Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 4วิทยาศาสตร์-พว31001

4วิทยาศาสตร์-พว31001

Published by sawitree.icando9, 2022-05-12 17:13:56

Description: 4วิทยาศาสตร์-พว31001

Search

Read the Text Version

เอกสารสรุปเน้อื หาที่ตองรู รายวิชาวิทยาศาสตร ระดับ มธั ยมศึกษาตอนปลาย รหัส พว31001 หลักสูตรการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 สํานกั งานสง เสรมิ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั สํานกั งานปลดั กระทรวงศกึ ษาธิการ กระทรวงศกึ ษาธิการ หามจาํ หนาย หนังสือเรียนนจ้ี ัดพิมพด วยเงนิ งบประมาณแผนดนิ เพื่อการศกึ ษาตลอดชีวติ สาํ หรับประชาชน ลขิ สทิ ธ์ิเปน ของ สาํ นกั งาน กศน. สาํ นกั งานปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร



สารบัญ หนา คาํ นาํ 1 คําแนะนาํ การใชเ อกสารสรปุ เนอ้ื หาท่ีตองรู 23 บทที่ 1 ทกั ษะทางวิทยาศาสตรและกระบวนการทางวิทยาศาสตร 40 บทท่ี 2 โครงงานวิทยาศาสตร 55 บทที่ 3 เซลล 80 บทที่ 4 พนั ธุกรรมและความหลากหลายทางชวี ภาพ 90 บทท่ี 5 เทคโนโลยีชีวภาพ 121 บทที่ 6 ทรัพยากรธรรมชาติ และสงิ่ แวดลอ ม 159 บทท่ี 7 ธาตุ สมบตั ขิ องธาตุและธาตุกัมมนั ตภาพรงั สี 172 บทท่ี 8 สมการเคมีและปฏิกิรยิ าเคมี 197 บทท่ี 9 โปรตนี คารโบไฮเดรต และไขมนั 222 บทท่ี 10 ปโตรเลียมและพอลิเมอร 235 บทท่ี 11 สารเคมีกับชวี ิตและสง่ิ แวดลอม 267 บทที่ 12 แรงและการเคลือ่ นท่ี 277 บทที่ 13 เทคโนโลยีอวกาศ 295 บทที่ 14 อาชีพชา งไฟฟา 309 เฉลยกจิ กรรมทายบท คณะผจู ดั ทํา

คําแนะนาํ การใชเอกสารสรปุ เนอ้ื หาทตี่ อ งรู เอกสารสรุปเนื้อหาที่ตองรูรายวิชาวิทยาศาสตร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เลมนี้ เปนการสรุปเนื้อหาจากหนังสือเรียนสาระความรูพ้ืนฐานรายวิชาวิทยาศาสตร ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2557) เพ่ือใหนักศึกษา กศน. ทําความเขาใจและเรียนรู ในสาระสําคญั ของเนอื้ หารายวิชาสาํ คญั ๆ ไดส ะดวกและสามารถเขาถงึ แกนของเนื้อหาไดด ีข้นึ ในการศกึ ษาหนงั สือสรุปเน้ือหารายวชิ าวทิ ยาศาสตร ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย (พว31001) เลม น้ี ผูเรียนควรปฏบิ ัติ ดงั น้ี 1. ศึกษาโครงสรางรายวชิ าวิทยาศาสตร ระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย จากหนังสือเรียน สาระความรพู ืน้ ฐาน รายวชิ าวิทยาศาสตร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (พว31001) หลักสูตร การศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2557) ใหเขา ใจกอน 2. ศกึ ษารายละเอยี ดเน้อื หาของหนงั สอื สรุปเน้อื หารายวชิ าวิทยาศาสตร ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย (พว31001) ใหเ ขาใจอยา งชดั เจน ทลี ะบท จนครบ 14 บท 3. หากตองการศึกษารายละเอียดเน้ือหารายวิชาวิทยาศาสตร ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย (พว31001) เพ่ิมเติม นักศึกษา กศน. สามารถศึกษาหาความรูเพิ่มเติมจากตํารา หนังสอื เรียนทม่ี ีอยตู ามหอ งสมดุ รานหนงั สอื เรียน คลปิ วดิ โี อหรือจากครผู สู อน

1 บทที่ 1 ทกั ษะทางวิทยาศาสตรแ ละกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร สาระสําคญั วิทยาศาสตรเปนเรื่องของการเรียนรูเก่ียวกับธรรมชาติ โดยมนุษยใชทักษะตาง ๆ สาํ รวจและตรวจสอบ ทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณทางธรรมชาติ และนําผลที่ไดมาจัดใหเปน ระบบ และต้ังขึ้นเปนทฤษฎี ซึ่งทักษะทางวิทยาศาสตร ประกอบดวยกัน 13 ทักษะในการ ดาํ เนนิ การหาคําตอบเร่ืองใดเรอ่ื งหนง่ึ นอกจากจะตองใชทักษะทางวิทยาศาสตรแลว ในการหา คําตอบจะตองมกี ารกําหนดลําดบั ขนั้ ตอนอยา งเปน ระบบตงั้ แตตน จนจบเรยี กลาํ ดับขน้ั ตอน ในการหาคาํ ตอบเหลา นวี้ า กระบวนการทางวิทยาศาสตร ซ่ึงประกอบดวย 5 ขนั้ ตอน ผลการเรยี นรทู ีค่ าดหวัง เร่อื งท่ี 1 อธิบายธรรมชาติของวทิ ยาศาสตรและทกั ษะทางวทิ ยาศาสตร เร่อื งที่ 2 อธบิ ายขัน้ ตอนกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร เรอ่ื งท่ี 3 อธบิ ายและบอกวธิ ีการใชวสั ดุและอุปกรณทางวทิ ยาศาสตร ขอบขายเนื้อหา เรอื่ งที่ 1 ธรรมชาติของวิทยาศาสตรและทักษะทางวิทยาศาสตร เรื่องท่ี 2 กระบวนการทางวิทยาศาสตร เรื่องท่ี 3 วัสดุ และ อุปกรณทางวิทยาศาสตร

2 บทที่ 1 ทักษะทางวทิ ยาศาสตรและกระบวนการทางวิทยาศาสตร วทิ ยาศาสตรม คี วามสําคัญอยางไร วิทยาศาสตรเปนเรื่องของการเรียนรูเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมนุษยใชกระบวนการ สังเกต สํารวจตรวจสอบ ทดลองเกยี่ วกับปรากฏการณทางธรรมชาติและนําผลมาจัดเปนระบบ หลกั การแนวคิดและทฤษฎี ทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร ประกอบดวยทักษะในเรือ่ งใดบา ง 1. ทกั ษะการสังเกต หมายถึง การใชป ระสาทสัมผัสท้งั 5 ในการสงั เกต 2. ทักษะการวัด หมายถึง การเลือกใชเครื่องมือวัดปริมาณของส่ิงของออกมาเปน ตวั เลขที่แนน อนไดอ ยา งเหมาะสมและถกู ตอง 3. ทักษะการจาํ แนกประเภทหรือทกั ษะการจดั ประเภทส่ิงของ หมายถึง การแบงพวก หรอื การเรยี งลําดับวัตถุ 4. ทักษะการใชความสัมพันธระหวางสเปสกับเวลา หมายถึง การหาความสัมพันธ ระหวา งมติ ิตา ง ๆ ทีเ่ ก่ยี วกบั สถานท่ี รูปทรง ทิศทาง ระยะทาง พ้นื ท่ี เวลา ฯลฯ 5. ทักษะการคํานวณและการใชจํานวน หมายถึง การนําเอาจํานวนที่ไดจากการวัด การสังเกต และการทดลอง มาจัดกระทําใหเกิดคาใหม เชน การบวก ลบ คูณ หาร และนําคา ที่ไดจ ากการคาํ นวณไปใชประโยชนใ นการแปลความหมาย และลงขอสรุป 6. ทักษะการจัดกระทําและสื่อความหมายขอมูล หมายถึง การนําเอาขอมูลซ่ึงไดมา จากการสงั เกต การทดลอง มาจัดทาํ ในรูปแบบใหม เชน จดั ทําเปน กราฟ ตาราง แผนภมู ิ ฯลฯ 7. ทักษะการลงความเห็นจากขอมูล หมายถึง การเพ่ิมเติมความคิดเห็นใหกับขอมูล ทีม่ ีอยู อยางมเี หตุผล โดยใชป ระสบการณเ ดมิ มาชว ย ซึ่งขอมลู อาจไดจ ากการสงั เกต การวดั การทดลอง ซงึ่ การลงความเห็นจากขอมูลเดียวกัน อาจลงความเหน็ ไดหลายอยาง

3 8. ทักษะการพยากรณ หมายถึง การคาดคะเนหาคําตอบลวงหนากอนการทดลอง โดยอาศัยขอมูลท่ีไดจากการสังเกต การวัด โดยศึกษาความสัมพันธระหวางตัวแปรที่ไดศึกษา มาแลว หรือจากประสบการณท ี่เกดิ ขึน้ 9. ทักษะการตั้งสมมติฐาน หมายถึง การคิดหาคาคําตอบลวงหนากอนการทดลอง โดยอาศยั การสงั เกต ความรู ประสบการณเ ดิมเปนพืน้ ฐาน 10. ทักษะการควบคุมตัวแปร หมายถึง การควบคุมส่ิงอ่ืน ๆ นอกเหนือจากตัวแปร อิสระท่ีจะทําใหผลการทดลองคลาดเคล่ือน ซึ่งตัวแปรแบงเปน 3 ประเภท คือ ตัวแปรอิสระ หรอื ตวั แปรตน ตวั แปรตาม และตัวแปรท่ตี องควบคุม 11. ทักษะการตีความหมายและลงขอสรุป ขอมูลทางวิทยาศาสตรสวนใหญจะอยูใน รูปตาราง รูปภาพ กราฟ ฯลฯ ซ่ึงการนาํ ขอ มลู ไปใชตองตีความใหสะดวกท่ีจะส่ือความหมายได ถกู ตอง และเขา ใจตรงกนั 12. ทักษะการกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ หมายถึง การกําหนดความหมายและ ขอบเขตของคาํ ตา ง ๆ ทม่ี อี ยูในสมมติฐานท่ีจะทดลองใหม ีความรดั กุม เปนที่เขาใจตรงกัน 13. ทักษะการทดลอง หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการโดยใชทักษะตาง ๆ เชน การสังเกต การวัด ฯลฯ มาใชรวมกันเพื่อหาคําตอบ ซึ่งประกอบดวยกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบการทดลอง การปฏิบัตกิ ารทดลอง และการบนั ทึกผลการทดลอง กระบวนการทางวทิ ยาศาสตร มลี าํ ดบั ขนั้ ตอนอยา งไรบา ง กระบวนการทางวิทยาศาสตร เปนแนวทางการดําเนินการโดยใชทักษะวิทยาศาสตร ไปใชใ นการจดั การ มลี าํ ดบั ขั้นตอน 5 ข้ันตอน คอื ขั้นตอนที่ 1 การกําหนดปญหา เปนการกําหนดเร่ืองท่ีจะศึกษา หรือการแกปญหา ซ่ึงเปน ปญหาทไี่ ดมาจากการสังเกตสิง่ ท่พี บเหน็ เชน ทําไมตน ไมท ป่ี ลูกไวใบเห่ียวเฉา

4 ขนั้ ตอนท่ี 2 การต้งั สมมตฐิ าน เปนการคาดคะเนคําตอบของปญหาอยางมีเหตผุ ล โดยใชขอมูลจากการสังเกต การพบผูรูในเรื่องนั้น ๆ โดยมีการกําหนดตัวแปรที่เก่ียวของกับ การทดลอง ไดแ ก ตัวแปรตน ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม สมมติวาการทดลองตอไปนี้ตองการจะทดสอบสมมติฐานท่ีวา “เม่ือพืชไดรับแสง มากขน้ึ พชื จะเจรญิ เตบิ โตสูงข้ึน” ถาจะทําการทดลองเพ่ือทดสอบสมมติฐานดังกลาว กําหนด ตัวแปร ดังน้ี ตัวแปรตน คือ ปริมาณแสง ตวั แปรตาม คอื การเจริญเตบิ โตของพืช ตวั แปรควบคุม คือ 1. ชนิดพืช ตองเปน พชื ชนิดเดยี วกัน 2. ขนาดของพืชท่ีนํามาทดลองตองมีขนาดเทากนั 3. ใชดินชนดิ เดยี วกันและปริมาณเทากนั ปลกู 4. รดนํ้าในเวลาเดยี วกันและปรมิ าณเทา ๆกนั 5. วางกระถางตน พืชในบริเวณเดียวกัน ข้ันตอนที่ 3 การทดลองและรวบรวมขอมูล เปนการปฏิบัติการทดลอง คนหาความ จริงใหสอดคลองกับสมมติฐานที่ตั้งไวในขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน (ขั้นตอนท่ี 2) และรวบรวม ขอมลู จากการทดลองอยา งเปน ระบบ ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะหขอมูล เปนการนําขอมูลท่ีรวบรวมไดจากข้ันตอน การทดลองและรวบรวมขอมลู (ขนั้ ตอนท่ี 3) มาวเิ คราะหหาความสัมพันธข องขอเท็จจริงตาง ๆ เพ่อื นาํ มาอธิบายและตรวจสอบกบั สมมติฐานท่ตี ั้งไวในข้นั ตอนการตงั้ สมมตฐิ าน (ขนั้ ตอนท่ี 2) ขัน้ ตอนท่ี 5 การสรปุ ผล เปนการสรุปผลการศึกษา การทดลอง โดยอาศัยขอมูลและ การวเิ คราะหขอมูลจากข้ันตอนการวิเคราะหขอมูล (ขั้นตอนท่ี 4) เปนหลักในการสรุปผลการ ทดลอง

5 คณุ ลักษณะของบคุ คลทมี่ เี จตคตวิ ิทยาศาสตร ควรเปนอยางไร ลกั ษณะของเจตคตทิ างวทิ ยาศาสตร แบง ไดเ ปน 2 ลกั ษณะ คอื 1. เจตคติที่เกิดจากการใชความรู คือกฎเกณฑ ทฤษฎี และหลักการตาง ๆ ทางวิทยาศาสตรและการอธิบายปรากฏการณธรรมชาติในเชิงวิทยาศาสตร โดยถือผล ทเ่ี กดิ จากการสงั เกต ทดลอง ตามที่เกิดจรงิ โดยอาศยั ขอ มลู องคประกอบท่เี หมาะสม 2. เจตคติท่ีเกิดจากความรูสึก คือกิจกรรมทางวิทยาศาสตรท่ีมุงกอใหเกิดความคิด ใหมๆ เพ่ืออธิบายปรากฏการณธรรมชาติ คุณคาสําคัญจึงอยูที่การสรางทฤษฎีและการเปน นกั วทิ ยาศาสตร หรอื การทาํ งานทตี่ อ งใชความรูทางวิทยาศาสตร เปนสิ่งที่นา สนใจและมคี ุณคา คณุ ลักษณะของบคุ คลท่มี เี จตคติวิทยาศาสตร 6 ลักษณะ 1. เปน คนที่มีเหตผุ ล คน หาสาเหตขุ องปญหาหรือเหตกุ ารณและหาความสมั พนั ธ ของสาเหตุกบั ผลท่เี กิดขน้ึ 2. เปน คนทมี่ คี วามอยากรอู ยากเห็น มีความพยายามท่จี ะเสาะแสวงหาความรู ในสถานการณใหม ๆ และตองเปน บคุ คลท่ชี อบซักถาม คน หาความรโู ดยวธิ ีการตา ง ๆ อยูเสมอ 3. เปนบุคคลท่ีมีใจกวาง บุคคลที่กลายอมรับการวิพากษวิจารณจากบุคคลอ่ืนเปน บุคคลที่เตม็ ใจทจ่ี ะเผยแพรค วามรูและความคดิ ใหแกบ ุคคลอ่ืน 4. เปน บคุ คลท่ีมีความซอื่ สตั ย และมใี จเปนกลาง สังเกตและบันทึกผลตาง ๆ อยาง ตรงไปตรงมา ไมลําเอียง หรอื มีอคติ 5. มคี วามเพียรพยายาม ไมท อ ถอยเมือ่ ผลการทดลองลม เหลว หรอื มีอุปสรรค 6. มีความละเอียดรอบคอบ ไมย อมรับส่ิงหน่ึงสงิ่ ใดจนกวา จะมีการพสิ จู นท ี่เชอื่ ถอื ได

6 กระบวนการทางความคิดทางวทิ ยาศาสตรใ นการแกปญ หาในชวี ติ ประจาํ วนั 1. ความเคยชิน เชนคนสายตาส้ัน ใสแวนแลวเห็นชัดน้ันเกิดจากความรู ทางวิทยาศาสตร ที่ใชเลนสนูนมารวมแสง เพื่อใหแสงมาตัดกันบนเรตินาพอดี ภาพท่ีเห็น ก็จะชดั เจน 2. ความไมทันสังเกต เชน ถาตองการแกไขปญหากล่ินปากหลังต่ืนนอน, จะใชวิธีแปรงฟน, อมนํ้ายาบวนปาก, ใชไหมขัดฟน ฯลฯ ทั้งหมดลวนไดมาจากวิธีการทาง วิทยาศาสตร เชน แปรงสฟี น ทาํ ไมจึงมีรปู รา ง-จํานวนขนแปรง-ขนาดขนแปรง ทั้งหมดตองผาน การศึกษา-คนควา เก็บขอมูล ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง บันทึก ฯลฯ ,ยาสีฟน นํ้ายาบวนปาก, ไหมขดั ฟน ลว นไดมาจากวิธกี ารทางวิทยาศาสตรทง้ั สิ้น 3. ความไมรู เชน “การท่ีทานเคยตัดสินใจเลือกทานอาหารที่มีประโยชนดีกวาทาน อาหารขยะ” น่ันก็แสดงวาทานไดใชกระบวนการทางความคิดเชิงวิทยาศาสตรไปแลว โดยที่ ทานไมรูตัว เพราะทานไดค ิดถงึ คณุ คาทางโภชนาการซึ่งเปนสวนหน่ึงของวิทยาศาสตร ถาทาน ตัดสินใจเพราะเรื่องราคา แสดงวาทานบวก-ลบ เลขเปน หมายถึงทานไดใชกระบวนการทาง วทิ ยาศาสตรแลว 4. และอื่นๆอีกมากมาย เชน น้ําไมไหล - เปดปมนํ้า, เก็บอาหาร - ใสตูเย็น, อากาศ รอน - เปดแอร+พดั ลม,อยากใหต นไมงาม - ใสปุย, อยากกันแดด- กางรม+ทาครีม, อยากหาย เหนื่อย- ดื่มนํ้าอัดลม ฯลฯ ทุกๆนวัตกรรม ทั้งเครื่องยนตกลไก, เครื่องใชไฟฟา,การถนอม อาหาร ฯลฯ เปน วทิ ยาศาสตรท้งั หมด

7 เทคโนโลยี คอื อะไร เทคโนโลยี หมายถงึ ความรู วชิ าการรวมกบั ความรวู ธิ ีการและความชํานาญที่สามารถ นําไปปฏิบัติใหเกิดประโยชนสูงสุด สนองความตองการของมนุษยเปนส่ิงที่มนุษยพัฒนาข้ึน เพื่อชวยในการทํางานหรอื แกป ญ หาตาง ๆ เชน อุปกรณ เคร่อื งมอื เครื่องจักร วสั ดุ ฯลฯ เทคโนโลยีสามารถนาํ ไปใชดานใดไดบ าง เทคโนโลยีในการประกอบอาชพี ที่มีสว นเก่ียวขอ งในหลายดา น เชน 1. เทคโนโลยีกบั การพฒั นาอุตสาหกรรม เปน การนาํ เทคโนโลยมี าใชในการผลิต ทําให ประสิทธิภาพในการผลิตเพ่ิมขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดตนทุน รักษาสภาพแวดลอม เชน คอมพวิ เตอร พลาสตกิ แกว เปนตน 2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาดานการเกษตร เปนการใชเทคโนโลยีในการเพ่ิมผลผลิต ปรับปรุงพันธุ ในการนําเทคโนโลยีมาใชในการพัฒนาจะตองศึกษาปจจัยแวดลอมหลายดาน เชน ทรพั ยากรส่งิ แวดลอ ม เทคโนโลยีทใ่ี ชในชีวติ ประจาํ วัน ในปจจุบันมกี ารนําเทคโนโลยมี าใชในชีวิตประจาํ วันของมนษุ ยม ีมากมาย เชน การสง จดหมายผานทางอินเทอรเน็ต การอานหนังสือผานอินเทอรเน็ต ซ่ึงเปนเทคโนโลยี ทมี่ ีกาวหนาอยา งรวดเร็ว เปนการประหยัดเวลาในการคน หาความรูต าง ๆ ไดรวดเรว็ ยงิ่ ขึน้

8 เทคโนโลยีทเ่ี หมาะสมคืออะไร เทคโนโลยีท่ีเหมาะสม หมายความถึง เหมาะสมตอสภาพเศรษฐกิจ สังคม และ ความตองการของประเทศ เทคโนโลยบี างเร่ืองเหมาะสมกับบางประเทศ ทั้งนี้ข้ึนอยูกับสภาวะ ของแตละประเทศ เชน ความจําเปนที่นําเทคโนโลยีมาใชในประเทศไทย ประชาชนสวนใหญ เปนเกษตรกร ดังนั้นการนําเทคโนโลยีมาใชจึงเปนเร่ืองจําเปน เชน การขายเมล็ดโกโกให ตา งประเทศแลว นาํ ไปผลิตเปน ช็อคโกแลต ซ่ึงถา ต้ังโรงงานในประเทศไทยตองใชเ ทคโนโลยี เขา มามีบทบาทในการพฒั นาการแปรรปู เทคโนโลยที ่ีเกย่ี วขอ ง ไดแ ก 1. การตดั ตอ ยนี (genetic engineering) เทคโนโลยีดีเอ็นเอสายผสม (recombinant DNA) และเทคโนโลยโี มเลกุลเครอ่ื งหมาย (molecular markers) 2. การเพาะเล้ียงเซลล และการเพาะเล้ียงเน้ือเย่ือ (cell and tissue culturing) พืช และสตั ว 3. การใชประโยชนจ ุลินทรียบ างชนิดหรือใชป ระโยชนจากเอนไซมข องจุลนิ ทรีย เทคโนโลยชี ีวภาพทางการเกษตรคืออะไร เปนการใชเทคโนโลยีการพัฒนาการเกษตร ดา นพชื และสตั ว ดวยเทคโนโลยีชวี ภาพ ไดแ ก 1. การปรับปรุงพนั ธุพืชและการผลิตพชื พันธุใหม เชน พืชไร พชื ผกั ไมดอก 2. การผลติ พืชพันธดุ ีใหไดปรมิ าณมาก ๆ ในระยะเวลาอนั สนั้ 3. การผสมพนั ธุสัตวแ ละการปรับปรุงพนั ธุสัตว 4. การควบคมุ ศัตรพู ชื โดยชวี วิธี และจลุ ินทรียท ชี่ ว ยรักษาสภาพแวดลอม 5. การปรับปรุงกระบวนการการผลิตอาหารใหมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยตอ ผูบ ริโภค 6. การรเิ ริม่ คน ควาหาทรัพยากรธรรมชาติมาใชป ระโยชน และการสรา งทรพั ยากรใหม

9 เทคโนโลยแี ละสงั คมมีความสัมพนั ธก นั อยางไร เทคโนโลยีมีความสัมพันธกับการดํารงชีวิตของมนุษยมาเปนเวลานาน ต้ังแตยุค ประวัตศิ าสตร เทคโนโลยีเปนส่ิงที่มนุษยนําความรูจากธรรมชาติวิทยามาคิดคน และดัดแปลง เพ่ือแกป ญ หาพนื้ ฐานในการกอสรา ง การชลประทาน การนําเคร่ืองมอื เครือ่ งใช ฯลฯ ในปจจุบัน ปจจยั การเพิม่ จาํ นวนของประชากร ขอจํากัดดานทรัพยากรธรรมชาติ เปนปจจัยสําคัญในการ นาํ และการพฒั นาเทคโนโลยีมาใชม ากขน้ึ เทคโนโลยกี อใหเ กดิ ผลกระทบตอสังคมและในพ้ืนที่ที่ มีเทคโนโลยีเขาไปเกี่ยวของในหลายรูปแบบ เทคโนโลยีชวยใหสังคมหลาย ๆ แหง เกิดการ พฒั นาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ผลกระทบดานเทคโนโลยีดานตา ง ๆ 1.1 ดา นเศรษฐกจิ - มนุษยสามารถจับจายมากข้ึน เพราะมีบัตรเครดิตทําใหไมตองพกเงินสด หากตองการซ้ืออะไรท่ีไมไดเตรียมการไวลวงหนาก็สามารถซ้ือไดทันที เพียงแตมีบัตรเครดิต เทานั้นทาํ ใหอ ตั ราการเปน หน้สี งู ขนึ้ - การแขงขันกันทางธุรกิจสูงมากข้ึนเพราะตางก็มุงหวังผลกําไรซ่ึงก็เกิด ผลดีคือ อตั ราการขยายตวั ทางธุรกจิ สูงขน้ึ แตผลกระทบกเ็ กิดตามมา คือ บางคร้ังก็มุงแตแ ขงขนั กนั จนลืมความมีมนุษยธรรมหรือความมนี าํ้ ใจ 1.2 ดา นการศกึ ษา จากการใชเ ทคโนโลยีสารสนเทศมาผลิตสอื่ การเรียนการสอนที่เรียกวา CAI น้ันทํา ใหเ กิดปญหาท่ีเหน็ ไดช ัดเจน เชน - ครูกับนักเรียนจะขาดความสัมพันธและความใกลชิดกันเพราะนักเรียนสามารถ ท่ีจะเรียนไดจากโปรแกรมสาํ เร็จรูปทําใหความสาํ คญั ของผเู รยี นและครลู ดนอยลง - นักเรียนที่มีฐานะยากจนไมสามารถที่จะใชส่ือประเภทนี้ไดทําใหเกิด ขอไดเ ปรียบเสียเปรยี บกนั ระหวางผูเรียนท่ีมีฐานะดีและผูเรียนท่ีมีฐานะยากจนทําใหเห็นวาผูท่ี มีฐานะทางเศรษฐกิจดี กย็ อมท่จี ะมีโอกาสทางการศึกษาและทางสงั คมดีกวา 1.3 ดา นกฎหมาย ศลี ธรรม จรยิ ธรรม

10 การใชเทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลตอการดํารงชีวิตของมนุษย การรับ วัฒนธรรมท่ีแฝงเขามากับแหลงขาวสารขอมูลในรูปแบบตาง ๆ กอใหเกิดการเปล่ียนแปลง ในพฤติกรรมของมนุษย โดยเฉพาะบนเครือขายสารสนเทศซึ่งเปนเครือขายที่เช่ือมโยง กับทุกมุมโลก การเปดรับขาวสารท่ีมาจากแหลงขอมูลดังกลาวจึงขึ้นอยูกับการตัดสินใจและ ทัศนคติสวนบุคคล การรับขอมูลขาวสารที่ไมเหมาะสมสงผลกระทบตอการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมโดยเฉพาะพฤติกรรมที่ไมพึงประสงค และมีแนวโนมทําใหเกิดอาชญากรรมปญหา ทางศลี ธรรมและจริยธรรม การเลอื กใชเ ทคโนโลยีไดอ ยางเหมาะสม มีความสมั พนั ธกบั การดํารงชวี ติ ของมนษุ ยอยางไร เทคโนโลยีมีความสมั พนั ธก บั การดํารงชีวิตของมนุษยเปนเวลานาน เปนสิ่งที่มนุษยใช แกปญหาพ้ืนฐานในการดํารงชีวิต เชน การเพาะปลูก ที่อยูอาศัย เคร่ืองนุงหม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นํามาใชเปนเทคโนโลยีพ้ืนฐานที่ไมสลับซับซอนเหมือนในปจจุบัน การเพิ่มของประชากรและขอจํากัดดานทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาความสัมพันธกับ ตางประเทศเปนปจจัยสําคัญในการนํา และพัฒนาเทคโนโลยีมาใชมากขึ้น ดังนั้นการเลือกใช เทคโนโลยีจงึ ขน้ึ อยูกับความตองการและความเหมาะสมในชุมชน ไมควรเลือกใชเทคโนโลยีท่ีมี แตค วามทนั สมัย หรือเปนของใหมแ ตเพียงอยางเดยี ว เชน ในชมุ ชนมีการเลีย้ งกระบอื หรือโค ในทุกครัวเรือน ก็ไมจําเปนตองใชรถไถนาที่ตองใชพลังงานเช้ือเพลิง จะทําใหสามารถใช ประโยชนจากสง่ิ ที่มใี หคุมคามากท่สี ุด และเปนการลดภาระคา ใชจ า ยอกี ดว ย อุปกรณทางวทิ ยาศาสตรค ืออะไร อุปกรณทางวิทยาศาสตร คือ เคร่ืองมือที่ใชท้ังภายในและภายนอกหองปฏิบัติการ เพือ่ ใชทดลองและหาคําตอบตาง ๆ ทางวทิ ยาศาสตร

11 เคร่อื งมือทางวทิ ยาศาสตรม กี ป่ี ระเภทอะไรบา ง เครื่องมือทางวิทยาศาสตร มี 3 ประเภท คือ 1.ประเภทท่ัวไป เชน บีกเกอร หลอดทดสอบ ปเปตต บิวเรตต แทงแกวคนสาร กลอ งจุลทรรศน ตะเกยี งแอลกอฮอล เปน ตน 2. ประเภทเครื่องมือชาง เปนอุปกรณที่ใชไดทั้งภายในหองปฏิบัติการ และภายนอก หองปฏิบัตกิ าร เชน แปรง คีม เคร่อื งชงั่ เปนตน 3. ประเภทสิ้นเปลืองและสารเคมี เปนอุปกรณทางวิทยาศาสตรที่ใชแลวหมดไป ไมสามารถนํากลับมาใชไ ดอ ีก เชน กระดาษลิตมสั กระดาษกรอง สารเคมี เปน ตน อุปกรณทางวทิ ยาศาสตรใ ชงานอยางไรบาง 1. การใชง านอุปกรณวทิ ยาศาสตร ประเภทท่ัวไป 1. บกี เกอร (BEAKER) เปนอปุ กรณวิทยาศาสตรท่ใี ชเพ่อื ใหผูใชส ามารถทราบ ปริมาตรของเหลวท่ีบรรจุอยูไดอยางคราว ๆการเลือกขนาดของบีกเกอรเพ่ือใสของเหลวนั้น ข้นึ อยูกบั ปรมิ าณของเหลวท่ีจะใส โดยปกตใิ หร ะดบั ของเหลวอยตู ํา่ กวาปากบีกเกอร ประมาณ 1 - 1 ½ นว้ิ 2. หลอดทดสอบ (TEST TUBE) เปนอุปกรณทใี่ ชใ สสารในการทดลอง มที ัง้ ชนดิ ธรรมดาใชใสสารเพื่อทดลองปฏิกิริยาเคมีระหวางสารท่ีเปนสารละลาย ท่ีมีปริมาตร นอ ย ๆ และชนิดทนไฟ ใชสําหรบั ใสสาร เพอ่ื เผาดว ยเปลวไฟ 3. ปเ ปตต (PIPETTE) เปนอุปกรณที่ใชในการวัดปริมาตรของเหลวท่ีมีจํานวนนอยได อยา งใกลเคียงความจริง มีความถูกตองสูง มี 2 ชนิดดวยกัน คือ measuring pipette จะไมมี แกวปอ งตรงกลาง และ แบบ volumetric pipette จะมีแกวปองบริเวณตรงกลางและมีความ ถูกตองมากกวา measuring pipette และตองใชรวมกับลูกยาง (rubber bulb) เพื่อดูด

12 สารละลายเขาไปในปเปตต ใหมากกวาขีดบอกปริมาตร จากน้ันนําลูกยางออก แลวใชนิ้วชี้ ปดที่ปลายปเปตต จากน้นั คอยๆ ปลอ ยสารละลายออกมาจนถึงขีดบอกปริมาตร และคอยถาย สารละลายในปเ ปตตล งในภาชนะทต่ี อ งการ 4. บิวเรตต (BURETTE) เปน อปุ กรณวัดปริมาตรทม่ี ขี ดี บอกปริมาตรตา ง ๆ และมี ก็อกสําหรับเปด – ปด เพ่ือบังคับการไหลของของเหลว บิวเรตตเปนอุปกรณที่ใชในการ วเิ คราะห มขี นาดตัง้ แต 10 มิลลิลติ ร จนถงึ 100 มลิ ลลิ ิตร บิวเรตตสามารถวัดปริมาตรไดอยาง ใกลเ คยี งความจริงมากทส่ี ดุ 5. เคร่ืองชง่ั (BALANCE) มี 2 แบบ แบบ triple – beam balance เปน เครอื่ งมอื ชา งทมี่ ีราคาถูกและใชง า ยโดยตัง้ เครื่องช่ังใหอยูในแนวระนาบ แลวปรับใหแขนของเครื่องช่ังอยูในแนวระนาบโดยหมุนสกรูให เข็มช้ีตรงขีด 0 แบบ equal – arm balance เปน เครอ่ื งชง่ั ท่ีมแี ขน 2 ขางยาวเทา กันเมอ่ื วดั ระยะจากจุดหมนุ ซึ่งเปนสันมีดขณะที่แขนของเคร่ืองชั่งอยูในสมดุล เม่ือตองการหาน้ําหนัก ของสารหรอื วัตถุ ใหวางสารน้ันบนจานดา นหน่งึ ของเครื่องชั่ง ตอนน้ีแขนของเครื่องช่ังจะไมอยู ในภาวะที่สมดุลจงึ ตองใสต ุม นํา้ หนักเพอื่ ปรับใหแ ขนเครือ่ งช่ังอยูในสมดลุ 2. การใชง านอปุ กรณวทิ ยาศาสตรป ระเภทเคร่ืองมอื ชา ง เวอรเ นยี (VERNIER) เปน เครอ่ื งมือทีใ่ ชวดั ความยาวของวตั ถทุ ้งั ภายในและภายนอกของช้นิ งาน

13 คีม (TONG)

14 รปู ภาพจาก https://sites.google.com

15 3.การใชง านอปุ กรณวิทยาศาสตรป ระเภทสิ้นเปลอื งและสารเคมี กระดาษกรอง (FILTER PAPER) เปนกระดาษท่ีกรองสารท่อี นุภาคใหญ ออกจากของเหลว ซ่งึ มีขนาดของอนุภาคทเ่ี ล็กกวา กระดาษลิตมัส (LITMUS) เปนกระดาษท่ีใชทดสอบสมบัติความเปนกรด – เบสของ ของเหลว สารเคมี หมายถึงอะไร สารเคมี หมายถึง สารทปี่ ระกอบดวยธาตเุ ดยี วกันหรือสารประกอบจากธาตุ ตาง ๆ รวมกันดวยพันธะเคมี ซึ่งในหองปฏิบัติการจะมีสารเคมีมากมาย อุบัติเหตุจากสารเคมี ตอ งรีบกําจดั สารเคมปี นเปอน ดังนี้ (1) สารทเี่ ปน ของแขง็ ควรใชแ ปรงกวาดสารมารวมกัน ตกั สารใสใ นกระดาษ แข็งแลวนําไปทําลาย (2) สารละลายกรด ควรใชน าํ้ ลางบรเิ วณท่ีมีสารละลายกรดหกเพ่ือทาํ ใหก รด เจือจางลง และใชสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคารบอเนตเจือจางลางเพื่อทําลายสภาพกรด แลว ลางดวยน้าํ อีกคร้งั (3) สารละลายเบส ควรใชน ้ําลางบริเวณทีม่ สี ารละลายเบสหกและซับนํา้ ใหแหง เนื่องจากสารละลายเบสท่ีหกบนพ้ืนจะทําใหพื้น บริเวณน้ันล่ืน ตองทําความสะอาดลักษณะ ดงั กลาวหลายๆ ครงั้ และถายงั ไมหายล่นื อาจตอ งใชทรายโรยแลว เก็บกวาดทรายออกไป (4) สารท่ีเปน นา้ํ มนั ควรใชผ งซักฟอกลางสารท่เี ปน นํา้ มันและไขมนั จนหมด คราบนา้ํ มนั และพนื้ ไมลื่นหรอื ทําความสะอาดโดยใชทรายโรยเพื่อซบั นํา้ มันใหห มดไป (5) สารที่ระเหยงาย ควรใชผ า เชด็ บริเวณทีส่ ารหยดหลายคร้ังจนแหง และ ในขณะเช็ดถจู ะตองมกี ารปองกันไมใ หสมั ผสั ผิว หนงั หรอื สดู ไอของสารเขา รา งกาย (6) สารปรอท กวาดสารปรอทกองรวมกันแลว ใชเครอ่ื งดูดเกบ็ รวบรวมไวใ น กรณีท่ีพื้นท่ีสารปรอทหกมีรอยแตกหรือรอยราวจะมีสารปรอทแทรกเขาไปอยูขางในตองปด รอยแตกหรอื รอยรา วนน้ั ดว ยการทาขี้ผงึ้ ทับรอยดงั กลา ว เพ่ือกันการระเหยของปรอท หรืออาจ ใชผงกาํ มะถนั โรยบนปรอทเพ่ือใหเกิดเปน สารประกอบซลั ไฟด แลว เกบ็ กวาดอีกคร้ัง

16 การใชว ัสดุอปุ กรณทางวิทยาศาสตรและสารเคมี ควรมขี อ ปฏบิ ตั ิอยางไร การใชวัสดุอุปกรณทางวิทยาศาสตรและสารเคมี ตองคํานึงถึงความเหมาะสม ความจาํ เปนในการใชง าน และตองคาํ นงึ ถึงความปลอดภัย มขี อปฏบิ ัติ ดงั น้ี 1. ปฏบิ ตั ติ ามคําแนะนาํ ของผดู ูแลปฏิบัตกิ ารอยา งเครง ครัด ไมปฏบิ ัติการคนเดยี ว และตองมผี ดู แู ลอยูดวยทกุ ครั้ง 2. สวมเสื้อกาวน และแวน กนั สะเกด็ ทกุ ครั้ง 3. อา นฉลากสารเคมกี อนทุกครง้ั และใชเ ทา ท่ีจาํ เปน 4. หา มชมิ สารเคมี หรือสมั ผัสดว ยมอื เปลา 5. อุปกรณท ่ีใชก ับความรอ นตองระวงั เปนพเิ ศษ 6. อุปกรณไ ฟฟา ตองตรวจสอบความพรอมกอนใชง านทุกครง้ั 7. เลือกใชอ ุปกรณว ทิ ยาศาสตรใ หเหมาะสมกับการใชงาน 8. อานคมู ือการใชอ ุปกรณทดลองทกุ ชนิดกอ นใชง าน 9. ดูแลความสะอาดอปุ กรณท ดลอง โตะ ปฎบิ ัติการใหเ ปนระเบียบเรยี บรอย ตวั อยา งการเลือกใชว สั ดอุ ุปกรณท างวทิ ยาศาสตรแ ละสารเคมีอยา งถกู ตอ งและเหมาะสม 1. ถาตองการใชข องเหลวหรอื สารละลายปริมาณนอ ย ๆ เชน 5 มิลลลิ ิตร ควรเลือกใชกระบอกตวงขนาดเล็กในการวัดปริมาตรของของเหลว และในการอานปริมาตร ใหยกกระบอกตวงตั้งตรง และใหทองนํ้าอยูในระดับสายตา แลวอานคาปริมาตร ณ จุดตํ่าสุด ของทอ งน้าํ 2. การคนสารละลายใหเขากนั ควรใชแ ทง แกว คนสารละลายและตอ งระวงั ไมใ ห แทงแกว กระทบดานขางและกน ของภาชนะ 3. การใชกระดาษลติ มัส ตอ งใชท ลี ะแผน โดยตัดขนาดพอเหมาะกบั ท่จี ะใชง าน มือที่หยิบจะตองสะอาดและแหง ถาจะทดสอบกับของเหลว ตองวางกระดาษลิตมัสบนถวย กระเบ้อื ง แผน กระจกหรอื กระดาษที่สะอาด แลวใชแ ทงแกวสะอาด จุมของเหลวมาแตะ

17 4. การใชอ ปุ กรณว ดั ความยาวและความสูงไดถูกวธิ ี และอา นมาตราสวนได ถกู ตอง ทําไดโ ดยใหตาอยูตัง้ ฉากกับขดี บอกความยาวหรือความสงู น้นั 5. เทอรม อมเิ ตอร การใชวัดอณุ หภูมคิ วรเลอื กทีม่ ีชวงอุณหภูมสิ งู สุด – ต่ําสดุ ใหเ หมาะสมกับสง่ิ ทจ่ี ะวดั เพราะถา นําไปวัดอณุ หภูมสิ งู เกนิ ไป จะทําใหห ลอดแกวแตก การอาน อุณหภูมิตอ งใหส ายตาอยใู นระดบั เดียวกบั ของเหลวในเทอรม อมเิ ตอร 6. การใชสารละลายทเ่ี ปน กรด เม่อื ทาํ สารละลายหก ควรรบี ทาํ ใหเ จอื จางดว ยนาํ้ กอน แลวโรยโซดาแอช หรือโซเดียมไบคารบอเนต หรือเทสารละลายดาง เพ่ือทําใหกรดเปน กลาง ตอจากน้นั จงึ ลา งดว ยน้าํ ใหส ะอาด

18 กจิ กรรมทา ยบทที่ 1 เรอ่ื งทกั ษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร คําชี้แจง จงเลอื กคาํ ตอบทถี่ ูกทส่ี ุด เรือ่ งเลาของภรรยาคนหน่งึ ชว งหนึง่ สามีของเธอกลบั บานดกึ ทกุ วนั และวนั หนึ่งเธอพบวามีรอยลิปสติกเปอนอยูที่ เสอื้ ของเขาในเชา วนั ตอมาเธอจึงไดตอวาสามีของเธออยางรุนแรงเก่ียวกับเร่ืองการมีผูหญิงอื่น ของเขา ใชขอมูลดังกลาวตอบคําถามขอ ที่ 1 และ 2 1. จากขอ ความท่ีขีดเสนใตเกิดจากทกั ษะทางวิทยาศาสตรขอใดของภรรยา ก. ทักษะการจับผดิ ข. ทักษะการสงั เกต ค. ทกั ษะการตงั้ สมมติฐาน ง. ขอ ข. และ ค. ถูก 2. จากเรือ่ งเลา ท้งั หมดของภรรยา ภรรยาขาดทกั ษะทางวิทยาศาสตรขอ ใด ก. ทักษะการสังเกต ข. ทกั ษะการตัง้ สมมตฐิ าน ค. ทักษะการรวบรวมขอมลู ง. ขาดทง้ั 3 ทกั ษะท่ีกลา วมา 3. ขอใดไมใ ชท กั ษะพื้นฐานของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร ก. ทกั ษะการพยากรณ ข. ทักษะการควบคมุ ตวั แปร ค. ทกั ษะการจดั ประเภทสิ่งของ ง. ทักษะการลงความเห็นจากขอ มลู

19 4.บุคคลใดตอ ไปนี้ท่ีมีลักษณะนสิ ยั ของนกั วิทยาศาสตรม ากทส่ี ดุ ก. นางสาวสมจติ ดูดวงดว ยไพย ปิ ซที กุ อาทิตย ข. นางสมใจชว ยผูอื่นบันทึกผลการทดลองอยางเที่ยงตรงทกุ ครง้ั ค. นายสมชายทาํ Web Page เกย่ี วกับเร่ืองซึนามิทต่ี นสนใจและศึกษามา ง. นายสมปองไดเ ขา ศึกษาตอท่คี ณะวทิ ยาศาสตร ภาควิชาดาราศาสตร อนั เน่อื งมาจาก ตอ งการตอบคําถามท่มี มี าต้งั แตวยั เดก็ เกี่ยวกับการกาํ เนดิ ดวงจนั ทร 5.ขอใดตอ ไปนไี้ มจดั เปนเทคโนโลยี ก. บา น ข. แรเ งิน ค. ยาพาราเซตตามอล ง. ระบบการแลกเปล่ียนเงนิ ตรา 6. เทคโนโลยีใดตอ ไปน้ีไมเหมาะสมสําหรับประเทศไทย ก. ระบบการจาํ นําขาว ข. ฮีตเตอร (เครือ่ งทําความรอ น) ค. การเพาะเลยี้ งเซลลพืชและสัตว ง. กระบวนการประกอบอะไหลร ถยนต 7. ขอ ใดกลา วถกู เกี่ยวกับเทคโนโลยี ในชีวติ ประจาํ วนั ก. การทําขา วแชจ ดั เปนเทคโนโลยีอยา งหน่งึ ข. เทคโนโลยีกอใหเ กิดประโยชนต อมนุษยในทุกดา น ค. การสาํ รวจอวกาศจัดเปนเทคโนโลยีที่ใชใ นชีวิตประจําวัน ง. สนิ คา การเกษตรของประเทศไทยสวนใหญส ง ขายในรูปสินคา แปรรูป

20 8. “กลาเลี้ยงสุนัข 2 ตัว ตัวหน่ึง กินอาหารเม็ดกับนม อีกตัวหน่ึงกินอาหารเม็ดเพียงอยาง เดียว 1 เดือนตอมาปรากฎวาสุนัขมีน้ําหนักเพ่ิมข้ึนเทากัน” ปญหาของกลากอนทําการ ทดลองคือขอใด ก. สุนัขชอบกินอาหารเมด็ หรอื นม ข. อาหารเมด็ ย้ีหอไหนทสี่ ุนขั ชอบกิน ค. ชนิดของอาหารมผี ลตอ การเจรญิ เตบิ โตหรอื ไม ง. อาหารเมด็ ทําใหสนุ ขั ท้งั สองตัวน้าํ หนกั เพม่ิ ขน้ึ เทา กนั 9. “ผักกระเฉดจะมีจํานวนเพิ่มข้ึน ถามีการผสมผงซักฟอกลงในนํ้าเพิ่มข้ึน” จากขอความ ขางตน ขอ ใดกลาวถงึ ตัวแปรไดถกู ตอ ง ก. ตัวแปรอสิ ระ คือ ปริมาณผงซักฟอก ข. ตัวแปรอิสระ คอื จํานวนผกั กระเฉดที่เพิม่ ขนึ้ ค. ตัวแปรควบคมุ คอื จาํ นวนผักกระเฉดทเ่ี พิม่ ขึ้น ง. ถกู ทกุ ขอ ท่ีกลาวมา 10. จากปญหา“สีของแสงไฟจะมผี ลตอการเจริญเตบิ โตของพชื หรือไม” ควรจะตงั้ สมมติฐาน วา อยางไร ก. สีของแสงไฟมีผลตอการเจริญของพืชหรือไม ข. ถาพืชสามารถดดู กลืนแสงสใี ดไดจ ะเจริญเตบิ โตไดด ี ค. ถาพืชทไี่ ดรับแสงสนี า้ํ เงนิ จะโตดีกวา พืชทีร่ บั แสงสีเขียว ง. พชื ทไี่ ดรบั แสงไฟสนี าํ้ เงนิ และแสงไฟสเี ขียวจะเตบิ โตเทา กนั 11. ทฤษฎีทางวิทยาศาสตรมที ่มี าจากขอใด ก. เกิดจากการยอมรบั ของคนท่ัวไป ข. อธบิ ายไดอ ยา งกวา งขวางและชัดเจน ค. เกดิ จากการมเี ครื่องมอื ท่ีสามารถพิสจู นได ง. ทดสอบสมมตฐิ านทางวิทยาศาสตรแลว เปน จริงทกุ ครงั้

21 12. “จากการทดลอง สรุปไดวา แผนใยขัดมีผลตอการไหลของน้ําทําใหน้ําไหลไดชาลง รวมท้ังชวยใหก่ิงไมจําลองยึดติดกับทรายในกระบะได ตางจากกระบะท่ีไมมีแผนใยขัด ท่ีน้ําไหลอยางรวดเร็วและพัดเอาก่ิงไมและทรายลงไปดวย”จากขอความดังกลาว ขอใดตอไปนเี้ ปน สมมติฐานของสรปุ ผลการทดลองน้ี ก. แผนใยขดั ชวยลดอัตราการไหลของนา้ํ ข. แผนใยขดั สามารถเกาะกบั กระบะทรายไดดี ค. อตั ราการไหลของนา้ํ ขึน้ อยูกบั สง่ิ ทชี่ วยดดู ซับ ง. แผน ใยขดั ชวยใหก ่ิงไมจาํ ลองยดึ ตดิ กบั ทรายในกระบะไดด ี 13.เครือ่ งมอื วทิ ยาศาสตรสําคัญอยา งไร ก. ชวยนักวิทยาศาสตรท ํางานทุกๆ ดาน ข. ชว ยใหน ักวทิ ยาศาสตรท าํ งานไดด ขี น้ึ ค. เมื่อมเี ครื่องมอื ใครก็เปนนักวิทยาศาสตรไ ด ง. ชว ยอํานวยความสะดวกแกน ักวิทยาศาสตรแ ละทาํ ใหผ ลการทดลองเทย่ี งตรง 14. วันหนึ่งปาแจวพนักงานทําความสะอาดไดทําเทอรโมมิเตอรชนิดปรอทตกแตก เธอควร ทาํ ความสะอาดบรเิ วณดงั กลาวอยางไร ก. ใชผงซกั ฟอกลางสารปรอทออก ข. ใชผงกาํ มะถันโรยลงไปแลว เก็บกวาด ค. ใชนาํ้ ลา งบริเวณดงั กลาวและซับนํา้ ใหแ หง ง. ใชสารละลายกรดเทลงไปเพือ่ ใหเกิดปฏิกริ ิยาแลว เช็ดใหแ หง 15. ขอ ใดกลา วผิดเก่ยี วกบั หองปฏิบัตกิ ารทางวิทยาศาสตร ก. หองปฏบิ ตั ิการไมควรมเี สาอยภู ายในหอง ข. หอ งปฏบิ ตั กิ ารควรปราศจากสิ่งรบกวนจากภายนอก ค. หองปฏบิ ตั ิการควรใชพ นื้ กระเบ้อื งสขี าวเพ่อื ใหส ามารถทาํ ความสะอาดไดงา ย ง. หองปฏิบตั ิการทีเ่ ปน สเี่ หล่ียมพื้นผา ควรมสี ัดสวนดา นกวางตอดา นยาวไมเ กิน 1: 1.2

22 16. ตะเกยี งแอลกอฮอลจัดเปนเคร่อื งมือวทิ ยาศาสตรป ระเภทใด ก. ประเภทท่ัวไป ข. ประเภทเคร่อื งมือชา ง ค. ประเภทสิ้นเปลืองสารเคมี ง. ไมมีขอใดถูก 17. นักเรยี นคนใดตอ ไปน้ใี ช Beaker ผิดวธิ มี ากท่ีสุด ก. นายเอตมนํา้ กล่นั ทีม่ ีปริมาณมากโดยใช Beaker ข. นายดีระเหยกรดท่มี ีฤทธไิ์ มร ุนแรงโดยใช Beaker ค. นางสาวบเี ลือก Beaker 500 ml. เพือ่ เตรยี มสารละลาย 20 ml. ง. นางสาวซที าํ ปฏกิ ิรยิ าตกตะกอนของแคลเซียมคารบอเนตโดยใช Beaker 18.จากรปู คอื อุปกรณชนิดใด ก. คีม ข. ไมท ี ค. เวอรเนยี ง. ไมบ รรทัดเหล็ก 19.อปุ กรณใดที่ชวยบอกคาอุณหภมู ิแกน ักวิทยาศาสตร ก. คีม ข. เครอื่ งช่งั ค. เทอรโ มมิเตอร ง. เคร่อื งยงิ เลเซอร 20.ใครใชเครอ่ื งมือวทิ ยาศาสตรกบั งานตอ ไปนไ้ี ดเ หมาะสม ก. อาทติ ยใชก ระดาษลติ มสั กรองสาร ข. จิรภัทรใ ชโ วลมเิ ตอรวดั ความเรว็ ลม ค. ธิติใชเ ทอรโมมิเตอรวดั อณุ หภมู ขิ องน้าํ ง. พงศกรใชเ คร่ืองชั่งรับน้ําหนักได 1 กโิ ลกรมั ไปช่งั กอนดนิ หนัก 3 กิโลกรมั

23 บทท่ี 2 โครงงานวทิ ยาศาสตร สาระสาํ คญั โครงงานวิทยาศาสตรเปนกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร ซ่ึงเปนกิจกรรมท่ีตองใช กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร ในการศึกษาคนควา โดยท่ีผูเรียนจะเปนผูดําเนินการ ดวยตนเองทั้งหมด ต้ังแตเริ่มวางแผน ในการศึกษาคนควา การเก็บรวบรวมขอมูลจนถึงการ แปลผล สรปุ ผล และการเสนอผลการศกึ ษา โดยมผี ูชาํ นาญการเปน ผใู หค าํ ปรึกษา ผลการเรียนรูทีค่ าดหวัง 1. อธิบายประเภท เลอื กหัวขอ วางแผน วธิ นี าํ เสนอและประโยชนข องโครงงานได 2. วางแผนและทาํ โครงงานวทิ ยาศาสตรได 3. อธิบายและบอกแนวทางในการนําผลจากโครงงานไปใชได ขอบขา ยเน้อื เรอ่ื งท่ี 1 ประเภทโครงงานวทิ ยาศาสตร เรอ่ื งท่ี 2 ข้ันตอนการทาํ โครงงานวิทยาศาสตร เรอ่ื งท่ี 3 การนําเสนอโครงงานวิทยาศาสตร

24 บทท่ี 2 โครงงานวทิ ยาศาสตร โครงงานวิทยาศาสตร หมายถึงอะไร และแบงออกไดเปน กปี่ ระเภท โครงงานวิทยาศาสตร หมายถึง การศึกษาเรื่องราวเก่ียวกับวิทยาศาสตรอยางเปน กระบวนการ เพ่ือตอบปญหาท่สี งสัยโดยปญหาน้ันเกิดจากความสนใจของผูทําโครงงาน ดังน้ัน ผูที่จะศึกษาและทําโครงงานจะตองมีความละเอียดรอบคอบ มีการสังเกต จดบันทึกและ วางแผนรปู แบบขนั้ ตอนในการทําโครงงานอยางเปนระบบ ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร แบง ออกไดเ ปน 4 ประเภท คอื 1. โครงงานประเภทสํารวจรวบรวม ลักษณะเดนของโครงงานประเภทนี้ ไมจํากัด หรือกําหนดตัวแปรตางๆ ที่ตองการศึกษา โครงงานประเภทสํารวจรวบรวมขอมูลน้ี ผูทํา โครงงานเพยี งตองการสํารวจและรวบรวมขอมูล แลวนําขอมูลนั้นมาจําแนกเปนหมวดหมูและ นาํ เสนอในรูปแบบตา งๆ เพ่ือใหเ หน็ ลักษณะหรือความสัมพันธในเร่ืองที่ตองการศึกษาไดชัดเจน ย่ิงข้ึน การสํารวจและรวบรวมขอมูลน้ีอาจทําไดในหลายรูปแบบ เชน การออกไปเก็บขอมูล ในภาคสนาม ซึ่งในบางครั้ง บางเรื่องก็สามารถเก็บรวบรวมขอมูลตางๆ ท่ีตองการในทองถิ่น หรอื ในสถานท่ีตา งๆ ที่ตองการศึกษาคนควาในขณะที่ออกไปปฏิบัติการน้ัน โดยไมตองนําวัตถุ ตวั อยางกลับมาวเิ คราะหในหอ งปฏิบตั กิ ารอกี ตวั อยา งโครงการประเภทน้ี ไดแ ก - การสาํ รวจประชากรและชนิดของสิง่ ตา งๆ เชน สัตว พืช หิน แร ฯลฯ ในทองถ่ิน หรือในบริบทท่ตี อ งการศกึ ษา - การสาํ รวจพฤติกรรมดานตา งๆ ของสตั วใ นธรรมชาติ - การสํารวจทิศทางและอัตราเรว็ ลมในทอ งถ่นิ - การสํารวจการผกุ รอนของสง่ิ กอสรา งที่ทาํ ดว ยหนิ ออ นในแหลง ตา งๆ ในบางครงั้ การออกภาคสนามก็เพ่ือไปเก็บวัสดุตัวอยางมาวิเคราะหในหองปฏิบัติการ เพราะไมสามารถที่จะวิเคราะหและรวบรวมขอมูลไดทันที ในขณะออกไปปฏิบัติการภาคสนาม ตัวอยางโครงงานประเภทนี้ ไดแก - การสํารวจคุณภาพนํ้า เชน ความขุน ความเปนกรด – เบส คา BOD COD ฯลฯ แหลงนา้ํ ตา งๆ ทต่ี องการศกึ ษา เชน โรงงานนํา้ อัดลม โรงงานผลติ สรุ า ฯลฯ

25 - การศึกษาสมบัติ เชน จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแนนของสารตาง ๆ ที่สกดั ไดจากวสั ดุหรอื พืชชนิดใดชนิดหนง่ึ ท่ตี องการศึกษา - การสํารวจคุณภาพของดิน เชน ความช้ืน ปริมาณสารอินทรีย ความเปนกรด – เบส จากแหลงตาง ๆ ท่ีตองการศกึ ษา - การศึกษาสาํ รวจมลพิษของอากาศในแหลง ตา งๆ ในการสาํ รวจรวบรวมขอมูลบางอยางแทนท่ีจะออกไปสํารวจตามธรรมชาติบางครั้งก็ อาจจําลองธรรมชาติข้ึนในหองปฏบัติการแลวสังเกตุ และศึกษารวบรวมขอมูลตางๆ ในธรรมชาตจิ าํ ลองนน้ั ๆ เชน - การศึกษาวงจรชวี ติ ไหมท่เี ลีย้ งในหองปฏิบตั ิการ - การศึกษาพฤติกรรมของมดท่เี ล้ียงในหองปฏบิ ตั ิการ 2. โครงงานประเภททดลอง ลักษณะเดน ของโครงงานประเภทน้ี คอื เปน โครงงาน ท่ีมีการออกแบบการทดลองเพ่ือศึกษาตัวแปรหนึ่งที่มีตอแปรอีกตัวหนึ่งที่ตองการศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอ่ืน ๆ ที่อาจมีผลตอตัวแปรที่ตองการศึกษาเอาไว หรือกลาวอีกนัยหน่ึง โครงงานทีจ่ ะจดั เปน โครงงานประเภทการทดลองได จะตองเปนโครงงานที่มีการจัดกระทํากับ ตัวแปรตน หรือเรียกอีกอยางหนึ่งวา ตัวแปรอิสระ มีการวัดตัวแปรตาม (ผลที่ตองการ) และ ควบคมุ ตวั แปรอ่นื ๆ ทีไ่ มตอ งการศึกษา โดยทั่วไป ข้ันตอนการดาํ เนินงานของโครงงานประเภท น้ีจะประกอบดวย การกําหนดปญหา การตั้งจุดมุงหมาย สมมติฐาน การกําหนดตัวแปรตาง การออกแบบการทดลอง การรวบรวมขอมลู การดาํ เนินการทดลอง การแปรผลและการสรุปผล 3. โครงงานประเภทการพัฒนาหรือประดิษฐ ลักษณะเดนของโครงงานประเภทน้ี เปนโครงงานท่ีเกี่ยวกบั การประยกุ ตท ฤษฎหี รอื หลกั การทางวทิ ยาศาสตรมาประดิษฐ เคร่ืองมือ เคร่อื งใช หรืออปุ กรณ เพ่อื ประโยชนใชสอยตางๆ ซึ่งอาจเปนการคิดประดิษฐส่ิงของใหม หรือ ปรับปรุงเปล่ยี นแปลงของเดมิ ทม่ี ีอยแู ลวใหมปี ระสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได โครงงานประเภทนี้รวมไป ถึง การสรา งแบบจาํ ลองเพื่ออธบิ ายแนวความคดิ ตาง ๆ โดยใชกระบวนการทางวิทยาศาสตรไป แกปญ หาตา ง ๆ 4. โครงงานประเภทการสรางทฤษฎีหรืออธิบายลักษณะเดนของโครงการประเภทน้ี คอื เปนโครงงานเกีย่ วกับการนําเสนอ ทฤษฎี หลกั การ หรือแนวความคดิ ใหมๆ ซ่ึงอาจอยูในรูป ของสูตร สมการ หรือคําอธิบายโดยผูเสนอไดตั้งกติกาหรือขอตกลงเอง แลวเสนอทฤษฎี หลักการ แนวความคิด หรือจินตนาการของตนเองตามกติกา ขอตกลงน้ัน หรืออาจใชกติกา

26 ขอ ตกลงอันเดมิ มาอธิบายสง่ิ หรือปรากฏการณต า ง ๆ ในแนวใหม ทฤษฎี หลักการแนวความคิด หรอื จนิ ตนาการทเี่ สนอนอี้ าจจะใหมไ มม ใี ครคดิ มากอน หรืออาจขัดแยงกับทฤษฎีเดิม หรือเปน การขยายทฤษฎีหรือแนวความคิดเดิมกไ็ ด การทําโครงงานประเภทนี้ จุดสําคัญอยูที่ผูเสนอตอง มีพื้นฐานความรูในเรื่องนั้นๆ เปนอยางดี จึงจะสามารถเสนอโครงงานประเภทนี้ไดอยางมี เหตุผล และนาเชื่อถือ หรืออาจทําไดโดยสรางเคร่ืองมือข้ึนประกอบการอธิบาย โดยท่ัวไป โครงงานประเภทน้ีจัดเปนวทิ ยาศาสตรบ ริสทุ ธห์ิ รือโครงงานทางคณิตศาสตร ขนั้ ตอนของการทาํ โครงงานวิทยาศาสตร มอี ะไรบาง การทําโครงงานวิทยาศาสตร ขั้นตอนที่ 1 การคิดและเลือกหัวเรื่อง เปนการหาหัวขอในการทดลอง ในเร่ืองท่ี ผูเ สนออยากรูอยากเห็น ข้ันตอนท่ี 2 การศึกษาเอกสารท่ีเกี่ยวของรวมไปถึงการขอคําปรึกษา หรือขอมูล ตางๆจากผทู รงคุณวฒุ ิที่เกี่ยวของ ขั้นตอนท่ี 3 การเขียนเคาโครงของโครงงานโดยทั่วไปเคาโครงของโครงงานจะมี หวั ขอ ดังตอไปน้ี

27 หัวขอ/รายการ รายละเอียดทต่ี อ งระบุ 1.ช่อื โครงงาน 1. ทําอะไร กับใคร เพื่ออะไร 2.ชือ่ ผูทําโครงงาน 2. ผูรับผดิ ชอบโครงงานน้ี 3.ช่ือท่ีปรกึ ษาโครงงาน 3. ผูทรงคณุ วฒุ ิตา งๆ 4.ระยะเวลาดําเนินการ 4. ระยะเวลาดําเนนิ งานโครงงานตั้งแตต นจนจบ 5.หลกั การและเหตผุ ล 5. เหตผุ ลและความคาดหวงั 6.จดุ หมาย/วัตถปุ ระสงค 6. สง่ิ ทต่ี องการใหเกดิ เม่ือสน้ิ สดุ การทาํ โครงงาน 7.สมมติฐานของการศึกษาโครงงาน 7. ส่ิงทีค่ าดวา จะเกิดเม่อื ส้ินสุดการทําโครงงาน 8.ขน้ั ตอนการดําเนินงาน 8. ขน้ั ตอนการทํางาน เครือ่ งมอื วสั ดอุ ุปกรณ สถานที่ 9.ปฏิบัตโิ ครงงาน 9. วนั เวลา และกจิ กรรมดาํ เนินงานตางๆตง้ั แต ตนจนเสร็จ 10. ผลท่คี าดวาจะไดร ับ 10. สภาพของผลทต่ี อ งการใหเกดิ ทงั้ ทเี่ ปน ผลผลติ กระบวนการ และผลกระทบ 11. บรรณานุกรม 11. ชอ่ื เอกสารขอ มลู ทไี่ ดจ ากแหลง ตาง ๆ ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติโครงงาน เปนการดําเนินงานตามแผน ที่ไดกําหนดไวในเคา โครงของโครงงาน และตอ งมกี ารจดบนั ทกึ ขอ มลู ตางๆไดอ ยา งละเอียด และตองจัดทําอยางเปน ระบบ ระเบยี บ เพื่อท่ีจะไดใชเปน ขอมูลตอ ไป ข้ันตอนท่ี 5 การเขียนรายงาน ควรใชภาษาที่เขาใจงาย กระชับ ชัดเจน และ ครอบคลมุ ประเดน็ สาํ คญั ของโครงงาน สามารถเขียนในรปู แบบตางๆ เชน การสรุป รายงานผล ซึง่ ประกอบไปดวยหวั ขอตา งๆ เชน บทคดั ยอ บทนํา เอกสารทเ่ี ก่ยี วของ เปนตน ขน้ั ตอนท่ี 6 การแสดงผล การแสดงผลงาน เปนการนําเสนอผลงาน สามารถจัดได หลายรูปแบบ เชน การจัดนิทรรศการ หรือทําเปนสิ่งตีพิมพ การสอนแบบเพ่ือน สอนเพือ่ นตามแตค วามเหมาะสมของโครงงาน

28 การวางแผนการทาํ โครงงานวทิ ยาศาสตร การวางแผนการทาํ โครงงาน มขี ้นั ตอนดงั น้ี 1. การกําหนดปญหาหรอื ท่มี า และความสําคญั ของโครงงาน 2. กําหนดวัตถุประสงคและสมมติฐานของการศึกษา เชน ศึกษาปฏิกิริยาตอบสนอง ของปลา แสงสีตางๆ หรอื เพือ่ ศึกษาอวัยวะภายในของหนทู มี่ ีผลมาจากใบกัญชา 3. กําหนดขอบเขตของการศกึ ษา โดยยดึ หลักไมเกนิ ระดับความรขู องผูเ รยี นมากนัก 4. การวางแผนวิธีการดําเนินงาน ไดแก แนวทางในการศึกษา คนควา วัสดุอุปกรณ ที่จาํ เปน ออกแบบการทดลองควบคมุ ตัวแปร วิธีการสาํ รวจ และรวบรวมขอมลู วิธีการประดิษฐ การวิเคราะหขอมูล และการกําหนดระยะเวลาในการทํางาน ในการวางแผนการทําโครงงาน ควรเขยี นโครงราง หรือเคาโครงราง หรือเคาโครงงานนําเสนออาจารยท่ีปรึกษา เพ่ือขอความ คดิ เหน็ และคําปรึกษาวาจะดําเนินการอยางไร โดยที่เปนขั้นตอนและไมสับสน การเขียนและ การจดั ลาํ ดับหวั ขอเคา โครงของโครงงาน มดี ังน้ี 1. ชอ่ื โครงงาน 2. ผจู ดั ทาํ โครงงาน 3. ชื่ออาจารยที่ปรกึ ษาโครงงาน 4. ท่มี าและความสาํ คญั ของโครงงาน 5. วตั ถุประสงคของการศึกษา คน ควา 6. สมมติฐานของการศึกษา คนควา (ในกรณีการต้ังสมมติฐานมักใชกับโครงงาน ประเภททดลองเทานั้น) 7. วธิ กี ารดําเนินการ 8. ประโยชนห รือผลที่คาดวา จะไดร ับ 9. เอกสารอางองิ

29 การเลอื กหวั ขอ การทําโครงงานวิทยาศาสตร หัวขอ โครงงาน คือ สงิ่ ทแ่ี สดงลักษณะของภาระงาน ชิน้ งาน หรือกิจกรรมอิสระทีผ่ ูทํา โครงงานตอ งทาํ การคัดเลือกหัวขอ โครงงานใหป ระสบผลสําเร็จ ผูทําโครงงานจะตองพิจารณา แรงจูงใจของตนเอง เพื่อใหสามารถตอบคําถามสําคัญ 2 ประการ คือ ตองการศึกษาการ แกปญหาสิ่งใดและเหตุใดจึงตองการศึกษาส่ิงนั้น โดยหัวขอโครงงานจะตองเปนเรื่องท่ี เฉพาะเจาะจง ชัดเจน โดยมุงเนนทําโครงงานท่ีอยูใกลตัว ซ่ึงอาจเกิดจากปญหาของผูทํา โครงงาน หรอื ผทู าํ โครงงานมคี วามคุน เคยกับสงิ่ น้นั ดังนน้ั ผทู าํ โครงงานจงึ ควรสาํ รวจตัวเองและ พิจารณาสง่ิ ตา งๆ ดังน้ี 1. ความรู ความสามารถ และประสบการณของตนเอง โดยพิจารณาจากคะแนน วดั ผลความรูหรอื ผลงานทเี่ คยปฏบิ ัติ 2. ความถนดั และความสนใจของผทู ําโครงงาน เปนการพิจารณาความชอบของผูทํา โครงงาน ซึ่งถาเปนโครงงานที่ผูที่ไมมีความรู ความสามารถ และประสบการณมากอน ผูทํา ก็จะตองคน ควา หาความรูเกย่ี วกับโครงงานนัน้ มากเปน พเิ ศษ 3. ประโยชนทีไ่ ดรบั โครงงานทท่ี ําควรเปนโครงงานท่ีมีประโยชนทั้งตอผูทําโครงงาน สงั คม และประเทศชาติ โดยโครงงานน้ันควรจะสามารถนําไปพฒั นาและใชไ ดจริง ในชวี ติ ประจําวนั 4. ความคิดสรางสรรค โครงงานที่ทาํ ควรมีความแปลกใหม ทันสมัย ใชไดจริงและไม มีผอู น่ื ทําไวห รอื เปน การพฒั นาโครงงานของผอู ื่นใหมีประสิทธภิ าพมากยงิ่ ข้ึน 5. ระยะเวลาในการทําโครงงาน เปน ปจ จยั ทผ่ี ูทาํ โครงงานจะตอ งวางแผนกอ นการทํา โครงงานจริง เพอื่ กาํ หนดขอบเขตและเปา หมายในการทาํ โครงงาน 6. คาใชจ า ยในการทําโครงงาน โครงงานบางประเภทจาํ เปนตอ งใชต น ทุนจาํ นวนมาก ผทู าํ โครงงานจึงควรประเมินคา ใชจ ายและเลือกทําโครงงานท่ีตนเองมีทรัพยากรอยูแลวเพื่อลด คาใชจ า ยในการทําโครงงาน 7. ความปลอดภยั เปน ปจจยั สําคญั ในการทาํ โครงงาน กลา วคอื โครงงานน้ันจะตองมี ความปลอดภยั ไมม ีอนั ตรายทง้ั ตอผทู าํ โครงงาน สังคม และประเทศชาติ

30 8. คานิยมของสังคม เปนปจจัยภายนอกท่ีเก่ียวกับผูทําโครงงานโดยโครงงานท่ีทํา จะตอ งไมขัดตอคานยิ ม วฒั นธรรมและความเชอ่ื ของสังคม 9. ความเปน ไปได ผูท ําโครงงานควรนาํ ปจ จัยขางตนมาพจิ ารณาวา โครงงานดังกลาว สามารถทาํ ไดจริงตามปจจัยตาง ๆ ท่มี ีอยหู รือไมแลวจึงตัดสนิ ใจเลือกทําโครงงานในหัวขอ นั้น การนาํ เสนอโครงงานวทิ ยาศาสตร การนําเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร อาจทาํ ไดในแบบตา ง ๆ กนั เชน การแสดงในรูปนิทรรศการ ซ่ึงมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายดวยคําพูด หรือใน รูปแบบของการรายงานปากเปลาไมวาการนําเสนอผลงานจะอยูในรูปแบบใด ควรครอบคลุม ประเดน็ สาํ คัญคอื มีความชดั เจน เขา ใจงา ยและมคี วามถูกตอ งในเนื้อหา การแสดงผลงานจดั ไดว า เปน ข้นั ตอนสําคญั อกี ประการหน่ึงของการทาํ โครงงาน เ รี ย ก ไ ด ว า เ ป น ง า น ขั้ น สุ ด ท า ย ข อ ง ก า ร ทํ า โ ค ร ง ง า น วิ ท ย า ศ า ส ต ร เ ป น ก า ร แ ส ด ง ผ ลิ ต ผ ล ของงาน ความคดิ และความพยายามทง้ั หมดทผี่ ทู ําโครงงานไดทุม เทลงไป และเปน วธิ ีการ ทจ่ี ะทาํ ใหผูอ่นื ไดรับรูและเขาใจถึงผลงานนั้นๆ มีผูกลาววาการวางแผนออกแบบเพ่ือจัดแสดง ผลงานน้ันมีความสําคัญเทาๆ กับการทําโครงงานนั่นเอง ผลงานท่ีทําขึ้นจะดียอดเย่ียม เพียงใด แตถาการจัดแสดงผลงานทําไดไมดีก็เทากับไมไดแสดงความดียอดเย่ียมของผลงาน น่ันเอง ประเดน็ สาํ คัญทค่ี วรจดั ใหครอบคลุม การแสดงผลงานนน้ั อาจทาํ ไดห ลายรปู แบบ เชน การแสดงในรปู นทิ รรศการ ซง่ึ มีทั้งการ จัดแสดงและการอธบิ ายดวยคาํ พูด หรอื ในรปู แบบของการจดั แสดงโดยไมมกี ารอธิบายประกอบ หรือในรูปแบบของการรายงานปากเปลา ไมว า การแสดงผลงานจะอยใู นรูปแบบใด ควรจดั ทําให ครอบคลุมประเด็นสําคญั ดงั ตอไปน้ี

31 1. ช่อื โครงงาน 2. ชือ่ ผทู าํ โครงงาน 3. ชือ่ อาจารยทป่ี รึกษาโครงงาน 4. ความเปน มาและความสาํ คญั ของโครงงาน 5. วิธีดําเนนิ การ 6. การสาธติ หรอื แสดงผลที่ไดจากการทดลอง 7. ผลการสงั เกตและขอมูลเดน ๆ ทไ่ี ดจ ากการทาํ โครงงาน ขอคํานึงถึงในการจัดนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร ควรคํานึงถึงสิ่งตาง ๆ ตอไปนี้ 1. ความปลอดภยั ของการจดั แสดง 2. ความเหมาะสมกบั เนอ้ื ทท่ี จี่ ดั แสดง 3. คาํ อธบิ ายทเ่ี ขียนแสดงควรเนนเฉพาะประเด็นสําคัญและสิ่งที่นาสนใจเทานั้น โดย ใชขอ ความกะทดั รัด ชดั เจน และเขา ใจงาย 4. ดงึ ดูดความสนใจของผูเขาชม โดยใชรูปแบบการแสดงท่ีนาสนใจ ใชสีท่ีสดใสเนน จุดสาํ คญั หรือใชว สั ดุตา ง ๆ ในการจดั แสดง 5. ใชตาราง และรปู ภาพประกอบ โดยจดั วางอยา งเหมาะสม 6. สิง่ ที่แสดงทกุ อยา งและการเขียนขอความตองถกู ตอ ง ไมม กี ารสะกดผิด หรืออธิบาย หลกั การท่ผี ิด 7. ในกรณีท่ีเปน สงิ่ ประดษิ ฐ สง่ิ นั้นควรอยใู นสภาพทีท่ ํางานไดอ ยางสมบูรณ ขอ คํานงึ ถงึ ในการอธิบายหรอื รายงานปากเปลา ควรคํานึงถึงสงิ่ ตา งๆ ตอ ไปน้ี 1. ตองทาํ ความเขา ใจกบั เรือ่ งทีจ่ ะอธบิ ายเปนอยา งดี 2. คํานึงถึงความเหมาะสมของภาษาที่ใชกับระดับผูฟง ควรใหชัดเจนและ เขาใจงาย 3. ควรรายงานอยา งตรงไปตรงมา ไมอ อ มคอม

32 4. พยายามหลีกเล่ียงการอานรายงาน แตอาจจดหัวขอสําคัญๆ ไวเพื่อชวยใหการ รายงานเปนไปตามขัน้ ตอน 5. อยาทองจํารายงาน เพราะทําใหด ไู มเ ปน ธรรมชาติ 6. ขณะทร่ี ายงาน ควรมองตรงไปยังผูฟง 7. เตรียมตวั ตอบคาํ ถามทเ่ี ก่ียวกบั เร่ืองนั้นๆ 8. ตอบคาํ ถามอยางตรงไปตรงมา ไมจําเปนตองกลาวถึงสิง่ ท่ไี มไดถ าม 9. หากตดิ ขัดในการอธิบาย ควรยอมรับโดยดี อยากลบเกล่อื นหรอื หาทางเลีย่ ง 10. ควรรายงานใหเ สร็จภายในระยะเวลาทีก่ ําหนด 11. ควรใชสื่อประเภทโสตทัศนูปกรณประกอบการรายงานดวย เชน แผนใส หรือ สไลด เปนตน แนวทางการนาํ ผลจากโครงงานวทิ ยาศาสตรไปใช การนําผลจากโครงงานไปใช คือ การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร เปนการ เ ส น อ ผ ล ง า น ก า ร ดํ า เ นิ น ก า ร เ ป น เ อ ก ส า ร จั ด ว า เ ป น ข้ั น ต อ น สํ า คั ญ อี ก ป ร ะ ก า ร ห น่ึ ง ข อ ง โครงงาน เมอ่ื ดาํ เนินการทาํ โครงงานจนครบขน้ั ตอนไดขอมูล ทําการวิเคราะหขอมูล พรอมท้ัง แปรผล และสรปุ ผล แลวงานข้นั ตอไปท่ตี อ งทาํ คือการเขยี นรายงาน การเขียนรายงานโครงการวิทยาศาสตร มีดังน้ี 1. ชื่อโครงงาน เปนส่ิงสาํ คัญประการแรก เพราะชื่อโครงการจะชวยโยงความคิดไป ถงึ วตั ถุประสงคข องการทาํ โครงงานวิทยาศาสตร และควรกําหนดช่ือโครงการใหสอดคลองกับ วัตถปุ ระสงคห ลักดว ย

33 การต้ังชอื่ โครงงานของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นิยมต้ังช่ือใหมี ความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจจากผูอาน ผูฟง แตสิ่งที่ควรคํานึงถึง คือ ผูทําโครงงาน วิทยาศาสตร ตองเขาใจปญหาที่สนใจศึกษาอยางแทจริง อันจะนําไปสูการเขาใจวัตถุประสงค ของการศึกษาอยางแทจริงดวย เชน โครงงานวิทยาศาสตร ช่ือ “ถุงพลาสติกพิชิตแมลงวัน ตัวนอย” ซึ่งปญหาเรื่องที่สนใจศึกษาคือถุงนํ้าพลาสติกสามารถไลแมลงวันท่ีมาตอมอาหารได จริงหรือ จากเรื่องดังกลาวผูทําโครงงานวิทยาศาสตร บางคนหรือบางคณะอาจสนใจตั้งชื่อ โครงงานวิทยาศาสตรวา “การศกึ ษาการไลแ มลงวันดว ยถงุ นาํ้ พลาสติก” หรือ “ผลการใชถุงนํ้า พลาสตกิ ตอ การไลแ มลงวัน” ก็เปนได อยางไรก็ตามจะตั้งช่ือโครงการในแบบใด ๆ นั้น ตองคํานึงถึงความสามารถที่จะส่ือ ความหมายถงึ วัตถุประสงคท ีต่ องการศึกษาไดช ัดเจน 2. ชอ่ื ผูจดั ทาํ โครงงาน การเขียนชื่อผรู บั ผดิ ชอบโครงงานวิทยาศาสตร เปนสง่ิ ดเี พื่อจะไดทราบวาโครงงาน น้นั อยูในความรบั ผดิ ชอบของใครและสามารถตดิ ตามไดที่ใด 3. ชอื่ อาจารยทป่ี รกึ ษาโครงงาน การเขยี นชื่อผูใหค ําปรกึ ษาควรใหเกยี รตยิ กยองและเผยแพร รวมท้ังขอบคุณท่ีไดให คาํ แนะนาํ การทําโครงงานวิทยาศาสตรจ นบรรลุเปาหมาย 4. บทคัดยอ อธิบายถึงท่ีมาและความสําคัญของโครงงาน วัตถุประสงค วิธีดําเนินการ และผลท่ีได ตลอดจนขอสรุปตางๆ อยางยอประมาณ 300-350 คํา (ถาใชโปรแกรม Microsoft Word ในการพิมพ สามารถตรวจสอบจํานวนคาํ จากเมนูเครือ่ งมือ เลือกคาํ ส่งั นับจํานวนคํา)

34 5. กิตตกิ รรมประกาศ (คาํ ขอบคณุ ) สวนใหญโครงงานวิทยาศาสตรมักจะเปนกิจกรรมที่ไดรับความรวมมือจากหลาย ฝายดงั นั้นเพือ่ เปนการเสริมสรางบรรยากาศของความรวมมือจึงควรไดกลาวขอบคุณบุคลากร หรือหนว ยงานตา ง ๆ ทม่ี สี ว นชว ยใหโ ครงงานนส้ี าํ เร็จดวย 6. ที่มาและความสําคัญของโครงงาน ในการเขียนท่ีมาและความสําคัญของโครงงานวิทยาศาสตร ผูทําโครงงาน จาํ เปนตอ งศึกษา หลักการทฤษฎีเก่ียวกับเร่ืองท่ีสนใจจะศึกษา หรือพูดเขาใจงาย ๆ วาเร่ืองท่ี สนใจจะศึกษานั้นตองมีทฤษฎีแนวคิดสนับสนุน เพราะความรูเหลาน้ีจะเปนแนวทางสําคัญใน เรือ่ งตอ ไปนี้ - แนวทางตัง้ สมมตฐิ านของเรื่องท่ีศึกษา - แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมขอมลู - ใชประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพ่ือนําความรูและ สิง่ ประดษิ ฐใหมท คี่ น พบไปใชประโยชนตอไป การเขียนทมี่ าและความสาํ คัญของโครงงาน คือ การอธิบายใหกระจางชัดวาทําไม ตองทํา ทําแลวไดอะไร หากไมทําจะเกิดผลเสียอยางไร ซ่ึงมีหลักการเขียนคลายการเขียน เรยี งความ ทว่ั ๆ ไป คอื มีคํานาํ เนอ้ื เรือ่ ง และสรุป สว นที่ 1 คาํ นํา : เปน การบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปญหาท่ีมีสวน สนบั สนนุ ใหร ิเร่ิมทาํ โครงงานวทิ ยาศาสตร สวนที่ 2 เนื้อเรอื่ ง : อธิบายถึงรายละเอียดเช่ือมโยงใหเห็นประโยชนของการทําโครงงาน วทิ ยาศาสตร โดยมี หลกั การ ทฤษฎสี นับสนนุ เร่ืองทีศ่ กึ ษา หรอื การบรรยายผลกระทบ ถา ไมทํา โครงงานเรอ่ื งนี้ สว นท่ี 3 สรุป : สรุปถึงความจําเปน ที่ตอ งดาํ เนินการตามสวนท่ี 2 เพ่ือแกไขปญหา หรือ การคนควาหาความรูใ หมๆ คน ควา สิง่ ประดิษฐใหมใ หเปน ไปตามเหตุผลสว นที่ 1

35 7. วัตถุประสงคข องการทาํ โครงงาน เปนการกําหนดจุดมุงหมายปลายทางที่ตองการใหเกิดจากการทําโครงงาน วิทยาศาสตร ในการเขียนวัตถุประสงค ตองเขียนใหชัดเจน อานเขาใจงายสอดคลองกับช่ือ โครงงาน หากมีวัตถุประสงคหลายประเด็น ใหระบุเปนขอๆ การเขียนวัตถุประสงคมี ความสาํ คญั ตอแนวทาง การศกึ ษา ตลอดจนขอ ความรทู ่ีคน พบหรือส่ิงประดิษฐที่คนพบนั้นจะมี ความสมบรู ณค รบถวน คือ ตองสอดคลองกบั วตั ถปุ ระสงคท กุ ๆ ขอ 8. สมมตฐิ านของการศกึ ษา เปน ทักษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตรที่ผูทําโครงงานตองใหความสําคัญ เพราะ จ ะ ทํ า ใ ห เ ป น ก า ร กํ า ห น ด แ น ว ท า ง ใ น ก า ร อ อ ก แ บ บ ก า ร ท ด ล อ ง ไ ด ชั ด เ จ น แ ล ะ ร อ บ ค อ บ ซงึ่ สมมตฐิ านกค็ อื การคาดคะเนคําตอบของปญ หาอยางมีหลักและเหตุผลตามหลักการ ทฤษฎี รวมทัง้ ผลการศกึ ษาของโครงงานทไี่ ดทาํ มาแลว 9. ขอบเขตของการทําโครงงาน ผูทําโครงงานวิทยาศาสตร ตองใหความสําคัญตอการกําหนดขอบเขตการทํา โครงงาน เพ่ือใหไดผลการศึกษาท่ีนาเชื่อถือ ซึ่งไดแก การกําหนดประชากร กลุมตัวอยาง ตลอดจนตัวแปรท่ศี ึกษา 1. การกาํ หนดประชากร และกลุมตัวอยางที่ศึกษา คือ การกําหนดประชากรที่ศึกษา อาจเปนคนหรือสัตวหรือพืช ชื่อใด กลุมใด ประเภทใด อยูท่ีไหน เม่ือเวลาใด รวมทั้งกําหนด กลมุ ตัวอยา งท่ีมีขนาดเหมาะสมเปน ตัวแทนของประชากรท่ีสนใจศกึ ษา 2. ตัวแปรท่ีศึกษา การศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร สวนมากมักเปนการศึกษา ความสมั พนั ธเชิงเหตแุ ละผล หรือความสัมพันธระหวางตวั แปรตง้ั แต 2 ตัวแปรข้ึนไป การบอก ชนดิ ของตวั แปรอยางถกู ตอ งและชัดเจน รวมท้ังการควบคุมตัวแปรที่ไมสนใจศึกษา เปนทักษะ กระบวนการทางวทิ ยาศาสตรท ีผ่ ทู าํ โครงงานตองเขาใจ ตวั แปรใดทศ่ี ึกษาเปนตัวแปรตนตัวแปร ใดที่ศึกษาเปนตัวแปรตาม และตัวแปรใดบางเปนตัวแปรท่ีตองควบคุมเพ่ือเปนแนวทางการ ออกแบบการทดลอง ตลอดจนมีผลตอการเขียนรายงานการทําโครงงานวิทยาศาสตรที่ถูกตอง สอ่ื ความหมายใหผฟู งและผูอ า นใหเ ขาใจตรงกนั

36 10. วิธดี ําเนนิ การ เปนวิธีการท่ีชวยใหงานบรรลุตามวัตถุประสงคของการทําโครงงาน ต้ังแตเริ่ม เสนอโครงการกระทัง่ สิน้ สุดโครงการ ซึ่งประกอบดวย 1. การกาํ หนดประชากร กลุมตัวอยา งท่ีศึกษา 2. การสรางเครือ่ งมอื เก็บรวบรวมขอมูล 3. การเก็บรวบรวมขอ มลู 4. การวเิ คราะหขอ มลู ในการเขียนวิธีดําเนินการใหระบุกิจกรรมท่ีตองทําใหชัดเจนวาจะทําอะไรบาง เรยี งลําดบั กิจกรรมกอ นและหลงั ใหช ดั เจน เพือ่ สามารถนาํ โครงการไปปฏิบัติอยางตอเน่ืองและ ถกู ตอง 11. ผลการศึกษาคนควา นาํ เสนอขอมูลหรือผลการทดลองตาง ๆ ท่ีสังเกตรวบรวมได รวมท้ังเสนอผลการ วเิ คราะหข อมูลทว่ี ิเคราะหไ ดดวย 12. สรปุ ผลและขอ เสนอแนะ อธิบายผลสรุปท่ีไดจากการทําโครงงาน ถามีการต้ังสมมติฐาน ควรระบุดวยวา ขอมูลที่ไดสนับสนุนหรือคัดคานสมติฐานท่ีต้ังไว หรือยังสรุปไมได นอกจากน้ียังควรกลาวถึง การนําผลการทดลองไปใชประโยชน อุปสรรคของการทําโครงงานหรือขอสังเกตท่ีสําคัญหรือ ขอผดิ พลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทําโครงงานน้ี รวมท้ังขอเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง แกไข หากมผี ูศกึ ษาคนควา ในเรอ่ื งท่ที ํานองน้ตี อไปในอนาคตดว ย 13. เอกสารอา งอิง เอกสารอางอิง คือ รายชื่อเอกสารที่นํามาอางอิงเพื่อประกอบการทํา โครงงานวิทยาศาสตร ตลอดจนการเขียนรายงานการทําโครงงานวิทยาศาสตร ควรเขียนตาม หลกั การที่นยิ มกนั

37 ประโยชนท ี่ไดร บั จากการทาํ โครงงานวทิ ยาศาสตร ธีระชัย ปูรณโชติ (2531 : 3-4) ไดกลาวถึงความสําคัญและประโยชนของโครงงาน วิทยาศาสตร ไวดังตอ ไปน้ี 1. ชวยสงเสริมจุดมุงหมายของหลักสูตรและการเรียนวิทยาศาสตรใหสัมฤทธ์ิผล สมบูรณย งิ่ ขน้ั 2. ชวยใหผเู รียนมีโอกาสเรียนรูจากประสบการณตรงในกระบวนการแสวงหาความรู ดว ยตนเองโดยอาศัยวธิ ีการทางวทิ ยาศาสตร 3. ชวยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรไดครบถวนสมบูรณยิ่งข้ึนกวาการ เรียนในกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติ ผูเรียนมีโอกาสไดฝกทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตรบ างทักษะซ่งึ ไมใครมีโอกาสในกจิ กรรมการเรยี นการสอนตามปกติ เชน ทักษะการ ตั้งสมมตฐิ าน ทักษะการออกแบบการทดลอง และควบคมุ ตัวแปร เปนตน 4. ชวยพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร เจตคติท่ีดีตอวิทยาศาสตร และความสนใจใน วชิ าวทิ ยาศาสตร 5. ชวยใหผูเรียนเขาใจลักษณะและธรรมชาติของวิทยาศาสตรดีย่ิงขึ้น เชน เขาใจวา วิทยาศาสตรไมไดหมายถึงแตตัวความรูในเน้ือหาสาระที่เกี่ยวกับธรรมชาติเทาน้ันแตยัง หมายถึงกระบวนการแสวงหาความรูเหลานนั้ และมีเจตคตหิ รอื คา นยิ มทางวิทยาศาสตรอีกดวย การไดม าซ่ึงความรูเ กยี่ วกบั ธรรมชาตจิ ะตองใชก ระบวนการแสวงหาความรทู ี่ไดจ ากการรวบรวม ขอมูลอยางมีระบบโดยอาศัยการสังเกตเปนพื้นฐานแตประสาทสัมผัสของมนุษย ซึ่งใชในการ สงั เกตมีขดี ความสามารถจํากัดในการรับรู ดงั น้ัน วิทยาศาสตรจ ึงมีขอบเขตจํากดั ดว ย 6. ชว ยพัฒนาความคิดริเร่มิ สรา งสรรค และความเปน ผมู วี ิจารณญาณ 7. ชวยพฒั นาผเู รยี นใหเ กิดความเชือ่ ม่นั ในตนเอง 8. ชวยพัฒนาผูเรียนใหเ ปนคนที่คิดเปน ทาํ เปน และมคี วามสามารถในการแกปญ หา 9. ชว ยพัฒนาความรบั ผิดชอบ และสรางวนิ ยั ในตนเองใหเกิดข้ึนกัผูเ รียน 10. ชวยใหผเู รยี นไดใชเวลาวางใหเปน ประโยชนและมีคุณคา

38 สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (2531 : 56) ไดกลาวถึง คุณประโยชนของโครงงานวิทยาศาสตรไวด ังนี้ 1. สรางจติ สํานกึ และความรับผิดชอบในการศกึ ษาคน ควาหาความรูตา งๆ ดวยตนเอง 2. เปด โอกาสใหผเู รยี นไดพฒั นาและแสวงหาความสามารถตามศักยภาพของตนเอง 3. เปดโอกาสใหผูเรียนไดศึกษา คนควาและเรียนรูในเร่ืองท่ีตนเองสนใจไดลึกซ้ึงไป กวา การเรียนในหลักสูตรปกติ 4. ทําใหผ ูเ รยี นมีความสามารถพิเศษโดยมโี อกาสแสดงความสามารถของตน 5. ชวยกระตุนใหผูเรียนมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตรและมีความสนใจที่จะ ประกอบอาชีพทางวทิ ยาศาสตร 6. ชวยใหผ ูเ รยี นไดใชเวลาวา งใหเ ปน ประโยชนใ นการสรา งสรรค 7. ชวยสรา งความสัมพันธระหวางครูกับผูเรียนและระหวางผูเรียนดวยกันใหมีโอกาส ทํางานใกลช ิดกันมากขน้ึ 8. ชว ยสรางความสัมพันธระหวางชมุ ชนกบั สถานศึกษาใหด ขี นึ้ สถานศกึ ษาไดมีโอกาส เผยแพรความรูทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแกชุมชนซ่ึงจะชวยกระตุนใหชุมชนไดสนใจ วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีมากขึ้น สรุปไดวา โครงงานวิทยาศาสตรมีความสําคัญและกอประโยชนโดยตรงแกผูเรียน โดยตรงเปนการฝกใหผูเรียนรูจักศึกษาคนควาดวยตนเอง สรางความสัมพันธอันดีกับครูกับ เพ่อื นรว มงาน รจู กั ทํางานอยา งเปนระบบใชวธิ กี ารทางวิทยาศาสตรในการแกป ญ หาและใชเวลา วางใหเ ปนประโยชน

39 กจิ กรรมทายบทท่ี 2 คําช้แี จง ใหผูเ รียนตอบคาํ ถามตอ ไปน้ี 1. โครงงานวิทยาศาสตรม กี ่ปี ระเภท จงอธิบาย .............................................................................................................................................. 2. ขนั้ ตอนการทําโครงงานวทิ ยาศาตรมอี ะไรบาง จงอธบิ าย .............................................................................................................................................. 3. การเขียนรายงานโครงการวทิ ยาศาสตร มีขั้นตอนอยา งไร จงอธบิ าย .............................................................................................................................................. 4. จงอธบิ ายวิธกี ารนาํ เสนอโครงงานวทิ ยาศาสตร .............................................................................................................................................. 5. จงอธิบายถึงประโยชนท ไี่ ดร ับจากการทําโครงงานวิทยาศาสตร ..............................................................................................................................................

40 บทที่ 3 เซลล สาระสําคญั รางกายมนุษย พืชและสัตว ตา งประกอบดวยเซลล จงึ ตองเรียนรูเก่ียวกับเซลลพืชและ เซลลสัตว กลไกและการรักษาดุลยภาพของพืช สัตวและมนุษย ปองกันดูแลรักษา ภูมิคุมกัน รา งกาย กระบวนการแบงเซลล  ผลการเรยี นรทู คี่ าดหวงั 1. อธบิ ายรปู รา ง สว นประกอบ ความแตกตาง ระบบการทํางาน การรักษาดุลยภาพ ของเซลลพ ืชและเซลลสัตวไ ด 2. อธิบายการรกั ษาดุลยภาพของพชื และสตั ว แ ละมนษุ ยแ ละการนําความรูไปใชไ ด 3. ศึกษา สืบคนขอมูลและอธิบายกระบวนการแบงเซลลแบบไมโทซสิ และโมโอซสิ ได ขอบขา ยเนอ้ื หา เร่ืองที่ 1 เซลล  เร่ืองท่ี 2 กระบวนการแบงเซลล แบบไมโทซีส และไมโอซิส

41 บทท่ี 3 เซลล เซลล (Cell) หมายถงึ หนวยท่ีเล็กท่ีสุดของส่ิงมีชีวิต โดยเซลล (cell) มาจากคําวา cella ในภาษาละติน ซ่ึงมีความหมายวา หองเลก็ ๆ เซลล (cell) สามารถเพ่ิมจํานวน เจริญเติบโต และตอบสนองตอสิ่งเราได เซลลบาง ชนิดเคลือ่ นท่ไี ดด ว ยตนเอง สวนประกอบของเซลลป ระกอบดว ยอะไรบา ง เซลลโดยทั่วไปไมวาจะมีรูปรางและขนาดแตกตางกันอยางไรก็ตาม แตจะมีลักษณะ โครงสรา งพื้นฐานสวนใหญคลายคลึงกัน เซลลของส่ิงมีชีวิตจะมีสวนประกอบท่ีเปนโครงสราง พ้ืนฐานอยู 3 สวนใหญๆ คอื 1. สว นหอหมุ เซลล ประกอบดว ย 1.1 เย่ือหุมเซลล (Cell membrane) มีลักษณะเปนเย่ือบางๆ ทําหนาที่หอหุมสวน ตา งๆทอี่ ยูภ ายในเซลล ประกอบดวยโปรตีนและไขมัน มีหนาท่ี ควบคุม ปริมาณ และชนิดของ สารท่ีผานเขาออกจากเซลล 1.2 ผนังเซลล (Cell wall) เปนสวนที่อยูนอกสุด ทําหนาท่ีเพิ่มความแข็งแรง และ ปองกันอันตรายใหแกเซลลพืช ประกอบดวย สารเซลลูโลสเปนสวนใหญ นอกจากนี้มีคิวทิน ซูเบอริน เพกทนิ ลิกนนิ ผนงั เซลลพบในเซลลพ ชื แบคทีเรีย และสาหรา ย 1.3 สารเคลอื บเซลล (cell coat) เปนสารที่เซลลสรางขึ้นเพื่อหอหุมเซลลอีกช้ันหน่ึง เปน สารที่มคี วามแข็งแรง ไมละลายน้ํา ทําใหเ ซลลค งรปู รางไดแ ละชวยลดการสญู เสียน้าํ 2. นิวเคลียส (nucleus) เปนสวนประกอบที่สําคัญท่ีสุดของเซลล มีรูปรางคอนขาง กลม นิวเคลียสทําหนาท่ี ควบคุมเมแทบอลิซึมของเซลล ควบคุมการสังเคราะหโปรตีนและ เอนไซม ควบคุมการถายทอดลักษณะ ทางพันธุกรรมจากพอแมไปสูรุนลูกหลาน ควบคุม กิจกรรมตางๆ ภายในเซลล ควบคุมการเจริญเติบโต และควบคุมลักษณะตางๆ ของส่ิงมีชีวิต ประกอบดวย

42 2.1 เยื่อหุมนิวเคลียส (nuclear membrane) เปนเยื่อบาง ๆ 2 ชั้น แตละช้ัน ประกอบดวยลิพิดเรียงตัว 2 ช้ัน มีโปรตีนแทรกเปนระยะๆ มีชองเล็กๆ ทะลุผานเยื่อหุม นิวเคลียส 2.2 นิวคลโี อลสั (Nucleolus) ประกอบดว ยสาร DNA และ RNA ทําหนาท่ีเกี่ยวของ กับการสงั เคราะหโปรตีน และสรางไรโบโซม 2.3 โครมาทิน (Chromatin) ซ่งึ เสน ใยเล็ก ๆ ยาว ๆ หดไปมาเปนรางแห เม่ือหดตัว ส้นั และหนาขน้ึ เรียกวา โครโมโซม (chromosome) ประกอบดวย ยีน และโปรตีนหลายชนิด บนยนี จะมีรหัสพนั ธุกรรมซงึ่ ทําหนา ทีค่ วบคุมการสรางโปรตีน 3. ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) เปนสวนท่ีอยูรอบ ๆ นิวเคลียส มีลักษณะเปน ของเหลวโดยมีสารอาหารและสารอ่ืนๆละลายอยู นอกจากนี้ในไซโทพลาสซึมยังมี ออรแกเนลลท ี่สําคญั ไดแ ก 3.1 ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) ทาํ หนา ที่สรางพลังงานใหแ กเ ซลล 3.2 ไรโบโซม (Ribosome) พบท้ังในเซลล พืช และสัตว มีหนาท่ีเกี่ยวของกับการ สังเคราะหโ ปรตีน 3.3 ไลโซโซม (Lysosome) ทําหนาท่ียอยสารและส่ิงแปลกปลอมที่เซลล ไมต อ งการ 3.4 กอลจบิ อดี (Golgi body) ทําหนา ทส่ี ะสมโปรตีนเพื่อสง ออกนอกเซลล 3.5 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัม (Endoplasmic reticulum) มี 2 แบบ คือ ชนดิ เรียบทาํ หนา ทส่ี รางสารพวกไขมัน และชนิดขรุขระทําหนาท่ีขนสงโปรตีน 3.6 แวคิวโอล (Vacuole) เปนแหลงสะสมสารตาง ๆ ซึ่งในเซลลพืชจะมีขนาดตาม อายุของเซลล ส่ิงมชี ีวิตมีการรกั ษาดลุ ยภาพยางไร สงิ่ มชี ีวติ ทุกชนิดมีการรกั ษาดลุ ยภาพสภาวะและสารตา งๆ ภายในรางกาย ดังน้ี 1. การรักษาสมดุลของอุณหภูมิ 2. การรกั ษาสมดลุ ของน้าํ 3. การรกั ษาสมดุลของกรด-เบส 4. การรกั ษาสมดลุ ของแรธาตุ

43 สาเหตทุ ่ีส่ิงมชี ีวิตตองมกี ลไกการรักษาดุลยภาพของรางกาย เพราะวาสภาวะและสาร ตา งๆ ภายในรางกายมผี ลตอ การทาํ งานของเอนไซม ซ่ึงทาํ หนา ท่ีเรงปฏิกริ ยิ าชีวเคมีตา ง ๆ ทเ่ี กดิ ข้ึนภายในเซลลแ ละรา งกาย พชื รกั ษาดุลยภาพของนํ้าอยางไร การคายน้ําถือเปนกระบวนการสําคัญในการรักษาดุลยภาพของนํ้าในพืชซ่ึงเปน กระบวนการท่ีพืชกําจัดน้ําออกมาในรูปของไอน้ําหรือหยดนํ้า โดยไอน้ําจะออกมาทางปากใบ (Stoma) ผิวใบหรอื รอยแตกบริเวณลาํ ตน แตหยดนา้ํ จะออกมาทางชองเปดบริเวณขอบใบหรือ ปลายใบ ปจจัยที่มีผลตอการคายน้ําของพืช ไดแก ลม ความกดดันอากาศ อุณหภูมิ ความเขมของแสงสวาง ความชน้ื ในอากาศ ปริมาณนํา้ ในดนิ ขอดจี ากการคายนํา้ ของพืช 1. ชว ยใหพชื มีอุณหภมู ิลดลง 2-3°C 2. ชว ยใหพ ืชดดู น้ําและแรธาตใุ นดนิ เขาสรู ากได 3. ชวยใหพชื ลําเลียงนํา้ และแรธาตไุ ปตามสว นตางๆ ของพืชได ขอเสียจากการคายน้ําของพืซ คือ พืชคายนํ้าออกไปมากกวาที่จะนําไปใชในการ เจริญเตบิ โตและสรางผลผลติ สัตวร ักษาดุลยภาพของน้าํ และสารตา ง ๆ ในรางกายอยา งไร อวยั วะสําคญั ในการรักษาดุลยภาพของน้าํ และสารตางๆ ในรางกาย คือ ไต (Kidneys) พบในสัตวมีกระดกู สันหลงั ไตคนมีลักษณะคลายเม็ดถวั่ แดง 2 เม็ดอยูด านหลังของลาํ ตวั เมื่อผาไตจะสังเกตเห็นเนื้อไตชั้นนอกและชั้นใน ซึ่งในเนื้อไตแตละขางประกอบดวยหนวยไต (Nephron) 1 ลา นหนวย ทําหนา ทกี่ ําจัดของเสียในรูปของปส สาวะ

44 มนษุ ยม กี ารรักษาดุลยภาพของกรด-เบสในรา งกายอยา งไร การเปลี่ยนแปลงความเปนกรด-เบสมากๆ จะทําใหเอนไซม (Enzyme) ภายในเซลล หรือรางกายไมส ามารถทาํ งานได ดงั นั้นรา งกายจงึ มีกลไกการรกั ษาดุลยภาพความเปนกรด-เบส ภายในใหคงท่ี ซ่งึ มี 3 วธิ ี คือ 1. การเพ่ิมหรือลดอัตราการหายใจ ถาคารบอนไดออกไซด(CO2) ในเลือด มีปริมาณมากจะสงผลใหศูนยควบคุมการหายใจ คือสมองสวนเมดัลลาออบลองกาตา (Medulla Oblongata) สง กระแสประสาทไปสัง่ ใหก ลา มเน้อื กะบงั ลม และกลามเนือ้ ยดึ กระดูก ซ่ีโครงทํางานมากข้ึน เพื่อจะไดหายใจออกถ่ีข้ึน ทําใหปริมาณ CO2 ในเลือดลดลงถา CO2 ในเลอื ดมปี รมิ าณนอ ย จะไปยับยั้งสมองสวนเมดัลลาออบลองกาตา ซึ่งจะทําใหกลามเนื้อกะบัง ลมและกลามเนอื้ ยึดกระดูกซี่โครงทาํ งานนอ ยลง 2. ระบบบัฟเฟอร (Buffer) คอื ระบบทีส่ ามารถรักษาระดับคา pH ใหเกือบคงท่ีไวได เมื่อมีการเพิม่ ของสารท่มี ีฤทธ์ิเปนกรดหรือเบสเล็กนอยน้ําเลือด เลือดท่ีแยกสวนของเม็ดเลือด และเกล็ดเลอื ดออกแลว) ทาํ หนาทีเ่ ปน ระบบบฟั เฟอรใหกับรางกายมนษุ ย 3. การควบคุมกรดและเบสของไต ไตสามารถปรับสมดุลกรด-เบสของเลือดไดมาก โดยผา นกระบวนการผลิตปส สาวะ ระบบนจ้ี งึ มีการทํางานมาก สามารถปรบั คา pH ของเลือดที่ เปล่ยี นแปลงไปมากใหเขาสูภาวะปกตหิ รือภาวะสมดุลไดแ ตจะใชเวลานาน สิ่งมีชีวิตอ่นื ๆ มกี ารรกั ษาดลุ ยภาพของนาํ้ และแรธาตุอยา งไร การรักษาดุลภาพของสัตวแตละชนิด เพ่ือใหรางกายอยูในสภาวะสมดุล เหมาะสมตอ การดํารงชวี ิต เนื่องจากนํา้ ในรางกายจะมีความสมั พนั ธกบั ความเขม ขนของแรธาตุ และสารตาง ๆท่ีละลายอยใู นนา้ํ ดงั นั้นการรักษาดุลยภาพของนา้ํ ในรางกาย จึงมีความเกย่ี วของกับการรักษา ดลุ ยภาพของแรธ าตุ และสารตาง ๆ ดวยเชน กนั การรกั ษาดุลภาพของนาํ้ และแรธาตุในรางกาย ของสตั วมดี งั น้ี สัตวบก สัตวบกจะไดรับน้ําจากการด่ืมนํ้า และจากน้ําที่เปนสวนประกอบในอาหาร เชน ในพืชผัก ผลไม ตลอดจนนํ้าท่ีอยใู นเนอื้ สตั วต าง ๆ นอกจากนี้ยังไดรับน้ําจากกระบวนการ ยอ ยสลายสารอาหาร ตลอดจนการเผาผลาญสารอาหาร หากรางกายไดรับปริมาณมากเกินไป

45 รา งกายจะกําจดั น้าํ สว นเกนิ ออกในรปู ของเหงื่อ ไอนํ้าในลมหายใจ ปส สาวะ และอุจจาระ โดยมี ไตเปน อวัยวะหลักท่ีทําหนาท่ีควบคมุ สมดุลของนํ้า และแรธ าตใุ นรา งกาย สัตวปก นกหลายชนิดจะมีขนปกคลุม เพ่ือปองกันการสูญเสียน้ําเนื่องจากความรอน และยงั มรี ะบบการรกั ษาดุลยภาพของนํ้าดวยการขับออกในรูปปสสาวะนอกจากนี้ยังพบวานก ทะเลทกี่ นิ พืชหรือสัตวทะเลเปนอาหาร จะมีอวัยวะท่ีทําหนาที่กําจัดแรธาตุหรือเกลือสวนเกิน ออกไปจากรางกาย เรียกวา ตอมนาสิก (Nasal Gland) หรือตอมเกลือ (Salt Gland) ซ่ึงอยู บรเิ วณหวั และจมกู โดยแรธ าตุและเกลือจะถูกกําจัดออกในรูปของนํ้าเกลือ วิธีการรักษาสมดุล เชนน้ี จงึ ทาํ ใหนกทะเลตา ง ๆ สามารถดํารงชวี ิตอยไู ด แมจะบริโภคอาหารท่ีมีแรธาตุและเกลือ สูงเปน ประจาํ สตั วน ํ้าเค็ม จะมีวธิ ีการควบคุมสมดลุ นํ้าและแรธ าตุในรา งกายทแี่ ตกตางไปจากสัตวบก เน่ืองจากสัตวน้ําเค็มจะตองมีการปรับความเขมขนของเกลือแรในรางกายใหใกลเคียงกับ สภาพแวดลอม เรียกระดับความเขมขนเกลือแรภายในรางกายใหใกลเคียงกับสภาพแวดลอม วา ไอโซทอนกิ (isotonic) ซง่ึ จะชวยทําใหรางกายกับสภาพแวดลอมมีความสมดุลกันจึงไมมี การสูญเสยี นาํ้ หรือรบั นา้ํ เขา สรู า งกาย โดยสัตวน้าํ เคม็ แตล ะชนิดจะมีกลไกในการรกั ษาดุลยภาพ ท่ีแตกตางกัน ดังน้ี ในปลากระดูกออน เชน ปลาฉลาม จะมีระบบการรักษาสมดุลโดยการ พัฒนาใหม ียเู รยี สะสมในกระแสเลือดในปรมิ าณสูง จนมีความเขมขน ใกลเคยี งกบั นา้ํ ทะเลจึงไมมี การรบั นาํ้ เพิม่ หรือสญู เสียน้าํ ไปโดยไมจ าํ เปน สว นในปลากระดูกแข็งจะมเี กล็ดตามลําตัว เพื่อใชป องกนั การสูญเสียนํ้าภายในรางกาย ออกสูสภาพแวดลอ มเนือ่ งจากสภาพแวดลอมมคี วามเขมขนของสารละลายมากกวาในรางกาย และมีการขับเกลือแรออกทางทวารหนกั และในลกั ษณะปสสาวะที่มีความเขมขนสูงและมีกลุม เซลลทเ่ี หงอื กทําหนาท่ีลาํ เลยี งแรธาตุออกนอกรางกายดว ยวิธกี ารลาํ เลียงแบบใชพลงั งาน สัตวน้ําจืด มีความเขมขนของของเหลวในรางกายมากกวานํ้าจืด ด้ังน้ัน มีกลไกล การรักษาสมดลุ เชน ปลานํ้าจดื มผี ิวหนังและเกล็ดปอ งกนั การซมึ เขา ของน้ํา มีการขับปสสาวะ บอยและเจอื จาง และมอี วัยวะพิเศษทเ่ี หงือกคอยดดู เกลอื แรท จี่ ําเปนคนื สรู างกาย โพรทิสต(Protist) เชน โพรโทซัวท่ีอาศัยในนํ้าจืด จะใชวิธีการปรับสมดุลของนํ้า และของเสียท่ีเกิดข้ึนในเซลล โดยการแพรผานเยื่อหุมเซลลออกไปสูสิ่งแวดลอมโดยตรง นอกจากน้ียังใช คอนแทรกไทล แวควิ โอล (contractile vacuole) กาํ จัดสารละลายของเสีย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook