ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์กายภาพ ทวีปเอเชีย
คำนำ สื่อประกอบการเรียนการสอนในปัจจุบัน มีความหลาก หลาย และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งซึ่งสอดคล้องกับความต้องการใน การเรียนรู้ภูมิศาสตร์ทางกายภาพของทวีปเอเชียเอเชียเพื่อเป็น ตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้า และศึกษาด้วยตนเองเป็นหลักจึง พัฒนา และสร้างสื่อให้มีความน่าสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถที่ จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สื่อประกอบการเรียนการสอน E-book เล่มนี้ จึงจัดทำ เพื่อให้สอดคร้องกับความต้องการของผู้เรียน ซึ่งสื่อเล่มนี้ได้สรุป เนื้อหาในขอบข่ายของวิชาภูมิศาสตร์เน้นเนื้อหภูมิศาสตร์กายภาพ ของทวีปเอเชีย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และเพิ่มภาพประกอบ การบรรยายเพื่อให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ผู้จัดทำหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน ผู้เรียน และผู้ที่มีความสนใจทุกท่าน ไม่มากก็น้อย ขอให้มีความสุข กับการอ่านหนังสือ E-book เล่มนี้ โยษิตา ชื่นสิน
ภุมิศาสตร์ ม.1 สารบัญ หน้า / เรื่อง 1 ทวีปเอเชีย 1 ลักษณะทางกยภาพของทวีปเอเชีย 2 จุดที่อยู่ไกลที่สุดของทวีปเอเชีย 3-4 พื้นที่รอบๆของทวีปเอเชีย และพรมแดนธรรมชาติ 4-5 ภูมิภาคของทวีปเอเชีย 5-7 ลักษณะภูมิอากาศของทวีปเอเชีย 7-9 ปัจจัยที่มีผลต่อภูมิอากาศของทวีปเอเชีย 10 เครื่องมือประเภทให้ข้อมูล/ความรู้ทางภูมิศาสตร์ 10-11 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ 12-16 ชนิดของดาวเทียม 17 แบบทดสอบ 18 อ้างอิง
1 ทวีปเอเชีย ทวีปเอเชียของเรามีความหลากหลาย มากกว่าที่คิด หากเพื่อน ๆ ได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศจอร์เจีย อาจได้พบกับหนุ่มสาวผมทองตาสีฟ้า และหากไปเที่ยวประเทศ ญี่ปุ่น ก็จะได้สัมผัสกับความหนาวเย็นไม่ต่างกับทวีปยุโรป ดัง นั้น ก่อนจะออกไปท่องเที่ยวทั่วโลกกว้าง เราจึงอยากให้ทุกคน มาทำความรู้จักทวีปของเราให้ดีเสียก่อนกับบทเรียนออนไลน์ เรื่องลักษณะทางกายภาพ ภูมิอากาศ และภูมิภาคของทวีปเอเชีย ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีขนาดพื้นที่ประมาณ 44.5 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าทวีปแอฟริกาถึงครึ่ง หนึ่ง ส่วนที่เป็นแผ่นดินของทวีปเอเชียกินพื้นที่ตั้งแต่ละติจูด 11 องศาใต้ จนถึง 81 องศาเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ในเกือบทุก ละติจูดของซีกโลกเหนือ ส่วนลองจิจูดนั้น ครอบคลุมตั้งแต่ 26 องศาตะวันออก จนถึง 169 องศาตะวันตก ซึ่งกินพื้นที่เป็น บริเวณกว้างของซีกโลกตะวันออกเช่นกัน ดังนั้น หลาย ๆ คนจึง เรียกทวีปเอเชียว่า “โลกตะวันออก”
2 จุดที่อยู่ไกลที่สุดของทวีปเอเชีย จุดที่อยู่เหนือสุดบนแผ่นดินใหญ่ คือ แหลมเชลยูสกิน (Cape Chelyuskin) ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย จุดที่อยู่เหนือสุดที่แท้จริง คือ แหลมฟลิเจลี (Cape Fligeli) บนเกาะรูดอล์ฟ (Rudolf Island) ประเทศสหพันธรัฐ รัสเซีย จุดที่อยู่ใต้สุดบนแผ่นดินใหญ่ คือ แหลมปิไอ (Cape Piai) ประเทศมาเลเซีย จุดที่อยู่ใต้สุดที่แท้จริง คือ เกาะปามานา (Pamana Island) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย จุดที่อยู่ตะวันออกสุดของบนแผ่นดินใหญ่ คือ แหลมเดจนอ วา (Cape Dezhnev) ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย จุดที่อยู่ตะวันออกสุดที่แท้จริง คือ เกาะไดอะมีดใหญ่ (Big Diomede) ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย จุดที่อยู่ตะวันตกสุด คือ แหลมบาบา (Cape Baba) สาธารณรัฐตุรกี
3 พื้นที่รอบๆ ทวีปเอเชีย และ พรมแดนธรรมชาติ ทิศเหนือ ติดกับมหาสมุทรอาร์กติก โดยส่วนที่ติดกับทวีป เอเชียประกอบไปด้วยทะเล 4 แห่ง ได้แก่ ทะเลคารา (Kara Sea) ทะเลลัปเตฟ (Laptev Sea) ทะเลไซบีเรียตะวันออก (East Siberian Sea) และทะเลชุกชี (Chukchi Sea) ทิศใต้ ติดกับทะเลย่อย 3 แห่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ ทะเลเซเลเบส (Celebes Sea) ทะเลชวา (Java Sea) และ ทะเลบันดา (Banda Sea) แต่ส่วนใหญ่ติดกับมหาสมุทร อินเดีย ประกอบไปด้วยทะเลติมอร์ (Timor Sea) ที่กั้นทวีป เอเชียออกจากทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย ทะเลอันดามัน (Andaman Sea) อ่าวเมาะตะมะ (Gulf of Martaban) อ่าวเบงกอล (Bay of Bengal) ทะเลอาหรับ (Arabian Sea) อ่าวโอมาน (Gulf of Oman) อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf) และอ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ที่เป็น พรมแดนระหว่างทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา นอกจากนั้นใน ส่วนของหมู่เกาะ ยังมีแผ่นดินที่ติดกับทวีปออสเตรเลียและโอ เชียเนียอีกด้วย ทิศตะวันออก ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นมหาสมุทรที่ ใหญ่ที่สุดในโลก โดยส่วนที่ติดกับทวีปเอเชียประกอบไป ด้วยทะเลเบริง (Bering Sea) โดยกั้นระหว่างทวีปเอเชียกับ ทวีปอเมริกาเหนือ นอกจากนั้นยังมี ทะเลโอค็อตสค์ (Sea of Okhotsk) ทะเลญี่ปุ่น (Sea of Japan) ทะเลเหลือง (Yellow Sea) ทะเลจีนตะวันออก (East China Sea) ทะเล ฟิลิปปิน (Philippine Sea) และทะเลจีนใต้ (South China Sea)
4 ทิศตะวันตก แบ่งออกเป็นส่วนที่เป็นพรมแดนระหว่างทวีป เอเชียกับทวีปแอฟริกาที่ต่อมาจากอ่าวเอเดน ได้แก่ ทะเลแดง (Red Sea) คลองสุเอซ (Suez Canal) และทะเล เมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) และส่วน พรมแดนที่ขวางกั้นทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป ได้แก่ ทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ (Black Sea) เทือกเขาคอเคซัส (Caucasus Mountains) ทะเลแคสเปียน (Caspian Sea) แม่น้ำอูราล (Ural River) และเทือกเขาอูราล (Ural Mountains) ภูมิภาคของทวีปเอเชีย ทวีปเอเชียมีจำนวน ประเทศประมาณ 50 ประเทศด้วยกัน โดยบางประเทศมีดิน แดนคาบเกี่ยวระหว่างสองทวีป เพื่อน ๆ สามารถแบ่งประเทศ ออกเป็น 5 ภูมิภาคย่อยได้ ดังนี้
5 นอกจากนั้น ยังมีอีก 1 ประเทศ ที่ถือเป็นประเทศพิเศษ เพราะเป็นดินแดนที่คาบเกี่ยวกับทั้งทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย คือ สหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งมีดินแดนส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย แต่ เมื่อพิจารณาทางการเมืองการปกครองแล้ว ถือว่าประเทศนี้อยู่ใน ทวีปยุโรป ดังนั้น ในบทเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นี้ จึงบรรจุ เนื้อหาเกี่ยวกับประเทศรัสเซียไว้ด้วย ลักษณะภูมิอากาศของทวีปเอเชีย กลุ่มภูมิอากาศแบบร้อนแบ่งออกเป็น 3 แบบย่อย ได้แก่ แบบ ศูนย์สูตร มักมีฝนตกเกือบทั้งปี แบบมรสุมเขตร้อน และแบบ ร้อนชื้นสลับแล้ง โดยแบบมรสุมเขตร้อนนั้น จำนวนเดือนที่มีฝน ตกนั้นจะมากกว่าแบบร้อนชื้นสลับแล้ง (อ่านเรื่องฝนและพายุ ได้ในบทความ ฝนตกแบบนี้ พายุเป็นคนทำรึป่าว? รู้จักพายุ และชื่อเรียกจากแต่ละภูมิภาคของโลก) แม้ว่าเพื่อน ๆ จะ สามารถพบป่าดิบชื้นได้ในภูมิอากาศแบบร้อนทุกแบบย่อย แต่ จะพบป่าชนิดนี้ได้มากในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศแบบศูนย์สูตร เช่น เดียวกับป่าดิบแล้งที่จะพบได้มากในภูมิอากาศแบบมรสุมเขต ร้อน ส่วนแบบร้อนชื้นสลับแล้งนั้น สามารถพบต้นสัก มะค่า ประดู่ แดง และชิงชันในป่าโปร่งหรือป่าเบญจพรรณ รวมไป ถึงทุ่งหญ้าสะวันนาด้วย (ทุ่งหญ้ายาว) ได้มากกว่าภูมิอากาศ แบบอื่น ๆ ด้วยประเทศที่มีภูมิอากาศแบบศูนย์สูตร ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน และ มาเลเซีย ส่วนประเทศที่มี ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ได้แก่ ชายฝั่งทะเลของประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงภาคใต้และภาคตะวันออก บางส่วนของประเทศไทย ทางใต้ของประเทศลาว บางส่วนของ อินเดีย ศรีลังกา และบังคลาเทศ และประเทศที่มีภูมิอากาศ แบบร้อนชื้นสลับแล้ง ได้แก่ พื้นที่ตอนในของเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ประเทศไทยส่วนใหญ่ เมียนมา และกัมพูชา
กลุ่มภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง แบ่งออกเป็น 3 แบบย่อย แบบ 6 ทะเลทราย และแบบกึ่งทะเลทราย โดยทั้งสองแบบนั้นมี ปริมาณฝนตกน้อย แต่แบบแรกนั้นมีฝนตกน้อยกว่าแบบที่ สอง โดยเพื่อน ๆ สามารถพบทุ่งหญ้าสเต็ปป์ (ทุ่งหญ้าสั้น) รวมถึงอาจะมีการปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างฝ้าย ข้าวสาลี และ ข้าวฟ่าง ได้ในบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย ส่วน บริเวณที่มีภูมิอากาศแบบทะเลทราย จะพบพืชมีหนามอย่าง กระบองเพชร อีกทั้งยังสามารถปลูกอินทผลัมเป็นพืช เศรษฐกิจได้อีกด้วย สำหรับภูมิอากาศแบบทะเลทรายนั้น สามารถพบได้บริเวณเอเชียกลาง รวมไปถึงทะเลทราย สำคัญ 3 แห่งของทวีปเอเชีย คือ ทะเลทรายโกบี ทะเลทราย ธาร์ และทะเลทรายอาหรับ ส่วนภูมิอากาศแบบกึ่งทะเล ทราย สามารถพบได้บริเวณตอนเหนือของเอเชียกลางและ เอเชียตะวันออก ประเทศตุรกี ตอนเหนือของคาบสมุทร อาหรับ ที่ราบสูงอิหร่าน และบางส่วนของประเทศอินเดีย กลุ่มภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง แบ่งออกเป็น 3 แบบย่อย แบบ ทะเลทราย และแบบกึ่งทะเลทราย โดยทั้งสองแบบนั้นมี ปริมาณฝนตกน้อย แต่แบบแรกนั้นมีฝนตกน้อยกว่าแบบที่สอง โดยเพื่อน ๆ สามารถพบทุ่งหญ้าสเต็ปป์ (ทุ่งหญ้าสั้น) รวมถึง อาจะมีการปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างฝ้าย ข้าวสาลี และข้าวฟ่าง ได้ในบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย ส่วนบริเวณที่มี ภูมิอากาศแบบทะเลทราย จะพบพืชมีหนามอย่างกระบองเพชร อีกทั้งยังสามารถปลูกอินทผลัมเป็นพืชเศรษฐกิจได้อีกด้วย
7 สำหรับภูมิอากาศแบบทะเลทรายนั้นสามารถพบได้บริเวณ เอเชียกลาง รวมไปถึงทะเลทรายสำคัญ 3 แห่งของทวีปเอเชีย คือ ทะเลทรายโกบี ทะเลทรายธาร์ และทะเลทรายอาหรับ ส่วนภูมิ อากาศแบบกึ่งทะเลทราย สามารถพบได้บริเวณตอนเหนือของ เอเชียกลางและเอเชียตะวันออก ประเทศตุรกี ตอนเหนือของ คาบสมุทรอาหรับ ที่ราบสูงอิหร่าน และบางส่วนของประเทศอินเดีย ปัจจัยที่มีผลต่อภูมิอากาศของทวีปเอเชีย ปัจจัยที่ส่งผลให้ภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่ในทวีปเอเชียแตกต่างกัน มีดังนี้ ที่ตั้งหรือละติจูดจากแผนที่ด้านล่างนี้ จะเห็นว่าเราแบ่งเขต ลักษณะภูมิอากาศของทวีปเอเชียออกเป็น3 เขต ได้แก่ เขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว โดยประเทศที่อยู่ในเขตร้อน จะอยู่ บริเวณละติจูด 23.5 องศาใต้ ถึง 23.5 องศาเหนือ โดยเส้นที่ ลากตรงแนวละติจูด 23.5 องศาใต้ ถูกเรียกว่า เส้นทรอปิ กออฟแคปริคอร์น ส่วนเส้นที่ลากตรงแนวละติจูด 23.5 องศา เหนือ จะถูกเรียกว่า เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์
8 สำหรับเขตอบอุ่น อยู่ระหว่างละติจูด 23.5 เหนือ บริเวณแนว เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ ไปจนถึงละติจูด 66.5 องศาเหนือ บริเวณแนวเส้นที่ชื่อว่าอาร์กติกเซอร์เคิลนั่นเอง และเขต สุดท้าย คือเขตที่อยู่เหนือละติจูด 66.5 องศาเหนือหรือเหนือ แนวเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลขึ้นไป ถึงละติจูด 90 องศาเหนือ ความใกล้-ไกลจากทะเล เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะภูมิ อากาศ โดยพื้นที่ใกล้ทะเลก็มีโอกาสที่จะมีความชื้นสูงกว่าพื้นที่ที่ ห่างไกลจากทะเล ทิศทางลมประจำหากพื้นที่ของประเทศใดอยู่ในบริเวณที่ทิศทาง ของลมพัดจากแผ่นดินออกสู่ทะเล พื้นที่นั้นแห้งแล้งและไม่ค่อยมี ฝนตก ในทางกลับกัน หากพื้นที่ใดอยู่ในบริเวณที่ทิศทางของลม พัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง พื้นที่บริเวณนั้นย่อมมีแนวโน้มที่จะมีฝน ตกหนักนั่นเอง การวางตัวของภูเขาโดยภูเขาที่วางตัวเป็นแนวทิวเขาหรือเทือกเขา อาจขวางกั้นลมและความชื้นที่พัดเข้ามาในบริเวณต่าง ๆ เช่น หากบ้านของเพื่อน ๆ ไม่ได้ไกลจากทะเลมากนัก และมีลมประจำ ที่พัดจากทะเลเข้ามาที่บ้าน แต่ดันมีภูเขามาใหญ่ขวางกั้นไว้ ก็อาจ ส่งผลให้ความชื้นและลมพัดมาไม่ถึงบ้านของเพื่อน ๆ ก็เป็นได้ การวางตัวของภูเขาที่ขวางแนวลมเช่นนี้ ทำให้มีด้านหนึ่งของภูเขา เป็นด้านรับลม ที่เกิดฝนตกและมีความชุ่มชื้นมากกว่า ส่วนด้าน หลัง เราจะเรียกว่าเขตเงาฝน ซึ่งจะมีความแห้งแล้งมากกว่า นั่นเอง
9 ความสูงยิ่งสูงยิ่งหนาวไม่ใช่แค่สำนวน แต่คือความจริงทาง วิทยาศาสตร์ อย่างในประเทศไทยเองก็มีภูเขาและทิวเขา กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมักจะมีอากาศหนาวกว่าบริเวณ ที่ราบลุ่ม กระแสน้ำกระแสน้ำบนโลกนี้มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ กระแสน้ำ อุ่น และกระแสน้ำเย็น ซึ่งบริเวณไหนที่มีกระแสน้ำอุ่นไหลผ่าน จะมีความชื้นสูงกว่าส่วนบริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่านจะมี ความแห้งแล้งมากกว่า ปัจจัยอื่น ๆ เช่นพายุหมุนเขตร้อน ที่อาจทำให้เกิดฝนตกมากขึ้น
10 เครื่องมือประเภทที่ให้ข้อมูล/ความรู้ ทางภูมิศาสตร แผนที่ (Map) รูปถ่ายทางอากาศ (aerial photograph ) ภาพถ่ายจากดาวเทียม (Satellite Image) ตําราเรียนภูมิศาสตร์ อินเทอร์เน็ต ลูกโลกจําลอง เนื่องจากในสมัยโบราณ มนุษย์เชื่อว่าโลกมี สัณฐานแบน จนกระทั่ง มีการสังเกตลักษณะต่างๆ เช่น เรือที่ แล่น ออกจากฝั่งในระยะไกลๆ ออกไป เรือจะ ค่อยๆ จมลงตํ่า กว่าระดับนํ้าทะเล และ หายไปจากเส้นขอบฟ้ า กล่าวไว้ว่านัก เดินเรือชาวเยอรมัน ชื่อ มาร์ติน เบไฮม์ (Martin Behaim) เป็ นผู้สร้างลูกโลกขึ้ น เป็ นคนแรกในพ.ศ. 2035 การสร้าง ลูกโลก ทําให้มนุษย์มีความรู้และความ เข้าใจเกี่ยวกับสัณฐาน ของโลกมากขึ้ น เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลทาง ภูมิศาสตร์ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทําหน้าที่เพื่อสํารวจ เก็บ รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ระบบกําหนดตําแหน่งบนพื น้ โลก(Global Positioning System:GPS) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Geographic Information System:GIS ) การรับรู้จากระยะไกล(Remote Sensing: RS) เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ
11 เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลทาง ภูมิศาสตร์ เข็มทิศ(Compass) บารอมิเตอร์ (barometer) เครื่องวัดระยะทางในแผนที่ (map measurer) กล้องสามมิติ (Mirror Stereoscope) เครื่องวัดพื้นที่ (Planimeter) กล้องวัดระดับ(Theodolite) เครื่องวัดฝนแบบจดบันทึก (Rainfall Recorders) เครื่องมือวัดอุณหภูมิของอากาศ เช่น ไซโครมิเตอร์(Dry-WetBulbspsychrometer)และเทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) เครื่องวัดนํ้าระเหยแบบถาด (American Class A Pan) เครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer)
12 ชนิดของดาวเทียม ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ดาวเทียมบอกตําแหน่ง ดาวเทียมทําแผนที่ ดาวเทียมภารกิจพิเศษ 1.ดาวเทียมสื่อสาร ส่วนใหญ่เป็นดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า (Geo-stationary Orbit) เพื่อ ถ่ายทอดสัญญาณจากทวีปหนึ่งไปยังอีกทวีปหนึ่ง ข้ามส่วนโค้งของโลก ดาวเทียมค้างฟ้า 1 ดวง สามารถส่ง สัญญาณครอบคลุมพื้นที่การ ติดต่อประมาณ 1/3 ของผิวโลก และถ้าจะให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก จะต้องใช้ดาวเทียมในวง โคจรนี้ อย่างน้อย 3 ดวง อย่างไรก็ตาม ดาวเทียมวงโคจรค้าง ฟ้ าจะลอยอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรโลกเท่านั้น ดังนั้นสัญญาณ จะไม่สามารถครอบคลุมบริเวณขั้วโลกได้เลย ดาว ประเภทนี้ เช่น Intelsat, Thaicom
13 2.ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร เป็นดาวเทียมวงโคจรตํ่าที่มีวงโคจรแบบใกล้ขั้วโลก (Near Polar Orbit) ที่ระยะสูงประมาณ 800 กิโลเมตร จึงไม่มีราย ละเอียดสูงเท่า ภาพถ่ายที่ได้จากดาวเทียมทําแผนที่ เพราะเน้น การครอบคลุมพื้ นที่ เป็ นบริเวณกว้าง หลักการที่สําคัญของดาวเทียมสํารวจทรัพยากร คือ Remote Sensing โดยใช้คลื่นแสงที่เป็ นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้ า (EME : Electro - Magnetic Energy) ทําหน้าที่เสมือนสื่อกลางส่ง ผ่านระหว่างวัตถุ เป้ าหมาย และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล อุปกรณ์ ถ่ายถาพที่ติดตั้งอยู่บน ดาวเทียม ครูรุจน์ หาเรือนทรง 55 ดาวเทียมสํารวจทรัพยากรที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ LandSat, Terra และ Aqua (MODIS Instruments) ดาวเทียม สํารวจทรัพยากรของไทยมี ชื่อว่า ธีออส (Theos)
14 3.ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ สภาพ ภูมิอากาศด้วยภาพถ่ายเรดาร์ (Radar) และภาพถ่ายอิน ฟาเรด (Infared) มีวงโคจรหลายระดับขึ้ นอยู่กับการออกแบบใน การใช้งาน ดาวเทียม NOAA มีวงโคจรตํ่าถ่ายภาพรายละเอียดสูง ดัง ส่วน ดาวเทียม GOES และ MTSAT มีวงโคจรค้างฟ้ าอยู่ที่ ระดับสูงถ่ายภาพ มุมกว้างครอบคลุมทวีปและมหาสมุทรดังภาพที่ 4 นักอุตุนิยมวิทยา ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการพยากรณ์อากาศและ ติดตามการเคลื่อนที่ ของพายุจึงสามารถช่วยป้ องกันความเสียหาย และชีวิตคนได้เป็นจํานวนมาก ดาวเทียม MTSAT-1R ดาวเทียมบอกตําแหน่ง 4.ดาวเทียมบอกตําแหน่ง Global Positioning System \"GPS\" เป็ นระบบบอกตํา แหน่งพิกัด ภูมิศาสตร์บนพื้ นโลก ซึ่งประกอบด้วยเครือข่าย ดาวเทียมจํานวน 24 ดวง โคจรรอบโลกในทิศทางต่างๆ ที่ ระยะสูง 20,000 กิโลเมตรส่ง สัญญาณมาบนโลกพร้อมๆ กัน แต่เนื่องจากดาวเทียมแต่ละดวงอยู่ ห่างจากเครื่องรับบนพื้ น โลกไม่เท่ากันเครื่องรับจึงได้รับสัญญาณจาก ดาวเทียมแต่ละ ดวงไม่พร้อมกัน วงจรอิเล็คทรอนิกส์ในเครื่องรับ GPS นําค่า เวลาที่แตกต่างมาคํานวณหาพิกัดภูมิศาสตร์บนพื้ นโลก ปัจจุบัน เครื่องรับ GPS เป็ นที่นิยมใช้กันในหมู่นักเดินทางมี ทั้งแบบมือถือ ติดตั้ง บนรถ เรือ และเครื่องบิน
15 5.ทําแผนที่ เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรตํ่า (LEO) ที่ระดับความสูงไม่ เกิน800 กิโลเมตร เพื่อให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดสูง และ เป็ นดาวเทียมที่ มีวงโคจรใกล้ขั้วโลก (Polar orbit) เพื่อ ให้สแกนพื้ นผิวถ่ายภาพ ได้ครอบคลุมทุกพื้ นที่ของโลก ภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้สามารถ นําไปใช้ในการทําแผนที่ ผังเมือง และการทําจารกรรมสอดแนม ทางการทหาร ซึ่ง ถ่ายโดยดาวเทียม GeoEye-1 ที่ความสูง 680 กิโลเมตร ความเร็วในวงโคจร 27,359 กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง ดาว เทียมทําแผนที่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Ikonos, QuickBird ซึ่ง สามารถดูภาพแผนที่ใน Google Maps
16 6.ดาวเทียมภารกิจพิเศษ นอกจากดาวเทียมทั่วไปที่ใช้งานเกี่ยวข้องกับชีวิตประจํา วันตามที่ กล่าวไปแล้ว ยังมีดาวเทียมอีกหลายชนิดที่ส่งขึ้น ไปเพื่อปฏิบัติภารกิจ พิเศษเฉพาะทาง เช่น ดาวเทียมเพื่อ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ กล้อง โทรทรรศน์อวกาศ ดาวเทียมจารกรรม ดาวเทียมทาง ทหาร ดาวเทียม ประเภทนี้ มีระยะสูงและรูปแบบของวงโคจรต่างๆ กันขึ้ นอ ยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน คือ ดาวเทียม Coronaซึ่งใช้ สําหรับการลาดตระเวนทางทหาร
แบบทดสอบ 17 1.การศึกษาลักษณะภูมิประเทศของทวีปเอเชียควรเลือกใช้เครื่องมือ ชนิดใด ก.รูปถ่ายทางอากาศ ข.เข็มทิศ ค.แผนที่ภาพ ง.เครื่องจีพีเอส 2.แม่น้ำสายใด ขึ้นชื่อว่าเป้นแม่น้ำนานาชาติ ในทวีปเอเชีย ก.ฮวงโห ข.สินธุ ค.โขง ง.แดง 3.แม่น้ำสายใดที่ยาวที่สุดในเอเชีย ง.แดง ก.ฮวงโห ข.สินธุ ค.โขง 4.เทือกเขาสูงทวีปเอเชียส่วนใหญ่อยู่บริเวณใด ก.ตอนกลางของทวีป ข.ตอนเหนือของทวีป ค.ตอนใต้ของทวีป ง.ตะวันออกของทวีป 5.ข้อใดไม่ใช่ภูมิอากาศเขตร้อนชื้นหรือป่าเขตร้อน ก.มีอุณหภูมิสูง ข.อากาศหนาวเย็น ค.ฝนตกสม่ำเสมอ ง.ไม่มีฤดูแล้ง
อ้างอิง 18 ลักษณะภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย(2547)(online)เข้าได้ถึง จhาtกmht(tวัpน:/ที/่คw้นwคwว้า.s0a9tiสtิง.uหpาค.aมc.2t5h6/5B )BC07/AroundTheWorld/geo/24. ภูมิศาสตร์เอเชีย(2565)(online)เข้าได้ถึงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/(วันที่ค้นคว้า10 สิงหาคม 2565) ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์.ม.ป.ป.ประเภทของ ดาวเทียม(online).http://www.lesa.biz/astronomy/spacetechnolo gy/satellite/types-of-satellites(วันที่ค้นคว้า 10สิงหาคม2565) กิติศักดิ ท์ ิตย์สีแสง. ม.ป.ป. หลักการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศ และ แผนที่”(online).http://www.dnp.go.th/train/cms/images/stories /training4/Final_ (วันที่ค้นคว้า11สิงหาคม2565)
ผู้จัดทำ นางสาว โยษิตา ชื่นสิน รหัส 65181100320 คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ สาขา สังคมศึกษา
ภูมิศาสตร์ ม.1
Search
Read the Text Version
- 1 - 24
Pages: