Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์

Published by Guset User, 2023-02-19 16:46:00

Description: เอกสารเกี่ยวกับคำราชาศัพท์ ประกอบไปด้วย ความหมายของคำราชาศัพท์ ลักษณะของคำราชาศัพท์ การแบ่งลำดับชั้นของบุคคลในการใช้คำราชาศัพท์ ลักษณะการใช้คำราชาศัพท์ และการแบ่งคำราชาศัพท์หมวดต่างๆ

Search

Read the Text Version

คำราชาศัพท์ จัดทำโดย นางสาวจุฑาพร โคตรไพบูลย์ คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำราชาศัพท์

ก คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) นี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบ การเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยผู้จัดทำได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับ คำราชาศัพท์เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาและเข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาเป็นอย่างดี หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ผู้จัดทำ นางสาวจุฑาพร โคตรไพบูลย์



สารบัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ความหมายของคำราชาศัพท์ ๑ ลักษณะของคำราชาศัพท์ ๑ การแบ่งลำดับชั้นของบุคคลในการใช้คำราชาศัพท์ ๑ ลักษณะการใช้คำราชาศัพท์ ๒ การแบ่งคำราชาศัพท์หมวดต่างๆ ๓ คำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ๔-๕ คำราชาศัพท์หมวดร่างกาย ๖-๗ คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ ๘ คำราชาศัพท์หมวดคำกริยา ๙ แบบฝึกหัด ๑๐ เฉลยแบบฝึกหัด ๑๒ บรรณานุกรม ๑๓ ประวัติผู้จัดทำ ๑๔

๑ คำราช าศั พท์ คําราชาศัพท์ คือ ภาษาหรือถ้อยคําที่กําหนดขึ้นใช้ ให้เหมาะสมกับระดับชั้นของบุคคล ไม่เฉพาะแต่พระมหากษัตริย์เพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าลงมาถึงพระภิกษุสงฆ์ ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และสุภาพชน ลักษณะของคําราชาศัพท์ เป็นคําเฉพาะที่ใช้สื่อสารเฉพาะบุคคล ซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย เพราะสังคมไทยมีระดับบุคคลที่ต่างกัน การแบ่งลําดับชั้นของบุคคลในการใช้คําราชาศัพท์ ออกเป็น ๕ ระดับ ดังนี้ ๑. พระมหากษัตริย์ ๒. พระบรมวงศานุวงศ์ ๓. พระสังฆราชเจ้าและพระสงฆ์ ๔. ขุนนาง ข้าราชการชั้นสูง ๕. สุภาพชน

๒ คำราชาศัพท์ ลักษณะการใช้คําราชาศัพท์ คําราชาศัพท์ใช้สําหรับสามัญชนพูดกับ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ จะใช้คําสามัญ ไม่ใช้คําราชาศัพท์ ยกย่องพระองค์เอง พระเจ้าแผ่นดินจะใช้ราชาศัพท์ กับพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงศักดิ์ สูงกว่าทางสืบสายโลหิตหรือทางการนับพระญาติ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา พี่ และบรมวงศานุวงศ์ ส่วนเจ้านายจะใช้ราชาศัพท์ระหว่างกัน เมื่อผู้พูดมีอิสริยยศต่ำกว่า เช่น เจ้านายมีศักดิ์เป็นลุง กับหลานซึ่งเป็น พระเจ้าแผ่นดิน

๓ คำราชาศัพท์ การแบ่งคําราชาศัพท์หมวดต่าง ๆ การแบ่งหมวดหมู่คําราชาศัพท์ออกเป็นหมวด ๆ นั้น เพื่อให้ง่ายต่อการจดจําและการใช้ถ้อยคํา จึงจัดเรียงคําราชาศัพท์ให้เป็นหมวดหมู่ โดยมีทั้งคําราชาศัพท์หมวดต่าง ๆ เช่น หมวดเครือญาติ หมวดเครื่องใช้ต่าง ๆ หมวดร่างกาย หมวดกริยา เป็นต้น

๔ คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ พระปัยกา หมายถึง ปู่ทวด,ตาทวด พระปัยยิกา หมายถึง ย่าทวด,ยายทวด พระอัยกา หมายถึง ปู่,ตา พระอัยยิกา หมายถึง ย่า,ยาย พระบรมชนกนาถ, พระชนก, พระบิดา หมายถึง พ่อ พระราชชนนี, พระชนนี, พระมารดา หมายถึง แม่ พระภัสดา, พระสวามี หมายถึง สามี พระมเหสี, พระชายา หมายถึง ภรรยา

๕ คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ พระปิตุลา หมายถึง ลุง อา (ฝ่ายพ่อ) พระมาตุลา หมายถึง ลุง น้า (ฝ่ายแม่) พระปิตุจฉา หมายถึง ป้า อา (ฝ่ายพ่อ) พระมาตุจฉา หมายถึง ป้า อา (ฝ่ายแม่) พระโอรส หมายถึง ลูกชาย พระธิดา หมายถึง ลูกสาว พระเชษฐาธิราช, พระเชษฐา, พระเชษฐาภาดา หมายถึง พี่ชาย พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว พระอนุชาธิราช, พระอนุชา หมายถึง น้องชาย พระขนิษฐาธิราช หมายถึง น้องสาว พระชามาดา หมายถึง ลูกเขย พระสุณิสา หมายถึง ลูกสะใภ้ พระราชนัดดา หมายถึง หลานชาย,หลานสาว (ลูกของลูก) พระราชปนัดดา หมายถึง เหลน

๖ คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย พระเกศา หมายถึง ผม พระนลาภู หมายถึง หน้าผาก พระโอษฐ์ หมายถึง ปาก ต่อมพระเนตร หมายถึง ต่อมน้ำตา พระขนง หมายถึง คิ้ว พระทนต์ หมายถึง ฟัน พระชิวหา หมายถึง ลิ้น พระเขฬะ หมายถึง น้ำลาย พระอุทร หมายถึง ท้อง พระองคุลี หมายถึง นิ้วมือ พระหัตถ์ หมายถึง มือ ข้อพระหัตถ์ หมายถึง ข้อมือ พระมังสา หมายถึง เนื้อ พระโลมา หมายถึง ขน พระอุระ หมายถึง อก พระนาภี หมายถึง สะดือ พระโสณี หมายถึง สะโพก

๗ คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย พระรากขวัญ หมายถึง ไหปลาร้า พระกรรณ หมายถึง หู พระเนตร หมายถึง ตา พระอัสสุชล หมายถึง น้ำตา พระนาสิก หมายถึง จมูก พระศอ หมายถึง คอ พระพักตร์ หมายถึง หน้า พระเสโท หมายถึง เหงื่อ พระหนุ หมายถึง คาง พระเศียร หมายถึง ศรีษะ พระปราง หมายถึง แก้ม พระพาหา หมายถึง แขน พระกร หมายถึง มือ พระบาท หมายถึง เท้า พระชานุ หมายถึง เข่า

๘ คําราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ ฉลองพระองค์ หมายถึง เสื้อ ซับพระองค์ หมายถึง ผ้าเช็ดตัว รัดพระองค์ หมายถึง เข็มขัด พระฉาย หมายถึง กระจก พระมาลา หมายถึง หมวก ธารพระกร หมายถึง ไม้เท้า พระสนับเพลา หมายถึง กางเกง ซับพระพักตร์ หมายถึง ผ้าเช็ดหน้า ฉลองพระเนตร หมายถึง แว่นตา ฉลองพระบาท หมายถึง รองเท้า กระเป๋าทรง หมายถึง กระเป๋าถือ พระเขนย หมายถึง หมอน

๙ คําราชาศัพท์หมวดคำกริยา เสด็จ หมายถึง ไป สรงน้ำ หมายถึง อาบน้ำ เสวย หมายถึง รับประทาน โปรด หมายถึง ชอบ ตรัส หมายถึง พูด ชำระพระหัตถ์ หมายถึง ล้างมือ พระราชดำเนิน หมายถึง เดิน ประชวร หมายถึง ป่วย พระราชทาน หมายถึง ให้ กริ้ว หมาย ถึงโกรธ บรรทม หมายถึง นอน ทอดพระเนตร หมายถึง ดู ทรงยืน หมายถึง ยืน

๑๐ แบบฝึกหัด เรื่อง คำราชาศัพท์ จงเติมคำราชาศัพท์ที่มีความหมายตรงกันกับคำที่กำหนดให้ 1. ดู หมายถึง ………………………….. 2. คิ้ว หมายถึง ………………………….. 3. กระจก หมายถึง …………………… 4. แก้ม หมายถึง ………………………. 5. ย่า หมายถึง ………………………….. 6. รองเท้า หมายถึง ………………….. 7. ลูกสาว หมายถึง …………….…….. 8. หมอน หมายถึง …………..……….. 9. โกรธ หมายถึง …………….……….. 10. พูด หมายถึง ……….……………..

เฉลย แบบฝึกหัด เรื่อง คำราชาศัพท์

๑๒ เฉลย แบบฝึกหัด เรื่อง คำราชาศัพท์ จงเติมคำราชาศัพท์ที่มีความหมายตรงกันกับคำที่กำหนดให้ 1. ดู หมายถึง ……………ทอดพระเนตร…………….. 2. คิ้ว หมายถึง ……………พระขนง…………….. 3. กระจก หมายถึง …………พระฉาย………… 4. แก้ม หมายถึง ……………พระปราง…………. 5. ย่า หมายถึง ……………พระอัยยิกา…………….. 6. รองเท้า หมายถึง …………ฉลองพระบาท……….. 7. ลูกสาว หมายถึง …………พระธิดา….…….. 8. หมอน หมายถึง …………พระเขนย..……….. 9. โกรธ หมายถึง …………กริ้ว….……….. 10. พูด หมายถึง ……….…ตรัส…………..

๑๓ บรรณานุกรม มูลนิธิการศึก ษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). คำราชาศัพท์. สืบค้นเมื่อ 05 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://dltv.ac.th/teachplan/episode/29915

ประวัติผู้จัดทำ ๑๔ นางสาวจุฑาพร โคตรไพบูลย์ รหัสนักศึกษา ๖๔๐๔๐๑๐๑๒๒๓ คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำราชาศัพท์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook