Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือสุขศึกษา ป.6 เล่ม1

หนังสือสุขศึกษา ป.6 เล่ม1

Published by Surachaet Visavateeranon, 2018-05-02 10:55:14

Description: ผู้แต่ง : ผศ.จินตนา บรรลือศักดิ์
เอกสารประกอบการเรียนการสอน ชั้นป.6

Search

Read the Text Version

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั ฝ่ายประถม หนงั สอื เรียนวิชาสุขศึกษา ชัน้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 6 เล่ม 1 โดย อาจารยจ์ ินตนา บรรลิือศกั ด์ิ ชือ่ นามสกลุ ชนั้ ป.๖ / เลขท ี่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

เกรนิ่ น�ำ การจัดท�ำแบบเรียนและแบบฝึกหัดของทุกระดับชั้นในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรยี นสาธติ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ไดด้ ำ� เนนิ การใหเ้ ปน็ ไปตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน ขณะเดยี วกนั กไ็ ดป้ รบั ปรงุ เนอ้ื หาใหส้ อดคลอ้ งกบั วสิ ยั ทศั นแ์ ละพนั ธกจิ ของโรงเรยี นและเพ่อื ประโยชนส์ ูงสุดต่อนักเรียน ความสำ� เรจ็ ของการจดั ท�ำแบบเรยี นเกิดจากความรว่ มมือร่วมใจของคณาจารยท์ ุกท่านทเี่ ลง็ เหน็ ถงึ ประโยชนแ์ ละความสำ� คญั ทโี่ รงเรยี นควรมแี บบเรยี นทดี่ ี เพอ่ื ใชเ้ ปน็ สอื่ การเรยี นการสอนในแตล่ ะระดบั ชน้ั อนั เปน็ ผลดแี กน่ กั เรยี นในการเรยี นรู้ ตลอดจนใหผ้ ปู้ กครองมคี วามเขา้ ใจในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรยี น ในนามของโรงเรยี น ขอขอบคณุ คณาจารยผ์ จู้ ดั ทำ� ทกุ ทา่ นไว้ ณ ทน่ี ้ี โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิผทู้ รงคณุ วฒุ ทิ ไ่ี ดก้ รณุ าใหข้ อ้ เสนอแนะทเ่ี ปน็ ประโยชนต์ อ่ การจดั ท�ำแบบเรยี นและแบบฝกึ หดั ดงักล่าว จนท�ำให้แบบเรียนทีจ่ ัดทำ� ขนึ้ มีความสมบรู ณ์เหมาะสมทีจ่ ะนำ� ไปใชใ้ นการเรยี นการสอนและขอขอบคณุ สมาคมผปู้ กครองและครโู รงเรยี นสาธติ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ทไ่ี ดส้ นบั สนนุงบประมาณและด�ำเนินการจัดท�ำจนท�ำใหเ้ กิดแบบเรยี นและแบบฝึกหัดที่มรี ูปเล่มท่ีสวยงาม แมแ้ บบเรยี นนจ้ี ะมคี วามสมบรู ณใ์ นเนอื้ หาแลว้ แตก่ ต็ อ้ งมกี ารปรบั ปรงุ อยา่ งตอ่ เนอื่ งเพอื่ให้เป็นแบบเรียนที่มีความทันสมัย ดังน้ันหากผู้ปกครองหรือผู้ท่ีนำ� แบบเรียนไปใช้มีข้อแนะน�ำหรอื ขอ้ เสนอแนะทเ่ี ปน็ ประโยชน์ ขอไดโ้ ปรดแจง้ ใหท้ างโรงเรยี นทราบ เพอ่ื โรงเรยี นจะไดใ้ ชเ้ ปน็ขอ้ มูลในการพิจารณาปรับปรงุ แบบเรียนน้ตี ่อไป รองศาสตราจารย์สุพร ชัยเดชสรุ ิยะ ผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนสาธติ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย ฝา่ ยประถม และรองคณบดีคณะครศุ าสตร์ 1

หนังสือเรยี นวชิ ำสุขศกึ ษำชัน้ ประถมศึกษำปท ่ี 6 เล่มท ่ี 1 เป็นหนงั สือในโครงการจัดท�าต�าราเรยี นของสมาคมผูป้ กครองและครโู รงเรยี นสาธติ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั โดยมีวัตถุประสงคเ์ พือ่ให้นักเรียนโรงเรยี นสาธิตจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ไดม้ หี นงั สอื เรียนทีม่ ีคณุ ภาพ คณะผู้จัดท�ำ ในส่วนของสมำคมผปู้ กครองและครโู รงเรยี นสำธติ จฬุ ำลงกรณม์ หำวิทยำลยัในสว่ นของโรงเรยี นสำธิตจฬุ ำลงกรณ์มหำวทิ ยำลยั ฝำ ยประถม คณุ ศกั ดิช์ ยั ยอดวานิช คณุ วิกรานต ์ ตัง้ ศริ ิพฒั น์รองศาสตราจารยส์ พุ ร ชัยเดชสุริยะ คุณวีรพฒั น ์ คงสทิ ธิ์ คณุ กา� พล โชติปทมุ วรรณอาจารย์ศิริรตั น์ ศิริวโิ รจน์สกลุ คุณสชุ นิ รตั นศริ ิวไิ ล คุณธนา ตั้งตรงศักดิ์อาจารย์จินตนา บรรลือศักด์ิ คุณเกยี รติพร ศริ ชิ ัยสกุล คุณภาสกร เจรญิ มีชัยกลุ ดร.วฒุ พิ งศ์ กิตติธเนศวร คุณศรัณย์ มหัทธนกลุผสู้ นับสนุนกำรด�ำเนินกำรจดั ท�ำ และสนบั สนุนงบประมำณในกำรจดั ท�ำต้นฉบับและจัดพิมพ์หนงั สอืสมาคมผู้ปกครองและครโู รงเรียนสาธติ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั คณุ พรพจน ์ เจนกุลประสตู ิคุณอรอนงค ์ สุวรรณทัต คุณวรวิทย์ มหาชยั ยนตว์ งศ์คุณวรวฒั น ์ ชยั ยศบรู ณะ คณุ ศตรตั น์ รตั นถาวรคณุ ภักดี อนุพงษไ์ พบูลย์ คุณภาณทุ ตั ต ์ เทียมชวี ะศิลป คุณบุญฤทธ ์ิ รตั นจงกลเรยี บเรียงโดย จดั พิมพ์โดยอาจารย์จินตนา บรรลือศกั ด์ิ บรษิ ัท ไซเบอร์พรินท ์ จ�ากัดผู้ตรวจ 959 ซอยสุทธพิ ร ถนนประชาสงเคราะห์ รศ. ดร. จินตนา สรายทุ ธพทิ ักษ์ แขวงดินแดง เขตดนิ แดง กทม 10400ชื่อเร่ือง โทร 02-641-9135-8 โทรสาร 02-641-9139สขุ ศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่ม 1 E-mail : [email protected]ออกแบบรูปเล่ม Website : www.cyberprint.co.thเซยี ดไี ซน์ สตดู โิ อ Zia Design Studio พมิ พค์ รัง้ ท่ี 1137 ซอยสขุ มุ วิท 81 ถนนสุขุมวิท ปีท่ีพิมพ ์ : พฤษภาคม 2556แขวงพระโขนงเหนือ เขตวฒั นา กรงุ เทพฯ 10260 จ�านวนทจ่ี ดั พมิ พ ์ : 2,000 เล่มTel : 02-311-2156, 081-732-7893 จา� นวนหนา้ : 48 หนา้Fax : 02-742-6754 ราคา : 105 บาทE-mail : [email protected] ประเภทของสิ่งพมิ พ ์ : หนังสือภำพประกอบ เจำ้ ของและผจู้ ดั จำ� หนำ่ ยกวติ า ศรีสนั ต์ โรงเรียนสาธติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซอยจุฬา 11 ถนนพญาไท แขวงวงั ใหม่ เขตปทุมวนั กรุงเทพฯ 10330 ISBN : 978-616-551-667-9 2 หนังสอื เรยี นสุขศกึ ษา ชัน้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 6 เลม่ 1

ค�ำนำ� หนังสือเรียนวิชาสุขศึกษาระดับช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา จัดท�ำขึ้นตามสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนรู้ในการท่ีจะพัฒนาผู้เรียน ให้มีศักยภาพท้ังในเร่ืองของการคิดการแกป้ ญั หา ตลอดจนการคน้ ควา้ หาความรตู้ า่ งๆ มที กั ษะชวี ติ ทส่ี ามารถนำ� ความรไู้ ปใชใ้ นชวี ติ ประจำ� วนั ทสี่ ำ� คญั คอื มสี ขุ ภาพดี ทง้ั ทางดา้ นรา่ งกาย จติ ใจ รวมทงั้ อยู่ร่วมกนั กับผอู้ นื่ ไดอ้ ย่างมคี วามสขุ ผเู้ ขยี นหวงั เปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ หนงั สอื เลม่ นจี้ ะเปน็ ประโยชนแ์ ละชว่ ยพฒั นาผเู้ รยี นใหเ้ กดิ การเรยี นรู้ มที กั ษะชวี ติ ในการดำ� รงสขุ ภาพเพอื่ เปน็ รากฐานทดี่ ใี นการด�ำรงชีวติ ตอ่ ไป อาจารย์จนิ ตนา บรรลอื ศกั ด ิ์ ผู้จดั ทำ� 3

สารบญั 6 6 หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 1 ธรรมชาตขิ องตวั เรา 6 รา่ งกายของเรา 9 10 • ระบบสืบพันธ ุ์ 15 กจิ กรรมเสรมิ ความเขา้ ใจ 1 17 • ระบบไหลเวียนโลหติ 20 กจิ กรรมเสริมความเขา้ ใจ 2 21 • ระบบหายใจ 22 กิจกรรมเสริมความเขา้ ใจ 3 22 แบบฝกึ หดั ทา้ ยหนว่ ยการเรยี นรู้ 24 27 หน่วยการเรยี นรู้ที่ 2 มีสัมพนั ธภาพทดี่ ี ชวี ิสดใส 28 การสรา้ งและรักษาสมั พนั ธภาพกบั ผ้อู ่ืน 29 30 กจิ กรรมเสรมิ ความเข้าใจ 1 31 กิจกรรมเสรมิ ความเข้าใจ 2 33 แบบฝกึ หดั ทา้ ยหน่วยการเรยี นรู้ 35 38 หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 3 สิ่งแวดล้อมกบั สุขภาพ 39 สิง่ แวดล้อมกบั สขุ ภาพ 40 41 กิจกรรมเสรมิ ความเข้าใจ 1 46 กิจกรรมเสรมิ ความเข้าใจ 2 47 กจิ กรรมเสริมความเข้าใจ 3 48 กิจกรรมเสรมิ ความเข้าใจ 4 แบบฝกึ หดั ทา้ ยหน่วยการเรียนรู ้ หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 4 ปลอดภยั ไวก้ อ่ น ภัยธรรมชาติ กิจกรรมเสรมิ ความเขา้ ใจ แบบฝกึ หดั ทา้ ยหน่วยการเรยี นร ู้ บรรณานุกรม 4 หนังสอื เรียนสุขศกึ ษา ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 6 เล่ม 1

ธหนร่วรยกมารชเรยีานตร้ทู ขิ ี่ 1องตวั เรา ธรรมชาติของตัวเรา ร่างกายของเรา ระบบสืบพนั ธ์ุ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจตัวชี้วัดชน้ั ป1. อธิบายความส�าคัญของระบบสืบพันธุ์ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบ หายใจทม่ี ผี ลตอ่ สุขภาพ การเจริญเติบโตและพฒั นาการได้ (พ.1.1 ป.6/1)2. อธบิ ายวธิ ดี แู ลรกั ษาระบบสบื พนั ธ ์ุ ระบบไหลเวยี นโลหติ และระบบหายใจ ให้ทา� งานตามปกตไิ ด้ (พ1.1 ป.6/2) 5

รา่ งกายของเรา ในการดา� รงชวี ติ ของมนษุ ยจ์ า� เปน็ ตอ้ งอาศยั การทา� งานรว่ มกนั ของระบบ อวยั วะตา่ ง ๆ ในรา่ งกาย ซงึ่ ทกุ ระบบในรา่ งกายลว้ นมคี วามสา� คญั ถา้ ระบบใด ระบบหนึง่ ท�างานผดิ ปกติ ยอ่ มส่งผลกระทบต่อการท�างานของระบบอ่ืน ๆ ใน รา่ งกาย รวมท้งั สง่ ผลตอ่ สขุ ภาพโดยรวมด้วย ดงั น้นั การมคี วามรู้เกยี่ วกับการ ท�างานของระบบต่าง ๆในร่างกาย จะช่วยให้เรามีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการ ดูแลรักษาระบบอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้ท�างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ เรามีสขุ ภาพดี ระบบสืบพันธ์ุ ความสา� คญั ของระบบสบื พนั ธุ์ ระบบสบื พนั ธม์ุ คี วามสา� คญั ในการใหก้ า� เนดิ สงิ่ มชี วี ติ ระบบสบื พนั ธข์ุ อง มนุษย์มีการพฒั นาควบคู่ไปกบั การเจรญิ เติบโตของร่างกาย ซง่ึ อวยั วะทสี่ า� คัญ ในระบบสบื พนั ธ์ุของเพศชายและเพศหญิงมดี ังต่อไปนี้6 หนงั สือเรียนสุขศึกษา ชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 6 เลม่ 1

ระบบสืบพนั ธุ์ของเพศชาย อวยั วะสบื พนั ธข์ุ องเพศชายสว่ นใหญ่ 3. ตอ่ มลกู หมาก เปน็ ตอ่ มทอี่ ยใู่ ตก้ ระเพาะปสั สาวะ มหี นา้จะอยภู่ ายนอกรา่ งกาย ซงึ่ ประกอบดว้ ยสว่ น ท่ีผลิตของเหลวท่ีมีลักษณะเป็นน้�าเมือกเพื่อหล่อเลี้ยงตา่ งๆ ท่ีส�าคัญดงั น้ี ตัวอสุจิ เมื่อตัวอสุจิถูกเก็บสะสมไว้ในถุงเก็บน้�าอสุจิ ปรมิ าณมาก อาจจะถกู ขบั ใหไ้ หลออกมาทางทอ่ ปสั สาวะ1. อัณฑะ มีอย่ ู 2 ขา้ ง คือซ้ายและขวา ซึง่ ไดใ้ นขณะนอนหลบั หรอื ทเ่ี รยี กวา่ “ฝนั เปย ก” ซง่ึ เปน็ บรรจุอยู่ในถุงอัณฑะ โดยอัณฑะจะท�า ธรรมชาติของวยั ร่นุ หนา้ ทผี่ ลติ เซลลส์ บื พนั ธเ์ุ พศชายหรอื เชอ้ือสุจิ ตัวอสุจิท่ีผลิตไดจ้ ะเคลื่อนที่ไปเก็บไว้ทถ่ี ุงเกบ็ นา้� อสุจิ2. ลึงค์หรือองคชาต เป็นอวัยวะเพศ ภายนอก ประกอบดว้ ยกลา้ มเนอ้ื ทเ่ี หนยี ว ทอ่ อสจุ ิ สามารถยืดและหดได้ ภายในองคชาตมี กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะทอดผ่านตลอด ซึ่งเป็นทาง ตอ่ มลกู หมากผา่ นของนา�้ อสจุ อิ อกมาภายนอกดว้ ย สว่ น องคชาติปลายขององคชาตจะมเี สน้ ประสาทและหลอดเลอื ดมาเลีย้ งจ�านวนมาก ส่วนหวั องคชาต ทอ่ ปัสสาวะ ถงุ อัณฑะ หลอดเก็บอสจุ ิ ภาพแสดงระบบสบื พันธุ์เพศชายระบบสืบพันธุข์ องเพศหญิงอวยั วะสืบพนั ธทุ์ ส่ี า� คญั ของเพศหญงิ มีดังตอ่ ไปนี้1. รงั ไข ่ เปน็ ตอ่ มเพศมอี ย ู่ 2 ขา้ ง รงั ไขม่ หี นา้ ทผ่ี ลติ เซลลส์ บื พนั ธเ์ุ พศหญงิ หรอื ไข ่ โดยไขท่ ส่ี กุ แลว้ จะเคลอ่ื นท่ี ไปตามท่อรงั ไข่หรือปกมดลูก2. มดลูก เป็นอวัยวะท่ีมีกล้ามเน้ือหนาและแข็งแรง มีขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร หนา 2 เซนติเมตร ภายในเป็นโพรงสามารถขยายตัวได้ในขณะที่ตั้งครรภ์ ท�าหน้าท่ีเป็นท่ีเจริญเติบโต ของทารก ถ้าไข่ได้รับการผสมกับอสุจิจะฝังอยู่ในผนังมดลูกที่มีเลือดมาเลี้ยง แต่ถ้าไข่ไม่ได้รับการ ผสมกับเช้ืออสุจิ ไข่จะสลายตัวไปพร้อมกับเยื่อบุมดลูกมีการลอกตัว ท�าให้เลือดออกมาทางช่องคลอด ทีเ่ รยี กว่า “ประจา� เดือน” 7

3. ชอ่ งคลอด มลี กั ษณะเปน็ โพรง ผนงั ดา้ นหน้าจะติดอยกู่ บั กระเพาะปสั สาวะ ผนัง ดา้ นหลงั จะตดิ กบั สว่ นปลายของลา� ไสใ้ หญ ่ ชอ่ งคลอดจะเปน็ ทางผา่ นของทารกท่ี จะคลอดออกมา ทอ่ นา� ไข,่ ปก มดลกู มดลูก รังไข่ ปากมดลูก ชอ่ งคลอด ภาพแสดงระบบสืบพนั ธ์เุ พศหญิง การปฏบิ ัติในการดแู ลรักษาระบบสืบพนั ธ์ุ 1. รกั ษาความสะอาดดว้ ยการอาบนา�้ ทา� ความสะอาดอวยั วะเพศอยา่ งนอ้ ย วันละ 2 คร้งั 2. ควรเปล่ยี นกางเกงในทุกครัง้ หลงั อาบน�า้ 3. ไมส่ วมกางแกงช้นั ในท่คี ับจนเกินไป และไม่ใชช้ ดุ ชั้นในปะปนกบั ผอู้ ่นื 4. สวมกางเกงในที่สะอาด ไมอ่ ับชน้ื ไมม่ เี ช้อื รา 5. การใชห้ อ้ งนา�้ สาธารณะควรระมดั ระวงั ไมส่ มั ผสั กบั โถปสั สาวะหรอื โถขบั ถ่าย และควรราดน้�าให้สะอาดทง้ั ก่อนและหลังใช้ 6. เมือ่ เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับอวยั วะสืบพันธุ์ ควรรบี ปรกึ ษาแพทย์8 หนงั สือเรียนสุขศกึ ษา ชนั้ ประถมศึกษาปที ่ี 6 เล่ม 1

กิจกรรมเสริมความเขา้ ใจ 11. ใหน้ ักเรยี นระบายสวี งกลม “อวัยวะในระบบสืบพันธุ”์ ให้สัมพันธ์กับสธี งท่ีแสดงข้อความหนา้ ท่ี ของอวยั วะสบื พนั ธุ์ผลิตของเหลวเพื่อหลอ่ เลี้ยงตวั อสุจิ อัณฑะ รงั ไข่ผเลปเปติ็นน็เทซท่อีลายลงู่ขส์ผอืบ่างนพทขนั าอธรง์เุกพทใาศนรชขกาณทยะจี่ ตะ้ังคคลรอรดภอ์ อกมา องคชาติ มดลูก เปผน็ลิตทเาซงลผลา่ ส์นบืขพองนั เธชเ์ุอ้ื พอศสหจุ ญิ ิง ชอ่ งคลอด ต่อมลกู หมาก2. ให้นกั เรยี นคน้ ควา้ หาขอ้ มลู ความรู้ในหัวข้อ “โรคของระบบสบื พนั ธแ์ุ ละการป้องกัน” 9

ระบบไหลเวยี นโลหติความส�าคัญของระบบไหลเวยี นโลหิต ระบบไหลเวยี นโลหติ เปรยี บเสมอื นระบบขนสง่ สารทม่ี ปี ระโยชนต์ อ่ รา่ งกาย โดยมีเม็ดโลหิตท�าหน้าที่น�าอาหารและก๊าซออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกาย และน�าของเสียรวมทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ท่ีเกิดจากการเผาผลาญอาหารขับออกจากรา่ งกาย อวัยวะและส่วนประกอบของระบบไหลเวียนโลหิตประกอบด้วยหัวใจหลอดโลหิต และโลหิต ซึง่ มีรายละเอยี ดดังน้ีหัวใจ เสน้ เลอื ดจาก หวั ใจไปปอด หัวใจจะอยู่ในทรวงอก ขนาบด้วยปอดทั้ง เส้นเลือดจาก (เลือดด�า)สองข้าง มีรูปร่างคล้ายดอกบัว ต้ังอยู่ในแนวทแยง หัวใจไปปอดเยอื้ งไปทางซา้ ยเลก็ นอ้ ย โดยหวั ใจสว่ นบนทก่ี วา้ งกวา่ (เลอื ดดา� )จะอยทู่ างด้านขวา และส่วนปลายทีเ่ รยี วกวา่ จะอยู่ เสน้ เลือดจาก เสน้ เลอื ดจากปอด ปอดมาหัวใจ มาหัวใจ (เลอื ดแดง)ทางด้านซ้าย หัวใจมนี ้�าหนักประมาณ 200 - 300 (เลอื ดแดง)กรมั มขี นาดประมาณกา� ปน้ั มอื ของตนเอง หวั ใจทา� ลิน้ กั้นไมทรัลหน้าท่สี บู ฉดี โลหิต แบ่งเปน็ 2 สว่ น แตล่ ะส่วนแบง่ เส้นเลือดดา� ลนิ้ กน้ั เอออติกเปน็ หอ้ งยอ่ ย 2 หอ้ งคอื ผนงั กั้น ผนงั ก้นั 1. หัวใจด้านขวา จะรับโลหิตท่ีมาจาก เอเทรยี ล เวนตรคิ วิ ลา่ ส่วนต่างๆ ของร่างกายมาสู่ปอดเพื่อ เส้นเลอื ดดา� เพ่มิ ออกซเิ จน ลิน้ กั้นพัลโมนารี 2. หัวใจด้านซ้าย จะรับโลหิตท่ีมาจาก ปอด ซึ่งได้รับการเพิ่มออกซิเจนแล้ว นา� ไปเลีย้ งสว่ นต่างๆ ของร่างกาย เลอื ดทีม่ ีออกซเิ จนสูง เลอื ดท่มี ีออกซิเจนต�า่ หัวใจห้องล่างซ้ายจะมีขนาดใหญ่ท่ีสุดและ หัวใจทั้งด้านซ้ายและด้านขวาจะเช่ือมต่อมผี นงั หนาทส่ี ดุ ทา� หนา้ ทหี่ ลกั ในการสบู ฉดี เลอื ดไป กับหลอดโลหิตด�าและหลอดโลหิตแดงขนาดใหญ่ ส่วนต่างๆ ทั่วรา่ งกาย ปรมิ าณโลหติ ทห่ี วั ใจสบู ฉดี ในการเตน้ แตล่ ะครงั้ เฉลยี่ ประมาณ 150 มลิ ลิลติ ร10 หนงั สือเรยี นสุขศึกษา ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 6 เล่ม 1

หลอดโลหิต หลอดโลหิตประกอบดว้ ยหลอดโลหิตแดงและหลอดโลหิตดา� หลอดโลหติ แดง หมายถงึ หลอดโลหติ ทนี่ า� โลหติ ออกจากหวั ใจ เปน็องค์ประกอบหลักของระบบไหลเวียนโลหิต เม่ือหัวใจสูบฉีดโลหิตจากหัวใจหอ้ งลา่ งซา้ ย โลหติ จะพงุ่ เขา้ สหู่ ลอดโลหติ แดงใหญซ่ ง่ึ โคง้ ลงไปตามดา้ นหนา้ของกระดูกสันหลัง และระหว่างทางจะมีหลอดโลหิตแดงแยกแขนงออกไปเรอื่ ยๆ เพ่ือไปเลีย้ งสว่ นตา่ ง ๆ ของร่างกาย หลอดโลหิตดํา หมายถึง หลอดโลหิตท่ีน�าโลหิตเข้าสู่หัวใจ หลอดโลหิตด�าท�าหน้าที่ตรงข้ามกับหลอดโลหิตแดง โดยการน�าโลหิตท่ีมีของเสียจากอวัยวะตา่ งๆ ทว่ั ร่างกายเขา้ มาส่หู ัวใจ เพื่อจะนา� ไปเพ่ิมออกซเิ จนที่ปอด เสน้ เลอื ดฝอย หลอดเลอื ดดา�หลอดเลือดแดง 11

การสูบฉีดโลหิตของคนเราท�ำให้เกิดชีพจร“ชพี จร” คอื ความดนั โลหติ ซึ่งสง่ ผ่านมาตามหลอดโลหติ แดง เมอ่ื หวั ใจสบู ฉดี โลหติ แตล่ ะครงั้ โดยปกติอัตราการเต้นของชีพจรขณะพักของคนเรามีอัตรา72 คร้ังต่อนาที ชีพจรในระดับปกติของคนเราจะอยู่ระหวา่ ง 60 - 90 ครั้งตอ่ นาที การจบั ชพี จรสามารถจบั ไดบ้ รเิ วณทม่ี หี ลอดโลหติ แดงใหญ่ เชน่ ข้อมือ ขา้ งล�ำคอ ขมับ ขาหนีบเป็นต้น ชีพจรจะเปล่ียนแปลงไปตามสภาวะของร่างกาย เช่น เหนือ่ ย ตกใจ เครยี ด เป็นต้นโลหิต 2. เมด็ โลหติ ขาว ทำ� หนา้ ทป่ี กปอ้ งและท�ำลายสง่ิ แปลกปลอมท่เี ข้าสู่รา่ งกาย โลหิต เป็นส่วนส�ำคัญของระบบไหลเวียนโลหติ ในโลหติ หนง่ึ หยดประกอบดว้ ย เซลลเ์ มด็ โลหติ 3. เกลด็ โลหติ เปน็ องคป์ ระกอบสำ� คญั ทที่ ำ� ใหโ้ ลหติกว่า 250 ล้านเซลล์ แขวนลอยอยู่ในของเหลวสี แขง็ ตวั ตรงจดุ ทม่ี กี ารฉกี ขาดของเสน้ โลหติ โดยเหลืองท่ีเรียกว่า “พลาสม่า” ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อย เกลด็ เลอื ดจะยดึ ตวั ตดิ กบั ขอบของบาดแผล และละ 55 ของโลหติ ท้ังหมด มีหน้าท่เี ป็นภูมคิ ุ้มกนั โรค กระจกุ ตัวรวมกนั ตรงทม่ี บี าดแผล เพ่ืออุดรอยของรา่ งกาย ฉกี ขาด เกลด็ เลือดมีอายุประมาณ 5 - 8 วันเซลลโ์ ลหติ ในร่างกายคนเรามี 3 ประเภทคือ1. เม็ดโลหิตแดง ท�ำหน้าท่ีล�ำเลียงออกซิเจนไป เลยี้ งสว่ นตา่ งๆ ของรา่ งกาย เมด็ โลหติ แดงมอี ายุ ประมาณ 120 วนั12 หนงั สอื เรยี นสขุ ศกึ ษา ชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี 6 เลม่ 1

โลหิตทัง้ หมดในร่างกายมีปรมิ าณ 3.8 - 4.9 ลิตร คดิ เปน็ น�า้ หนักเท่ากบั ร้อยละ 7 ของน้า� หนักตวัเรา แหล่งสา� คญั ทีท่ า� หน้าทผ่ี ลติ เมด็ โลหิตและเกลด็ โลหติ คือ “ไขกระดูก”การให้และรบั โลหติ OO O O A AB A B AB AB AB B1. คนทม่ี หี มโู่ ลหติ โอ รบั โลหติ ไดจ้ าก 2. คนท่ีมีหมู่โลหิตเอบี รับโลหิตได้ หมโู่ อเทา่ นน้ั แตส่ ามารถบรจิ าค ทกุ หม ู่ แตบ่ รจิ าคใหไ้ ดเ้ ฉพาะคน ใหค้ นหมโู่ ลหติ อื่นได้ทกุ หมู่ ท่ีมหี มู่โลหิตเอบเี ท่านัน้ O BAA A OB B AB AB 3. คนทม่ี หี มโู่ ลหติ เอ รบั โลหติ ไดจ้ าก 4. คนทมี่ หี มโู่ ลหติ บ ี รบั โลหติ ไดจ้ าก หมเู่ อ และหมโู่ อ บรจิ าคใหก้ บั หมู่ หมบู่ ี และหมโู่ อ บรจิ าคใหก้ บั หมู่ เอ และหมูเ่ อบีได้ บี และหมเู่ อบไี ด้ 13

สขุ ปฏิบัติในการดแู ลระบบไหลเวยี นโลหิตควรปฏิบัติดังนี้ 1 2 3ออกก�าลังกายติดต่อกันนาน รั บ ป ร ะ ท า น อ า ห า ร ใ ห ้ พกั ผ่อนให้เพียงพอคร้ังละ30 นาที อย่างน้อย ครบ 5 หมู่ และหลีกเล่ียงสปั ดาหล์ ะ 3 ครงั้ เชน่ การวงิ่ การรับประทานอาหารท่ีมีว่ายน้�า ข่ีจักรยาน เพื่อให้ คอเลสเตอรอลสงู เชน่ อาหารหัวใจสูบฉีดโลหิตได้เต็มท่ี ทป่ี รงุ ดว้ ยกะท ิ ไขมนั จากสตั ว์ เป็นต้น 4 5 หลกี เลย่ี งการสบู บหุ ร ่ี ดมื่ สรุ า ท�าจิตใจให้ร่าเริงแจม่ ใส ไม่เครียด ชา กาแฟ เพราะมีสารท่ีเป็น อันตรายตอ่ หัวใจ14 หนังสือเรียนสขุ ศกึ ษา ชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 6 เล่ม 1

กิจกรรมเสริมความเข้าใจ 21. ให้นักเรียนทดลองจับชีพจรบริเวณข้อมือ และนับจ�านวนการเต้นของชีพจร เพื่อเปรียบเทียบใน ขณะพกั และขณะออกกา� ลงั กาย 30 นาที แลว้ บันทึกลงในตารางการเต้นของชพี จร (คร้งั / นาท)ีขณะพกั ขณะออกก�าลังกาย 30 นาที2. ให้นกั เรียนบนั ทกึ หมู่โลหิตของตนเอง และบคุ คลในครอบครัวลงในตารางท่ีกา� หนดให้บุคคลในครอบครวั หมู่โลหิต1. ตวั นกั เรียนเอง2. คณุ พอ่3. คณุ แม่4.5.6.7.หมÙâ่ ลหÔตสามาร¶่ายทอดทาง¾ัน¸ุกรรมäด้ ลÙกทีเ่ กดÔ มา จะมีหมÙ่âลหÔตตรงกับ¾อ่ หร×อแมค่ นใดคนหน่งÖ 15

3. ใหน้ ักเรยี นหาข้อมูลความรูเ้ กี่ยวกับ “การบริจาคโลหติ ”4. ให้นกั เรยี นวางแผนการดแู ลระบบไหลเวยี นโลหติ ส�าหรับตนเองและครอบครัว5. ใหน้ กั เรยี นบันทกึ การปฏิบตั ใิ นการดแู ลระบบไหลเวยี นโลหิตใน 1 สปั ดาห์ วันท่ี การปฏิบตั ิในการดแู ลระบบไหลเวียนโลหติ1. 2. 3. 4.5.6.7.16 หนงั สือเรียนสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 เลม่ 1

ระบบหายใจความสา� คญั ของระบบหายใจ คนเราทุกคนต้องหายใจเพ่ือให้มีชีวิต เราหายใจให้ก๊าซออกซิเจนจากอากาศเข้าไปเผาผลาญอาหารในร่างกาย เพ่ือสร้างพลังงาน และหายใจออกเพอ่ื ขบั กา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซดท์ เี่ กดิ จากการเผาผลาญอาหารออกจากรา่ งกาย อวัยวะต่างๆ ท่ีเก่ียวข้องกับระบบหายใจประกอบด้วยจมูก หลอดลม ปอด กะบงั ลม โครงกระดกู หนา้ อก และกล้ามเนือ้ อน่ื ๆ หลอดอาหาร กลอ่ งเสยี ง กล้ามเนอื้ หลอดลมระหวา่ งซ่ีโครง แขนงหลอดลมปอดกระดกู หัวใจ เราจามเ¾×อ่ เป†า½ุน† หร×อเª×อé âรคซีโ่ ครง ทีอ่ ยÙใ่ นจมÙกออก หร×อเวลาäด้กล่นÔ กะบงั ลม เªน่ กลÔน่ อาหาร กçอาจทíาให้เราจามäด้จมกู จมูก เป็นอวัยวะส�าหรับใช้เป็นทางเข้าออกของอากาศ และใช้ในการรับกล่ิน ภายในจมูกมีขนเล็กๆ ท�าหน้าท่ีดักจับเช้ือโรค กรองอากาศที่จะผ่านเขา้ ไปในปอด ชว่ ยท�าให้อากาศที่หายใจอบอุน่ ชุ่มช้นืและช่วยให้เสยี งดงั กงั วานขณะพูด 17

หลอดลม เราäอเ¾×่อäล่½ุน† เสมหะหร×อเª×éอâรคที่อยÙ่ หลอดลมเป็นทางผ่านของอากาศที่จะเข้าสู่ปอด สว่ นบนของหลอดลมจะเปน็ กลอ่ งเสยี ง มหี นา้ ท่ี ในหลอดลมออกมาสา� คญั ในการออกเสยี งของคนเรา ปลายของหลอดลมจะแยกออกเป็น 2 ขา้ ง แต่ละขา้ งจะแตกแขนงเปน็ท่อเล็กลงเร่ือยๆ คล้ายกิ่งไม้ จนเป็นหลอดลมฝอยมีปลายเปน็ ถงุ ขนาดเล็ก เรียกว่า ถุงลม เราออกเสียงอยา่ งไร ปอด เราใช้อากาศท่ีผ่านเข้าไปในปอดเป็น ปอด เป็นอวัยวะท่ีมีลักษณะอ่อนนุ่ม ตวั ทา� ใหเ้ กดิ เสยี ง เราพดู ตะโกน หวั เราะ และ หยุ่น คลา้ ยฟองนา้� ตง้ั อยใู่ นทรวงอกทง้ั 2 ข้าง รอ้ งไห ้ โดยปลอ่ ยอากาศใหไ้ หลผา่ นสายเสยี ง อยู่บนกระบังลม ภายในปอดมีถุงลมเล็กๆ อยู่ ที่เป็นแผ่นหนังสองแผ่นอยู่ในกล่องเสียงตรง เปน็ จ�านวนมาก ปอดเปน็ อวัยวะท่ีแขง็ แรงมาก สว่ นลา่ งของลา� คอ ทา� หนา้ ทร่ี บั ออกซเิ จนจากอากาศไวใ้ หม้ ากทสี่ ดุ เวลาหายใจเข้า เลือดจะน�าออกซิเจนไปสู่ทุก หลอดลมใหญ่ ส่วนในร่างกาย ท�าให้ร่างกายใช้ออกซิเจนในผนังเยอ่ื หมุ้ ปอด การเผาผลาญอาหารทก่ี นิ เขา้ ไปเพอื่ เปลย่ี นเปน็ พลงั งาน แลว้ ปอดกข็ บั คารบ์ อนไดออกไซดอ์ อก จากรา่ งกายเวลาหายใจออก ปอดทสี่ มบรู ณจ์ ะ มีสีชมพู แต่มลพิษในอากาศจะเปล่ียนสีปอดที ละน้อยจนอาจกลายเปน็ สีเทาหรอื สดี �าถุงลมในปอด ถุงลมเลก็ ๆ ในปอดแตล่ ะถุงมเี ส้นเลอื ดฝอยโยงกันเปน็ เครือขา่ ยหมุ้ หอ่ อยู่ ออกซิเจนผา่ นเขา้ ไปในถุงลม โดยผ่านเยอื่ บุเข้าสู่กระแสเลือด คาร์บอนไดออกไซดก์ ็ผ่านออกยอ้ นเสน้ ทางเดมิ18 หนังสอื เรียนสุขศกึ ษา ช้นั ประถมศึกษาปที ี่ 6 เลม่ 1

กะบงั ลม กะบังลม เป็นกล้ามเน้ือแผ่นใหญ่ที่แข็งแรงต้ังอยู่ในทรวงอก และอยู่เหนือช่องท้อง กะบังลมจะช่วยในการหายใจเอาลมเข้าสู่ปอด เมื่อหายใจเขา้ กะบงั ลมจะหดตวั เคลอื่ นลงขา้ งลา่ ง ทำ� ใหภ้ ายในทรวงอกมีพ้ืนที่เพ่ิมข้ึน ท�ำให้ปอดพองตัวและสูดอากาศเขา้ สปู่ อดไดม้ าก ขณะทห่ี ายใจออกกะบงั ลมจะคลายตวั กลบั ทเี่ ดมิ และไปดนั ปอดใหแ้ ฟบลง ลมท่ีอยู่เต็มปอดขณะหายใจเข้าก็จะถูกบีบให้ออกมาทางหลอดลมสภู่ ายนอกรา่ งกายทางจมูก ขณะที่เราหัวเราะ กะบังลม จะกระตุก ดันลมในปอดให้ออก มาทางกลอ่ งเสียงและหลอดลมสขุ ปฏบิ ัตใิ นการดูและระบบหายใจ ควรปฏิบัตดิ ังนี้1. ควรอยใู่ นบรเิ วณทมี่ อี ากาศบรสิ ทุ ธ์ิ ไมม่ สี ารเคมหี รอื ฝนุ่ ละอองเจอื ปน และหลกี เลย่ี งควนั บหุ ร่ี ถา้ ตอ้ ง อยูใ่ นสิ่งแวดลอ้ มดงั กลา่ วควรใช้ผา้ ปดิ จมกู2. ไมค่ วรถอนขนจมูก เพราะเปน็ การทำ� ลายเครอื่ งปอ้ งกนั เชอื้ โรคตามธรรมชาติ3. ควรออกกำ� ลังกายกลางแจง้ เพอ่ื ใหป้ อดไดร้ ับอากาศที่บรสิ ทุ ธ์ิ4. ฝกึ การหายใจใหเ้ ตม็ ท่ี โดยหายใจเขา้ ใหท้ อ้ งพอง หายใจออกใหท้ อ้ งยบุ การหายใจลกั ษณะนจ้ี ะทำ� ให้ ปอดรับอากาศได้เป็นปรมิ าณมาก5. ไมส่ วมเสอื้ ผ้าหรือเขม็ ขัดท่รี ัดจนเกินไป เพราะทำ� ให้ปอดขยายตัวไม่สะดวก6. ควรรักษาความอบอุ่นของร่างกายอย่เู สมอ โดยเฉพาะเมอื่ มีการเปลย่ี นแปลงของอากาศ7. เมอ่ื เกดิ ความผดิ ปกตกิ ับระบบทางเดินหายใจควรรบี พบแพทย์ทนั ที 19

กจิ กรรมเสริมความเข้าใจ 31. ให้นกั เรยี นคน้ ควา้ หาความรูเ้ กีย่ วกบั “โรคในระบบทางเดนิ หายใจและการป้องกัน”2. ให้นักเรียนเขียนบรรยายความร้สู กึ เปรยี บเทยี บเก่ยี วกับการหายใจเมื่อเปน็ หวัด คัดจมูกกบั เมอื่ รา่ งกายปกติ การหายใจเมื่อเป็นหวัดคดั จมกู เม่ือรา่ งกายปกติ 3. ใหน้ ักเรยี นลองกล้ันหายใจ นกั เรียนกลนั้ หายใจได้กี่นาที และรู้สึกอย่างไรขณะกลนั้ หายใจ ฉันกลนั้ หายใจได้ นาท ี ขณะกลั้นหายใจฉนั รสู้ กึ20 หนังสือเรยี นสขุ ศึกษา ช้นั ประถมศกึ ษาปีท่ี 6 เลม่ 1

แบบฝึกหัดทา้ ยหน่วยการเรียนรู้ใหต้ อบค�าถามต่อไปนี้1. ระบบสบื พันธุม์ ีความสา� คัญต่อมนุษย์อยา่ งไร อธิบาย2. อวยั วะส�าคัญในระบบสืบพนั ธ์เุ พศชายประกอบด้วยอะไรบ้าง และแตล่ ะสว่ นท�าหนา้ ท่อี ะไร3. อวยั วะสา� คัญในระบบสืบพันธ์เุ พศหญิงประกอบดว้ ยอะไรบา้ ง และแต่ละสว่ นทา� หนา้ ทอ่ี ะไร4. ระบบไหลเวียนโลหิตมีความสา� คญั ตอ่ ชีวติ มนุษย์อยา่ งไร อธบิ าย5. หวั ใจด้านขวาท�าหนา้ ทอี่ ะไร6. หัวใจดา้ นซ้ายท�าหนา้ ที่อะไร7. หลอดโลหิตในร่างกายมกี ่ชี นดิ แตล่ ะชนดิ ทา� หน้าทอ่ี ะไร8. เซลลโ์ ลหติ ในรา่ งกายมีกป่ี ระเภท ไดแ้ กอ่ ะไรบา้ ง และแตล่ ะประเภทท�าหนา้ ท่อี ะไร9. นกั เรยี นมีหมูโ่ ลหติ อะไร สามารถใหแ้ ละรับโลหิตจากหมโู่ ลหิตใดได้บา้ ง10. ระบบหายใจมีความสา� คัญตอ่ ชวี ิตมนุษยอ์ ยา่ งไร11. อวยั วะทีส่ า� คัญในระบบหายใจประกอบดว้ ยอะไรบ้าง12. ใหบ้ อกหน้าท่ขี องอวัยวะตอ่ ไปนี้ 12.1 จมูก 12.2 หลอดลม 12.3 ปอด 12.4 กะบังลม13. ใหอ้ ธบิ ายวา่ เมอื่ หายใจเขา้ ปอดจะมลี กั ษณะอย่างไร14. ใหอ้ ธบิ ายว่าเมอ่ื หายใจออก ปอดจะมลี กั ษณะอยา่ งไร15. ใหน้ กั เรยี นบนั ทกึ การปฏบิ ตั ติ นเพอ่ื การดแู ลรกั ษาระบบสบื พนั ธ ์ุ ระบบไหลเวยี นโลหติ และระบบหายใจ ระบบ การวางแผนดูแลรกั ษา การปฏบิ ตั ิจรงิ ในการดูแลรักษาระบบสืบพันธ์ุ 1. 1. ระบบไหลเวยี นโลหิต 2. 2. 1. 1.ระบบสืบพนั ธุ์ 2. 2. 1. 1. 2. 2. 21

หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ ี 2 มสี ัมพนั ธภาพทีด่ ี ชีวสี ดใส การสรา้ งและรักษาสัมพนั ธภาพกับผอู้ ่ืน มสี มั พนั ธภาพทีด่ ี ชีวสี ดใส ปัจจัยทช่ี ่วยใหก้ าร ทา� งานกลุ่มประสบความสา� เร็จ ตัวชว้ี ัดชั้นป 1. อธิบายความสา� คัญของการสรา้ งและรักษาสัมพันธภาพกบั ผูอ้ ืน่ ได้ (พ.2.1 ป.6/1) การสร้างและรักษาสัมพนั ธภาพกบั ผู้อ่นื ความส�าคัญของการสรา้ งและรักษาสมั พันธภาพกบั ผูอ้ ่ืน มนษุ ยเ์ ปน็ สตั วส์ งั คม ดงั นนั้ การมคี วามสมั พนั ธก์ บั ผอู้ น่ื จงึ เปน็ สง่ิ จา� เปน็ ในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ พัฒนาการทางสังคมและความคิด ตลอดจนความ เขา้ ใจในสงั คมรอบตวั พฒั นาขนึ้ มาจากการมสี มั พนั ธภาพกบั ผอู้ นื่ มนษุ ยแ์ ตล่ ะ คนไดร้ บั การหล่อหลอมจากครอบครวั ใหม้ ีความคดิ ความเช่อื ทศั นคตแิ ละคา่ นยิ มทแ่ี ตกตา่ งกนั ดงั นน้ั การทบี่ คุ คลแตล่ ะคนจะมคี วามสมั พนั ธท์ ดี่ ตี อ่ กนั จงึ ตอ้ งอาศยั ความเขา้ ใจซงึ่ กนั และกัน22 หนังสอื เรียนสุขศกึ ษา ชนั้ ประถมศึกษาปที ี่ 6 เลม่ 1

สมั พนั ธภาพระหว่างบุคคลเป็นสิ่งท่ีมีความสำ� คญั และมีคณุ ค่าส�ำหรับบุคคลทกุ คนเพราะคนเราสามารถเรียนรู้หรือรู้จักตนเอง ท้ังจุดเด่นและจุดด้อย รู้จักโลกตามความเป็นจริง ยอมรับและเข้าใจในสิ่งท่ีเกิดขึ้นได้จากการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอ่ืน การมีความสมั พนั ธภาพระหวา่ งบคุ คลอนื่ ทำ� ใหช้ วี ติ มคี ณุ คา่ และมคี วามหมาย บคุ คลทไ่ี มส่ ามารถสรา้ งสัมพนั ธภาพกบั ผ้อู ่ืนได้ จะรู้สึกอา้ งว้างโดดเดย่ี ว และรู้สึกวา่ ชวี ิตไร้ความหมายคณุ ลกั ษณะสำ� คญั ของบคุ คลในการสรา้ งสมั พนั ธภาพกบั บคุ คลอนื่ การสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นนั้นต้องอาศัยคุณลักษณะภายใน หรือทัศนคติท่ีสำ� คญั ของบุคคลบางประการ ได้แก่ 1. การยอมรับและให้เกียรติ หมายถึง การยอมรับลักษณะส่วนตัวหรือลักษณะ เฉพาะบุคคลตามที่เขาเป็น ให้เกียรติและเคารพในคุณค่าของบุคคล มีความ เป็นมติ รกบั ผอู้ น่ื 2. การเข้าใจสาระและความรู้สึก หมายถึง การเข้าใจเนื้อหาของส่ิงที่ส่ือสาร ระหวา่ งกนั และเข้าใจในความร้สู ึกของผ้อู นื่ เสมอื นเราเปน็ ตวั เขา 3. การจรงิ ใจ หมายถงึ การไมเ่ สแสรง้ ในการแสดงออกกบั ความคดิ ความรสู้ กึ และ ทศั นคติของตนเอง 23

กิจกรรมเสริมความเข้าใจ 1 1. ให้นักเรยี นติดภาพถา่ ยของตัวเอง พร้อมท้งั เขียนลกั ษณะนิสยั สว่ นตวั ตามหวั ขอ้ ที่กา� หนด ลักษณะนสิ ัยส่วนตัวของฉัน ฉันเป็นคนท่มี ีนิสัย คติพจน์ประจา� ใจของฉันคือ ส่ิงท่ฉี นั อยากให้คนอนื่ ปฏิบัตกิ ับฉนั ส่ิงที่ฉันไม่ชอบ คือ ฉนั มีข้อควรปรับปรงุ ในเร่ือง ส่งิ ท่ฉี นั อยากทา� มากท่ีสุด คอื ฉนั แสดงการใหเ้ กยี รติและเคารพในคณุ ค่าของเพือ่ นโดย เมือ่ ฉนั โกรธ ฉนั จะ24 หนังสอื เรียนสขุ ศึกษา ช้ันประถมศกึ ษาปที ี่ 6 เล่ม 1

วิธีสร้างและรกั ษาสมั พันธภาพกบั ผู้อื่นการสร้างสมั พนั ธภาพกับผ้อู น่ื สามารถทำ� ได้ ดังนี้1. แสดงความเปน็ มติ รกบั ผอู้ นื่ กอ่ นดว้ ยความจรงิ ใจ เปดิ เผย มใี บหนา้ ทยี่ ม้ิ แย้มแจม่ ใส และมอี ารมณร์ ่าเรงิ2. มีการแสดงออกท่สี ุภาพ ทั้งกริ ยิ าท่าทางและการใช้ค�ำพดู คำ� พูดทค่ี วรฝกึ พดู ใหเ้ ปน็ นสิ ยั และใชใ้ นโอกาสทเ่ี หมาะสม คอื “ขอบคณุ ” และ “ขอโทษ” ควรหลกี เลย่ี งการใชค้ ำ� พดู ทห่ี ยาบคาย ประชดประชนั หรอื สอ่ เสยี ดบคุ คลอน่ื “ขอบคุณนะ”3. ไมแ่ สดงความเหน็ แกต่ วั เอารดั เอาเปรยี บ เชน่ ไมย่ อมรบั ฟงั ความเหน็ ของ เพอ่ื น ทำ� เฉพาะเรอื่ งทตี่ นเองชอบเทา่ นนั้ หรอื ทำ� สงิ่ ทตี่ นเองจะไดป้ ระโยชน์ เป็นต้น4. ใหค้ วามชว่ ยเหลอื เพอ่ื นเทา่ ทจ่ี ะสามารถชว่ ยได้ เชน่ ชว่ ยถอื ของให้ ชว่ ย ทำ� งานในห้องเรียน เพือ่ แสดงความมนี �้ำใจ เปน็ ตน้5. พูดในเรื่องที่สร้างสรรค์และให้ความรู้สึกทางบวก ไม่นินทาว่าร้ายหรือ ต�ำหนบิ ุคคลอ่นื6. ยอมรับในความผิดพลาดของตนเอง และพร้อมท่ีจะปรับปรุงแก้ไข รวม ทง้ั รู้จกั การให้อภัยผ้อู ื่นด้วย 25

ปจั จัยทช่ี ว่ ยใหก้ ารทำ� งานกลุ่มประสบความส�ำเร็จ นกั เรยี นคงเคยประสบกบั ปญั หาความเครยี ดจากการทำ� งานกลุ่ม โดยเฉพาะเวลาที่ท�ำงานไมส่ ำ� เร็จ งานเสรจ็ ไม่ทนั กำ� หนด สมาชกิ ในกลมุ่ ไมใ่ หค้ วามร่วมมือ หรือเกิดความขดั แยง้ กับสมาชกิ ในกล่มุ ดังน้นั ใน การทำ� งานกล่มุ ให้ประสบความสำ� เรจ็ จ�ำเป็นจะต้องคำ� นึงถึงปัจจยั หลายๆ อย่าง ดงั น้ี 1. ความสามารถส่วนบุคคล การท�ำงานกลุ่มให้ประสบความส�ำเร็จน้ัน สมาชิกทุกคนในกลุ่ม จะต้องรู้ว่าตนเองมีความสามารถหรือความถนัดในด้านใด และต้องท�ำหน้าท่ีให้ตรงกับความ สามารถของแตล่ ะคน จะท�ำใหก้ ารท�ำงานกลมุ่ ประสบความสำ� เร็จไดม้ ากข้ึน 2. บทบาทหน้าท่ีของสมาชิกในกลุ่ม ในการท�ำงานกลุ่มให้ประสบความสำ� เร็จนั้นสมาชิกแต่ละ คนตอ้ งรูบ้ ทบาทหนา้ ทข่ี องตนเอง และต้องตั้งใจทำ� งานของตนเองใหด้ ีท่สี ุด แบง่ หน้าทใี่ ห้เทา่ เทยี มกนั ไมเ่ อาเปรียบผอู้ ื่น และทีส่ ำ� คญั จะตอ้ งมคี วามสามัคคี คอยช่วยเหลือซึง่ กันและกัน 3. การยอมรบั ความคดิ เหน็ และความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล ในการท�ำงานรว่ มกบั ผอู้ นื่ จะตอ้ ง รูจ้ กั ยอมรบั ความคิดเหน็ และความแตกตา่ งระหว่างบุคคล โดยค�ำนงึ ถงึ สง่ิ ต่อไปน้ี 3.1 อารมณ์ เปน็ สง่ิ สำ� คญั อนั ดบั แรกในการทำ� งานกลมุ่ เวลาทำ� งานรว่ มกบั ผอู้ นื่ ตอ้ งใจเยน็ ๆ บางครงั้ อาจเกดิ ความขดั แยง้ กนั บา้ ง กต็ อ้ งรจู้ กั ใหอ้ ภยั อยา่ เครยี ดหรอื วติ กกงั วลกบั การ ทำ� งานมากเกนิ ไป ความรสู้ กึ อยากท�ำงานหรอื อารมณท์ พ่ี งึ พอใจในการท�ำงานจะชว่ ยให้ สามารถท�ำงานได้ดีขึน้ 3.2 จติ ใจ ควรรจู้ กั เอาใจเขามาใสใ่ จเรา ไมท่ ำ� ในสงิ่ ทผ่ี อู้ น่ื ไมพ่ อใจ ไมเ่ อาเปรยี บผอู้ น่ื ตอ้ งคดิ เสมอวา่ ทกุ คนตอ้ งชว่ ยกนั ท�ำงาน26 หนงั สอื เรียนสุขศกึ ษา ช้นั ประถมศึกษาปที ี่ 6 เล่ม 1

3.3 สมอง ในการท�ำงานร่วมกบั ผูอ้ ่ืนนนั้ อย่าคิดว่าความคิดของตนเองดีทสี่ ดุ จะตอ้ งท�ำคน เดยี วทงั้ หมด เพราะกลวั วา่ คนอนื่ จะทำ� ไมไ่ ด้ หรอื ทำ� ไดไ้ มด่ เี ทา่ สดุ ทา้ ยกจ็ ะเครยี ด ดงั นน้ั เราต้องรู้จกั รับฟังความคดิ เห็นของผ้อู ่นื และตอ้ งยอมรบั ว่าคนแตล่ ะคนมีความสามารถ แตกต่างกัน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เราจึงควรมองในด้านบวกหรือด้านดี และตัวเราเองก็ ตอ้ งแก้ไขในส่วนทไ่ี ม่ดดี ว้ ย 3.4 สติ เปน็ สง่ิ ทส่ี ำ� คญั มาก โดยเฉพาะเวลาเครยี ดหรอื โกรธ ตอ้ งรจู้ กั ระงบั อารมณ์ การแสดง อารมณท์ ี่ไม่ดี จะท�ำให้ผอู้ นื่ ไมพ่ อใจ การทำ� งานรว่ มกนั กจ็ ะไม่ราบร่นื 4. ความรับผิดชอบ คือหน้าท่ีที่ได้รับมอบหมายให้ท�ำ จะหลีกเล่ียงละเลยไม่ได้ การรู้จักรับผิด หรอื ยอมรบั วา่ อะไรผดิ พลาดเสยี หาย จะทำ� ใหบ้ คุ คลรจู้ กั พจิ ารณาตนเอง ยอมรบั ความผดิ และ พร้อมท่ีจะแก้ไข ส่วนการรู้จักรับชอบหรือรู้ว่าอะไรถูก จะท�ำให้เรารู้ว่าจะท�ำงานให้ส�ำเร็จได้ อยา่ งไร ในการด�ำเนนิ ชีวิต สิง่ ทท่ี กุ คนควรมีกค็ อื ความรับผดิ ชอบ ท้งั ต่อตนเองและผอู้ นื่ โดยเฉพาะในการท�ำงานกลุ่มหรือท�ำงานร่วมกับผู้อื่น หากคนใดคนหนึ่งขาดความรับผิดชอบ ก็ย่อมส่งผลให้การท�ำงานไม่ประสบความสำ� เรจ็กจิ กรรมเสรมิ ความเข้าใจ 2 1. ให้นักเรียนบอกบุคลิกลักษณะ (นิสัย จิตใจ ความรับผิดชอบ ฯลฯ) ของเพ่ือนนักเรียนชาย และ นกั เรียนหญงิ ทนี่ กั เรียนประทับใจท่สี ุดในห้อง อยา่ งละ 1 คน เพื่อนนักเรียนชายท่ีฉันประทับใจท่สี ดุ ในหอ้ ง คือ เพราะ เพ่อื นนกั เรียนหญิงที่ฉันประทบั ใจท่สี ุดในหอ้ ง คือ เพราะ 2. ใหน้ กั เรยี นแบง่ กลมุ่ กลมุ่ ละ 6 คน คดิ แผนทค่ี วามคดิ ในหวั ขอ้ “วธิ กี ารสรา้ งและรกั ษาสมั พนั ธภาพ กับผอู้ นื่ ” แลว้ ออกมาน�ำเสนอหนา้ ชนั้ 27

3. จากการท�ากิจกรรมในข้อ 2 ให้นักเรียนวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการท�ากิจกรรมกลุ่ม พร้อม ทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไข โดยบนั ทกึ ลงในตาราง ปญั หาท่ีเกิดขึน้ แนวทางแกไ้ ข1. ไม่พบปญั หา2.3.4.5.เพราะแบบฝึกหดั ท้ายหน่วยการเรยี นรู้ให้นกั เรียนตอบค�าถามต่อไปนี้1. นักเรยี นคดิ ว่าตวั เราสามารถอย่คู นเดยี วในโลกไดห้ รือไม ่ เพราะเหตใุ ด2. การสรา้ งและรักษาสัมพนั ธภาพกับผอู้ น่ื มคี วามส�าคญั ต่อการดา� รงชีวิตอยา่ งไร3. คนท่ีจะมีสมั พันธภาพที่ดกี ับผ้อู ่ืนได้น้ัน ควรมีลกั ษณะอย่างไร4. ให้บอกวธิ สี ร้างสมั พันธภาพกบั ผู้อื่นมา 3 ข้อ5. ปัจจัยท่ชี ว่ ยให้การท�างานกลุ่มประสบความส�าเรจ็ มีอะไรบา้ ง28 หนงั สือเรียนสุขศึกษา ชัน้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 6 เลม่ 1

หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ ี 3สิง่ แวดลอ้ มกบั สุขภาพ ความสา� คญั ของส่ิงแวดลอ้ มทมี่ ผี ลต่อสขุ ภาพปญั หาของสิง่ แวดล้อม สง่ิ แวดล้อมกับสขุ ภาพ ทีม่ ีผลต่อสุขภาพ การปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หาสง่ิ แวดลอ้ มทมี่ ผี ลตอ่ สขุ ภาพตัวช้ีวัดชัน้ ป1. แสดงพฤติกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมท่ีมีผลต่อ สุขภาพได ้ (พ4.1 ป.6/1) 29

สิ่งแวดล้อมกบั สุขภาพ ความสา� คัญของสิ่งแวดล้อมทมี่ ตี ่อสขุ ภาพ ส่ิงแวดล้อมคือทกุ ส่งิ ทกุ อย่างท่ีอยรู่ อบตัวเรา ทงั้ สงิ่ มชี วี ิตและไม่มีชีวิต ซึ่งล้วนส่งผลต่อการด�ารงชีวิตของมนุษย์และส่ิงมีชีวิตอื่นๆ ส่ิงแวดล้อมนับว่า เป็นปัจจัยส�าคัญที่มีผลต่อสุขภาพโดยตรง ถ้าเราอาศัยอยู่ในบริเวณท่ีมีสภาพ แวดล้อมท่ีถูกสุขลักษณะก็ย่อมส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีท้ังร่างกายและจิตใจ ตรง กันข้ามถ้าสภาพแวดล้อมไม่ดีเช่น อาศัยอยู่ในชุมชนท่ีเต็มไปด้วยขยะและส่ิง ปฏิกูล อากาศไม่บริสุทธ์ิมีเสียงดังรบกวน หรือชุมชนที่มีโจรผู้ร้ายชุกชุม เป็น แหล่งค้าและเสพยาเสพติดก็จะส่งผลให้คนในชุมชนมีสุขภาพไม่ดี เกิดโรคภัย ไขเ้ จบ็ รวมทัง้ ส่งผลเสียต่อสภาพจติ ใจดว้ ย ภาวะโรครอ้ นในปัจจบุ นั ท่ีเกิดจาก การกระท�าของมนุษย์ท�าให้ระบบนิเวศเปล่ียนแปลง ส่งผลให้มีการกลายพันธุ์ ของเชื้อโรค การท�าลายทรัพยากรธรรมชาติยังท�าให้เกิดปัญหาภัยธรรมชาติ ตามมา ซง่ึ สงิ่ ตา่ งๆเหลา่ นล้ี ว้ นมผี ลกระทบตอ่ สขุ ภาพของมนษุ ย ์ ดงั นนั้ เราควร มีความรู้ ความเขา้ ใจ และเกิดความตระหนักในการดแู ลรกั ษาสงิ่ แวดล้อมเพ่ือ ให้สงิ่ ผลดตี ่อสขุ ภาพของตนเอง ชุมชน รวมถงึ สงั คมโดยรวม30 หนังสอื เรยี นสขุ ศกึ ษา ช้นั ประถมศึกษาปที ่ี 6 เลม่ 1

กิจกรรมเสริมความเข้าใจ 11. ให้นักเรียนดูภาพสิ่งแวดล้อม 2 ภาพ แล้วพิจารณาเปรยี บเทยี บดูวา่ ถ้าใหเ้ ลือกอาศัยอยใู่ น สง่ิ แวดลอ้ มตามภาพ นกั เรียนอยากอยู่ในสภาพแวดล้อมภาพใด ให้เหตผุ ลประกอบ ภาพที่ 1 ภาพท่ี 2ฉันอยากอยู่ในสภาพแวดลอ้ มตามภาพท ่ี เพราะ 31

ปัญหาส่งิ แวดล้อมทม่ี ผี ลตอ่ สุขภาพปญั หาสิ่งแวดล้อมทีม่ ผี ลตอ่ สขุ ภาพของมนษุ ยท์ ี่สำ� คัญมดี ังน้ี1 มลพษิ ทางน้ำ� ปฏิกูลลงในแหล่งน�้ำ และท้ิงขยะมูลฝอยลงในน้�ำ โดยตรง ทำ� ให้น้�ำสกปรกและเน่าเสียเปน็ อย่างมาก มลพษิ ทางนำ้� หมายถงึ นำ�้ ทมี่ สี ารตา่ งๆ หรอื รวมถงึ นำ้� เสยี ทถี่ กู ปลอ่ ยมาจากโรงงานอตุ สาหกรรมสิ่งที่ไม่พึงปราถนาเจือปนอยู่ในปริมาณที่ท�ำให้เกิด ทไ่ี มม่ รี ะบบการบำ� บดั นำ้� เสยี กอ่ นปลอ่ ยลงสแู่ หลง่ นำ้� การเปลยี่ นแปลงคณุ ลกั ษณะทางกายภาพของนำ�้ คอื จะมสี ง่ิ ปฏิกูลปนออกมากบั น�้ำเปน็ จำ� นวนมาก เช่นเนา่ เหมน็ ขนุ่ เปน็ พษิ ถา้ นำ� มาดมื่ หรอื ใชจ้ ะเกดิ โทษ พวกกรด ด่าง สารเคมี แรธ่ าตุ น้�ำมนั โลหะหนกั ในและอนั ตรายตอ่ สขุ ภาพ นำ�้ อาจสง่ ผลทำ� ใหม้ นษุ ยท์ นี่ ำ� นำ้� มาบรโิ ภคไดร้ บั ผล กระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ก่อให้เกิดโรคต่างๆ แหล่งก�ำเนิดมลพิษทางน้�ำส่วนใหญ่มักเกิด เชน่ โรคมะเร็ง โรคทางระบบประสาท เป็นตน้จากการกระท�ำของมนุษย์ เช่น น�้ำเสียจากชุมชนบ้านเรือนที่พักอาศัย โดยส่วนใหญ่เป็นน�้ำจากการล้างถว้ ยชาม อาบนำ�้ ซกั ผ้า ระบายของเสียหรือสงิ่ผลกระทบของมลพิษทางน้�ำทม่ี ีตอ่ สขุ ภาพ มนิ ามาตะ มอื เทา้ ชา อาจถงึ ขนั้ ทพุ พลภาพและตาย ผลกระทบของมลพษิ ทางนำ้� เมอ่ื เราดมื่ นำ้� ท่ี ได้ เม่ือนำ� มาช�ำระรา่ งกายอาจจะให้เกิดโรคผิวหนังมีมลพิษปนเปื้อนจะท�ำให้เป็นโรคอหิวาตกโรค โรค อีกท้ังยังสร้างความหงุดหงิดร�ำคาญและเกิดความบิด โรคอุจจาระร่วง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ตึงเครยี ดได้โรคน่ิวท่ีไตและกระเพาะปัสสาวะ เม่ือรับประทานสตั วน์ ำ้� ทอี่ ยใู่ นนำ้� ทม่ี สี ารพษิ เจอื ปนจะทำ� ใหเ้ ปน็ โรค32 หนังสอื เรียนสุขศึกษา ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 6 เล่ม 1

กจิ กรรมเสรมิ ความเข้าใจ 21. ให้นกั เรยี นเขยี นแผนผังความคิดในหัวข้อ “สาเหตุของมลพิษทางน้�า”2. ใหบ้ นั ทกึ วา่ ในแตล่ ะวนั นกั เรยี นใชน้ า้� ทา� อะไรบา้ ง และถา้ ในอนาคตมแี ตแ่ หลง่ นา้� สกปรกไมม่ นี า้� สะอาดใชจ้ ะเกดิ ผลอย่างไร ใน 1 วันฉันใช้น้�าเพอื่ ถ้าในอนาคตไมม่ ีน�้าใช้จะเกิดผลคือ1.2.3.4.5.3. นกั เรยี นสามารถชว่ ยลดมลพิษทางน้�าได้โดย 33

2 มลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะของอากาศที่มีส่ิงเจือปนอยู่มากเกินไป จนก่อให้เกิดโทษหรืออันตรายต่อมนษุ ย์ สัตว์ พืช และทรัพยส์ ินได้ เชน่ ฝนุ่ ละออง เขม่า ควัน แหลง่ กำ� เนดิ มลพษิ ทางอากาศสว่ นใหญม่ กั มาจากการกระท�ำของมนษุ ย์ เชน่ การใชย้ วดยานพาหนะในการเดนิ ทางสญั จร ซง่ึ จะมกี ารปลอ่ ยควนั และแกส๊ พษิ ตา่ งๆ ทเี่ กดิ จากการเผาไหมเ้ ชอื้ เพลงิ ของเครอ่ื งยนต์ออกมาปะปนอยใู่ นอากาศจำ� นวนมาก หรอื เกดิ จากโรงงานอตุ สาหกรรมทมี่ กั จะปลอ่ ยเขมา่ ควนั นอกจากน ี้การท�ำลายขยะมลู ฝอยและสง่ิ ปฏกิ ลู ดว้ ยวิธีท่ีไมถ่ กู ตอ้ งจะท�ำให้เกดิ การเน่าเปื่อย สง่ กลน่ิ เหมน็ เปน็ แหลง่เพาะเช้อื โรค และมสี ารอันตรายแพร่กระจายในอากาศผลกระทบของมลพิษทางอากาศท่มี ตี ่อสุขภาพ ศรี ษะเปน็ ลมหมดสติ สารกมั มนั ตรงั สจี ะทำ� ใหเ้ ดก็ ที่ ผลกระทบทเี่ กดิ จากมลพษิ ทางอากาศทำ� ให้ อยใู่ นครรภม์ ารดาคลอดออกมามคี วามผดิ ปกตทิ างจมกู คอ หลอดลม และปอดเกดิ การอกั เสบ อาจทำ� ให้ รา่ งกาย ทำ� ใหเ้ ปน็ หมนั ผวิ หนงั อกั เสบ เปน็ ผดผนื่ คนั เกิดโรคมะเร็งทีป่ อด พิษจากสารตะก่วั จะทำ� ให้เกดิ ฝนุ่ ละอองทำ� ใหเ้ ยอ่ื ตาเกดิ การอกั เสบ ตาบวม ตาแดงโรคโลหิตจางเปน็ อัมพาต ปญั ญาออ่ น และเสียชีวิต อกี ทง้ั ยงั ทำ� ใหส้ ขุ ภาพจติ ไมด่ ี หงดุ หงดิ และอารมณ์ได้ กา๊ ซคารบ์ อนมอนอกไซด์รวมตัวกับเฮโมโกลบนิ ตงึ เครยี ดได้จะท�ำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เกิดอาการวิงเวียน34 หนงั สือเรยี นสุขศกึ ษา ช้นั ประถมศกึ ษาปที ่ี 6 เล่ม 1

กจิ กรรมเสรมิ ความเข้าใจ 3ให้นกั เรยี นระบชุ นดิ ของมลพิษทางอากาศ และแนวทางปรับปรุงแกไ้ ข มลพิษทาง อากาศ 35

3 มลพิษทางดิน มลพษิ ทางดนิ หมายถงึ ดนิ ทมี่ สี งิ่ เจอื ปนตา่ งๆ ของเสียเหล่านี้ตกค้างอยู่ในดิน ส่งผลให้เกิดมลพิษซง่ึ อาจกอ่ ใหเ้ กดิ อนั ตรายตอ่ สขุ ภาพ เชน่ หนอนพยาธ ิ ทางดินแร่ธาตุ สารเคมี แหล่งก�าเนิดมลพิษทางดินส่วนใหญ่มาจาก ผลกระทบของมลพษิ ทางดินทม่ี ตี อ่ สุขภาพแหล่งเกษตรกรรมที่มักใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ผลกระทบของมลพิษทางดิน เช้ือโรคและเช่น สารก�าจัดศัตรูพืช ปุยเคมี รวมไปถึงการเลี้ยง หนอนพยาธทิ อี่ ยใู่ นดนิ กอ่ ใหเ้ กดิ โรคบาดทะยกั โรคสัตว์ที่ไม่มีการก�าจัดของเสียจากสัตว์อย่างถูกต้อง บิด โรคพยาธิปากขอ สารเคมีที่ปนเปื้อนท�าให้เป็นในมลู สตั วแ์ ละนา�้ ทที่ า� ความสะอาดคอกสตั วจ์ ะมกี าร โรคพษิ ของตะก่วั เป็นแหล่งเพาะพันธข์ุ องแมลงวันปนเปื้อนของเช้ือโรคและพยาธิ ท�าให้สารเคมีและ และเชอ้ื โรค4 มลพษิ ทางเสียง จากเสยี งเครอื่ งยนตข์ องยานพาหนะตา่ งๆ หรอื เกดิ จากแหลง่ อตุ สาหกรรมเชน่ เสยี งดงั จากเครอ่ื งจกั รกล มลพษิ ทางเสยี ง หมายถงึ ภาวะเสยี งดงั เกนิ ไป ในโรงงาน เสยี งดงั จากเครอ่ื งเจาะคอนกรตี ในบรเิ วณจนกอ่ ใหเ้ กดิ ความรา� คาญหรอื กอ่ ใหเ้ กดิ อนั ตรายตอ่ กอ่ สรา้ ง และเกดิ จากแหล่งชมุ ชนเชน่ การเปิดวิทย ุสขุ ภาพและระบบการไดย้ นิ ซง่ึ องคก์ ารอนามยั โลก หรือโทรทัศน์ เสียงดังตามบ้านเรือน และเสียงดังก�าหนดไว้ว่า เสียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่ ตามแหล่งบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ เช่น โรงภาพยนตร ์เสียงท่ีดังเกิน 85 เดซิเบล ที่ทุกความถี่เมื่อได้ยิน ไนตค์ ลบั ร้านอาหาร เปน็ ต้นนานเกิน 1 ชัว่ โมง แหลง่ กา� เนดิ มลพษิ ทางเสยี งสว่ นใหญม่ าจากการจราจรทงั้ ทางบก ทางนา้� และทางอากาศ ซง่ึ เกดิ ผลกระทบของมลพิษทางเสียงทม่ี ตี ่อสขุ ภาพ ผลกระทบของมลพิษทางเสียง ท�าให้หูตึง หูพิการ เกิดความเครียด หงุดหงิด นอนไม่หลับ สขุ ภาพจติ เสอ่ื ม อาจเปน็ โรคทางระบบประสาท และ ก่อใหเ้ กดิ แผลในกระเพาะอาหารจากความเครียด36 หนงั สอื เรยี นสขุ ศึกษา ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี 6 เล่ม 1

การป้องกนั และแกไ้ ขปญั หาสง่ิ แวดลอ้ มท่มี ีผลกระทบต่อสุขภาพ 1. ไม่ท้ิงขยะมูลฝอยและส่ิงปฏิกูลลงในแม่น้�ำล�ำคลอง และควรใช้น้�ำอย่าง ประหยัด 2. ไม่เผาขยะมลู ฝอยกลางแจ้งเพราะจะทำ� ให้เกิดมลพิษในอากาศ 3. มีการนำ� ของท่ใี ชแ้ ลว้ หมนุ เวียนกลบั มาใช้ใหมเ่ พ่อื ลดปริมาณขยะ 4. แบตเตอรข่ี องโทรศพั ทม์ อื ถอื ถา้ ไมใ่ ชแ้ ลว้ ควรสง่ คนื ใหบ้ รษิ ทั เพอื่ นำ� ไป ก�ำจดั ให้ถกู วธิ ตี ่อไป 5. หลีกเลีย่ งการสรา้ งทอี่ ย่อู าศัยในแหลง่ ที่มสี ภาพความแออัด 6. สถานประกอบการตา่ ง ๆ ควรจดั ให้มีบอ่ พักเพื่อใหม้ กี ารตกตะกอนของ นำ้� เสยี และจดั ใหม้ บี อ่ กกั เกบ็ ไขมนั กอ่ นจะปลอ่ ยน�้ำลงสทู่ อ่ น�้ำสาธารณะ 7. ควรจัดบ้านเรือนหรือบริเวณที่อยู่อาศัยให้สะอาด เพ่ือป้องกันการแพร่ ของเชือ้ โรค 8. ปลูกต้นไม้เพื่อให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมท่ีน่าอยู่ มีอากาศท่ีบริสุทธิ์ ต้นไม้จะช่วยกรองอากาศเสียให้เป็นอากาศดี และช่วยดูดซับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดภาวะโลกร้อน นอกจากน้ียงั ช่วยบังแหล่งท่ีมาของเสียง ลดความดงั ลงได้ 9. ลดปรมิ าณการใชโ้ ฟมและพลาสตกิ โดยหนั มาใชว้ สั ดจุ ากธรรมชาตแิ ทน เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้ใบตองห่อขนมแทนการใส่กล่องโฟม เปน็ ตน้ 10. ไม่ควรทิ้งน�้ำโสโครก ส่ิงปฏิกูลหรือขยะมูลฝอย ตลอดจนสารเคมีต่าง ๆ ลงในดิน ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร เพราะสารเคมีจะตกค้างและ สะสมในดิน 11. ผู้ใชย้ านพาหนะควรดูแลและตรวจสภาพเครื่องยนตใ์ ห้อยูใ่ นสภาพดี ไม่ ทำ� การดัดแปลงทอ่ ไอเสยี ให้เกิดเสียงดังรบกวนผอู้ ื่น 12. ใหค้ วามรว่ มมอื กบั ชุมชน ราชการ หรือหนว่ ยงานต่าง ๆ ในการอนรุ กั ษ์ ทรพั ยากรธรรมชาติและพฒั นาส่ิงแวดลอ้ ม 37

กิจกรรมเสรมิ ความเขา้ ใจ 4 ให้นักเรียนตัดข่าวจากหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร วารสาร ท่ีเกี่ยวข้องกับมลพิษทางส่ิงแวดล้อม พรอ้ มทัง้ วิเคราะหถ์ ึงสาเหตแุ ละแนวทางแกไ้ ข จากหนังสือ ฉบบั ที ่ เดอื น พ.ศ หน้า สาเหตขุ องปญั หา แนวทางแก้ไข38 หนงั สอื เรียนสุขศกึ ษา ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 เล่ม 1

แบบฝกึ หดั ทา้ ยหน่วยการเรียนรู้ใหน้ กั เรยี นตอบคำ� ถามต่อไปนี้1. สง่ิ แวดลอ้ มมีความส�ำคัญต่อสขุ ภาพอยา่ งไร อธบิ าย2. ใหน้ กั เรยี นบอกสาเหตุของปญั หามลพิษตามหวั ข้อตอ่ ไปน้ี พร้อมทั้งบอกผลกระทบทม่ี ตี อ่ สขุ ภาพ • มลพษิ ทางนำ้� • มลพิษทางอากาศ • มลพิษทางดนิ • มลพษิ ทางเสยี ง3. นกั เรียนคิดว่าการตัดไมท้ ำ� ลายปา่ ก่อให้เกดิ ผลเสยี อยา่ งไรบา้ ง4. การท้งิ ขยะมูลฝอยและสิง่ ปฏิกูลไมถ่ ูกที่ กอ่ ให้เกดิ ปญั หาต่อสงิ่ แวดล้อมอยา่ งไรบา้ ง5. ให้บอกวิธีป้องกนั และแกไ้ ขปญั หาสงิ่ แวดลอ้ มมา 5 ข้อ 39

หนว่ ยการเรยี นร้ทู ่ ี 4ปลอดภัยไว้กอ่ น ปลอดภยั ไวก้ ่อน ภยั ธรรมชาติ การปฏิบัติตนเพ่อื ความ ปลอดภยั จากภัยธรรมชาติลักษณะของภยั ธรรมชาติ ผลกระทบจากความรนุ แรง ของภัยธรรมชาติที่มีต่อ รา่ งกาย จติ ใจ และสังคม ตวั ชีว้ ัดชั้นป 1. วิเคราะห์ผลกระทบจากความรุนแรงของภัยธรรมชาติท่ีมีต่อร่างกาย จิตใจและสงั คม (พ 5.1 ป6/2) 2. ระบุวธิ ปี ฏบิ ตั ิตนเพ่ือความปลอดภยั จากภัยธรรมชาตไิ ด้ (พ 5.1 ป6/2)40 หนังสือเรยี นสุขศกึ ษา ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี 6 เล่ม 1

ภัยธรรมชาติ ภยั ธรรมชาติ หมายถึง ภัยอันตรายตา่ งๆ ท่ี เกดิ ขนึ้ ไดท้ กุ เวลา การมคี วามรู้ ความเขา้ ใจเกยี่ วกบัเกดิ จากการเปลยี่ นแปลงของธรรมชาตแิ ละกอ่ ใหเ้ กดิ ลักษณะของภัยธรรมชาติ ตลอดจนการปฏิบัติตนผลเสยี ตอ่ ชวี ติ และทรพั ยส์ นิ ปจั จบุ นั ภยั ธรรมชาตนิ บั เพ่ือให้เกิดความปลอดภัย จะช่วยลดความรุนแรงวา่ มคี วามรนุ แรงมากขนึ้ สาเหตสุ �ำคญั ประการหนง่ึ และความสูญเสยี ทีอ่ าจเกิดขน้ึ ได้เปน็ ผลจากภาวะโลกรอ้ น ภยั ธรรมชาตติ า่ งๆ สามารถลักษณะของภยั ธรรมชาติ และการปฏบิ ตั ิตนเพ่ือความปลอดภัย 1 วาตภยั วาตภัย หรือพายุฝนฟ้าคะนอง เป็นภัยท่ีเกิดจากลมพายุ บางคร้ังมีฝนฟ้าคะนองร่วมด้วย เช่น พายุไต้ฝุ่น ซ่ึงมีความรุนแรงมาก สามารถท�ำลายบ้านเมือง ชีวิต และทรัยพ์สินเสียหายเป็น จ�ำนวนมาก การปอ้ งกันและวธิ ีการปฏิบัติเม่อื เกดิ พายฝุ นฟ้าคะนองสามารถปฏบิ ัตไิ ดด้ งั น้ี 1. ติดตามขา่ วพยากรณอ์ ากาศอย่เู สมอ เม่อื ได้รับค�ำเตือนใหป้ ฏิบตั ติ ามทันที 2. ควรอยู่ในอาคารหรอื บ้านเรอื นขนาดใหญท่ ม่ี คี วามมัน่ คงแขง็ แรง 3. หา้ มออกเรอื ในกรณอี ยใู่ นทะเลใหร้ ีบเขา้ ฝั่งทันที 4. ปลดสะพานไฟ ดบั ไฟหุงต้ม และปิดวาล์วแกส๊ ให้เรียบรอ้ ย 5. ควรน�ำเทปมาปิดกระจกหนา้ ต่างเป็นรูปกากบาท และนำ� กระดาษมาปดิ หน้าต่างอีกที หน่ึงเพอื่ ปอ้ งกันเศษกระจกแตก 6. จัดเตรยี มสิ่งของจำ� เปน็ เช่น น�ำ้ อาหารแหง้ ไฟฉาย อุปกรณ์ปฐมพยาบาลไวใ้ หพ้ รอ้ ม 7. ไมค่ วรอยใู่ นทโี่ ลง่ และควรออกหา่ ง จากวตั ถทุ เี่ ปน็ สอ่ื ไฟฟา้ ทกุ ชนดิ เชน่ ลวด โลหะ เครอื่ งประดับพวกนาก ทองแดง ทองเหลอื ง ตน้ ไม้สงู ๆ ที่ อยู่ในท่แี จง้ เปน็ ต้น 8. งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ยกเว้นกรณี จ�ำเป็น 41

2 อทุ กภยั หากจา� เปน็ ตอ้ งอยใู่ นทรี่ าบลมุ่ หรอื ทที่ เี่ สย่ี งตอ่ การเกดิ นา้� ทว่ ม ควรมกี ารปอ้ งกนั หรอื วางแผน อทุ กภยั คือ ภยั จากนา้� ทว่ ม ทง้ั น�า้ ท่วมฉบั อพยพไวล้ ว่ งหน้าพลัน และน้�าป่าไหลหลาก ซ่ึงท�าให้เกิดความเสีย 2. เตรียมเสบียง และอุปกรณ์ไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน หายตอ่ ชวี ิตและทรพั ย์สิน รวมถึงการเจ็บปว่ ยด้วย เช่น ขา้ วสาร อาหารแหง้ ยา หว่ งยาง ไฟฉาย โรคระบาดหลงั นา�้ ทว่ มดว้ ย สว่ นใหญเ่ กดิ จากการท่ี เส้อื ชชู พี เรือ ถงุ ทราย เปน็ ตน้ฝนตกหนกั เปน็ เวลาหลายชว่ั โมงหรอื หลายวนั ตดิ ตอ่ 3. ติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศและการกัน การป้องกันเพื่อลดความสูญเสียจากอุทกภัย เตือนภัยจากส่อื ต่างๆ อย่างสม�า่ เสมอสามารถปฏบิ ัตไิ ดด้ งั น้ี1. หลีกเล่ียงการก่อสร้างบ้านในที่ราบลุ่มหรือ อยู่ใกล้บริเวณภูเขาที่เสี่ยงต่อการเกิดน้�าท่วม เพอ่ื ใหเ้ กิดความปลอดภยั ขณะเกิดอุทกภยั เราควรปฏบิ ตั ดิ ังน้ี 1. เคลอ่ื นยา้ ยสง่ิ ของ ยานพาหนะ และสตั วเ์ ลย้ี งไปอยทู่ ส่ี งู และปลอดภยั 2. อย่าใชย้ านพาหนะสัญจรบนถนนทีน่ ้�าก�าลงั ท่วม 3. ระวังสัตว์ร้ายเข้ามาในบา้ น เช่น งู แมงปอ่ ง ตะขาบ เปน็ ตน้ 4. บริโภคอาหารและน้า� ทสี่ ะอาด 5. รวบรวมขยะและส่งิ ขบั ถ่ายไว้ในที่ที่กา� หนด42 หนงั สอื เรยี นสขุ ศึกษา ช้นั ประถมศกึ ษาปีท่ี 6 เลม่ 1

3 โคลนถลม่ โคลนถลม่ เปน็ ภยั ธรรมชาตทิ เ่ี กดิ ขน้ึ ตามเชงิ เขา อาจเปน็ การถลม่ ของโคลน นา้� สง่ิ ปฏกิ ลู เศษขยะ ดนิ เปย ก ฝนุ่ ผง เถา้ ภเู ขาไฟ ตน้ ไม ้ และทอ่ นซงุ โคลนถลม่ อาจเกดิ หลงั จากฝนตกหนกั นา้� ทว่ มฉบั พลนั หรอืแผน่ ดนิ ไหว สาเหตหุ นงึ่ ทที่ า� ใหเ้ กดิ โคลนถลม่ คอื การตดั ตน้ ไมท้ า� ลายปา่ ทา� ใหไ้ มม่ รี ากไมท้ ยี่ ดึ ดนิ จงึ เกดิ ดนิโคลนถล่มได้ง่ายทม่ี า : www.paipibut.orgกระบวนการเกิดดินหรือโคลนดนิ ถลม่ พอสรปุ ได้ดังนี้ หลงั จากฝนตกหนกั นา้� จะซมึ ลงไปในดนิ อยา่ งรวดเรว็ จนดนิ ทอี่ มุ้ นา�้ เกดิ การอม่ิ ตวั ทา� ใหแ้ รงยดึ เกาะระหวา่ งมวลดนิ ลดลง ระดบั นา้� ใตผ้ วิ ดนิ สงู และไหลตามชอ่ งวา่ งระหวา่ งดนิ ตามความลาดชนั ของภเู ขา และเมอ่ื มกี ารเปลยี่ นแปลงความชนั จนเกดิ เปน็ นา้� ผดุ จะเปน็ จดุ แรกทมี่ กี ารเลอื่ นไหลของดนิ หลงั จากนนั้ ดนิ จะเล่อื นไหลต่อเนอ่ื งไปตามลาดเขาขอ้ สงั เกตหรอื สง่ิ บอกเหตกุ อ่ นเกดิ โคลนถลม่ มดี งั น้ี การปฏิบตั เิ พื่อป้องกันอันตรายจากโคลนถลม่1. ฝนตกหนกั ถงึ หนักมาก 1. อย่าปลูกบ้านหรือสิ่งก่อสร้างขวางทางน�้าหรือ (มากกวา่ 100 มิลลิเมตรตอ่ วนั )2. น้�าในลา� ห้วยสงู ขน้ึ อยา่ งรวดเร็ว ใกล้ลา� น�า้ มากเกินไป และเปลยี่ นแปลงสขี องดินภูเขา 2. ปลกู ตน้ ไมเ้ พอื่ ชว่ ยดดู ซบั นา้� ไมต่ ดั ไมท้ า� ลายปา่3. มีเสียงดังอ้อื องึ ผิดปกตจิ ากภเู ขาและล�าหว้ ย 3. ตดิ ตามฟงั ขา่ วพยากรณอ์ ากาศ เพอื่ จะไดท้ ราบ สถานการณ ์ โดยเฉพาะเมอื่ เกดิ ภาวะฝนตกหนกั 43

4 คลนื่ สึนามิ ท่มี า : http://www.thairath.co.th คล่ืนสึนามิ คือ คลื่นท่ีมีขนาดใหญ ่ มกั มจี ดุ กา� เนดิ ในเขตทะเลลกึ ซงึ่ เกดิ หลงั จาก มแี ผน่ ดนิ ไหวขนาดใหญ ่ แผน่ ดนิ ไหวใตท้ ะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรือ อกุ กาบาตขนาดใหญต่ กลงในทะเล คลน่ื สนึ ามิ มีพลังมหาศาลในการกัดเซาะให้พังทลาย จากความสูงของคลื่นที่สูงกว่าระดับน้�าทะเล 10-30 เมตร จึงสามารถท�าลายพ้ืนท่ีชายฝั่ง ท�าให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้ อย่างมหาศาล สา� หรบั ประเทศไทย คลนื่ สนึ ามกิ อ่ ใหเ้ กดิ ความเสยี หายอยา่ งใหญห่ ลวงเมอ่ื เดอื นธนั วาคม พ.ศ. 2547 มผี คู้ นเสียชีวิตจ�านวนมาก บ้านเรอื น ตลอดจนส่งิ ก่อสร้างทีอ่ ยู่รมิ ทะเลเสียหายเปน็ จา� นวนมาก การปฏิบัตติ นเพื่อป้องกนั อันตรายจากคลนื่ สึนามิ สามารถทา� ไดด้ ังน้ี 1. ฟงั สญั ญาณเตือนภัย และปฏบิ ัตติ ามค�าแนะนา� อย่างเคร่งครดั 2. ไม่ควรตื่นตระหนก ควรอพยพดว้ ยความมีสตติ ลอดเวลา 3. รจู้ กั สงั เกตการเกดิ คลนื่ สนึ าม ิ คอื เมอื่ ระดบั นา�้ ทชี่ ายหาดลดตา�่ กวา่ ระดบั นา้� ลงตา่� สดุ ตามปกตเิ ปน็ อยา่ ง มาก จนมองเหน็ แนวชายฝง่ั ออกไปไดไ้ กล หรอื รสู้ กึ วา่ แผน่ ดนิ ไหว หรอื พน้ื ดนิ สน่ั สะเทอื นขณะอยใู่ กล้ ชายหาด ให้รีบออกจากบรเิ วณชายหาด ขน้ึ ไปอยู่ในทสี่ งู ทันที44

5 แผ่นดนิ ไหว 4. วางเครื่องใช้หนัก ๆ ไว้บนพ้ืนราบและผูกยึด โตะ๊ ตู้ เพอ่ื ปอ้ งกนั การเลื่อนหลุด หรอื ลม้ ทับ แผน่ ดนิ ไหว เปน็ ปรากฏการณท์ างธรรมชาติท่ีเกิดขึ้นจากการระบายพลังงาน ท�าให้เกิดคล่ืน 5. เมอื่ เกดิ แผน่ ดนิ ไหวควรควบคมุ สต ิ ไมว่ ง่ิ ไปมาการส่ันสะเทือนกระจายไปโดยรอบ ผลกระทบ 6. ถ้าอยู่ในอาคารให้อยู่ในจุดที่มีโครงสร้างของการสน่ั สะเทอื นทา� ใหเ้ กดิ การเคลอ่ื นไหว การยบุ ตวั และการเคลอ่ื นของแผน่ ดนิ ซงึ่ ทา� ใหอ้ าคาร แขง็ แรง งดใช้ลฟิ ต์บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้รับความเสียหาย 7. ถ้าอยู่นอกอาคารควรอยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าเพอ่ื ความปลอดภยั เราควรเตรยี มพรอ้ มและมกี ารปอ้ งกันอนั ตรายเมอื่ เกิดแผน่ ดินไหวดงั น้ี ป้ายโฆษณา หรอื ต้นไม้ใหญ่ 1. ตดิ ตามข่าวสารจากทางราชการ 2. นา� อปุ กรณห์ นภี ยั เชน่ รองเทา้ ไฟฉาย เครือ่ งมอื สื่อสาร ติดตวั ไปดว้ ย 3. เตรียมอาหารแห้ง น�้าดื่ม ยา และ อุปกรณป์ ฐมพยาบาลไวใ้ ห้พร้อม 6 ไฟปา ไฟปา เป็นภัยธรรมชาติท่ีมีผลมาจากการกระท�าของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ เช่น การเผาป่า การเผาท�าไร่เล่ือนลอย เปน็ ตน้ หรอื เกดิ จากการเสียดสีของตน้ ไม้แห้ง ท�าใหเ้ กิดมลพษิในอากาศ ผงฝุ่น ควันไฟกระจายในอากาศ ท�าให้มองเห็นไม่ชัดเจน สง่ ผลเสียตอ่ สขุ ภาพ ทรัพยากรธรรมชาต ิ และสิง่ มชี วี ติโดยรวมการปฏบิ ตั ติ นเพอื่ ป้องกนั ไฟปา1. ตดิ ตามสภาวะอากาศ ฟังคา� เตือนจากกรมอตุ ุนิยมวทิ ยา2. ดบั ไฟหงุ ต้ม กองไฟให้ความอบอนุ่ หรือกน้ บหุ ร่ีทกุ คร้งั3. ตดั แต่งก่ิงไมใ้ ห้อยู่หา่ งจากเสาไฟ4. ไม่เผาท�าลายป่าไม้5. ชว่ ยกนั ปลกู ตน้ ไม ้ เพอ่ื ปอ้ งกนั ภยั แลง้ และลดภาวะโลกรอ้ น 45

กจิ กรรมเสริมความเข้าใจ ใหน้ กั เรยี นหาขา่ วภยั ธรรมชาตทิ เ่ี กดิ ขนึ้ ในประเทศไทย หรอื ตา่ งประเทศพรอ้ มทงั้ วเิ คราะหผ์ ลกระทบ จากการเกดิ ภยั ธรรมชาติ จากหนังสือ ฉบับท่ี เดอื น พ.ศ หน้า ผลกระทบจากความรุนแรงของภัยธรรมชาต ิ คอื การปฏิบัตติ นถ้าอยู่ในสถานการณ์46 หนงั สอื เรยี นสขุ ศกึ ษา ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 6 เล่ม 1

แบบฝกึ หดั ทา้ ยหนว่ ยการเรยี นรู้ใหน้ กั เรียนตอบค�ำถามต่อไปนี้1. ลักษณะของภัยธรรมชาตมิ ีอะไรบา้ ง2. ความรนุ แรงของภยั ธรรมชาตกิ ่อใหเ้ กดิ ผลกระทบต่อรา่ งกาย จิตใจ และสงั คมอย่างไร3. การตัดไม้ทำ� ลายป่ากอ่ ให้เกิดภัยธรรมชาตไิ ด้หรือไม่ อธิบาย4. เมือ่ นักเรยี นรู้ล่วงหน้าวา่ จะเกิดวาตภยั นักเรียนควรเตรยี มตัวล่วงหนา้ อย่างไร5. ถา้ นกั เรยี นประสบปัญหาอุทกภัย นกั เรยี นควรปฏบิ ตั ิอย่างไร6. ให้บอกวธิ ีการปฏิบัตติ นเมือ่ เกดิ แผน่ ดนิ ไหว7. เพอ่ื ให้เกดิ ความปลอดภยั จากภยั ธรรมชาติ นักเรียนควรมกี ารเตรยี มตวั ลว่ งหนา้ อยา่ งไรบ้าง 47

บรรณานุกรม กองบรรณาธิการวารสารแม็ค. แมค็ ประถมปลาย. กรงุ เทพฯ : วพี รนิ้ ท์, 2548. เชาวลิต ภูมิภาค และคณะ. สขุ ศกึ ษาและพลศกึ ษา ป.5 กรงุ เทพฯ : สำ� นักพิมพ์วัฒนาพานชิ , 2551. สภากาชาดไทย. คูม่ ือการปฏบิ ตั ิเมอ่ื เกดิ สาธารณภยั . กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พป์ ระยรู , 2541. สุจติ รา สุคนธทิพย์ และจนิ ตนา บรรลือศักดิ์. สุขศึกษา ป.5 กรุงเทพฯ : สำ� นกั พมิ พแ์ ม็ค, 2552. http://www.anamai.moph.go.th http://www.bangkokhealth.com http://www.wikipedia.org48 หนงั สือเรยี นสุขศกึ ษา ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 6 เล่ม 1


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook