เลือกสีอย่างไรให้ปัง COLOR SCHEMES
HUE คือ เฉดสี เช่น เฉดสีแดงใน PRIMARY COLOR ของวงล้อสี TINTS คือ การเพิ่มความสว่างขึ้นไป หรือเติมสีขาวลงไปใน HUE SHADES คือ การเพิ่มความมืดลงไป หรือเติมสีดำลงไปใน HUE TONES คือ การเพิ่มความคล้ำเข้าไป หรือเพิ่มสีเทา (เกิดจากสีดำและขาวผสมในสัด ส่วนเท่าๆกัน) ลงไปใน HUE ทำให้ความอิ่มตัวเพิ่มหรือลดลง ซึ่งใน HUE เดียวกันเราสามารถปรับค่า TONE TINT หรือ SHADES ได้ เพื่อที่จะให้ ได้สีตามความต้องการโดยถือว่าเป็น HUE เดียวกันอยู่ แต่จะมีความสว่างหรือความอิ่มตัว มากน้อยเท่านั้นเอง
COLOR HARMONIES & COLOR SCHEMES
การใช้สีจากวงล้อสีนั้นสามารถสร้างเฉดสี หรือ การผสมผสานชุดสีใหม่ๆเพื่อนำไปในในงานออกแบบ ได้หลากหลายแต่การที่จะต้องมานั่งลองนั่งเลือกสีทีละ สีมาจับคู่กันเพื่อจะดูว่าสีที่เลือกนั้นเข้ากันได้ดี และ เหมาะกับงานออกแบบของเรารึเปล่านั้นย่อมต้องใช้ เวลานาน หรืออาจจะกล่าวได้ว่าต้องเสียเวลาไปกว่า ครึ่งค่อนวัน จริงๆแล้วในการเลือกสีจากวงล้อนั้นมี ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอยู่ ที่เรียกกันว่า COLOR HARMONIES ซึ่งเป็นทฤษฎีที่คำนึงถึงเรื่องของการเข้า กันของสี (HARMONY) หรือความเปรียบต่างกันของสี (CONTRAST) จนแบ่งออกเป็น 6 แบบ ที่เรียกว่า COLOR SCHEMES ได้ดังนี้
1. MONOCHROMATIC COLOR SCHEME
การใช้เฉดสีเดียว หมายถึงการที่เราจะตั้งสีหลักที่จะใช้เพียงแค่สีเดียว และเพิ่ม หรือลดความสว่างโดยการใส่สีขาว,เทาและดำลงไปให้เป็นความสว่างหรือความ อิ่มตัวที่แตกต่างเพื่อเพิ่มเฉดสีจากสีหลักสำหรับเลือกใช้งานได้มากขึ้น การเลือก ใช้เฉดสีเดียวจะมีความเรียบง่ายและรู้สึกสบายตาเวลามองการที่เราจะใช้สีหลัก หลายๆคู่สีบางครั้งอาจทำให้เกิดความสับสนหรือแสบตาทำให้ไม่สามารถโฟกัส สาระที่ต้องการจะสื่อได้ชัดเจน
2.ANALOGOUS COLOR SCHEME การใช้เฉดสีใกล้เคียงกัน คือการใช้สี 3 สีที่อยู่ติดกันในวงล้อสี โดยเราจะตั้งสีหลัก ก่อน 1 สีจากนั้นนับไปอีก 2 สีข้างเคียง ในวงล้อสีโดยคำว่าเฉดสีใกล้เคียงกันนั้นสี ที่เลือกอีก 2 เฉดสีนั้นจะต้องมีความ กลมกลืนและเข้ากันได้ดีการใช้เฉดสีใกล้ เคียงกันนี้จะทำให้งานมีความหลากลาย มากกว่าทำให้สามารถแยกความแตกต่าง ขององค์ ประกอบต่างๆได้ดีกว่าการใช้สี เพียงเฉดสีเดียว
3.COMPLEMENTARY COLOR SCHEME การใช้เฉดสีคู่ตรงข้าม คือการจับคู่สีที่อยู่ตำแหน่งตรงข้ามกันของสีในวงล้อสี ซึ่งโดยปกติแล้วการจับคู่สีแบบนี้จะเป็นเฉดสีในกลุ่มสีขั้นที่ 1 และเฉดสีในสีขั้นที่ 2 อาธิเช่น สีน้ำเงินกับสีส้ม, สีแดงกับสีเขียว และสีเหลืองกับสีม่วง เป็นต้น
การจัดเฉดสีแบบนี้มักจะได้คู่สีที่มี CONTRAST (ความเปรียบต่าง) ค่อนข้างสูงยิ่งการเลือกใช้สีที่มีความสดสูงมาจับเฉดสีร่วมกันจะยิ่ง ทำให้ผู้ใช้งานนั้นไม่สบายตาดังนั้นหากต้องการใช้วิธีจัดคู่สีแบบนี้ควร จะต้องใช้การเพิ่มหรือลดความสว่างโดยการใส่สีขาว,ดำ หรือสีเทา สำหรับความอิ่มตัวเพื่อลดความสดของสีนั้นๆลง
4.TRIADIC COLOR SCHEME การเลือกใช้สีแบบสมดุลย์ คือการเลือกใช้สีในรูปแบบสามเหลี่ยมในวงล้อสี โดยสีทั้ง 3 สีจะอยู่ห่างในระยะที่เท่าๆกันการใช้เฉดสีนี้สามารถจับคู่สีได้ทุกสีในวงล้อ(แต่จะ ต้องเป็นการจับคู่ในสมดุลย์ของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า) อาธิเช่น สีแดง,สีเหลือง และ สีน้ำเงิน หรือ สีม่วง,สีเขียว และสีส้ม เป็นต้น
การจัดชุดสีแบบ TRIADIC ส่วนใหญ่จะได้ชุดสีที่มีสีสันที่สดใสอาจ ทำให้ยากต่อการปรับบาลานซ์ ความสมดุลย์ของสีในการใช้งาน ทาง แก้ไขคือควรกำหนดสีใดสีหนึ่งเป็นสีหลักส่วนสีอื่นๆที่เหลือใช้เป็นสีเฉ พาะจุดๆไป เพราะหากเราใช้สีทั้ง 3 ในสัดส่วนที่เท่ากันจะทำให้สีทั้ง 3 ที่มีความโดดเด่นแย่งสายตากันเป็นจุดสนใจ
5. SPLIT-COMPLEMENTARY COLOR SCHEME SPLIT-COMPLEMENTARY COLOR SCHEME ประกอบด้วย 1 สีหลักและ 2 สีรอง โดย 2 รองจะอยู่สีข้างซ้าย และขวาของสีคู่ตรงข้ามกับสีหลักหลัก การนี้ชุดสีที่ได้ค่อนข้างมีความเปรียบ ต่างสูง(CONTRAST) เหมือนการใช้ หลักการของการจับคู่สีตรงข้ามแต่จะ ให้ความรู้สึกผ่อนคลายมากกว่า
ภาพตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่ามีการใช้ หลักการใช้เฉดสีใกล้เคียงกัน (ANALOGOUS COLOR SCHEME) มา ใช้นั่นคือการเพิ่มสีม่วงลงไปในชุดสี ด้วยเพื่อลดความ CONTRAST ลง SPLIT-COMPLEMENTARY COLOR SCHEME จะเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้น ศึกษาและลองใช้ทฤษฎีสีในการ ออกแบบงาน เนื่องจากเป็นหลักการที่ จะทำให้ชุดสีที่ได้ไม่ออกนอกกรอบจน เกินไป
6. TETRADIC COLOR SCHEME เป็นที่รู้จักในอีกชื่อคือ DOUBLE- COMPLEMENTARY COLOR SCHEME หรือ RECTANGULAR COLORS SCHEME หลักการนี้ใช้คู่สีแบบคู่สีตรงข้าม (COMPLEMENTARY COLOR) 2 คู่ เรียง กันคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า จึงมีเฉดสีให้ เลือกถึง 4 สีที่แตกต่างกันแต่อาจเกิด ปัญหาได้หากสีมีความแตกต่างกันมาก เกินไป เช่น อาจจะทำให้นักออกแบบ สับสนและออกแบบหลุดจากที่คิดไว้ วิธี ป้ องกันคือให้เลือกสีหลัก 1 สีและใช้สี อื่นๆเป็นสีรอง
THANK YOU! ที่มา WHAT IS A COLOR SCHEME: DEFINITIONS, TYPES, AND EXAMPLES COMPLETE GUIDE TO COLOR IN DESIGN: COLOR MEANING, COLOR THEORY, AND MORE COLOR HARMONIES DESIGN JARGON EXPLAINED: 6 COLOUR SCHEMES
4 นิ้ว 6 นิ้ว
Search
Read the Text Version
- 1 - 23
Pages: