Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 4d9b9005-9110-4596-a1a1-7aebfc627f8d

4d9b9005-9110-4596-a1a1-7aebfc627f8d

Published by aom.no_11, 2022-07-30 09:58:59

Description: 4d9b9005-9110-4596-a1a1-7aebfc627f8d

Search

Read the Text Version

ลักษณะคำภาษาบาลี สันสกฤตในภาษาไทย ๔๑๑-๓๒๒ บาลีสันสกฤตประยุกต์ในภาษาไทย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา ๒๕๖๕

จัดทำโดย

คำนำ สารบัญ



ลักษณะของภาษาบาลี

ภาษาบาลี (บาลี: ปาลิ; สันสกฤต: पाऴि); (อังกฤษ: Pali) เป็ นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปี ยน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเร เนียน) ซึ่งจัดเป็ นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็ นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็ นภาษาที่ใช้บันทึก คัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิ ฎก เป็ นต้น)

โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มี อักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลี ด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทว นาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอมอักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้

กำเนิดและพัฒนาการ โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษา สันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มี หลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษร อินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษร ขอมอักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่ม เครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้

นักภาษาศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่าภาษาบาลีเป็ นภาษา ทางภาคตะวันตกของอินเดีย นักวิชาการชาวเยอรมันสมัย ปัจจุบันซึ่งเป็นนักสันสกฤตคือศาสตราจารย์ไมเคิล วิตเซล แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ถือว่าภาษาบาลี เป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย และเป็นคนละ ภาษากับภาษาจารึกของ พระเจ้าอโศกมหาราช

ภาษาบาลีมีพัฒนาการที่ยาวนาน มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ในพระพุทธ ศาสนา (เถรวาท) เป็นจำนวนมาก วิลเฮล์ม ไกเกอร์ (Wilhem Geiger) นักปราชญ์ บาลีชาวเยอรมัน ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ Pali Literatur und Sprache โดยวางทฤษฎีที่คนไทยรู้จักกันดีว่าภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้น สามารถแบ่งวิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค

วิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค ตามรูปลักษณะของภาษาที่ใช้ ดังนี้ · ยุคคาถา หรือยุคร้อยกรอง มีลักษณะการใช้คำที่ยังเกี่ยวพันกับภาษาไวทิกะซึ่งใช้บันทึก คัมภีร์พระเวทอยู่มาก · ยุคร้อยแก้ว มีรูปแบบที่เป็นภาษาอินโดอารยันสมัยกลาง แตกต่างจากสันสกฤตแบบ พระเวทอย่างเด่นชัด ภาษาในพระไตรปิฎกเขียนในยุคนี้ · ยุคร้อยกรองระยะหลัง เป็นช่วงเวลาหลังพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ย่อย เช่น มิลินท ปัญหา วิสุทธิมรรค เป็นต้น · ยุคร้อยกรองประดิษฐ์ เป็นการผสมผสาน ระหว่างภาษายุคเก่า และแบบใหม่ กล่าวคือ คนแต่งสร้างคำบาลีใหม่ ๆ ขึ้นใช้เพราะให้ดูสวยงาม

ปัจจุบัน การศึกษาบาลีเป็นไปเพื่อความเข้าใจคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ศูนย์กลางการศึกษาภาษา บาลีที่สำคัญคือประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเถรวาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ลาว ไทย กัมพูชา รวมทั้งศรีลังกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 มีการศึกษาภาษาบาลีในอินเดีย เฉพาะ ในประเทศไทยนั้น มีการศึกษาภาษาบาลีในวัดมาช้านาน และยังมีเปิดสอนในลักษณะหลักสูตร เร่งรัดที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งกล่าวคือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราช วิทยาลัย โดยเฉพาะที่มหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น ได้ดำเนินการเรียนการสอนภาษาบาลีให้บรรดา แม่ชี ซึ่งแบ่งเป็น ๙ ชั้นเรียกว่า บ.ศ. 1-9 มาเป็นเวลาช้านาน และปัจจุบันนี้ ก็มีแม่ชีสำเร็จการ ศึกษาเปรียญ ๙ ตามระบบนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย มีโรงเรียนสอนภาษาบาลี ให้กับ ภิกษุสามเณรทั่วประเทศไทย เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม

หน่วยเสียงในภาษาบาลี หน่วยภาษาบาลี แบ่งเป็นหน่วยเสียงสระ และหน่วยเสียงพยัญชนะ ดังนี้ 1. หน่วยเสียงสระ มีด้วยกัน 8 ตัว หรือ 8 หน่วยเสียง ได้แก่ อะ อา อิ อี เอ อุ อู โอ 2. หน่วยเสียงพยัญชนะ มีด้วยกัน 33 ตัว หรือ 33 หน่วยเสียง (ในภาษาสันสกฤต มี 34 หน่วยเสียง 35 ตัว) โดยแบ่งเป็นพยัญชนะวรรค 25 ตัว และพยัญชนะอวรรค 8 ตัว

(ที่มา : https://sites.google.com/site/skwgroup3/laksna-khxng-phasa-bali)

1. ภาษาบาลีมีพยัญชนะ 33 ตัว เป็นพยัญชนะวรรค 25 ตัว พยัญชนะเศษวรรค 8 ตัว 2. สระในภาษาบาลีมี 8 ตัว คือ อะอา อิ อีอุ อู เอ โอ 3. ภาษาบาลีมีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอนตายตัว ตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระประสมกับสระและพยัญชนะต้น เช่น ทุกข์= ตัวสะกด ตัวตาม คือ ตัวที่ตามหลังตัวสะกด เช่นสัตย สัจจ ทุกขเป็นต้น

4. ภาษาบาลีนิยมใช้ “ฬ” เช่น จุฬา กีฬาครุฬ เวฬุริยะ 5. ภาษาบาลีนิยมใช้ “ข” เขตเขม ขัย ขัตติยจักขุ ปักข์ ขมา 6. ภาษาบาลีนิยมใช้ “ริ” กลางพยางค์ เช่น ภริยา จริยา วิริยะสุริยะ อาจาริยะ กิริยา เป็นต้น 7. ภาษาบาลีนิยมอ่านเรียงพยางค์ เช่น อมตะ ปกติสรณะ อุตุ สามีเป็นต้น 8. ภาษาบาลีไม่นิยมคำควบกล้ำ เช่น ปชาปฐม ปณาม ปทุมปณต เป็นต้น

กิตติ ภริยา กิเลส มัจจุราช กิริยา มัจฉา กีฬา มัชฌิม เขต มหันต์ ขณะ เมตตา คิมหันต์ มิจฉา จตุบท มเหสี จิต มุสา จุฬา มัสสุ โจร รัตนา เจดีย์ โลหิต จุติ วัตถุ ฉิมพลี วิชา ญาติ วิญญาณ ดิถี วิตถาร ดารา วิริยะ ดุริยะ วิสุทธิ์ เดชะ วุฒิ ทัพพี สงกา ทิฐิ สังข์ นาฬิกา สงฆ์ นิพพาน สูญ นิลุ บน สิริ ปฏิทิน สันติ ปฏิบัติ สัญญาณ ปฐพี เสมหะ ปกติ สัจจะ ปัญญา สติ ปัจจัย โสมนัส บุคคล อิทธิ บัลลังก์ อัคคี บุปผา อัจฉรา โบกขรณี อนิจจา ปฐม อัชฌาสัย ปัญหา อายุ พยัคฆ์ โอวาท ภัตตา โอรส ภิกขุ โอกาส

ลักษณะภาษาสันสกฤต

1.พยัญชนะสันกฤต มี 35 ตัว คือ พยัญชนะบาลี 33 ตัว + 2 ตัว คือ ศ, ษ ฉะนั้นจึงสังเกตจากตัว ศ, ษ มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น กษัตริย์ ศึกษา เกษียร พฤกษ์ ศีรษะ เป็นต้น ยกเว้นคำไทยบางคำที่ใช้เขียนด้วยพยัญชนะทั้ง 2 ตัวนี้ เช่น ศอก ศึก ศอ เศร้า ศก ดาษ กระดาษ ฝรั่งเศส ฝีดาษ ฯลฯ 2.ไม่มีหลักการสะกดแน่นอน ภาษาสันสกฤต ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ข้ามวรรคกันได้ ไม่กำหนดตายตัว เช่น อัปสร เกษตร ปรัชญา อักษร เป็นต้น 3.สังเกตจากสระ สระในภาษาบาลี มี 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ส่วนสันสกฤต คือ สระภาษาบาลี 8 ตัว + เพิ่มอีก 6 ตัว คือ สระ ฤ ฤา ภ ภา ไอ เอา ถ้ามีสระเหล่านี้อยู่และสะกดไม่ตรงตามมาตราจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น ตฤณมัย ไอศวรรย์ เสาร์ ไปรษณีย์ ฤาษี คฤหาสน์ เป็นต้น

4.สังเกตจากคำที่มี “รร” อยู่ เช่น สรรค์ ธรรม์ วรรณ บรรพต ภรรยา บรรณารักษ์ มรรยาท กรรม ทรรศนะ สรรพ เป็นต้น 5. สังเกตจากคำที่มีคำว่า “เคราะห์” มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น เคราะห์ พิเคราะห์ สังเคราะห์ อนุเคราะห์เป็นต้น 6. สังเกตจากคำที่มี “ฑ”อยู่ เช่น จุฑา กรีฑา ครุฑ มณเทียร จัณฑาล เป็นต้น 7. สังเกตจากคำที่มี “รร”อยู่ เช่น สรรค์ ธรรม์ วรรณ บรรพต ภรรยา บรรณารักษ์ มรรยาท กรรม ทรรศนะ สรรพ เป็นต้น





คำสมาสแบบ สมาส คำสมาส แบบสนธิ และ นฤคหิตสนธิ

คำสมาสแบบสมาส คืออะไร? เป็นการสร้างคำจากการยืมคำในภาษาบาลีสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปแล้วนำมาชนต่อกัน ซึ่งอาจจะเป็นการชนกันระหว่างคำบาลีกับบาลี สันสกฤตกับสันสกฤต หรือคำบาลีกับสัน สฤตก็ได้

หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส 1. นำคำบาลีสันสกฤตมาชนกัน – วีระ + บุรุษ (สันสกฤต + สันสกฤต) 4. ให้อ่านออกเสียงเชื่อมกันระหว่างคำด้วย – วาตะ + ภัย (บาลี + บาลี) – สุขภาพ (สุก – ขะ – พาบ) ‘สุข’ คำเดียวจะ – นาฏ + ศิลป์ (บาลี + สันสกฤต) ไม่ออกเสียง ‘ขะ’ แต่ถ้านำมาสมาสแล้วให้ออก 2. นำคำที่ใช้ขยายมาวางไว้ข้างหน้ าคำหลัก เสียงเชื่อมกัน – คณิต (การคิดคำนวณ) + ศาสตร์ (วิชา) มี – ประวัติศาสตร์ ( ประ – หวัด – ติ – สาด) ความหมายว่า วิชาเกี่ยวกับการคิดคำนวณ ‘ประวัติ ‘ คำเดียวจะไม่ออกเสียง ‘ติ’ แต่ถ้านำมาส – หัตถ (มือ) + กรรม (การงาน) มีความ มาสแล้วให้ออกเสียงเชื่อมกัน หมายว่า งานที่ทำจากมือ หรืองานฝีมือ – อุทกภัย (อุ – ทก – กะ – พัย) อุทก’ คำ 3. ไม่ใส่สระ อะ (- ะ ) หรือเครื่องหมายการันต์ เดียวไม่ออกเสียง ‘กะ’ แต่ถ้านำมาสมาสแล้วให้ (-์) ระหว่างคำ ออกเสียงเชื่อมกัน – ศิลป์ + กรรม = ศิลปกรรม – ธุระ + กิจ = ธุรกิจ

คำสมาสแบบสนธิ คืออะไร? เป็ นคำสมาสอีกประเภทหนึ่ งที่ใช้วิธีการนำคำในภาษาบาลีสันสกฤต ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาเชื่อมกัน ทำให้สองคำนั้นกลมกลืนจนกลาย เป็นคำเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างคำที่ดูมีชั้นเชิงขึ้นมาจากการ สมาสคำในแบบแรก โดยจะมีหลักในการดังต่อไปนี้

หลักการสร้างคำสมาสแบบสนธิ





Good job!


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook