วิ ช า ฟิสิ ก ส์ สนามแม่เหล็กไฟฟ้า จัดทำโดย นางสาวธนพร แก้วปาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 เลขที่ 15 เสนอ ครูรุจิรา คลังคง
สารบัญ สนามแม่เหล็ก 1 5 แรงแม่เหล็ก 6 โมเมนต์ของแรงคู่ควบกระทำต่อขดลวดที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน 7 เมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก 8 กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำและอีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำ ไฟฟ้ากระแสสลับ
1 สนามแม่เหล็ก แม่เหล็กเป็นวัตถุที่ดึงดูดกับสารแม่เหล็กได้ แท่งแม่เหล็กที่หมุนได้อย่างอิสระในแนว ราบจะวางตัวในแนวเหนือ-ใต้เสมอ โดยปลายที่ชี้ไปทางทิศเหนือเรียกว่าขั้วเหนือ และ ปลายที่ไปทางทิศใต้เรียกว่าขั้วใต้ คุณสมบัติดังกล่าวนำมาประดิษฐ์เป็นเข็มทิศเมื่อนำขั้ว แม่เหล็กเข้าใกล้กัน ขั้วเหมือนกันจะผลักกัน ขั้วต่างกันจะดึงดูดกัน สนามแม่เหล็ก เมื่อมีแม่เหล็กวางอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม แม่เหล็กนั้นจะส่งอำนาจแม่เหล็ก ออกไปรอบตัวในบริเวรนั้น ถ้าเอาแม่เหล็กอื่นหรือวัตถุที่เป็นเหล็กเข้าไปในบริเวณนั้นจะ เกิดแรงแม่เหล็กส่งมากระทำทันทีจากแม่เหล็กที่วางอยู่ก่อนนั้น อย่างนี้เราถือว่าแม่เหล็ก หรือสารแม่เหล็กที่เรานำเข้าไปทีหลังไปอยู่ในบริเวณซึ่งเป็น สนามแม่เหล็กของแม่เหล็ก อันแรกถ้าเราถอยแม่เหล็กหรือสารแม่เหล็กนั้นออกมาให้ห่างมาก ๆ แรงแม่เหล็กที่เคย เกิดขึ้นดังกล่าวจะหมดไป หมายความว่า แม่เหล็กอันแรกส่งแรงไปกระทำไม่ถึง จึงเห็นได้ ว่าสนามแม่เหล็กคือ บริเวณรอบ ๆ แม่เหล็ก ซึ่งแท่งแม่เหล็กนั้นสามารถส่งอำนาจแม่ เหล็กไปถึง เส้นแรงแม่เหล็ก เป็นเส้นที่แสดงทิศของสนามแม่เหล็กรอบๆ แท่งแม่เหล็ก นอกจาก นั้นยังแสดงความเข้มของสนามแม่เหล็กด้วย ทิศของสนามคือ ทิศของแรงนี้กระทำกับขั้ว เหนือ ในสนามแม่เหล็กเส้นแรงแม่เหล็กแสดงให้เห็นได้โดยใช้ผงเหล็กโรยรอบๆ แท่งแม่ เหล็ก หรือการระบุตำแหน่งของเข็มทิศ เล็กๆ ณ จุดต่างๆ รอบๆ แท่งแม่เหล็ก การวัด ความเข้มของสนามแม่เหล็กที่จุดๆหนึ่ง แสดงได้โดย เส้นแรงแม่เหล็กที่อยู่ชิดกัน เส้นแรง แม่เหล็กที่อยู่ภายนอกแท่งแม่เหล็กจะทิศทางออกจากขั้ว N และวนเข้าหาขั้ว S ส่วนเส้น แรงภายในแท่งแม่เหล็กเอง มีทิศพุ่งจากขั้ว S ไปยังขั้ว N
2 ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก มนุษย์ใช้ประโยชน์จากสนามแม่เหล็กโลก หลังจากได้พบว่า เมื่อวางแม่เหล็กแท่งเล็กๆ บนแกน ให้หมุนในแนวราบได้อย่างอิสระ แม่เหล็กจะวางตัวในแนวเหนือ-ใต้เสมอ จึงนำ สมบัตินี้มาสร้าง เข็มทิศ (compass) เพื่อใช้บอกทิศทาง นอกจากนีสนามแม่เหล็กโลกยัง มีความสำคัญต่อชีวิตบนโลกและทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงามอีกด้วย สนามแม่เหล็กโลกทำหน้าที่ป้องกันชีวิตให้ปลอดอันตรายจาก ลมสุริยะ (solar wind) ซึ่งเป็นกระแสอนุภาคที่มีประจุ (ส่วนใหญ่เป็นโปรตอน อิเล็กตรอนและนิวเคลียสของฮี เลียน) ที่พุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์ เพื่อไม่ให้อนุภาคเหล่านั้นผ่านชั้นบรรยากาศของโลก ลมสุริยะที่มาปะทะสนามแม่เหล็กโลกจะถูกเบี่ยงเบนอ้อมโลก อันตรกิริยาระหว่างสนาม แม่เหล็กโลกกับลมสุริยะทำให้สนามแม่เหล็กโลกด้านตรงข้ามดวงอาทิตย์ลู่ไปคล้ายหาง ของดาวหาง ซึ่งเรียกว่า แมกนีโตสเฟียร์ (magnetosphere) ดังรูป แต่ก็มีอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าจากลมสุริยะบางส่วนถูกสนามแม่เหล็กโลกผลักให้ผ่านเข้า บรรยากาศบริเวณขั้วแม่เหล็กโลก เมื่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเหล่านี้ชนกับโมเลกุลของ ออกซิเจนและไนโตรเจน ในบรรยากาศที่ระดับ 100 - 300 กิโลเมตร โมเลกุลของออกซิเจน และไนโตรเจน ก็จะปล่อยแสงในช่วงที่ตาเห็นออกมา เรียกว่า ออโรรา (aurora) มักเกิดใน ท้องฟ้าตอนกลางคืนหรือพลบค่ำ บริเวณใกล้ขั้วแม่เหล็กโลก มีลักษณะคล้ายผ้าม่านที่เป็น ริ้วสะบัดไปมา มักมีสีเขียวหรือสีแดง ออโรราที่เกิดบริเวณขั้วโลกเหนือ เรียกว่า แสงเหนือ (northern lights หรือ aurora borealis) ออโรราที่เกิดบริเวณขั้วโลกใต้เรียกว่า แสงใต้ (southern lights หรือ aurora australis)
ฟลักซ์แม่เหล็ก 3 เส้นสนามแม่เหล็กแผ่ออกจากขั้วเหนือเป็นบริเวณสามมิติ บริเวณใกล้ขั้วแม่เหล็กทั้ง สองจะมีเส้นสนามแม่เหล็กหนาแน่นยิ่งกว่าบริเวณอื่น ถ้าพิจารณาพื้นที่ในบริเวณที่มี สนามแม่เหล็ก เรียกเส้นสนามแม่เหล็กที่ผ่านพื้นที่นี้ว่า ฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux) พบว่าบริเวณใกล้ขั้วแม่เหล็กจะมีฟลักซ์แม่เหล็กหนาแน่นและฟลักซ์แม่เหล็กจะหนาแน่น น้อยลงเมื่อบริเวณอยู่ห่างขั้วแม่เหล็ก ดังรูป อัตราส่วนระหว่างฟลักซ์แม่เหล็กต่อพื้นที่ตั้งฉากกับสนามหนึ่งตารางหน่วย เรียกว่า ขนาดของสนามแม่เหล็ก หรือ ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux density) ถ้าให้ เป็นขนาดฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านพื้นที่ มีหน่วยเวเบอร์ (weber หรือ Wb) A เป็นพื้นที่ที่ตั้งฉากกับฟลักซ์แม่เหล็ก มีหน่วยตารางเมตร B เป็นความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก หรือขนาดของสนามแม่เหล็ก จะได้ความสัมพันธ์ ดังนี้ สนามแม่เหล็กมีหน่วย เวเบอร์ต่อตารางเมตร หรือเทสลา (tesla หรือ T) การเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าในสนามแม่เหล็ก เมื่ออิเล็กตรอนซึ่งเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบ เคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับสนามแม่ เหล็กที่มีทิศพุ่งเข้าและตั้งฉากกับกระดาษ แนวการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจะเบนโค้ง ลง แสดงว่ามีแรงกระทำต่ออิเล็กตรอนในทิศลง เมื่อกลับทิศของสนามแม่เหล็กแนวการ เคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจะเบนโค้งขึ้น แสดงว่ามีแรงกระทำต่ออิเล็กตรอนในทิศขึ้น แรง เนื่องจากสนามแม่เหล็กกระทำต่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เรียกว่า แรงแม่เหล็ก (magnetic force)
ในการหาทิศทางของแรงที่กระทำต่ออิเล็กตรอนซึ่งเป็นอนุภาคประจุไฟฟ้าลบ ใช้ 4 มือขวาโดยหันนิ้วทั้งสี่ไปทางทิศของความเร็ว วนนิ้วทั้งสี่ไปหาสนามแม่เหล็ก นิ้วหัวแม่ มือจะชี้ไปทางทิศตรงข้ามกับทิศของแรง สำหรับการหาทิศของแรงที่กระทำต่ออนุภาค ที่มีประจุไฟฟ้าบวก ยังคงใช้มือขวา นิ้วหัวแม่มือจะชี้ไปทางทิศของแรง ก. อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบ ข. อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก เนื่องจากปริมาณทั้งสามคือความเร็ว สนามแม่เหล็กและแรงมีทิศตั้งฉากกันและกัน และ q เป็นประจุไฟฟ้าของอนุภาค พบว่าปริมาณเหล่านี้มีความสัมพันธ์กัน โดยหา ขนาดของแรงได้ดังนี้ F = qvB
5 แรงแม่เหล็ก อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า q เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v ในทิศตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก จะมีแรงแม่เหล็ก กระทำต่ออนุภาคมีขนาด F = qvB แต่ถ้าเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v มีทิศทางทำมุม กับสนามแม่เหล็ก จะมีแรงแม่เหล็ก กระทำต่ออนุภาคมี ขนาด F = qvBsin หาทิศทางโดยใช้มือขวา ชี้นิ้วทั้งสี่ไปตามทิศทางของความเร็ว แล้ววนนิ้วทั้งสี่ไปหาทิศทางสนามแม่เหล็ก นิ้วหัวแม่มือจะชี้ทิศทางของแรงที่กระทำต่อ ประจุบวก สำหรับประจุลบแรงจะมีทิศทางตรงข้ามกับนิ้วหัวแม่มือโดยแรงจะมีทิศทาง ตั้งฉากกับความเร็วของอนุภาคและสนามแม่เหล็ก ขนาดของแรงแม่เหล็ก ขนาดของแรงแม่เหล็กหาได้จากสมการ F = qvB เมื่อ q คือขนาดของประจุไฟฟ้ามีหน่วยคูลอมบ์ (C) v คือขนาดของความเร็วมีหน่วยเมตรต่อวินาที (m / s ) B คือขนาดของสนามแม่เหล็กมีหน่วยเทสลา (T) F คือขนาดของแรงมีหน่วยนิวตัน (N) ในกรณีอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v ทำมุม θกับสนามแม่เหล็ก พิจารณาได้ว่าอนุภาคนี้มีองค์ประกอบความเร็วของการเคลื่อนที่ทั้งในแนวขนานกับ สนามแม่เหล็กและในแนวตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กพร้อมกัน การเคลื่อนที่ในแนวขนาน กับสนามแม่เหล็กจะไม่มีแรงแม่เหล็กกระทำต่ออนุภาคส่วนการเคลื่อนที่ในแนวตั้งฉาก กับสนามแม่เหล็กจะแรงแม่เหล็กกระทำตามสมการ โดยความเร็วในสมการที่มีค่าเท่ากับ องค์ประกอบความเร็วในแนวตั้งฉาก (vsin θ) นั่นคือในกรณีนี้ ขนาดของแรง F ที่กระทำ ต่ออนุภาคหาได้จากการสมการ F = q(vsin θ) B F = qvsin θ เมื่อ θ เป็นมุมระหว่างความเร็ว v ของอนุภาคกับสนามแม่เหล็ก
6 อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า q มวล m เคลื่อนที่อยู่ในสนามแม่เหล็ก B ด้วยความเร็ว v มีทิศทางตั้งฉาก กับสนามแม่เหล็ก แรงแม่เหล็ก F ทำให้อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่แบบวงกลมที่มีรัศมีการ เคลื่อนที่ตามสมการ r = โดยทิศทางการเคลื่อนที่แบบวงกลมของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบ จะมีทิศทางตรงข้ามกับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก ลวดตัวนําเส้นตรงมีกระแสไฟฟ้าผ่าน I วางตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก B โดยมีความยาวของ ลวดตัวนำที่อยู่ในสนามแม่เหล็ก l จะมีขนาดแรงแม่เหล็ก F = IlB กระทำต่อลวดนั้น แต่ถ้าลวด ตัวนำเส้นตรงวางในทิศทางทำมุมθกับสนามแม่เหล็กจะมีขนาดของแรงแม่เหล็ก F= ILBsin θ หาทิศทางของแรงโดยใช้มือขวาชนิ้วทั้งสีไปตามทิศทางของกระแสไฟฟ้าแล้ววนนิ้วทั้งสี่ไปหาทิศทาง สนามแม่เหล็กนิ้วหัวแม่มือจะชี้ทิศทางของแรงโดยแรงแม่เหล็กจะมีทิศทางตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก และกระแสไฟฟ้าที่ผ่านลวดตัวนำ ลวดตัวนำสองเส้นที่วางขนานกันและมีกระแสไฟฟ้าผ่าน จะเกิดแรงกระทำระหว่างลวดตัวนำทั้ง สอง โดยจะเป็นแรงดึงดูด เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำทั้งสองในทิศทางเดียวกันและจะเป็นแรง ผลัก เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำทั้งสองในทิศทางตรงข้ามกัน โมเมนต์ของแรงคู่ควบกระทำต่อขดลวดที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน เมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก ขดลวดตัวนำ N รอบพื้นที่ A ที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน I ขณะวางให้ระนาบขดลวดขนาน กับสนามแม่เหล็ก B จะเกิดโมเมนต์ของแรงคู่ควบกระทำต่อขดลวดมีขนาดมากที่สุด ตามสมการ M = NIAB ขณะที่ระนาบขดลวดทำมุม θ กับสนามแม่เหล็ก B โมเมนต์ของ แรงคู่ควบกระทำต่อขดลวดจะมีขนาดเป็น M = NIABcos θ แกลแวนอมิเตอร์เป็นเครื่องวัดไฟฟ้า ประกอบด้วยขดลวดที่ยึดติดกับแกนหมุนได้ คล่อง ปลายแกนติดกับสปริงก้นหอย และเข็มชี้ติดกับขดลวดและแกน อยู่ในสนามแม่ เหล็กเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดจะเกิดโมเมนต์ของแรงคู่ควบทำให้ขดลวดหมุน พร้อมกับเข็มขี้เบนไปจนกระทั่งโมเมนต์ของแรงคู่ควบที่กระทำกับขดลวดเท่ากับ โมเมนต์ของแรงบิดกลับของสปริงก้นหอยขดลวดก็จะหยุดหมุนและเข็มก็จะหยุดนิ่งมุม ที่เข็มขี้เบนไปขึ้นกับกระแสไฟฟ้าที่ผ่านขดลวด มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นอุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ประกอบ ด้วยลวดที่ยึดติดกับแกนซึ่งหมุนได้คล่องอยู่ในสนามแม่เหล็ก มีส่วนที่ทำหน้าที่เปลี่ยน ทิศทางของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านขดลวด ได้แก่ คอมมิวเทเตอร์วงแหวนผ่าซีกและแปรง สัมผัสเมื่อกระแสไฟฟ้าขดลวดจะเกิดโมเมนต์แรงคู่ควบหมุนขดลวดอย่างต่อเนื่องใน ทิศทางเดิม
กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำและอีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำ 7 เมื่อฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านพื้นที่หน้าตัดขดลวดตัวนำเปลี่ยนแปลง จะทำให้เกิดกระแส ไฟฟ้าในขดลวดเรียกกระแสไฟฟ้านี้ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำและเรียกการทำให้เกิด กระแสไฟฟ้าในตัวนำด้วยสนามแม่เหล็กว่า การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ฟาราเดย์เสนอกฎการเหนี่ยวนำสรุปได้ว่า เมื่อมีฟลักซ์แม่เหล็กเปลี่ยนแปลงตัดขด ลวดตัวนำ ทำให้เกิดอีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำในขดลวดตัวนำนั้น ซึ่งมีค่าขึ้นกับอัตราการ เปลี่ยนแปลงของฟลักซ์แม่เหล็กที่ตัดขดลวดตัวนำ ส่วนทิศทางของกระแสเหนี่ยวนำเป็น ไปตามกฎของเลนซ์ ทำให้สมการอีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำตามกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ พร้อมกับกฎของเลนซ์เขียนแทนได้ด้วยสมการ เครื่องหมายลบเป็นไปตาม กฎของเลนซ์ หมายถึงกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำซึ่งเกิดจากอีเอ็มเอฟเหนียวนำทำให้เกิด สนามแม่เหล็กในทิศทางด้านการเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์แม่เหล็กที่มาเหนี่ยวนำ ให้เกิด กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าประกอบด้วย ขดลวดพันอยู่บนแกนที่หมุนได้คล่องอยู่ในสนามแม่เหล็ก ปลายขดลวดทั้งสองต่ออยู่กับ วงแหวนซึ่งสัมผัสกับแปรงสัมผัส เมื่อหมุนขดลวด จะทำให้ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดมี การเปลี่ยนแปลง เกิดอีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำในขดลวด และเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำเมื่อ ต่อแปรงกับอุปกรณ์ภายนอก จะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงเมื่อใช้วงแหวนผ่าซีก สัมผัสกับแปรงสัมผัส และเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับเมื่อใช้วงแหวนแยกสัมผัส กับแปรงสัมผัส ความรู้เกี่ยวกับอีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำถูกนำไปใช้อธิบายอุปกรณ์ต่างๆเช่น เครื่องกำเนิด ไฟฟ้าแบลลัสต์แบบขดลวดของหลอดฟลูออเรสเซนต์ มอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ กีตาร์ไฟฟ้า เตาแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
ไฟฟ้ากระแสสลับ 8 เมื่อนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับไปต่อกับตัวต้านทานจะมีกระแสไฟฟ้า i ผ่าน ตัวต้านทานและความต่างศักย์ v ระหว่างปลายของตัวต้านทานเป็น เมื่อ และ และ เป็นกระแสไฟฟ้าสูงสุดและความต่างศักย์สูงสุด กระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ของไฟฟ้ากระแสสลับ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงวัดหรือระบุเป็นค่าคงตัว โดยใช้ค่ายังผลหรือค่ามิเตอร์ ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยแบบรากที่สอง ของกำลังสองเฉลี่ยคำนวณได้จากสมการ เมื่อ และ เป็นค่าอาร์เอ็มเอสของกระแสไฟฟ้า และค่าอาร์เอ็มเอส ของความต่างศักย์ตามลำดับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟสประกอบด้วยขดลวดตัวนำ 3 ชุดโดยแต่ละ ชุดวางทำมุม 120 องศาซึ่งกันและกันเมื่อหมุนแท่งแม่เหล็กฟลักซ์แม่เหล็กจะตัด ผ่านขดลวดแต่ละชุดจะได้ไฟฟ้ากระแสสลับจากขดลวดแต่ละชุดมีเฟสต่างกัน 120 องศามีประสิทธิภาพในการผลิตและการส่งพลังงานไฟฟ้ามากกว่าเครื่องกำเนิด ไฟฟ้า 1 เฟส การส่งกำลังไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าไปยังสู่ผู้ใช้นั้น จะเกิดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าใน สายไฟฟ้า เพื่อลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าดังกล่าว จะต้องลดกระแสไฟฟ้าที่ส่งโดย การเพิ่มความต่างศักย์หรืออีเอ็มเอฟให้สูงขึ้น ก่อนทำการส่งกำลังไฟฟ้า แล้วจึงลด ความต่างศักย์ให้ต่ำลงจนเหมาะกับการใช้งานโดยใช้หม้อแปลง
หม้อแปลงประกอบด้วยขดลวด 2 ชุด พันอยู่บนแกนเหล็กเดียวกัน โดยขดลวดที่ใช้ 9 ต่อกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเรียกว่า ขดลวดปฐมภูมิ และขดลวดที่ใช้ต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เรียกว่า ขดลวดทุติยภูมิเมื่อต่อขดลวดปฐมภูมิกับไฟฟ้ากระแสสลับจะเกิดอีเอ็มเอฟ เหนี่ยวนำในขดลวดทุติยภูมิ ซึ่งสัมพันธ์กับจำนวนรอบของขดลวดปฐมภูมิ N1 และ ทุติยภูมิ N2 ตามสมการเมื่อ เมื่อ คืออีเอ็มเอฟหรือความต่างศักย์ที่ขดลวดปฐมภูมิ คืออีเอ็มเอฟหรือความต่างศักย์ที่ขดลวดทุติยภูมิ
สนามแม่เหล็กไฟฟ้า
Search
Read the Text Version
- 1 - 12
Pages: