิ ารณาความอาญา กาหนดให้อานาจตารวจ มีอานาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญา เมื่อพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15 (2)11 และ (5)12 ที่กาหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีคาส่ังมิให้เปิดเผยก็ได้ โดยคานึงถึงการปฏิบัติ หน้าท่ีตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนท่ีเก่ียวข้องประกอบ กัน ดังนั้น การทางานของเจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั ทเี่ กีย่ วกบั การฟ้องคดี การปอ้ งกัน การปราบปราม การทดสอบ การ ตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งท่ีมา หรือรายงานการแพทย์ ย่อมเป็นความลับของทางราชการท่ีไม่อาจเปิดเผยได้ บทบัญญัติดังกล่าวจึงมีผลกระทบถึงสิทธิผู้เสียหาย หรือผู้ต้องหาหรือจาเลย รวมท้ังทนายความ เพราะ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มิได้กาหนดถึงข้อยกเวน้ ท่ีชัดเจนแน่นอนโดยกาหนดให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ดุลยพินิจมีคาส่ังไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้คู่ความหรือทนายความทราบได้ เพราะถือว่า เป็นข้อมูลข่าวสารที่เป็นความลับของทางราชการที่เก่ียวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร หรือรายงานการแพทย์ ในทางปฏิบัติ จาเป็นต้องอาศัยคาส่ังของศาลเพียงอย่างเดียว ซ่ึงแตกต่างจากการทาหน้าท่ีของพนักงานสอบสวนของ ต่างประเทศท่มี ีการกาหนดอานาจหน้าที่ไว้อยา่ งชัดเจน เชน่ ประเทศฝรัง่ เศสให้อานาจแก่เจา้ หน้าที่ตารวจฝ่าย คดมี ีอานาจในการตรวจคน้ จากความก้าวหนา้ ทางเทคโนโลยสี มัยใหม่ ทานองเดยี วกันกบั ประเทศสหรัฐอเมริกา ในคดี Schmerber v. California ค.ศ. 1966 ท่ีเจ้าหน้าที่ตารวจให้แพทย์ทาการเจาะเลือดของจาเลย เพ่ือ ตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือด อันเป็นการป้องกันประโยชน์สาธารณะของคนในชุมชนมากกว่าการ ปราบปรามการกระทาความผดิ อาญา เปน็ ตน้ การปฏิบตั ิตามอานาจหนา้ ที่ในขั้นตอนและวิธีการของพนักงานสอบสวนหรือบุคคลท่ีเกีย่ วข้องไม่ว่าจะ เป็นแพทย์ หรือผู้เช่ียวชาญน้ัน ผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือจาเลยตลอดจนทนายความของเขาไม่สามารถเข้าไปมี ส่วนร่วมรับรู้รับทราบได้ เพราะการดาเนินการดังกล่าวถือเป็นข้อมูลข่าวสารอันเป็นความลับของร าชการท่ี หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรฐั ไมเ่ ปิดเผยข้อมลู ดังกล่าวได้ เพราะเหตุว่า การเปิดเผยจะทาให้การบังคับ ใช้กฎหมายเสอื่ มประสิทธิภาพ หรือไม่อาจสาเร็จตามวตั ถุประสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกนั การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรูแ้ หล่งท่ีมาของข้อมลู ข่าวสาร หรืออาจก่อใหเ้ กดิ อันตราย ต่อชวี ติ หรอื ความปลอดภยั ของบคุ คลหนงึ่ บุคคลใด หรือ รายงานการแพทย์ท่ีจะกระทบต่อสิทธสิ ว่ นบุคคล 11 พระราชบัญญตั ิขอ้ มลู ข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15 (2) “ขอ้ มูลขา่ วสารของราชการทีห่ ากเปิดเผยจะทา ให้การบงั คับใช้กฎหมายเสือ่ มประสิทธิภาพ หรอื ไม่อาจสาเร็จตามวตั ถปุ ระสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกยี่ วกบั การฟ้องคดี การปอ้ งกนั การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรอื การร้แู หล่งทมี่ าของขอ้ มูลข่าวสารหรือไมก่ ต็ าม หนว่ ยงานของรัฐหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคาส่ังมิให้เปดิ เผยกไ็ ด้” 12 พระราชบัญญตั ิข้อมลู ขา่ วสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15 (5) “รายงานการแพทย์หรือข้อมลู ข่าวสารสว่ นบุคคล ซ่งึ การเปดิ เผยจะเป็นการรุกลา้ สิทธสิ ่วนบคุ คลโดยไมส่ มควร หนว่ ยงานของรัฐหรอื เจ้าหน้าที่ของรฐั อาจมคี าสงั่ มใิ หเ้ ปิดเผยก็ได้”

14 เม่ือกฎหมายไม่เปิดช่องให้คู่ความหรือทนายความของเขามีโอกาสเข้าไปรับรู้รับทราบการดาเนินการ ดังกล่าวได้แล้ว ย่อมเป็นการสนับสนุนโดยตรงให้เจ้าหน้าท่ีของรัฐบางกลุ่มใช้อานาจหน้าที่โดยมิชอบ ทาการ ทุจริต เพ่ือแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยหน้าที่ โดยอาศัยอานาจหนา้ ท่ีที่กฎหมายกาหนดไว้ใหไ้ ปในทาง ที่มิชอบ อันเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรมที่เปิดโอกาสให้มีการเข้าไปมีส่วนร่วมและตรวจสอบการทางา นของ เจ้าหนา้ ทข่ี องรัฐได้ตามหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดังนน้ั พระราชบญั ญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ย่อมมีความขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิงกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 8 ทก่ี าหนดใหค้ คู่ วามหรอื ทนายความสามารถเขา้ มารับรู้ข้อมูลข่าวสารของเจ้าพนักงานของรัฐ แมจ้ ะเปน็ ไปเม่ือมี การนาคดขี ึน้ สศู่ าลก็ตามกย็ ่อมกระทาได้เสมอ

15 บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 5.1 บทสรปุ ข้อมูลข่าวสารลับของทางราชการเป็นพยานหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งในการ ดาเนนิ คดอี าญา การค้นหาพยานหลักฐานประเภทน้ี ผู้เสยี หาย ผตู้ ้องหา หรอื จาเลย รวมทัง้ ทนายความไม่อาจ เข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้เก่ียวกับการทางานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เน่ืองจากการกระทาดังกล่าวเป็นอานาจ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่กระทาการเพื่อพิสูจน์คว ามผิดหรือความบริสุทธิ์ ของผู้ต้องหา หรือจาเลย ท่ีเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือ การรู้แหล่งท่ีมาของข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการเปิดเผยรายงานการแพทย์ จึงเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการ อันอยู่ในอานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การเปิดเผยข้อมูลต้องมีคาส่ังศาลอันเป็นข้อจากัด และไม่มี ความชัดเจนเพียงพอ ทั้งยังไม่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามหลักนิติธรรม ซ่ึงแตกต่างจากหลักการของต่างประเทศ ซึ่งทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝร่ังเศสต่างก็มีการกาหนด ถึงระบบทนายความผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไว้ตามความรู้ความชานาญทางกฎหมาย โดยมีสภาทนายความ ผู้เช่ียวชาญเฉพาะด้านของประเทศนั้น เป็นผู้กาหนดคุณสมบัติของทนายความผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน คดีอาญาไว้ จงึ ทาให้ทนายความผเู้ ช่ียวชาญเฉพาะด้านสามารถรับรู้ขอ้ มูลข่าวสารและการทางานของเจา้ หน้าท่ี ของรฐั ได้ ภายใตก้ ารควบคมุ ของสภาทนายความผู้เชี่ยวชาญเฉพาะดา้ นคดีอาญาในการทางานของทนายความ เพือ่ ป้องกันสทิ ธเิ สรภี าพของบคุ คลตามรฐั ธรรมนญู 5.2 ขอ้ เสนอแนะ เห็นควรกาหนดมาตรการทางกฎหมายเพ่ือขจัดข้อจากัดทางกฎหมายในการไม่เปิดช่องให้คู่ความใน คดี อันได้แก่ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือจาเลย รวมท้ังทนายความ โดยให้สิทธิในการรับรู้ รับทราบ และเข้ามามี ส่วนร่วมในการทางานของเจ้าหน้าที่ของรับให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเห็นว่าควรเสนอให้มีการ แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15 (2) และ (5) ให้สอดคล้องกับ หลกั กระบวนการนิติธรรมในการรบั รูข้ อ้ มูลข่าวสารของราชการได้ คือ “มาตรา 15 ขอ้ มลู ขา่ วาสารของราชการท่มี ลี กั ษณะอย่างใดอย่างหนงึ่ ดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรฐั หรือ เจา้ หนา้ ท่ีของรัฐอาจมคี าสง่ั มิใหเ้ ปดิ เผยกไ็ ด้ เวน้ แตเ่ ป็นไปตามคาส่งั ศาล หรอื ตามบทบญั ญัติของกฎหมาย โดย คานึงถึงการปฏิบัติหน้าท่ีตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่ เกีย่ วขอ้ งประกอบกัน (2) การเปิดเผยจะทาให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือไม่อาจสาเร็จตามวัตถุประสงค์ ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งท่ีมา ของข้อมลู ข่าวสารหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่ จะได้ปฏิบตั ิใหเ้ ปน็ ไปตามคาส่งั ของศาล (5) รายงานการแพทย์หรือข้อมลู ข่าวสารส่วนบคุ คลซ่ึงการเปิดเผยจะเปน็ การรุกลา้ สทิ ธิสว่ นบุคคลโดย ไม่สมควร เวน้ แต่ การดาเนนิ การดงั กล่าวข้างต้น จะไดป้ ฏบิ ัติให้เป็นไปตามคาสั่งของศาล”

16 บรรณำนกุ รม กลุ พล พลวนั . (2549). สิทธิมนษุ ยชนในสังคมไทย. กรงุ เทพฯ : สานกั พิมพว์ ิญญูชน. เขม็ ชัย ชตุ วิ งศ์. (2538). กฎหมายลักษณะพยาน. กรงุ เทพฯ สานกั พิมพน์ ติ ิบรรณการ. คณติ ณ นคร. (2538). กฎหมายวธิ พี จิ ารณาความอาญา. กรงุ เทพฯ : สานักพิมพเ์ นตธิ รรม. พรเพชร วชิ ติ ชลชยั . (2536). คาอธบิ ายกฎหมายลกั ษณะพยาน. กรุงเทพฯ : สานักพิมพร์ ัชดา. สภาทนายความ. (2547). ประวตั คิ วามเปน็ มา สภาทนายความ. กรงุ เทพฯ : สภาทนายความ. สมพร พรหมหติ าธร. (2546). พยานหลักฐานในคดอี าญา. พิมพค์ รัง้ ท่ี 3. กรุงเทพฯ : สานกั พิมพ์นติ ธิ รรม. วิทยำนพิ นธ์ ณัฏฐ์ สมบูรณ์. การมีส่วนร่วมของทนายความในการค้นหาพยานหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ในการ ดาเนนิ คดีอาญา. วทิ ยานิพนธม์ หาบณั ฑติ . นิตศิ าสตร์, มหาวทิ ยาลัยรามคาแหง