Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 35. social 1. 21001

35. social 1. 21001

Published by kungchay17, 2020-12-14 03:20:23

Description: 35. social 1. 21001

Search

Read the Text Version

หนังสือเรียนสาระการพฒั นาสังคม รายวชิ าสงั คมศึกษา (สค21001) ระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน หลักสตู รการศึกษานอกระบบระดบั การศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ. 2560) หามจําหนาย หนงั สือเรียนเลมน้ี จัดพมิ พด วยเงนิ งบประมาณแผนดนิ เพือ่ การศึกษาตลอดชีวติ สําหรบั ประชาชน ลขิ สทิ ธิ์เปน ของ สาํ นกั งาน กศน. สํานักงานปลัดกระทรวงศกึ ษาธกิ าร สํานกั งานสงเสริมการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั สาํ นกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธกิ าร

หนงั สอื เรียนสาระการพัฒนาสงั คม รายวชิ าสังคมศึกษา (สค21001) ระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ. 2560) เอกสารทางวิชาการลาํ ดับท่ี 36/2557

คาํ นาํ สํานกั งานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ไดด ําเนินการจัดทําหนังสือ เรยี นชุดใหมน ีข้ ึน้ เพ่ือสาํ หรับใชใ นการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขน้ั พน้ื ฐานพทุ ธศักราช 2551 ท่ีมีวัตถุประสงคในการพัฒนาผูเ รียนใหมีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปญญา และศักยภาพในการประกอบอาชีพการศึกษาตอ และสามารถดํารงชีวติ อยูในครอบครัว ชมุ ชน สังคมได อยา งมีความสุขโดยผูเรียนสามารถนําหนังสือเรียนไปใชดว ยวิธีการศึกษาคน ควา ดวยตนเอง ปฏิบัติ กิจกรรม รวมทัง้ แบบฝก หัด เพอ่ื ทดสอบความรูค วามเขาใจในสาระเน้อื หา โดยเม่ือศึกษาแลว ยังไมเ ขาใจ สามารถกลับไปศึกษาใหมไ ด ผูเรยี นอาจจะสามารถเพ่ิมพูนความรูห ลังจากศึกษาหนังสือเรียนนี้ โดยนํา ความรไู ปแลกเปลยี่ นกบั เพอ่ื นในชนั้ เรยี น ศึกษาจากภูมิปญ ญาทองถิน่ จากแหลงเรยี นรูและจากส่อื อื่น ๆ ในการดาํ เนนิ การจดั ทาํ หนงั สอื เรยี นตามหลกั สูตรการศกึ ษานอกระบบระดับการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน พุทธศักราช 2551 ไดร บั ความรวมมอื ทด่ี จี ากผทู รงคุณวุฒิและผูเก่ียวขอ งหลายทา นท่ีคนควาและเรียบเรียง เนื้อหาสาระจากส่ือตา ง ๆ เพื่อใหไดส ื่อท่ีสอดคลอ งกับหลักสูตรและเปนประโยชนต อผูเ รียนท่ีอยู นอกระบบอยางแทจริง สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ขอขอบคุณ คณะทปี่ รกึ ษา คณะผเู รียบเรยี ง ตลอดจนคณะผูจัดทาํ ทกุ ทานท่ีไดใหค วามรวมมือดว ยดีไว ณ โอกาสนี้ สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หวังวาหนังสือเรียนชุดน้ี จะเปนประโยชนใ นการจัดการเรียนการสอนตามสมควร หากมีขอเสนอแนะประการใด สํานักงาน สงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ขอนอ มรบั ไวดวยความขอบคุณยิง่ สํานักงาน กศน. กันยายน 2557

สารบัญ หนา คาํ นํา คาํ แนะนํา โครงสรางรายวชิ าสงั คมศึกษา (สค21001) ขอบขา ยเนอื้ หา บทที่ 1 ภูมิศาสตรก ายภาพทวีปเอเชีย...............................................................1 เรื่องที่ 1 ลกั ษณะทางภูมศิ าสตรก ายภาพของประเทศ ในทวปี เอเชยี .............................................................................. 3 เรื่องที่ 2 การเปล่ียนแปลงสภาพภมู ศิ าสตรก ายภาพ.................................. 9 เร่ืองที่ 3 วิธีใชเคร่ืองมอื ทางภมู ิศาสตร ....................................................17 เร่ืองที่ 4 สภาพภมู ิศาสตรกายภาพของไทย ทส่ี งผลตอทรัพยากรตาง ๆ .......................................................23 เร่ืองท่ี 5 ความสําคัญของการดาํ รงชวี ติ ใหส อดคลอ ง กบั ทรัพยากรในประเทศ ...........................................................29 บทที่ 2 ประวัติศาสตรท วีปเอเชีย....................................................................41 เรือ่ งท่ี 1 ประวตั ศิ าสตรส ังเขปของประเทศในทวปี เอเชีย.........................43 เร่ืองที่ 2 เหตกุ ารณส าํ คัญทางประวตั ิศาสตรทีเ่ กิดขน้ึ ในประเทศไทย และประเทศในทวีปเอเชยี .........................................................62 เรื่องท่ี 3 พระราชกรณยี กิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช (รชั กาลท่ี 9) และสมเดจ็ พระนางเจาสิริกติ ์ิ พระบรมราชนิ นี าถ ทส่ี งผลตอ การเปลีย่ นแปลงของประเทศไทย..............................82 บทที่ 3 เศรษฐศาสตร.................................... ...............................................109 เรือ่ งที่ 1 ความหมายความสําคญั ของเศรษฐศาสตรมหภาค และจุลภาค.............................................................................110 เรอ่ื งที่ 2 ระบบเศรษฐกจิ ในประเทศไทย................................................112 เรอื่ งที่ 3 คุณธรรมในการผลิตและการบริโภค........................................125 เรอ่ื งที่ 4 กฎหมายและขอมูลการคมุ ครองผบู รโิ ภค................................127 เรอ่ื งท่ี 5 ระบบเศรษฐกิจของประเทศตา ง ๆ ในเอเชีย...........................130 เรื่องท่ี 6 ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซยี น....................................................135

สารบัญ (ตอ ) บทที่ 4 การเมืองการปกครอง.............................................................................. 146 เรื่องท่ี 1 การเมอื งการปกครองทใี่ ชอ ยูในปจ จบุ นั ของประเทศไทย .....................................................................147 เรอ่ื งท่ี 2 เปรยี บเทยี บรปู แบบทางการเมอื งการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยและระบบอืน่ ๆ.....................................158 แนวเฉลยกจิ กรรม ……………………………………………………………………………………….167 บรรณานกุ รม ……………………………………………………………………………………….175 คณะผูจัดทาํ ……………………………………………………………………………………….179

คาํ แนะนาํ ในการใชห นงั สือเรยี น หนังสือสาระการพัฒนาสังคม รายวิชาสังคมศึกษา (สค21001) ระดับมัธยมศึกษาตอนตน เปนหนังสือเรียนที่จัดทําขึ้นสําหรับผูเรียนท่ีเปนนักศึกษานอกระบบในการศึกษาหนังสือสาระ การพัฒนาสงั คม รายวิชาสงั คมศึกษา (สค21001) ระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน ผเู รยี นควรปฏิบัติ ดังนี้ ศึกษาโครงสรางรายวิชาใหเ ขา ใจในหัวขอและสาระสําคัญ ผลการเรียนรูท่ีคาดหวัง และขอบขาย เน้อื หาของรายวิชานั้น ๆ โดยละเอยี ด 1. ศึกษารายละเอียดเนอ้ื หาของแตล ะบทอยางละเอียด และทํากจิ กรรมตามทกี่ าํ หนด แลว ตรวจสอบกบั แนวตอบกจิ กรรมตามที่กําหนด ถา ผูเรยี นตอบผดิ ควรกลับไปศึกษาและทําความเขา ใจ ในเน้อื หานน้ั ใหมใ หเขาใจ กอ นทจี่ ะศกึ ษาเรอื่ งตอ ๆ ไป 2. ปฏิบัติกิจกรรมทายเร่ืองของแตละเรื่อง เพื่อเปน การสรุปความรู ความเขาใจของเนื้อหา ในเรอ่ื งนนั้ ๆ อีกครง้ั และการปฏิบัตกิ ิจกรรมของแตละเนอ้ื หา แตล ะเร่อื ง ผูเ รยี นสามารถนาํ ไปตรวจสอบ กบั ครแู ละเพอื่ น ๆ ทรี่ ว มเรียนในรายวชิ าและระดับเดียวกนั ได 3. หนงั สอื เรยี นเลมน้มี ี 4 บท คอื บทที่ 1 ภมู ศิ าสตรก ายภาพทวปี เอเชยี บทท่ี 2 ประวตั ศิ าสตรทวีปเอเชีย บทที่ 3 เศรษฐศาสตร บทที่ 4 การเมอื งการปกครอง

โครงสรา งรายวชิ าสังคมศึกษา (สค21001) สาระสาํ คญั การศึกษาเรียนรูเก่ียวกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดลอ มทางกายภาพทั้งของประเทศไทย และทวีปเอเชีย วิวัฒนาการความสัมพันธของมนุษยก ับส่ิงแวดลอ ม การจัดการทรัพยากรท่ีมีอยูอยา ง จํากัด เพ่ือใหใ ชอยางเพียงพอในการผลิตและบริโภค การใชขอ มูลทางประวัติศาสตรเพื่อวิเคราะห เหตกุ ารณใ นอนาคต การเรียนรเู รื่องการเมืองการปกครอง สามารถนําไปใชป ระโยชนในการดําเนินชีวิต ประจาํ วันได ผลการเรยี นรทู คี่ าดหวงั 1. อธิบายขอ มูลเก่ียวกับภูมิศาสตร ประวัติศาสตร เศรษฐศาสตร การเมืองการปกครองที่ เกี่ยวของกับประเทศในทวีปเอเชยี 2. นําเสนอผลการเปรียบเทียบสภาพภูมิศาสตร ประวัติศาสตร เศรษฐศาสตร การเมือง การปกครองของประเทศในทวปี เอเชยี 3. ตระหนกั และวิเคราะหถ ึงการเปล่ียนแปลงที่เกิดข้ึนกับประเทศในทวปี เอเชยี ทมี่ ีผลกระทบตอ ประเทศไทย ขอบขา ยเนือ้ หา บทท่ี 1 ภูมิศาสตรก ายภาพทวปี เอเชีย เรอื่ งท่ี 1 ลักษณะทางภมู ศิ าสตรกายภาพของประเทศในทวปี เอเชีย เร่อื งที่ 2 การเปล่ียนแปลงสภาพภมู ิศาสตรก ายภาพ เรอ่ื งท่ี 3 วิธีใชเครอื่ งมือทางภมู ศิ าสตร เรอ่ื งที่ 4 สภาพภูมิศาสตรกายภาพของไทยทส่ี งผลตอทรพั ยากรตาง ๆ เร่ืองท่ี 5 ความสําคญั ของการดํารงชีวิตใหส อดคลอ งกับทรพั ยากรในประเทศ บทที่ 2 ประวตั ศิ าสตรทวปี เอเชีย เรื่องท่ี 1 ประวตั ศิ าสตรสังเขปของประเทศในทวีปเอเชีย เรื่องที่ 2 เหตุการณสําคัญทางประวัตศิ าสตรทเี่ กดิ ขน้ึ ในประเทศไทยและ ประเทศในทวปี เอเชยี เรือ่ งท่ี 3 พระราชกรณยี กิจของพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช (รัชกาลท่ี 9) และสมเดจ็ พระนางเจาสิริกิติ์ พระบรมราชนิ นี าถ ท่ีสงผล ตอการเปล่ียนแปลงของประเทศไทย

บทท่ี 3 เศรษฐศาสตร เร่อื งท่ี 1 ความหมายความสําคญั ของเศรษฐศาสตรมหภาคและจุลภาค เรื่องที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในประเทศไทย เรอ่ื งท่ี 3 คุณธรรมในการผลติ และการบรโิ ภค เรื่องท่ี 4 กฎหมายและขอ มูลการคุมครองผูบรโิ ภค เรื่องท่ี 5 ระบบเศรษฐกจิ ของประเทศตา ง ๆ ในเอเชยี เรอ่ื งท่ี 6 ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซยี น บทท่ี 4 การเมอื งการปกครอง เรอ่ื งท่ี 1 การเมืองการปกครองทใ่ี ชอ ยใู นปจ จุบนั ของประเทศไทย เรอ่ื งที่ 2 รูปแบบการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยและระบบอื่น ๆ สื่อประกอบการเรียนรู 1. หนังสือเรียนรายวิชาสังคมศึกษา สาระการพัฒนาสังคม ระดับมัธยมศึกษาตอนตน หลักสตู รการศกึ ษานอกระบบและระดับการศึกษาขัน้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2. เครือ่ งมือทางภมู ศิ าสตร เชน แผนที่ ลูกโลก เข็มทิศ รูปถา ยทางอากาศและภาพถาย จากดาวเทยี ม 3. เวบ็ ไซต 4. หนังสือพิมพ วารสาร เอกสารทางวิชาการตามหองสมุดและแหลงเรียนรูใ นชุมชน และหองสมุดประชาชน หอ งสมุดเฉลิมราชกุมารใี นทองถิ่น

1 บทท่ี 1 ภมู ศิ าสตรกายภาพทวีปเอเชยี สาระสําคัญ ภูมิศาสตรกายภาพ คือวิชาท่ีเกี่ยวของกับลักษณะการเปล่ียนแปลงของสิ่งแวดลอม ทางกายภาพ (Physical Environment) ท่ีอยูรอบตัวมนุษย ทั้งสวนท่ีเปนธรณีภาค อุทกภาค บรรยากาศภาค และชีวภาค ตลอดจนความสัมพันธทางพื้นที่ (Spatial Relation) ของสิ่งแวดลอม ทางกายภาพตาง ๆ ดงั กลาวขา งตน การศกึ ษาภูมศิ าสตรท างกายภาพทวีปเอเชียทําใหสามารถวิเคราะหเหตุผลประกอบกับการ สังเกตพิจารณาสิ่งที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคตาง ๆ ของทวีปเอเชียไดเปนอยางดี การศึกษา ภูมิศาสตรกายภาพแผนใหมตองศึกษาอยางมีเหตุผล โดยอาศัยหลักเกณฑทางภูมิศาสตรหรือ หลกั เกณฑสถติ ิ ซง่ึ เปน ขอ เทจ็ จริงจากวชิ าในแขนงท่ีเกยี่ วของกันมาพิจารณาโดยรอบคอบ ผลการเรียนรูท่คี าดหวัง 1. อธิบายลกั ษณะทางภูมศิ าสตรก ายภาพของประเทศในทวีปเอเชียได 2. มคี วามรทู างดานภูมศิ าสตรก ายภาพ สามารถเขาใจสภาพกายภาพของโลกวา มอี งคประกอบและมกี ารเปลยี่ นแปลงที่มผี ลตอสภาพความเปน อยูของมนษุ ยอ ยางไร 3. สามารถอธิบายการใชแ ละประโยชนของเคร่ืองมอื ทางภมู ิศาสตรไ ด 4. อธบิ ายความสมั พนั ธของสภาพภูมิศาสตรกายภาพของไทยที่สงผลตอทรัพยากรตาง ๆ และสงิ่ แวดลอ มได 5. อธิบายความสัมพันธของการดํารงชีวิตใหสอดคลองกับทรัพยากรในประเทศไทย และประเทศในทวปี เอเชียได ขอบขายเนอื้ หา เร่อื งท่ี 1 ลกั ษณะทางภูมศิ าสตรก ายภาพของประเทศในทวีปเอเชยี 1.1 ทต่ี งั้ และอาณาเขต 1.2 ลักษณะภมู ิประเทศ 1.3 สภาพภูมิอากาศ เรอ่ื งที่ 2 การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมศิ าสตรก ายภาพ 2.1 การเปล่ยี นแปลงสภาพภูมศิ าสตรก ายภาพทส่ี งผลกระทบตอ วิถีชวี ิต ความเปนอยูของคน

2 เรอื่ งท่ี 3 วิธใี ชเ คร่อื งมอื ทางภมู ิศาสตร 3.1 แผนท่ี 3.2 ลกู โลก 3.3 เข็มทิศ 3.4 รปู ถา ยทางอากาศและภาพถา ยจากดาวเทียม 3.5 เคร่อื งมอื เทคโนโลยีเพอ่ื การศกึ ษาภมู ศิ าสตร เร่อื งท่ี 4 สภาพภูมิศาสตรกายภาพของไทยทสี่ ง ผลตอทรพั ยากรตา ง ๆ และสง่ิ แวดลอม เรือ่ งท่ี 5 ความสาํ คญั ของการดาํ รงชีวติ ใหส อดคลองกบั ทรพั ยากรในประเทศ 5.1 ประเทศไทย 5.2 ประเทศในเอเชยี ส่ือประกอบการเรยี นรู 1. แบบเรียนรายวิชาสังคมศึกษา สาระการพัฒนาสังคม ระดับมัธยมศึกษาตอนตน หลักสูตร การศึกษานอกระบบระดบั การศกึ ษาขน้ึ พื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551 2. เครื่องมือทางภมู ิศาสตร เชน แผนที่ ลกู โลก เข็มทิศ รูปถา ยทางอากาศและภาพถา ยจากดาวเทียม 3. เวบ็ ไซต

3 เร่อื งท่ี 1 ลักษณะทางภูมศิ าสตรก ายภาพของประเทศในทวปี เอเชีย 1.1 ทตี่ ้งั และอาณาเขต ทวปี เอเชียเปนทวีปทม่ี ีขนาดใหญท่ีสุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 44,648,953 ลานตารางกโิ ลเมตร มีดินแดนท่ตี อเนื่องกบั ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา แผนดินของทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ท่ีตอเน่ืองกัน เรียกรวมวา ยูเรเชีย พื้นที่สวนใหญอยูเหนือเสนศูนยสูตรมีทําเลท่ีตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร คือ จากละติจูด 11 องศาใต ถึงละติจูด 77 องศา 41 ลิปดาเหนือ บริเวณแหลมเชลยูสกิน (Chelyuskin) สหพนั ธรัฐรสั เซีย และจากลองจิจูดท่ี 26 องศา 04 ลิปดาตะวนั ออก บริเวณแหลมบาบา (Baba) ประเทศตุรกี ถงึ ลองจิจูด 169 องศา 30 ลิปดาตะวันตก ทีบ่ ริเวณแหลมเดชเนฟ (Dezhnev) สหพันธรัฐรสั เซีย โดยมอี าณา- เขตตดิ ตอกับดนิ แดนตาง ๆ ดังตอ ไปนี้ ทิศเหนือ จรดมหาสมุทรอารกติก มีแหลมเชลยูสกินของสหพันธรัฐรัสเซียเปนแผนดินอยูเหนือสุด ทีล่ ะตจิ ูด 77 องศาเหนือ ทศิ ใต จรดมหาสมุทรอินเดีย มีเกาะโรติ (Roti) ของติมอร-เลสเต เปน ดินแดนอยูใตท่ีสุดท่ีละติจูด 11 องศาใต ทศิ ตะวันออก จรดมหาสมทุ รแปซิฟก มแี หลมเดชเนฟของสหพันธรัฐรัสเซียเปน แผนดนิ อยูตะวันออก ท่ีสุด ทล่ี องจิจูด 170 องศาตะวนั ตก ทศิ ตะวนั ตก จรดทะเลเมดเิ ตอรเ รเนียนและทะเลดํา มีทวิ เขาอรู าลกนั้ ดนิ แดนกบั ทวีปยุโรป และมี ทะเลแดงกับคาบสมุทรไซไน (Sinai) ก้ันดินแดนกับทวีปแอฟริกา มีแหลมบาบาของตุรกีเปนแผนดิน อยตู ะวันตกสุด ทลี่ องจิจูด 26 องศาตะวนั ออก 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศแตกตางกันหลายชนิดในสวนที่เปน ภาคพนื้ ทวปี แบง ออกเปน เขตตาง ๆ ได 5 เขต คอื 1) เขตท่รี าบต่ําตอนเหนอื เขตทรี่ าบตาํ่ ตอนเหนือ ไดแก ดนิ แดนทีอ่ ยูทางตอนเหนอื ของทวีปเอเชีย ในเขตไซบีเรีย สวนใหญอยูในเขตโครงสรางแบบหินเกา ท่ีเรียกวา แองการาชีลด มีลักษณะภูมิประเทศ เปนที่ราบขนาดใหญ มีแมน้ําออบ แมนํ้าเยนิเซและแมนํ้าลีนาไหลผาน บริเวณน้ีมีอาณาเขตกวางขวางมาก แตไมคอยมีผูคนอาศัยอยู ถึงแมวาจะเปนที่ราบ เพราะเน่ืองจากมีภูมิอากาศหนาวเย็นมากและทําการ เพาะปลูกไมได 2) เขตท่ีราบลุมแมน้ํา เขตที่ราบลุมแมนํ้า ไดแก ดินแดนแถบลุมแมนํ้าตาง ๆ ซึ่งมีลักษณะ ภมู ิประเทศเปนท่ีราบและมกั มีดนิ อุดมสมบูรณเหมาะแกการเพาะปลกู สว นใหญอยทู างเอเชียตะวนั ออก เอเชียใต และเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต ไดแ ก ทร่ี าบลุม ฮวงโห ท่รี าบลุมแมน า้ํ แยงซเี กียงในประเทศจีน ที่ราบลุมแมนํ้าสินธุ ท่ีราบลุมแมน้ําคงคาและท่ีราบลุมแมนํ้าพรหมบุตรในประเทศปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ ท่ีราบลุม แมน้ําไทกริส ที่ราบลุมแมน้ํายูเฟรทีสในประเทศอิรัก ท่ีราบลุมแมนํ้าโขงตอนลางในประเทศกัมพูชาและ เวียดนาม ที่ราบลุม แมนํ้าแดงในประเทศเวียดนาม ท่ีราบลุมแมน้ําเจาพระยาในประเทศไทย ที่ราบลุมแมนํ้า สาละวินตอนลาง ที่ราบลุมแมนํ้าอิระวดใี นประเทศสาธารณรัฐแหงสหภาพพมา

4 3) เขตเทอื กเขาสูง เปนเขตเทือกเขาหินใหมตอนกลาง ประกอบไปดวยท่ีราบสูงและเทือกเขา มากมาย เทือกเขาสูงเหลาน้ีสวนใหญเปนเทือกเขาท่ีแยกตัวไปจากจุดรวม ที่เรียกวา ปามีรนอต หรือภาษา พน้ื เมอื งเรียกวา “ปามรี ด ุนยา” แปลวา หลังคาโลกจากปามรี นอต มเี ทือกเขาสูง ๆ ของทวีปเอเชียหลายแนว ซึง่ อาจแยกออกไดด งั น้ี เทอื กเขาท่ีแยกไปทางทิศตะวนั ออก ไดแก เทอื กเขาหมิ าลยั เทือกเขาอาระกันโยมาและเทือกเขา ทม่ี แี นวตอเน่อื งลงมาทางใต มีบางสวนทจ่ี มหายไปในทะเลและบางสว นโผลข ึ้นมาเปน เกาะในมหาสมุทรอนิ เดยี และมหาสมุทรแปซิฟก ถัดจากเทือกเขาหิมาลัยข้ึนไปทางเหนือมีเทือกเขาที่แยกไปทางตะวันออก ไดแก เทือกเขาคุนลุน เทือกเขาอัลตินตัก เทือกเขานานซานและแนวท่ีแยกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไดแก เทือกเขาเทียนชาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขาคินแกน เทือกเขายาโบลนอย เทือกเขาสตาโนวอยและ เทือกเขาโกลีมา เทือกเขาทีแ่ ยกไปทางทศิ ตะวันตกแยกเปนแนวเหนือและแนวใต แนวเหนือ ไดแก เทือกเขา ฮินดูกูช เทือกเขาเอลบูชร สวนแนวทิศใต ไดแก เทือกเขาสุไลมาน เทือกเขาซากรอส ซ่ึงเมื่อเทือกเขาท้ัง 2 นี้ มาบรรจบกันทีอ่ ารเ มเนยี นนอตแลว ยังแยกออกอีกเปน 2 แนวในเขตประเทศตรุ กี คือ แนวเหนือเปน เทือกเขา ปอนติกและแนวใตเ ปน เทอื กเขาเตารัส 4) เขตท่รี าบสงู ตอนกลางทวปี เขตที่ราบสงู ตอนกลางเปน ทร่ี าบสูงอยูระหวางเทือกเขาหินใหม ที่สําคัญ ๆ ไดแก ที่ราบสูงทิเบตซึ่งเปนที่ราบสูงขนาดใหญและสูงท่ีสุดในโลก ที่ราบสูงยูนนาน ทางใตของ ประเทศจีนและที่ราบสูงท่ีมีลักษณะเหมือนแองช่ือ “ตากลามากัน” ซ่ึงอยูระหวางเทือกเขาเทียนซานกับ เทอื กเขาคนุ ลนุ แตอ ยสู ูงกวาระดบั นา้ํ ทะเลมากและมีอากาศแหง แลง เปน เขตทะเลทราย

5 5) เขตที่ราบสูงตอนใตและตะวันตกเฉียงใต เขตที่ราบสูงตอนใตและตะวันตกเฉียงใต ไดแก ที่ราบสูงขนาดใหญทางตอนใตของทวีปเอเชีย ซึ่งมีความสูงไมมากเทากับท่ีราบสูงทางตอนกลางของทวีป ท่ีราบสูงดังกลาว ไดแก ที่ราบสูงเดคคานในประเทศอินเดีย ท่ีราบสูงอิหรานในประเทศอิหรานและ อัฟกานสิ ถานท่ีราบสูงอนาโตเลียในประเทศตรุ กแี ละท่ีราบสูงอาหรับในประเทศซาอุดีอาระเบยี 1.3 สภาพภมู อิ ากาศ สภาพภมู ศิ าสตรและพชื พรรณธรรมชาติในทวปี เอเชยี แบงได ดังน้ี 1) ภูมิอากาศแบบปาดิบชื้น เขตภูมิอากาศแบบปาดิบช้ืน อยูระหวางละติจูดที่ 10 องศาเหนือ ถึง 10 องศาใต ไดแก ภาคใตของประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟลิปปนส มีความแตกตางของ อณุ หภูมริ ะหวางกลางวันและกลางคืนไมมากนกั มีปรมิ าณน้ําฝนมากกวา 2,000 มิลลิเมตร (80 นิ้ว) ตอป และมี ฝนตกตลอดป พืชพรรณธรรมชาตเิ ปน ปาดงดบิ ซึ่งไมม ีฤดูที่ผลัดใบและมีตนไมหนาแนน สวนบริเวณปากแมน้ํา และชายฝง ทะเลมพี ืชพรรณธรรมชาตเิ ปนปาชายเลน 2) ภูมอิ ากาศแบบมรสมุ เขตรอ นหรือรอ นช้ืนแถบมรสุม เปน ดนิ แดนที่อยูเ หนือละตจิ ดู 10 องศา เหนอื ขึ้นไป มฤี ดแู ลงและฤดฝู นสลับกนั ประมาณปล ะเดือน ไดแก บริเวณคาบสมทุ รอินเดีย และคาบสมุทร อนิ โดจนี เขตนีเ้ ปน เขตท่ไี ดรับอิทธิพลของลมมรสุม ปริมาณน้ําฝนจะสูงในบริเวณดานตนลม (Winward side) และมีฝนตกนอยในดานปลายลม (Leeward side) หรือเรยี กวา เขตเงาฝน (Rain shadow) พืชพรรณธรรมชาติเปนปามรสุมหรือปาไมผลัดใบในเขตรอน พันธุไมสวนใหญเปนไมใบกวาง และเปนไมเน้ือแข็งทมี่ คี าในทางเศรษฐกิจหรือปาเบญจพรรณ เชน ไมสัก ไมจ นั ทน ไมประดู เปนตน ปามรสุม มีลักษณะเปนปาโปรงมากกวาปาไมในเขตรอนชื้น บางแหงมีไมขนาดเล็กข้ึนปกคลุมบริเวณดินช้ันลางและ บางแหง เปน ปาไผหรือหญาปะปนอยู 3) ภูมิอากาศแบบทุงหญาเมืองรอน มีลักษณะอากาศคลายเขตมรสุม มีฤดูแลงกับฤดูฝน แตปริมาณนํ้าฝนนอยกวา คือ ประมาณ 1,000 - 1,500 มิลลิเมตร (40 - 60 น้ิว) ตอป อุณหภูมิเฉล่ียตลอดป ประมาณ 21 องศาเซลเซยี ส (70 องศาฟาเรนไฮต) อณุ หภูมกิ ลางคืนเย็นกวากลางวัน ไดแก บริเวณตอนกลาง ของอินเดีย สาธารณรฐั แหง สหภาพพมา และคาบสมทุ รอินโดจีน พืชพรรณธรรมชาติเปนปาโปรงแบบเบญจพรรณ ถัดเขาไปตอนในจะเปนทุงหญาสูงตั้งแต 60 - 360 เซนตเิ มตร (2 - 12 ฟุต) ซง่ึ จะงอกงามดีในฤดูฝน แตแ หง เฉาตายในฤดูหนาวเพราะชวงนอี้ ากาศแหงแลง 4) ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตอบอุน อยูในเขตอบอุนแตไดรับอิทธิพลของลมมรสุมมีฝนตก ในฤดูรอน ฤดูหนาวคอนขางหนาว ไดแก บริเวณภาคตะวันตกของจีน ภาคใตของญ่ีปุน คาบสมุทรเกาหลี ฮอ งกง ตอนเหนือของอนิ เดียในสาธารณรัฐประชาชนลาวและตอนเหนือของเวียดนาม พืชพรรณธรรมชาตเิ ปนไมผลดั ใบหรอื ไมผสม มที ้ังไมใ บใหญท่ีผลดั ใบและไมสนท่ีไมผ ลดั ใบ ในเขต สาธารณรฐั ประชาชนจนี เกาหลี ทางใตข องเขตนเี้ ปนปา ไมผ ลัดใบ สว นทางเหนอื มีอากาศหนาวกวาปาไมผสม และปา ไมผ ลัดใบ เชน ตนโอก เมเปล ถา ขึ้นไปทางเหนืออากาศหนาวเยน็ จะเปนปา สนท่มี ีใบเขียวตลอดป 5) ภูมิอากาศแบบอบอุนภาคพ้ืนทวีป ไดแก ทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ ภาคเหนือของญ่ีปุนและตะวันออกเฉียงใตของไซบีเรีย มีฤดูรอน

6 ทอี่ ากาศรอน กลางวันยาวกวากลางคืน นาน 5 - 6 เดือน เปนเขตปลูกขาวโพดไดดีเพราะมีฝนตกในฤดูรอน ประมาณ 750 - 1,000 มม. (30 - 40 นวิ้ ) ตอ ป ฤดูหนาวอณุ หภูมเิ ฉล่ียถึง 7 องศาเซลเซียส (18 องศาฟาเรน ไฮต) เปน เขตที่ความแตกตางระหวา งอุณหภมู ิมีมาก พืชพรรณธรรมชาติเปนปาผสมระหวางไมผลัดใบและปาสนลึกเขาไปเปนทุงหญา สามารถ เพาะปลกู ขาวโพด ขาวสาลแี ละเลี้ยงสัตวพวกโคนมได สว นแถบชายทะเลมีการทาํ ปาไมบางเลก็ นอ ย 6) ภูมิอากาศแบบทุงหญาก่ึงทะเลทรายแถบอบอุน มีอุณหภูมิสูงมากในฤดูรอนและอุณหภูมิ ตํา่ มากในฤดหู นาว มฝี นตกบา งในฤดใู บไมผลแิ ละฤดูรอ น ไดแ ก ภาคตะวนั ตกของคาบสมทุ รอาหรับ ตอนกลาง ของประเทศตรุ กี ตอนเหนอื ของภาคกลางของอิหรา น ในมองโกเลียทางตะวนั ตกเฉยี งเหนือของจีน พืชพรรณธรรมชาตเิ ปน ทุงหญา สน้ั (Steppe) ทุงหญา ดงั กลาว มีการชลประทานเขาถงึ ใชเลี้ยงสตั ว และเพาะปลกู ขาวสาลี ขาวฟาง ฝา ย ไดดี 7) ภูมอิ ากาศแบบทะเลทราย มคี วามแตกตางระหวา งอณุ หภูมิกลางวันกับกลางคืนและฤดูรอน กบั ฤดูหนาวมาก ไดแก ดินแดนท่ีอยภู ายในทวปี ท่มี ีเทอื กเขาปดลอม ทําใหอิทธิพลจากมหาสมุทรเขาไปไมถึง ปรมิ าณฝนตกนอ ยกวาปละ 250 มม. (10 นวิ้ ) ไดแ ก บริเวณคาบสมุทรอาหรับ ทะเลทรายโกบี ทะเลทรายธาร และท่ีราบสงู ทิเบต ท่ีราบสูงอิหรา น บรเิ วณทีม่ ีนาํ้ และตน ไมข นึ้ เรยี กวา โอเอซสิ (Oasis) พืชพรรณธรรมชาติเปนอินทผลัม ตะบองเพชรและไมประเภทมีหนาม ชายขอบทะเลทราย สวนใหญเปนทุงหญาสลับปาโปรง มีการเล้ียงสัตวประเภทที่เลี้ยงไวใชเนื้อและทําการเพาะปลูกตองอาศัย การชลประทานชว ย 8) ภูมิอากาศแบบเมดิเตอรเรเนียน อากาศในฤดูรอน รอนและแหงแลงในเลบานอน ซีเรีย อิสราเอลและตอนเหนอื ของอิรกั พืชพรรณธรรมชาติเปนไมตนเต้ีย ไมพุมมีหนาม ตนไมเปลือกหนาท่ีทนตอความแหงแลง ในฤดู รอนไดดี พชื ท่ีเพาะปลูก ไดแ ก สม องนุ และมะกอก 9) ภูมิอากาศแบบไทกา (กึ่งข้ัวโลก) มีฤดูหนาวยาวนานและหนาวจัด ฤดูรอนสั้น มีน้ําคางแข็ง ไดท กุ เวลาและฝนตกในรปู ของหิมะ ไดแก ดนิ แดนทางภาคเหนอื ของทวปี บริเวณไซบเี รีย พชื พรรณธรรมชาตเิ ปนปาสน เปน แนวยาวทางเหนือของทวีป ท่ีเรียกวา ไทกา (Taiga) หรือ ปาสนของไซบีเรยี 10) ภมู อิ ากาศแบบทนุ ดรา (ขวั้ โลก) เขตนี้มีฤดหู นาวยาวนานมาก อากาศหนาวจัด มีหิมะปกคลุม ตลอดป ไมม ีฤดรู อน พืชพรรณธรรมชาติเปน พวกตะไครนํา้ และมอสส 11) ภูมิอากาศแบบที่สูง ในเขตที่สูงอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงในอัตราความสูงเฉลี่ย ประมาณ 1 องศาเซลเซียสตอ ความสูง 10 เมตร จงึ ปรากฏวา ยอดเขาสงู บางแหงแมจะอยูในเขตรอน ก็มีหิมะ ปกคลมุ ทั้งป หรอื เกอื บตลอดป ไดแก ที่ราบสงู ทเิ บต เทอื กเขาหมิ าลัย เทอื กเขาคุนลุน และเทือกเขาเทยี นชาน ซึ่งมีความสูงประมาณ 5,000 - 8,000 เมตร จากระดับนํ้าทะเล มีหิมะปกคลุมและมีอากาศหนาวเย็นแบบ ขวั้ โลก พชื พรรณธรรมชาติเปน พวกตะไครนํา้ และมอสส

7 การแบง ภูมิภาค ทวีปเอเชียนอกจากจะเปน อนุภูมภิ าคของทวปี ยูเรเชีย ยงั อาจแบง ออกเปนสว นยอ ย ดังน้ี เอเชียเหนือ หมายถึง รัสเซีย เรียกอีกอยางวาไซบีเรีย บางคร้ังรวมถึงประเทศทางตอนเหนือของ เอเชียดว ย เชน คาซคั สถาน เอเชยี กลาง ประเทศในเอเชียกลาง ไดแก - สาธารณรฐั ในเอเชยี กลาง 5 ประเทศ คอื คาซัคสถาน อซุ เบกิสถาน ทาจกิ สิ ถาน เตริ ก เมนสิ ถาน และคีรก ซี สถาน - ประเทศแถบตะวนั ตกของทะเลสาบแคสเปย น 3 ประเทศ คอื จอรเ จีย อารเ มเนียและ อาเซอรไ บจานบางสว น เอเชียตะวนั ออก ประเทศในเอเชียตะวันออก ไดแก - เกาะไตหวันและญ่ีปนุ ในมหาสมุทรแปซฟิ ก - เกาหลเี หนือและเกาหลีใตบ นคาบสมุทรเกาหลี - สาธารณรัฐประชาชนจีนและมองโกเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต ดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต คือ ประเทศบนคาบสมุทรมลายู คาบสมุทรอินโดจีน เกาะตาง ๆ ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟก เอเชียตะวันออกเฉียงใต ประกอบดวย - ประเทศตาง ๆ ในแผนดินใหญ ไดแก สาธารณรัฐแหงสหภาพพมา ไทย สาธารณรัฐ- ประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพชู าและเวยี ดนาม - ประเทศตาง ๆ ในทะเล ไดแก มาเลเซีย ฟลิปปนส สิงคโปร อินโดนีเซีย บรูไนและติมอร ตะวนั ออก (ตมิ อร - เลสเต) ประเทศอินโดนเี ซยี แยกไดเปน 2 สว น โดยมีทะเลจนี ใตค่ันกลาง ท้ังสองสวนมีทั้ง พ้นื ท่ที ่ีเปนแผน ดินใหญและเกาะ เอเชียใต เอเชียใตอ าจเรียกอกี อยางวา อนทุ วีปอินเดยี ประกอบดวย - บนเทือกเขาหมิ าลัย ไดแ ก อินเดยี ปากสี ถาน เนปาล ภฏู านและบังกลาเทศ - ในมหาสมทุ รอินเดยี ไดแก ศรลี ังกาและมลั ดีฟส เอเชียตะวนั ตกเฉียงใต (หรือเอเชียตะวันตก) ประเทศตะวันตกโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกามักเรียก ภูมิภาคน้ีวาตะวันออกกลางบางครั้ง “ตะวันออกกลาง” อาจหมายรวมถึงประเทศในแอฟริกาเหนือ เอเชีย ตะวันตกเฉยี งใตแ บง ยอ ยไดเ ปน - อะนาโตเลยี (Anatolia) ซ่ึงกค็ อื เอเชียไมเนอร (Asia Minor) เปนพ้ืนท่ีสวนที่เปนเอเชียของ ตรุ กี - ประเทศตรุ กี 97 % ของตุรกี - ท่ีเปนเกาะ คอื ไซปรสั ในทะเลเมดเิ ตอรเรเนยี น - กลุมเลแวนตหรือตะวันออกใกล ไดแ ก ซีเรยี อิสราเอล จอรแ ดน เลบานอนและอริ กั

8 - ในคาบสมุทรอาหรับ ไดแก ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส บาหเรน กาตาร โอมาน เยเมนและอาจรวมถงึ คูเวต - ท่ีราบสูงอิหรา น ไดแ ก อิหรา นและพ้นื ที่บางสว นของประเทศอืน่ ๆ - อัฟกานิสถาน กิจกรรมที่ 1.1 ลกั ษณะทางภูมศิ าสตรก ายภาพของประเทศในทวีปเอเชยี 1) ใหผเู รียนอธิบายจุดเดนของลกั ษณะภูมปิ ระเทศในทวปี เอเชีย ทั้ง 5 เขต .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 2) ภูมอิ ากาศแบบใดทม่ี หี ิมะปกคลมุ ตลอดปและพชื พรรณทป่ี ลกู เปนประเภทใด .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ..............................................................................................................................................................................

9 เร่อื งที่ 2 การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมศิ าสตรก ายภาพ การเปล่ียนแปลงสภาพภูมิศาสตรกายภาพ หมายถึง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของส่ิงแวดลอม ทางกายภาพที่อยูรอบตัวมนุษย ทั้งสวนที่เปนธรณีภาค อุทกภาค บรรยากาศภาคและชีวภาค ตลอดจน ความสัมพันธทางพน้ื ท่ีของส่งิ แวดลอ มทางกายภาพตา ง ๆ ดังกลา วขางตน การเปล่ียนแปลงทางภูมิศาสตรกอใหเกิดความเปล่ียนแปลงทางกายภาพ ทั้งภูมิประเทศและ ภมู อิ ากาศในประเทศไทยและประเทศในทวีปเอเชยี สวนมากเกิดจากปรากฏการณตามธรรมชาติและเกิดผล กระทบตอประชาชนท่ีอาศยั อยู รวมท้ังสงิ่ กอ สรางปรากฏการณตา ง ๆ ทมี่ กั จะเกดิ มีดงั ตอ ไปน้ี 2.1 การเกิดแผนดินไหว แผนดินไหวเปนปรากฏการณธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของ แผน เปลอื กโลก (แนวระหวางรอยตอธรณีภาค) ทําใหเกิดการเคลื่อนตัวของช้ันหินขนาดใหญเลื่อนเคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถายพลังงานศักยผานในช้ันหินท่ีอยูติดกัน พลังงานศักยน้ีอยูในรูปเคล่ือนไหว สะเทือน จุดศูนยกลางการเกิดแผนดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยูในระดับความลึกตาง ๆ ของ ผวิ โลก สวนจุดท่อี ยูในระดับสงู กวา ณ ตาํ แหนง ผิวโลก เรยี กวา “จดุ เหนือศูนยก ลางแผน ดินไหว” (epicenter) การสนั่ สะเทือนหรือแผน ดนิ ไหวน้จี ะถูกบันทกึ ดว ยเครือ่ งมือทเ่ี รียกวา ไซสโ มกราฟ 1) สาหตุการเกดิ แผนดินไหว - แผนดินไหวจากธรรมชาติ เปนธรณีพิบัติภัยชนิดหน่ึง สวนมากเปนปรากฏการณ ทางธรรมชาตทิ ่ีเกดิ จากการสน่ั สะเทือนของพื้นดิน อันเน่ืองมาจากการปลดปลอยพลังงานที่สะสมไว ภายใน โลกออกมาอยา งฉบั พลัน เพื่อปรับสมดุลของเปลอื กโลกใหค งทีโ่ ดยปกติเกิดจากการเคล่ือนไหวของรอยเลื่อน ภายในช้ันเปลือกโลกที่อยูดานนอกสุดของโครงสรางของโลก มีการเคลื่อนท่ีหรือเปลี่ยนแปลงอยางชา ๆ อยเู สมอ แผน ดินไหวจะเกิดข้ึนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป ภาวะน้ีเกิดข้ึนบอยในบริเวณขอบเขตของ แผนเปลือกโลกที่แบงชั้นเปลือกโลกออกเปนธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผนดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณ ขอบเขตของแผนเปลือกโลกน้ีวา แผนดินไหวระหวางแผน (interpolate earthquake) ซ่ึงเกิดไดบอยและ รุนแรงกวา แผน ดนิ ไหวภายในแผน (intraplate earthquake) - แผน ดินไหวจากการกระทาํ ของมนษุ ย ซ่ึงมที ั้งทางตรงและทางออ ม เชน การทดลองระเบิด ปรมาณู การทําเหมือง สรางอางเก็บนํ้าหรือเข่ือนใกลรอยเลื่อน การทํางานของเครื่องจักรกล การจราจร เปน ตน 2) การวัดระดับความรุนแรงของแผนดินไหว โดยปกติจะใชมาตราริคเตอร ซึ่งเปนการวัดขนาด และความสัมพันธของขนาดโดยประมาณกบั ความส่นั สะเทอื นใกลศูนยก ลาง ระดับความรุนแรงของแผน ดินไหว 1 - 2.9 เลก็ นอย ผูคนเร่ิมรสู กึ ถึงการมาของคลืน่ มอี าการวงิ เวียนเพยี งเล็กนอ ยในบางคน 3 - 3.9 เลก็ นอย ผคู นทีอ่ ยใู นอาคารรสู ึกเหมือนมีอะไรมาเขยาอาคารใหส่นั สะเทือน 4 - 4.9 ปานกลาง ผทู ่อี าศัยอยทู ้ังภายในอาคารและนอกอาคาร รสู กึ ถึงการสนั่ สะเทือน วตั ถหุ อย แขวนแกวงไกว 5 - 5.9 รุนแรงเปน บรเิ วณกวาง เคร่อื งเรอื นและวัตถุมกี ารเคล่ือนที่

10 6 - 6.9 รุนแรกมาก อาคารเรมิ่ เสียหาย พังทลาย 7.0 ขนึ้ ไป เกดิ การส่นั สะเทือนอยางมากมาย สงผลทําใหอาคารและสิ่งกอสรางตาง ๆ เสียหาย อยา งรนุ แรง แผนดินแยก วัตถบุ นพ้ืนถูกเหวี่ยงกระเด็น 3) ขอ ปฏิบัติในการปอ งกันและบรรเทาภยั จากแผนดนิ ไหว กอนเกิดแผนดินไหว 1. เตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคท่ีจําเปน เชน ถานไฟฉาย ไฟฉาย อุปกรณดับเพลิง นํ้า อาหารแหง ไวใชในกรณีไฟฟาดับหรือกรณฉี ุกเฉินอ่ืน ๆ 2. จัดหาเคร่ืองรับวิทยุที่ใชถานไฟฉายหรือแบตเตอรี่สําหรับเปดฟงขาวสาร คําเตือน คําแนะนําและสถานการณตาง ๆ 3. เตรียมอุปกรณน ิรภัยสาํ หรบั การชว ยชวี ติ 4. เตรยี มยารักษาโรคและเวชภณั ฑใหพรอ มทจี่ ะใชในการปฐมพยาบาลเบือ้ งตน 5. จัดใหมกี ารศึกษาถึงการปฐมพยาบาล เพื่อเปนการเตรียมพรอมที่จะชวยเหลือผูที่ไดรับ บาดเจ็บหรอื อันตรายใหพ น ขดี อนั ตรายกอนท่ีจะถึงมือแพทย 6. จาํ ตาํ แหนงของวาลว เปด-ปดน้ํา ตําแหนงของสะพานไฟฟา เพ่ือตัดตอนการสงนํ้าและ ไฟฟา 7. ยดึ เคร่อื งเรอื น เคร่ืองใชไ มสอยภายในบาน ทท่ี าํ งานและในสถานศกึ ษาใหม น่ั คง แนนหนา ไมโยกเยกโคลงเคลงเพอื่ ไมใ หไปทําความเสียหายแกชวี ิตและทรพั ยส ิน 8. ไมควรวางสิ่งของทม่ี นี าํ้ หนกั มาก ๆ ไวในทสี่ ูง เพราะอาจรว งหลน มาทาํ ความเสยี หายหรอื เปน อนั ตรายได 9. เตรียมการอพยพเคลื่อนยา ย หากถงึ เวลาท่ีจะตอ งอพยพ 10. วางแผนปองกันภัยสําหรับครอบครัว ท่ีทํางานและสถานที่ศึกษา มีการชี้แจงบทบาท ท่ีสมาชกิ แตละบุคคลจะตองปฏิบัติ มีการฝกซอมแผนท่ีจัดทําไว เพื่อเพ่ิมลักษณะและความคลองตัว ในการ ปฏิบัตเิ มอ่ื เกดิ เหตกุ ารณฉกุ เฉิน ขณะเกดิ แผน ดินไหว 1. ต้งั สติ อยใู นที่ทแ่ี ข็งแรงปลอดภยั หา งจากประตู หนาตาง สายไฟฟา เปนตน 2. ปฏิบัติตามคําแนะนํา ขอควรปฏิบัติของทางราชการอยางเครงครัด ไมต่ืนตระหนก จนเกินไป 3. ไมค วรทําใหเกิดประกายไฟ เพราะหากมีการรั่วซมึ ของแกสหรอื วตั ถไุ วไฟ อาจเกดิ ภัยพิบตั ิ จากไฟไหม ไฟลวก ซ้าํ ซอ นกบั แผนดนิ ไหวเพ่ิมขนึ้ อีก 4. เปด วิทยุรบั ฟงสถานการณ คําแนะนาํ คาํ เตือนตาง ๆ จากทางราชการอยางตอ เนอ่ื ง 5. ไมค วรใชล ิฟต เพราะหากไฟฟา ดับอาจมีอันตรายจากการติดอยูภายในลิฟต 6. มุดเขาไปนอนใตเ ตียงหรอื ตงั่ อยาอยใู ตค านหรอื ทีท่ ีม่ ีนา้ํ หนักมาก

11 7. อยูใ ตโ ตะ ทแ่ี ขง็ แรง เพ่อื ปอ งกันอนั ตรายจากสง่ิ ปรักหกั พงั รวงหลน ลงมา 8. อยหู างจากสงิ่ ที่ไมม่นั คงแข็งแรง 9. ใหร ีบออกจากอาคารเมอื่ มกี ารสง่ั การจากผทู ่ีควบคุมแผนปองกนั ภยั หรอื ผทู ีร่ บั ผดิ ชอบในเร่ืองนี้ 10. หากอยใู นรถ ใหห ยุดรถจนกวาแผนดินจะหยดุ ไหวหรอื สัน่ สะเทือนหลังเกิดแผน ดินไหว 11. ตรวจเช็คการบาดเจ็บและทําการปฐมพยาบาลผูท่ีไดรับบาดเจ็บ แลวรีบนําสง โรงพยาบาลโดยดว นเพื่อใหแ พทยไ ดทาํ การรกั ษาตอ ไป 12. ตรวจเช็คระบบน้ํา ไฟฟา หากมีการรั่วซึมหรือชํารุดเสียหาย ใหปดวาลวเพื่อปองกันน้ําทวม เออ ยกสะพานไฟฟา เพ่อื ปองกนั ไฟฟารัว่ ไฟฟาดูดหรอื ไฟฟาช็อต 13. ตรวจเช็คระบบแกส โดยวิธีการดมกล่ินเทานั้น หากพบวามีการร่ัวซึมของแกส (มีกล่ิน) ใหเปดประตูหนาตา ง แลวออกจากอาคารแจงเจา หนา ทป่ี อ งกนั ภยั ฝายพลเรอื นผทู ร่ี ับผดิ ชอบไดทราบในโอกาส ตอ ไป 14. ไมใชโ ทรศพั ทโ ดยไมจําเปน 15. อยา กดนํา้ ลางสวมจนกวาจะมีการตรวจเช็คระบบทอเปนทีเ่ รยี บรอยแลว เพราะอาจเกิด การแตกหกั ของทอในสว มทาํ ใหนํ้าทวมเออ หรอื สงกลิ่นที่ไมพึงประสงค 16. ออกจากอาคารท่ีชํารุดโดยดวน เพราะอาจเกดิ การพังทลายลงมา 17. สวมรองเทายางเพ่อื ปองกันส่งิ ปรกั หกั พงั เศษแกว เศษกระเบือ้ ง 18. รวมพล ณ ที่หมายที่ไดตกลงนดั หมายกันไวแ ละตรวจนบั จํานวนสมาชิกวาอยูครบหรอื ไม 19. รวมมือกับเจาหนาที่ในการเขาไปปฏิบัติงานในบริเวณที่ไดรับความเสียหายและผูไมมี หนาท่ีหรือไมเ กีย่ วของไมค วรเขาไปในบรเิ วณนั้น ๆ หากไมไ ดร บั การอนุญาต 20. อยาออกจากชายฝง เพราะอาจเกิดคล่นื ใตน าํ้ ซดั ฝง ได แมว าการส่นั สะเทือนของแผนดิน จะสนิ้ สดุ ลงแลวก็ตาม ผลกระทบตอ ประชากรท่ีเกดิ จากแผน ดนิ ไหว จากเหตุการณแ ผนดนิ ไหวครง้ั รายแรงลา สุดในทวปี เอเชีย ในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน เมื่อวันท่ี 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 มคี วามรนุ แรงอยูที่ขนาด 7.9 ริกเตอร ทคี่ วามลึก : 19 กิโลเมตร โดยจุดศูนยกลาง การสน่ั อยทู ี่ เขตเหวินฉวน มณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของนครเฉิงตู 90 กิโลเมตร แผนดินไหวครั้งน้ี สรางความเสียหายใหกับประเทศจีนอยางมหาศาล ทั้งชีวิตประชาชน อาคารบานเรือน ถนนหนทาง โดยมี ผูเสียชีวิต 68,516 คน บาดเจ็บ 365,399 คน และสูญหาย 19,350 คน (ตัวเลขอยางเปนทางการ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) นอกจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนแลว แผนดินไหวก็ยังสามารถรูสึกไดในประเทศ เพอื่ นบานของจนี อาทเิ ชน ประเทศไทย ประเทศบังกลาเทศ ประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถาน แมว า การเกดิ แผนดินไหวไมส ามารถปองกันได แตเราควรเรียนรูขอปฏิบัติในการปองกันท้ังกอน การเกดิ แผน ดินไหวและขณะเกิดแผนดินไหว เพ่อื ปองกันความเสยี หายท่เี กดิ กบั ชีวติ

12 2.2 การเกิดพายุ พายุ คือ สภาพบรรยากาศท่ีถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะท่ีมีผลกระทบตอ พนื้ ผิวโลกและบงบอกถึงสภาพอากาศทร่ี ุนแรง เมื่อพูดถึงความรุนแรงของพายุจะกลาวถึงความเร็วท่ีศูนยก ลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคล่ือนตัว ทิศทางการเคล่ือนตัวของพายุและขนาดความกวาง หรือเสนผาศูนยกลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณท่ีจะไดรับความเสียหายวา ครอบคลุมเทาใด ความรุนแรงของพายจุ ะมหี นว ยวัดความรุนแรงคลา ยหนว ยริกเตอรข องการวัดความรนุ แรงแผนดนิ ไหว มักจะมี ความเร็วเพม่ิ ขึน้ เร่อื ย ๆ ประเภทของพายุ พายแุ บง เปน ประเภทใหญ ๆ ได 3 ประเภท คือ 1) พายฝุ นฟา คะนอง มีลกั ษณะเปน ลมพดั ยอ นไปมาหรือพัดเคล่ือนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิด จากพายุทีอ่ อนตัวและลดความรุนแรงของลมลงหรือเกดิ จากหยอ มความกดอากาศต่ํา รองความกดอากาศต่ํา อาจไมมที ศิ ทางทีแ่ นน อนหากสภาพการณแ วดลอ มตา ง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสมกจ็ ะเกดิ ฝนตก มลี มพัด 2) พายุหมนุ เขตรอ นตา ง ๆ เชน เฮอรริเคน ไตฝุนและไซโคลน ซึ่งลวนเปนพายุหมุนขนาดใหญ เชนเดยี วกันและจะเกดิ ขึ้นหรอื เรมิ่ ตนกอตัวในทะเล หากเกิดเหนือเสน ศนู ยสูตรจะมีทิศทางการหมุนทวนเข็ม นาฬกิ าและหากเกิดใตเสน ศูนยส ตู รจะหมนุ ตามเข็มนาฬิกา โดยมีชอ่ื ตา งกนั ตามสถานท่เี กิด กลา วคอื พายเุ ฮอรร เิ คน (Hurricane) เปน ชื่อเรยี กพายุหมุนทีเ่ กดิ บรเิ วณทิศตะวนั ตกของมหาสมุทร แอตแลนติก เชน บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อาวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เปนตน รวมท้ังมหาสมุทร แปซิฟกบรเิ วณชายฝงประเทศเมก็ ซิโก พายไุ ตฝ นุ (Typhoon) เปนช่อื พายหุ มนุ ทเี่ กิดทางทศิ ตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟกเหนือ เชน บรเิ วณทะเลจีนใต อา วไทย อาวตงั เกย๋ี ประเทศญ่ปี นุ พายุไซโคลน (Cyclone) เปนชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เชน บริเวณอาว เบงกอล ทะเลอาหรับ เปนตน แตถาพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอรและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ออสเตรเลียจะเรียกวา พายุวิลลี - วิลลี (Willy - Willy) พายุโซนรอน (Tropical Storm) เกิดขึ้นเม่ือพายุเขตรอนขนาดใหญออนกําลังลงขณะ เคลอื่ นตัวในทะเลและความเรว็ ท่จี ุดศนู ยกลางลดลงเม่ือเคล่ือนเขาหาฝง มคี วามเรว็ ลม 62 - 117 กโิ ลเมตรตอ ช่วั โมง พายดุ เี ปรสช่ัน (Depression) เกิดข้นึ เมอื่ ความเร็วลดลงจากพายุโซนรอ น ซ่งึ กอ ใหเ กิดพายุ ฝนฟา คะนองธรรมดาหรอื ฝนตกหนกั มีความเร็วลมนอยกวา 61 กิโลเมตรตอช่วั โมง 3) พายทุ อรนาโด (Tornado) เปนชื่อเรยี กพายุหมนุ ทเ่ี กิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อทีเ่ ล็กหรอื เสนผา ศนู ยกลางนอ ย แตห มุนดวยความเรว็ สูงหรือความเรว็ ที่จดุ ศนู ยกลางสูงมากกวา พายหุ มนุ อืน่ ๆ กอ ความ เสียหายไดรุนแรงในบริเวณท่ีพัดผาน เกิดไดท้ังบนบกและในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกวา นาคเลนน้ํา (water spout) บางคร้งั อาจเกดิ จากกลุมเมฆบนทองฟาแตหมุนตัวยื่นลงมาจากทองฟาไมถึงพ้ืนดิน มีรูปราง เหมือนงวงชาง จงึ เรียกกนั วา ลมงวงชาง

13 ความเร็วของพายุ สามารถแบง ออกเปน 5 ระดบั ไดแ ก 1) ระดับท่ี 1 มีความเร็วลม 119 - 153 กิโลเมตรตอช่ัวโมง ทําลายลางเล็กนอย ไมสงผลตอส่ิง ปลกู สรา ง มนี า้ํ ทวมขังตามชายฝง 2) ระดับท่ี 2 มีความเร็วลม 154 - 177 กิโลเมตรตอชั่วโมง ทําลายลางเล็กนอย ทําใหหลังคา ประตู หนา ตา งบานเรอื นเสยี หายบาง ทําใหเกิดนา้ํ ทว มขงั 3) ระดับท่ี 3 มีความเร็วลม 178 - 209 กิโลเมตรตอช่ัวโมง ทําลายลางปานกลางทําลาย โครงสรา งท่อี ยูอาศยั ขนาดเล็ก นา้ํ ทว มขังถึงพ้ืนบานช้นั ลาง 4) ระดับท่ี 4 มีความเร็วลม 210 - 249 กิโลเมตรตอชั่วโมง ทําลายลางสูง หลังคาบานเรือน บางแหงถกู ทาํ ลาย น้ําทว มเขามาถงึ พน้ื บา น 5) ระดับที่ 5 มีความเร็วลมมากกวา 250 กิโลเมตรตอช่ัวโมง จะทําลายลางสูงมาก หลังคา บานเรือน ตึกและอาคารตา ง ๆ ถูกทาํ ลาย พังทลาย นํา้ ทวมขงั ปรมิ าณมาก ถึงขั้นทาํ ลายทรพั ยสินในบา น อาจตอ งประกาศอพยพประชาชน ลาํ ดบั ชนั้ การเกดิ พายุฝนฟา คะนอง 1) ระยะเจรญิ เตบิ โต โดยเร่ิมจากการที่อากาศรอนลอยตัวขึ้นสูบรรยากาศ พรอมกับการมีแรง มากระทําหรือผลกั ดันใหมวลอากาศยกตวั ข้นึ ไปสูความสูงระดับหนึ่ง โดยมวลอากาศจะเย็นลงเมื่อลอยสูงข้ึน และเร่ิมที่จะเคล่ือนตัวเปนละอองน้ําเล็ก ๆ เปนการกอตัวของเมฆคิวมูลัส ในขณะที่ความรอนแฝงจากการ กล่นั ตัวของไอน้ําจะชว ยใหอ ัตราการลอยตัวของกระแสอากาศภายในกอนเมฆเร็วมากย่ิงขึ้น ซึ่งเปนสาเหตุให ขนาดของเมฆคิวมูลัสมีขนาดใหญข้ึนและยอดเมฆสูงเพิ่มข้ึนเปนลําดับ จนเคล่ือนท่ีข้ึนถึงระดับบนสุดแลว (จุดอ่มิ ตวั ) จนพฒั นามาเปนเมฆควิ มโู ลนิมบัส กระแสอากาศบางสวนก็จะเร่ิมเคลื่อนที่ลงและจะเพิ่มมากขึ้น จนกลายเปน กระแสอากาศที่เคลอื่ นทีล่ งอยา งเดยี ว 2) ระยะเจริญเตบิ โตเตม็ ที่ เปน ชวงทีก่ ระแสอากาศมที งั้ ไหลข้นึ และไหลลงปริมาณความรอ นแฝง ที่เกิดขึ้นจากการกล่ันตัวลดนอยลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการท่ีหยาดน้ําฟาที่ตกลงมามีอุณหภูมิตํ่า ชวยทําให อุณหภูมิของกลุม อากาศเยน็ กวา อากาศแวดลอม ดังน้นั อตั ราการเคลื่อนที่ลงของกระแสอากาศจะมคี าเพ่ิมขึ้น เปน ลําดับ กระแสอากาศที่เคลื่อนท่ีลงมา จะแผขยายตัวออกดานขางกอใหเกิดลมกระโชกรุนแรง อุณหภูมิ จะลดลงทนั ทที นั ใด และความกดอากาศจะเพ่ิมขึน้ อยา งรวดเร็วและยาวนาน แผอ อกไปไกลถึง 60 กโิ ลเมตร ได โดยเฉพาะสวนที่อยูดานหนาของทิศทาง การเคลื่อนที่ของพายุฝนฟาคะนอง พรอมกันน้ันการท่ีกระแส อากาศเคล่ือนที่ข้นึ และเคล่อื นท่ีลงจะกอ ใหเ กดิ ลมเชียรร ุนแรงและเกดิ อากาศปน ปว นโดยรอบ 3) ระยะสลายตัว เปนระยะที่พายุฝนฟาคะนองมีกระแสอากาศเคล่ือนที่ลงเพียงอยางเดียว หยาดนา้ํ ฝนตกลงมาอยา งรวดเร็วและหมดไปพรอม ๆ กับกระแสอากาศทีไ่ หลลงก็จะเบาบางลง การหลบเลี่ยงอันตรายจากพายุฝนฟาคะนอง เน่ืองจากพายุฝนฟาคะนองสามารถ ทําใหเกิด ความเสียหายตอ ทรพั ยสินและอันตรายตอ ชีวิตของมนษุ ยไ ด จึงควรหลบเลีย่ งจากสาเหตุดังกลาว คือ 1) ในขณะปรากฏพายฝุ นฟาคะนอง หากอยูใกลอาคารหรือบานเรือนท่ีแข็งแรงและปลอดภัย จากนาํ้ ทวม ควรอยแู ตภ ายในอาคารจนกวา พายฝุ นฟาคะนองจะยุตลิ ง ซงึ่ ใชเวลาไมนานนัก การอยูในรถยนต

14 จะเปน วิธีการทีป่ ลอดภยั วธิ ีหนง่ึ แตค วรจอดรถใหอยูหางไกลจากบริเวณท่ีน้ําอาจทวมได อยูหางจากบริเวณ ที่เปน น้ําข้นึ จากเรอื ออกหา งจากชายหาดเมอื่ ปรากฏพายุฝนฟาคะนอง เพ่อื หลีกเลี่ยงอนั ตรายจากนํา้ ทว มและ ฟาผา 2) ในกรณที ่ีอยูในปา ในทงุ ราบหรือในท่ีโลง ควรคุกเขาและโนมตัวไปขางหนา แตไมควรนอน ราบกับพ้ืน เนือ่ งจากพืน้ เปย กเปน สือ่ ไฟฟา และไมควรอยใู นทีต่ ํา่ ซ่งึ อาจเกิดน้าํ ทวมฉับพลันได ไมควรอยูในท่ี โดดเดีย่ วหรอื อยสู งู กวา สภาพสง่ิ แวดลอม 3) ออกหางจากวัตถุที่เปนสื่อไฟฟาทุกชนิด เชน ลวด โลหะ ทอน้ํา แนวร้ัวบาน รถแทรกเตอร จักรยานยนต เครือ่ งมอื อปุ กรณทําสวนทุกชนิด รางรถไฟ ตนไมสูง ตนไมโดดเดี่ยวในที่แจง ไมควรใชอุปกรณ ไฟฟา เชน โทรทศั น ฯลฯ และควรงดใชโทรศัพทช่วั คราว นอกจากกรณีฉุกเฉิน ไมควรใสเคร่ืองประดับโลหะ เชน ทองเหลอื ง ทองแดง ฯลฯ ในทแ่ี จงหรือถือวัตถุโลหะ เชน รม ในขณะปรากฏพายฝุ นฟาคะนอง นอกจากน้ี ควรดแู ลสงิ่ ของตา ง ๆ ใหอ ยูในสภาพที่แขง็ แรงและปลอดภยั อยูเสมอโดยเฉพาะส่ิงของท่ีอาจจะหกั โคนได เชน หลังคาบา น ตน ไม ปายโฆษณา เสาไฟฟา ฯลฯ ผลกระทบตอ ประชากรที่เกดิ จากพายุ จากกรณีการเกดิ พายไุ ซโคลน “นารก สี ” (Nargis) ที่สาธารณรัฐแหงสหภาพพมา ถือเปนขา วใหญ ท่ีทั่วโลกใหความสนใจอยางยิ่ง เพราะมหันตภัยครั้งนี้ ไดคราชีวิตชาวพมาไปนับหม่ืนคน สูญหายอีกหลาย หม่นื ชวี ิต บานเรอื น ทรพั ยส ินและสาธารณูปโภคตาง ๆ เสยี หายยบั เยิน “นารกีส” เปนชื่อเรียกของพายุหมุนเขตรอน มีผลพวงมาจากการเกิดภาวะโลกรอน มีความเร็วลม 190 กโิ ลเมตรตอช่วั โมง พายุ “นารก สี ” เริ่มกอตัว เมื่อวันท่ี 27 เมษายน 2551 ในอาวเบงกอล ตอนกลางและพัดเขาบริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ําอิระวดี ที่นครยางกุงและบาสเซน สาธารณรัฐแหง สหภาพพมา ในเชาวันท่ี 3 พฤษภาคม 2551 ความรุนแรงของไซโคลน “นารกีส” จัดอยูในความรุนแรงระดับ 3 คือ ทําลายลางปานกลาง ทําลายโครงสรางที่อยูอาศัยขนาดเล็ก นํ้าทวมขังถึงพื้นบานช้ันลางพัดหลังคาบานเรือนปลิววอน ตนไมและ เสาไฟฟาหักโคน ไฟฟาดับทั่วเมือง ในขณะที่ทางภาคเหนือและภาคใตของประเทศไทยก็เจอหางเลข อิทธพิ ล “นารกสี ” เลก็ นอย ซึ่งทาํ ใหห ลายจงั หวดั เกดิ ฝนตกชุก มนี ้าํ ทว มขงั พิบตั ภิ ยั ธรรมชาตไิ มม ีทางเลยี่ งได ไมวาจะประเทศไหนหรอื แผนดินใด แตม ีวิธปี องกนั ทด่ี ีท่ีสุด คอื รัฐบาลตองมีหนวยงานซึ่งทําหนาที่ early warning คือ เตือนประชาชนคนของตนแตแรกดวยขอมูลที่มี ประสิทธิภาพและทันการณ จากน้ันก็ตองรีบดําเนินการตาง ๆ อยางเหมาะสม เชน ยายผูคนใหไปอยูในที่ ปลอดภัย ท้ังนี้ นับเปนโชคดีของประเทศไทยท่ีเม่ือ นารกีส มาถึงบานเราก็ลดความแรงลงคงมีแตฝนเปน สวนใหญ แมจะทําความเสียหายแกพืชไรของเกษตรกรไมนอยแตก็เพ่ิมประมาณนํ้าในเขื่อนสําคัญ ๆ แตอยา งไรก็ตามผลพวงภัยพบิ ัติทางธรรมชาติที่เกดิ ขนึ้ ท้ังหมดมาจาก “ภาวะโลกรอ น” ซ่ึงก็เกิดจากฝมอื มนุษย ทัง้ ส้ิน

15 2.3 การเกิดคล่ืนสนึ ามิ คลนื่ สนึ ามิ (Tsunami) คือ คลนื่ ในทะเลหรอื คลืน่ ยกั ษใ ตนาํ้ จะเกดิ ภายหลัง จากการส่ันสะเทือนของแผนดินไหว แผนดินถลม การระเบิดหรือการปะทุของภูเขาไฟท่ีพ้ืนทองสมุทร อยางรุนแรง ทําใหเกิดรอยแยก น้ําทะเลจะถูกดูดเขาไปในรอยแยกน้ี ทําใหเกิดภาวะนํ้าลดลงอยางรวดเร็ว จากน้ันแรงอัดใตเปลือกโลกจะดันน้าํ ทะเลขึ้นมากอพลงั คลืน่ มหาศาล คล่ืนสนึ ามิอาจจะเคลื่อนท่ีขามมหาสมุทร ซึ่งหางจากจุดท่ีเกิดเปนพัน ๆ กิโลเมตร โดยไมมีลักษณะผิดสังเกต เพราะมีความสูงเพียง 30 เซนติเมตร เคลื่อนท่ีดวยความเร็ว 600 - 1,000 กิโลเมตรตอช่ัวโมง แตเมื่อเคลื่อนตัวเขามาในเขตน้ําต้ืน จะเกิดแรงดัน ระดับน้ําใหสูงข้นึ อยา งรวดเร็วและมแี รงปะทะอยางมหาศาลกลายเปนคลนื่ ยักษท่ีมคี วามสงู 15 - 30 เมตร สึนามิ สวนใหญเกดิ จากการเคลอ่ื นตัวของเปลอื กโลกใตท ะเลอยางฉบั พลัน อาจจะเปน การเกดิ แผน ดิน ถลม ยุบตัวลงหรือเปลอื กโลกถูกดันขึน้ หรือยุบตัวลง ทาํ ใหมีน้ําทะเลปริมาตรมหาศาลถูกดันขึ้นหรือทรุดตัวลง อยา งฉับพลนั พลังงานจํานวนมหาศาลก็ถา ยเทไปใหเ กิดการเคลือ่ นตัวของนาํ้ ทะเลเปนคลน่ื สนึ ามทิ เ่ี หนือทะเล ลึก จะดูไมตางไปจากคล่ืนทั่ว ๆ ไปเลย จึงไมสามารถสังเกตไดดวยวิธีปกติ แมแตคนบนเรือเหนือทะเลลึก ทคี่ ล่นื สึนามิเคลอื่ นผา นใตท องเรือไป กจ็ ะไมรูสกึ อะไรเพราะเหนือทะเลลึก คล่ืนน้ีสูงจากระดับนํ้าทะเลปกติ เพยี งไมกฟี่ ุตเทานน้ั จึงไมส ามารถแมแ ตจ ะบอกไดด ว ยภาพถายจากเครื่องบนิ หรอื ยานอวกาศ นอกจากนี้แลว สึนามิ ยงั เกดิ ไดจ ากการเกดิ แผน ดินถลมใตทะเลหรอื ใกลฝ ง ทท่ี ําใหม วลของดินและหนิ ไปเคลอื่ นยา ยแทนทม่ี วลน้าํ ทะเลหรอื ภเู ขาไฟระเบดิ ใกลทะเล สง ผลใหเกิดการโยนสาดดินหนิ ลงน้ําจนเกิดเปน คล่ืนสนึ ามิได ดังเชน การระเบดิ ของภเู ขาไฟกระกะตว้ั ในป ค.ศ. 1883 ซงึ่ สง คลื่นสนึ ามิออกไปทาํ ลายลางชีวติ และทรัพยส ินของผคู นในเอเชยี มจี าํ นวนผตู ายถึงประมาณ 36,000 ชีวิต

16 คลืน่ สนึ ามกิ บั ผลกระทบตอสง่ิ แวดลอม การเกดิ คลน่ื สึนามกิ ระทบตอ สง่ิ แวดลอมและสังคม ในหลาย ๆ ดาน เชน เกิดการเปลย่ี นแปลงของพน้ื ทชี่ ายฝง ในชวงเวลาอันสนั้ รวมทั้งการเปล่ียนแปลงทีอ่ ยอู าศยั ของสัตวนํา้ บางประเภท ปะการังถูกทาํ ลาย ประชาชนขาดทีอ่ ยูอ าศยั ไรทรพั ยส ินส้นิ เนอื้ ประดาตวั กระทบตอ อาชพี ไมว า จะเปน ชาวประมง อาชพี ท่ีเกยี่ วกับการบรกิ ารดานทองเทย่ี ว สิง่ ปลกู สรา งอาคารบา นเรือนเสียหาย ฯลฯ ผลกระทบตอ ประชากรที่เกิดจากคลื่นสึนามิ จากกรณกี ารเกดิ คลน่ื สึนามิ ในวนั ที่ 26 ธนั วาคม 2547 เวลา 0:58:50 น. (UT) หรอื เวลา 7:58:50 น. ตามเวลาในประเทศไทย ไดเกิดแผนดินไหวขนาด 8.9 ตามมาตราริกเตอร ท่ีนอกชายฝงตะวันตกทางตอน เหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย จุดศูนยกลางอยูลึก 10 กม. หางจากเมืองบันดาเอเช ประมาณ 250 กม. และหางจากกรุงเทพฯ 1,260 กม. แผนดินไหวน้ีเปนแผนดินไหวที่ใหญเปนอันดับท่ี 5 นับตั้งแตป ค.ศ. 1900 และใหญที่สุดนับต้ังแตแผนดินไหวอลาสกาในป ค.ศ. 1964 เหตุการณดังกลาวทําใหเกิดการ ส่ันสะเทือนรับรูไดในประเทศมาเลเซีย สิงคโปรและไทย แรงคลื่นสูงประมาณ 6 เมตร ไดถาโถมตามแนว ชายฝงสรางความเสียหายในวงกวาง ทําใหเกิดผูเสียชีวิตและบาดเจ็บเปนจํานวนมาก ในประเทศอินเดีย ศรลี งั กา มาเลเซยี และจังหวัดทอ งเท่ียวทางใตของประเทศไทย มผี ูเสยี ชวี ติ นบั รอ ยและมผี ูบาดเจ็บเปนจํานวน มากในจงั หวัดภเู ก็ต พังงา ตรังและกระบ่ี กิจกรรมที่ 1.2 การเปลยี่ นแปลงสภาพภูมิศาสตรก ายภาพ 1) ใหผูเรียนอธิบายวาการเกิดแผนดินไหวอยางรุนแรงจะสงผลกระทบตอประชากรและ ส่ิงแวดลอ มอยางไรบาง .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ....................................................................... 2) ใหบอกความแตกตา งและผลกระทบท่ีเกดิ ตอประชากรและส่งิ แวดลอมของพายฝุ นฟาคะนอง พายหุ มุนเขตรอนและพายทุ อรนาโด .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ......................................................................

17 3) คล่ืนสึนามิกับผลกระทบตอสิ่งแวดลอมมากมายหลายอยาง ในความคิดเห็นของผูเรียน ผลกระทบดา นใดที่เสยี หายมากท่ีสุด พรอมใหเ หตุผลประกอบ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ..................................................................................... เรอ่ื งที่ 3 วิธใี ชเ ครอ่ื งมอื ทางภมู ศิ าสตร เคร่ืองมือทางภูมิศาสตร หมายถึง สิ่งท่ีมนุษยสรางขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและบันทึกขอมูลทางดาน ภมู ิศาสตร เครื่องมอื ภูมิศาสตรที่สําคญั ไดแ ก แผนที่ ลกู โลก เขม็ ทิศ รปู ถา ยทางอากาศ ภาพถายจากดาวเทียม และเครื่องมือเทคโนโลยเี พอ่ื การศกึ ษาภูมิศาสตร ฯลฯ 3.1 แผนที่ เปนส่ิงท่ีมนุษยสรางขึ้นเพ่ือแสดงลักษณะที่ต้ังของส่ิงตาง ๆ ที่ปรากฏอยูบนพื้นผิวโลก ทงั้ ทีเ่ กิดขน้ึ เองตามธรรมชาติและสง่ิ ทม่ี นษุ ยสรา งข้ึน โดยการยอสวนใหม ีขนาดเล็กลงตามทต่ี อ งการ พรอ มท้ังใช เคร่อื งหมายหรือสัญลักษณแ สดงลกั ษณะแทนสง่ิ ตาง ๆ ลงในวสั ดุพืน้ แบนราบ ความสําคัญของแผนท่ี แผนที่เปนท่ีรวบรวมขอมูลประเภทตาง ๆ ตามชนิดของแผนที่ จึงสามารถใชประโยชนจ ากแผนทไ่ี ดตามวัตถุประสงค โดยไมจําเปนตองเดินทางไปเห็นพ้ืนท่ีจริง แผนที่ชวยให ผูใชส ามารถรูส่ิงทป่ี รากฏอยบู นพน้ื โลกไดอ ยางกวางไกล ถูกตองและประหยัด ประโยชนข องแผนท่ี แผนที่มปี ระโยชนต อ งานหลาย ๆ ดาน คือ 1. ดานการเมืองการปกครอง เพื่อรักษาความม่ันคงของประเทศชาติใหคงอยูจําเปนจะตองมี ความรูในเรื่องภูมิศาสตรก ารเมอื งหรอื ทเี่ รียกกันวา “ภมู ริ ฐั ศาสตร” และเครื่องมือทสี่ ําคญั ของนักภูมริ ฐั ศาสตร กค็ อื แผนที่ เพือ่ ใชศึกษาสภาพทางภูมิศาสตรและนํามาวางแผนดําเนินการเตรียมรับหรือแกไขสถานการณ ทเ่ี กดิ ขึ้นได 2. ดานการทหาร ในการพิจารณาวางแผนทางยุทธศาสตรของทหาร จําเปนตองหาขอมูลหรือ ขาวสารทเี่ ก่ยี วกับสภาพภูมิศาสตรและตําแหนงทางส่ิงแวดลอมที่ถูกตองแนนอนเก่ียวกับระยะทาง ความสูง เสน ทาง ลกั ษณะภูมิประเทศทส่ี าํ คัญ 3. ดานเศรษฐกจิ และสังคม ดานเศรษฐกิจ เปนเครือ่ งบงชคี้ วามเปน อยขู องประชาชนภายในชาติ การดาํ เนนิ งานเพือ่ พัฒนาเศรษฐกจิ ของแตละภูมิภาคที่ผานมา แผนท่ีเปนส่ิงแรกท่ีตองผลิตขึ้นมาเพื่อการใช งานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหงชาติ กต็ องอาศัยแผนท่ีเปนขอมูลพ้ืนฐานเพ่ือใหทราบทําเล ทต่ี ัง้ สภาพทางกายภาพแหลงทรัพยากร

18 4. ดานสังคม สภาพแวดลอมทางสังคมมีการเปล่ียนแปลงอยูเสมอที่เห็นชัดคือสภาพแวดลอม ทางภมู ิศาสตร ซงึ่ ทาํ ใหส ภาพแวดลอ มทางสงั คมเปล่ียนแปลงไป การศึกษาสภาพการเปล่ียนแปลงตองอาศัย แผนท่เี ปน สําคัญและอาจชวยใหการดําเนินการวางแผนพัฒนาสังคมเปนไปในแนวทางที่ถกู ตอง 5. ดานการเรียนการสอน แผนท่ีเปนตัวสงเสริมกระตุนความสนใจและกอใหเกิดความเขาใจ ในบทเรียนดีข้ึน ใชเ ปน แหลงขอมลู ท้งั ทางดานกายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถติ ิและการกระจายของ สง่ิ ตา ง ๆ รวมท้ังปรากฏการณท างธรรมชาติและปรากฏการณตา ง ๆ ใชเปนเครือ่ งชว ยแสดงภาพรวมของพืน้ ที่ หรอื ของภูมิภาค อนั จะนาํ ไปศกึ ษาสถานการณและวิเคราะหค วามแตกตา งหรอื ความสัมพันธของพ้ืนท่ี 6. ดา นสง เสรมิ การทองเท่ียว แผนทม่ี คี วามจําเปนตอนักทองเท่ียวในอันท่ีจะทําใหรูจักสถานที่ ทอ งเท่ียวไดงา ย สะดวกในการวางแผนการเดินทางหรอื เลอื กสถานทที่ องเที่ยวตามความเหมาะสม ชนิดของแผนที่ แบง ตามการใชง านได 3 ชนดิ ไดแก 1. แผนทีภ่ ูมิประเทศ เปนแผนท่ีแสดงความสูงตํ่าของพื้นผิวโลก โดยใชเสนช้ันความสูงบอกคา ความสูงจากระดับนา้ํ ทะเลปานกลาง แผนท่ชี นดิ น้ีเปน พืน้ ฐานท่ีจะนําไปทําขอ มูลอื่น ๆ เกี่ยวกับแผนที่ 2. แผนท่ีเฉพาะเรื่อง เปนแผนท่ีท่ีแสดงลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะ ไดแก แผนท่ีรัฐกิจ แสดงเขตการปกครองหรืออาณาเขต แผนทแ่ี สดงอณุ หภูมขิ องอากาศ แผนที่แสดงปริมาณนํ้าฝน แผนท่ีแสดง การกระจายตัวของประชากร แผนทเี่ ศรษฐกจิ แผนท่ปี ระวตั ิศาสตร เปน ตน 3. เปน แผนทที่ รี่ วบรวมเรอ่ื งตา ง ๆ ทง้ั ลักษณะทางกายภาพ ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางดาน ประชากร และอื่น ๆ ไวในเลม เดยี วกัน องคป ระกอบของแผนทมี่ ีหลายองคป ระกอบ คือ 1. สัญลักษณ คอื เครอ่ื งหมายที่ใชแ ทนสิ่งตาง ๆ ตามที่ตองการแสดงไวในแผนที่ เพื่อใหเขาใจ แผนทไี่ ดง า ยขึ้น เชน จุด วงกลม เสน ฯลฯ 2. มาตราสว น คือ อัตราสวนระยะหางในแผนทก่ี บั ระยะหางในภูมปิ ระเทศจริง 3. ระบบอางองิ ในแผนที่ ไดแก เสน ขนานละติจดู และเสน ลองตจิ ดู (เมรเิ ดยี น) เสน ละติจดู เปนเสนสมมติที่ลากไปรอบโลกตามแนวนอนหรือแนวทิศตะวันออก ตะวันตก แตละเสนหางกัน 1 องศา โดยมีเสน 0 องศา (เสนศูนยสูตร) แบงก่ึงกลางโลก เสนท่ีอยูเหนือเสนศูนยสูตร เรยี กวา “เสนองศาเหนือ” เสน ทอ่ี ยใู ตเ สน ศูนยสูตร เรยี กวา “เสนองศาใต” ละติจูด มที งั้ หมด 180 เสน เสน ลองตจิ ูด เปนเสนสมมตทิ ล่ี ากไปรอบโลกในแนวตั้งจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต แตละ เสนหางกัน 1 องศา กําหนดใหเสนท่ีลากผานตําบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เปนเสน 0 องศา (เมริเดยี นปฐม) ถา นับจากเสน เมริเดยี นปฐม ไปทางตะวันออก เรยี กเสนองศาตะวันออก ถา นบั ไปทางตะวันตก เรยี กเสน องศาตะวนั ตก ลองตจิ ดู มีท้งั หมด 360 เสน พิกัดภูมิศาสตร เปนตําแหนงที่ตั้งของจุดตาง ๆ บนพื้นผิวโลก เกิดจากการตัดกันของ เสนขนานละตจิ ดู และเสนเมรเิ ดยี น โดยเสนสมมตทิ ัง้ สองนจี้ ะตง้ั ฉากซงึ่ กันและกนั 4. ขอบระวาง แผนท่ีทกุ ชนิดควรมขี อบระวาง เพอื่ ชว ยใหด เู รียบรอยและเปนการกําหนดขอบเขต ของแผนท่ดี วย ขอบระวางมักแสดงดวยเสนตรงสองเสนหรอื เสนเดยี ว

19 5. ระบบอา งองิ บนแผนท่ี คือระบบที่กาํ หนดขน้ึ เพ่อื อาํ นวยความสะดวกในการคํานวณหาตําแหนง ที่ตง้ั และคํานวณหาเวลาของตําแหนงตาง ๆ บนพนื้ ผิวโลก ซึง่ แยกไดดงั น้ี การคํานวณหาตําแหนงท่ีต้ัง จะใชละติจูดและลองติจูดเปนเกณฑ วิธีนี้เรียกวา การพิกัด ภูมิศาสตร การคาํ นวณหาเวลา โดยใชหลักการวา 1 นาที = 15 ลิปดา และ 4 นาที = 1 ลองติจูด หรือ 1 องศา 6. สที ีใ่ ชในการเขียนแผนที่แสดงลกั ษณะภูมิประเทศ สดี าํ หมายถงึ สง่ิ สาํ คญั ทางวฒั นธรรมท่มี นษุ ยส รางขึ้น เชน อาคาร วดั สถานท่รี าชการ สีนํ้าตาล หมายถงึ ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศทม่ี คี วามสูง สีนํา้ เงนิ หมายถึง ลกั ษณะภูมิประเทศทเ่ี ปนน้าํ เชน ทะเล แมน ํ้า หนองบงึ สีแดง หมายถึง ถนนสายหลัก พื้นท่ยี า นชมุ ชนหนาแนน และลกั ษณะภมู ปิ ระเทศสาํ คัญ สีเขียว พชื พนั ธุไ มต า ง ๆ เชน ปา สวน ไร 3.2 ลูกโลก เปนเครื่องมือทางภูมิศาสตรอยางหนึ่งที่ใชเปนอุปกรณในการศึกษาคนควาหรือใช ประโยชนในดานอื่น ๆ ลกู โลกจําลองเปน การยอสว นของโลกมลี กั ษณะทรงกลม บนผิวของลูกโลกจะมีแผนท่ี โลก แสดงพน้ื ดิน พืน้ น้าํ สภาพภูมปิ ระเทศ ท่ตี ั้งประเทศ เมืองและเสนพิกัดทางภูมิศาสตร เพ่ือสามารถบอก ตําแหนง ตา ง ๆ บนพน้ื ผิวโลกได ลูกโลกจําลองสรา งคลา ยลกู โลกจริง แสดงสแี ทนลักษณะภูมิประเทศตา ง ๆ

20 องคประกอบของลกู โลก ไดแก เสนเมรเิ ดยี น เปน เสน สมมติที่ลากจากขว้ั โลกเหนือไปยังข้ัวโลกใต ซง่ึ กําหนดใหม ีคาเปน 0 องศา ทีเ่ มืองกรนี ชิ ประเทศอังกฤษ เสน ขนาน เปนเสน สมมติท่ลี ากไปรอบโลกในแนวนอน ทุกเสนจะขนานกับเสนศูนยสตู ร 3.3 เข็มทิศ เปนเคร่ืองมือสําหรับใชในการหาทิศทางของจุดหรือวัตถุ โดยมีหนวยเปนองศา เปรียบเทยี บกบั จุดเร่มิ ตน อาศยั แรงดงึ ดูดระหวา งสนามแมเ หลก็ ขั้วโลกกับเขม็ แมเหล็ก ซึ่งเปนองคประกอบที่ สาํ คัญท่สี ุด เข็มแมเหลก็ จะแกวง ไกวอสิ ระในแนวนอนเพอ่ื ใหแ นวเขม็ ชอ้ี ยใู นแนว เหนือ - ใต ไปยังข้ัวแมเ หลก็ โลกตลอดเวลา เข็มทิศมปี ระโยชนเพ่ือใชในการเดินทาง ไดแ ก การเดินเรอื ทะเล เคร่อื งบิน การใชเ ขม็ ทศิ จะตอง มีแผนทปี่ ระกอบและตอ งหาทิศเหนอื กอน 3.4 รูปถายทางอากาศและภาพถา ยจากดาวเทียม เปนรูปหรือขอมูลตัวเลขท่ีไดจากการเก็บขอมูล ภาคพน้ื ดินจากกลอ งทีต่ ดิ อยูกบั ยานพาหนะ เชน เครอื่ งบนิ หรือดาวเทียม ประโยชนของรูปถายทางอากาศและภาพถายจากดาวเทียม รูปถายทางอากาศและภาพถาย จากดาวเทียมใหขอมูลพื้นผิวของเปลือกโลกไดเปนอยางดี ทําใหเห็นภาพรวมของการใชพื้นท่ีและ การเปลี่ยนแปลงตางๆ ตามที่ปรากฏบนพื้นโลกเหมาะแกการศึกษาทรัพยากรผิวดิน เชน ปาไม การใช ประโยชนจากดิน หนิ และแร 3.5 เครือ่ งมอื เทคโนโลยีเพ่อื การศกึ ษาภมู ิศาสตร เทคโนโลยีท่สี าํ คญั ดานภมู ศิ าสตร คือ 1) ระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร (GIS) หมายถงึ การเก็บ รวบรวมและบันทกึ ขอ มลู ทางภูมิศาสตร ดว ยระบบคอมพวิ เตอรโดยขอ มูลเหลานี้สามารถปรับปรุงแกไขใหถูกตองทันสมัย และสามารถแสดงผลหรือ นําออกมาเผยแพรเปนตัวเลข สถิติ รูปภาพ ตาราง แผนที่และขอความทางหนาจอคอมพิวเตอรหรือพิมพ ออกมาเปน เอกสารได

21 ประโยชนข องระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร (GIS) คือชว ยใหป ระหยัดเวลาและงบประมาณ ชวยใหเห็นภาพจําลองพ้ืนที่ชัดเจนทําใหการตัดสินใจวางแผนจัดการและพัฒนาพื้นท่ีมีความสะดวกและ สอดคลอ งกับศกั ยภาพของพืน้ ที่น้ันและชวยในการปรบั ปรุงแผนท่ีใหทนั สมยั 2) ระบบพกิ ดั พ้นื ผิวโลก (GPS) เปน เครอ่ื งมอื รบั สัญญาณพกิ ัดพ้นื ผวิ โลกอาศัยระยะทางระหวา ง เคร่ืองรับดาวเทียม GPS บนพ้ืนผิวโลกกับดาวเทียมจํานวนหน่ึงท่ีโคจรอยูในอวกาศและระยะทางระหวาง ดาวเทยี มแตละดวง ปจ จุบันมดี าวเทยี มชนิดน้อี ยูป ระมาณ 24 ดวง เครื่องมือรับสัญญาณ มีขนาดและรูปราง คลา ยโทรศพั ทม ือถือ เม่ือรับสัญญาณจากดาวเทียมแลวจะทราบคาพิกัด ณ จุดท่ีวัดไว โดยอาจจะอานคาเปน ละตจิ ูดและลองจิจดู ได ความคลาดเคลือ่ นขึ้นอยูกบั ชนิดและราคาของเครือ่ งมือ ประโยชนของเครื่องมือเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษาภูมิศาสตร จะคลายกับการใชประโยชน จากแผนทสี่ ภาพภูมิประเทศและแผนท่ีเฉพาะเรือ่ ง เชน จะใหคาํ ตอบวาถาจะเดินทางจากจุดหน่ึงไปยังอีกจุด หน่ึง ในแผนท่ีจะมีระยะทางเทาใด ถาทราบความเร็วของรถจะทราบวาใชเวลานานเทาใด บางครั้งขอมูล มคี วามสับสนมาก เชน ถนนบางชว งมสี ภาพถนนไมเ หมือนกัน คอื บางชวงเปนถนนกวา งทสี่ ภาพผวิ ถนนดี บางชวงเปน ถนนลกู รัง บางชวงเปนหลมุ เปนบอ ทาํ ใหการคิดคํานวณเวลาเดินทางลําบากแตระบบสารสนเทศ ภมู ิศาสตรจะชว ยใหค ําตอบได

22 กจิ กรรมที่ 1.3 วิธีใชเครือ่ งมอื ทางภูมศิ าสตร 1) ถาตองการทราบระยะทางจากที่หน่ึงไปยังอีกที่หน่ึง ผูเรียนจะใชเคร่ืองมือทางภูมิศาสตร ชนดิ ใด .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ................................................................................................... 2) ภาพถา ยจากดาวเทียม มีประโยชนอ ยา งไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ................................................................................................... 3) แผนที่มปี ระโยชนอยางไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ................................................................................................... 4) ถาตองการทราบวาประเทศไทยอยูพิกัดภูมิศาสตรที่เทาไหร ผูเรียนจะใชเครื่องมือทาง ภูมิศาสตรชนดิ ใดไดบา ง .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ....................................................................................................

23 เรอ่ื งท่ี 4 สภาพภมู ศิ าสตรกายภาพของไทยท่ีสง ผลตอ ทรัพยากรตาง ๆ และสิ่งแวดลอ ม ประเทศไทยมีความแตกตางกันทางสภาพภูมิศาสตรกายภาพ เน่ืองจากมีปจจัยท่ีกอใหเกิดลักษณะ ภมู ปิ ระเทศ คอื 1) การผันแปรของเปลือกโลก เกิดจากพลังงานภายในโลกท่ีมีการบีบ อัด ใหยกตัวสูงขึ้นหรือ ทรดุ ตา่ํ ลง สวนที่ยกตัวสงู ขึน้ ไดแก ภเู ขา ภเู ขาไฟ เนินเขา ท่รี าบสูง สวนท่ีลดตา่ํ ลง ไดแก หุบเขา ท่รี าบลุม 2) การกระทาํ ของตวั กระทาํ ตา ง ๆ เมอื่ เกิดการผนั แปรแบบแรกแลว กจ็ ะเกดิ การกระทาํ จากตวั ตาง ๆ เชน ลม น้าํ คล่ืน ไปกัดเซาะพังทลายภูมิประเทศหลัก ลักษณะของการกระทํามี 2 ชนิด คือ การกัดกรอน ทาํ ลาย คอื การทําลายผวิ โลกใหตาํ่ ลง โดย ลม อากาศ นํา้ นํา้ แข็ง คลน่ื ลมและ การสะสมเสรมิ สรา ง คือ การปรบั ผิวโลกใหราบโดยเปน ไปอยางชา ๆ แตตอ เนอ่ื ง 3) การกระทาํ ของมนุษย เชน การสรา งเข่ือน การระเบดิ ภูเขา ดว ยเหตดุ งั กลาว นกั ภูมศิ าสตรไดใ ชห ลกั เกณฑค วามแตกตางทางดานกายภาพ เชน ภูมิประเทศ ภูมิอากาศของทอ งถ่นิ มาใชในการแบง ภาคภมู ิศาสตร จงึ ทําใหประเทศไทยมีสภาพภมู ศิ าสตรท ่ีแบง เปน 6 เขต คือ 1. เขตภูเขาและหุบเขาทางภาคเหนือ ลักษณะภูมิประเทศเปนภูเขามากกวาภาคใด ๆ และ เทือกเขาจะทอดยาวในแนวเหนือใตสลับกับท่ีราบหุบเขา โดยมีที่ราบหุบเขาแคบ ๆ ขนานกันไป อันเปนตน กําเนิดของแมน้ําลาํ คลองหลายสาย แควใหญนอยในภาคเหนือทําใหเกิดท่ีราบลุมแมนํ้า ซึ่งอยูระหวางหุบเขา อันอุดมสมบูรณไปดวยทรัพยากรธรรมชาติ ราษฎรสวนใหญประกอบอาชีพเพาะปลูก เล้ียงสัตวและทํา เหมอื งแร นอกจากนที้ รพั ยากรธรรมชาตยิ งั เออื้ อาํ นวยใหเ กดิ อตุ สาหกรรมในครวั เรือนทมี่ ีชื่อเสยี ง เปนท่ีรูจกั กนั มาชา นาน ภาคเหนอื จะอยูในเขตรอนท่มี ลี ักษณะภูมิอากาศคลายคลึงกับภูมิอากาศทางตอนใตของเขตอบอุน ของประเทศทมี่ ี 4 ฤดู 2. เขตเทือกเขาทางภาคตะวันตก ลักษณะภูมิประเทศเปนพ้ืนที่แคบ ๆ ทอดยาวขนานกับ พรมแดนประเทศพมา สวนใหญเปน ภเู ขา มีแหลง ทรัพยากรแรธาตแุ ละปาไมของประเทศ มีปริมาณฝนเฉล่ีย ตํ่ากวาทุกภาคและเปนภูมิภาคที่ประชากรอาศัยอยูนอย สวนใหญอยูในเขตที่ราบลุมแมนํ้าและชายฝงและ มักประกอบอาชีพปลกู พชื ไรแ ละการประมง ลกั ษณะภมู อิ ากาศโดยทัว่ ไป มีความแหง แลงมากกวา ในภาคอื่น ๆ เพราะมีเทอื กเขาสงู เปน แนวกาํ บงั ลม ทําใหอ ากาศในฤดูรอนและฤดูหนาวแตกตางกันอยางเดนชัด เนื่องจาก แนวเทือกเขาขวางกั้น ทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต กอใหเกิดบริเวณเงาฝนหรือพ้ืนท่ีอับลม ฝนจะตก ดา นตะวันตกของเทอื กเขามากกวา ดานภาคตะวันออก 3. เขตท่รี าบของภาคกลาง ลกั ษณะภูมปิ ระเทศสวนใหญเ ปน ท่รี าบลมุ แมน้าํ อันกวางใหญ มีลักษณะเอียงลาดจากเหนือลงมาใต เปนท่ีราบที่มีความอุดมสมบูรณมากท่ีสุดเพราะเกิดการทับถมของ ตะกอน เชน ที่ราบลมุ แมน้ําเจาพระยา และทาจีน เปน แหลง ทท่ี าํ การเกษตร (ทํานา) ที่ใหญท่ีสุด มีเทือกเขา เปนขอบของภาค ทง้ั ดานตะวันตกและตะวนั ออก 4. เขตภเู ขาและท่ีราบบรเิ วณชายฝง ทะเลตะวันออก ลักษณะภูมปิ ระเทศเปน เทอื กเขาสงู และ

24 ทรี่ าบ ซึ่งสว นใหญเปน ท่รี าบลูกฟูกและมีแมน ํา้ ท่ีไหลลงสอู าวไทย แมนํ้าในภาคตะวันออกสวนมากเปนแมนํ้า สายสน้ั ๆ ซ่งึ ไดพ ดั พาเอาดนิ ตะกอนมาทง้ิ ไว จนเกดิ เปนทร่ี าบแคบ ๆ ตามท่ีลุมลักษณะชายฝงและมีลักษณะ ภูมิประเทศเปนเกาะ อาว และแหลม ลกั ษณะภูมิอากาศ ภาคตะวนั ออกมีชายฝง ทะเลและมเี ทือกเขาเปนแนว ยาว เปด รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใตจากอาวไทยอยางเต็มที่ จึงทําใหภาคน้ีมีฝนตกชุกหนาแนนบางพื้นที่ ไดแ ก พนื้ ท่ีรับลมดานหนาของเทือกเขาและชายฝงทะเล อุณหภูมิของภาคตะวันออกจะมีคาสมํ่าเสมอตลอด ทง้ั ปและมคี วามชื้นคอนขางสงู เหมาะแกการทาํ สวน 5. เขตทีร่ าบสงู ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ลักษณะภมู ิประเทศเปน ทรี่ าบสงู ขนาดตา่ํ ทางบริเวณ ตะวันตกของภาคจะมีภูเขาสูง ทางบริเวณตอนกลางของภาคมีลักษณะเปนแองกะทะ เรียกวา “แองท่ีราบ- โคราช” มีแมน ํ้าชีและแมนา้ํ มูลไหลผา น ยังมีทร่ี าบโลงอยูห ลายแหง เชน ทงุ กุลารอ งไห ทงุ หมาหิว ซึง่ สามารถ ทํานาไดแตไ ดผลผลติ ตํา่ และมีแนวทวิ เขาภพู านทอดโคง ยาวคอ นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของภาคถัดเลยจาก แนวทวิ เขาภูพานไปทางเหนือมแี อง ทรุดต่ําของแผนดนิ เรยี กวา “แอง สกลนคร” 6. เขตคาบสมุทรภาคใต ลกั ษณะภูมิประเทศเปนคาบสมุทรย่ืนไปในทะเล มีเทือกเขาทอดยาว ในแนวเหนือใต ท่ีเปนแหลงทับถมของแรดีบุก และมีความสูงไมมากนักเปนแกนกลางบริเวณชายฝงทะเล ทั้งสองดา นของภาคใตเปนท่ีราบ มีประชากรอาศยั อยูหนาแนน ภาคใตไ ดร บั อิทธพิ ลความช้ืนจากทะเลท้ังสอง ดา น มีฝนตกชกุ ตลอดป และมีปริมาณฝนเฉลยี่ สูง เหมาะแกการเพาะปลกู พืชผลเมืองรอน ที่ตองการความชื้นสูง ลกั ษณะภมู อิ ากาศไดร ับอิทธพิ ลของลมมรสุมท้ังสองฤดู จึงเปนภาคท่ีมีฝนตกตลอดท้ังป ทําใหเหมาะแกการ ปลูกพืชเมอื งรอนทีต่ อ งการความชุมชืน้ สูง เชน ยางพารา ปาลมนาํ้ มนั เปน ตน องคประกอบของสิ่งแวดลอมทางกายภาพของไทย ที่สําคัญมี 3 องคประกอบ ไดแก ลักษณะ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกันและมีผลตอความเปนอยูของ มนษุ ยท ้ังทางตรงและทางออม 1) ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะของเปลือกโลกทเ่ี หน็ เปนรปู แบบตา งๆ แบงเปน 2 ประเภท คือ ลักษณะภูมิประเทศหลัก ไมเปล่ียนรูปงาย ไดแก ที่ราบ ที่ราบสูง ภูเขา และเนนิ เขา ลักษณะภูมิประเทศรองเปลย่ี นแปลงรปู ไดง า ย ไดแ ก หบุ เขา หว ย เกาะ อาว แมน ้าํ สนั ดอนทราย แหลม ทะเลสาบ 2) ลักษณะภูมิอากาศ หมายถึง คาเฉล่ียของลมฟาอากาศที่เกิดข้ึนเปนประจําในบริเวณใด บริเวณหนง่ึ ในชว งระยะเวลาหนึง่ ซ่ึงมีปจจัยควบคุมอากาศ เชน ตาํ แหนงละตจิ ูด 3) ทรพั ยากรธรรมชาติ ทรพั ยากรธรรมชาติ หมายถึง ส่ิงท่ีเกิดข้ึนเองตามธรรมชาติและมนุษย สามารถนําไปใชประโยชนในการดํารงชีวิตได แบงออกเปน 4 ประเภท คือ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ํา ทรพั ยากรปาไมแ ละทรพั ยากรแรธ าตุ ทรัพยากรธรรมชาติ แบง เปน 3 ประเภท คือ - ทรัพยากรทใ่ี ชแลวหมดไปไมสามารถเกิดมาทดแทนใหมไ ด เชน นํ้ามนั แรธ าตุ - ทรพั ยากรท่ีใชแลว สามารถสรา งทดแทนได เชน ปา ไม สตั วบ ก สตั วน ํา้ - ทรพั ยากรทใ่ี ชแลวไมหมดไป เชน นาํ้ อากาศ เปน ตน

25 การอนุรกั ษท รพั ยากรธรรมชาติ การอนรุ ักษ หมายถึง การรูจ ักใชท รพั ยากรธรรมชาตอิ ยางคมุ คา และใหเกิดประโยชนมากทส่ี ุด โดยมวี ัตถุประสงค คอื 1. เพ่ือปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย หมายถึง การใชประโยชนสูงสุด และรักษาสมดุลของ ธรรมชาติไวดว ย โดยใชเทคโนโลยีทท่ี ําใหเกิดผลเสยี ตอสภาพแวดลอมนอยท่ีสุด 2. เพ่ือรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดลอมใหอยูในสภาพสมดุล โดยไมเกิดส่ิงแวดลอมเปนพิษ (Polution) จนทําใหเ กดิ อันตรายตอมนุษยและส่งิ แวดลอม 1) ทรัพยากรดิน ดินเกิดจากการสลายตัวของหิน แรธาตุและอินทรียวัตถุตาง ๆ อันเน่ืองมาจากการ กระทาํ ของลม ฟา อากาศและอน่ื ๆ สวนประกอบท่ีสาํ คัญของดนิ ไดแ ก อนินทรยี ว ัตถหุ รอื แรธ าตุ ปญ หาของการใชท รัพยากรดนิ เกดิ จาก 1. การกระทําของธรรมชาติ เชน การสึกกรอนพังทลายท่ีเกิดจากลม กระแสนํ้าและ การชะลางแรธ าตตุ า ง ๆ ในดิน 2. การกระทาํ ของมนุษย เชน การทาํ ลายปาไม การปลูกพชื ชนิดเดียวซ้ําซาก การเผาปาและ ไรน า ทําใหสูญเสียหนา ดนิ ขาดการบาํ รุงรักษาดนิ การอนรุ ักษทรัพยากรดิน โดยการปลกู พืชหมนุ เวยี น การปลูกพืชแบบข้นั บันไดปอ งกนั การเซาะ ของนํา้ ปลกู พืชคลมุ ดิน ปอ งกนั การชะลางหนา ดนิ ไมตัดไมทาํ ลายปาและการปลูกปาในบริเวณท่ีมีความลาดชัน เพ่ือปองกันการพงั ทลายของดิน

26

27 2) ทรัพยากรน้ํา น้ําเปนทรัพยากรที่จําเปนตอการดํารงชีวิตของมนุษยและสิ่งมีชีวิต ใชแลว ไมหมดส้ินไป แบงเปน - นํา้ บนดนิ ไดแก แมน้ํา ลําคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ ปรมิ าณน้ํา ขึน้ อยูกบั ปริมาณนา้ํ ฝน - น้ําใตด นิ หรือน้าํ บาดาล ปริมาณนาํ้ ขน้ึ อยูกบั นา้ํ ท่ไี หลซมึ ลงไปจากพื้นดิน และความสามารถ ในการกกั นํ้าในชนั้ หนิ ใตดิน - น้ําฝน ไดจากฝนตก ซ่ึงแตละบริเวณจะมีปริมาณนํ้าแตกตางกัน ซึ่งในประเทศไทย เกดิ ปญ หาวิกฤตกิ ารณเก่ียวกับทรพั ยากรนาํ้ คอื เกิดภาวะการขาดแคลนน้าํ และเกิดมลพษิ ทางน้ํา เชน นํ้าเสีย จากโรงงานอตุ สาหกรรม การอนรุ ักษท รัพยากรนาํ้ โดยการ 1. การพฒั นาแหลงน้าํ ไดแก การขุดลอกหนอง คลองบึงและแมน้ําที่ต้ืนเขิน เพื่อใหสามารถ กกั เก็บนา้ํ ไดม ากข้ึน ตลอดจนการสรางเขื่อนและอา งกักเก็บนํา้ 2. การใชน ้ําอยางประหยัด ไมป ลอยใหน้าํ สญู เสยี ไปโดยเปลา ประโยชนและสามารถนาํ นํา้ ทีใ่ ช แลวกลบั มาหมนุ เวยี นใชไดใ หมอีก เชน น้าํ จากโรงงานอตุ สาหกรรม 3. การควบคุมรักษาตนน้ําลาํ ธาร ไมม กี ารอนญุ าตใหม กี ารตดั ตนไมทาํ ลายปา อยางเดด็ ขาด 4. ควบคุมมิใหเกิดมลพิษแกแหลงน้ํา มีการดูแลควบคุมมิใหมีการปลอยส่ิงสกปรกลงไป ในแหลงน้ํา 3) ทรพั ยากรปา ไม ปาไมม คี วามสําคัญตอมนุษยท ้งั ทางตรงและทางออม เชน ชวยรักษาสภาพ ดนิ นาํ้ อากาศ บรรเทาความรุนแรงของลมพายุและยังไดรับผลิตภัณฑจากปาไมหรือใชเปนแหลงทองเท่ียว พกั ผอนหยอ นใจได ปา ไม แบง เปน 2 ประเภท คือ 1. ปาไมไ มผลัดใบ เชน ปา ดงดิบ หรือปาดิบเปน ปา ไมบ รเิ วณท่ีมีฝนตกชุก พบมากทางภาคใต และภาคตะวนั ออก ปาดิบเขา พบมากในภาคเหนอื ปาสนเขา พบทางภาคเหนอื และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปา ชายเลนนํ้าเคม็ เปนปาไมต ามดนิ เลน น้าํ เค็มและนาํ้ กรอ ย 2. ปาไมผลัดใบ เชน ปาเบญจพรรณ เปนปาผลัดใบผสม พบมากที่สุดในภาคเหนือ ปาแดง ปาโคก ปาแพะ เปน ปา โปรงพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปา ชายหาด เปน ตน ไมเลก็ ๆ ข้ึนตามชายหาด ปาพรุ หรอื ปาบึง เปนปา ไมท ่ีเกิดตามดนิ เลน การอนุรักษทรัพยากรปาไม สามารถทําไดโดยการออกกฎหมายคุมครองปาไม คือ พระราชบัญญัติปาสงวนแหงชาติ พ.ศ. 2507 การปองกันไฟไหมปา การปลูกปาทดแทนไมที่ถูกทําลายไป การปอ งกันการลักลอบตัดไมแ ละการใชไมใ หเ กิดประโยชนและคมุ คามากท่ีสุด 4) ทรพั ยากรแรธ าตุ แรธ าตุ หมายถงึ สารประกอบเคมีทเ่ี กิดขนึ้ เองตามธรรมชาติ แบง ออกเปน - แรโ ลหะ ไดแ ก เหลก็ ทองแดง สังกะสี ดีบุก ตะกวั่ - แรอ โลหะ ไดแ ก ยิปซมั่ ฟลูออไรด โปแตช เกลือหนิ - แรเ ช้อื เพลิง ไดแ ก ลกิ ไนต หินนํ้ามนั ปโ ตรเลยี ม กา ซธรรมชาติ

28 การอนรุ กั ษทรพั ยากรแรธ าตุ 1. ขดุ แรมาใชเ มอ่ื มีโอกาสเหมาะสม 2. หาวิธีใชแรใหมปี ระสิทธิภาพและไดผ ลคุมคา มากท่ีสดุ 3. ใชแรอยา งประหยดั 4. ใชว สั ดหุ รอื สง่ิ อ่นื แทนส่ิงท่จี ะตองทําจากแรธาตุ 5. นาํ ทรัพยากรแรกลบั มาใชใหม เชน นําเศษเหลก็ เศษอลูมเิ นียม มาหลอมใชใหม เปนตน ปจ จยั ท่ีมีผลกระทบตอทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ไดแ ก 1. การเพ่ิมประชากรมผี ลทําใหตองใชทรัพยากรและส่ิงแวดลอมมากขึ้น จึงเกิดปญหาความ เสือ่ มโทรมของสภาพแวดลอมตามมามากข้นึ 2. การใชเ ทคโนโลยที ันสมัย ซง่ึ อาจทําใหเกิดทัง้ ผลดแี ละผลเสยี ตอธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอม กจิ กรรมที่ 1.4 สภาพภูมศิ าสตรกายภาพของไทยที่สงผลตอ ทรัพยากรตา งๆ และส่งิ แวดลอม 1) ใหผเู รยี นอธบิ ายวาสภาพภมู ิศาสตรข องประเทศไทย ท้ัง 6 เขต มีอะไรบาง และแตละเขตสวนมาก ประกอบอาชพี อะไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 2) ผูเรียนคิดวาประเทศไทยมีทรัพยากรอะไรท่ีมากท่ีสุด บอกมา 5 ชนิด แตละชนิดสงผลตอ การดาํ เนินชีวิตของประชากรอยางไรบา ง .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ..............................................................................................................................................................................

29 เร่ืองที่ 5 ความสาํ คญั ของการดาํ รงชีวติ ใหส อดคลอ งกบั ทรพั ยากรในประเทศ 5.1 ความสาํ คัญของการดาํ รงชีวติ ใหสอดคลอ งกับทรัพยากรของประเทศไทย จากที่ไดกลาวมาแลววา ประเทศไทยมีความแตกตางกันทางดานกายภาพ เชน ภูมิประเทศ ภูมอิ ากาศของทองถิ่น จึงทําใหแตละภาคมีทรัพยากรท่ีแตกตางกันตามไปดวย สงผลใหประชากร ในแตละ ภมู ภิ าคประกอบอาชพี ตางกนั ไปดว ย เชน ภาคเหนือ ในภาคเหนือมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ จากการที่ลักษณะภูมิประเทศของ ภาคเหนือสวนใหญเปนทิวเขาและมีท่ีราบหุบเขาสลับกันแตพ้ืนที่ราบมีจํากัด ทําใหประชากรต้ังถิ่นฐาน อยา งหนาแนนตามทร่ี าบลมุ แมน ้าํ ทรัพยากรทสี่ าํ คัญ คือ 1) ทรพั ยากรดิน ทั้งดินที่ราบหบุ เขา ดินทมี่ นี ํ้าทว มถงึ และดินทเ่ี หลอื คา งจากการกัดกรอ น 2) ทรัพยากรนา้ํ แบงเปน 2 ประเภท คอื 1. นํ้าบนผิวดิน ไดแก แมนํ้าลําธาร หนองบึงและอางเก็บนํ้าตาง ๆ แมวาภาคเหนือจะมี แมนา้ํ ลาํ ธาร แตบ างแหง ปรมิ าณน้าํ กไ็ มเพียงพอ เนอื่ งจากเปนแมนาํ้ สายเลก็ ๆ และปจจุบันปริมาณนํ้าในแมนํ้า ลาํ ธารในภาคเหนือลดลงมาก ท้ังน้ีเนื่องจากการตัดไมทําลายปาในแหลงตนนํ้า แตอยางไรก็ตามยังมีแมน้ํา หลายสาย เชน แมน้ําปง วัง ยม นาน แมนํ้าปงจังหวัดเชียงใหมและแมนํ้ากกจังหวัดเชียงรายท่ีมีนํ้าไหล ตลอดป แมในฤดูแลงก็ยังมีน้ําท่ีทําการเกษตรไดบาง นอกจากน้ี ยังมีบึงนํ้าจืดขนาดใหญ คือ กวานพะเยา จังหวดั พะเยา บงึ บอระเพด็ จังหวดั นครสวรรค 2. น้ําใตดิน ภาคเหนือมีน้ําใตดินที่อยูในรูปของนํ้าบอและบอบาดาล จึงสามารถใชบริโภค และทาํ การเกษตรได 3) ทรัพยากรแร มเี หมอื งแรใ นทุกจังหวดั ของภาคเหนือ แรที่สําคัญไดแก ดีบุก ทังสเตน พลวง ฟลอู อไรด ดนิ ขาว ถานลกิ ไนตแ ละนาํ้ มันปโ ตรเลยี ม 4) ทรพั ยากรปาไม ภาคเหนอื มีอัตราพืน้ ทปี่ า ไมต อ พ้ืนที่ทงั้ หมดมากกวาทกุ ภาค จังหวดั ที่มปี าไม มากท่ีสดุ คือ เชียงใหม ปาไมส ว นใหญเปน ปา เบญจพรรณและปา แดง ไมท ส่ี ําคัญคือ ไมส ัก 5) ทรัพยากรดานการทองเท่ียว ภาคเหนือมีธรรมชาติที่สวยงาม สามารถดึงดูดนักทองเที่ยว ใหม าชมวิวทิวทัศน มีทัง้ น้ําตก วนอุทยาน ถํ้า บอนํ้ารอน เชน ดอยอินทนนทจังหวัดเชียงใหม ภูช้ีฟาจังหวัด เชยี งราย ประชากร ภาคเหนือเปนภาคที่ประชากรอาศัยอยูเบาบาง เนื่องจากภูมิประเทศ เต็มไปดวยภูเขา ประชากรสวนใหญอาศัยอยูหนาแนนตามที่ราบลุมแมน้ํา สวนใหญสืบเชื้อสายมาจากไทยลานนา นิยม เรียกคนภาคเหนอื วา “คนเมือง” ประชากรในภาคเหนอื สามารถรักษาวัฒนธรรมดัง้ เดิมไวไดอยางเหนียวแนน เชน ประเพณสี งกรานต ประเพณที านสลากหรอื ตานกว ยสลาก ประเพณีลอยกระทง

30 นอกจากน้ยี ังมชี าวไทยภเู ขาอาศัยอยูเปนจํานวนมาก เชน เผามง มเู ซอ เยา ลีซอ อกี อ กะเหร่ยี ง ฯลฯ จังหวดั ท่ีมีชาวเขามากท่สี ุด คอื เชียงใหม แมฮองสอนและเชียงราย การอพยพของชาวเขาเขามาในประเทศ ไทยจํานวนมากทําใหเกิดปญหาติดตามมา คือ ปญหาการตัดไมทําลายปา เพ่ือทําไรเล่ือนลอย ปญหา การปลูกฝน รฐั บาลไดแกไ ขปญ หา โดยหามาตรการตาง ๆ ที่ทําใหชาวเขาหันมาปลูกพืชเมืองหนาว เชน ทอ กาแฟ สตรอเบอร่ี บวย อะโวคาโด และดอกไมเมืองหนาว ฯลฯ นอกจากน้ีหนวยงานท่ีเกี่ยวของ ยังไดจัด การศกึ ษาเพอื่ ใหช าวเขาไดเ รียนภาษาไทย ปลูกจิตสาํ นึกความเปนคนไทย เพอื่ ใหเ ขา ใจถึงสิทธิหนาที่ การเปน พลเมืองไทยคนหน่ึง การประกอบอาชพี ของประชากรในภาคเหนอื ประชากรในภาคเหนือจะมีอาชีพทํานา ซ่ึงปลูกท้ัง ขา วเจาและขาวเหนยี ว ในพื้นที่ราบลุมแมน ้ํา เนอื่ งจากมดี ินอดุ มสมบรู ณแ ละมกี ารชลประทานท่ีดี จึงสามารถ ทํานาไดปล ะ 2 ครงั้ แตผลผลิตรวมยงั นอยกวาภาคกลางและภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ นอกจากน้ี ยงั ประกอบ อาชีพทําไร (ขาวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หอม กระเทียม ออย) การทําสวนผลไม (ล้ินจี่ ลําไย) อุตสาหกรรม (โรงบมใบยาสูบ การผลิตอาหารสาํ เรจ็ รปู และอาหารกระปอง) อุตสาหกรรมพ้ืนเมือง (เคร่ืองเขิน เคร่ืองเงิน การแกะสลักไมสัก การทํารมกระดาษ) อุตสาหกรรมการทองเท่ียวเน่ืองจากภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัด เชยี งใหม มที ศั นียภาพที่สวยงาม มโี บราณสถานมากมายและมวี ัฒนธรรมที่เกา แกทง่ี ดงาม ภาคตะวนั ตก เนือ่ งจากทวิ เขาในภาคตะวันตกเปนทวิ เขาที่ทอดยาวมาจากภาคเหนือ ดังน้ันลักษณะ ภมู ิประเทศจงึ คลา ยกับภาคเหนอื คอื เปนทิวเขาสูงสลบั กบั หุบเขาแคบ ซงึ่ เกิดจากการเซาะของแมน้ํา ลําธาร

31 อยางรวดเร็ว ทิวเขาสวนใหญเปนหินคอนขางเกา สวนใหญเปนหินปูน พบมากที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี ภเู ขาหนิ ปนู เหลานี้จะมยี อดเขาหยกั แหลมตะปมุ ตะปา นอกจากนย้ี งั มหี นิ ดนิ ดาน หินแกรนติ และ หนิ ทราย และมที ร่ี าบในภาคตะวนั ตก ไดแ ก ท่รี าบลุม แมนาํ้ แควใหญ ท่ีราบลุมแมน า้ํ แควนอย ทร่ี าบลมุ แมน ํ้า แมก ลองมที รพั ยากรทีส่ ําคญั คือ 1) ทรัพยากรดิน ดินในภาคตะวันตกสวนใหญเกิดจากการผุพังของหินปูน ดินจึงมีสภาพเปน กลางหรือดา ง ซ่ึงถอื วาเปนดนิ ที่อดุ มสมบรู ณ เหมาะกับการเพาะปลูก 2) ทรพั ยากรนา้ํ ภาคตะวนั ตกเปนภาคท่ีมีฝนตกนอยกวาทุกภาคในประเทศ เพราะอยูในพื้นท่ี อับฝน แบงเปน 2 ประเภท คอื 1. น้ําบนผิวดิน ไดแก แมนํ้า ลําธาร หนองบึงและอางเก็บนํ้าตาง ๆ แมวาจะมีฝนตกนอย เพราะมที วิ เขาตะนาวศรแี ละทิวเขาถนนธงชัยขวางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต ดังนั้นฝนจึงตกมากบนภูเขา ซึ่งใน ภาคตะวันตกมีปาไมและแหลงตนน้ําลําธารอุดมสมบูรณ จึงทําใหตนนํ้าลําธารมีนํ้าหลอเลี้ยงอยูเสมอ เชน แมน้ําแควใหญ แมนาํ้ แควนอย และแมน า้ํ แมกลอง นอกจากน้ีลักษณะภูมิประเทศในภาคตะวันตก มีลักษณะ เปนหบุ เขาจํานวนมาก จงึ เหมาะอยางย่งิ ในการสรา งเข่ือน เชน เขือ่ นภมู ิพล เขอื่ นศรนี ครนิ ทร เขื่อนวชิราลงกรณ เขือ่ นเขาแหลม เขื่อนแกง กระจาน และเขือ่ นปราณบุรี 2. นํ้าใตดิน ภาคตะวันตกมีการขุดบอบาดาล ปริมาณนํ้าที่ขุดไดไมมากเทากับนํ้าบาดาล ในภาคกลาง 3) ทรพั ยากรแร ภาคตะวันตกมีหินอคั นแี ละหนิ แปร มีดีบุกซ่ึงพบในหินแกรนิต ทังสเตน ตะก่ัว สงั กะสี เหลก็ รัตนชาติ และหินนาํ้ มนั 4) ทรัพยากรปาไม ภาคตะวันตกมคี วามหนาแนนของปาไมรองจากภาคเหนือ จังหวัดท่ีมีปาไม มากทส่ี ุด คือ จังหวดั กาญจนบุรี 5) ทรัพยากรดานการทอ งเทยี่ ว สถานที่ทอ งเทย่ี วสว นใหญเ ปนภูเขา ถํ้า น้ําตก เขื่อน อุทยาน- แหง ชาติ ฯลฯ ประชากร ภาคตะวันตกเปน ภาคท่มี ีความหนาแนนของประชากรนอยทส่ี ุด จงั หวดั ที่มีประชากร หนาแนน ทส่ี ดุ คือ จงั หวัดราชบรุ ี เพราะมีพืน้ ทเี่ ปน ท่ีราบลมุ แมนํา้ การประกอบอาชีพของประชากร ภาคตะวันตกมีลักษณะภูมิประเทศเปนภูเขาคลายกับ ภาคเหนอื และมพี ืน้ ท่รี าบคลา ยกบั ภาคกลาง ประชากรสวนใหญจงึ อาศยั ในพ้ืนทรี่ าบและมอี าชีพเกษตรกรรม อาชีพท่ีสําคัญคือการทําไรออย (โดยเฉพาะท่ีจังหวัดกาญจนบุรีและราชบุรี) ปลูกสับปะรด ขาวโพด มนั สําปะหลัง ฝาย องนุ การทาํ นา ตามท่ีราบลุมแมน้ํา การเลี้ยงโคนม การทําโองเคลือบดินเผา ทํานาเกลือ อาชีพการประมง การทําเคร่ืองจักสาน นอกจากนี้ยังมี การทําเหมืองแรดีบุก ทังสเตน ตะกั่ว สังกะสี เหล็ก รตั นชาตแิ ละหินนํ้ามนั ภาคกลาง ภมู ปิ ระเทศในภาคกลางเปนท่รี าบลมุ แมนาํ้ เพราะแมนํา้ หลายสายไหลผานทําใหเกิดการ ทับถมของตะกอนและมภี เู ขาชายขอบ พน้ื ทีแ่ บงไดเ ปน 2 เขตยอ ย คือ ภาคกลางตอนบน เปนทร่ี าบลุมแมนํ้า และท่ีราบลูกฟูก มีเนินเขาเต้ีย ๆ สลับเปนบางตอน ในเขตภาคกลางตอนลาง คือต้ังแตบริเวณจังหวัด

32 นครสวรรคลงมาจนถึงอา วไทย มลี ักษณะเปนท่ีราบลมุ น้าํ ทว มถงึ และเปน ลานตะพักลาํ นํ้า (Stream Terrace) ทรพั ยากรที่สําคญั คอื 1) ทรพั ยากรดิน ภาคกลางมีดินที่อุดมสมบรู ณกวาภาคอ่นื ๆ เพราะเกดิ จากการทบั ถมของโคลน ตะกอนที่มากบั แมน า้ํ ประกอบกบั มีการชลประทานทดี่ ี จึงทาํ การเกษตรไดด ี เชน การทาํ นา 2) ทรัพยากรนา้ํ ภาคกลางเปน ภาคที่มีนาํ้ อุดมสมบูรณ แบงเปน 2 ประเภท คือ 1. นํ้าบนผิวดิน มีแมนํ้าท่ีสําคัญหลอเลี้ยง คือ แมนํ้าเจาพระยา ซึ่งจะมีน้ําไหลตลอดท้ังป เน่ืองจากมแี มน้าํ สายเล็ก ๆ จํานวนมากไหลลงมาสแู มน ้ําเจาพระยา มกี ารชลประทานที่ดี เพื่อกักเก็บนํ้าไวใช ในฤดูแลง นอกจากน้ยี งั มีทะเลสาบขนาดใหญ คอื บึงบอระเพ็ด ซึ่งเปนแหลงเพาะพันธุปลาน้ําจืดที่ใหญท่ีสุด ในโลก 2. นาํ้ ใตด นิ เนอ่ื งจากภาคกลางมีลักษณะเปนแองขนาดใหญ จงึ มีบรเิ วณนา้ํ บาดาลมากท่ีสุด ของประเทศ 3) ทรัพยากรแร หนิ ในภาคกลางสวนใหญเ ปน หินเกิดใหมที่มีอายุนอย มีหินอัคนีซ่ึงเปนหินเกา พบไดท างตอนเหนือและชายขอบของภาคกลางและมีน้าํ มนั ท่จี งั หวดั กาํ แพงเพชร 4) ทรัพยากรปาไม ภาคกลางมีพ้ืนที่ปาไมนอยมาก จังหวัดท่ีมีปาไมมากคือจังหวัดท่ีอยูทาง ตอนบนของภาค คอื จงั หวดั เพชรบูรณ พษิ ณุโลก อุทยั ธานี สโุ ขทยั และกําแพงเพชร 5) ทรัพยากรดานการทองเที่ยว สถานท่ีทองเท่ียวสวนใหญเปนนํ้าตกและแมนํ้า ซึ่งปจจุบัน แมนํ้าหลายสายจะมีตลาดนํ้าใหนักทองเที่ยวไดมาเย่ียมชมมีวนอุทยาน หวยขาแขง จังหวัดอุทัยธานี นอกจากนี้ยงั มโี บราณสถานที่เปนมรดกโลก เชน อุทยานประวตั ิศาสตรท จ่ี งั หวัดพระนครศรีอยธุ ยา ประชากร ภาคกลางเปนภาคท่ีมปี ระชากรมากเปน อนั ดับสองรองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรสว นใหญจ ะหนาแนนมากในบริเวณท่ีราบลมุ แมนาํ้ เจาพระยา เพราะความอดุ มสมบรู ณเ หมาะแกก าร เพาะปลกู จังหวดั ท่ตี ดิ กับชายทะเลก็จะมีประชากรอาศัยอยหู นาแนน นอกจากนี้ภาคกลางจะมีอตั ราการเพิม่ ของ ประชากรรวดเรว็ มาก เน่อื งจากมกี ารอพยพเขา มาหางานทาํ ในเมอื งใหญก ันมาก การประกอบอาชีพของประชากร ภาคกลางมีความอุดมสมบูรณ ท้ังทรัพยากรดิน และนํ้า นับเปนแหลงอูขา วอนู ้ําของประเทศ ในภาคกลางตอนบนประกอบอาชีพทํานาขาวและทําไร (ขาวโพด ออย มันสําปะหลัง) รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ภาคกลางตอนลางจะมีอาชีพปลูกขาวในบริเวณราบลุมแมนํ้า เนอ่ื งจากทด่ี นิ เปน ดนิ เหนียวมนี า้ํ แชขงั และมีระบบการชลประทานดี จึงสามารถทํานาไดปละ 2 ครั้ง นับเปน แหลง ปลูกขา วทใี่ หญท สี่ ดุ ในประเทศและมีการทาํ นาเกลอื นากงุ ในแถบจงั หวดั ชายทะเล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเปนภาคท่ีเล็กท่ีสุด ตอนเหนือของภาคมีภูมิประเทศเปน ท่ีราบลุม เกดิ จากการเคล่ือนไหวและการบีบอัดตัวของเปลือกโลก ทําใหตอนกลางของภาคโกงตัวเปนทิวเขาไปจนถึง ดานตะวันออกเฉียงใต ขณะเดียวกันตอนเหนือของภาคเกิดการทรุดตัวเปนแองกลายเปนท่ีราบลุมแมนํ้า และเกดิ การทบั ถมของโคลนและตะกอน ตอนกลางของภาคเปนทวิ เขา ภมู ปิ ระเทศสว นใหญเปนหุบเขาแคบ ๆ

33 มีท่ีราบตามหุบเขา เรียกวา ท่ีราบดินตะกอนเชิงเขาตอนใตของภาคเปนท่ีราบชายฝงทะเลภาคตะวันออก มีทรัพยากรทส่ี าํ คัญ คอื 1) ทรพั ยากรดนิ ดินสว นใหญไมค อ ยสมบรู ณ เพราะเปนดินรวนปนทรายและน้ําฝน จะชะลาง ดนิ เหมาะแกก ารปลูกพืชสวน เชน ทุเรียน เงาะ ระกํา สละ มังคุด ฯลฯ และใชปลูกพืชไร เชน มันสําปะหลัง ออ ย ฯลฯ การทํานาก็มบี า งบริเวณตอนปลายของแมน ํา้ บางปะกง 2) ทรัพยากรน้ํา ภาคตะวันออกมีนํ้าอยางอุดมสมบูรณ แตเน่ืองจากแมน้ําในภาคตะวันออกเปน แมน้ําสายส้ัน ๆ ทําใหการสะสมน้ําในแมน้ํามีนอย เม่ือถึงชวงหนาแลงมักจะขาดแคลนน้ําจืด เพราะเปน ภมู ิภาคท่ีมนี ักทองเที่ยวจํานวนมาก นอกจากน้ีในหนา แลงนํา้ ทะเลเขามาผสมทาํ ใหเ กดิ น้าํ กรอ ย ซง่ึ ไมสามารถ ใชบริโภคหรอื เพาะปลกู ได การสรางเขอื่ นกไ็ มสามารถทําไดเ พราะสภาพภมู ิประเทศไมอ าํ นวย 3) ทรัพยากรแร ภาคตะวันออกมีแรอยูบาง เชน เหล็ก แมงกานีส พลวง แตมีแรท่ีมีช่ือเสียง คือ แรรตั นชาติ เชน พลอยสีแดง พลอยสนี ้ําเงินหรือไพลินและพลอยสเี หลอื ง โดยผลติ เปนสินคาสง ออกไปขาย ยงั ตางประเทศ 4) ทรัพยากรปาไม ปาไมในภาคตะวันออกจะเปนปาดงดิบและปาชายเลน แตก็ลดจํานวนลง อยา งรวดเร็ว เพราะมกี ารขยายพืน้ ทกี่ ารเกษตร สรา งนคิ มอตุ สาหกรรม ฯลฯ 5) ทรัพยากรดานการทอ งเทยี่ ว เปนภาคท่ีมที รพั ยากรทอ งเทยี่ วมากมาย โดยเฉพาะจังหวัด ทอ่ี ยูชายทะเล เกาะตางๆ นาํ้ ตก ฯลฯ ประชากร ภาคตะวนั ออกเปนอกี ภาคหนึ่งท่ีมีการเพิ่มของประชากรคอนขางสูง เน่ืองจากมีการ ยายมาทํามาหากิน การเจริญเตบิ โตของเขตอตุ สาหกรรม รวมท้ังการทองเท่ียวเปนเหตจุ ูงใจใหคนเขามาตั้งถ่ิน ฐานเพิ่มมากขึน้ การประกอบอาชีพของประชากร มีอาชพี ท่สี ําคัญ คอื 1. การเพาะปลูก มกี ารทาํ นา ทาํ สวนผลไม ท้งั เงาะ ทเุ รยี น มังคุด ระกาํ สละ สวนยางพารา ทําไรอ อย และมนั สําปะหลัง 2. การเลยี้ งสตั ว เปน แหลงเล้ยี งเปดและไก โดยเฉพาะทจ่ี งั หวดั ชลบรุ แี ละฉะเชิงเทรา 3. การทําเหมืองแร ภาคตะวันออกเปนแหลงท่ีมีแรรัตนชาติมากท่ีสุด เชน ทับทิม ไพลิน บษุ ราคัม สง ผลใหประชากรประกอบอาชีพเจยี รนยั พลอยดว ย โดยเฉพาะจงั หวัดจันทบรุ ีและตราด 4. อุตสาหกรรมในครวั เรือน เชน การผลติ เสอ่ี จันทบรุ ี เครอื่ งจักสาน 5. การทองเที่ยว เน่ืองจากมีทัศนียภาพที่สวยงามจากชายทะเลและเกาะตาง ๆ อุตสาหกรรมการ ทอ งเทีย่ วจึงสรา งรายไดใ หก บั ภมู ิภาคนี้เปน อยางมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลกั ษณะภมู ิประเทศสวนใหญ เปน ที่ราบสูงแองกะทะและยังมีท่ีราบลุมแมน้ําชี และแมนาํ้ มูลทเ่ี รยี กวา แอง โคราช ซ่งึ เปนทีร่ าบลมุ ขนาดใหญท ่สี ุดของภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื เพราะมแี มน า้ํ มลู และแมน ํ้าชีไหลผาน จึงมกั จะมนี าํ้ ทวมเมอื่ ฤดนู าํ้ หลาก มีทรัพยากรทีส่ าํ คัญ คอื 1) ทรัพยากรดิน ดินในภาคนี้มักเปนดินทราย ไมอุมน้ํา ทําใหการเพาะปลูกไดผลนอย แตกส็ ามารถแบงไดต ามพนื้ ท่ี คือ

34 บริเวณทีร่ าบลุม แมนํ้า แมน าํ้ ชี แมน ้ํามลู และแมน้ําโขง จะมีความอุดมสมบูรณคอนขางมาก นิยมปลกู ผักและผลไม สว นท่เี ปนนา้ํ ขงั มักเปน ดินเหนยี ว ใชทํานา บรเิ วณลําตะพักลาํ นํา้ สว นใหญเปนดนิ ทราย ใชทํานาไดแตผลผลิตนอย เชน ทุงกุลารองไห บริเวณท่ีสงู กวา น้ี นยิ มปลูกมนั สําปะหลงั บริเวณท่ีสงู และภูเขา เนอ้ื ดินหยาบเปนลูกรัง ท่ดี ินน้ีมักเปนปา ไม 2) ทรพั ยากรนา้ํ ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือจะมีปญ หาในเรอ่ื งของน้ํามากกวาภาคอน่ื ๆ แมวาฝน จะตกหนกั แตใ นหนาแลงจะขาดแคลนน้าํ เพอ่ื การเกษตรและการบรโิ ภค นาํ้ ในภาคนี้ จะแบงเปน 2 ประเภท คือ น้ําบนผิวดิน ไดแก น้ําในแมนํ้าชี แมนํ้ามูลและแมนํ้าสายตาง ๆ ในฤดูฝน จะมีปริมาณ น้าํ มาก แตในฤดูแลงนํ้าในแมนํ้าจะมนี อย เนื่องจากพื้นดินเปน ดนิ ทราย เมื่อฝนตกไมสามารถอุมนํ้าได สวนนํ้า ในแมน ํา้ ลําคลองก็มีปริมาณนอย เพราะน้ําจะซมึ ลงพื้นทราย แตภาคนถี้ ือวา โชคดีท่ีมเี ขอื่ น อางเก็บน้ําและฝาย มากกวา ทุก ๆ ภาค นํ้าใตด ิน ปริมาณนํ้าใตดนิ มมี าก แตม ปี ญหานํา้ กรอ ยและนํ้าเค็ม การขุดบอตองขุดใกลแหลง แมน ้ําเทา นน้ั หรอื ตอ งขุดใหลกึ จนถงึ ช้นั หนิ แข็ง 3) ทรัพยากรแร ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือมีแรโพแทชมากที่สุด จะมีอยูมากบริเวณตอนกลาง และตอนเหนอื ของภาค นอกจากนยี้ ังมแี รเ กลือหนิ มากทส่ี ุดในประเทศไทย 4) ทรัพยากรปาไม ปาไมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเปนปาแดง ซึ่งเปนปาผลัดใบเปน ปา โปรง ปาแดงชอบดนิ ลูกรังหรือดนิ ทราย เชน ไมเต็ง รัง พลวง พะเยา ฯลฯ 5) ทรัพยากรดานการทองเท่ียว มีแหลงทรัพยากรธรรมชาติและที่มนุษยสรางข้ึน เชน วิวทิวทศั น (ภูกระดงึ ) เข่ือน ผาหนิ (จังหวดั อุบลราชธาน)ี หลกั ฐานทางโบราณคดี (จงั หวดั อุดรธานี) ประชากร ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื มปี ระชากรหนาแนนอาศัยอยูตามแองโคราชบรเิ วณทรี่ าบลมุ ของแมน้ําชีและแมน า้ํ มลู การประกอบอาชีพของประชากร ประชากรประกอบอาชีพทีส่ าํ คญั คอื - การเพาะปลกู เชน การปลกู ขาว การทาํ ไร (ขาวโพด มันสําปะหลัง ออย ปอ ยาสบู ) - การเลย้ี งสัตว เชน โค กระบือ และการประมงตามเขอื่ นและอางเกบ็ นา้ํ - อุตสาหกรรม สวนใหญเ ปน การแปรสภาพผลผลิตทางการเกษตร เชน โรงสีขา ว โรงงานมนั สาํ ปะหลงั อัดเม็ด โรงงานทําโซดาไฟ (จากแรเ กลอื หนิ และแรโ พแทช) ภาคใต ลักษณะภมู ปิ ระเทศของภาคใตเ ปน คาบสมุทร มีทิวเขาสูงทอดยาวจากเหนือจรดใต มีทะเล ขนาบทง้ั 2 ดา น ทิวเขาทส่ี าํ คญั คอื ทวิ เขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราชและทิวเขาสันกาลาคีรี และมีแมนํ้า ตาปซึ่งเปนแมนํ้าท่ียาวและมีขนาดใหญท่ีสุดของภาคใต ที่เหลือจะเปนแมนํ้าสายเล็กๆ และส้ัน เชน แมน้ํา ปต ตานี แมนา้ํ สายบุรี และแมนํ้าโก-ลก มีชายฝงทะเลท้ังทางดานอาวไทย ซึ่งมีลักษณะเปนชายฝงแบบยกตัว เปน ท่ีราบชายฝงทเ่ี กิดจากคลนื่ พัดพาทรายมาทบั ถม จนกระท่งั กลายเปนหาดทรายทสี่ วยงาม และมีชายฝง ทะเล ดา นทะเลอันดามันทีม่ ีลักษณะเวา แหวงเพราะเปน ฝง ทะเลทจ่ี มนํ้าและมปี า ชายเลนข้ึนอยา งหนาแนน

35 1) ทรัพยากรดิน ลกั ษณะดินของภาคใตจ ะมี 4 ลักษณะ คือ 1. บรเิ วณชายฝง เปนดนิ ทราย ที่เหมาะแกการปลูกมะพราว 2. บริเวณที่ราบ ดินบริเวณที่ราบลุมแมนํ้า เกิดจากการทับถมของตะกอนเปนชั้นๆ ของอนิ ทรียว ัตถุ นยิ มทํานา 3. บรเิ วณที่ดอนยังไมไดบ อกลักษณะดิน นิยมปลกู ปาลม นํ้ามนั และยางพารา 4. บริเวณเขาสูง มีลกั ษณะเปน ดินท่มี หี นิ ติดอยู จึงไมเหมาะแกการเพาะปลูก 2) ทรัพยากรน้ํา แมน ้าํ สวนใหญในภาคใตเ ปนสายสั้น ๆ แตก็มีนํา้ อุดมสมบูรณ เนื่องจากมฝี นตก เกือบตลอดป แตบ างแหง ยังมีการขดุ นา้ํ บาดาลมาใช 3) ทรัพยากรแร แรทส่ี าํ คญั ในภาคใต ไดแก ดบี กุ (จงั หวัดพังงา) ทังสเตน เหล็ก ฟลูออไรด ยิปซ่ัม ดนิ ขาว ถา นหนิ ลิกไนต 4) ทรัพยากรปาไม ปา ไมใ นภาคใตเปนปาดงดิบและปา ชายเลน 5) ทรัพยากรดานการทองเที่ยว มีทรัพยากรดานการทองเที่ยวมาก เชน ทิวทัศนตามชายฝงทะเล เกาะ และอุทยานแหงชาตทิ างทะเล นาํ้ ตก สสุ านหอยลา นปที่จงั หวัดกระบี่ ประชากร ประชากรอาศยั อยหู นาแนนตามท่ีราบชายฝงตั้งแตจังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปถึง จังหวัดปตตานี เพราะเปน ท่ีราบผืนใหญ การประกอบอาชีพของประชากร อาชพี ทส่ี าํ คัญ คือ - การทาํ สวน เชน ยางพารา ปาลม นํ้ามนั และสวนผลไม - การประมง ทํากนั ทกุ จังหวัดท่ีมีชายฝง ทะเล - การทาํ เหมอื งแรด บี กุ - การทองเที่ยว ภาคใตมีภูมิประเทศที่สวยงาม ทําใหมีแหลงทองเที่ยวตามธรรมชาติมากมาย หลายแหง เชน ทิวทัศนชายฝงทะเล เกาะแกงตาง ๆ ฯลฯ สามารถทํารายไดจากการทองเท่ียวมากกวา ภาคอื่น ๆ 5.2 ความสาํ คัญของการดาํ รงชีวิตใหส อดคลอ งกบั ทรพั ยากรของประเทศในเอเชีย ลกั ษณะประชากรของทวีปเอเชยี เอเชยี เปนทวีปที่ใหญแ ละมีประชากรมากเปน อันดบั 1 ของโลก ถือเปนทวีปแหลงอารยธรรม เพราะเปน ดินแดนทีค่ วามเจริญเกิดขึ้นกอนทวีปอ่ืน ๆ ประชากรรูจักและตั้งถ่ิน ฐานกันมากอน สวนใหญอาศัยอยูหนาแนนบริเวณชายฝงทะเลและท่ีราบลุมแมน้ําตาง ๆ เชน ลุมแมน้ํา เจาพระยา ลุมแมน้ําแยงซีเกียง ลุมแมนํ้าแดงและลุมแมนํ้าคงคา สวนบริเวณที่มีประชากรเบาบางจะเปน บรเิ วณทแ่ี หง แลง กนั ดารหนาวเยน็ และในบริเวณที่เปนภเู ขาซับซอน ซ่ึงสว นใหญจะเปน บรเิ วณกลางทวปี ประชากรในเอเชียประกอบดว ยหลายเชื้อชาติ ดงั น้ี 1) กลมุ มองโกลอยด มีจํานวน 3 ใน 4 ของประชากรท้งั หมดของทวีป มีลักษณะเดน คอื ผวิ เหลือง ผมดําเหยยี ดตรง นยั นตารี จมกู แบน อาศยั อยูในประเทศ จีน ญ่ปี นุ เกาหลี และไทย 2) กลมุ คอเคซอยด เปน พวกผวิ ขาว หนา ตารปู รา งสงู ใหญเหมือนชาวยโุ รป ตา ผมสดี าํ สวนใหญ อาศยั อยูในเอเชยี ตะวันตกเฉยี งใตและภาคเหนือของอินเดีย ไดแ ก ชาวอาหรับ ปากีสถาน อินเดยี เนปาล

36 3) กลุม นกิ รอยด เปนพวกผิวดาํ ไดแ ก ชาวพื้นเมืองภาคใตของอินเดีย พวกเงาะซาไก มีรูปราง เล็ก ผมหยกิ นอกจากน้ียงั อยูในศรลี ังกาและหมูเกาะในเอเชียตะวนั ออกเฉยี งใต 4) กลุมโพลิเนเซยี น เปนพวกผิวสีคลํา้ อาศยั อยตู ามหมเู กาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต ไดแก ชนพื้นเมอื งในหมเู กาะของประเทศอินโดนีเซีย ประชากรของทวปี เอเชียจะกระจายตวั อยตู ามพ้นื ทตี่ าง ๆ ซงึ่ ขึ้นอยูก บั ความอดุ มสมบรู ณข องพ้ืนที่ ความเจรญิ ทางดานวิชาการในการนําเทคโนโลยีมาใชกับทรัพยากรธรรมชาติ เพ่ือใหเกิดประโยชนสูงสุดและ ทําเลที่ต้ังของเมืองท่ีเปนศูนยกลาง สวนใหญจะอยูกันหนาแนนบริเวณตามที่ราบลุมแมนํ้าใหญ ๆ ซึ่งท่ีดิน อดุ มสมบรู ณ พื้นที่เปนทรี่ าบเหมาะแกการปลกู ขา วเจา เขตประชากรที่อยกู นั หนาแนน แบง ไดเ ปน 3 ลกั ษณะ คอื 1. เขตหนาแนนมาก ไดแก ท่ีราบลุมแมนํ้าฮวงโห แมน้ําแยงซีเกียง ชายฝงตะวันออก ของจีน ไตหวนั ปากแมน้ําแดง (ในเวียดนาม) ท่รี าบลุมแมน ้ําคงคา (อินเดยี ) ลุมแมน้ําพรหมบุตร (บังคลาเทศ) ภาคใต ของเกาะฮอนชู เกาะควิ ชู เกาะซโิ กกุ (ในญ่ปี นุ ) เกาะชวา (ในอนิ โดนเี ซยี ) 2. เขตหนาแนน ปานกลาง ไดแ ก เกาหลี ภาคเหนือของหมูเกาะญ่ีปุน ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม ปากแมนํ้าโขงในเวียดนาม ที่ราบลุมแมนํ้าเจาพระยา ที่ราบปากแมนํ้าอิระวดีในพมา คาบสมุทรเดคคาน ในอินเดยี ลมุ แมน าํ้ ไทกริส-ยูเฟรตีสในอิรัก 3. เขตบางเบามาก ไดแ ก เขตไซบเี รยี ในรัสเซยี ทะเลทรายโกบีในมองโกเลีย แควนซินเกียงของจีน ท่รี าบสงู ทิเบต ทะเลทรายในคาบสมุทรอาหรับ ซง่ึ บรเิ วณแถบนีจ้ ะมอี ากาศหนาวเย็นแหงแลง และทุรกนั ดาร ลักษณะการตงั้ ถน่ิ ฐาน ประชากรสวนใหญ อาศัยอยูหนาแนนบริเวณชายฝงทะเลและที่ราบลุมแมน้ําตาง ๆ เชน ลุมแมน้ํา เจาพระยา ลุม แมนํา้ แยงซีเกยี ง ลมุ แมน าํ้ แดงและลุม แมน ้ําคงคา และในเกาะบางเกาะท่มี ดี ินอดุ มสมบรู ณ เชน เกาะของประเทศฟล ปิ ปน ส อนิ โดนเี ซยี และญปี่ ุน สวนบริเวณท่ีมปี ระชากรเบาบาง จะเปนบริเวณท่ีแหงแลง กันดาร หนาวเย็นและในบริเวณท่ีเปนภูเขาซับซอน ซ่ึงสวนใหญจะเปนบริเวณกลางทวปี มเี พียงสว นนอ ย ที่อาศัยอยูในเมือง เมืองที่มีประชากรอาศัยเปนจํานวนมาก ไดแก โตเกียว บอมเบย กัลกัตตา โซล มะนิลา เซียงไฮ โยะโกะฮะมะ เตหะราน กรุงเทพมหานคร เปนตน ลักษณะทางเศรษฐกิจ ประชากรของทวีปเอเชียประกอบอาชีพท่ีตางกันขึ้นอยูกับสภาพแวดลอม ทางธรรมชาติ ไดแก ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดลอมทางวัฒนธรรม ไดแก ความเจรญิ ในดานวชิ าการ เทคโนโลยี การปกครองและขนบธรรมเนยี มประเพณี แบงได 3 กลุมใหญ ๆ คือ 1) เกษตรกรรม การเพาะปลูก นับเปนอาชีพที่สําคัญในเขตมรสุมเอเชีย ไดแก เอเชียตะวันออก เอเชีย ตะวันออกเฉยี งใตแ ละเอเชียใต ทําการเพาะปลกู ประมาณรอ ยละ 70 - 75 % ของประชากรทัง้ หมด เน่ืองจาก ทวปี เอเชียมีภูมิประเทศเปนทร่ี าบลุมแมนํ้าอนั กวางใหญหลายแหง มีท่ีราบชายฝงทะเล มีภูมิอากาศท่ีอบอุน มคี วามชนื้ เพียงพอ นอกจากนีย้ ังมกี ารนาํ เทคโนโลยีที่ทันสมัยเขามาชวย หลายประเทศกลายเปนแหลง อาหาร ท่สี าํ คญั ของโลก จะทําในท่ีราบลุม ของแมนาํ้ ตา ง ๆ พืชทีส่ าํ คัญ ไดแก ขา ว ยางพารา ปาลม ปาน ปอ ฝาย ชา กาแฟ ขาวโพด สม มนั สําปะหลัง มะพรา ว

37 การเลี้ยงสตั ว เล้ียงมากในชนบท มีทั้งแบบฟารมขนาดใหญแ ละปลอยเลี้ยงตามทุงหญา ขึ้นอยู กับลกั ษณะภมู ปิ ระเทศ ภมู อิ ากาศและความนยิ ม ซึง่ เล้ียงไวใ ชเ น้ือและนมเปนอาหาร ไดแก อฐู แพะ แกะ สกุ ร โค กระบือ มาและจามรี การทําปาไม เน่ืองจากเอเชียตั้งอยูในเขตปาดงดิบ มรสุมเขตรอนและเขตอบอุน จึงไดรับ ความช้นื สงู เปน แหลงปาไมท ่ีใหญแ ละสําคญั ของโลกแหงหน่งึ มที งั้ ปาไมเ นอื้ ออ นและปา ไมเน้ือแข็ง การประมง นบั เปน อาชีพที่สําคัญของประชากรในเขตริมฝงทะเล ซ่ึงมีหลายประเภท ไดแก ประมงน้ําจดื ประมงนํ้าเค็ม การงมหอยมกุ และเล้ยี งในบริเวณลาํ คลอง หนองบงึ และชายฝง ทะเล 2) อุตสาหกรรม ไดแ ก 1. การทาํ เหมืองแร ทวีปเอเชียอุดมสมบูรณไปดวยแรธาตุและแรเชื้อเพลิง ไดแก แรเหล็ก ถา นหนิ ปโ ตรเลยี มและกา ซธรรมชาติ ซง่ึ จนี เปน ประเทศทม่ี ีการทาํ เหมืองแรมากที่สุดในทวีปเอเชีย สวนถานหิน เอเชียผลิตถานหินมากที่สุดในโลก แหลงผลิตสําคัญคือ จีน อินเดีย รัสเซีย และเกาหลี แรเหล็ก ผลิตมาก ในรสั เซีย อนิ เดยี และจนี สวนนาํ้ มนั ดิบและกา ซธรรมชาติ เอเชยี เปน แหลงสํารองและแหลง ผลิตนํ้ามันดิบและ กาซธรรมชาติมากทีส่ ดุ ในโลก ซงึ่ มมี ากบรเิ วณอาวเปอรเ ซยี ในภมู ิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉยี งใต ไดแก อิหราน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส อิรัก คูเวต โอมาน กาตาร ประเทศที่ผลิตน้ํามันดิบมาก คือ ซาอุดิอาระเบียและจีน นอกจากน้ียังพบในอินโดนเี ซยี มาเลเซีย บรไู น ปากีสถาน พมา อุซเบกิสถาน เติรก เมนิสถาน อาเซอรไ บจาน 2. อตุ สาหกรรมทอผา ผลิตภณั ฑจ ากไมแ ละหนังสตั ว ซ่งึ อตุ สาหกรรมเหลา น้ี หลายประเทศ ในเอเชียเริ่มจากอุตสาหกรรมในครัวเรือน แลวพัฒนาขึ้นเปนโรงงานขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ นอกจากนยี้ ังมีอุตสาหกรรมอาหารสําเร็จรปู เครอ่ื งจกั รกล ยานพาหนะ เคมี

38 3) พาณชิ ยกรรม ไดแก การสงสินคาออกและสินคานําเขาประเทศ สินคาที่ผลิตในทวีปเอเชีย ท่เี ปน สินคา ออกสวนมากจะเปน เครือ่ งอุปโภคบรโิ ภคและวัตถดุ ิบ ไดแก ขาวเจา กาแฟ ชา นํ้าตาล เคร่ืองเทศ ยางพารา ฝาย ไหม ปอ ปาน ขนสัตว หนังสัตว ดีบุก ฯลฯ ญี่ปุนและจีนมีปริมาณการคากับตางประเทศ มากทีส่ ุดในทวปี สนิ คา ออก จะเปน ประเภทเครอ่ื งจกั ร ประเทศทส่ี ง ออกมาก คอื ญ่ีปนุ สว นประเภทอาหาร เชน ขาวเจา ขา วโพด ถว่ั เหลือง ไดแ ก ไทย พมา และเวียดนาม สว นสินคา นาํ เขา ประเทศ สวนมากจะส่ังซ้ือจากยุโรปและอเมริกา ไดแก ผลิตภัณฑจากอุตสาหกรรม เครอ่ื งโลหะสาํ เร็จรปู เชน เคร่ืองจกั ร เครอื่ งยนต เคร่ืองไฟฟา เคมี เคมีภณั ฑ เวชภณั ฑต าง ๆ กจิ กรรมที่ 1.5 ความสาํ คญั ของการดํารงชีวิตใหส อดคลองกบั ทรพั ยากรในประเทศ 1) ใหผ ูเ รียนอธิบายวาในภาคเหนือของไทย ประชากรจะอาศัยอยูหนาแนนในบริเวณใดบาง พรอมให เหตผุ ล ประชากรสวนใหญป ระกอบอาชีพอะไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .........................................................

39 2) ผูเรียนคิดวาภาคใดของไทยท่ีสามารถสรางรายไดจากการทองเที่ยวมากท่ีสุด พรอมใหเหตุผล และสถานทีท่ องเทยี่ วดงั กลาว มอี ะไรบาง พรอมยกตวั อยา ง .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ......................................................... 3) ปจ จัยใดทท่ี าํ ใหมีประชากรอพยพเขามาอาศยั อยใู นภาคตะวันออกมากขึ้น .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................. 4) ทวปี ใดทก่ี ลาวกนั วา เปน ทวปี “แหลง อารยธรรม” เพราะเหตุใดจงึ กลาวเชนนนั้ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ..............................................................................................................................................................................

40 5) ในทวปี เอเชีย ประชากรจะอาศยั อยกู ันหนาแนน บริเวณใดบา ง เพราะเหตใุ ด .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ..............................................................................................................................................................................

41 บทท่ี 2 ประวัติศาสตรทวีปเอเชีย สาระสําคัญ ทวีปเอเชียประกอบดว ย ประเทศสมาชิกหลายประเทศ ในท่นี จี้ ะกลาวถึงประวัติศาสตรของประเทศ ในแถบเอเชียท่ีมีพรมแดนติดและใกลเคียงกับประเทศไทย ไดแก ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแหง สหภาพพมา อินโดนเี ซยี ฟลิปปนส และประเทศญปี่ ุน โดยสงั เขป นอกจากนี้ไดเ กิดเหตกุ ารณสําคัญ ๆ ในประเทศไทยและประเทศในทวปี เอเชยี ที่นาสนใจ เชน ยุคลา อาณานิคม และยุคสงครามเยน็ เปน ตน ผลการเรียนรทู ี่คาดหวัง หลงั จากผูเรียนเรียนเรื่องประวตั ศิ าสตรทวปี เอเชียจบแลว ทาํ ใหผ ูเรียนสามารถ 1. บอกถึงประวัติศาสตรโดยสังเขปของสาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว สาธารณรฐั แหง สหภาพพมา อนิ โดนีเซยี ฟลปิ ปน สแ ละประเทศญ่ปี นุ ได 2. บอกเหตกุ ารณส าํ คัญทางประวัตศิ าสตรทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศไทยและประเทศในทวีปเอเชยี ได ขอบขายเนือ้ หา เรอื่ งท่ี 1 ประวัตศิ าสตรส ังเขปของประเทศในทวปี เอเชีย ไดแ ก 1.1 ประวตั ิศาสตรป ระเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 1.2 ประวตั ศิ าสตรประเทศอินเดยี 1.3 ประวัตศิ าสตรสาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว 1.4 ประวตั ศิ าสตรป ระเทศสาธารณสาธารณรัฐแหง สหภาพพมา 1.5 ประวตั ศิ าสตรประเทศอินโดนีเซยี 1.6 ประวตั ิศาสตรประเทศฟล ิปปนส 1.7 ประวตั ิศาสตรป ระเทศญี่ปนุ เร่ืองที่ 2 เหตุการณส ําคัญทางประวตั ิศาสตรท ี่เกดิ ขน้ึ ในประเทศไทยและประเทศใน ทวีปเอเชยี 2.1 ยุคลา อาณานิคม 2.2 ยคุ สงครามเยน็


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook