รายงานการศกึ ษา เรอื่ ง เกษตรกรรมในกรงุ เทพมหานคร รง. /2555 กองนโยบายและแผนงาน สํานักผังเมือง กรุงเทพมหานคร
คํานาํ รายงานการศึกษา เร่ือง พื้นที่เกษตรกรรมในกรุงเทพมหานคร จัดทําขึ้นเพื่อปรับปรุง ข้อมูลด้านเกษตรกรรมในพ้ืนท่ีกรุงเทพมหานคร จํานวน 26 เขตของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสภาพพื้นที่ ท่ีเปล่ียนแปลงไป และแนวทางการทําเกษตรอินทรีย์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทําเกษตรยุคใหม่ สาํ หรบั เป็นข้อมลู พ้ืนฐานประกอบการพิจารณาในการดาํ เนนิ การจดั ทําผงั เมืองรวมกรงุ เทพมหานคร การจัดทํารายงานการศึกษาได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสํานักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร กองนโยบายและแผนงาน สํานักผังเมือง จึงขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เก่ียวข้องมา ณ โอกาสน้ี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการศึกษาฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เก่ียวข้อง และผสู้ นใจต่อไป กลุ่มงานวจิ ยั 1 กองนโยบายและแผนงาน สํานักผังเมือง กรงุ เทพมหานคร มถิ ุนายน 2555
สารบญั หนา้ คาํ นาํ ก สารบญั ข สารบัญตาราง ง สารบัญแผนภูมิ จ พระราชพิธพี ชื มงคลจรดพระนังคลั แรกนาขวญั 1 พืน้ ทเ่ี กษตรกรรมในกรงุ เทพมหานครปี 2554 4 - ชนดิ การเกษตรในกรงุ เทพมหานคร 5 - จาํ นวนครวั เรอื นเกษตรกรในกรงุ เทพมหานคร 6 - พืน้ ท่ีปลกู พชื ในเขตตา่ งๆของกรุงเทพมหานคร 8 - จํานวนปศสุ ตั ว์และประมงทเ่ี ลย้ี งในเขตต่าง ๆ ของกรงุ เทพมหานคร 9 - การแบ่งพนื้ ท่ีการเกษตรตามกล่มุ เขตของกรงุ เทพมหานคร 12 - สถานการณเ์ กษตรกรรมทงั้ ประเทศในปี 2554 14 แนวคิดพนื้ ฐานของเกษตรอนิ ทรีย์ 17 - การหมุนเวยี นธาตอุ าหาร 18 - ความอดุ มสมบรู ณข์ องธาตุอาหารในดนิ 19 - ความหลากหลายท่ีสมั พนั ธ์กนั อยา่ งสมดุลในระบบนิเวศ 19 - การอนุรกั ษ์และฟ้ืนฟนู ิเวศการเกษตร 20 - พึง่ พากลไกธรรมชาตใิ นการทาํ เกษตร 21 - การพึ่งพาตนเองด้านปจั จัยการผลติ 21 - การพัฒนาเกษตรอินทรยี ข์ องไทย 24 - ทาํ ไมต้องเกษตรอินทรยี ์ 25 - มงุ่ เนน้ ดา้ นปัจจยั การผลติ ด้วยเกษตรอินทรยี ์ 26 พระราชบญั ญตั สิ ภาเกษตรกรแหง่ ชาติ พ.ศ. 2553 27 สรุป 31 บรรณานุกรม 32
สารบญั (ตอ่ ) หนา้ 33 ภาคผนวก ภาคผนวก 1 ขอ้ มูลพื้นฐานการเกษตรปี 2554 ภาคผนวก 2 ขอ้ มลู พืน้ ฐานการเกษตรปี 2553 ภาคผนวก 3 ขอ้ มูลพ้นื ฐานการเกษตรปี 2552 ภาคผนวก 4 ข้อมลู พน้ื ฐานการเกษตรปี 2551 ภาคผนวก 5 พระราชบัญญตั สิ ภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ผจู้ ัดทาํ รายงาน
สารบญั ตาราง หน้า ตารางที่ 1 จาํ นวนพื้นทกี่ ารเกษตรในแตล่ ะเขตของกรุงเทพมหานคร 4 ตารางท่ี 2 ชนิดการเกษตรในพ้ืนทกี่ รุงเทพมหานคร 5 ตารางท่ี 3 จํานวนครวั เรอื นของเกษตรกรในเขตตา่ ง ๆ ของกรงุ เทพมหานคร 6 ตารางท่ี 4 พ้นื ท่ีปลกู พืชในเขตต่างๆในกรงุ เทพมหานคร 8 ตารางที่ 5 จาํ นวนปศุสตั ว์ท่ีเล้ยี งในเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร 10 ตารางท่ี 6 พ้ืนท่ีการประมงชนิดต่างๆในกรุงเทพมหานคร 11
สารบญั แผนภมู ิ หนา้ 7 แผนภูมิแสดงจาํ นวนครวั เรอื นในเขตตา่ งๆในกรงุ เทพมหานคร
เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของคนไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ประเทศไทยเป็น ประเทศทอี่ ดุ มสมบูรณด์ า้ นทรพั ยากรธรรมชาติ เป็นอู่ข้าวอู่น้ํา จึงทําให้เกิดการสร้างนวัตกรรมแห่งการเกษตรไทย เป็นการขับเคล่ือนภาคการเกษตรไทยให้มีความก้าวหน้าทันต่อการเปล่ียนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีด้านการเกษตร ด้วยความมุ่งหวังให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน ให้การสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรไทยมีการดําเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อหลุดพ้น จากความทุกข์ ความแร้นแค้น และภาวะหน้ีสิน พร้อมท้ังสร้างแรงบันดาลใจในการดําเนินชีวิต ภายใต้กรอบ นโยบายทไ่ี ดก้ าํ หนดยุทธศาสตร์พัฒนาภาคเกษตรและวางแผน การดาํ เนินงานเป็นรูปธรรม ส่ิงสําคัญด้านเกษตรกรรมมุ่งเน้นเพื่อประโยชน์แก่เกษตรกร คือ การส่งเสริมสนับสนุนให้ เกษตรกรได้เรียนรู้และเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนําไปปรับใช้ในชีวิตประจําวันและในการประกอบ อาชีพ โดยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนกระจายอยู่ท่ัวประเทศ เพ่ือเป็นศูนย์การศึกษา คน้ ควา้ ทดลอง และวจิ ัยเก่ยี วกบั ภาคเกษตรโดยเฉพาะ รวมทัง้ ไดม้ ีการผลักดันพระราชบัญญัติสภาเกษตรกร แห่งชาติ จนสามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของเกษตรกรด้วยการ เสรมิ สร้างความรว่ มมือกับภาครฐั พระราชพธิ ีพชื มงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีเพื่อความเป็นสิรมิ งคลของเกษตรกรไทย เป็นพระราชพิธีซ่ึงจัดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่การเกษตรของประเทศไทย มุ่งหมายบํารุงขวัญให้กําลังใจแก่เกษตรกรของชาติ ทั้งน้ีนับต้ังแต่โบราณมาเม่ือย่างเข้าสู่ต้นฤดูกาลเพาะปลูก ของทุกปี (เดือน 6) พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (พิธีไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์ ซ่ึงประกอบพระราชพิธีใน วันรุ่งข้ึน ณ มณฑลพิธสี นามหลวง นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเรื่อยมางานแรกนาขวัญมีแต่เพียงพิธีทางศาสนาพราหมณ์เท่านั้น จนกระทั่งถึงรัชสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสงฆ์เพิ่มข้ึนในพระราชพิธีต่างๆทุกพิธี ดังนั้น งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจึง เป็นพระราชพิธีท่ีสมบูรณ์พร้อมนับตั้งแต่น้ันเป็นต้นมา กําหนดจัดข้ึนในเดือนหกของทุกปีซึ่งช่วงเวลาเริ่มต้น การทํานาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้กําหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธี อ่ืนๆ ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมท่ีมีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีก็ให้จัดข้ึนใน วนั นน้ั การจัดงานพระราชพิธีฯได้กระทําเต็มรูปบูรพประเพณีคร้ังสุดท้ายในปี พ.ศ. 2479 แล้ว ว่างเว้นไปจนกระท่ังในปี พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟ้ืนฟูพระราชพิธีขึ้นใหม่และได้กระทําติดต่อกัน มาทุกปีจนถึงปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันพระราชพิธีฯเป็น “วันเกษตรกร” ประจําปีอีกด้วย เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสําคัญของการเกษตร และ ร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีฯเพ่ือเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตนทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจ ของประเทศชาติ จึงได้จดั งานวันเกษตรกรควบคไู่ ปกบั งานพระราชพิธฯี ตลอดมา
2 ในแต่ละปีได้มีการกําหนดไว้ว่าผู้ทําหน้าที่พระยาแรกนาจะต้องเป็นปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เท่าน้นั นอกจากว่าปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดราชการสําคัญหรือสุขภาพไม่ดี ท่านจึงจะขอพระบรม ราชานุญาติมอบหมายให้ผู้อื่นที่เหมาะสมทําหน้าที่แทน ส่วนผู้ที่จะมาทําหน้าที่เป็นเทพีท้ังหาบทองและหาบเงิน ซ่ึงจะทําการคัดเลือกจากบรรดาข้าราชการสาวโสดของกรมต่างๆในสังกัด สําหรับหลักเกณฑ์การคัดเลือกเทพี ในแต่ละปีก็ดูท่ีความเหมาะสมต่างๆท้ังท่ีเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่เป็นทางการคือโสดและได้รับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์แล้ว ทไี่ ม่เป็นทางการคอื อายุพอสมควร สขุ ภาพดี สว่ นสูงเหมาะสมหรอื สงู ใกล้เคียงกัน ในระหว่างคู่หาบเงินด้วยกัน สําหรับเทพีคู่หาบทองเลื่อนจากผู้ที่เคยทําหน้าท่ีคู่หาบเงินเม่ือปีที่ผ่านมา สําหรับพระโค กรมปศุสัตว์ได้ดําเนินการคัดเลือกพระโคเพื่อใช้ในการประกอบพระราชพิธีฯ ตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม คือ จะต้องเป็นโคที่มีลักษณะดี รูปร่างสมบูรณ์ มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ความยาวของลําตัวไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร โคทั้งคู่ จะต้องมีสีเดียวกัน ผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่าย ไม่ดุร้าย เขามีลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตําหนิ หางยาวสวยงาม มีขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวาและขวัญหลังถูกต้อง ตามลักษณะท่ีดี กีบและข้อเท้าแข็งแรง ถ้ามองดูด้านข้างลําตัวจะมีลักษณะเป็นส่ีเหลี่ยม งานพระราชพิธีฯ ทกุ ปจี ะเตรยี มพระโคไว้ 2 คู่ พันธุ์ข้าวท่ีใช้ในงานพระราชพิธีฯซึ่งใครๆสงสัยว่าทันทีท่ีพระราชพิธีฯสิ้นสุดลง ผู้คนใน สนามหลวงทกุ เพศทุกวัยจะกรูเขา้ ไปยงั ลานแรกนา เพื่อเก็บเมล็ดพันธ์ุข้าวกลับไปเป็นสิริมงคลนั้น ได้มาจากที่ใด ที่มาของพันธ์ุข้าวเหล่าน้ี นับต้ังแต่ปี 2504 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันได้มาจากแปลงนาในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ท่ีทรงโปรดเกล้าฯให้กรมการข้าวจัดทําข้ึนเพื่อเก็บเกี่ยวเป็นพันธ์ุข้าว ทรงปลูกพระราชทาน สําหรับไว้ใช้ในงานพระราชพิธีฯโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนหน่ึงใช้หว่านในระหว่างพิธีและจัดเป็น “พันธุ์ข้าว พระราชทาน” บรรจุใส่ซองขนาดเล็กเพื่อจัดส่งให้จังหวัดต่างๆ สําหรับใช้แจกจ่ายแก่เกษตรกรรับไปเป็น ม่ิงขวัญและสิริมงคลในการประกอบอาชีพตามพระราชประสงค์ และเมล็ดพันธุ์ที่เหลือทั้งหมดกรมการข้าวขอ พระราชทานพระบรมราชานุญาตินําไปปลูกไว้ทําพันธุ์ในฤดูกาลหน้า เพื่อเป็นต้นตระกูลของพืชพันธุ์ดีเผยแพร่สู่เกษตรกรต่อไป การเส่ียงทายในพระราชพิธีฯแต่ละปีน้ันมี 2 ช่วง คือ ช่วงแรกพระยาแรกนาจะต้ัง สัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งทับผ้านุ่งเดิมน้ันเป็นผ้าลายมีด้วยกัน 3 ผืน คือ หกคืบ ห้าคืบและส่ีคืบ ผ้านุ่งน้ีจะวาง เรียงบนโตกมีผ้าคลุมเพื่อให้พระยาแรกนาหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีคําทํานายไปตามน้ันคือ ถ้าหยิบได้สี่คืบ พยากรณ์ว่าน้ําจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในท่ีลุ่มอาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่ ถ้าหยิบได้ห้าคืบพยากรณ์ว่านํ้าในปีน้ีจะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี ถ้าหยิบได้หกคืบพยากรณ์ว่าน้ําจะน้อย นาในท่ีลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดีแต่นาในที่ดอนจะ เสียหายบ้างไม่ได้ผลเต็มที่ ส่วนช่วงท่ี 2 คือภายหลังจากการไถหว่านซึ่งจะเป็นการไถดะไปโดยรอบเพ่ือพลิกดิน ใหเ้ ปน็ กอ้ น ไถโดยขวางสามรอบเพ่ือย่อยดินให้ละเอียดพร้อมหว่านเมล็ดพันธ์ุพืช และไถกลบอีกสามรอบเพ่ือ กลบเมล็ดพันธ์ุพืชลงในดิน เมื่อเสร็จส้ินข้ันตอนการไถแล้วจะเป็นการเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่งตั้งเล้ียงพระโค ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวเปลือก ถ่ัวเขียว งา เหล้า น้ําและหญ้า เม่ือพระโคกินของสิ่งใดโหรหลวงจะถวายคํา พยากรณ์ ดังน้ี ถ้าพระโคกินข้าวหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่าธัญญาหารผลาหารจะบริบูรณ์ดี ถ้าพระโคกินถั่ว
3 หรืองา พยากรณ์ว่าผลาหาร ภักษาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี ถ้าพระโคกินน้ําหรือหญ้า พยากรณ์ว่าน้ําท่าจะ บริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี และถ้าพระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่าการคมนาคมสะดวกขนึ้ การค้าขายกบั ตา่ งประเทศดีข้ึนทาํ ให้เศรษฐกจิ รงุ่ เรอื ง และสง่ิ สําคัญท่ีจะขาดไม่ได้ในงานพระราชพิธฯี คือ เกษตรกร สถาบนั เกษตรกรและสหกรณ์ ดีเด่นประเภทต่างๆท่ีผ่านการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลและยกย่องประกาศเกียรติคุณพร้อมท้ังเผยแพร่ผลงานให้ สาธารณชนทัว่ ไปได้รู้จักและยึดถอื เป็นแบบอยา่ งในแนวทางปฏิบัติ
พ้นื ท่เี กษตรกรรมในกรุงเทพมหานครปี 2554 กรุงเทพมหานคร มีพื้นท่ีทั้งหมด 980,460.625 ไร่ หรือ 1,568.737 ตารางกิโลเมตร แบ่งพ้ืนท่ีการปกครองเป็น 50 เขต มีพ้ืนท่ีเกษตรกรรม 26 เขต ซึ่งมีพื้นที่รวม 180,305.49 ไร่ เขตหนองจอกมีพื้นที่การเกษตรมากท่ีสุดถึง 75,527 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 41.89 รองลงมาได้แก่ เขตลาดกระบังและเขตคลองสามวา ซึ่งมีพ้ืนที่การเกษตร 24,876 ไร่ และ 23,894.42 ไร่ ตามลําดับ หรือ คิดเป็นร้อยละ 13.80 และ 13.25 ตามลําดับ ขณะที่ลาดพร้าวและวังทองหลางมีพ้ืนท่ีการเกษตรน้อยมากเพียง 25.25 และ 26.22 ไร่ ตามลาํ ดบั หรอื คิดเป็นร้อยละ 0.01 เท่ากนั ท้งั สองเขต (ตารางที่ 1 และภาคผนวก 1) ตารางท่ี 1 จาํ นวนพน้ื ที่การเกษตรในแตล่ ะเขตของกรงุ เทพมหานคร พืน้ ท่กี ารเกษตร (ไร)่ เขต 75,527.00 24,876.00 1. หนองจอก 23,894.42 2. ลาดกระบัง 11,013.00 3. คลองสามวา 3,440.00 4. มีนบรุ ี 3,028.00 5. สายไหม 1,601.00 6. ประเวศ 1,280.00 7. สะพานสูง 663.50 8. บางเขน 214.46 9. คนั นายาว 223.75 10. สวนหลวง 221.35 11. บึงกมุ่ 195.50 12. หลกั สี่ 116.00 13. ดอนเมือง 14. บางกะปิ 26.22 15. วงั ทองหลาง 25.25 16. ลาดพร้าว 16,604.00 17. บางขุนเทียน 4,606.00 18. ทวีวฒั นา 1,784.60 19. บางบอน 2,174.42 20. ทุ่งครุ 2,132.00 21. บางแค 2,025.26 22. จอมทอง 1,850.00 23. หนองแขม 1,694.00 24. ตล่ิงชัน 564.40 25. ภาษีเจริญ 525.36 26. ราษฎร์บูรณะ 180,305.49 รวม ทีม่ า : สาํ นกั งานเกษตรกรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553
5 2. ชนิดการเกษตรในกรงุ เทพมหานคร ชนิดของการเกษตรได้จําแนกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ ข้าว พืชสวน ประมง และ ปศุสัตว์ ซ่ึงปรากฏว่าเกษตรกรในกรุงเทพมหานครปลูกข้าวมากที่สุดถึง 121,568 ไร่ และปลูกพืชสวน 22,477.29 ไร่ ประกอบไปด้วยสวนผัก สวนผลไม้ ไร่หญ้า ไม้ดอกไม้ประดับ และอื่นๆ ส่วนด้านประมงมีจํานวน 36,260.47 ไร่ ประกอบไปด้วยปลา กุ้ง และอ่ืนๆ และด้านปศุสัตว์จํานวน 107,748 ตัว ประกอบไปด้วยสัตว์ปีกมากที่สุด รองลงมาคือ แพะ แกะ สุกร และกระบือ (ตารางที่ 2 และภาคผนวก 1) ตารางท่ี 2 ชนิดการเกษตรในพน้ื ทก่ี รงุ เทพมหานคร จํานวน (ไร่) ชนดิ การเกษตร 121,568 ขา้ ว พชื สวน : สวนผัก 3,931 10,389 สวนผลไม้ 1,676 ไรห่ ญ้า 6,381 ไม้ดอกไมป้ ระดบั 99.29 อื่นๆ ประมง : ปลา 20,289 กงุ้ 15,955 อื่นๆ 16.47 ปศสุ ตั ว์ : โค/กระบือ แพะ/แกะ/สกุ ร 4,402 สัตว์ปีก 6,009 อื่นๆ 95,287 50 ทม่ี า : สาํ นกั งานเกษตรกรุงเทพมหานคร
6 3. จาํ นวนครวั เรอื นเกษตรกรในกรงุ เทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีครัวเรือนเกษตรกรในปี 2554 ท้ังส้ิน 13,774 ครัวเรือน โดยเขต หนองจอกมีครัวเรือนเกษตรกรมากท่ีสุด จํานวน 4,057 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 29.45 ของจํานวน ครัวเรือนเกษตรกรในกรุงเทพมหานคร รองลงมาได้แก่ เขตบางขุนเทียนและเขตมีนบุรี จํานวน 1,650 ครวั เรอื น และ 1,250 ครัวเรือน ตามลําดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.98 และ 9.08 ของจํานวนครัวเรือน เกษตรกรในกรุงเทพมหานครตามลําดับ ส่วนเขตบึงกุ่มและเขตวังทองหลางมีจํานวนครัวเรือนน้อยมากเพียง เขตละจํานวน 18 ครัวเรือนเท่าน้ัน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.13 ของจํานวนครัวเรือนเกษตรกรใน กรงุ เทพมหานคร ตารางท่ี 3 จํานวนครัวเรือนของเกษตรกรในเขตตา่ ง ๆ ของกรงุ เทพมหานคร เขต จํานวนครวั เรือนเกษตรกร 1. หนองจอก 4,057 2. ลาดกระบงั 864 3. คลองสามวา 951 4. มนี บุรี 1,250 5. สายไหม 321 6. ประเวศ 477 7. สะพานสูง 300 8. บางเขน 189 9. คนั นายาว 85 10. สวนหลวง 136 11. บงึ ก่มุ 18 12. หลกั ส่ี 143 13. ดอนเมอื ง 183 14. บางกะปิ 128 15. วังทองหลาง 18 16. ลาดพรา้ ว 21 17. บางขุนเทียน 1,650 18. ทววี ฒั นา 643 19. บางบอน 375 20. ท่งุ ครุ 322 21. บางแค 369 22. จอมทอง 378 23. หนองแขม 310 24. ตลิ่งชนั 396 25. ภาษเี จริญ 125 26. ราษฎร์บูรณะ 65 รวม 13,774 ที่มา : สาํ นักงานเกษตรกรงุ เทพมหานคร
30ร้อยละ 25 20 15 10 5 0 หนองจอก ลาดกระบัง คลองสามวา มีนบุรี สายไหม ประเวศ สะพานสูง บางเขน คันนายาว สวนหลวง บึงกุ่ม
หลกั ส่ี ดอนเมือง บางกะปิ วงั ทองหลาง ลาดพร้าว บางขุนเทียน ทวีวัฒนา บางบอน ทุ่งครุ บางแค จอมทอง หนองแขม ตลิ่งชัน ภาษเี จรญิ ราษฎร์บูรณะ
8 4. พ้นื ท่ีปลกู พืชในเขตตา่ งๆของกรุงเทพมหานคร พืชท่ีปลูกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีท้ังข้าว ผัก ผลไม้ หญ้าสนามและไม้ดอก ไม้ประดับ ในพื้นท่ี 144,045 ไร่ โดยพื้นท่ีปลูกข้าวมีมากที่สุดถึง 121,568 ไร่ เขตหนองจอกปลูกข้าวมาก ที่สุดถึง 72,491 ไร่ รองลงมาได้แก่ เขตคลองสามวาและเขตลาดกระบัง ซึ่งปลูกข้าวในพื้นท่ีจํานวน 21,464.75 ไร่ และ 16,619 ไร่ ตามลําดบั ส่วนพื้นทป่ี ลกู ผักมีจํานวนไมม่ ากเทา่ กับการปลูกข้าว จาํ นวน 3,931 ไร่ โดยปลูกมากในเขตทวีวัฒนา จํานวน 1,894 ไร่ รองลงมาได้แก่ เขตบางแคและเขตตลิ่งชัน จํานวน 504 ไร่ และ 400 ไร่ ตามลําดับ สําหรับพ้ืนที่ปลูกผลไม้ท้ังหมดในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 10,389 ไร่ ปลูกมากใน เขตจอมทอง จํานวน 1,723.60 ไร่ รองลงมาได้แก่ เขตลาดกระบังและเขตคลองสามวา จํานวน 1,457 ไร่ และ 1,217 ไร่ ตามลําดับ นอกจากนี้เขตคลองสามวาและเขตมีนบุรีปลูกหญ้าสนามมากท่ีสุด จํานวน 949.25 ไร่ และ 661 ไร่ ตามลําดับ ส่วนไม้ดอกไม้ประดับมีพื้นที่ปลูกจํานวน 6,381 ไร่ ทั้งนี้ เขตบางบอน ปลูกมากที่สุด จํานวน 1,376.80 ไร่ รองลงมาได้แก่ เขตหนองแขมและเขตทวีวัฒนา จํานวน 1,338 ไร่ และ 1,256 ไร่ ตามลําดับ ทั้งนี้ สถานการณ์การปลูกพืชในเขตต่างๆของกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มลดลง เรอื่ ยๆเกอื บทุกชนิด ตารางท่ี 4 พ้นื ทีป่ ลกู พชื ในเขตต่างๆในกรงุ เทพมหานคร พื้นที่ปลูกพืช (ไร)่ เขต ข้าว ผัก ไมผ้ ล ไร่หญา้ ไม้ดอก อืน่ ๆ รวม ไมป้ ระดับ 1. หนองจอก 72,491.00 128.00 - - 4.00 - 72,623.00 2. ลาดกระบงั 16,619.00 96.00 1,457.00 58.00 20.00 - 18,250.00 3. คลองสามวา 21,464.75 64.25 1,217.00 949.25 - - 23,695.25 4. มีนบุรี 4,954.00 - - 661.00 - - 5,615.00 5. สายไหม 2,548.00 89.00 510.00 - 12.00 31.00 3,190.00 6. ประเวศ 60.00 10.00 216.00 - 8.00 - 294.00 7. สะพานสูง 885.00 6.00 210.00 - 40.00 - 1,141.00 8. บางเขน 1,068.00 20.00 5.00 - 20.00 - 1,113.00 9. คันนายาว 464.00 - 84.00 8.00 0.50 - 556.50 10. สวนหลวง - 50.50 54.50 - 2.00 - 107.00 11. บงึ กุ่ม 35.00 31.00 50.75 - 4.50 - 121.25 12. หลักสี่ - 25.57 90.39 - 13.04 1.29 130.29 13. ดอนเมือง - 12.00 153.00 - 2.50 - 167.50 14. บางกะปิ - 2.00 45.00 - 10.00 - 57.00 15. วงั ทองหลาง - 0.22 4.00 - 1.00 - 5.22 16. ลาดพรา้ ว - - 22.00 - 1.25 1.00 24.25 17. บางขุนเทียน - 60.00 623.00 - 121.00 - 804.00 18. ทววี ฒั นา 979.00 1,894.00 477.00 - 1,256.00 - 4,606.00 19. บางบอน - 110.50 124.80 - 1,376.80 - 1,612.10
9 พ้นื ท่ปี ลกู พชื (ไร)่ เขต ข้าว ผัก ไม้ผล ไรห่ ญ้า ไม้ดอก อืน่ ๆ รวม ไมป้ ระดับ 20. ทุง่ ครุ - 55.20 1,042.80 - 126.77 - 1,224.77 21. บางแค - 504.00 390.00 - 1,238.00 - 2,132.00 22. จอมทอง - 116.66 1,723.60 - 185.00 - 2,025.26 23. หนองแขม - 194.00 249.00 - 1,338.00 - 1,781.00 24. ตล่ิงชัน - 400.00 748.00 - 471.00 66.00 1,685.00 25. ภาษีเจริญ - 62.00 367.00 - 130.00 - 559.00 26.ราษฎรบ์ ูรณะ - - 525.36 - - - 525.36 รวม 121,568 3,931 10,389 1,676 6,381 99.29 144,045 ท่มี า : สาํ นกั งานเกษตรกรุงเทพมหานคร 5. จาํ นวนปศสุ ตั ว์และประมงท่เี ลยี้ งในเขตตา่ ง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ปศุสัตว์ท่ีมีการเล้ียงในพ้ืนท่ีทําการเกษตรของกรุงเทพมหานครได้แก่ โค กระบือ แพะ แกะ สุกร สัตว์ปีก และอื่นๆ โดยสัตว์ปีกเป็นสัตว์ท่ีมีการเล้ียงเป็นจํานวนมากที่สุดถึง จํานวน 95,287 ตัว รองลงมาไดแ้ ก่ กลมุ่ แพะ/แกะ/สุกร มจี าํ นวน 6,009 ตัว กล่มุ โค/กระบือ จํานวน 4,402 ตวั ในพื้นท่ีเขตกรุงเทพมหานครท่ีมีการเล้ียงสัตว์มากท่ีสุดได้แก่ เขตมีนบุรี จํานวน 49,842 ตัว รองลงมาได้แก่ เขตหนองจอก จํานวน 23,902 ตวั และเขตประเวศ จํานวน 8,229 ตัว พบว่าเขตมีนบุรี มีการเล้ยี งสัตวป์ กี มากที่สดุ จํานวน 47,708 ตัว แพะ/แกะ/สุกร จํานวน 1,305 ตัว โค/กระบือ จํานวน 829 ตัว สําหรบั เขตที่มีการเล้ียงสัตว์น้อยที่สุดได้แก่ เขตวังทองหลาง จํานวน 2 ตัว เขตบางบอน จํานวน 7 ตวั และเขตสายไหม จาํ นวน 12 ตวั การเลย้ี งสัตวข์ องกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มลดลงเรือ่ ยๆ สําหรับพ้ืนที่การประมงท่ีเล้ียงมากที่สุดได้แก่ ปลา จํานวน 20,289 ไร่ กุ้ง จํานวน 15,955 ไร่ ปรากฏว่าเขตลาดกระบังมีการเล้ียงปลามากท่ีสุด จํานวน 6 ,626 ไร่ รองลงมาได้แก่ เขตมีนบุรีและเขตหนองจอก จํานวน 5,398 ไร่ และ 2,903 ไร่ ตามลําดับ ส่วนกุ้งนั้น เขตบางขนุ เทยี นมกี ารเลี้ยงมากท่ีสุด จํานวน 15,300 ไร่ การประมงของกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มลดลงเร่ือยๆ
ตารางที่ 5 จาํ นวนปศสุ ัตวท์ เี่ ลีย้ งในเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร 10 เขต จาํ นวนสัตวท์ ่เี ลี้ยง (ตัว) อ่นื ๆ รวม โค/กระบือ แพะ/แกะ/สกุ ร สตั วป์ ีก 50 23,902 - 2,431 1. หนองจอก 1,159 294 22,399 - 5,792 - 49,842 2. ลาดกระบัง 174 39 2,218 - - 12 3. คลองสามวา 377 450 4,965 - 8,229 - 1,150 4. มีนบุรี 829 1,305 47,708 - 619 - 1,069 5. สายไหม 10 2 - - 2,861 - 80 6. ประเวศ 398 1,514 6,317 - 692 - 827 7. สะพานสงู 150 250 750 - 2,197 - 8. บางเขน 17 12 590 - 2 - 85 9. คันนายาว 56 83 930 - 4,054 - 415 10. สวนหลวง 339 716 1,806 - 7 - 1,366 11. บึงกุ่ม - - 80 - 50 - - 12. หลักส่ี - 132 560 - - - 66 13. ดอนเมอื ง 30 - 797 50 - - 14. บางกะปิ 669 293 1,235 105,748 15. วงั ทองหลาง 1 - 1 16. ลาดพร้าว - - 85 17. บางขนุ เทยี น 54 - 4,000 18. ทวีวัฒนา 56 47 312 19. บางบอน - - 7 20. ท่งุ ครุ 33 872 461 21. บางแค 50 - - 22. จอมทอง - - - 23. หนองแขม - - - 24. ตลง่ิ ชนั - - 66 25. ภาษีเจรญิ - - - 26. ราษฎรบ์ ูรณะ - - - รวม 4,402 6,009 95,287 ทีม่ า : สํานกั งานเกษตรกรงุ เทพมหานคร
11 ตารางท่ี 6 พื้นทีก่ ารประมงชนดิ ตา่ งๆในกรงุ เทพมหานคร เขต จาํ นวนพนื้ ท่ีการประมงชนิดต่างๆ (ไร่) รวม ปลา กงุ้ อ่ืนๆ 2,904.00 6,626.00 1. หนองจอก 2,903.00 - 1.00 199.17 5,398.00 2. ลาดกระบัง 6,626.00 -- 250.00 2,734.00 3. คลองสามวา 199.17 -- 460.00 167.00 4. มีนบุรี 5,398.00 -- 107.00 107.46 5. สายไหม 250.00 -- 102.50 91.06 6. ประเวศ 2,734.00 -- 28.00 59.00 7. สะพานสงู 450.00 - 10.00 21.00 8. บางเขน 167.00 -- 1.00 15,800.00 9. คันนายาว 107.00 -- - 10. สวนหลวง 107.46 -- 172.50 949.65 11. บงึ กุ่ม 100.50 2.00 - - 12. หลกั สี่ 89.59 - 1.47 - 69.00 13. ดอนเมือง 28.00 -- 9.00 5.40 14. บางกะปิ 59.00 -- - 36,260.47 15. วังทองหลาง 21.00 -- 16. ลาดพรา้ ว 1.00 -- 17. บางขุนเทยี น 500.00 15,300.00 - 18. ทวีวัฒนา - -- 19. บางบอน 168.50 - 4.00 20. ทุ่งครุ 299.80 649.85 - 21. บางแค - -- 22. จอมทอง - - - 23. หนองแขม 66.00 3.00 - 24. ตลิง่ ชนั 9.00 - - 25. ภาษีเจรญิ 5.40 -- 26. ราษฎรบ์ รู ณะ - -- รวม 20,289 15,955 16.47 ทีม่ า : สํานักงานเกษตรกรุงเทพมหานคร
12 6. การแบง่ พ้นื ที่การเกษตรตามกลุ่มเขตของกรงุ เทพมหานคร ซึง่ แยกออกเปน็ 6 เขต ดังน้ี กลุ่ม 1 กรุงเทพกลางประกอบด้วย เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตดสุ ิต เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตราชเทวี เขตพญาไท เขตวังทองหลาง กลุ่ม 2 กรุงเทพใต้ประกอบด้วย เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตคลองเตย เขตวัฒนา เขตพระโขนง เขตบางนา เขตประเวศ เขตสวนหลวง กลุ่ม 3 กรุงเทพเหนือประกอบด้วย เขตบางซ่ือ เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตบางเขน เขต ดอนเมือง เขตสายไหม เขตลาดพรา้ ว กลุ่ม 4 กรงุ เทพตะวันออกประกอบดว้ ย เขตมีนบรุ ี เขตลาดกระบัง เขตสะพานสงู เขตบงึ กมุ่ เขตคนั นายาว เขตบางกะปิ เขตหนองจอก เขตคลองสามวา กลุ่ม 5 กรุงธนเหนือประกอบด้วย เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขต คลองสาน เขตธนบุรี เขตจอมทอง เขตทวีวัฒนา เขตตลงิ่ ชนั กล่มุ 6 กรงุ ธนใต้ประกอบดว้ ย เขตหนองแขม เขตบางแค เขตภาษีเจริญ เขตราษฎร์บูรณะ เขต บางบอน เขตบางขุนเทยี น เขตท่งุ ครุ โดยพิจารณาจากการแยกกลุ่มเขตของกรุงเทพมหานคร ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มเขต ผลปรากฏว่า กลุ่มเขตท่ีมีเกษตรกรมากที่สุดได้แก่ กลุ่ม 4 กรุงเทพตะวันออก จํานวน 7,653 ครัวเรือน มีพ้ืนที่การเกษตร 137,919.67 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 75.98 ของพ้ืนท่ีเกษตรทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร รองลงมาไดแ้ ก่ กลมุ่ 6 กรุงธนใต้ จํานวน 3,216 ครัวเรือน มีพ้ืนท่ีการเกษตร 26,796.97 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 14.77 ของพื้นที่การเกษตรท้ังหมดในกรุงเทพมหานคร กลุ่ม 5 กรุงธนเหนือ จํานวน 1,417 ครัวเรือน มีพื้นท่ีการเกษตร 8,325.26 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.57 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร กลมุ่ 3 กรุงเทพเหนือ จํานวน 857 ครัวเรือน มีพื้นท่ีการเกษตร 5,162.11 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 2.84 ของพ้ืนที่การเกษตรท้ังหมดในกรุงเทพมหานคร กลุ่ม 2 กรุงเทพใต้ จํานวน 613 ครัวเรือน มีพ้ืนที่ การเกษตร 3,291.71 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.81 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร ส่วนกลุ่ม 1 กรุงเทพกลางเป็นกลุ่มเขตท่ีมีพื้นที่การเกษตรน้อยที่สุดเพียง 29.10 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.01 ของพน้ื ที่การเกษตรท้งั หมดในกรงุ เทพมหานคร การทําเกษตรกรรมในกรุงเทพมหานครน้ัน จะแตกต่างกันในแต่ละพ้ืนที่ โดยด้านตะวันออก คือ เขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง และเขตสะพานสูง เป็นพื้นที่ทํานาทําไร่ ส่วนพื้นที่ ทางด้านตะวนั ตก ไดแ้ ก่ เขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตหนองแขม เขตทุ่งครุ เป็นพ้ืนที่แปลงผัก ไม้ดอกไม้ประดับ สวนผลไม้ และพ้ืนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา สําหรับเขตบางขุนเทียนจะเป็นบ่อปลาและนากุ้ง จากความเจริญและการ พัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศส่งผลให้พ้ืนที่เกษตรกรรมของกรุงเทพมหานคร ลดลงอย่างต่อเน่ือง โดยพ้ืนที่เกษตรท้ังฝั่งตะวันออกและฝ่ังตะวันตกของกรุงเทพมหานครมีอัตราการเปล่ียนแปลงที่ ใกลเ้ คียงกัน จะเห็นว่า การเปล่ียนแปลงการใช้ประโยชน์ท่ีดินประเภทเกษตรกรรมในกรุงเทพมหานครนั้น สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาเมือง ในขณะพื้นที่ถือครองทางการเกษตรจะผกผันตามสภาพทางเศรษฐกิจและ มูลค่าของที่ดินในแต่ละพ้ืนท่ี ดังนั้น กรุงเทพมหานครจึงให้ความสําคัญกับพ้ืนท่ีเกษตรกรรม จึงได้ดําเนินการ วางและจัดทําผงั เมอื งรวมกรงุ เทพมหานครขน้ึ มา พ้ืนท่ีเกษตรกรรมของกรุงเทพมหานคร เมื่อมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและประชากรเพ่ิม กิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะท่ีอยู่อาศัย ย่ิงสูงเป็นเงาตามตัว พ้ืนที่เกษตรกรรมย่านชานเมืองถูกรุกล้ําและ ปรับเปล่ียนตลอดมา อย่างไรก็ตาม ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครจึงกําหนดให้มีการอนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรรม
13 ไว้ในสัดส่วนที่เหมาะสม สําหรับพื้นท่ีการเกษตรได้มีการกําหนดไว้ในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม กรงุ เทพมหานคร พ.ศ. 2549 โดยกําหนดเป็นการใช้ประโยชนท์ ่ดี ิน 2 ประเภท ไดแ้ ก่ 1. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) โดยมี วตั ถุประสงคแ์ ละจําแนกเปน็ บริเวณ ดังนี้ - ที่ดินประเภท ก.1 มีวัตถุประสงค์เพ่ือการสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติของพ้ืนที่ชนบท และเกษตรกรรม ในบริเวณที่มีข้อจํากัดด้านการระบายน้ําและมีความเส่ียงต่อการเกิดอุทกภัย จําแนกเป็น บริเวณ ก.1-1 ถึง ก.1-20 ประกอบดว้ ยด้านตะวนั ออก เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตลาดกระบงั บางสว่ น - ที่ดินประเภท ก.2 มีวัตถุประสงค์เพื่อการสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ชนบท และเกษตรกร จําแนกเป็นบริเวณ ก.2-1 ถึง ก.2-21 ประกอบด้วยด้านตะวันตกเขตตล่ิงชัน เขตทวีวัฒนา บางส่วน เขตบางแคบางส่วน และเขตภาษเี จรญิ บางสว่ น 2. ท่ีดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) โดยมีวัตถุประสงค์และจําแนกเป็นบริเวณ ดังนี้ - ที่ดินประเภท ก.3 มีวัตถุประสงค์เพื่อเกษตรกรรม การสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติ และการส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร จําแนกเป็นบริเวณ ก.3-1 ถึง ก.3-48 ประกอบด้านตะวันตกซ่ึงติดกับ จังหวัดนครปฐมและจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน เขตหนองแขมบางส่วน และ เขตทววี ัฒนา - ทีด่ นิ ประเภท ก.4 มีวตั ถุประสงค์เพอื่ เปน็ ชมุ ชนและศูนย์กลางการให้บริการทางสังคมและ การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม จําแนกเป็นบริเวณ ก.4-1 ถึง ก.4-15 ประกอบด้วย ดา้ นตะวันออกซึง่ ติดกับจังหวดั ฉะเชิงเทรา ไดแ้ ก่ เขตหนองจอกและเขตลาดกระบงั ซึ่งปัจจุบันกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 มีผลบังคับใช้ จนถึงปี พ.ศ. 2555 (ขยายการบังคับใช้คร้ังท่ี 1 เป็นระยะเวลา 1 ปี) ทางกรุงเทพมหานครได้ดําเนินการ ปรับปรุงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร โดยได้มีการแก้ไข เปล่ียนแปลง และปรับปรุงในสาระสําคัญของพื้นท่ี เกษตรกรรมท้ัง 2 ประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผังเมืองรวมซึ่งได้กําหนดให้เป็นการดํารง พื้นท่ีเกษตรกรรมท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ โดยการบริหารจัดการการเติบโตของเมืองเพ่ือให้เกิดการพัฒนาเมือง แบบกระชับ และมีนโยบาย มาตรการและวิธีดําเนินการเพื่อปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของผังเมืองรวมในเร่ือง เกษตรกรรมในส่วนการส่งเสริมการอนุรกั ษ์พน้ื ทชี่ นบทและเกษตรกรรม และมีการปรับบริเวณให้สอดคล้องกับ พ้ืนที่ในปัจจุบัน อย่างเช่น บริเวณด้านใต้ของเขตบางขุนเทียนได้ปรับเป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและ เกษตรกรรม (บริเวณ ก.3-47 และ ก.3-48 (เดมิ )) ดังนั้น จึงได้ดําเนินการร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงคร้ังที่ 3) ซ่ึงยังไม่มีผลใช้ บงั คับเป็นกฎหมาย มขี อ้ กาํ หนดการใช้ประโยชนท์ ด่ี ินท่ีเก่ยี วขอ้ งกับเกษตรกรรมไว้ 2 ประเภท ไดแ้ ก่ 1. ที่ดินประเภท ก.1 และ ก.2 ท่ีกําหนดไว้เป็นสีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว ให้เป็น ท่ีดนิ ประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม โดยมวี ตั ถุประสงค์และจําแนกเป็นบรเิ วณดงั ตอ่ ไปนี้ (ก) ท่ดี ินประเภท ก.1 มวี ัตถปุ ระสงค์เพือ่ การสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ชนบท และเกษตรกรรม ในบรเิ วณที่มีข้อจาํ กดั ดา้ นการระบายนาํ้ และมีความเสย่ี งต่อการเกิดอทุ กภยั (ข) ทีด่ นิ ประเภท ก.2 มีวัตถุประสงคเ์ พอื่ การสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ชนบท และเกษตรกรรม ในบริเวณป่าชายเลนและส่งเสริมการเพาะเล้ียงสัตวน์ า้ํ เคม็ และน้าํ กรอ่ ย
14 2. ท่ีดินประเภท ก.3 และ ก.4 ที่กําหนดไว้เป็นสีเขียว ให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและ เกษตรกรรม โดยมีวัตถุประสงคแ์ ละจําแนกเป็นบรเิ วณ ดงั ตอ่ ไปน้ี (ก) ที่ดินประเภท ก.3 มีวัตถุประสงค์เพ่ือเกษตรกรรม การสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติ และส่งเสริมเศรษฐกจิ การเกษตร (ข) ท่ีดินประเภท ก.4 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นชุมชนและศูนย์กลางการให้บริการทางสังคม และการส่งเสรมิ เศรษฐกิจชุมชนในพ้ืนที่ชนบทและเกษตรกรรม สถานการณ์เกษตรกรรมทง้ั ประเทศ สถานการณ์เกษตรกรรมทั้งประเทศในปี 2554 มีการขยายตัวเพ่ิมขึ้นร้อยละ 2.2 โดยช่วง คร่ึงแรกปี 54 ภาคการเกษตรเติบโตได้ในระดับสูง เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างปรกติ แต่จากปัญหา อุทกภัยที่เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2554 ได้ขยายเป็นวงกว้างครอบคลุมพ้ืนที่ในภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สร้างความเสียหายต่อพื้นที่และผลผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิด ส่งผล ภาคเกษตรเร่มิ หดตวั ลงต้ังแต่ไตรมาสที่ 3 และหดตัวต่อเนอ่ื งมากขนึ้ ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งเมื่อจําแนกเป็นรายสาขา พบวา่ สาขาทีข่ ยายตัวมี 3 สาขา ได้แก่ 1. สาขาพืช พบว่า ในปี 2554 การผลิตขยายตัวเพิ่มข้ึนร้อยละ 3.8 เม่ือเทียบกับปี 2553 เน่ืองจากในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีมีอัตราการขยายตัวในระดับสูง แม้ว่าในช่วงต้นปีท่ีผ่านมาภาคใต้ต้อง เผชิญกับปัญหาอุทกภัยซ่ึงได้สร้างความเสียหายต่อพ้ืนที่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ํามันบางส่วน แต่ก็ไม่ส่งผล กระทบต่อการผลิตในภาพรวมมากนัก อย่างไรก็ตาม จากอิทธิพลของพายุหลายลูกในช่วงต้นไตรมาสท่ี 3 ต่อเนื่องมาถึงไตรมาสท่ี 4 ก่อให้เกิดปัญหาน้ําท่วมเป็นวงกว้างในพื้นท่ีทางการเกษตรเกือบทั้งประเทศ โดยเฉพาะพื้นท่ีภาคเหนือและพ้ืนที่ราบลุ่มแม่น้ําภาคกลาง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวท่ีสําคัญของประเทศ สง่ ผลให้ผลผลิตข้าวนาปีลดลง สําหรับพืชท่ีมีผลผลิตเพิ่มข้ึน ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเล้ียงสัตว์ มันสําปะหลัง อ้อยโรงงาน ยางพารา และปาล์มน้ํามัน ซ่ึงเป็นผลมาจากการดูแลเอาใจใส่และบํารุงรักษาท่ีดีขึ้นของเกษตรกร ประกอบกับสถานการณ์เพลย้ี แปง้ ในมนั สําปะหลงั ทลี่ ดลง สาํ หรับสถานการณ์ดา้ นราคา สินค้าเกษตรส่วนใหญ่มี ราคาเพ่ิมข้ึน โดยเฉพาะปาล์มนํ้ามัน ยางแผ่นดิบชั้น 3 และข้าวเปลือกเจ้านาปี ที่ราคาอยู่ในระดับท่ีสูงตามความ ต้องการและราคาในตลาดโลก 2. สาขาปศุสัตว์ พบว่า การผลิตในปี 2554 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.2 เม่ือเทียบกับปี 2553 โดยสถานการณ์ทงั้ ไกเ่ นอื้ ไข่ไก่ และนํ้านมดิบ มีการผลิตท่ดี ีขน้ึ กล่าวคอื การผลิตไก่เนื้อมีระบบการผลิต ที่ดีและปลอดภัย ทําให้ความสูญเสียจากปัญหาโรคระบาดลดลง มีผลผลิตออกสู่ตลาดสมํ่าเสมอและเร่ิมกลับ เข้าสู่ภาวะปกติท้ังในด้านปริมาณและคุณภาพ ประกอบกับความต้องการบริโภคไก่เนื้อของตลาดในประเทศท่ี เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสุกรท่ีมีปริมาณลดลงและมีราคาสูงขึ้น ด้านการผลิตไข่ไก่มีการขยายตัวเพ่ิมข้ึนจากแม่พันธ์ุ ไก่ไข่รุ่นใหม่ทใี่ ห้ผลผลิตไดม้ ากขนึ้ และประสทิ ธิภาพการผลิตไข่ไก่ท่ีดีข้ึนจากการพัฒนาเทคโนโลยีการปรับปรุง พันธุ์และการเล้ียง ขณะที่ภาวการณ์ผลิตนํ้านมดิบมีปริมาณเพ่ิมขึ้นจากแรงจูงใจด้านราคาและจํานวนแม่โคท่ี เพ่ิมข้ึน ส่วนการผลิตสุกรหดตัวลงจากสถานการณ์โรคทางระบบสืบพันธ์ุและระบบทางเดินหายใจ (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome: PRRS) รวมทัง้ ปญั หาอทุ กภยั ไมส่ ง่ ผลกระทบต่อการผลิตสาขา ปศุสตั ว์โดยรวมมากนัก สาํ หรับสถานการณ์ด้านราคาปศุสัตว์ยังคงเพ่ิมข้ึน เน่ืองจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ท่ี สูงขึ้น ประกอบกับความต้องการของตลาดที่เพม่ิ ขึ้น 3. สาขาป่าไม้ การผลิตสาขาป่าไม้ในปี 2554 มีการขยายตัวเพ่ิมขึ้นจากปี 2553 ในอัตรา ร้อยละ 2.2 เนื่องจากผลผลิตของป่าท่ีสําคัญหลายชนิดมีปริมาณเพ่ิมขึ้น ประกอบกับไม้เศรษฐกิจอ่ืนๆ เช่น ยคู าลปิ ตสั มกี ารปลูกมากข้นึ
15 สาขาท่หี ดตัวลงมี 2 สาขา คือ สาขาประมงและสาขาบริการทางการเกษตร 1. สาขาประมง ในปี 2554 หดตัวลดลงร้อยละ 2.6 เน่ืองจากผลกระทบจากสถานการณ์ อุทกภัยในหลายพ้ืนท่ีของประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยเฉพาะในแหล่งผลิตประมงทะเลท่ีสําคัญทางภาคใต้ และหลังจากเกิดอุทกภัยเกษตรกรต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวอีกระยะหน่ึง ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่ แปรปรวนส่งผลต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของสัตว์นํ้า อีกท้ังยังมีอุปสรรคในเร่ืองต้นทุนการผลิตท่ี สูงขนึ้ 2. สาขาบริการทางการเกษตร ลดลงร้อยละ 0.7 เน่ืองจากผลกระทบอุทกภัยในช่วงคร่ึงหลัง ของปีน้ี ทําให้เน้ือที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวพืชผลได้รับความเสียหายทั้งนาข้าว พืชไร่ และพืชสวนต่างๆ โดยเฉพาะพ้นื ท่ปี ลกู ข้าวทีไ่ ดร้ บั ความเสียหายค่อนขา้ งมาก สง่ ผลให้การเกบ็ เก่ยี วผลผลิตขา้ วลดลงตามไปด้วย แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2555 คาดว่า จะขยายตัวต่อเน่ืองอยู่ในช่วงร้อยละ 4.5 – 5.5 ภายใต้สภาพดินฟ้าอากาศที่เป็นปกติ ไม่มีภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง เช่น ภัยแล้ง อุทกภัย รวมท้ังไม่มี ปัญหาแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่างๆ โดยสาขาพืชมีทิศทางเติบโตได้ดี เน่ืองจากราคาพืชส่วนใหญ่ปรับตัว สูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิตมากข้ึน สําหรับสาขาปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องจากการวางแผน การผลติ อย่างเป็นระบบและไดม้ าตรฐาน รวมท้งั ราคาท่ีอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนสาขาประมงมีแนวโน้มเพิ่มข้ึนเช่นกัน แต่ยังมีความอ่อนไหวจากสภาพอากาศที่มีความผันผวน รวมถึงราคาน้ํามันและราคาอาหารสัตว์นํ้าที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึน้ อาจส่งผลใหต้ น้ ทนุ การผลิตเพมิ่ สูงข้ึนด้วย นอกจากน้ี ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น ความผันผวน ของเศรษฐกิจโลก อตั ราแลกเปลีย่ น และราคานํ้ามนั สาขาพืช คาดว่าจะขยายตวั ในช่วงร้อยละ 6.3 – 7.3 เนื่องจากผลผลิตของพืชสําคัญส่วนใหญ่ มีแนวโน้มเพ่ิมขึ้นท้ัง ข้าว อ้อยโรงงาน ยางพารา และปาล์มน้ํามัน จากการที่เกษตรกรขยายการผลิตตาม ทิศทางของราคาท่ีเพ่ิมข้ึน รวมถึงการควบคุมการแพร่ระบาดของศัตรูพืชที่ดีขึ้น สําหรับสถานการณ์ด้านราคามี แนวโน้มเพ่มิ ขน้ึ ในเกอื บทุกสินค้า โดยเป็นไปตามความตอ้ งการของตลาดตา่ งประเทศที่ขยายตวั เพมิ่ ข้นึ สาขาปศุสัตว์ การผลิตปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.1 - 3.1 เนื่องจาก เกษตรกรมีการปรับระบบการเล้ียงท่ีดีข้ึน ซ่ึงจะลดปัญหาโรคทางระบบสืบพันธ์ุและระบบทางเดินหายใจท่ี เกิดขึ้นในสุกร มีการปรับปรุงมาตรฐานฟาร์ม กระบวนการควบคุม และเฝ้าระวังโรคระบาดอย่างต่อเน่ือง ทั้งนี้ การผลิตในสาขาปศุสัตว์ยังคงมีความเส่ียงจากปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน โรคระบาด ภัยธรรมชาติ และ ต้นทนุ การผลติ ทสี่ งู ขึน้ ในขณะทค่ี วามตอ้ งการบริโภคท้งั ตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศยังคงมีแนวโน้ม เพ่ิมขึ้นอย่างต่อเน่ือง สําหรับราคาปศุสัตว์โดยเฉล่ียในปี 2555 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มข้ึนทั้งไก่เน้ือ สุกร และ น้าํ นมดบิ จากความตอ้ งการบริโภค ขณะทรี่ าคาไขไ่ กม่ แี นวโน้มลดลงจากปริมาณผลผลิตทม่ี ากขึ้น สาขาประมง การผลิตปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 0.6 – 1.6 เน่ืองจากราคา ผลผลิตในปี 2554 อยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงที่จะจูงใจให้เกษตรกรเพ่ิมการดูแลและมีการวางแผน การผลิตท่ีดีเพ่ือให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด ส่วนประมงนํ้าจืด หากสถานการณ์เป็น ปกตคิ าดวา่ ผลผลิตสตั วน์ ้าํ จดื ในปี 2555 จะเพิม่ ขึ้นตามการสนบั สนนุ สง่ เสริมของกรมประมงที่มีอยา่ งตอ่ เนือ่ ง สาขาบรกิ ารทางการเกษตร คาดวา่ ปี 2555 มีแนวโน้มเพ่ิมขึ้นตามการขยายตัวของสาขาพืชที่ มีทิศทางเติบโตได้ดี เช่น ข้าว และอ้อยโรงงาน ทําให้มีการจ้างบริการทางการเกษตร เช่น การเตรียมดินและ เก็บเก่ียวผลผลิตมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภัยธรรมชาติและราคาน้ํามันเช้ือเพลิงยังคงเป็นปัจจัยสําคัญต่อสาขา บรกิ ารทางการเกษตร ท้งั น้ี คาดว่ามูลค่าการผลิตสาขาบรกิ ารทางการเกษตรเพิ่มขึน้ อยูใ่ นชว่ งร้อยละ 2.9 - 3.9
16 สาขาป่าไม้ แนวโน้มปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 - 2.0 เน่ืองจากมี การตัดพรรณไม้เศรษฐกิจจากป่าปลูกออกมา เพื่อป้อนโรงงานเฟอร์นิเจอร์และใช้ในภาคการก่อสร้าง ภายหลัง เศรษฐกิจภายในประเทศฟ้ืนตัวจากอุทกภัย ซ่ึงส่งผลให้อุตสาหกรรมไม้ เครื่องเรือน และไม้ก่อสร้างขยายตัว ตามไปด้วย เนื่องจากปลายปี 2554 ได้เกิดอุทกภัยคร้ังใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ทําให้ภาคการเกษตร เสียหายเป็นจํานวนมาก และเกิดผลกระทบต่อพืชผักผลไม้ ประมง อย่างเช่น เกิดโรครากเน่า โคนเน่า ทําให้เกิดการตายยืนต้น ส่วนเกษตรกรท่ีปลูกต้นไม้ได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะแถวถนนพุทธมณฑล สาย 2-4 เขตทวีวัฒนา หลังจากนํ้าท่วมสิ่งท่ีตามมาคือปัญหาต้นพันธ์ุไม่มีเพราะน้ําท่วมหมดกว่าจะพัฒนา สายพันธุ์ใหมจ่ ะตอ้ งใช้เวลาอยา่ งนอ้ ย 2 ปี กวา่ จะฟน้ื ฟไู มต่ าํ่ กวา่ 3 ปี
แนวคดิ พื้นฐานของเกษตรอนิ ทรยี ์ การทําการเกษตรแบบองคร์ วม ซง่ึ แตกตา่ งอยา่ งมากจากระบบเกษตรแผนใหม่ท่ีมงุ่ เน้นการใช้ ปัจจัยการผลิตต่างๆ เพ่ือเพ่ิมผลผลิตเฉพาะพืชที่ปลูก ซ่ึงเป็นแนวคิดแบบแยกส่วน เพราะให้ความสนใจเฉพาะ แต่ผลผลติ ของพชื หลักท่ปี ลกู โดยไมไ่ ด้คํานึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สําหรับ เกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสําคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบ นิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน การรักษาแหล่งน้ําให้สะอาด และการ ฟ้ืนฟูความหลากหลายทางชีวภาพของฟาร์ม ทั้งนี้เพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการ ของระบบนเิ วศในการทําการผลิต จากเหตุผลท่ีได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชและ ปุ๋ยเคมี เน่ืองจากสารเคมีการเกษตรเหล่าน้ีมีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือ จากการปฏิเสธการใช้สารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสําคัญกับการสร้างสมดุลของวงจรของ ธาตุอาหาร การประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทาง ชีวภาพ ซึ่งถือได้ว่าเกษตรอินทรีย์เป็นการบริหารจัดการฟาร์มเชิงบวก (positive management) และการ จัดการเชงิ บวกน้เี องที่ทําให้เกษตรอนิ ทรยี ์แตกต่างอย่างสาํ คัญจากการเกษตรทไ่ี ม่ใชส้ ารเคมีแบบปล่อยปละละเลย หรอื เกษตรปลอดสารเคมีและเกษตรไร้สารพษิ ทีเ่ ฟ่อื งฟูในบา้ นเรามานานหลายปี เน่ืองจากเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรที่ให้ความสําคัญกับการทําฟาร์มเชิงสร้างสรรค์ เพ่ือ อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในไร่นา ดังน้ัน เกษตรกรที่หันมาทําเกษตรอินทรีย์จึงจําเป็นต้อง พัฒนาการเรียนรู้เก่ียวกับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพ่ิมขึ้นด้วย ผลที่ตามมาก็คือเกษตร อินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเกษตรที่ต้ังอยู่บนกระบวนการแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา เพราะเกษตรกรต้อง สังเกต ศึกษา วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ และสรุปบทเรียนเก่ียวกับการทําการเกษตรของฟาร์มตนเอง ซ่ึงจะมี เงื่อนไขท้ังทางกายภาพ เช่น ลักษณะของดิน ภูมิอากาศและภูมินิเวศ รวมถึงเศรษฐกิจสังคมท่ีแตกต่างจาก พ้ืนที่อ่ืน เพ่ือคัดสรรและพัฒนาแนวทางเกษตรอินทรีย์ท่ีเฉพาะและเหมาะสมกับฟาร์มของตัวเองอย่างแท้จริง นอกจากนี้ เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสําคัญกับเกษตรกรผู้ผลิตและชุมชนท้องถ่ินเกษตร อินทรีย์มุ่งหวังท่ีจะสร้างความม่ันคงในการทําการเกษตรสําหรับเกษตรกร ตลอดจนอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิต ของชุมชนเกษตรกรรม วิถีการผลิตของเกษตรอินทรีย์เป็นวิถีการผลิตท่ีเกษตรกรต้องอ่อนน้อมและเรียนรู้ใน การดัดแปลงการผลิตของตนให้เข้ากับวิถีธรรมชาติ อาศัยกลไกธรรมชาติเพื่อทําการเกษตร ดังนั้นวิถีการผลิต เกษตรอินทรีย์จึงเป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตร พ้นื บ้านของสังคมไทย แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์ก็ไม่ได้ปฏิเสธการผลิตเพ่ือการค้า เพราะตระหนักว่า ครอบครัวเกษตรกรส่วนใหญ่จําเป็นต้องพ่ึงพาการจําหน่ายผลผลิตเพ่ือเป็นรายได้ในการดํารงชีพ ขบวนการ เกษตรอินทรยี ์พยายามสง่ เสริมการทําการตลาดผลผลิตเกษตรอนิ ทรียท์ ง้ั ในระดับทอ้ งถ่ิน ประเทศ และระหว่าง ประเทศ โดยการตลาดท้องถ่ินอาจมีรูปแบบท่ีหลากหลายตามแต่เงื่อนไขทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมของ ท้องถิ่นนั้น เช่น ระบบชุมชนสนับสนุนการเกษตร (Community Support Agriculture - CSA) หรือระบบ
18 อื่นๆ ท่ีมีหลักการในลักษณะเดียวกัน ส่วนตลาดท่ีห่างไกลออกไปจากผู้ผลิต ขบวนการเกษตรอินทรีย์ได้ พยายามพัฒนามาตรฐานการผลิตและระบบการตรวจสอบรับรองท่ีสร้างความม่ันใจให้กับผู้บริโภคได้ว่า ทุกข้ันตอนของการผลิต แปรรูป และการจัดการน้ันเป็นการทํางานท่ีพยายามอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรกั ษาคุณภาพของผลผลติ ให้เปน็ ธรรมชาตเิ ดมิ มากทสี่ ดุ จากแนวคิดหลักพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์ ที่มุ่งเน้นการทําการเกษตรที่อนุรักษ์และฟื้นฟู ส่ิงแวดล้อม แนวทางปฏิบัติของเกษตรอินทรีย์จึงเน้นการผลิตความสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ โดยการ ประยุกต์ปรับใช้กลไกนิเวศธรรมชาติสําหรับการทําเกษตรท่ีสําคัญได้แก่ การหมุนเวียนธาตุอาหาร การสร้าง ความอดุ มสมบรู ณ์ของดิน ความสมั พนั ธ์แบบสมดุลของสิ่งมีชีวิตท่ีหลากหลาย และการอนุรักษ์และฟ้ืนฟูนิเวศ การเกษตร การหมนุ เวียนธาตอุ าหาร ในป่าธรรมชาติต้นไม้พืชพรรณได้รับธาตุอาหารจากดินและอากาศ โดยธาตุอาหารในดินจะ ถูกดูดซึมผ่านทางราก ส่วนธาตุอาหารในอากาศพืชจะได้รับจากการหายใจทางใบ เมื่อพืชได้รับแสงก็จะ สังเคราะห์ธาตุอาหารเหล่าน้ีมาเป็นสารอาหารต่างๆ ซ่ึงทําให้พืชเจริญเติบโต และเพิ่มชีวมวล (biomass) ของ พืชเอง ไม่ว่าจะเป็นลําต้นที่ขยายใหญ่ข้ึน กิ่งก้านและใบเพิ่มขึ้น ฯลฯ เม่ือใบหรือก่ิงแก่ลงก็จะร่วงหล่นลงดิน หรือบางส่วนของพชื อาจถกู สตั วห์ รอื แมลงกดั แทะ และเม่ือสัตว์ถ่ายมูลออกมา มูลเหล่าน้ันก็กลับคืนลงสู่ดิน ทั้ง ชีวมวลจากพชื และมลู สัตว์ท่ีกินพืช (ที่เราเรียก “อินทรียวัตถุ”) เมื่อกลับคืนสู่ดินก็จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมา ซ่ึงรากพืชจะดูดซึมกลับไปเป็นธาตุอาหารอีกครั้งหน่ึง วัฏจักรหรือวงจรธาตุ อาหารท่ีหมุนเวียนไปอย่างสมดุลน้ีเอง ที่ทําให้พืชในป่าสามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนเป็นเวลาหลายร้อย หลายพนั ปี เพราะธาตอุ าหารทง้ั หมดหมนุ เวียนอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ อย่างต่อเนอ่ื ง แน่นอนว่าการทําเกษตรไม่ว่าจะเพื่อยังชีพหรือเพ่ือจําหน่ายก็ตาม ธาตุอาหารส่วนหน่ึงย่อม สูญหายไปจากระบบนิเวศการเกษตรจากการบริโภคผลผลติ ดังน้ันเกษตรกรจําเป็นต้องหาวิธีการที่เหมาะสมใน การหาธาตุอาหารจากภายนอกฟาร์มมาชดเชยส่วนท่ีสูญเสียไป แต่ปัญหาการสูญเสียธาตุอาหารในฟาร์มที่ สําคัญกว่าก็คือ การสูญเสียธาตุอาหารในดินที่เกิดขึ้นจากการชะล้างหน้าดิน การกัดเซาะของลม ฝน และน้ํา ธาตุอาหารท่ีไหลลงดินลึกช้ันล่าง รวมถึงท่ีสูญเสียไปทางอากาศ ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงให้ความสําคัญกับการ ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารท่ีเกิดจากระบบการผลิต โดยมีเป้าหมายเพ่ือลดการพ่ึงพาแหล่งธาตุอาหารจาก ภายนอกฟาร์มทีม่ ากเกินไป แนวทางการหมนุ เวียนธาตอุ าหารในฟาร์มอาศัยหลักการทางธรรมชาติ ด้วยการใช้ธาตุอาหาร พชื ที่อยูใ่ นรูปของอนิ ทรยี วัตถทุ ีส่ ามารถย่อยสลายไดโ้ ดยจุลินทรีย์ ซง่ึ จะทาํ ให้วงจรธาตอุ าหารหมุนเวียนได้อยา่ ง ต่อเนื่อง ตัวอย่างของการหมุนเวียนธาตุอาหารในแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่สําคัญ คือ การใช้ปุ๋ยหมัก การคลุมดิน ดว้ ยอินทรียวัตถุ การปลกู พืชเปน็ ป๋ยุ พชื สด และการปลกู พชื หมุนเวียน เปน็ ตน้ ความอดุ มสมบูรณข์ องธาตอุ าหารในดิน
19 ความอุดมสมบูรณ์ของดินถือได้ว่าเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ ผิวดินในระบบนิเวศ ปา่ ธรรมชาตจิ ะมีเศษซากพืชและใบไมป้ กคลุมอย่ตู ลอดเวลา ซึ่งอินทรียวัตถุท่ีคลุมดินน้ี นอกจากจะช่วยป้องกัน การกัดเซาะและการพังทลายของหน้าดินแล้ว ยังมีส่วนสําคัญท่ีทําให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากข้ึน เพราะ อนิ ทรียวตั ถเุ หลา่ นี้เป็นอาหารของสง่ิ มชี วี ิตและจุลินทรีย์ท่อี ยใู่ นดิน ดังนัน้ การมอี ินทรียวตั ถคุ ลุมหน้าดินจึงทาํ ให้ ดินมชี ีวติ ข้นึ ซง่ึ เม่ืออินทรียวัตถุเหล่านี้ย่อยสลายผุพัง (โดยการทํางานของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน) ก็จะทํา ให้เกดิ ฮวิ มัสซ่ึงทําให้ดินร่วนซุย และสามารถเก็บกักนํ้าและธาตุอาหารต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น ดินจึงมีความชื้นอยู่ ตลอดเวลาและมีธาตุอาหารเพียงพอให้กับพืชพรรณในบริเวณดังกล่าวเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง ดังน้ัน หลักการของการทําเกษตรอินทรีย์จึงจําเป็นต้องหาอินทรียวัตถุต่างๆ มาคลุมหน้าดิน อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นฟาง ใบไม้ หรือแม้แต่พืชขนาดเล็ก (เช่น พืชท่ีใช้ปลูกคลุมดิน) ซ่ึงอินทรียวัตถุเหล่าน้ีจะ กลายเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน ทําให้ดินฟ้ืนกลับมามีชีวิตอีกคร้ังหน่ึง นอกจากน้ีการไม่ใช้ สารเคมีต่างๆ ท่ีเป็นอันตรายต่อส่ิงมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน (เช่น สารเคมีกําจัดศัตรูพืช) เป็นการช่วยทําให้ดิน สามารถฟ้ืนความสมบรู ณข์ องตัวเองได้อยา่ งรวดเร็ว เมื่อดนิ มคี วามสมบรู ณ์พืชท่ีปลูกก็แข็งแรง มีความต้านทาน ตอ่ โรคและแมลง รวมทง้ั ให้ผลผลติ สงู ความหลากหลายท่ีสมั พนั ธ์กนั อยา่ งสมดุลในระบบนเิ วศ นิเวศป่าธรรมชาติมีพืชพรรณและส่ิงมีชีวิตต่างๆ อยู่ร่วมกันอย่างหลากหลาย ส่ิงมีชีวิตต่างๆ เหล่านี้มีทั้งที่พึ่งพาอาศัยกัน แข่งขันกัน หรือเป็นอาหารของส่ิงมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง แต่ต่างก็สามารถดํารงอยู่ ร่วมกันได้อย่างสมดุลและมีเสถียรภาพ พืชพรรณต่างๆ แม้จะมีแมลงหรือศัตรูที่กินพืชนั้นเป็นอาหารบ้าง แต่ก็ ไม่ได้ทําลายพืชน้ันจนเสียหายไปทั้งหมด ทั้งนี้เพราะพืชเองก็มีความสามารถท่ีจะฟื้นฟูตัวเองจากการทําลาย ของศัตรูพืชได้ และนอกจากน้ีเมื่อมีแมลงศัตรูพืชเกิดขึ้นมาก ก็จะมีส่ิงมีชีวิตอื่นท่ีเป็นศัตรูตามธรรมชาติมา ควบคมุ ประชากรของศตั รูพืชใหล้ ดลงอย่ใู นภาวะทสี่ มดลุ จากหลักการนี้เอง การทําเกษตรอินทรีย์จะต้องหาสมดุลของการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย ไมว่ า่ จะเปน็ การปลกู พืชร่วมหลายชนิดในเวลาเดียวกนั หรอื เหล่ือมเวลากัน ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียนต่าง ชนิดกัน รวมทั้งการเล้ียงสัตว์ ท้ังน้ีการทําเกษตรท่ีหลากหลาย ซ่ึงมักนิยมเรียกกันว่า “เกษตรผสมผสาน” นับเปน็ การใช้ประโยชน์จากทรพั ยากรอยา่ งมีประสิทธิภาพมากกว่า และยังเป็นการลดความเสี่ยงภัยจากปัญหา โรคและแมลงศัตรูพืชระบาดอีกด้วย นอกจากน้ีการไม่ใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชจะมีส่วนช่วยให้ศัตรูธรรมชาติ สามารถแสดงบทบาทในการควบคุมศัตรูพืช ซึ่งเป็นการสร้างสมดุลนิเวศการเกษตรอีกวิธีหนึ่ง เพราะการใช้ สารเคมีกําจัดศัตรูพืชจะทําลายศัตรูธรรมชาติในสัดส่วนท่ีมากกว่าศัตรูพืช ทําให้ศัตรูพืชกลับย่ิงระบาดรุนแรง มากขึ้นอีก การอนุรักษแ์ ละฟน้ื ฟูนิเวศการเกษตร
20 แนวทางสําคัญของเกษตรอินทรีย์ก็คือ การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและส่ิงแวดล้อม ด้วยการปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด ท้ังนี้เพราะปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ทําลาย สมดุลของนิเวศการเกษตรและส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช (ไม่ว่าจะเป็น สารเคมีฆ่าแมลง สารเคมีป้องกันกําจัดเช้ือรา และสารเคมีกําจัดวัชพืช) มีผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่ในฟาร์มทั้ง ทอี่ ยู่บนผวิ ดนิ และใตด้ ิน เชน่ สตั ว์ แมลง และจลุ ินทรีย์ ในกลไกธรรมชาตสิ ิ่งมีชีวติ ต่างๆ เหล่านี้มีบทบาทสําคัญ ในการสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการช่วยควบคุมประชากรของสิ่งมีชีวิตอื่น โดยเฉพาะอย่าง ย่ิงศัตรูพืช หรือการพึ่งพาอาศัยกันในการดํารงชีวิต เช่น การผสมเกสร และการช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ ซึ่ง สิ่งมีชีวิตเหล่าน้ีส่วนใหญ่มีท้ังที่เป็นประโยชน์ต่อพืชท่ีเกษตรกรเพาะปลูก หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้สร้างผลเสียกับ พชื ทีป่ ลกู แต่อยา่ งใด แตก่ ารใชส้ ารเคมกี ําจัดศัตรพู ืชนนั้ มีผลทาํ ลายสงิ่ มชี ีวติ ท้ังหมด โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ ส่ิงมีชวี ติ ท่เี ป็นประโยชน์ ในขณะที่โรคและแมลงศตั รูพืชมกั จะมคี วามสามารถพเิ ศษในการพัฒนาภมู ิต้านทานต่อสารเคมี ดังนั้นเมื่อมีการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช แมลงท่ีเป็นประโยชน์จึงถูกทําลายได้โดยง่าย ในขณะที่แมลงศัตรูพืช สามารถอยู่รอดได้โดยไม่เป็นอันตราย แม้แต่ปุ๋ยเคมีก็มีผลเสียต่อจุลินทรีย์และส่ิงมีชีวิตในดิน ทําให้สมดุลของ นิเวศดินเสีย ดังน้ันเกษตรอินทรีย์จึงห้ามไม่ให้ใช้ปัจจัยการผลิตท่ีเป็นสารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในการเพาะปลูก นอกเหนอื จากการอนุรักษแ์ ลว้ แนวทางเกษตรอินทรีย์ยังเน้นให้เกษตรกรต้องฟื้นฟูสมดุลและ ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศด้วย ซ่ึงหลักการน้ีทําให้เกษตรอินทรีย์มีความแตกต่างอย่างมากจากระบบ เกษตรปลอดสารเคมที ่รี ูจ้ ักกนั ในประเทศไทย แนวทางหลักในการฟนื้ ฟูนิเวศการเกษตรก็คือ การปรับปรุงบํารุงดิน ดว้ ยอินทรียวัตถุ และการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ สําหรับระบบเกษตรอินทรีย์ ดินถือว่าเป็นกุญแจสําคัญ เพราะการปรับปรุงบํารุงดินทําให้ ต้นไม้ได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วนและสมดุล ซ่ึงจะช่วยให้ต้นไม้แข็งแรง มีความต้านทานต่อการระบาดของ โรคและแมลง อันจะทําให้เกษตรกรไม่จําเป็นต้องพ่ึงพาการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช ทั้งยังสามารถเพ่ิมผลผลิต ได้อย่างยัง่ ยืนกว่าการเพาะปลูกด้วยระบบเกษตรเคมีอีกด้วย นอกจากน้ีผลผลิตของเกษตรอินทรีย์ยังมีรสชาติดี และมคี ุณคา่ ทางโภชนาการท่คี รบถ้วน นอกเหนือจากการปรับปรุงบํารุงดินแล้ว การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นาก็เป็น ส่ิงจําเป็น นับเปน็ เร่อื งสําคัญต่อความยงั่ ยืนของระบบนิเวศการเกษตร เพราะการท่ีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอยู่ ร่วมกันย่อมก่อให้เกิดความเกื้อกูลและสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกระบวนการและพลวัตทาง ธรรมชาตทิ เี่ กอ้ื หนนุ ตอ่ การทําเกษตรอนิ ทรียอ์ ีกตอ่ หนงึ่ วธิ ีการเพ่มิ ความหลากหลายทางชวี ภาพอาจทําได้หลาย รูปแบบ เช่น การปลูกพืชร่วม พืชแซม พืชหมุนเวียน ไม้ยืนต้น หรือการฟ้ืนฟูแหล่งนิเวศธรรมชาติในไร่นาหรือ บริเวณใกล้เคียง การผลิตพืชอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตพืชที่คํานึงถึงส่ิงแวดล้อม สมดุลธรรมชาติและความ หลาก หลายทางชีวภาพ มีการจัดการระบบนิเวศท่ีคล้ายคลึงกับธรรมชาติ หลีกเล่ียงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ทกุ ชนิดไม่ว่าจะเปน็ ป๋ยุ เคมี สารเคมี กาํ จัดศตั รูพืช และฮอรโ์ มนตา่ งๆ ตลอดจนไมใ่ ชพ้ ืชที่เกิดจากการตัดต่อสาร พันธกุ รรม เน้นการใชอ้ นิ ทรียวตั ถุ เช่น ป๋ยุ คอก ปยุ๋ หมัก ปุย๋ พืชสด และปุย๋ ชีวภาพ ในการปรบั ปรุงดินให้มีความ อุดมสมบูรณ์ เพ่ือให้ต้นพืชมีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคและแมลงได้ด้วยตนเอง ผลผลิตที่ได้จึง
21 ปลอดภยั จากอันตรายของสารพษิ ตกคา้ ง ทําใหป้ ลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และไม่ทําให้ส่ิงแวดล้อมเส่ือมโทรม พึง่ พากลไกธรรมชาติในการทําเกษตร เกษตรอินทรีย์ตั้งอยู่บนปรัชญาแนวคิดท่ีว่า การเกษตรท่ียั่งยืนต้องเป็นการเกษตรท่ีเป็นไป ตามครรลองของธรรมชาติ ไม่ใช่การเกษตรท่ีฝืนวิถีธรรมชาติ ดังนั้น การทําเกษตรจึงไม่ใช่การพยายามเอาชนะ ธรรมชาติหรือการพยายามดัดแปลงธรรมชาติเพื่อการเพาะปลูก แต่เป็นการเรียนรู้จากธรรมชาติและปรับ ระบบการทาํ เกษตรใหเ้ ขา้ กบั วถิ แี หง่ ธรรมชาติ กลไกในธรรมชาติที่สําคัญต่อการทําเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ วงจรการหมุนเวียนธาตุอาหาร โดยเฉพาะอย่างย่ิงวงจรไนโตรเจนและคาร์บอน วงจรการหมุนเวียนของน้ํา พลวัตของภูมิอากาศและ แสงอาทิตย์ รวมท้ังการพึ่งพากันของส่ิงมีชีวิตอย่างสมดุลในระบบนิเวศ ท้ังในเชิงของการเก้ือกูล การพ่ึงพา และหว่ งโซ่อาหาร ตามท่ีต่างๆ ท่วั โลกยอ่ มมีระบบนิเวศและกลไกตามธรรมชาติท่ีแตกต่างกันออกไป เกษตรกรท่ี ทําเกษตรอินทรีย์จึงจําเป็นท่ีจะต้องเรียนรู้ถึงสภาพเงื่อนไขของท้องถิ่นที่ตนเองทําการเกษตรอยู่ การสังเกต เรียนรู้ วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ และทําการทดลอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องดําเนินการไปอย่างต่อเน่ือง เพ่ือท่ีวา่ ระบบฟาร์มเกษตรอนิ ทรยี ์ของเกษตรกรแตล่ ะรายจะไดใ้ ช้ประโยชนจ์ ากกลไกธรรมชาติและสภาพนิเวศ ทอ้ งถิน่ อยา่ งเต็มที่ การพ่งึ พาตนเองด้านปจั จัยการผลติ เกษตรอินทรีย์มีแนวทางท่ีมุ่งให้เกษตรกรพยายามผลิตปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพนั ธุ์ ฯลฯ ด้วยตนเองในฟารม์ ให้ได้มากทสี่ ุด แต่ในกรณที ่เี กษตรกรไมส่ ามารถผลติ ได้เอง (เช่น มีพื้นท่ีการ ผลิตไม่พอเพียง หรือต้องมีการลงทุนสูงสําหรับการผลิตปัจจัยการผลิตท่ีจําเป็นต้องใช้) เกษตรกรก็สามารถซ้ือ หาปจั จัยการผลิตจากภายนอกฟารม์ ได้ แต่ควรเป็นปัจจยั การผลิตท่มี ีอยู่แลว้ ในท้องถิ่น แนวทางนี้เป็นไปตามหลักการสร้างสมดุลของวงจรธาตุอาหารท่ีกระตุ้นให้เกษตรกรพยายาม จดั สมดลุ ของวงจรธาตุอาหารในระบบที่เล็กทส่ี ุด (ซ่งึ กค็ ือในฟารม์ ของเกษตรกร) และมีความสอดคล้องกบั นเิ วศ ของท้องถิ่น อันจะช่วยสร้างเสถียรภาพและความย่ังยืนของระบบการผลิตในระยะยาว นอกจากนี้การเลือกใช้ ปัจจัยการผลิตท่ีมีอยู่ในท้องถิ่นยังเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดปัญหาผลกระทบท่ีเกิดข้ึน จากการขนยา้ ยปัจจัยการผลติ เป็นระยะทางไกลๆ การพ่ึงพาตนเองด้านปัจจัยการผลิตยังมีนัยทางเศรษฐกิจและสังคมท่ีสําคัญ กล่าวคือ เกษตร อินทรีย์ไม่ใช่เพียงแค่เทคนิคการผลิต แต่เป็นวิถีชีวิตและขบวนการทางสังคม จากประสบการณ์ของการพัฒนา ระบบเกษตรเคมีที่ผ่านมา เกษตรกรสูญเสียการเข้าถึงและการควบคุมปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิตใน เกือบทุกข้ันตอน จําเป็นต้องพึ่งพิงองค์กรภาครัฐและธุรกิจเอกชนในการจัดหาปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี การผลิตเกือบทุกด้าน จนเกษตรกรเองแทบไม่ต่างไปจากแรงงานรับจ้างในฟาร์มที่ทํางานในท่ีดินของตนเอง การส่งเสริมการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในระบบเกษตรอินทรีย์จึงเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็ง
22 และความเปน็ อสิ ระของเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร ซึ่งจะมีส่วนสําคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากหญ้า อกี ด้วยฟาร์มเกษตร หลักการสําคัญ 4 ข้อของเกษตรอินทรีย์ คือ สุขภาพ นิเวศวิทยา ความเป็นธรรม และการ ดแู ลเอาใจใส่ (health ecology fairness and care) (ก) มติ ิดา้ นสขุ ภาพ เกษตรอนิ ทรีย์ควรจะต้องส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่าง เปน็ องคร์ วมของดนิ พืช สตั ว์ มนุษย์ และโลก สุขภาวะของส่ิงมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกันกับสุขภาวะของระบบนิเวศ การท่ีผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์จะทําให้พืชพรรณต่างๆ แข็งแรง มีสุขภาวะที่ดี ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ที่ อาศัยพืชพรรณเหลา่ นัน้ เป็นอาหาร สขุ ภาวะเปน็ องค์รวมและเป็นปจั จยั ทส่ี าํ คญั ของสิ่งมีชวี ิต การมีสขุ ภาวะทีด่ ไี ม่ใชก่ ารปราศจาก โรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงภาวะแห่งความเป็นอยู่ที่ดีของกายภาพ จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และความสามารถในการฟื้นตัวเองจากความเสื่อมถอยเป็นองคป์ ระกอบที่สําคญั ของสุขภาวะที่ดี บทบาทของเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในไร่นา การแปรรูป การกระจายผลผลิต หรือการบริโภค ต่างก็มีเป้าหมายเพ่ือเสริมสร้างสุขภาวะท่ีดีของระบบนิเวศและส่ิงมีชีวิตทั้งปวง ตั้งแต่ส่ิงมีชีวิต ท่ีมีขนาดเล็กสุดในดินจนถึงตัวมนุษย์เราเอง เกษตรอินทรีย์จึงมุ่งที่จะผลิตอาหารท่ีมีคุณภาพสูง และมีคุณค่า ทางโภชนาการ เพ่ือสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีข้ึน ด้วยเหตุน้ี เกษตรอินทรีย์จึงเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ ปุ๋ยเคมี สารเคมีกําจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สัตว์ และสารปรุงแต่งอาหาร ที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ (ข) มิติด้านนิเวศวิทยา เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยา และวัฏจักรแห่งธรรมชาติ การผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทําให้ระบบ ธรรมชาตเิ พม่ิ พนู และยง่ั ยืนมากขน้ึ หลักการเกษตรอินทรีย์ในเรื่องน้ีต้ังอยู่บนกระบวนทัศน์ที่มองเกษตรอินทรีย์ในฐานะ องค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศที่มีชีวิต ดังน้ัน การผลิตการเกษตรจึงต้องพ่ึงพาอาศัยกระบวนการทาง นิเวศวิทยาและวงจรของธรรมชาติ โดยการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศสําหรับให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของการปลูกพืช เกษตรกรจะต้องปรับปรุงดินให้มีชีวิต หรือในการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกร จะต้องใส่ใจกับระบบนิเวศโดยรวมของฟาร์ม หรือในการเพาะเล้ียงสัตว์นํ้า เกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศ ของบ่อเลยี้ ง การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือแม้แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า จะต้องสอดคล้องกับวัฏจักร และสมดุลทางธรรมชาติ แม้ว่าวัฏจักรธรรมชาติจะเป็นสากล แต่อาจจะมีลักษณะเฉพาะท้องถ่ินนิเวศได้ ดังนั้น การจัดการเกษตรอินทรีย์จึงจําเป็นต้องสอดคล้องกับเง่ือนไขท้องถิ่น ภูมินิเวศ วัฒนธรรม และเหมาะสมกับ ขนาดของฟาร์ม เกษตรกรควรใช้ปัจจัยการผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้ซํ้า การหมุนเวียน เพอื่ ทจ่ี ะอนรุ กั ษท์ รพั ยากรและส่งิ แวดลอ้ มใหม้ ีความยั่งยนื ฟาร์มเกษตรอินทรยี ์ควรสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร โดยการออกแบบระบบการทําฟาร์ม ทเ่ี หมาะสม การฟื้นฟรู ะบบนเิ วศทอ้ งถิ่น และการสร้างความหลากหลายท้ังทางพันธุกรรมและกิจกรรมทางการ
23 เกษตร ผู้คนตา่ งๆ ที่เกี่ยวขอ้ งกับการผลติ การแปรรูป การคา้ และการบริโภคผลผลิตเกษตรอนิ ทรยี ์ควรช่วยกัน ในการอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม ทั้งในแง่ของภูมินิเวศ สภาพบรรยากาศ นิเวศท้องถ่ิน ความหลากหลายทางชีวภาพ อากาศ และนํ้า (ค) มิติด้านความเป็นธรรม เกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรม ระหว่างสิ่งแวดลอ้ มโดยรวมและส่งิ มชี วี ิต ความเปน็ ธรรมน้รี วมถงึ ความเทา่ เทียม การเคารพ ความยุตธิ รรม และการมีส่วนในการปกปัก พิทักษ์โลกที่เราอาศัยอยู่ ทั้งในระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง และระหว่างมนุษย์กับส่ิงมีชีวิตอื่นๆ ในหลักการด้านน้ี ความสัมพันธ์ของผู้คนท่ีเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและการจัดการ ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในทุกระดับควรมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรม ท้ังเกษตรกร คนงาน ผู้แปรรูป ผู้จัด จําหน่าย ผู้ค้า และผู้บริโภค ทุกผู้คนควรได้รับโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนช่วยในการรักษา อธิปไตยทางอาหาร และช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน เกษตรอินทรีย์ควรมีเป้าหมายในการผลิตอาหารและ ผลผลติ การเกษตรอน่ื ๆ ที่เพียงพอ และมคี ุณภาพทีด่ ี ในหลกั การข้อนห้ี มายรวมถงึ การปฏบิ ตั ิตอ่ สตั วเ์ ลีย้ งอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างย่ิงการจัด สภาพการเล้ียงให้สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการทางธรรมชาติของสัตว์ รวมท้ังดูแลเอาใจใส่ความ เป็นอยู่ของสัตวอ์ ยา่ งเหมาะสม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นํามาใช้ในการผลิตและการบริโภคควรจะต้อง ดําเนินการอยา่ งเป็นธรรม ทง้ั ทางสงั คมและทางนเิ วศวิทยา รวมท้งั ต้องมีการอนุรักษ์ปกป้องให้กับอนุชนรุ่นหลัง ความเป็นธรรมน้ีจะรวมถึงว่า ระบบการผลิต การจําหน่าย และการค้าผลผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องโปร่งใส มี ความเป็นธรรม และมีการนําตน้ ทุนทางสงั คมและส่งิ แวดล้อมมาพจิ ารณาเป็นตน้ ทนุ การผลติ ดว้ ย (ง) มิติด้านการดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดําเนินการอย่าง ระมัดระวังและรับผิดชอบ เพ่ือปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมท้ัง พิทักษ์ปกปอ้ งสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย เกษตรอินทรีย์เป็นระบบที่มีพลวัตรและมีชีวิตในตัวเอง ซ่ึงการเปล่ียนแปลงจะเกิดข้ึนได้ทั้ง จากปัจจัยภายในและภายนอก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ควรดําเนินกิจการต่างๆ เพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพ และเพ่ิมผลผลิตในการผลิต แต่ในขณะเดียวกันจะต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดความเส่ียงต่อสุขภาพและ ส่งิ แวดลอ้ ม ดังนี้ เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ จะต้องมีการประเมินผลกระทบอย่างจริงจัง และแม้แต่เทคโนโลยีท่ี มีการใช้อยู่แล้ว ก็ควรจะต้องมีการทบทวนและประเมินผลกันอยู่เนืองๆ ท้ังน้ีเพราะมนุษย์เรายังไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจอย่างดีพอเก่ียวกับระบบนิเวศการเกษตร ที่มีความสลับซับซ้อน ดังนั้น เราจึงต้องดําเนินการต่างๆ ดว้ ยความระมดั ระวังเอาใจใส่ ในหลักการนี้ การดําเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบเป็นหัวใจสําคัญของการบริหาร จัดการ การพัฒนา และการคัดเลือกเทคโนโลยีที่จะนํามาใช้ในเกษตรอินทรีย์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็น สิ่งจําเป็นเพ่ือสร้างหลักประกันความม่ันใจว่า เกษตรอินทรีย์น้ันปลอดภัยและเหมาะกับส่ิงแวดล้อม แต่อย่างไร ก็ตาม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ประสบการณ์จากการปฏิบัติ และภูมิปัญญา
24 ทอ้ งถ่ินที่สะสมถา่ ยทอดกนั มากอ็ าจมบี ทบาทในการแก้ปัญหาต่างๆ ไดเ้ ช่นกนั เกษตรกรและผู้ประกอบการควร มีการประเมินความเสี่ยง และเตรียมการป้องกันจากนําเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ และควรปฏิเสธเทคโนโลยีที่มี ความแปรปรวนมาก เช่น เทคโนโลยีพันธุวศิ วกรรม การตดั สินใจเลอื กเทคโนโลยตี า่ งๆ จะต้องพิจารณาถึงความ จําเป็นและระบบคุณค่าของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ และจะต้องมีการปรึกษาหารือ อยา่ งโปรง่ ใสและมสี ว่ นรว่ ม การพฒั นาเกษตรอินทรียข์ องไทย การพัฒนาประเทศไทยในหลายสิบปีที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจกระแสหลัก เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ (จีดีพี) ทางด้านการเกษตรก็เช่นเดียวกันได้มุ่งเน้น ประสิทธิภาพการผลิตที่ต้องอาศัยสารเคมี ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เปิดปัญหาด้านสุขภาพของท้ัง ผู้ผลิตและผู้บริโภค การทําการเกษตรอินทรีย์ถือเป็นทางเลือกหน่ึงในการแก้ปัญหาดังกล่าว ท่ีจะก่อให้เกิด ความสมดุลและการพัฒนาท่ียั่งยืน แต่การดําเนินการในขณะนี้ยังมีอุปสรรคและข้อจํากัด และจะนําไปสู่ ความสําเรจ็ ไดอ้ ยา่ งไรน้ัน ตอ้ งมกี ารศกึ ษาในเรื่องนี้อย่างจริงจงั ปัจจัยความสําเร็จของผักเกษตรอินทรีย์พบว่ามีปัจจัยท่ีสําคัญ 14 ปัจจัยด้วยกัน คือ 1. การจัดการปัจจัยการผลิตให้มีเพียงพอ เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และสามารถ เขา้ ถงึ ได้ 2. การจัดการระบบการผลิตที่ดีและเหมาะสม และความรู้ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจ ผกั เกษตรอินทรียข์ องผผู้ ลิต 3. ศกั ยภาพในการผลิตผกั เกษตรอนิ ทรีย์ และทัศนคติที่ดีต่อผักเกษตรอินทรีย์ของผู้ผลิตและ ประกอบการ 4. การตลาดผักเกษตรอินทรีย์ที่เอื้อให้ผู้บริโภคเข้าใจผักเกษตรอินทรีย์และขยายความ ต้องการของผบู้ รโิ ภค 5. การจัดการโลจสิ ติกส์ท่สี นับสนุนผักเกษตรอนิ ทรีย์ 6. พฤติกรรมผู้บริโภคผักเกษตรอินทรีย์ท่ีเหมาะสมและความเชื่อม่ันของผู้บริโภค 7. กลมุ่ และเครือข่ายผักเกษตรอินทรียท์ คี่ รอบคลุมและเข้มแขง็ 8. การสื่อสารและประชาสัมพันธ์เชิงรุกท่ีก่อให้เกิดผลกระทบเชิงพฤติกรรมที่ดีผักเกษตร อนิ ทรยี ข์ องผู้ท่ีเกย่ี วข้องทง้ั หมด 9. มาตรฐานและระบบการรบั รองผักเกษตรอนิ ทรยี ์และชัดเจนเหมาะสม 10. ฐานข้อมูลผักเกษตรอินทรีย์ท่ีน่าเชื่อถือ และสามารถเข้าถึงได้ครอบคลุมในทุกๆด้าน 11. การวิจัยท่สี นับสนุนการดาํ เนนิ งานผกั เกษตรอนิ ทรยี ์ 12. การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 13. ศักยภาพและทัศนคติที่ดีต่อเกษตรอินทรีย์ของเจ้าหน้าท่ีหน่วยงานรัฐท่ีเก่ียวข้องต่อ เกษตรอินทรีย์
25 14. นโยบายและกฎหมายทส่ี นับสนุนผักเกษตรอินทรยี ์ทเ่ี หมาะสม สาํ หรบั แนวสู่ความสาํ เรจ็ นนั้ จะต้องเป็นแนวทางท่ีทุกกลุ่มจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และมีความต่อเน่ือง กลุ่มดําเนินการท่ีประกอบด้วยผู้ผลิต ด้านปัจจัยการผลิต ผู้ผลิตผักเกษตรอินทรีย์และ ผู้ประกอบการผักเกษตรอินทรีย์ ต้องมีการรวบรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันเพื่อให้เกิดห่วงโซ่ อุปทานท่ีเข้มแข็ง กลุ่มผู้บริโภคจะต้องได้รับความรู้และความเข้าใจเก่ียวกับเกษตรอินทรีย์อย่างถูกต้องทั้งจาก ภาครัฐและเอกชน ส่วนกลุ่มสนับสนุนภาครัฐและเอกชนควรสร้างหรือปรับปรุงเคร่ืองมือต่างๆ เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ ระบบฐานข้อมูล การวิจัย ฯลฯ ให้ไปส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง ดังน้นั จึงมขี ้อเสนอแนะเชงิ นโยบายทีส่ าํ คญั ได้แก่ 1. ปรับปรุงกฎระเบียบ กฎหมายท่ีเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สารธรรมชาติ และการพัฒนาเกษตรอินทรยี ์ 2. พัฒนาความรู้และศักยภาพของเกษตรกรโดยยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางและภูมิปัญญา ทอ้ งถ่นิ และพัฒนาความรู้และศักยภาพจากพ้นื ฐานแต่ละกลุ่ม 3. จัดต้ังศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักเกษตรอินทรีย์และส่งเสริมการร่วมทุนระหว่างภาคเอกชนกับ กลุม่ เกษตรกรทมี่ ีศกั ยภาพในการผลิตและวิจยั เมลด็ พนั ธผุ์ ักเกษตรอินทรยี ์ 4. จัดใหม้ ีระบบที่สร้างหลกั ประกนั แก่ผู้ผลิตผักเกษตรอนิ ทรยี ์ 5. จัดให้มีระบบการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเก่ียวกับเกษตรอินทรีย์ในลักษณะ การศึกษาเชงิ บันเทิง 6. จัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการบริหารจัดการเก่ียวกับเกษตรอินทรีย์และฐานข้อมูลท่ี ครอบคลมุ และทนั สมัย 7. ส่งเสริมการนําผักเกษตรอินทรีย์ไปบริโภคในกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถงึ การจัดให้มีรา้ นคา้ ผกั เกษตรอินทรียใ์ นหนว่ ยงานของรัฐและเอกชน ทําไมต้องเกษตรอนิ ทรีย์ จากรายงานการสํารวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2543 พบว่าประเทศไทยมีเน้ือที่ทําการเกษตรอันดับที่ 48 ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้า อันดับ 4 ของโลก ใช้ฮอร์โมนอันดับท่ี 4 ของโลก ประเทศไทยนําเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงิน ปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท เกษตรกรต้องซ้ือปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์เพ่ือใช้ในการเพาะปลูก ซ่ึง เป็นต้นทุนการผลิตทางตรงที่เกษตรกรต้องแบกรับ ส่งผลให้ต้องมีการลงทุนต่อไร่สูงและต้องใช้เพ่ิมข้ึนอย่าง ต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตไม่ได้ปรับตัวสูงข้ึนตามสัดส่วนของต้นทุนท่ีสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนเร้ือรัง มหี นี้สนิ ลน้ พน้ ตวั ดงั น้ัน เกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแกป้ ญั หาเหลา่ นไี้ ด้ การเกษตรสมยั ใหมห่ รอื เกษตรเชงิ เดีย่ วก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรมากมายดงั นี้ 1. ความอดุ มสมบรู ณ์ของดินถกู ทาํ ลายต่อเนื่อง สง่ ผลให้เกดิ ความไมส่ มดลุ ของธาตุอาหารในดนิ 2. ตอ้ งใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิม่ มากขน้ึ ทุกปี จึงจะได้รบั ผลผลติ เทา่ เดมิ 3. เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาด ทาํ ใหเ้ พ่ิมความยุ่งยากในการป้องกนั และกําจดั
26 4. แม่นาํ้ และทะเลสาบถูกปนเป้ือนด้วยสารเคมี และความเสอื่ มโทรมของดนิ 5. พบสารเคมีปนเป้ือนในผลผลิตเกินปริมาณเกณฑ์ที่กําหนด ทําให้เกิดภัยจากสารพิษสะสม ในรา่ งกายของผู้บริโภค 6. เกิดความไม่สมดุลของระบบนิเวศ สภาพแวดล้อมถูกทําลายเสียหายจนยากจะเยียวยาให้ กลับมาคนื ดังเดิม นอกจากนั้น การเล้ียงสัตว์แบบอุตสาหกรรม ซ่ึงเป็นการเลี้ยงสัตว์จํานวนมากในพ้ืนที่จํากัด ทําให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย จึงต้องใช้ยาปฏิชีวนะจํานวนมาก และต่อเน่ืองทําให้มีสารตกค้างในเนื้อสัตว์และไข่ ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว โรควัวบ้าท่ีเกิดขึ้นจึงเป็นเสมือนสัญญาณอันตรายท่ีบอกให้รู้ว่า การเลย้ี งสัตว์แบบอุตสาหกรรมไม่เพยี งเปน็ การทรมานสัตว์ แต่อาจเปน็ ภัยคกุ คามต่อความอยู่รอดของมนุษยด์ ว้ ย มุ่งเน้นดา้ นปจั จยั การผลติ ดว้ ยเกษตรอนิ ทรีย์ เกษตรอินทรีย์มีแนวทางที่มุ่งให้ เกษตรกรพยายามผลิตปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมลด็ พนั ธุ์ ฯลฯ ด้วยตนเองในฟาร์มใหไ้ ดม้ ากทีส่ ดุ แต่ในกรณีทเ่ี กษตรกรไม่สามารถผลติ ไดเ้ อง (เช่น มีพื้นท่ีการ ผลิตไม่พอเพียง หรือต้องมีการลงทุนสูงสําหรับการผลิตปัจจัยการผลิตที่จําเป็นต้องใช้) เกษตรกรก็สามารถ ซอื้ หาปจั จยั การผลติ จากภายนอกฟารม์ ได้ แต่ควรเปน็ ปจั จยั การผลิตทมี่ ีอยู่แล้วในทอ้ งถิน่ แนวทางน้ีเป็นไปตามหลักการสร้างสมดุลของวงจรธาตุอาหารที่กระตุ้นให้เกษตรกรพยายาม จัดสมดุลของวงจรธาตุอาหารในระบบท่เี ลก็ ท่สี ดุ (ซง่ึ ก็คือในฟารม์ ของเกษตรกร) และมคี วามสอดคล้องกับนเิ วศ ของท้องถิ่น อันจะช่วยสร้างเสถียรภาพและความย่ังยืนของระบบการผลิตในระยะยาว นอกจากนี้การเลือกใช้ ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นยังเป็นการใช้ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการขนย้ายปัจจยั การผลติ เปน็ ระยะทางไกลๆ การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิตยังมีนัยทางเศรษฐกิจและสังคมท่ีสําคัญ กล่าวคือ เกษตรอินทรีย์ ไม่ใช่เพียงแค่เทคนิคการผลิต แต่เป็นวิถีชีวิตและขบวนการทางสังคม จากประสบการณ์ของการพัฒนาระบบ เกษตรเคมีที่ผ่านมา เกษตรกรสูญเสียการเข้าถึงและการควบคุมปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิตในเกือบ ทุกขั้นตอน จาํ เปน็ ต้องพงึ่ พิงองค์กรภาครัฐและธุรกจิ เอกชนในการจดั หาปัจจยั การผลิตและ เทคโนโลยีการผลิต เกอื บทุกด้าน จนเกษตรกรเองแทบไม่ตา่ งไปจากแรงงานรับจ้างในฟารม์ ท่ที ํางานในทดี่ ินของตนเอง การส่งเสริม การพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในระบบเกษตรอนิ ทรยี จ์ งึ เป็นส่วนหนึง่ ของการสรา้ งความเข้มแข็งและความเป็น อิสระของเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร ซึง่ จะมสี ว่ นสาํ คัญในการพัฒนาประชาธปิ ไตยระดบั รากหญ้าอกี ด้วย
พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 กําหนดให้รัฐต้องดําเนินการ คุ้มครองและรักษาประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิต การแปรรูปและการตลาดส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับ ผลตอบแทนสูงสุด รวมท้ังส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปของสภาเกษตรกรเพ่ือวางแผนเกษตรกรรม และรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร เพอื่ สนับสนุนสิทธแิ ละการมีสว่ นร่วมของเกษตรกรในการกําหนด นโยบายและวางแผนการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบเพ่ือให้รัฐรักษาเสถียรภาพด้านราคาและความ มั่นคงในอาชีพเกษตรกร เพิ่มศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้นท้ังในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นไปเพ่ือเกษตรกรอย่างแท้จริงและกระบวนการตรวจสอบการใช้อํานาจ รัฐด้านการปฏิบัติตามนโยบายเกษตรกรรม อันจะนําไปสู่การพัฒนาภาคเกษตรกรรมและระบบเศรษฐกิจ โดยรวมของประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต ดังน้ัน เพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในการจัดต้ัง สภาเกษตรกรแห่งชาติเพ่ือให้ทําหน้าท่ีเป็นตัวแทนของเกษตรกรในการดําเนินกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับ เกษตรกรรม จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ และมีผลบังคับใช้แล้วต้ังแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 (ภาคผนวก 5) ถือว่าเป็นกฎหมายของเกษตรกร ซึ่งแนวทางการจัดต้ังสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นเวทีที่จะ ทําให้เกษตรกรทําหน้าท่ีเป็นตัวแทนของเกษตรกรทุกพื้นที่และทุกสาขาอาชีพและนับว่าเป็นมิติใหม่ในการ แก้ไขปัญหาภาคเกษตรอย่างมสี ่วนร่วม อันจะนํามาซึ่งการกําหนดนโยบายและแนวทางในการแก้ปัญหาให้กับ เกษตรกรทตี่ รงจุดและตอบสนองความตอ้ งการของเกษตรกรอย่างแทจ้ รงิ สําหรับความคืบหน้าการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าน่าจะได้สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติครบจํานวนตามที่กฎหมายกําหนดประมาณเมษายนปี 2555 โดยขณะน้ีได้ดําเนินการเลือกประธานและรองประธานสภาเกษตรกร 77 จังหวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยประธานสภาเกษตรกรจังหวดั จะเป็นสมาชกิ สภาเกษตรกรแหง่ ชาติประเภทที่ 1 โดยตําแหน่ง อย่างไรก็ตาม นอกจากสมาชิกประเภทที่ 1 ทั้ง 77 คนแล้ว พระราชบัญญัติสภาเกษตรกร แห่งชาติ พ.ศ. 2553 ยังกําหนดให้สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติมีสมาชิกประเภทที่ 2 ได้แก่ ตัวแทนองค์กร เกษตรกรดา้ นพชื สตั ว์ และประมง โดยสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดร่วมกนั คัดเลือกอีกจํานวน 16 คน และ สมาชิกประเภทท่ี 3 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความชํานาญ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้าน เกษตรกรรม โดยสมาชิกจากประเภทท่ี 1 และ 2 ร่วมกันเลือก อีกจํานวน 7 คน ซึ่งการได้มาซ่ึงสมาชิก ประเภทท่ี 2 และ 3 อยู่ระหว่างการดําเนินงานตามข้ันตอน คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนเมษายนปี 2555 จึงจะมีสภาเกษตรกรแหง่ ชาติครบองค์ประกอบ เพ่ือเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนท่ีจะมีการเปิดประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติและยังเป็น การสนับสนุนให้การดําเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติสามารถขับเคล่ือนและสร้างความเข้าใจในบทบาท แก่เกษตรกรย่ิงขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งจัดอบรมและสร้างพลังเครือข่ายผู้แทนเกษตรกรเพื่อ ขับเคล่ือนการดําเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติให้เกษตรกรได้เกิดความเข้าใจในบทบาทในการสนับสนุน การขับเคล่ือนการดําเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัดและสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ รวมถึงเตรียมความ
28 พร้อมและการมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนแม่บทเพ่ือพัฒนาเกษตรกรของสภาเกษตรกรจังหวัด และสภา เกษตรกรแห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ซ่ึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแนวคิดที่จะเปิดโอกาสให้ผู้แทน เกษตรกรที่ได้รับเลือกภายใต้ พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติฉบับน้ี เป็นผู้มีสิทธิหรือมีโอกาสได้รับการคัดเลือก เป็นเกษตรกรอาสาสมัครของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้แทนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใน หมู่บ้าน เท่าเทียมกับเกษตรกรอาสาสมัครที่มีอยู่เดิมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย ขณะนอี้ ย่รู ะหว่างดาํ เนนิ การตามขั้นตอน นอกจากนี้ตัวแทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านและตําบลท่ีไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเกษตร สามารถ รวมตัวกันสร้างเครือข่ายระหว่างผู้แทนเกษตรกรด้วยกันเอง เพ่ือเป็นข้อต่อรองหรือเป็นส่ือกลางในการรับข้อ เรียกร้องหรือรับข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรจากเพ่ือนเกษตรกรในท้องถิ่นของตน เพื่อเสนอต่อสภาเกษตรกรจังหวัดผ่านทางผู้แทนที่เป็นสมาชิกของสภาได้ และสามารถร่วมกันพิจารณาจัดทํา แผนพัฒนาการเกษตรในท้องถ่ิน เพ่ือเป็นข้อมูลให้กับสภาเกษตรกรจังหวัดในการจัดทําแผนแม่บทเพื่อ พัฒนาการเกษตรของประเทศ ซึ่งจะทําให้แผนแม่บทของชาติสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของ เกษตรกรในแตล่ ะทอ้ งถ่ินอยา่ งแท้จรงิ สาระสาํ คญั แหง่ พระราชบญั ญัติ 1. นายกรัฐมนตรีรักษาการตาม พรบ.น้ี และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รกั ษาการตาม พรบ.น้ี เฉพาะที่เกี่ยวกับการดําเนินการตามบทเฉพาะกาล 2. สภาเกษตรกรมี 2 สภา คอื 2.1 สภาเกษตรกรแห่งชาติ มีสมาชิก 99 คน วาระการดํารงตําแหน่ง 4 ปี สมาชิก ประกอบด้วย (มาตรา 5) (1) ประธานสภาเกษตรกรจงั หวัดเป็นสมาชิกสภาเกษตรกรแหง่ ชาติโดยตําแหนง่ (76 คน) (2) ตัวแทนองค์กรเกษตรกรด้านพืช ด้านสัตว์ ด้านประมงและด้านเกษตรกรรม อื่นๆ จาํ นวน 16 คน มาตรา 5 (2) (3) สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 7 คน 2.2 สภาเกษตรกรจังหวดั สมาชิกประกอบด้วย (มาตรา 27) (1) สมาชิกท่ีมาจากการเลือกต้ังอย่างน้อย 16 คน กรณีจังหวัดใดมีอําเภอมากกว่า 16 อาํ เภอให้เพมิ่ จาํ นวนผ้แู ทนเกษตรกรใหเ้ ท่ากับจํานวนอําเภอ (2) สมาชกิ ผทู้ รงคณุ วฒุ ิ จํานวน 5 คน 3. คุณสมบัติสมาชิกสภาเกษตรกร (มาตรา 7) 3.1 มีสัญชาติไทย 3.2 อายไุ ม่ตาํ่ กวา่ 25 ปี 3.3 เป็นเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรมาแล้วไม่น้อยกว่าหน่ึงปี ทั้งน้ี เฉพาะสมาชิกตามมาตรา 5 (2) 3.4 ไม่เปน็ บุคคลลม้ ละลาย
29 3.5 ไม่เป็นขา้ ราชการการเมอื ง ผดู้ ํารงตาํ แหน่งทางการเมอื งสมาชิกสภาทอ้ งถ่ิน ผู้บริหาร ทอ้ งถิ่น หรือกรรมการ ท่ปี รกึ ษาหรือเจ้าหน้าท่ีของพรรคการเมอื ง 3.6 ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจําของราชการ สว่ นกลาง ราชการส่วนภูมภิ าค ราชการสว่ นท้องถนิ่ หรอื หนว่ ยงานอ่ืนของรัฐ 3.7 ไมเ่ ป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช 3.8 ไมเ่ ป็นบคุ คลซงึ่ ทางราชการ หรอื รฐั วิสาหกิจ หรือหน่วยงานอ่ืนของรัฐหรือหน่วยงาน เอกชน ไลอ่ อก ปลดออก ให้ออก หรอื เลิกจา้ งเพราะเหตุทจุ รติ ตอ่ หนา้ ที่ 3.9 ไมเ่ ป็นบุคคลวิกลจริตหรอื จิตฟ่นั เฟอื นไมส่ มประกอบ 3.10 ไม่เคยถูกจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ได้พ้นโทษดังกล่าวมาแล้ว ไม่นอ้ ยกว่าห้าปหี รือเป็นโทษสาํ หรบั ความผดิ ที่กระทาํ โดยประมาทหรือความผิดลหโุ ทษ 4. อํานาจหนา้ ทข่ี องสภาเกษตรกรแหง่ ชาติ (มาตรา 11) 4.1 เสนอต่อ ครม. เพอื่ กาํ หนดนโยบายการสง่ เสริมและพฒั นาความเข้มแข็งแก่เกษตรกร และองคก์ รเกษตรกร 4.2 เสนอต่อ ครม. เพ่ือกําหนดนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาการทําเกษตรแบบ ผสมผสาน ระบบวนเกษตร ระบบเกษตรธรรมชาติ ระบบไร่นาสวนผสม ระบบเกษตรอนิ ทรีย์ และเกษตรกรรม รูปแบบอ่ืน 4.3 ให้คําปรึกษาและเสนอต่อ ครม.ในการแกไ้ ขปัญหาของเกษตรกร 4.4 เสนอแผนแม่บทต่อ ครม. 4.5 เสนอ ครม. เพอ่ื กําหนดแนวทางการส่งเสริมและสนับสนนุ การวิจัยและพัฒนาความรู้ ทางด้านพันธุกรรมพชื และสัตวท์ อ้ งถิน่ ผลผลิตและผลิตภณั ฑ์ทางเกษตรกรรม 4.6 เสนอ ครม.เพ่ือกําหนดแนวทางการประกันความเส่ียงของราคาและผลผลิต รวมท้ัง การกาํ หนดสวัสดิการแกเ่ กษตรกร 4.7 ประสานความร่วมมอื กบั ภาครัฐ เอกชนทง้ั ในและตา่ งประเทศ เพือ่ พัฒนาเกษตรกรรม 4.8 พัฒนาความเขม้ แข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร 4.9 ให้ความเห็นต่อนโยบาย กฎหมาย หรือข้อตกลงท่ีมีผลกระทบต่อเกษตรกร ให้ คําแนะนําปรึกษาแกเ่ กษตรกร องค์กรเกษตรกรและตามที่สภาเกษตรกรจงั หวัดเสนอ 4.10 แต่งตัง้ คณะกรรมการ อนกุ รรมการ คณะทาํ งาน หรอื ท่ปี รกึ ษาตามความจาํ เปน็ 5. บทเฉพาะกาล (มาตรา 44-54) 5.1 ในวาระเริ่มแรกให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทําหน้าท่ีเลขาธิการสภา เกษตรกรแห่งชาติและหัวหน้าสํานักงานสภาเกษตรกรกรุงเทพมหานคร และให้เกษตรกรและสหกรณ์จังหวัด ทําหน้าทีห่ วั หนา้ สาํ นักงานสภาเกษตรกรจังหวัด (มาตรา 44) 5.2 ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกรและสหกรณ์จังหวัดจัดให้มีการ เลอื กตง้ั ผแู้ ทนเกษตรกรตามมาตรา 46,47,48 และ 49 เพอ่ื ใหไ้ ดส้ มาชิกสภาเกษตรกรจังหวดั ชดุ แรก (มาตรา 45) 5.3 เกษตรกรผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านให้พิจารณาจากบัญชีครัวเรือน เกษตรกรทีก่ ระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไดข้ ึน้ ทะเบียนไวแ้ ล้ว โดยใหเ้ กษตรกรที่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ตํ่ากว่า 20 ปีบรบิ ูรณ์) ทกุ คนในครัวเรือนเป็นผมู้ สี ทิ ธเิ ลอื กตงั้
30 5.4 การเลอื กตัง้ ผแู้ ทนเกษตรกร ในระดบั หมบู่ ้านให้เกษตรกรเลือกต้ังกันเองให้ได้ผู้แทน หมู่บ้านละ 1 คน ผู้แทนหมู่บ้านเลือกต้ังผู้แทนตําบลๆ ละ 1 คน ผู้แทนตําบลเลือกต้ังผู้แทนอําเภอๆละ 1 คน ยกเว้นอําเภอที่มีน้อยกว่า 16 อําเภอ ให้เลือกต้ังให้ครบ 16 คน ตามสัดส่วนเกษตรกรผู้มีสิทธิเลือกตั้งของ อาํ เภอนั้น 5.5 ในวาระเร่ิมแรกให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการรับข้ึนทะเบียนองค์กรเกษตรกร และจัดให้มีการรับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรเพื่อให้ ได้สมาชกิ สภาเกษตรกรแห่งชาตติ ามมาตรา 5 (2) และ (3) ชุดแรก (มาตรา 52)
สรปุ อาชีพเกษตรกรรมในกรุงเทพมหานครมีพ้ืนที่เพียง 26 เขต จากท้ังหมด 50 เขต ซ่ึงมีพ้ืนที่ 180,305.49 ไร่ มคี รอบครวั เกษตรกร 13,774 ครัวเรือน การทาํ เกษตรกรรมในกรงุ เทพมหานครนน้ั จะแตกตา่ ง กันในแต่ละพ้ืนที่ โดยด้านตะวันออก คือ เขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง และเขต สะพานสงู เปน็ พ้ืนท่ีทาํ นาทําไร่ ส่วนพื้นที่ทางด้านตะวันตก ได้แก่ เขตทวีวัฒนา เขตตล่ิงชัน เขตหนองแขม เขต ทงุ่ ครุ เปน็ พ้ืนทีแ่ ปลงผกั ไม้ดอกไม้ประดบั สวนผลไม้ และพ้ืนท่ีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา สําหรับเขตบางขุนเทียนจะเป็น บ่อปลาและนากุ้ง จากความเจริญและการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศส่งผล ให้พื้นท่ีเกษตรกรรมของกรุงเทพมหานครลดลงอย่างต่อเน่ือง โดยพื้นท่ีเกษตรท้ังฝ่ังตะวันออกและฝ่ังตะวันตกของ กรุงเทพมหานครมีอัตราการเปลี่ยนแปลงท่ีใกลเ้ คยี งกัน เนื่องจากปลายปี 2554 ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ทําให้ภาคการเกษตร เสียหายเป็นจํานวนมาก และเกิดผลกระทบต่อพืชผักผลไม้ ประมง อย่างเช่น เกิดโรครากเน่า โคนเน่า ทําให้เกิดการตายยืนต้น ส่วนเกษตรกรท่ีปลูกต้นไม้ได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะแถวถนนพุทธมณฑล สาย 2-4 เขตทวีวัฒนา หลังจากน้ําท่วมสิ่งท่ีตามมาคือปัญหาต้นพันธ์ุไม่มีเพราะน้ําท่วมหมดกว่าจะพัฒนา สายพนั ธุใ์ หม่จะตอ้ งใช้เวลาอย่างนอ้ ย 2 ปี กว่าจะฟื้นฟูไม่ต่ํากว่า 3 ปี ดังนั้น เกษตรกรรมของกรุงเทพมหานครควรท่ีจะต้องอนุรักษ์ไว้ มิเช่นน้ันจะสูญหายไปกับความ เจริญของเมืองที่คืบคลานมาเบียดบังอาชีพเกษตรกรรมที่เป็นอาชีพด้ังเดิมของคนไทย โดยอุตสาหกรรมเข้ามาแทนท่ี หรือไม่ก็มีการขยายพ้ืนท่ีการสร้างท่ีอยู่อาศัยมาแทนท่ี จะเห็นว่า การเปล่ียนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภท เกษตรกรรมในกรุงเทพมหานครน้ันสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาเมือง ในขณะพื้นท่ีถือครองทางการเกษตรจะ ผกผันตามสภาพทางเศรษฐกิจและมูลค่าของท่ีดินในแต่ละพื้นที่ ดังนั้น กรุงเทพมหานครจึงให้ความสําคัญกับ พืน้ ทเ่ี กษตรกรรม จึงได้ดาํ เนินการวางและจัดทาํ ผงั เมอื งรวมกรงุ เทพมหานครขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 มีผลบังคับใช้ จนถึงปี พ.ศ. 2555 (ขยายการบังคับใช้คร้ังที่ 1 เป็นระยะเวลา 1 ปี) ทางกรุงเทพมหานครได้ดําเนินการ ปรับปรุงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร โดยได้มีการแก้ไข เปล่ียนแปลง และปรับปรุงในสาระสําคัญของพื้นท่ี เกษตรกรรมทั้ง 2 ประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผังเมืองรวมซ่ึงได้กําหนดให้เป็นการดํารง พื้นท่ีเกษตรกรรมท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ โดยการบริหารจัดการการเติบโตของเมืองเพ่ือให้เกิดการพัฒนาเมือง แบบกระชับ และมีนโยบาย มาตรการและวิธีดําเนินการเพ่ือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของผังเมืองรวมในเร่ือง เกษตรกรรมในสว่ นการส่งเสริมการอนรุ ักษพ์ นื้ ที่ชนบทและเกษตรกรรม และมกี ารปรบั บรเิ วณให้สอดคลอ้ งกับ พื้นท่ีในปัจจุบัน อย่างเช่น บริเวณด้านใต้ของเขตบางขุนเทียนได้ปรับเป็นท่ีดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและ เกษตรกรรม (บรเิ วณ ก.3-47 และ ก.3-48 (เดิม))
บรรณานุกรม http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%ca84/%ca84-20-2553-a0001.pdf http://www.bangkok.doae.go.th/newweb/data/dataagri54.pdf http://www.bangkok.doae.go.th/plant.htm http://www.kasetorganic.com/forum/index.php/topic,323.0.html http://www.kasetorganic.com/forum/index.php/topic,346.0.html http://www.kasetorganic.com/forum/index.php/topic,203.0.html http://www.moac.go.th/download/article/article_20110803123309.pdf http://www.moac.go.th/download/article/article_20110803123200.pdf http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=11636&filename=index http://www.thaigreenagro.com Fah ศวิ พร สิงหส์ ขุ “การศกึ ษาพฤตกิ รรมและปจั จยั ทสี่ ง่ ผลตอ่ การตัดสนิ ใจเลอื กซือ้ ผกั ปลอดสารพษิ ของผู้บรโิ ภคในเขตกรุงเทพมหานคร”, 2542 มหาวทิ ยาลยั เกษมบณั ฑติ กลุม่ เผยแพรแ่ ละประชาสมั พนั ธ์ กองเกษตรสารสนเทศ สํานักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กฎกระทรวงให้ใชบ้ งั คับผังเมืองรวมกรงุ เทพมหานคร พ.ศ. 2549 หนังสือพมิ พ์ฐานเศรษฐกิจฉบบั ท่ี 2,693 วันท่ี 4 -7 ธันวาคม พ.ศ. 2554 หนงั สือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบบั วันองั คารที่ 17 มกราคม 2555 นสพ.แนวหนา้ มูลนธิ ิสายใยแผน่ ดนิ รา่ งผังเมอื งรวมกรงุ เทพมหานคร (ปรับปรุงครง้ั ที่ 3) สาํ นักนโยบายและแผนพฒั นาการเกษตร สํานกั งานเศรษฐกิจการเกษตร
ภาคผนวก
สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานพครณะระกาชรรบมัญกญารตักิฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สภาเกษตรกรแหง่ ชาติ สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี าพ.ศ. ๒๕๕๓สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. สํานกั งานคณะกรใหรม้ไวก้าณรกฤวนัษฎทกี่ี ๑า ๖ พฤศจกิ ายสนํานพัก.งศาน. ค๒ณ๕ะ๕ก๓รรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า เป็นปที ี่ ๖๕ ในรชั กาลปจั จบุ นั สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นพกั งราะนบคาณทะสกมรเรดม็จกพารรกะฤปษรฎมีกนิ าทรมหาภูมิพลสอํานดกัุลงยาเนดคชณมะกีพรรระมบกรารมกรฤาษชฎโอกี งาการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยที่เปน็ การสมควรมีกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกรแหง่ ชาติ สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหต้ ราพระราชบัญญตั ิข้นึ ไว้โดยคาํ แนะนําและยินยอม สํานกั งานขคอณงระัฐกสรภรมากดารังกตฤ่อษไปฎนกี าี้ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานมักางาตนรคาณ๑ะกรพรรมะกราารกชฤบษัญฎญีกาัตินี้เรียกว่า “สพํารนะกั รงาาชนบคณัญะญกัตรริสมภกาาเรกกษฤตษรฎกีกราแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓” สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานมักางาตนรคาณ๒ะก๑รรพมรกะารรกาฤชษบฎัญกี ญา ัติน้ีให้ใช้บังสคําับนตักั้งงแานตค่วณันะถกัดรจรมากกาวรันกปฤรษะฎกีกาาศในราชกิจจา นุเบกษาเปน็ ต้นไป สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตนิ ี้ สําน“กั เงกาษนคตณรกะรกรรมรม”กหารมกาฤยษคฎวีกาามว่า การเพาสะําปนลกั ูกงากนาครณเละกี้ยรงรสมัตกวา์ รกกาฤรษปฎรกีะามง และกิจการ อื่นท่ีเกี่ยวข้องตามท่ีรัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยการเสนอแนะของสภา สาํ นกั งานเกคษณตะรกกรรรมแกหา่งรชกาฤตษิ ฎีกา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา “เกษตรกร” หมายความวา่ ผู้ประกอบอาชพี เกษตรกรรม สําน“ักองางนคค์กณระเกกรรษมตกรารกกรฤ”ษฎหีกมา ายความว่าสํากนลกั ุ่งมาเนกคษณตะกรรกรมรกทา่ีไรดก้ฤขษึ้นฎทกี ะาเบียนไว้ตาม พระราชบัญญตั นิ ้ี สํานักงานคณะกรรมการกฤษ“ฎแกีผานแมบ่ ท” หมสาํายนคักวงาามนวคา่ณแะกผรนรแมมก่บารทกเฤพษ่ือฎพกี ัฒา นาเกษตรกรสรํามนักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ น“กั สงาภนาคเกณษะกตรรรกมรกจาังรหกวฤดัษ”ฎกี หามายความรวมสถํานึงกั สงภานาคเกณษะตกรรรกมรกการรุงกเฤทษพฎมกี หาานครด้วย “สํานักงาน” หมายความว่า สาํ นกั งานสภาเกษตรกรแห่งชาติ สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษ“ฎสีกําานักงานสภาเสกําษนตักรงากนรคจณังะหกวรัดรม”กหารมกาฤยษคฎวกี าามรวมถึง สําสนาํ ักนงักางานนสคภณาะเกกรษรมตกรากรรกฤษฎกี า กรงุ เทพมหานครด้วย สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า ๑ ราชกจิ จานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนท่ี ๗๑ ก/หน้า ๑/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
- ๒ - สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษ“ฎหีกัวาหนา้ สํานักงานสสํานภักางเากนษคตณระกกรรจรังมหกวารัดก”ฤษหฎมกีาายความรวมถึงสหํานัวักหงนาน้าสคําณนะักกงรรามนกสาภรากฤษฎีกา เกษตรกรกรุงเทพมหานครด้วย สําน“ักเงลาขนาคธณิกะากรร”รมหกมาารกยฤคษวฎามกี วา่า เลขาธกิ ารสสําภนาักเงกาษนตครณกะรกแรหรม่งชกาารตกิ ฤษฎีกา “รฐั มนตร”ี หมายความว่า รัฐมนตรผี ู้รกั ษาการตามพระราชบัญญตั นิ ้ี สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตสรํานแกัลงะาสนหคกณระณกร์รรักมษกาารกกาฤรษตฎาีกมาพระราชบัญญสัํตานินกั ี้ งเฉานพคาณะะในกรสร่วมนกทารี่เกกฤี่ยษวกฎับกี าการดําเนินการ ตามบทเฉพาะกาล สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษใหฎ้กีนาายกรัฐมนตรสีแําลนะกั งราัฐนมคนณตะรกีวร่รามกกาารรกกรฤะษทฎรีกวางเกษตรและสสําหนักกงราณนค์มณีอะํากนรารจมอกาอรกกฤษฎีกา ประกาศเพอื่ ปสฏาํ ิบนปตัักิกรงาะานกรคตาณศามนะกพั้นรรเรมะมื่อรกาไาดชรป้บกฤรัญะษญกฎัตากี ศนิาใ้ี นราชกจิ จานสําุเบนักกงษาานแคลณ้วะใกหร้ใรชม้บกังาครกับฤไดษ้ฎกี า สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า หมวด ๑ สํานักงานคณะกรรมการกฤษสฎภกี าาเกษตรกรแห่งสชํานาตักิงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาตรา ๕ ใหม้ สี ภาเกษตรกรแห่งชาติ ประกอบดว้ ยสมาชิก ดังตอ่ ไปนี้ สําน(ัก๑ง)านปครณะธะากนรรสมภกาาเรกกษฤตษรฎกีกราจงั หวดั เปน็ สสมําานชกั กิ งสานภคาเณกะษกตรรรมกกรแารหก่งฤชษาฎตกี โิ ดา ยตําแหนง่ (๒) สมาชิกซ่ึงสมาชิกตาม (๑) เลือกจากตัวแทนองค์กรเกษตรกรด้านพืช ด้านสัตว์ สํานกั งานดค้านณปะกรระรมมงกแารลกะฤดษา้ ฎนกี เากษตรกรรมอนื่สําๆนักจงําานนควนณสะกิบรหรกมคกนารกโดฤษยฎกรีกะาจายตามควาสมําสนําักคงัญานแคลณะะคกรรอรบมกคาลรุมกฤษฎีกา แสหาขง่ ชาาอตากิชาํีพหเนกสดษําโนตดกัรยงกปารนรรคะมกณใาะนศกแใรนตรมร่ลากะชาดรก้กาจิ ฤนจษาฎนทกี เุ้ังบานกี้ ษตาามหลักเสกําณนกั ฑง์าวนิธคีกณาะรกรแรลมกะาเงรื่กอฤนษไฎขีกทาี่สภาเกษตรกร สํานกั งานคณะกรรมการกฤษ(๓ฎ)ีกาสมาชิกผู้ทรงสคําุณนักวงุฒานิ ซคึ่งณสะมการรชมิกกตาารมกฤ(ษ๑ฎ)กี แาละ (๒) เลือกสําจนาักกงผานู้มคีคณวาะกมรรรู้ มคกวาารมกฤษฎกี า เช่ียวชาญและประสบการณ์ด้านเกษตรกรรม จํานวนเจ็ดคน โดยมาจากด้านพืช ด้านสัตว์ และด้าน ประมงอย่างนส้อํายนดกั ้างนานลคะณหะนก่ึงรครมนกาทรกั้งฤนษ้ี ตฎาีกมาหลักเกณฑ์ วสิธํานีกกัางรานแคลณะเะงกื่อรนรมไขกทาร่ีสกภฤษาเฎกีกษาตรกรแห่งชาติ กาํ หนดโดยประกาศในราชกิจจานเุ บกษา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษสฎมีกาาชิกตาม (๒)สตําน้อักงงเาปน็คนณสะมการชรมิกกขาอรกงฤอษงฎคีก์การเกษตรกรทสี่ไําดน้ักขงึ้นานทคะณเบะกียรนรมไวก้การับกฤษฎกี า สาํ นกั งาน ท้ังนี้ ตามหลกั เกณฑ์ วธิ กี าร และเง่อื นไขทีส่ ภาเกษตรกรแหง่ ชาตกิ าํ หนด สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาตรา ๖ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการประกาศรายชื่อสมาชิกสภาเกษตรกร สาํ นักงานจคังหณวะัดกครรรมบกทารุกกจฤังษหฎวกีัดาให้สภาเกษตสรํากนรักจงังาหนควัดณแะกตร่ลระมจกังาหรกวฤัดษสฎ่งชกี ื่อา ประธานสภาสเาํกนษักตงารนกครณจังะหกรวรัดมมกาายรังกฤษฎีกา เลขาธกิ ารและใหเ้ ลขาธกิ ารจดั ให้มีการประชุมของประธานสภาเกษตรกรจงั หวดั ภายในสามสิบวันนับ แต่วันทไ่ี ดร้ ับรสาาํยนชักอื่ งดานังกคลณา่ ะวกเรพรอื่มเกลาือรกกฤสษมฎาชีกกิา ตามมาตรา ส๕ําน(๒ัก)งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษในฎกีการณีที่มีเหตุกสาํารนณกั ์ใงดานๆคณทะํากใรหรม้กกาารรสกฤ่งษชฎื่อีกปาระธานสภาเสกาํษนตักรงากนรคจณังะหกวรัดรมมกาายรังกฤษฎีกา เลขาธิการไม่ครบทุกจังหวัด แต่ได้มีการส่งช่ือประธานสภาเกษตรกรจังหวัดมายังเลขาธิการแล้วไม่ นอ้ ยกว่าร้อยลสะําเนกกั้าสงาิบนขคอณงะจกํารนรวมนกปารรกะฤธษาฎนีกสาภาเกษตรกรจสังําหนวกั ัดงาทนั้งคหณมะดกรใรหม้ถกือาวรก่าฤสษมฎาชกี ิกา ตามมาตรา ๕ (๑) ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนดังกล่าว และให้สมาชิกตามมาตรา ๕ (๑) จํานวนดังกล่าวเลือก สํานกั งานสคมณาชะิกกรตรามมกมาารตกรฤาษฎ๕ีกา(๒) ต่อไปได้ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ๓ - สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษใหฎกี้สามาชิกตามมสาําตนกัรงาาน๕คณ(๑ะก)รรแมลกะารก(๒ฤษ)ฎทีก่ีาได้มาตามวรสรําคนสักงอางนเคลณือะกกรสรมมากาชริกกฤษฎกี า ผทู้ รงคณุ วุฒิตามมาตรา ๕ (๓) เพื่อให้ครบองคป์ ระกอบของสภาเกษตรกรแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า มาตรา ๗ สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม สํานกั งานดคงั ตณ่อะไกปรนรมี้ การกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (๑) มสี ญั ชาตไิ ทย สําน(กั ๒ง)านมคอี ณายะกไุ มรร่ตมํ่ากกาวรา่ กยฤ่สี ษบิ ฎหกี ้าาปีบรบิ รู ณ์ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า (๓) เป็นเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรมาแล้วไม่น้อยกว่าหน่ึงปี ท้ังนี้ สาํ นกั งานเฉคพณาะะกกรรรณมกสี ามรกาชฤิกษตฎาีกมามาตรา ๕ (๒ส)ํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สําน((ัก๔๕ง))านไไมคมเ่ณ่เปปะน็ ็นกบรขรุค้ามครกลาาชลรกม้กฤาลษระกฎลากีารยาเมือง ผู้ดํารงสตํานําแกั งหานน่งคทณาะงกกรรามรกเมารือกงฤสษมฎกีาชา ิกสภาท้องถิ่น สาํ นกั งานผคบู้ ณรหิะการรรทม้อกงาถรน่ิกฤหษรฎือีกการรมการ ทปี่ รสึกํานษกั างาหนรคือณเจะ้ากหรรนม้ากทาขี่รกอฤงพษฎรรีกคาการเมอื ง สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า (๖) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจําของ ราชการสว่ นกลสาาํ นงกั รงาาชนกคาณระสกว่ รนรมภกมู าิภรากคฤษรฎาีกชาการส่วนทอ้ งถสิ่นํานหักรงาือนหคนณว่ ะยกงรารนมอก่ืนารขกอฤงษรฎฐั ีกา (๗) ไม่เป็นพระภิกษุ สามเณร นกั พรต หรอื นกั บวช สํานักงานคณะกรรมการกฤษ(๘ฎ)กี าไม่เป็นบุคคลสซํา่ึงนทักางางนรคาณชกะการรรมหกราือรรกัฐฤวษิสฎาีกหากิจ หรือหน่วสยํานงักางนาอนื่นคณขอะกงรรรัฐมกหารรือกฤษฎกี า หนว่ ยงานเอกชน ไลอ่ อก ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าท่ี สาํ น(กั ๙ง)านไมค่เณปะ็นกบรรุคมคกลาวรกิกลฤษจรฎติ กี หา รอื จติ ฟัน่ เฟือสนํานไมกั ง่สามนปครณะะกกอรบรมการกฤษฎกี า (๑๐) ไม่เคยถูกจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ได้พ้นโทษดังกล่าว สาํ นกั งานมคาแณละ้วกไรมรม่นกอ้ ายรกกวฤา่ษหฎ้าีกปาหี รือเป็นโทษสสําาํ นหกั รงบัานคควณามะกผริดรทม่ีกกราระกทฤําษโดฎยกี ปา ระมาทหรือคสวําานมักผงาดิ นลคหณุโทะกษรรมการกฤษฎกี า สํานมกั างาตนรคาณ๘ะกรสรมมากชาริกกสฤภษาฎเีกกาษตรกรแห่งชสาําตนิมักีวงาานรคะณอยะกู่ในรรตมํากแาหรกนฤ่งษคฎรีกาาวละสี่ปี นับแต่ สาํ นักงานวนัคณท่ปีะกรระรกมากศารรากยฤชษ่อืฎตกี าามมาตรา ๑๕สแํานลกั ะงจาะนดคาํณระงกตรํารแมหกนารง่ กตฤดิ ษตฎอ่ ีกกาันเกินสองวารสะําไนมักไ่ งดา้ นคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติซ่ึงพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ ต่อไปไดจ้ นกว่าสจํานะักมงีกาานรคปณระะกกรารศมรกาายรกชฤ่ือษสฎมกีาาชิกสภาเกษตรสกํานรแักหงาง่ นชคาณตะชิ กุดรใรหมมก่ ารกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษมฎากีตารา ๙ นอกจสําานกกั กงาานรคพณ้นะจการกรมตกําาแรหกฤนษ่งฎตกี าามวาระตามมสาาํ ตนรักางาน๘คณสมะการชริกมกสาภรากฤษฎกี า เกษตรกรแห่งชาติพ้นจากตําแหน่งเมื่อ สําน(กั ๑ง)านตคาณยะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (๒) ลาออก สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษ(๓ฎ)กี ขาาดคุณสมบตั สิ ําหนรกั อื งมานีลคกั ณษะณกะรตรม้อกงาหร้ากมฤตษาฎมีกมาาตรา ๗ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า (๔) สภาเกษตรกรแห่งชาติมีมติให้พ้นจากตําแหน่งด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสอง ในสามของจาํ นสวาํ นนักสงมาานชคิกณทะ้ังกหรรมมดกทาม่ีรกีอฤยษู่ ฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษ(๕ฎ)กี าลาออกจากองสคําน์กักรงเกานษคตณระกกรรทรม่ีตกนาเรปก็นฤตษัวฎแกี ทานในการได้รับสาํเนลักืองกาเนปค็นณสะมการชรมิกกตาารมกฤษฎีกา มาตรา ๕ (๒) สาํ น(ัก๖ง)านถคูกณจะํากครุกรมโดกยารคกําฤพษิพฎากี กาษาถึงที่สุดใหสํา้จนําักคงุกานเควณ้นะแกตร่ใรนมคกวารากมฤผษิดฎอกี ันาได้กระทําโดย ประมาทหรอื ความผดิ ลหุโทษ สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษ(๗ฎ)กี ขาาดหรอื ลากาสรําปนรักะงชานมุ คตณิดะตกอ่ รกรนัมกเกานิรกกฤวษ่าฎหีก้าาครั้งโดยไมม่ ีเหสตําอุนนัักงคาวนรคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ๔ - สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาตรา ๑๐ ในกรณีท่ีสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ และยงั มีสมาชสิกาํ สนภกั างเากนษคตณระกกรรแรมหกง่ าชรากตฤิเษหฎลีกือาอยูเ่ กินกวา่ ก่ึงสหํานนักึง่ ขงาอนงคสณมะากชรกิ รทม้ังกหารมกดฤษใหฎเ้ีกลาือกสมาชิกสภา เกษตรกรแห่งชาติแทนตําแหน่งท่ีว่าง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขท่ีกําหนดในมาตรา ๕ และ สาํ นกั งานใหค้ณผู้ไะดก้รรรับมเกลาือรกกฤนษั้นฎอีกยาู่ในตําแหน่งสเทําน่าักกงับานวคาณระะกทรี่เรหมลกือารอกยฤู่ขษอฎงีกผาู้ซึ่งตนแทน สเวาํ ้นนักแงตาน่วคารณะะกกรารรมดกําารรงกฤษฎกี า ตําแหน่งของสมาชิกเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน ไม่ต้องมีการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติแทน ตําแหนง่ ท่วี า่ งสํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในระหว่างที่ตําแหน่งสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติว่างลงตามวรรคหน่ึงให้สภา สาํ นกั งานเกคษณตะรกกรรรมแกหาง่ รชกาฤตษปิ ฎรกี ะากอบด้วยสมาสชํากิ นเักทงา่ าทนคเ่ี หณละอื กอรรยมู่ การกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า หนึ่งของสมาชสิาํกนทใกั น้ังงหกานรมคณดณีทใะ่ีสหกมร้ถราือมชวกิก่าาสรสกภภฤาาษเเกฎกษกีษาตตรรกกรรแแหห่ง่งชชาาตสตําิพนิส้นัก้ินจงสาานุดกคลตณงําะแแกหลรนระม่งใกกหา่อ้มรนกีกฤคาษรรฎบเลกีวือาากระสเมกาินชกิกวส่าภกาึ่ง สาํ นักงานเกคษณตะรกกรรรมแกหาง่ รชกาฤตษใิ ฎหีกมา่ภายในเก้าสบิ สวําันนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นมกั างตานรคาณ๑ะ๑กรรสมภกาาเรกกษฤษตรฎกีกราแหง่ ชาตมิ อี ําสนําานจกั หงานนา้ คทณี่ ดะกงั ตรรอ่ มไกปานรี้กฤษฎีกา (๑) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพ่ือกําหนดนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็ง สํานักงานแคกณ่เกะกษรตรรมกการรกแฤลษะฎอกี งาค์กรเกษตรกสํารนักตงาามนคแณนะวกปรรรัมชกญาารกเศฤษรษฎกีฐากิจพอเพียง สกาํ านรักผงาลนิตคณกะากรรแรปมกรารรูปกฤษฎกี า การตลาดและการค้มุ ครองพน้ื ทเี่ กษตรกรรม สําน(กั ๒งา)นเคสณนะอกตรร่อมคกณาระกรฤัฐษมฎีกนาตรีเพื่อกําหนสําดนนกั โงยานบคาณยะแกลระรมแกนาวรกทฤาษงฎกีกาารส่งเสริมและ พัฒนาการทําเกษตรแบบผสมผสาน ระบบวนเกษตร ระบบเกษตรธรรมชาติ ระบบไร่นาสวนผสม สาํ นักงานระคบณบะกเกรษรมตกราอรินกฤทษรฎีย์ีกแาละเกษตรกรรสมํานรกัูปงแาบนบคณอนื่ะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พฒั นาเกษตรกสราํ รนม(ัก๓งร)าวนใมหคทค้ณง้ัาํ ะกปการรรรึกอมษนกาารุ แรักลกษะฤ์แขษลอ้ฎะเกี สกานารอใตชอ่ ป้ ครณะโะยรชฐัสนมํานจ์นาักตกงราทีในนรคพักณยาะรากแกรกรรธ้ไมขรกปรามรัญกชหฤาาษตขฎแิ อลกี งาะเสกงิ่ษแตวรดกลร้อกมาร สํานักงานคณะกรรมการกฤษ(๔ฎ)ีกเาสนอแผนแมบ่ สทํานตกั ่องคานณคะณระฐั กมรนรตมรกีารกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า (๕) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพ่ือกําหนดแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาองคส์คาํ นวักางมารนู้ทคาณงะดก้ารนรพมกันาธรุกกรฤรษมฎพีกืชาและสัตว์ท้องสถํานิ่นักผงาลนผคลณิตะทการงรเมกกษาตรกรฤกษรฎรมีกาและผลิตภัณฑ์ ทีไ่ ด้จากการแปรรปู ผลผลิตทางเกษตรกรรม สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษ(๖ฎ)ีกาเสนอต่อคณะสรําัฐนมักนงตานรคีเพณื่อะกกรํารหมนกดารแกนฤวษทฎากี งาการประกันควสาํานมักเสงา่ียนงคขณองะกรารรคมากแาลระกฤษฎีกา ผลผลติ ทางเกษตรกรรม รวมทัง้ การกาํ หนดสวสั ดกิ ารให้แกเ่ กษตรกร สาํ น(กั ๗ง)านเสคณริมะกสรรร้ามงกคาวรากมฤรษ่วฎมกี มาือและประสสาํานนงักางนานกคับณภะากครรรัฐมแกาลระกเฤอษกฎชกี นาทั้งในประเทศ และตา่ งประเทศ และองค์กรระหวา่ งประเทศ เพอื่ พัฒนาเกษตรกรรม สํานักงานคณะกรรมการกฤษ(๘ฎ)กี พา ัฒนาและเสรสิมํานสักรงา้ างนคควณามะกเขรม้รมแกขา็งรแกกฤ่เษกฎษกี ตารกรและองค์กสรําเนกักษงตานรคกณร ะกรรมการกฤษฎีกา (๙) ให้ความเห็นต่อนโยบาย กฎหมาย หรือข้อตกลงที่เก่ียวข้องและมีผลกระทบต่อ เกษตรกร สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษ(๑ฎ๐ีกา) ให้คําปรึกษสาําแนลักงะาขน้อคแณนะกะรนรํามแกการ่เกกฤษษตฎรีกการ องค์กรเกษสตํานรกักงรานแคลณะะตการมรทมกี่สาภรากฤษฎกี า เกษตรกรจังหวดั เสนอ สําน(กั ๑ง๑าน)คแณตะง่ กตรัง้ รคมณกาะรกกรฤรษมฎกกี าาร คณะอนุกรสรํามนกักางรานคคณณะะทกรํารงมานการหกรฤือษทฎี่ปกี ราึกษาตามความ จําเป็น สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ๕ - สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษ(๑ฎ๒ีกา) ปฏิบัติการอส่ืนําในดกั ตงาานมคทณี่กะฎกหรมรมากยากรํากหฤนษดฎใกี หา้เป็นอํานาจหสนาํ ้านทักี่ขงาอนงคสณภะากเกรษรมตกรากรรกฤษฎีกา แหง่ ชาตหิ รอื ตามท่คี ณะรัฐมนตรีมอบหมาย สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาตรา ๑๒ ให้คณะรัฐมนตรีจัดทํารายงานผลการพิจารณาหรือผลการดําเนินงาน สํานกั งานขคอณงคะณกระรรมฐั กมานรกตฤรษีในฎเีกราื่องทสี่ ภาเกษตสํารนกักรงแาหนง่คชณาะตกเิ รสรนมอกาเรพก่ือฤเษสฎนกี อาตอ่ สภาเกษตรสกาํ นรแักหงาง่ นชคาณตะิ กรรมการกฤษฎีกา สาํ นมักางตานรคาณ๑ะ๓กรรกมากราใรดกทฤีเ่ษกฎ่ยี ีกวาขอ้ งกับผลปรสะําโนยกัชงนา์สน่วคนณระวกมรรขมอกงาเกรกษฤตษรฎกกี ราสภาเกษตรกร แห่งชาติอาจร้องขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นเพ่ือประกอบการพิจารณาของ สํานกั งานคคณณะะรกัฐรมรนมตการรี นกฤาษยกฎรกี ัฐามนตรี หรือรสัฐํามนนักตงารนีทค่ีเกณี่ยะวกขรร้อมงกไดาร้ กฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นมักางตานรคาณ๑ะ๔กรรสมภกาาเรกกษฤษตรฎกกี ราแห่งชาติ มีปสรําะนธกัางนาสนภคาณหะนกรงึ่ รคมนกแาลรกะฤรษองฎปกี ราะธานสภาสอง สํานกั งานคคนณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นมกั างาตนรคาณ๑ะ๕กรรเมมก่ือาสรกภฤาษเกฎษีกาตรกรแห่งชาตสิมํานีสักมงาาชนิกคคณระบกรถร้วมนกตารากมฤมษาฎตีกราา ๕ หรือถือว่า ครบถ้วนตามมาตรา ๖ แล้ว ให้เลขาธิการประกาศรายชื่อสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติในราชกิจจา สาํ นกั งานนคเุ บณกะษกรารมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้ เลขาธิการจดั ใสหํา้มนกี กั างรานปคระณชะมุกรสรภมากเากรษกตฤรษกฎรกี แาห่งชาตเิ พ่อื ใหสส้ํานมกั างชากินไคดณม้ ะากปรรระมชกมุารเปกฤ็นษคฎรกีัง้ แา รก ในการประชุมคร้ังแรก ให้ท่ีประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติมอบหมายผู้มีอาวุโสสูงสุด สํานกั งานเปค็นณปะกรระรธมากนารเกพฤ่ือษดฎํากี เานินการเลือกปสํารนะักธงาานนแคณละะกรอรรงมปกราะรธกาฤนษสฎภกี าาเกษตรกรแหส่งาํ ชนาักตงาิจนาคกณสะมการชรมิกกสาภรากฤษฎกี า เเกกษษตตรรกกรรแแหห่ง่งชสชาาํ านตตกัิเปิงตาน็ นาเคสมณยี มงะาชกต้ขีรรราามดก๕าร(ก๑ฤ)ษโฎดกี ยาให้ถือเสียงขส้าํางนมักางกานขคอณงจะกํารนรวมนกาสรมกาฤชษิกฎทีกา้ังหมดของสภา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาตรา ๑๖ ให้ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติจัดให้มีการประชุมสภาเกษตรกร แห่งชาติสองเดสาํือนนักตง่อานหคนณึ่งะคกรรั้งรมโดกายรแกตฤ่ลษะฎคกี ราั้งให้มีกําหนดสเําวนลักางรานวคมณกันะกไรมร่เมกกินาเรจก็ดฤวษันฎีกเวา้นแต่ในกรณีมี เหตจุ าํ เป็นเร่งด่วน ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติจะเรียกประชุมเป็นวาระพิเศษเพิ่มขึ้นก็ได้ หรือเม่ือ สาํ นักงานมคีสณมะากชริกรสมกภาารเกกฤษษตฎรกี การแห่งชาติจําสนํานวกั นงไามน่นคณ้อยะกกรวร่ามหกนารึ่งกใฤนษสฎากี มาของสมาชิกสสภํานาักเกงาษนตครณกะรกแรหรม่งกชาารตกิฤษฎีกา ทั้งหมดเข้าชื่อกันทําหนังสือร้องขอต่อประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้เรียกประชุมเพ่ือพิจารณา เร่ืองจาํ เป็นได้สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษมฎาตีการา ๑๗ การปสรําะนชกั มุงาสนภคาณเกะกษรตรรมกกราแรกหฤง่ ษชฎาตกี ติาอ้ งมีสมาชกิ มสาําปนรักะงชานุมคไมณน่ ะกอ้ รยรกมวก่าากรึ่งกฤษฎีกา หนึง่ ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเทา่ ที่มอี ยู่จงึ จะเปน็ องค์ประชุม สํานใกั นงกานารคปณระะกชรรมุ มสกภาารเกกฤษษตฎรีกการแห่งชาติ ถา้ สปํานระักธงาานนคสณภะากเกรรษมตกรากรรกแฤหษฎง่ ชกี าาติไม่มาประชุม สํานักงานหครณือไะมก่อรรามจกปาฏรกิบฤัตษิหฎนีก้าาที่ได้ ให้รองปสรํานะกัธงาานนสคภณาะเกกรษรตมรกการรกแฤหษ่งฎชกี าาติคนท่ีหน่ึง หสราํ ือนคักนงาทน่ีสคอณงะตการมรมลกําาดรับกฤษฎกี า ทาํ หน้าท่ปี ระธานในท่ปี ระชุม สํานใักนงกานรคณณีปะรกะรธรมานกาสรภกาฤเษกฎษกี ตารกรแห่งชาตสิ ําแนลกั ะงราอนคงปณระะกธรรามนกสาภรกาเฤกษษฎตกี รากรแห่งชาติไม่ มาประชุมหรอื ไมอ่ าจปฏิบตั ิหน้าทไี่ ด้ ให้ที่ประชมุ เลอื กสมาชกิ คนหนึ่ง ตามมาตรา ๕ (๑) เปน็ ประธาน สาํ นกั งานในคทณ่ีปะกระรรชมมุ การกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า
- ๖ - สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษกฎากีรวาินิจฉัยชี้ขาดสขําอนงักทง่ีปานรคะณชุมะกใรหร้ถมือกเาสรียกฤงขษ้าฎงีกมาาก สมาชิกคสนาํ หนนัก่ึงงาในหค้มณีเสะียกรงรหมนก่ึงาใรนกฤษฎีกา การลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพ่ิมขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ ขาด สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษมฎาีกตารา ๑๘ ประสธําานนกั สงภานาคเกณษะตกรรรกมรกแาหรก่งฤชษาตฎิมกี าีอํานาจหน้าทสี่ดําํานเนักงินากนิจคกณาะรกขรรอมงกสาภรากฤษฎีกา เกษตรกรแห่งชาติ ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาเกษตรกรแห่งชาติกําหนด รวมทั้งให้มีอํานาจหน้าท่ี ดงั ตอ่ ไปน้ี สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า (๑) ดําเนนิ การประชุมและมีอํานาจออกคําส่ังใด ๆ ตามความจําเป็นเพ่ือรักษาความ สาํ นกั งานสคงบณเะรกียรบรรม้อกยารใกนฤกษาฎรปกี าระชมุ สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มติของสภาเกษสาํตนร(กั ๒กงร)าแนคหคว่งณบชคะากมุ ตรแิรลมะกดาราํ กเนฤษินฎกีกิจาการของสภาเสกําษนตักรงกานรแคหณง่ะชการตรมิใหกา้เปรก็นฤไษปฎตีกาามข้อบังคับและ สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษ(๓ฎ)ีกอา าํ นาจและหนสา้ํานทัก่อี ง่นื าตนาคมณทะี่กกรฎรหมมกาารยกบฤัญษญฎกีตั าิไว้ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติมีอํานาจหน้าท่ีตามท่ีประธานสภาเกษตรกร แห่งชาติมอบหสํามนากั ยงแานลคะณปะฏกิบรัรตมิหกนา้รากทฤ่ีแษทฎนกี เามื่อประธานสสภํานากัเกงาษนตครณกะรกแรหรม่งกชาารตกิไฤมษ่อฎยกี ู่หารือไม่สามารถ ปฏบิ ัตหิ น้าท่ไี ด้ สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาตรา ๑๙ ให้สมาชิกสภาเกษตรกรแหง่ ชาติ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการหรอื คณะทํางาน ไสดํา้รนับกั คงา่านเบค้ียณปะกรระรชมุมกาคร่ากเฤบษี้ยฎเกีลา้ียง ค่าใช้จ่ายสแํานลักะงสาิทนคธิณประกะรโยรมชกนา์อรก่ืนฤใษนฎกกี าารปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติน้ี ตามระเบียบท่ีสภาเกษตรกรแห่งชาติกําหนดโดยความเห็นชอบของ สํานักงานกคระณทะกรวรรงมกการารคกลฤังษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า หมวด ๒ สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สสําํานนักักงงาานนคสณภะากเกรรษมตกรากรรกแฤหษ่งฎชกี าาติ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาตรา ๒๐ ให้จัดตั้งสํานักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติข้ึนเป็นหน่วยงานของรัฐ มี สาํ นักงานฐคานณะะเกปร็นรมนกิตาิบรกุคฤคษลฎทีก่ีไาม่เป็นส่วนราสชํากนาักรงหานรือครณัฐะวกิสรารมหกกาิจรตกาฤมษกฎฎีกาหมายว่าด้วยวสิธาํ ีกนาักรงงานบคปณระะกมรารณมกหารรือกฤษฎีกา กฎหมายอื่นเรียกโดยย่อว่า “สกช.” โดยมีสํานักงานตั้งอยู่ท่ีกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล มีอํานาจ หนา้ ทดี่ งั นี้ สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า (๑) รับผิดชอบงานด้านธุรการ และทําหน้าท่ีเป็นเลขานุการของสภาเกษตรกร สํานกั งานแคหณง่ ชะากตรริ มการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (๒) รวบรวม ศึกษา วิจัย พัฒนา และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก่ียวกับการ ดําเนินงานขอสงสาํ นภักางเากนษคตณระกกรรแรมหก่งาชรากตฤิ ษสฎภกี าาเกษตรกรจังหสวํานัดกั สงาํานนคักณงาะนกรรแมลกะาสรํากนฤัษกฎงากี นาสภาเกษตรกร สาํ นักงานจคงั หณวะัดกรรมการกฤษฎีกา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (๓) ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร ได้ทราบถึงนโยบาย แผน แม่บทและการสดาํ ํานเกั นงินานงาคนณขะอกงรสรมภกาาเกรกษฤตษรฎกีกราแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (๔) รบั ขนึ้ ทะเบียนเกษตรกรและองคก์ รเกษตรกร สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า
- ๗ - สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษ(๕ฎ)ีกาจัดให้มีฐานข้อสมํานูลักทงะานเบคียณนะเกกรษรมตกรากรรกแฤลษะฎอีกงาค์กรเกษตรกสรํารนะักบงาบนขค้อณมะูลกแรรลมะกกาารรกฤษฎีกา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตรและกิจการอ่ืนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การ วิจัย การผลิตสกํานาักรงแาปนรครณูปะกกรารมรตกาลรากดฤษแฎลกี ะาราคาท้ังภายสใํานนปักรงาะนเทคณศแะกลระรตม่ากงาปรกรฤะษเทฎกีศารวมท้ังการใช้ ประโยชนจ์ ากข้อมลู สารสนเทศทางภูมศิ าสตร์ สํานกั งานคณะกรรมการกฤษ(๖ฎ)กี ปา ระสานการดสําําเนนักนิ งงาานนคกณบั ะสกรภรามเกกาษรตกรฤกษรฎจกี ังาหวดั และหนว่สยาํ นงาักนงาอน่ืนคทณ่เี กะกย่ี รวรขม้อกงารกฤษฎกี า (๗) จดั ทาํ รายงานประจาํ ปีของสภาเกษตรกรแห่งชาติ สาํ น(ัก๘ง)านปคฏณิบะตั กิหรนรม้ากทา่อี ร่นืกฤใดษตฎาีกมาทีส่ ภาเกษตรสกํารนแักหงา่งนชคาตณมิ ะกอรบรหมมกาารยกฤษฎกี า การปฏบิ ตั ิตามอาํ นาจหนา้ ที่ของสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ สํานักงานแคลณะวะิธกีกรรามรกบารริหกาฤรษกฎิจีกกาารบ้านเมืองทสําี่ดนี กั ทงาั้งนนคี้ ตณาะมกทรร่ีรมัฐกมานรกตฤรษีปฎระีกากาศกําหนดในสราํ านชักกงาิจนจคาณนะุเบกรกรษมากโาดรยกฤษฎกี า การเสนอแนะขสอํานงกัสงภาานเคกณษะตกรรกรรมแกหาร่งกชฤาษตฎิ กี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษมฎากีตารา ๒๑ กิจกสําานรกั ขงอานงสคํณานะกักรงรามนกไามรก่อฤยษู่ภฎากี ยาใต้บังคับแหส่งํากนฎักหงามนาคยณวะ่ากดร้รวมยกกาารรกฤษฎกี า คุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่า ด้วยเงินทดแทสนาํ นทักง้ังานนี้ คเลณขะากธริกรามรกาพรกนฤักษงฎานกี าและลูกจ้างขสอํางนสกั ํางนาักนคงาณนะตก้อรรงมไดก้รารับกปฤรษะฎโกียาชน์ตอบแทนไม่ น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และ สํานักงานกคฎณหะมการยรวมา่ กดา้วรยกเฤงษนิ ฎทกี ดาแทน สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นมกั างาตนรคาณ๒ะ๒กรรใมหก้ปารรกะฤธษานฎสกี าภาเกษตรกรแสหํา่นงชกั างตานิแคตณ่งตะกั้งรเลรมขกาธาริกกาฤรษซฎ่ึงกี มาีคุณสมบัติและ ไม่มลี ักษณะต้องหา้ ม ดังต่อไปนี้ สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษ(๑ฎ)ีกมา ีสญั ชาตไิ ทยสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ น((ัก๒๓ง))านมมคอี ีคณาวยะากุไมมรร่ตรมู้ํ่าคกกาววร่าากสมฤาเษมชฎสี่ยีกบิวาหชา้าปญีบมรบิีผรู ลณงาส์แนําตนไ่แักมลงเ่ าะกนินปคหรณะกะสสกิบบรรปกมีบากรราบิณรกรู ์เณฤปษ็น์ใฎนทกีว่ีปานั รระบั จสักมษคั ร์ ท่ีจะ สาํ นกั งานปคฏณิบะตั กิงรารนมใกหา้สรกาํ นฤษักฎงาีกนาได้ สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (๔) ไมม่ ีลักษณะตอ้ งห้ามตามมาตรา ๗ (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) สําน(กั ๕ง)านไมค่เณปะน็ กลรกูรมจกา้ างรในกฤอษงคฎก์กี ารเอกชนที่มตี ําสแําหนักนงง่ าแนลคะณมะเี กงินรรเมดกือานรปกฤระษจฎาํกี า หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาเลขาธิการ ให้เป็นไปตามท่ีสภา สํานกั งานเกคษณตะรกกรรรมแกหา่งรชกาฤตษกิ ฎํากี หานด สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานมักางาตนรคาณ๒ะ๓กรรกมากราดรกําฤรษงตฎํากี แาหน่ง การพ้นสจําานกกั ตงาํานแคหณนะ่งกแรลระมกกาารรกกฤําษหฎนกี ดาเง่ือนไขในการ ทดลองการปฏิบัติงาน การปฏบิ ัติงานในหน้าที่เลขาธิการ และการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไป สํานกั งานตคามณสะัญกรญรมากจาา้ รงกทฤสี่ ษภฎาีกเกา ษตรกรแหง่ ชสาําตนกักิ งําาหนนคดณะโดกรยรใมหกม้ าีกราํกหฤษนฎดกีระายะเวลาจ้างคสรําานวักลงะาไนมค่เณกินะกสร่ปี รีมการกฤษฎกี า ให้เลขาธิการได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนอ่ืน ตามท่ีสภาเกษตรกร แห่งชาตกิ ําหนสดํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาตรา ๒๔ ให้สภาเกษตรกรแห่งชาติมีอํานาจออกระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับ การบริหารงานสภาํ นาักยงในานสคําณนะกั กงรารนมกแาลระกสฤาํษนฎกั กี งาานสภาเกษตสรํากนรกัจงงั าหนวคดั ณะอกาํ รนรามจกเาชร่นกวฤ่าษนฎ้ใี กี หา้รวมถงึ (๑) การแบง่ ส่วนงานภายในสาํ นักงาน และสาํ นกั งานสภาเกษตรกรจังหวดั สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า
- ๘ - สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษ(๒ฎ)ีกาการออกระเบสียําบนหกั งราือนขค้อณบะังกครับรมเกกี่ยารวกกฤับษกฎากี รากําหนดคุณสมสําบนัตักิ งกาานรคคณัดะเกลรือรกมกกาารรกฤษฎีกา บรรจุ การแต่งตั้ง การกําหนดตําแหน่ง การกําหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้าง การกําหนดบําเหน็จ และสิทธิประโสยาํชนนัก์องา่ืนนคกณาระเกลรื่อรนมเกงาินรกเดฤือษนฎหีการือค่าจ้าง การสถํานอักดงถาอนนคณวะินกัยรแรมลกะากรากรฤลษงฎโทกี าษทางวินัย การ ออกจากตาํ แหนง่ การรอ้ งทุกขแ์ ละการอทุ ธรณก์ ารลงโทษของพนกั งานและลูกจ้าง สํานักงานคณะกรรมการกฤษ(๓ฎ)กี กา ารออกระเบสียําบนหกั งราือนขค้อณบะังกครับรมเกกี่ยารวกกฤับษกฎาีกราบริหารและจัดสํากนาักรงกาานรคเณงินะกกรารมรพกาัสรดกุฤษฎกี า และทรัพย์สินของสํานักงาน และสํานักงานสภาเกษตรกรจังหวัด โดยความเห็นชอบของ กระทรวงการคสลํานังักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษมฎาตีการา ๒๕ ให้เลสขําานธักิกงาารนเคปณน็ ะผกูบ้ รงั รคมับกบารญั กฤชษาพฎกีนาักงานและลูกจส้าํางนักแงลาะนรคับณผะิดกชรรอมบกกาารรกฤษฎกี า เบกรษิหตารรกกริจแกหา่รงสชขาําอนตงกั สิ งรําาะนนเักบคงณียาบะนกขรแร้อลมบะกังสาครํากับนฤแักษลงฎะาีกนนาสโยภบาาเกยษทตี่สรภการสเกจํานังษหักตงวราัดกนรคใแหณห้เะป่งก็นชรราไมปตกติกาาํารมหกวนฤัตษดถฎุปีกทราั้งะนส้ี งภคา์ขยอใตงส้กภารา สํานักงานกคาํ กณบั ะกดรแู รลมขกอางรปกฤรษะฎธาีกนาสภาเกษตรกสรําแนหัก่งงชานาตคณิ ะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นมกั างตานรคาณ๒ะ๖กรรใมหก้เลารขกาฤธษกิ ฎาีกราเปน็ ผ้แู ทนขอสงสํานาํ ักนงักางนาคนณในะกกรจิ รกมากราขรกอฤงสษาํฎนีกักางานท่ีเก่ียวกับ บคุ คลภายนอก สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า มาตรา ๒๗ ให้เลขาธิการแต่งต้ังพนักงานของสํานักงานไม่เกินสองคนเป็นรอง เลขาธิการคนสทําี่หนกันงึ่งาแนลคะณระอกงรรเลมขกาารธกิกฤาษรฎคกี นาที่สองเพ่ือช่สวํายนปักฏงาิบนัตคิงณาะนกขรรอมงกสาํารนกักฤษงาฎนีกาและในกรณีที่ ตําแหน่งเลขาธิการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งเลขาธิการคนใหม่ หรือในกรณีท่ีเลขาธิการไม่อาจ สํานักงานปคฏณิบะัตกิหรนรม้ากทา่ีไรดก้เฤปษ็นฎกกี าารชั่วคราว ใหส้ปํารนะกั ธงาานนสคภณาะเกกรษรมตกรากรรกแฤหษ่งฎชีกาาติแต่งต้ังรองเลสาํขนาักธงิกาานรคคณนะทกี่หรรนม่ึงกเปาร็นกฤษฎีกา ใผหรู้ ้ปักษระาธกาานรสแภทสานําเเกนลษกัขงตาาธรนกิกคราณรแะหแก่งลรชระามใตนกิแากรตรก่งณฤตษทีั้งฎรี่เลอีกขงาเาลธขิกาาธริกแาลระครนสอทํางนเีส่ ลักอขงงาาเนปธคิก็นณาผระรู้ คกักรนษรทามี่หกกานารร่ึงกแไฤมทษ่อนฎาจกี าปฏิบัติหน้าที่ได้ สํานกั งานคณะกรรมการกฤษใหฎผ้ีกรู้าักษาการแทนสเําลนขกั างธากินาครณมะอี กาํรนรมากจาหรนกา้ฤทษ่เีฎชีกน่ าเดยี วกับเลขาสธาํกิ นาักรงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นมักางตานรคาณ๒ะ๘กรรใมหก้สาํารนกกัฤษงาฎนกี มาีรายได้ ดงั ต่อสไําปนนักี้งานคณะกรรมการกฤษฎีกา (๑) เงินอดุ หนุนตามมาตรา ๒๙ สํานกั งานคณะกรรมการกฤษ(๒ฎ)ีกาเงินช่วยเหลือสจําานกักหงานน่วคยณงะากนรขรมอกงารรัฐกหฤรษือฎเีกอากชนที่เกี่ยวขส้อาํ งนกักับงกานาครณส่งะเกสรรริมมกแาลระกฤษฎกี า พัฒนาเกษตรกรรม สาํ น(ัก๓ง)านเงคนิ ณหะรกือรทรมรกัพายรส์กนิฤษทฎม่ี กีผี ายู้ กให้ สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า (๔) ดอกผลและรายไดอ้ นื่ ๆ สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษราฎยกี ไาด้ของสํานักงสาํานนไกัมง่เาปน็นครณาะยกไรดร้ทม่ีตก้อารงกนฤําษสฎ่งกกี าระทรวงการคลสําังนตักางมากนฎคหณมะการยรวม่ากดา้วรยกฤษฎกี า เงินคงคลงั กฎหมายว่าด้วยวธิ กี ารงบประมาณ หรอื กฎหมายอ่นื สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษมฎากีตารา ๒๙ ให้สําสนํานักกังางานนเคสณนอะกขรอรงมบกปารรกะฤมษาฎณีกจาากรัฐบาลตาสมํามนตักิขงอานงคสณภะากเกรษรมตกรากรรกฤษฎีกา แห่งชาตเิ พ่ือจัดสรรเปน็ เงนิ อดุ หนนุ ของสภาเกษตรกรแหง่ ชาติ และสภาเกษตรกรจังหวัด สํานใกั หง้รานัฐคบณาละกอรุดรหมนกุนารคก่าฤใษชฎ้จีก่าายในการดําเนสินํางนากั นงใาหนค้เพณียะงกพรรอมกกับากรกาฤรษดฎําเกี นาินงานของสภา เกษตรกรแห่งชาติและสภาเกษตรกรจงั หวัด สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ๙ - สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษกฎารกี ใาช้จ่ายเงินอุดหสํานนุนกั ตงาานมคมณาะตกรรารนม้ีกใาหร้เกปฤ็นษไฎปีกตาามระเบียบทส่ีสาํภนาักเงกาษนตคณรกะรกแรรหม่งกชาารตกิฤษฎกี า กาํ หนดโดยความเหน็ ชอบของกระทรวงการคลงั สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า มาตรา ๓๐ ให้สํานักงานจัดทํางบดุล งบการเงินและบัญชีทําการส่งผู้สอบบัญชี สาํ นักงานภคาณยใะนกเรกรา้มสกิบารวกนั ฤนษบั ฎแีกตา่วนั สน้ิ ปบี ญั ชสี ํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสํานักงานและให้ทําการ ตรวจสอบรับรสอํานงบักงัญานชคีแณละะกกรารรมเกงาินรทกฤุกษปฎรีกะาเภทของสํานสักํางนากั นงรานวมคณทั้งะกปรรระมเกมาินรกผฤลษกฎาีกราใช้จ่ายเงินและ ทรัพย์สินของสํานักงาน โดยแสดงให้เห็นด้วยว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด สาํ นกั งานแคลณะไะดก้ผรรลมตกาามรกเปฤ้าษหฎมีกาายเพียงใดแลส้วําทนําักรงาายนงคาณนะเกสรนรมอกผาลรกกาฤรษสฎอีกบาบัญชีต่อสภาสผาํ ู้แนทักงนารนาคษณฎะรกรวรุฒมกิสาภรากฤษฎกี า และคณะรัฐมนสตาํ นรักีโดงายนไมคณ่ชักะกชรา้ รมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณหะมกวรดรม๓การกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สภาเกษตรกรจงั หวัด สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษมฎาตกี ารา ๓๑ ให้มสี สภํานาเักกงษานตครณกระกจรังรหมวกดั ารปกรฤะษกฎอีกบาด้วย สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (๑) สมาชกิ ที่ไดร้ บั การเลือกตั้ง จํานวนสิบหกคน ในกรณีที่จังหวัดใดมีจํานวนอําเภอ มากกวา่ สิบหกสอาํ ํานเักภงอานใคหณ้เพะกมิ่ รจรํามนกวานรกผฤแู้ ษทฎนกี เกา ษตรกรในจงั สหําวนัดกั นงาั้นนใคหณเ้ ทะกา่ กรรับมจกาํ านรกวฤนษขฎอีกงอา ําเภอ (๒) สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งสมาชิกตาม (๑) เลือกจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ สาํ นักงานดค้านณเะกกษรรตมรกการรรกมฤษจฎําีกนาวนห้าคน โดยสํามนาักจงาากนดค้าณนะพกรืชรมดก้าานรสกัตฤษว์ฎแีกลาะด้านประมงสอาํ นยัก่างงานน้อคยณดะ้ากนรลรมะกหานร่ึงกฤษฎกี า คน สาํ นใกั หง้สานําคนณักะงการนรจมัดกใาหรก้มฤีกษาฎรีกเลาือกตั้งเพ่ือใหส้ไําดน้สกั มงาานชคิกณตะากมรร(ม๑ก)าแรกลฤะษกฎาีกราเลือกเพื่อให้ได้ สํานกั งานสคมณาชะกิกรผรู้ทมกรางรคกุณฤษวฎุฒกี ิตาาม (๒) ทั้งนสํา้ี นตกั างมาหนคลณักะเกกรณรฑมก์ วาริธกีกฤาษรฎแีกาละเงื่อนไขที่สสภาํ นาักเกงาษนตครณกะรกแรหรม่งกชาารตกิฤษฎีกา กําหนดโดยประกาศในราชกจิ จานเุ บกษา สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า มาตรา ๓๒ เม่ือสภาเกษตรกรจังหวัดมีสมาชิกครบถ้วนตามมาตรา ๓๑ แล้ว ให้ สาํ นกั งานเลคขณาะธกกิ รารรมปกราะรกกฤาษศฎรากี ยาช่อื สมาชกิ สภสาําเนกักษงตานรคกณรจะกังหรรวมัดกใานรรกาฤชษกฎจิ กี จาานเุ บกษา ภาสยาํ ในนักเวงาลนาคสณิบะหก้ารวรันมการกฤษฎีกา สํานมักางตานรคาณ๓ะ๓กรรสมภกาาเรกกษฤษตรฎกกี ราจงั หวัดมีอาํ นสาําจนหกั นงา้านทคี่ ณดังะตกอ่รรไมปกนาี้ รกฤษฎกี า (๑) พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรภายใน สาํ นักงานจคงั หณวะดักรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า (๒) ประสานนโยบายและการดําเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกร เกษตรกร สถาบนั วิจยั สถสาํานบกั ันงกานารคศณกึ ะษกรารแมลกะารหกนฤว่ษยฎงกี าานของรัฐ สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษ(๓ฎ)กี สา ่งเสริมและสสนําับนสักงนาุนนกคาณระรกวรมรมกกลาุ่มรขกอฤงษอฎงกี คา์กรเกษตรกรสกาํ ลนุ่มักเงกานษคตณระกกรรรแมลกะายรุวกฤษฎกี า เกษตรกรในจงั หวัด ในรูปแบบต่าง ๆ สําน(ัก๔ง)านเสคนณอะกแรผรนมพกัฒารนกฤาษเกฎษีกตารกรรมระดับสจําังนหักวงาัดนตค่อณสะภการเรกมษกตารรกกฤรษแฎหกี ่งาชาติเพื่อบูรณา การเปน็ แผนแมบ่ ทเสนอตอ่ คณะรัฐมนตรตี อ่ ไป สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า
- ๑๐ - สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษ(๕ฎ)ีกาสนับสนุนและสสําน่งเักสงรานิมคกณาระศกรึกรษมากากรากรฤฝษึกฎอีกบา รม และการสถาํ่านยักทงอานดคเทณคะกโนรรโมลกยาีแรกก่ฤษฎีกา เกษตรกรและยุวเกษตรกร เพื่อเพิ่มขดี ความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างครบวงจร และยั่งยืน สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า (๖) เสนอนโยบายและแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาค สํานกั งานเกคษณตะรกกรรรมรมการรวกมฤษทฎั้งรีกาาคาผลผลิตทาสงําเนกักษงตานรกครณระมกทรรีไ่ มม่เกปาร็นกธฤรษรฎมกีตา่อสภาเกษตรกสรําแนหัก่งงชานาตคณิ ะกรรมการกฤษฎีกา (๗) ใหค้ าํ ปรกึ ษาและข้อแนะนาํ แกเ่ กษตรกรหรอื องคก์ รเกษตรกร สําน(กั ๘งา)นแคณต่ะงกตร้ังรมคกณาระกทฤํษาฎงกีาานเพ่ือดําเนิสนํากนาักงราในดคณๆะกใรหรม้บกรารรกลฤุวษัตฎถีกุาประสงค์ตาม พระราชบัญญัติน้ี สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษ(๙ฎ)กี ปา ฏิบัตหิ น้าที่ตสาํามนทัก่ไีงดานร้ คบั ณมะอกบรหรมมกาายรจกาฤกษสฎภีกาาเกษตรกรแหง่ สชําานตักิงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นมักางาตนรคาณ๓ะ๔กรรสมมกาารชกิกฤสษภฎาีกเากษตรกรจังหสวัํดานตัก้องงามนีคคณุณะสกมรบรมัตกิแาลระกไฤมษ่มฎีลีกักาษณะต้องห้าม สาํ นกั งานดคังตณอ่ ะไกปรนรม้ี การกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า (๑) เป็นเกษตรกรทม่ี ภี มู ิลําเนาอยู่ในจงั หวัด สําน(กั ๒ง)านมคีสณญั ะชการตรไิมทกยารกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า (๓) มีอายุไม่ตาํ่ กวา่ ยส่ี ิบหา้ ปบี ริบรู ณ์ สํานักงานคณะกรรมการกฤษ(๔ฎ)ีกไามม่ ลี ักษณะตสอ้ ํางนหัก้างมานตคามณมะกาตรรรมาก๗ารก(๔ฤ)ษ(ฎ๕ีก)า(๖) (๗) (๘) (ส๙ํา)นแักลงาะน(ค๑ณ๐ะ)กรรมการกฤษฎกี า สาํ นมักางาตนรคาณ๓ะ๕กรรสมภกาารเกกฤษษตฎรีกการจังหวัดมีปรสะําธนาักนงสานภคาณหะนก่ึงรครนมกแาลระกรฤอษงฎปกี ราะธานสภาสอง คน สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษภฎาีกยาในสามสิบวันสนํานับักแงาตน่วคันณทะี่ปกรรระมกกาาศรกรฤาษยฎชีกื่อาสมาชิกสภาเสกําษนตักงรากนรคจณังะหกวรรัดมกตาารมกฤษฎกี า ไมดา้มตารปาร๓ะ๒ชุมใเหปส้สํา็นํานคนักรักงั้งางแนารคนกณสะภเพการื่อเรกเมลษกือตากรรกปกฤรรษจะฎังธหีกานาวัดแลจะัดรใอหง้มปีกราะสรธําปนารนักะงสชาภนุมาคสเณภกะษากเตกรรรษกมตรกรจากรังกรหจฤวัษงัดหฎแวีกตัดา่ลเพะ่ืแอหให่ง้สแมลาะชใหิก้ สาํ นกั งานนคําณควะากมรรในมกมาารตกรฤาษ๑ฎีก๕าวรรคสามมาสใชํานบ้ ักงั งคาบันโคดณยะอกนรรโุ ลมมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานมักางาตนรคาณ๓ะก๖รรมปกราะรธกาฤนษสฎภีกาาเกษตรกรจังสหํานวกััดงมาีอนํคานณาะจกรหรนม้ากทารี่ดกําฤเษนฎินกี กาิจการของสภา เกษตรกรจังหวดั ใหเ้ ป็นไปตามขอ้ บงั คบั ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสภาเกษตรกรจงั หวัด สํานักงานคณะกรรมการกฤษรฎอกีงาประธานสภาสเํากนษักตงารนกครณจะังกหรรวมัดกมาีอรกําฤนษาฎจีกหาน้าที่ตามที่ปสรําะนธักางนานสคภณาะเกกรษรมตกรากรรกฤษฎีกา จงั หวัดมอบหมาย และปฏบิ ัติหนา้ ทแี่ ทนเม่อื ประธานสภาเกษตรกรจงั หวัดไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติ หนา้ ทไี่ ด้ สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นกั งานคณะกรรมการกฤษมฎากีตารา ๓๗ ให้นําสคํานวกัามงาในนคมณาะตกรรารม๘กามรากตฤรษาฎ๙ีกามาตรา ๑๐ มสาาํ นตักรางาน๑ค๗ณแะกลระรมมากตารรากฤษฎกี า ๑๙ มาใช้บังคับกบั สภาเกษตรกรจงั หวัดโดยอนโุ ลม สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานกั งานคณหะมกวรดรม๔การกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาํ นกั งานสภาเกษตรกรจงั หวัด สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกี า
Search