๔๙ ภาพกจิ กรรมการเยีย่ มชมการดำเนนิ การ : โครงการพัฒนาพนื้ ทเี่ ฉพาะเมืองภเู พยี ง บา้ นม่วงตด๊ึ หม่ทู ี่ ๔ ตำบลม่วงตดึ๊ อำเภอภเู พียง จังหวัดน่าน
๕๐
๕๑ ภาพกจิ กรรมการเย่ียมชมการดำเนนิ การ : งานก่อสรา้ งทำนบก้นั นำ้ บา้ นสนั ตำบลเชยี งของ อำเภอนาน้อย จงั หวดั น่าน
๕๒
๕๓ ภาพกิจกรรมการเยี่ยมชมการดำเนินการ : สถานีสูบนำ้ ดว้ ยไฟฟา้ พร้อมระบบสง่ นำ้ บ้านไผ่งาม พื้นท่ี ชลประทาน ๑,๐๐๐ ไร่ ตำบลส้าน อำเภอเวยี งสา จงั หวัดนา่ น
๕๔
๕๕ ภาพกิจกรรมการเยยี่ มชมการดำเนินการ : โรงเรยี นคณุ ภาพประจำตำบลโรงเรยี นบา้ นดอน (ศรเี สริมกสกิ ร) ถนนข้าหลวง ตำบลในเวยี ง อำเภอเมอื งนา่ น จงั หวดั นา่ น
๕๖
๕๗ ภาพกจิ กรรมสมาชกิ วุฒสิ ภาพบประชาชน ณ ศนู ยก์ ารเรยี นชุมชนธรรมชาตบิ า้ นหว้ ยพา่ น ตำบลเปอื อำเภอเชยี งกลาง จงั หวดั นา่ น
๕๘
๕๙ **************************************************
๖๐
๖๑ สรุปรายงานผลการดำเนนิ งาน การลงพ้นื ที่พบประชาชน ณ จงั หวัดเชยี งราย ของ คณะอนกุ รรมการการมีส่วนร่วมของเยาวชน ในคณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชกิ วุฒสิ ภาพบประชาชน ระหวา่ งวนั เสารท์ ่ี ๒๐ – วนั อาทติ ย์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ๑. ชอ่ื โครงการ สมาชกิ วุฒสิ ภาพบประชาชน ณ จังหวดั เชียงราย ๒. วนั /เดือน/ปีทด่ี ำเนนิ การ คณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วมของเยาวชน : กิจกรรมการมีส่วนร่วม ๓. สถานท่ี ของเยาวชนเพือ่ พัฒนาบา้ นเกิด ๔. กลุ่มเป้าหมาย ระหวา่ งวนั เสาร์ท่ี ๒๐ – วนั อาทติ ยท์ ่ี ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ๑. วดั ปา่ ดอยผาคำ ตำบลหล่ายงาว อำเภอเวยี งแกน่ จงั หวดั เชยี งราย ๒. โรงเรยี นนคิ มสรา้ งตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ตำบลป่าซาง อำเภอแมจ่ ัน จังหวัดเชียงราย ✓ หนว่ ยงานของรฐั ✓ ประชาชนทวั่ ไป P อนื่ ๆ (หนว่ ยงานราชการในพน้ื ที่) ✓ เด็ก - เยาวชน
๖๒ ๕. ความสอดคล้องกบั รฐั ธรรมนญู หรอื ยทุ ธศาสตรช์ าติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา ๗๗ วรรคสอง กำหนดให้ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของ ผเู้ กี่ยวข้อง วิเคราะหผ์ ลกระทบทอ่ี าจเกิดขน้ึ อยา่ งรอบด้าน เป็นระบบ รวมทงั้ เปิดเผยผลการรับฟงั ความ คิดเห็นและการวิเคราะห์ตอ่ ประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทกุ ขั้นตอน นอกจากนี้เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย โดยการรับฟัง ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับ หมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ กำหนดให้มีการปฏิรูปประเทศไว้ ในมาตรา ๒๕๗ ซึ่งสอดคล้องกับแผนการปฏริ ูปประเทศทีม่ ีผลบังคับใช้แล้ว กำหนดให้มีแผนการปฏิรปู ๑๒ ดา้ น โดยมรี ะยะเวลาดำเนินการ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - พ.ศ. ๒๕๖๕) โดยมเี ป้าหมาย ดงั นี้ ๑. ประเทศชาตมิ คี วามสงบเรยี บรอ้ ย มคี วามสามัคคปี รองดอง มีการพฒั นาอย่างยง่ั ยนื ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง และมคี วามสมดุลระหวา่ งการพัฒนาดา้ นวตั ถกุ ับการพัฒนาด้านจิตใจ ๒. สังคมมคี วามสงบสุข เปน็ ธรรม และมโี อกาสอันทัดเทยี มกันเพือ่ ขจดั ความเหลื่อมลำ้ ๓. ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษตั ริยท์ รงเปน็ ประมุข ทั้งนี้ มาตรา ๒๕๙ ได้กำหนดให้การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปด้าน กระบวนการยุตธิ รรม และดา้ นการศึกษา ต้องมกี ารมสี ว่ นร่วมของประชาชนและหนว่ ยงานท่ีเก่ยี วขอ้ ง ๖. ข้อมูลโดยทั่วไป จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๗๘๕ กิโลเมตร มีเนือ้ ทีป่ ระมาณ ๑๑,๖๗๘.๓๖๙ ตารางกโิ ลเมตร หรือประมาณ ๗,๒๙๘,๙๘๑ ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกบั จังหวดั ใกลเ้ คยี ง ดงั น้ี ทศิ เหนอื ประเทศสหภาพพมา่ และประเทศสาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว ทิศใต้ จงั หวดั ลำปาง และจงั หวัดพะเยา ทศิ ตะวันออก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจงั หวดั พะเยา ทิศตะวันตก ประเทศสหภาพพม่า และจงั หวัดเชียงใหม่ ภมู ิศาสตร์ จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๙ องศาเหนือ ถงึ ๒๐ องศา ๓๐ ลิปดาเหนอื และเส้นแวงที่ ๙๙ องศา ๑๕ ลปิ ดา ถงึ ๑๐๐ องศา ๔๕ ลปิ ดาตะวันออก ภมู ิประเทศ
๖๓ จงั หวดั เชียงรายมภี ูมปิ ระเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนอื (North Continental Highland) มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของ บริเวณ เทือกเขาจะมีความสูงประมาณ ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ เมตรจากระดบั นำ้ ทะเล โดยมีดอยลังกาหลวง เป็นยอด เขาที่สูงที่สุดในจังหวัด มีความสูง ๒,๐๓๑ เมตร บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญ ในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอ เชยี งแสน และอำเภอเชียงของ มีความสูงประมาณ ๔๑๐-๕๘๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ภมู อิ ากาศ จังหวัดเชียงรายมอี ุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ ๒๔ องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือน กุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิประมาณ ๓๗ องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือน พฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๒๗ องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ ๑,๗๖๘ มิลลิเมตร สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถอื วา่ หนาวจดั ในพนื้ ท่รี าบ อณุ หภมู ติ ำ่ สดุ จะอยทู่ ่ี ๘ - ๙ องศา เซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ ๐ - ๕ องศาเซลเซียส จึงทำให้อากาศที่เชียงราย ในชว่ งฤดหู นาว เป็นพ้ืนท่ี ๆ นักท่องเทย่ี วอยากมาเป็นอยา่ งย่งิ การปกครอง จังหวดั เชยี งราย มอี ำเภอจำนวนท้ังหมด ๑๘ อำเภอ ดงั นี้ ๑. อำเภอเมอื งเชยี งราย ๗. อำเภอเทิง ๑๓. อำเภอเวยี งชัย ๑๔. อำเภอแมล่ าว ๒. อำเภอแมส่ าย ๘. อำเภอเวยี งแกน่ ๑๕. อำเภอแมจ่ นั ๑๖. อำเภอเวยี งเชียงรุง้ ๓. อำเภอเชียงของ ๙. อำเภอป่าแดด ๑๗. อำเภอเชียงแสน ๑๘. อำเภอดอยหลวง ๔. อำเภอแม่สรวย ๑๐. อำเภอขนุ ตาล ๕. อำเภอเวยี งปา่ เป้า ๑๑. อำเภอพาน ๖. อำเภอพญาเมง็ ราย ๑๒. อำเภอแมฟ่ า้ หลวง ประชากร ประชากรในเขตจังหวดั เชียงราย แบง่ ออกได้ ดงั นี้ ๑. คนไทยพน้ื ราบ ประกอบด้วยคนเมอื ง คนไทย ไทลือ้ ไทเขิน ไทใหญ่ ดังนี้ - คนเมือง เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในอดีตเรียกว่า ไทยยวน ไทยยวนนอกล้านนา อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี บางขุนพรหม ผู้ชายจะมีรูปร่างโปร่งบางกว่า คนไทยภาคกลางเล็กน้อย ผู้หญิงมีรูปร่างผิวพรรณและหน้าตางดงาม มีภาษาพูดแตกต่างไปจากไทย ภาคกลางเล็กน้อย มีตัวหนังสือเฉพาะของตนเอง การแต่งกายพื้นเมือง ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่ นยาวเกือบถึง
๖๔ ตาตมุ่ ใส่เส้ือแขนกระบอก ห่มสไบ เกล้าผมทดั ดอกไม้ ชายนยิ มนงุ่ กางเกงขายาว ใส่เส้ือคอกลมแขนส้ัน สีครามเข้ม มีผ้าขาวม้าคาดเอว บ้านเรือนยกใต้ถุนสูง หน้าจั่วหลังคามีไม้ไขว้กันประดับด้วยลวดลาย เรยี กว่ากาแล เครื่องดนตรีที่สำคัญได้แก่ เปย๊ี ะ สะลอ้ ซึง ป่ี แน กลอง นาฏศิลปพ์ ืน้ บ้านมีการฟ้อนเมือง ฟ้อนม่าน ฟ้อนเงี้ยว ประเพณีที่สำคัญคล้ายไทยภาคกลาง มีบางส่วนที่แตกต่างกันออกไป เช่น ปอยหลวง เรยี กขวัญ สบื ชะตาเปน็ ต้น - ไทลอื้ เปน็ ชนกลุ่มหน่งึ ทอี่ าศยั อยตู่ อนกลางและตอนบนต้ังแตแ่ ขวงไชยบุรี ประเทศลาวขนึ้ ไป - ไทยเขิน มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำขิ่นในรัฐฉาน จึงได้ชื่อว่าไทขีน ได้เข้ามาอยู่ใน จงั หวดั เชียงราย ในเขตอำเภอเมอื ง ฯ อำเภอแมส่ าย และอำเภอเชยี งแสน - ไทใหญ่ เรียกตนเองว่าไต ถูกคนเมอื งเรียกว่า เงี้ยว และพม่าเรียกว่าฉาน ซึ่งแปลว่าคนภูเขา ผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่กวา่ คนไทยทัว่ ไป รูปร่างสูงโปร่งแขง็ แรง มือเท้าเล็ก ผู้หญิงมีรูปร่างหนา้ ตาสวยงาม ผิวเนียนกว่าผู้หญิงพม่าเล็กน้อย หน้าตาเฉลียวฉลาด มีภาษาพูดแตกต่างไปจากคนเมือง และคนไทย ภาคกลางเล็กน้อย มตี วั หนังสือของตนเอง การแต่งกายพน้ื บา้ น ผู้หญิงน่งุ ผ้าซิน่ ยาวเกอื บถงึ ตาตมุ่ ใสเ่ สือ้ แขนกระบอกเขา้ รปู เกล้าผมมวยโพกศรี ษะด้วยผา้ เจาะหใู ส่ตมุ้ หู ผูช้ ายใส่เสื้อแบบจีน นุง่ กางเกงขายาว และเกล้าผมมวย สวมหมวกปีกกว้าง เจาะหูใส่ตุ้ม บ้านเรือนยกใต้ถุนสูง มีไม้แกะสลักประดับ เครื่อง ดนตรีสำคญั ไดแ้ ก่ ฆอ้ ง กลอง ฉาบ นาฏศิลป์พ้ืนบ้านมเี ต้นโต ฟอ้ นนก ประเพณสี ำคัญคลา้ ยคนไทยท่วั ไป ๒. ชาวไทยภูเขา ประกอบดว้ ย อีก้อ มูเซอ เยา้ กะเหรี่ยง ลีซอ ม้ง ๓. ผูพ้ ลดั ถน่ิ สัญชาติพม่า หมายถงึ บุลคลหลายสญั ชาติทอี่ พยพมาจากพมา่ เขา้ อยู่ในประเทศไทยก่อน วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๑๙ การออกนอกเขตจงั หวดั ทอี่ ยู่อาศัยต้องขออนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย ๔. ชาวลาวอพยพ หมายถึง คนลาวที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้องตามแนวชายแดนของประเทศไทย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของลาวในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ขณะนี้ทางการของไทยยังไม่อนุญาต ใหเ้ ดนิ ทางออกนอกเขตจงั หวัดที่อย่อู าศยั ๕. ชาวจีน ชนกลุ่มน้อยซึ่งสืบเชื้อสายจีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอดีตทหารพรรคก๊กมินต๋ัง ได้มาตัง้ รกรากในพน้ื ที่ ทมี่ ีความโดดเดน่ ได้แก่ หม่บู า้ นสันตคิ รี ี ศลิ ปวฒั นธรรม และประเพณี ๑. แห่พระแวดเวียง ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเชียงราย ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมา จากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยมีจุดม่งุ หมาย ให้ประชาชนไดม้ โี อกาสสักการบชู าพระพุทธรปู ศกั ดสิ์ ทิ ธ์ิ คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวดั วาอารามต่าง ๆ ในตัวเมืองเชียงราย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชวี ิตใน วาระของการสง่ ท้ายปเี กา่ ต้อนรับปใี หม่ โดยการอญั เชญิ พระพุทธรูปศักด์สิ ทิ ธคิ์ ู่บ้านคูเ่ มืองเชียงราย มา ประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จัดตั้งเป็น ขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ เปน็ การเริม่ ต้นปีใหมท่ ี่เปน็ สิริมงคลยิ่งนกั
๖๕ ๒. ปอยหลวง งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซ่ึงเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคม หลายประการ นบั ตั้งแต่ชาวบา้ นได้มาทำบญุ ร่วมกนั ร่วมกนั จดั งานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิน่ ไดม้ ีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอด ประเพณที เ่ี คยปฏิบัตกิ ันมาครง้ั แตบ่ รรพชนไม่ใหส้ ญู หายไปจากสังคม ชว่ งเวลา จากเดอื น ๕ จนถงึ เดอื น ๗ เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ ๓ - ๗ วนั ๓. ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมี ขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณ ตวั เมอื งเชยี งราย และอำเภอเชียงแสน ๔. งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการ เกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือน พฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนาม กีฬากลางจงั หวัดเชยี งราย ๕. งานไหว้สาพญามังราย จัดให้มีพิธีบวงสรวงพญามังราย มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของ ส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเรงิ อน่ื ๆ จดั วนั ท่ี ๒๓ มกราคม - ๑ กุมภาพันธ์ ๖. เป็งปุ๊ด “เป็งปุ๊ด” หรือ “เพ็ญพุธ” เป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญข้ึน ๑๕ ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ตามวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย ที่เชื่อกันว่าพระอุปคุต ซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกายเป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน และชาวลา้ นนาในอดตี เช่ือวา่ การทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวนั เป็งปดุ๊ ก็จะไดช้ ื่อว่าเป็นผู้มีบุญ มี โชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิรมิ งคลแกช่ ีวิต โดยบรรพบุรษุ ชาวลา้ นนาเชอ่ื ว่า ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่ วนั พุธขึน้ ๑๕ คำ่ เป็นวันเปง็ ปดุ๊ และจะมปี ระชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอเพ่อื ประกอบพิธีทำบุญ ตกั บาตรพระภิกษุสามเณร ๗. งานอนุรักษ์มรดกไทยล้านนา จัดในเดือนเมษายน มีการจัดนิทรรศการและการแสดงแบบ ไทยลา้ นนา มกี ารสาธติ งานศิลปะ บรเิ วณหอวัฒนธรรมนิทัศน์ อำเภอเมอื ง ๘. งานประเพณีขึ้นพระธาตุดอยตุง จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๔ - ๑๕ ค่ำ เดือนหกเหนือ หรือเดือน มีนาคม เปน็ ประเพณขี องชาวลา้ นนา รวมท้งั ชาวไทยใหญใ่ นพมา่ ที่ปฏิบัติสบื ตอ่ กนั มา โดยชาวบ้านและ พระสงฆ์ จะเดินขึ้นพระธาตุในตอนกลางคืน เมื่อมาถึงก็จะพากันนมัสการองค์พระธาตุก่อน จากนั้น จึงหาพื้นที่ประกอบอาหารเพื่อตักบาตรในตอนเช้า หลังจากตักบาตรแล้วจะ ช่วยกันบูรณะบริเวณ องค์พระธาตุ เมื่อถึงยามค่ำคืนก็มารวมกนั ท่ีปะรำพธิ ีเพือ่ ฟงั เทศน์ ๙. ประเพณีบวงสรวงเจา้ พอ่ ปลาบกึ เปน็ ประเพณีเกี่ยวกบั ความเชอ่ื ของผู้คนทีอ่ ย่รู มิ แม่น้ำโขง โดยเฉพาะชาวประมง ในเขตบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ เกี่ยวกับปลาบึกซึง่ เป็นปลาขนาดใหญ่
๖๖ อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงว่า เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ มีเทพเจ้าคุ้มครอง ก่อนที่ชาวประมง จะจับปลาบึกต้องมี การบวงสรวงกอ่ น ฤดกู าลจับปลาบึกระหวา่ งเดอื นเมษายน-พฤษภาคม ๑๐. ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ หรือที่เรียกตนเองว่า “อาข่า” มีเชื้อสายจากจีน-ทิเบต เดินทางอพยพมาอยู่บริเวณ ชายแดนไทย-พม่า แถบตอนเหนือของลำน้ำกก โดยเฉพาะอำเภอแม่จัน และแม่สาย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรและแสดงความรำลึกถึงพระคุณของเทพธิดาแห่ง สรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหารและ ยังเป็นการเซ่นไหว้ บรรพบุรษุ อีกด้วย จัดในช่วงเดือนสงิ หาคม ๗. วธิ กี ารดำเนินการ (ลกั ษณะกจิ กรรม) จัดประชมุ สมั มนา จดั เวทีเสวนา ✓ Focus Group จัดประชุมเชิงปฏบิ ตั กิ าร อน่ื ๆ ๘. วิธกี ารประเมินผล ✓ สงั เกต สอบถาม ใชเ้ ครอื่ งมอื สอื่ สาร อืน่ ๆ สมั ภาษณ์ ๙. ผลการดำเนินงาน ๙.๑ เชิงปริมาน จำนวนกลุม่ เปา้ หมาย - ณ วดั ป่าดอยผาคำ ตำบลหล่ายงาว อำเภอเวยี งแก่น จังหวดั เชียงราย ต้งั ไว้ ๑๐ คน จำนวนผู้มาเข้าร่วม ๕ คน แบ่งออกเปน็ (อ้างอิงตามกลมุ่ เป้าหมาย) ประชาชนทั่วไป ✓เด็ก – เด็ก - เยาวชน ผบู้ ริหาร ร.ร./ครู ผู้แทนหนว่ ยงานภาครฐั ผู้แทนหนว่ ยงานเอกชน อื่น ๆ - ณ โรงเรยี นนคิ มสรา้ งตนเองสงเคราะหช์ าวเขา ตำบลปา่ ซาง อำเภอแม่จนั จงั หวดั เชยี งราย ตง้ั ไว้ ๑๐๐ คน จำนวนผูม้ าเขา้ รว่ ม ๑๐๖ คน
๖๗ - แบง่ ออกเป็น (อ้างอิงตามกลุ่มเปา้ หมาย) ประชาชนทัว่ ไป ✓เด็ก – เด็ก - เยาวชน ✓ ผ้บู ริหาร ร.ร./ครู ✓ ผแู้ ทนหน่วยงานภาครัฐ ผูแ้ ทนหนว่ ยงานเอกชน อื่น ๆ ๙.๒ เชงิ คุณภาพ ผลลัพธ์/ความพึงพอใจ ได้แก่ ทีมเยาวชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ได้รับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และอำนาจของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน โดยเยาวชน มีส่วนรว่ มในการนำเสนอความคิดเห็นในการพฒั นาพ้ืนที่ ตามวัตถุประสงค์ของโครงการสมาชิกวุฒิสภา พบประชาชน และปญั หาในพ้ืนท่ีได้รับการแก้ไขอยา่ งเปน็ ระบบ ๙.๓ เชงิ เวลา ✓ เหมาะสม ไมเ่ หมาะสม อนื่ ๆ .......................................................................... ๙.๔ งบประมาณดำเนนิ การ ไมเ่ พียงพอ ✓ เพยี งพอ/เหมาะสม ๑๐. สรปุ สาระสำคัญของการดำเนนิ โครงการ รายละเอียดการลงพื้นที่โครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ของคณะอนุกรรมการ การมีส่วนร่วมของเยาวชน ในคณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ระหว่าง วันเสาร์ที่ ๒๐ – วันอาทติ ย์ท่ี ๒๑ มนี าคม ๒๕๖๔ รายช่อื คณะเดินทาง ท่ปี รกึ ษาคณะอนุกรรมการ / สมาชกิ วฒุ สิ ภา ประธานอนุกรรมการ / สมาชกิ วฒุ ิสภา ๑. ศาสตราจารยพ์ ิเศษกาญจนารตั น์ ลวี โิ รจน์ อนกุ รรมการและเลขานกุ าร / สมาชกิ วฒุ ิสภา ๒. นางกอบกุล อาภากร ณ อยธุ ยา อนกุ รรมการ ๓. นางสาวดาวน้อย สทุ ธนิ ภิ าพันธ์ อนุกรรมการ ๔. นายอรรทติ ย์ฌาณ คหู าเรอื งรอง อนุกรรมการ ๕. นายเพชรมงคล วสั สวุ รรณ ๖. นางสาวปารสิ า สทั ธนิ ทรยี ์
๖๘ ๗. นายอาชวิน ล้อมพิทกั ษ์ อนกุ รรมการประชาสมั พันธส์ ่อื ดจิ ิทลั ๘. นายกิตติกร กอบเงนิ ในคณะกรรมการประชาสมั พันธ์ วุฒิสภา อนุกรรมการและผู้ชว่ ยเลขานกุ าร / วิทยากรปฏบิ ตั ิการ โครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ณ จังหวัดเชียงราย โดยคณะอนุกรรมการ การมสี ่วนรว่ มของเยาวชน มีรายละเอียดของการจดั กิจกรรมตามลำดับดังนี้ วนั เสาร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา นางกอบกลุ อาภากร ณ อยธุ ยา สมาชกิ วุฒิสภา ประธานอนุกรรรมการ การมีสว่ นรว่ มของเยาวชน พรอ้ มดว้ ยที่ปรึกษา อนกุ รรมการ และอนกุ รรมการ เข้าประชมุ หารือ และรบั ชมการนำเสนอ “โครงการละออ่ นรักษแ์ กน่ ๒” โดยทีมเยาวชน Seed Project อำเภอเวียงแก่น ณ ร้านสกายวอล์ค ตำบลหล่ายงาว อำเภอ เวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดยมีตัวแทนเยาวชน ในพื้นท่ี ๒ คน ได้แก่ นางสาวกัญญ์วรา แก้วสุข และนางสาวจุฑามณี จันทรฤทธิ์ ดำเนินการนำเสนอ โครงการฯ ทั้งนี้ได้มีนายสงบ อินเทพ ที่ปรึกษาโครงการฯ เข้าร่วมประชุมหารือด้วย โดยโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด และแก้ไขปัญหา ความแห้งแลง้ ของพื้นป่าให้มีความชุ่มช้นื และมสี ภาพแวดล้อมที่ดขี ้ึน โดยทีมเยาวชน Seed Project อำเภอเวียงแก่น ได้ นำเสนอว่า โครงการละอ่อนรักษ์แก่น ๒ เป็นโครงการที่สืบเนื่องจากโครงการละอ่อนรักษ์แกน่ ครั้งที่ ๑ ซึ่งจัดทำ ณ พื้นที่โครงการหลวงห้วยแลง้ ลำน้ำห้วยซ้าน โดยในโครงการฯ มีกิจกรรม คือ การอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจในการสร้างฝาย ชะลอน้ำ การให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผัก ปลอดสารพิษตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และการนำเด็กและเยาวชนในพื้นที่ไปศึกษาแหล่งท่องเที่ยว แห่งใหม่ของอำเภอเวียงแกน่ โดยให้เยาวชนที่ร่วมโครงการระดมความคิดในการพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ ว เพ่ือกอ่ ให้เกิดการมสี ่วนร่วมของเยาวชนในการพฒั นาบา้ นเกิด
๖๙ และโครงการละอ่อนรกั ษ์แก่น ๒ เป็นโครงการที่เนน้ กจิ กรรมสร้างฝายชะลอน้ำเป็นหลัก กำหนด จุดทำฝายที่ลำน้ำห้วยขาม เป็นลำน้ำสาขาของลำน้ำงาว ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของอำเภอเวียงแก่น ที่ประชาชนในพื้นที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค และการเกษตร แต่ในฤดูฝนน้ำหลากไหลเร็ว ลำน้ำ ไมส่ ามารถกกั เก็บน้ำได้ ในฤดแู ล้งน้ำแหง้ ขอด เกิดปญั หาการขาดแคลนนำ้ ในพนื้ ที่ นายสงบ อินเทพ ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าว ว่า อำเภอเวียงแก่นมีนโยบายและกลยุทธ์ ในการฟื้นฟูต้นน้ำ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ ผืนป่าในพื้นที่ มีเป้าหมายในการสรา้ งฝายชะลอน้ำ กระจายตามลำน้ำสาขาของลำน้ำงาว จำนวน ๒,๗๕๒ ฝาย ภายในระยะเวลา ๕ ปี โดยมีการ แจกจ่ายให้หน่วยงานแต่ละแห่ง ร่วมกันช่วยเหลือ การสร้างฝาย ซึ่งสภาเด็กและเยาวชนอำเภอเวียงแก่น เปน็ อีกกลมุ่ หนึง่ ทีเ่ ขา้ ร่วมกิจกรรมน้ี ประเดน็ ขอ้ สังเกตและคำถาม ศาสตราจารย์พิเศษ กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ สมาชิก วุฒิสภา มีข้อซักถามว่า มีวิธีเลือกจุดในการทำฝายอย่างไร มีการ ประเมนิ ผลหรือตดิ ตามฝายชะลอน้ำท่สี ร้างไปหรือไม่ โดยทีมเยาวชนได้ตอบข้อซักถามว่า การเลือกจุดทำฝาย เป็นไปตามนโยบายของอำเภอ ซึ่งจะทำฝายในทุกลำน้ำสาขาของ ลำน้ำงาว โดยในส่วนของโครงการละอ่อนรักษ์แก่น เริ่มทำจุดแรกท่ี ลำน้ำห้วยซ้าน บริเวณโครงการหลวงหว้ ยแลง้ เพราะอยู่ในพนื้ ท่ีสงู จะชะลอนำ้ ให้คอ่ ย ๆ ไหลลงสพู่ ื้นทถี่ ดั มา ก่อให้เกิดความชุ่มชื้นให้พ้ืนดินเพ่ือความอุดมสมบูรณต์ ่อไป และหลังจากการสรา้ งฝายเสรจ็ แล้วได้มี การเข้าไปสำรวจพ้นื ที่อยเู่ ปน็ ระยะ ๆ เพ่อื บำรงุ รักษา นางสาวดาวน้อย สทุ ธินภิ าพันธ์ สมาชิกวุฒสิ ภา ใหข้ ้อสังเกตว่า ทมี เยาวชนท่ดี ำเนินโครงการน้ี มีบางส่วนที่อยู่ในช่วงเตรียมไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จะมีการสานต่อโครงการหรือไม่ ในกลุ่ม เครอื ขา่ ยเยาวชนมกี ่ีคน เข้ารว่ มกจิ กรรมท้ังหมดหรอื ไม่ มกี จิ กรรมอยา่ งอ่นื และงบประมาณจากท่ีใด โดยทีมเยาวชนกล่าวว่า ในเครือข่ายทีมเยาวชนมีหลายช่วงวัยและพร้อมจะสานต่อการดำเนิน โครงการ โดยมีสมาชิกอยู่ประมาณ ๘๐ คน ซึ่งผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทำกิจกรรม และมีกิจกรรม อื่น ๆ ที่เคยดำเนินการ เช่น การอบรมเรื่องเพศศึกษา และการให้ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ในวัยเรียน เป็นต้น ส่วนงบประมาณได้รับการสนับสนุนทั้งอำเภอ เทศบาล บ้านพักเด็กและเยาวชน รวมถึงจาก โครงการ To be number ๑. ในรอบปีหนึ่งจะได้รับงบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน
๗๐ จึงขอความอนเุ คราะห์ให้คณะอนุกรรมการการมสี ว่ นร่วมของเยาวชนชว่ ยประสานหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง เพ่ือดำเนินการตอ่ ไป นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา สมาชิกวุฒิสภา ประธานอนุกรรรมการการมีส่วนร่วม ของเยาวชน ได้ตงั้ ขอ้ สงั เกตว่า ไดม้ ีการเก็บข้อมลู หรอื มีการทำวจิ ัยการเปล่ยี นแปลงของพื้นท่ีบริเวณที่มี การสรา้ งฝายหรอื ไม่ นายสงบ อินเทพ ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า มีการประเมินผลหลงั จากการสร้างฝายอยู่เปน็ ระยะ แต่ในสว่ นของการเกบ็ ข้อมลู หรอื การทำวจิ ยั สำหรบั เด็ก ๆ ยงั ไม่ไดไ้ ปถงึ ขั้นน้ัน แตใ่ นอนาคตจะมี วางแผนเพื่อสอนเด็ก ๆ และเยาวชนใหม้ คี วามรู้ความเข้าใจมากย่ิงขนึ้ นายอาชวิน ล้อมพิทักษ์ อนุกรรมการ ได้ซักถามว่า การดำเนินงานของทีมเยาวชน มีการประชาสัมพนั ธ์บ้างหรอื ไม่ ทีมเยาวชนกล่าวว่า การประชาสัมพันธ์มีทั้งก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม ก่อนทำกิจกรรม จะเป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้เด็กเยาวชนเข้าร่วมโครงการ ส่วนหลังกิจกรรมจะเป็น การประชาสมั พันธผ์ ลการดำเนินงานใหส้ าธารณชนรบั ทราบ ในการนี้นางสาวดาวนอ้ ย สุทธนิ ภิ าพนั ธ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้กลา่ วว่าจะมีการดำเนนิ การประสาน เร่ืองงบประมาณเพ่ือนำมาสนบั สนุนโครงการของทมี เยาวชน Seed Project เวียงแกน่ ตอ่ ไป เวลา ๑๓.๓๐ นาฬกิ า นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา สมาชิกวุฒิสภา ประธานอนุกรรรมการการมีส่วนร่วม ของเยาวชน ได้นำที่ปรึกษาอนุกรรมการ และอนุกรรมการ พร้อมด้วยทีมเยาวชน Seed Project อำเภอเวียงแก่น ลงพื้นที่จริงที่จะใช้ในการดำเนินการจัดกิจกรรม ณ ฝายกั้นน้ำในพื้นที่ป่า บริเวณวัดป่าดอยคำ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ซึ่งในขณะนี้มีความแห้งขอด โดยมีการสร้าง ฝายเกเบ้ยี นกั้นลำน้ำไวแ้ ล้ว ๑ จุด
๗๑ เวลา ๑๗.๓๐ นาฬกิ า นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา สมาชิกวุฒิสภา ประธานอนุกรรรมการการมีส่วนร่วม ของเยาวชน พร้อมด้วยที่ปรึกษาอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ได้ผ่านจุดคัดกรองที่เจ้าหน้าท่ี สาธารณสุขตำบลจัดไว้ และเข้าเย่ียมชมกิจกรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียน และเด็กด้อยโอกาส ณ บ้านพักนักเรียนนิคมของโรงเรียนนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และรับฟังการเสนอ “โครงการเครือข่าย SEED อาสาปันใจให้น้อง”จากทีมเยาวชน Seed Project จงั หวดั เชยี งราย โดยมีนายกรวิชญ์ อินศวร ผู้ประสานโครงการฯ เป็นผู้นำเสนอ ในการนี้คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบอาหารมื้อเย็นให้กับเด็กนักเรียน ประกอบด้วย ไก่ทอด สูตรเคเอฟซี แกงเผ็ดไก่ ขนมโดนัท และผลไม้ ซึ่งเป็นงบประมาณจากโครงการสมาชิกวุฒิสภา พบประชาชน
๗๒ วันอาทิตย์ท่ี ๒๑ มนี าคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา สมาชิกวุฒิสภา ประธานอนุกรรรมการการมีส่วนร่วม ของเยาวชน พร้อมด้วยทีป่ รึกษาอนุกรรมการ และอนกุ รรมการ ได้เดินทางมายงั บา้ นพักนักเรยี นนิคม ของโรงเรียนนคิ มสร้างตนเองสงเคราะหช์ าวเขาอกี ครง้ั เพอ่ื รว่ มประชมุ หารือเกี่ยวกบั การดำเนนิ งานของ โรงเรียน ในการนี้ไดม้ ี นายนิคม หวายบุตร ผู้อำนวยการศูนยพ์ ัฒนาราษฎรบนพื้นทีส่ ูงจังหวัดเชียงราย
๗๓ นางอรนุช ชัยชาญ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย นายจรัญ คุณะแสงคำ ผอู้ ำนวยการโรงเรียนนิคมสรา้ งตนเองสงเคราะห์ชาวเขา และบุคลากรของโรงเรียน เข้ารว่ มหารอื ดว้ ย โดยสรปุ ประเดน็ สำคัญได้ ดงั นี้ ๑. ประเด็นการขอความอนุเคราะหเ์ พ่ือประสานใช้พื้นที่ในความดูแลของศูนย์พัฒนาราษฎรบน พื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย ที่อยู่ติดกับบริเวณบ้านพักนักเรียนนิคม เพื่อให้นักเรียนได้จัดทำโครงการทำ การเกษตรแบบผสมผสาน โดยพื้นที่ดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ ๔ – ๕ ไร่ ซึ่งทางคณะอนุกรรมการฯ ได้หารือกบั ผอู้ ำนวยการศนู ย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนทส่ี งู จงั หวัดเชยี งราย และพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษยจ์ งั หวัดเชยี งราย ไดข้ ้อหารอื วา่ ทางศนู ย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนที่สูงจังหวดั เชียงราย อนุญาตให้ ทางบ้านพักนักเรียนนิคมสามารถใช้พื้นที่สนับสนุนการทำโครงการการทำการเกษตรของนักเรียนได้ โดยให้มีการจดั ทำหนังสือข้อตกลงในการใช้พื้นท่ี ระหว่างศนู ยพ์ ัฒนาราษฎรบนพ้ืนท่ีสูงจังหวัดเชียงราย และโรงเรียนนคิ มสงเคราะห์ชาวเขา ในส่วนของงบประมาณในการทำโครงการเกษตรแบบผสมผสานของนักเรียน ทางพัฒนาสังคม และความม่ันคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย แนะนำว่าสามารถจัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ จากกองทุนคมุ้ ครองเดก็ และมีอีกหนงึ่ กองทนุ อาจขอไดเ้ ร็วกว่าคือกองทุนส่งเสรมิ การจัดสวัสดกิ ารสงั คม
๗๔ ศาสตราจารย์พิเศษ กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ สมาชิกวุฒิสภา ได้ให้ข้อแนะนำว่าในการจัดทำ โครงการฯ เพื่อเสนอของบประมาณควรทำแบบเต็มรูปแบบและครบวงจร ในครั้งแรกที่ของบประมาณ ไปอาจจะไม่ได้เตม็ จำนวน แต่รายละเอยี ดโครงการนนั้ จะเปน็ ขอ้ พิจารณาในการของบครงั้ ตอ่ ๆ ไปได้ ภาพประกอบ พื้นท่ใี นความดูแลของศนู ย์พัฒนาราษฎรบนพ้นื ท่สี ูงจงั หวดั เชียงราย ซึง่ ทางโรงเรยี นจะขอความอนเุ คราะหเ์ พอ่ื นำใชท้ ำโครงการเกษตรแบบผสมผสานใหก้ บั นักเรยี น ๒. ประเด็นเรื่องน้ำอุปโภค บริโภค ของนักเรียนที่ใชภ้ ายในบ้านพักนักเรียน ไม่เพียงพอต่อการ ใช้งาน และประสบปัญหาเร่ืองแหล่งน้ำปนเปื้อนสารเคมีจากการทำการเกษตรของชุมชนใกล้เคียง รวมทั้งโรงเรียนมีความต้องการในการสร้างฐานพักน้ำเพื่อรองรับน้ำฝนเพื่อใช้ในบ้านพักนักเรียนนิคม เนือ่ งจากของเดิมมสี ภาพทรดุ โทรม นางสาวดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้ขอคำปรึกษาหน่วยงานที่เก่ียวข้อง โดยผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย ได้กล่าวว่ากรมชลประทานได้ขุดลอก อ่างเก็บน้ำไว้บนพื้นที่สูงที่อยู่ถัดขึ้นไป แล้วปล่อยน้ำตามท่อเพื่อกระจายน้ำให้พื้นที่โดยรอบได้ใช้ เนอื่ งจากปัญหาการขาดแคลนนำ้ เกิดข้ึนในบรเิ วณพืน้ ทใ่ี กลเ้ คยี งด้วย ศาสตราจารยพ์ ิเศษ กาญจนารัตน์ ลีวโิ รจน์ สมาชกิ วฒุ สิ ภา ได้ให้คำแนะนำให้ผู้ดูแลบ้านพัก นักเรียนนิคมสูบนำ้ จากสระน้ำในพื้นท่ีบา้ นพักขึ้นมากรองโดยวิธีแบบง่าย ๆ เพื่อใช้ในการอุปโภค ไม่ใช่ เพ่ือบรโิ ภค จะได้มีนำ้ ใชเ้ พียงพอ ภาพประกอบ สระเก็บน้ำภายในบริเวณบา้ นพกั เพื่อใชใ้ นการอปุ โภค
๗๕ ๓. ประเด็นการขาดแคลนของใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนบ้านพักนักเรียนนิคม เช่น สบู่ ยาสฟี นั ผงซกั ฟอก ขา้ วสาร อาหารแห้ง เป็นต้น นางสาวดาวนอ้ ย สุทธนิ ิภาพนั ธ์ สมาชิกวุฒิสภา ไดก้ ลา่ วว่า จะประสานหน่วยงานทเี่ กย่ี วขอ้ ง เพื่อสนับสนุนข้าวสาร และของใช้อื่น ๆ ให้กับนกั เรียนของบ้านพักนักเรยี นนิคม ผ่านมาทางทีมเยาวชน Seed Project ทอ่ี ยใู่ นพ้นื ทตี่ ่อไป ศาสตราจารย์พิเศษ กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ สมาชิกวุฒิสภา ได้ให้ความคิดเห็นว่า การลงพื้นท่ขี องอนกุ รรมการการมสี ่วนร่วมของเยาวชนครัง้ นี้ ทำใหเ้ หน็ ถึงการดำเนินงานท่ีสืบเน่ืองจาก โครงการ Seed Project Thailand ซึ่งเป็นโครงการท่ีได้นำเยาวชนในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศอบรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แสดงออกถึงศักยภาพในการร่วมพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง โดยไม่ได้เป็น เพียงโครงการที่จัดอบรบแล้วแยกย้ายไป แต่มีการสานต่อกิจกรรมจากการอบรมสู่การลงมือทำจริง จนเกิดเป็นแรงบนั ดาลใจให้เยาวชนด้วยกนั นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวในตอนท้ายว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการติดตามผลการอบรมโครงการ Seed Project Thailand ที่เคยจัด ซึ่งทำให้เห็นว่าเยาวชน ณ พื้นที่แห่งนี้ มีความตั้งใจจริงในการลงมือทำเพื่อบ้านเกิดของตัวเอง เป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์ ทางวฒุ ิสภาพร้อมใหค้ วามชว่ ยเหลอื และประสานงานหนว่ ยงานทีเ่ กย่ี วขอ้ งใหร้ ่วมกันดำเนินงานต่อไป ตอ่ มาคณะอนุกรรมการไดเ้ ยย่ี มชมกจิ กรรมของเดก็ นกั เรยี นบรเิ วณบ้านพกั นกั เรียนตามท่ีผู้ดูแล บา้ นพกั นกั เรียนนคิ มได้จัดเตรียมไว้ กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมนันทนาการของเด็กเล็กที่พักอาศัยอยู่ ณ บ้านพักนักเรียน ของโรงเรียน นคิ มสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมการทำการเกษตรพชื ผักสวนครวั ซึ่งนักเรียนไดเ้ พาะปลกู และดูแลกันเอง ได้แก่ กะหล่ำ ผักกาด พริก มะเขือ และอื่นๆ เพื่อนำผลผลิตจากแปลงเพาะปลูกเหล่านั้น มาประกอบ อาหารรบั ประทานภายในบา้ นพัก ส่วนท่ีเหลือจากการบริโภคไมท่ นั จะนำออกขายสตู่ ลาด
๗๖ กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมการทำโรงเพาะเห็ด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการเครือข่าย SEED อาสาปันใจให้น้อง เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๔ เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ฝึกทักษะการเพาะเห็ด แล้วนำผลผลิตท่ไี ด้มาประกอบอาหารรบั ประทานภายในบ้านพักนักเรียน กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมการทำโรงเลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดซื้อพันธุ์แม่ไก่ไข่ จำนวน ๑๐๐ ตัว เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ฝึกทักษะการเลี้ยงไก่ และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลโรงเรือนเลี้ยงไก่ กันเอง แล้วนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารรับประทานภายในบ้านพักเรียน โดย ๑ วัน สามารถเก็บ ผลผลติ ไขไ่ กไ่ ด้ประมาณ ๙๐ ฟอง
๗๗ หลังจากนั้นคณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วมของเยาวชน ได้มอบอาหารมื้อกลางวันให้กับเด็ก นักเรียนอีกหนึ่งมื้อ ประกอบด้วย ลาบคั่ว ผัดผักใส่วุ้นเส้น ขนม แซนวิช ผลไม้ และไอศกรีม ซึ่งเป็น งบประมาณจากโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน พร้อมกันนี้คณะอนุกรรมการฯ ได้ร่วม รับประทานอาหารกลางวันกับคณะครู และเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการในพื้นที่ และก่อนเดินทางกลับ ทางโรงเรียนได้มอบของที่ระลึกจากฝีมือนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขาให้กับ สมาชิกวฒุ ิสภาด้วย
๗๘ ๑๑. ข้อสังเกตและขอ้ จำกดั การลงพื้นที่ทำกิจกรรม ณ อำเภอเวียงแก่น จำนวนกลุ่มเป้าหมายไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ เนื่องจากมีเยาวชนติดการสอบ และมีธุระเร่งด่วน จึงส่งตัวแทนและบุคคลอื่น ๆ เข้าร่วมเพียง ๕ คน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ ๑๐ คน ซึ่งอาจส่งผลต่อการนำเสนอโครงการที่กลุ่มเยาวชนจัดทำ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกวุฒิสภากับเยาวชนไม่เกิดความหลากหลาย ความคดิ เหน็ ทีส่ ะท้อนกลบั มาอาจไมค่ รบถว้ นสมบรู ณ์ การลงพื้นที่ ณ บ้านพักนักเรียนนิคมของโรงเรียนนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา การจัด สถานที่พบปะหารือกับทีมเยาวชน นักเรียน และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อาจไม่เป็นทางการ เทา่ ท่ีควร เปน็ ไปตามสภาพพื้นที่เนอื่ งจากเป็นชนบท แตใ่ นภาพรวมของการพบปะหารือสามารถสอ่ื สาร จุดประสงค์การลงพื้นที่ของคณะอนุกรรมการได้เป็นอย่างดี และสามารถประสานงานหน่วยงาน ท่ีเกย่ี วข้องเพ่อื สนับสนุนความช่วยเหลือให้บา้ นพกั นักเรยี นนคิ มได้ตามความต้องการ
๗๙
๘๐
๘๑ รายงานผลการเดนิ ทางลงพืน้ ท่ี ของคณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชกิ วฒุ สิ ภาพบประชาชน ณ จังหวัดเชยี งราย ระหว่างวนั ศกุ รท์ ่ี ๒ – วันเสารท์ ่ี ๓ เมษายน ๒๕๖๔ ********************* รายชื่อคณะเดนิ ทาง คณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชกิ วุฒิสภาพบประชาชน ๑. รองประธานวฒุ สิ ภา คนที่หนงึ่ ประธานกรรมการ (พลเอก สิงห์ศกึ สงิ หไ์ พร) ๒. พลอากาศเอก อดศิ กั ดิ์ กลัน่ เสนาะ กรรมการ ๓. พลเอก โปฎก บนุ นาค กรรมการ ๔. นายสมเดช นลิ พนั ธ์ุ กรรมการ ๕. รองศาสตราจารยท์ วศี ักด์ิ สทู กวาทนิ กรรมการ ๖. นางเสาวคนธ์ จนั ทรผ์ ่องศรี กรรมการ คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นท่ีจังหวดั ภาคกลาง ๑.นายสมศกั ด์ิ โชตริ ตั นะศริ ิ กรรมการ คณะอนกุ รรมการดา้ นนโยบาย แผนงานและประสานการปฏบิ ตั ิ ๑.นางวาสนา ทิพยส์ วุ รรณ อนกุ รรมการ ฝ่ายเลขานกุ ารคณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชิกวฒุ สิ ภาพบประชาชน ๑. ผู้อำนวยการสำนกั ประชาสมั พันธ์ กรรมการและเลขานุการ (นายสาธติ วงศอ์ นนั ตน์ นท์) ๒. ผบู้ งั คับบญั ชากล่มุ งานรองประธานวฒุ สิ ภา คนทหี่ นงึ่ กรรมการและผชู้ ว่ ยเลขานกุ าร (นายบรรหาร กำลา) ๓. นายปิยชน ธรรมชาติ กรรมการและผชู้ ว่ ยเลขานกุ าร ๔. นายนัฐวชิ แกว้ พิกลุ กรรมการและผชู้ ว่ ยเลขานกุ าร ข้าราชการสำนักงานเลขาธกิ ารวุฒสิ ภา ๑. นางธริ าพร ณ เชยี งใหม่ เจา้ พนกั งานธุรการชำนาญงาน ๒. นางสาวณฐมน โพธเ์ิ กษม เจ้าพนกั งานธุรการชำนาญงาน
๘๒ วนั ศุกร์ท่ี ๒ เมษายน ๒๕๖๔ วนั ศุกร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๔เวลา ๐๙.๐๐ นาฬกิ า ณ โรงพยาบาลเชียงรายประชานเุ คราะห์ ตำบลรอบเวียงอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงรายคณะกรรมการอำนวยการโครงการ สมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน นำโดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนนำคณะสมาชิกวุฒิสภา ลงพื้นที่พบคณะแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยมรี ายละเอยี ดดงั น้ี คณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน เยี่ยมชมสถานที่ ก่อสร้าง อาคารรังสีรักษาซึ่งเป็นอาคารที่ใช้สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยวิธีการรังสีรักษา โดยมีนายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนายแพทย์ไชยเวช ธนไพศาล ผอู้ ำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานเุ คราะห์ร่วมใหก้ ารตอ้ นรบั และนำคณะฯ เยยี่ มชม ภาพกจิ กรรม
๘๓ จากนั้น เป็นกิจกรรมสมาชิกวุฒิสภา ร่วมสนทนา แลกเปลี่ยน และรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งขอ้ เสนอแนะจากคณะแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยมีรายละเอยี ด ดงั นี้ นายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวต้อนรบั คณะฯ สรุปความ ได้ว่าจังหวัดเชียงรายมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งและขอขอบคุณสมาชิกวุฒิสภาที่มาพบปะประชาชน จังหวัดเชียงรายในคร้ังนี้ การที่จังหวัดเชียงรายจะมีการจัดตั้งศูนย์รังสีรักษาที่โรงพยาบาลเชียงราย ประชานุเคราะห์ เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลที่ได้รับ จากผูอ้ ำนวยการโรงพยาบาลเชยี งรายประชานุเคราะห์ ทำให้ทราบวา่ หากการก่อสรา้ งอาคารรังสรี ักษา ดำเนินการโดยเสร็จสมบูรณ์ และมีอุปกรณ์รวมทัง้ บุคลากรที่พร้อมแล้ว จะไม่ต้องส่งตัวผู้ป่วยโรคมะเรง็ ไปรักษาทีโ่ รงพยาบาลในจงั หวัดเชียงใหมอ่ ีกตอ่ ไป ถอื เป็นเรื่องทน่ี า่ ยนิ ดเี ปน็ อยา่ งยงิ่ สำหรบั ประชาชนใน จังหวัดเชียงรายและจงั หวดั ใกลเ้ คียง ทั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนนุ จากสมาชกิ วฒุ ิสภา เพ่อื ใหก้ ารจดั ตงั้ ศูนยร์ งั สรี ักษาเป็นไปโดยเสรจ็ สมบูรณ์ตอ่ ไป จากนั้นนายแพทย์ไชยเวช ธนไพศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ กล่าวต้อนรับคณะฯ สรุปความได้ว่าโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ ให้การต้อนรบั คณะสมาชิกวุฒิสภา ขอเรียนให้ทราบว่า การดำเนินการจัดตั้งศูนยร์ งั สีรักษาเป็นไปอย่าง ราบรื่นเนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ในการนี้ขอขอบคุณคณะกรรมการอำนวยการ โครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพของประชาชนที่ได้มาเยี่ยมเยียน โรงพยาบาลในคร้งั นี้ ลำดับต่อมานางเสาวคนธ์ จันทร์ผ่องศรี กรรมการในคณะกรรมการอำนวยการโครงการ สมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนได้ทำหน้าที่พิธีกรในการแนะนำสมาชิกวุฒิสภา และกรรมการ ในคณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนรวมทั้งนำเสนอเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่และอำนาจของวฒุ ิสภา ต่อจากนั้น พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ของโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนภารกิจหลักของวุฒิสภา ตามทก่ี ำหนดไว้ในรฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทยอันได้แก่ การพิจารณาและการกล่นั กรองกฎหมาย การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ โดยการลงพื้นที่พบปะประชาชนจะทำให้ทราบข้อมูลที่แท้จริง เพื่อนำไปใช้ประกอบการปฏิบัติหน้าท่ี ตามภารกิจหลักดังที่กล่าวมา โดยคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนประกอบด้วย คณะกรรมจำนวน ๘ คณะ ได้แก่ คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นท่ี จงั หวัดภาคต่าง ๆ จำนวน ๗ คณะ และคณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชิกวฒุ สิ ภาพบประชาชน ซึ่งคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคต่าง ๆ จะเน้นการพบปะ ประชาชนและส่วนราชการ ส่วนคณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชกิ วุฒิสภาพบประชาชนจะเนน้
๘๔ การพบปะกับเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาทั้งนี้ โครงการสมาชิกวุฒิสภา พบประชาชนเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานต่อเนื่องมาจากโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบประชาชน ซ่งึ เปน็ โครงการทม่ี ขี น้ึ ในช่วงทม่ี สี ภานิติบัญญัตแิ หง่ ชาติ สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศูนย์รังสีรักษานั้น มีที่มาจากการลงพื้นที่ของสมาชิก สภานิตบิ ัญญัติแห่งชาติตามโครงการสมาชิกสภานิตบิ ญั ญัติแห่งชาติพบประชาชนในชว่ งปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งจากการลงพื้นที่ในจังหวัดเชียงรายทำให้ทราบข้อมูลว่า ประชาชนในจังหวัดเชียงรายป่วย ด้วยโรคมะเร็งเป็นจำนวนมาก การรักษาผู้ป่วยด้วยการฉายรังสี ประชาชนต้องเดินทางเพื่อไปรับ การรักษาทโ่ี รงพยาบาลในจงั หวดั ลำปางหรอื จงั หวดั เชียงใหม่กอ่ ให้เกดิ ภาระค่าใชจ้ ่ายในการเดนิ ทางเปน็ จำนวนมาก นำมาซึ่งความเดือดร้อนของประชาชน จึงมีการนำเรียนเรื่องดังกล่าวต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน จึง นำไปสู่โครงการจัดตั้งศูนย์รังสีรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยง่ิ ต่อประชาชนในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้ ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับคณะแพทย์ พยาบาล รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านในการรักษาผู้ป่วย และขอให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีย่ิง เช่นน้ีตอ่ ไป จากนั้น นายแพทยส์ มศกั ดิ์ อุทัยพิบลู ย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ คนที่หนึ่งได้รายงาน ความคืบหนา้ ในการจดั ตง้ั ศูนย์รงั สีรักษา โดยมีรายละเอยี ดสรุปได้ ดังน้ี การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมี ๓ วิธีการ ได้แก่ การผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา โดยโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยวิธีการรังสีรักษาได้ ซึ่งต้องมีการส่งผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว ไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ หรือศูนย์มะเร็งลำปาง โดยข้อมูลอัตราการเสียชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงรายพบว่า มีผู้เสียชีวติ ด้วยโรคมะเร็งตดิ อันดับ ๑ ใน ๑๐ ของการเสยี ชวี ิตท้ังหมด ซึ่งโรคมะเรง็ ทพ่ี บมากทส่ี ุดคอื โรคมะเรง็ ปอด โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ พบว่า จังหวัดเชียงรายมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง จำนวน ๓,๓๑๗ คน จากข้อมูล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ มีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งจากจังหวัดเชียงรายถูกส่งตัวไปรักษาด้วยวิธีการ รังสีรักษาท่ีโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่และศูนย์มะเร็งลำปาง รวมจำนวน ๑,๖๒๗ ราย ทั้งนี้ การจัดตั้งศูนย์รังสีรักษามีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ และได้รับการจัดสรรงบประมาณ จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายได้ลงนาม ในสัญญาก่อสร้างอาคารรังสีรักษา เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ คาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จใน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ สำหรับความพร้อมด้านบุคลากร ได้มีการวางแผนและจัดสรรอัตรากำลัง บุคลากร การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ เพื่อรองรบั การเปดิ บรกิ ารรังสีรักษา ในปี พ.ศ. ๒๕๖๖
๘๕ จากนั้น เป็นการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะแพทย์และผู้บริหาร ของโรงพยาบาลเชยี งรายประชานเุ คราะห์ โดยมีรายละเอยี ด ดงั น้ี นายแพทย์ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการปฐมภูมิและหัวหน้ากลุ่มเวช กรรมสังคมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการป้องกันหรือลดอุบัติเหตุบนท้องถนน กล่าวคือ การเกิด อุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะประชากรในวัยหนุ่มสาว จึง เสนอให้มกี ารบงั คับใชก้ ฎหมายเกย่ี วกับการจราจรอย่างเคร่งครดั อาทิ กรณีผ้ไู มส่ วมหมวกนริ ภยั บุคคล ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร โดยมีความเห็นว่า หากมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จะทำให้อุบัติ บนท้องถนนเหตุลดลง ซึ่งเป็นการลดภาระของแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วย ที่ได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพ จากอุบัตเิ หตุดังกลา่ ว รวมทง้ั ยงั เป็นการลดปญั หาทางสังคมดว้ ย นายแพทย์สมศักดิ์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ คนที่หนึ่งแสดงความคดิ เห็น เกี่ยวกับการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน กล่าวคือ ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ อุบัติเหตุบนท้องถนนส่วนใหญ่ จะเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วไปขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ นำมาซึ่งความสูญเสีย ทเ่ี กดิ ขึน้ กบั ตัวผู้ดม่ื เองและผูท้ ี่ไม่ไดด้ มื่ ซง่ึ ได้รบั ผลกระทบจากอุบตั ิเหตดุ งั กลา่ ว จงึ เสนอใหม้ ีการบังคบั ใช้ กฎหมายในการควบคุมไม่ให้ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือมีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกว่า ท่กี ฎหมายกำหนดไปขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ โดยให้มกี ารบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและ มีการลงโทษกระผูท้ ่ีกระทำความผดิ อย่างจรงิ จัง ประเด็นดังกล่าว พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ได้ให้ข้อมูล ต่อผู้แสดงความคิดเห็นว่า ในประเด็นเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภามีคณะกรรมการ และคณะกรรมาธิการที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวโดยตรง จึงจะรับเรื่องเพื่อประสานส่งเรื่องให้ คณะกรรมการและคณะกรรมาธิการท่ีเกี่ยวข้องดำเนนิ การตามหน้าทีแ่ ละอำนาจต่อไป นายแพทย์ไชยเวช ธนไพศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และ แพทย์หญิงเยาวลักษณ์ จริยพงศ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายผลิตบุคลากรทางการแพทย์แสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบรรจุนักศึกษาแพทย์ที่จบการศึกษาให้เป็นข้าราชการ กล่าวคือ โรงพยาบาล เชียงรายประชานเุ คราะห์เป็นศูนย์แพทย์ สามารถผลิตบัณฑติ แพทย์ ตามโครงการแพทย์เพ่ือชาวชนบท โดยผลิตแพทย์ได้ปลี ะประมาณ ๔๕ คน โดยขอ้ มูล ณ ปัจจุบัน มีมติคณะรัฐมนตรีให้บรรจุแพทย์ได้เปน็ ช่วง ๆ โดยล่าสุดเป็นการพิจารณาแพทย์ที่จบการศึกษาภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในระหว่างการสำรวจข้อมูลเพื่อเสนอเรื่องผ่านสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพือ่ ขออนุมัติตอ่ คณะรฐั มนตรใี นการบรรจุแพทย์ท่จี บการศกึ ษาเป็นข้าราชการ ทัง้ นี้ หลักการโดยทั่วไป เกี่ยวกับการบรรจุแพทย์ที่จบการศึกษาเป็นข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้กำหนดแนวทางโดยให้กระทรวงสาธารณสุขบรรจุแพทย์เป็นข้าราชการตามตำแหน่งที่ว่าง
๘๖ โดยไม่มีการกำหนดตำแหน่งใหม่ จึงมีความกังวลว่า หากแพทย์ที่จบการศึกษาไม่ได้รับการบรรจุเป็น ขา้ ราชการ แพทยด์ งั กล่าวอาจเลือกทำงานในโรงพยาบาลของเอกชนแทนที่จะเป็นแพทยใ์ นโรงพยาบาล ของรัฐ จึงมีความเห็นว่า เพื่อให้โรงพยาบาลของรัฐมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เพียงพอต่อการบริการ ประชาชน จึงควรมีแนวทางในการบรรจุแพทย์ที่จบการศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัดกระทรวง สาธารณสขุ ต่อไป จากนั้น พลเอก โปฎกบุนนาคสมาชิกวุฒิสภาได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค ทางเดินหายใจต่าง ๆ ซึ่งมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ ปัญหาคุณภาพอากาศ ซึ่งปัญหาหมอกควันไฟ ป่า เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกปี มีสาเหตุมาจากฝีมือมนุษย์ โดยการแก้ไขปัญหาต้องได้รับความร่วมมือ จากประชาชน จะอาศัยการดำเนินการของเจ้าหน้าที่แต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ ทั้งนี้ ขอชื่นชมและเป็น กำลงั ใจใหก้ บั บุคลาการทางการแพทยใ์ นการตอ่ สูก้ ับโรคภัยไขเ้ จ็บต่าง ๆ นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริสมาชิกวุฒิสภา ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการ ของบประมาณเพื่อดำเนินการจัดตัง้ ศูนย์รังสรี กั ษารวมทัง้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาการบรรจุบุคลากร ทางการแพทย์ โดยเสนอแนะให้กระทรวงสาธารณสุขทำการตกลงหรือทำความเข้าใจกับสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เพอื่ ใหเ้ กดิ ความชัดเจนเกย่ี วกบั เรอื่ งดงั กลา่ วตอ่ ไป พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะสมาชิกวุฒิสภาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ การพัฒนาการท่องเที่ยวในประเด็นที่เก่ียวข้องกับการสาธารณสุข คือ ควรมีการสนับสนุนการทอ่ งเท่ยี ว เชิงสุขภาพ เนื่องจากในสายตาของต่างประเทศ มีความเชื่อถือว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบ การสาธารณสขุ ท่ีดีประเทศหน่ึง นายสมเดช นิลพันธุ์สมาชิกวุฒิสภากล่าวชื่นชมโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ในการ วางแผนเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรองรับการดำเนินงานของศูนย์รังสีรักษา รวมทั้งได้ เสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยหนาแน่นในโรงพยาบาล ซึ่งสามารถทำได้โดยการออกตรวจ ผู้ปว่ ยเชงิ รุก ทั้งนี้ พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ได้กล่าวสรุปในช่วงท้ายว่า ประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับฟังมาทั้งหมดนั้น มีประโยชน์อย่างยิ่ง โดยจะได้มีการ นำข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปประกอบการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจ ของวุฒิสภาต่อไป
๘๗ ภาพกจิ กรรม ในเวลาต่อมาพลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ได้นำคณะสมาชิก วุฒสิ ภาเยี่ยมและใหก้ ำลังใจรวมท้ังมอบของที่ระลึกแก่ผ้ปู ว่ ยโรคมะเรง็ ณ หอผปู้ ว่ ยเคมีบำบัด ภาพกจิ กรรม
๘๘ จากนั้น ในเวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หน่ึง ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการโครงการสมาชกิ วุฒสิ ภาพบประชาชน นำคณะสมาชกิ วุฒิสภา ลงพืน้ ทพี่ บปะประชาชน ณ ศาลาประชาคมบ้านสมบูรณด์ ีตำบลเมง็ ราย อำเภอพญาเมง็ รายจังหวัด เชียงรายโดยมีรายละเอยี ด ดงั นี้ นายอนันต์ สมุทรารินทร์ นายอำเภอพญาเม็งรายกล่าวต้อนรับสมาชิกวุฒิสภาและกล่าว รายงาน โดยมีรายละเอียดสรุปได้ว่า อำเภอพญาเม็งรายแยกการปกครองออกมาจากอำเภอเทิง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ประกอบด้วย ๕ ตำบล ๗๒ หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรประมาณ ๔๔,๑๒๔ คน ประชาชนส่วนใหญป่ ระกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพชื ผลทางการเกษตรทีส่ ำคัญ ไดแ้ ก่ ขา้ ว มนั สำปะหลัง มะม่วง ยางพารา สำหรับสภาพปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ ปัญหาภยั แล้งทำให้ ประชาชนขาดแคลนน้ำในการอุปโภค บริโภค โดยในช่วงระยะเวลา ๒ – ๓ ปี ที่ผ่านมามีฝนตกในพื้นที่ น้อยมาก ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ปัญหาเกี่ยวกับเอกสารสิทธิในที่ดินของประชาชน และปัญหาประชาชนไมม่ ีทดี่ ินทำกิน ท้งั น้ี เป็นเร่ืองที่น่ายนิ ดที ่ีสมาชกิ วฒุ สิ ภาได้มีการลงพ้ืนท่ีเพื่อรับฟัง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของประชาชน ในนามประชาชนอำเภอพญาเม็งรายขอขอบคุณ สมาชกิ วฒุ สิ ภาทุกทา่ นทม่ี าลงพนื้ ทเี่ พอ่ื พบปะประชาชนในคร้ังน้ี ลำดับต่อมานางเสาวคนธ์ จันทร์ผ่องศรี กรรมการในคณะกรรมการอำนวยการโครงการ สมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนได้ทำหน้าที่พิธีกรในการแนะนำสมาชิกวุฒิสภา และกรรมการ ในคณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน รวมทั้งนำเสนอเกี่ยวกับบทบาท หน้าท่แี ละอำนาจของวุฒสิ ภา ต่อจากนั้นพลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ได้กล่าวเปิดกิจกรรม และกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงพื้นที่ กล่าวคือ เนื่องจากสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้มีพ้ืนที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อย่างไร ก็ตามสมาชกิ วุฒิสภาในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึง่ มีหนา้ ทแ่ี ละอำนาจตามที่กำหนดไวใ้ นรฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย อาทิ การพิจารณาและการกลั่นกรองกฎหมาย การควบคุมการบริหารราชการ แผ่นดินจงึ ตอ้ งมีการลงพื้นท่ีเพื่อรับฟังความคิดเหน็ ของประชาชนเพ่ือนำมาเป็นข้อมลู ในการดำเนินงาน ตามหน้าทีแ่ ละอำนาจดงั กลา่ ว ในกรณีที่มปี ระเด็นความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ จะมีการเสนอ เรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาที่เกี่ยวข้อง หรือส่งเรื่องไปยังหน่วยงาน ท่มี หี น้าทีแ่ ละอำนาจโดยตรง สำหรบั หน้าที่และอำนาจทส่ี ำคัญของวุฒสิ ภาอกี ประการหน่งึ ซึง่ กำหนดไว้ ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย คือ การติดตาม เสนอแนะ และเรง่ รัดการปฏริ ปู ประเทศทั้งนี้ จากการที่ได้มีการลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมโครงการศูนย์รังสีรักษาที่โรงพยาบาลเชียงราย ประชานุเคราะห์ซึ่งเป็นโครงการที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนในจังหวัดเชียงรายและจังหวัด ใกล้เคียง เมื่อการก่อสร้างอาคารรังสีรักษาเสร็จสมบูรณ์ มีอุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์ครบถว้ น
๘๙ แลว้ ผปู้ ่วยโรคมะเรง็ ท่ตี ้องรกั ษาด้วยวิธกี ารฉายรงั สีก็จะไมต่ ้องเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัด เชียงใหมห่ รือจงั หวัดลำปางอีกต่อไป จากนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ รวมทั้ง นำเสนอประเด็นสภาพปญั หาต่าง ๆ ในพนื้ ที่ โดยมรี ายละเอียด สรุปได้ดังนี้ นายอธิปไตย ศิลปกรรม อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๕๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จงั หวดั เชยี งรายแสดงความคิดเหน็ ดงั นี้ ๑. ประชาชนในพื้นทหี่ มู่ที่ ๖ ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จงั หวดั เชียงราย ประสบปัญหา การขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค จึงเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาความ เดอื ดรอ้ นดังกลา่ วให้แก่ประชาชนในพนื้ ท่ที ง้ั ในระยะสั้นและระยะยาว ๒. ปัญหาการจัดการขยะในชุมชน กล่าวคือ ในพื้นที่ไม่มีสถานที่ที่จะนำขยะชุมชนไปทิ้ง โดย สถานที่ทิ้งขยะในปัจจบุ ันเป็นต้นน้ำ ในกรณีที่ขยะที่นำไปทิ้งมีเชือ้ โรคจะทำให้เกิดผลกระทบและความ เสียหายอย่างมากต่อประชาชนในพื้นที่ จึงเสนอความเห็นว่า ควรมีการจัดการขยะในชุมชนโดยการคดั แยกขยะและขอสนับสนนุ เตาเผาขยะ ๓. ปัญหาสนุ ขั และแมวจรจัด ซง่ึ อาจนำไปสู่การแพร่กระจายของเช้อื โรค จึงเสนอใหห้ น่วยงานท่ี เก่ยี วข้องจดั การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ๔. ปัญหายุงชุกชุม เนื่องจากในปีที่ผ่านมาไม่มีการฉีดพ่นยาจำกดั ยงุ เนื่องจากไม่มงี บประมาณ ในการจดั ซ้อื น้ำยา จงึ เสนอใหห้ นว่ ยงานทเี่ กี่ยวขอ้ งดำเนนิ การในเร่อื งดังกล่าว ๕. เสนอให้ชมุ ชนมมี าตรการในการปอ้ งกันการแพร่กระจายของโรคติดเชอ้ื ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) โดยการจำกดั เวลาในการเขา้ – ออก ของคนในชนุ ชุมและบคุ คลภายนอก ๖. ปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร เนื่องจากแม้ในพื้นที่จะมีคลองส่งน้ำ แต่ไม่สารถเก็บน้ำไว้ใช้ข้ามปี ได้ จะแกไ้ ขอย่างไรกับปัญหาดงั กลา่ ว สำหรับความคิดเห็นดังกล่าว พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ได้ให้ ข้อมูลต่อผู้แสดงความคิดเห็นว่า ในประเด็นสภาพปัญหาตามข้อที่ ๑ – ๕ เป็นเรื่องที่จังหวัดสามารถ แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ ส่วนปัญหาในข้อที่ ๑ เฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการขาดแคลนนำ้ ในการอุปโภค บริโภคในระยะยาว และปัญหาในข้อท่ี ๖ เกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร เป็นปัญญาที่ต้องบริหารจัดการหรือแก้ไขในภาพรวม จึงขอรับปัญหาในเรื่องดังกล่าวเพื่อส่งเรื่องไปยัง คณะกรรมาธิการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนตามหน้าท่ี และอำนาจตอ่ ไป นายศราวุธ จันทร์แว่น อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๓๒๕ หมู่ที่ ๗ ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย แสดงความคิดเห็นด้วยวาจา พร้อมทั้งยื่นหนังสือ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ ในประเดน็ เก่ยี วกับปญั หาทด่ี นิ ทำกนิ และทอ่ี ยู่อาศัย สรุปความได้วา่ ราษฎร ตำบลเมง็ ราย ตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย ตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย มีความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัย
๙๐ และที่ทำกนิ ไม่มีเอกสารสิทธิ ซึ่งที่ดินในบริเวณดังกล่าวอยูใ่ นระดับคุณภาพลุม่ น้ำ ชั้น ต.๔ และ ๕ ไม่มี ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และรังวัดแปลงที่ดิน ตามโครงการการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ในพื้นท่ีป่าสงวนแห่งชาติ สามารถดำเนินการเป็นที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกิน ตามนโยบายของรัฐบาล แต่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและความช่วยเหลือจากภาครัฐ ตามสิทธิที่ควรจะได้รับ เป็นเหตุให้ชุมชน ในตำบลเม็งรายที่มีอาชีพการทำการเกษตรและปศุสัตว์ ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดเอกสารสิ ทธิ ที่จะนำมาแปลงเป็นทุนทรัพย์ในการขอรับสิทธิขั้นพื้นฐานอื่น ๆ ในการดำรงชีพ ด้วยเหตุดังกล่าว กลุ่มราษฎร ตำบลเม็งราย มีข้อเสนอ ต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมที่ดิน กรมป่ าไม้ สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๕ เชียงราย สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร นายอำเภอ พญาเม็งรายและผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อเข้าร่วมปรึกษาทางออกในการออกเอกสารสิทธทิ ี่ดนิ ในพื้นท่ีซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินเป็น น.ส. ๓ ก เนื่องจากประชาชนในตำบลเม็งรายไม่ต้องการ เอกสารประเภท คทช. เน่อื งจากริดรอนสทิ ธิในทอี่ ยอู่ าศัย และทีท่ ำกินทีม่ อี ยู่เดินและมีมานาน ประการ สำคัญท่ดี ินดงั กลา่ วสามารถออกเอกสารสิทธ์ นส. ๓ ได้ เน่ืองจากชาวบา้ นในพนื้ ทดี่ ังกลา่ ว ได้อพยพเข้า มาอาศยั ต้ังถิ่นฐานทำกนิ ก่อนมกี ารประกาศใช้พระราชบญั ญตั ิป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ และไม่ได้ รับความเป็นธรรมและเหลียวแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาเป็นเวลา ๖๕ ปี จึงขอความอนุเคราะห์ ต่อคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในการประสานงานเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหา ดังกล่าวใหก้ บั ประชาชนตอ่ ไป นายพยุง แก้วจำปา กำนันตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงรายแสดงความ คดิ เหน็ ดงั นี้ ๑. ปัญหาหมอกควันที่เกิดจากไฟป่า ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก แตก่ ลบั ไมม่ ีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดบทลงโทษผู้ที่กระทำความผดิ เก่ียวกบั การเผาป่า ซงึ่ ตามขอ้ เท็จจริง เคยจับกุมผู้กระทำความผิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ปรากฏว่า สามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้เพียงโทษปรับ โดยปรับไปเพียง ๓๐๐ บาท ซึ่งเป็นบทลงโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับทางหลวง จึงเสนอให้มีบทบัญญัติ ที่ควบคุมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ โดยมีการกำหนดบทลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ ยวกับ การเผาป่าไว้อย่างชัดเจนและมีการกำหนดโทษที่เหมาะสมกับสภาพความผิด ซึ่งจะทำให้การบังคับใช้ กฎหมายเปน็ ไปอย่างมีประสทิ ธิภาพ อันจะนำไปส่กู ารแก้ไขปัญหาหมอกควนั ไฟปา่ ได้ตอ่ ไป ๒. ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณเพือ่ นำมาใชใ้ นการดับไฟป่า ๓. ปัญหาการขาดแคลนนำ้ ในการอปุ โภคและบรโิ ภค นายมนตรี วลัยสุข ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๔ ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย แสดงความคดิ เห็นโดยนำเสนอปญั หาของประชาชนในพนื้ ที่ ดงั นี้
๙๑ ๑. ปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภค โดยในหมู่บ้านจะมีคลองชลประทาน แต่ ยังไม่มีน้ำใช้ อุปสรรคที่ไม่มีน้ำ เนื่องจากไม่มีฝายที่จะกั้นแม่น้ำอิง จึงเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนบั สนุนในการจดั ทำฝายก้นั แมน่ ำ้ อิง เพือ่ เปน็ การแกไ้ ขปญั หาการขาดแคลนน้ำในพ้นื ทต่ี อ่ ไป ๒. เสนอให้มีการขุดเจาะน้ำบาดาล เพื่อนำน้ำมาใช้ในการเกษตร โดยครอบคลุมพื้นที่ ๓๐ ไร่ ต่อน้ำบาดาล๑ บ่อ หรือ ๘๐ ไร่ ต่อน้ำบาดาล ๑ บ่อ โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมูบ่ ้าน ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าว ได้รับแจ้งจากพัฒนาการอำเภอว่าจะมีโครงการน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในระบบโซล่าเซลล์ จึงขอให้ มกี ารตดิ ตามการดำเนนิ โครงการเพือ่ ใหป้ ระชาชนในพน้ื ที่ได้มนี ้ำบาดาลเพอ่ื นำมาใช้ในการทำการเกษตร ตอ่ ไป ร้อยตำรวจเอก เฉลมิ พล ใจกลา้ ผู้อำนวยการโรงเรียนผสู้ งู อายุตำบลเมง็ ราย อำเภอพญาเม็ง ราย จังหวัดเชียงรายได้ยื่นหนังสือโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเม็งราย ลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๔ เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ผู้สูงอายุตำบล เม็งราย สรุปความได้ว่า โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย ดำเนินการจัดการเรียนรู้ ทักษะชีวิตทักษะอาชีพสำหรับผู้สูงอายุแต่ยังขาดงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ ใน เขตพื้นที่ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็ง โดยโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเม็งราย ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ชีพสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย ดงั กล่าวเรยี บรอ้ ยแล้ว จึงขอรบั การสนบั สนนุ งบประมาณในการดำเนนิ โครงการดังกลา่ ว นายอุดม จันทร์ต๊ะวงศ์ กำนันตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงรายยื่นหนังสือ ที่ทำการตำบลแม่เปา ที่พิเศษ/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ เรื่อง ขอประสานโครงการแก้ไข ปัญหาภัยแล้ง สรุปความได้ว่า ราษฎรตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย จำนวน ๑๙ หมูบ่ า้ น ไดร้ ับความเดอื ดรอ้ นจากการขาดแคลนน้ำในการอุปโภค บริโภค อนั เน่ืองมาจากปัญหาภัยแล้ง ในพื้นที่ เพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน จึงขอความอนุเคราะห์ในการประสาน โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เสนอโครงการจำนวน ๒๒ โครงการให้สำนักงาน ทรัพยากรน้ำแหง่ ชาติเป็นท่ีเรยี บรอ้ ยแล้ว จากนั้น นายสมเดช นิลพันธุ์สมาชิกวุฒิสภาได้กล่าวถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลน น้ำ โดยการจัดหาแหล่งกักเก็บน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำซึ่งผู้นำท้องถิ่นในแต่ ละพื้นที่ควรร่วมมือและปรึกษาหารือการเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน คือ การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรซ่งึ ผูป้ กครอง ควรอบรมสั่งสอนใหล้ กู หลานมีแรงบนั ดาลใจและดำเนนิ ชวี ิตตามหลกั ปรชั ญาดงั กล่าว พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ สมาชิกวุฒิสภาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการ จดั การปญั หาขยะ โดยเหน็ วา่ การจดั การปัญหาขยะควรดำเนินการโดยใชเ้ ตาเผาขยะทม่ี ีการควบคมุ เพ่ือไม่ให้ เกิดมลพิษ ซึ่งน่าจะดีกว่าการจัดการโดยวิธีฝังกลบที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนการแก้ไข ปัญหายุงชุกชุมสามารถดำเนินการได้ด้วยวิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง สำหรับปัญหาที่ดินทำกินจะ เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของประชากร เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการที่ดินทำกินจึงเพิ่มขึ้น
๙๒ ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นทป่ี า่ ซงึ่ เปน็ ตน้ กำเนิดของแหล่งนำ้ จึงก่อให้เกิดผลกระทบ กล่าวคือ ประชาชนมีความ ต้องการใช้น้ำเพื่ออุปโภค บริโภคหรือทำการเกษตรมากขึ้น แต่ในทางกลับกันพื้นที่ป่าไม้ซึ่งเป็นต้นกำเนิด ของแหล่งน้ำกลับมีน้อยลง ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำในแต่ละพื้นที่น้ัน พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการลุ่มน้ำประจำในแต่ละลุ่มน้ำ โดยมี ผวู้ ่าราชการจงั หวัดในเขตลุม่ น้ำน้นั เปน็ กรรมการโดยตำแหนง่ ภาพกิจกรรม
๙๓ จากนั้น ในเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการโครงการสมาชกิ วุฒสิ ภาพบประชาชน นำคณะสมาชกิ วุฒิสภา ล ง พื ้ นท่ี เ พื ่ อ ศ ึ ก ษาดู ง า นเกี ่ ยว กั บ การ ดำ เนิ นช ีว ิ ตตา มห ล ั ก ป รั ชญ า ขอ ง เศ ร ษฐกิ จ พอ เพียง ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านขนิษฐาตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย โดยมรี ายละเอยี ด ดงั น้ี นางขนิษฐา มะโนสมบัติหรือครูรุ่ง เจ้าของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านขนิษฐา กล่าวต้อนรับคณะสมาชิกวุฒิสภา พร้อมทั้งรายงานเกี่ยวกับความเป็นมาของศูนย์เรียนรู้ฯ โดยมี รายละเอียด สรุปไดด้ งั น้ี นางขนิษฐา มะโนสมบัติ หรือครูรุ่ง เป็นปราชญ์ชาวบ้าน เป็นลูกชาวนา ไม่ได้มีอาชีพครู หรอื อาจารย์แต่อย่างใด แตท่ ี่มาของการเรียกวา่ ครู เนอ่ื งจากเปน็ อาจารย์สอนพเิ ศษเก่ยี วกบั การทำบัญชี ครัวเรือน และเคยได้รับรางวัลครูบัญชีดีเด่นระดับประเทศจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ จึงเป็นที่มาของการเรียกว่าครู ในอดีตครูรุ่งเคยเป็นคนที่ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ ทำให้มี ฐานะยากจน โดยสามีไปทำงานที่ต่างประเทศ จึงต้องเลี้ยงดูบุตร ๓ คน เพียงลำพัง มีรายได้จากเงินที่ สามีส่งมาให้จากการทำงานที่ต่างประเทศ แต่กลบั ใช้จา่ ยเงินอย่างสรุ ุ่ยสรุ า่ ยและไม่มีการวางแผนการใช้ จา่ ยเงนิ แตอ่ ยา่ งใด ตอ่ มาได้ปว่ ยเป็นโรคซึมเศรา้ เนือ่ งจากเงนิ ที่สามีส่งมาใหไ้ ม่มกี ารเก็บออมไว้แต่อย่าง ใด เมื่อสามีกลับมาอยู่ที่บ้านหลังจากที่ไปทำงานที่ต่างประเทศเป็นระยะเวลา ๑๐ กว่าปี โดยหวังว่า ภรรยาจะมีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายในครอบครัว ปรากฏว่า ไม่มีเงินเหลือเก็บแต่อย่างใด จนเป็นที่มาของการ เป็นโรคซึมเศร้า แต่สิ่งที่ทำให้หายจากการเป็นโรคซึมเศร้าได้คือ การที่ครูรุ่งได้ศึกษาหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถ บพิตร จึงได้เริ่มทำการเกษตรตามศาสตร์พระราชา จนทำให้มีฐานะที่มั่นคงและนำไปสู่การเป็นศูนย์ เรยี นรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านขนษิ ฐาในปจั จุบัน จากนั้น นายสมเดช นิลพันธุ์ สมาชกิ วุฒิสภา เปน็ ตวั แทนสมาชกิ วุฒสิ ภา ในการกล่าวขอบคณุ นางขนิษฐา มะโนสมบัติ และได้กล่าวชื่นชมว่า ครูรุ่ง คือบุคคลที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนา และขบั เคลอื่ นชุมชนอยา่ งแทจ้ รงิ จากนั้น นางขนิษฐา มะโนสมบัตินำคณะสมาชิกวุฒิสภาเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บา้ นขนิษฐา
๙๔ ภาพกจิ กรรม
๙๕ วนั เสารท์ ่ี ๓ เมษายน ๒๕๖๔ วันเสาร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๔เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ นิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึก เชียงราย ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายคณะกรรมการอำนวยการโครงการ สมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน นำโดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนนำคณะสมาชิกวุฒิสภา ลงพื้นที่พบปะประชาชน โดยมรี ายละเอียดดงั นี้ นายสุทธิรัตน์ แสงเพ็ญจนั ทร์ ปลัดอำเภอแม่จัน กล่าวต้อนรับสมาชิกวุฒิสภา สรุปความได้วา่ ประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่จันมีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิง่ ที่คณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชิก วุฒิสภาพบประชาชน ได้กำหนดให้นิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึกเชียงรายเป็นสถานที่ในการ จัดโครงการฯ เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานของนิคมฯ และเพื่อรังฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ของทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก ทหารนอกประจำการ และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งนับเป็น โอกาสอันดีที่ประชาชนจะได้นำเสนอสภาพปัญหา ความต้องการ เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาได้รับทราบ ข้อมูลและนำไปใช้ประกอบการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่าง ยัง่ ยนื และสามารถยกระดบั การพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ของประชาชนในพน้ื ทีต่ ่อไป
๙๖ จากนั้น ว่าที่ร้อยตรีหญิง นพวรรณ สิงห์ทอง รองหัวหน้านิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึก เชียงราย ทำการแทนหัวหน้านิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึกเชียงรายกล่าวรายงานข้อมูลเกี่ยวกับ นิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึกเชียงราย โดยมีรายละเอียดสรุปได้ว่า นิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึก เชียงราย ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน ตำบลปงน้อยและตำบลหนองป่าก่อ อำเภอ ดอยหลวงจังหวัดเชยี งราย มเี นอ้ื ทีป่ ระมาณ ๑๒,๐๐๐ ไร่ ทีด่ นิ ดังกลา่ วได้รับจากคณะกรรมการจัดท่ีดิน แห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาจัดสรรให้แก่ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหาร นอกประจำการท่มี ฐี านะยากจน ไม่มีท่ีอยู่อาศัยเปน็ ของตนเอง ซึ่งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้นำ ที่ดินมาจัดสรร โดยบรรจุทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ เป็นสมาชิก นิคมฯ มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๒๔ ครอบครัว โดยได้รับการจัดสรรที่ดินประมาณ ๑๐ – ๒๕ ไร่ ต่อราย และได้มีการจัดให้มีสาธารณูปโภคให้แก่ผู้อยู่อาศัย เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา สระกักเก็บน้ำ เพื่อทำการเกษตร เป็นต้น สำหรับพื้นที่อีกส่วนหนึ่งได้มอบให้แก่ส่วนราชการ เช่น โรงเรียน สถานี อนามัย วัด เป็นต้น โดยองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้มีการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ด้านเกษตรกรรมให้แก่สมาชิกนคิ มฯ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้สามารถเลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้ ขอขอบคุณสมาชิกวุฒิสภาที่ได้ลงพื้นที่มาเยี่ยมเยียน พบปะ และใหก้ ำลงั ใจแกส่ มาชกิ นิคมฯ และประชาชนในพน้ื ที่ในคร้ังนี้ ต่อจากนั้น นางเสาวคนธ์ จันทรผ์ ่องศรี กรรมการในคณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชกิ วุฒิสภาพบประชาชน ได้ทำหน้าที่พิธีกรในการแนะนำสมาชิกวุฒิสภา และกรรมการในคณะกรรมการ อำนวยการโครงการสมาชกิ วุฒสิ ภาพบประชาชน รวมทัง้ นำเสนอเกยี่ วกบั บทบาท หน้าที่และอำนาจของ วฒุ สิ ภา ลำดับต่อมา พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ได้กล่าวเปิดกิจกรรม และกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงพื้นที่ กล่าวคือรัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาไม่ได้มีพื้นที่รับผิดชอบ เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยสมาชิกวุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจตามที่กำหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้แก่ การพิจารณาและการกลั่นกรองกฎหมาย การประเมิน ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย การลงพื้นที่พบปะประชาชนจะทำให้ทราบข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบ การดำเนินงานตามหน้าท่ีและอำนาจ หน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การควบคุมการบริหารราชการ แผ่นดิน เมื่อลงพื้นที่และรับฟังข้อมูลหรือสภาพปัญหาต่าง ๆ จากประชาชน อาจนำข้อมลู ดังกล่าวไปใช้ ในการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่และอำนาจโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ภารกิจที่สำคัญ อีกประการหนึ่งของวุฒิสภาชุดแรก ซึ่งกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ คอื การตดิ ตาม เสนอแนะและเร่งรัดการปฏริ ปู ประเทศ จงึ เปน็ เหตุผลที่จำเป็นต้อง มีการลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน ดังเช่นที่ได้มีการลงพื้นท่ี นิคมเกษตรกรรมทหารผา่ นศกึ เชียงรายในคร้ังนี้
๙๗ อย่างไรก็ตามสมาชิกวุฒิสภาไม่มีหน้าทีแ่ ละอำนาจโดยตรงในการบริหารราชการแผ่นดนิ ดังนั้น การดำเนินการเกี่ยวกับสภาพปัญหาความเดือดร้อน หรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ ของประชาชน ตามกลไก ของวุฒิสภา เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน จึงทำได้โดยการส่งเรื่อง ไปยงั คณะกรรมาธกิ ารสามญั ประจำวุฒสิ ภาท่เี ก่ียวข้องเพอ่ื พิจารณาศึกษาเร่อื งดงั กล่าวหรือสง่ เรอ่ื งไปยงั รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวขอ้ งโดยตรงเพื่อดำเนินการตามหน้าทีแ่ ละอำนาจซึ่งจะทำให้ปัญหา ความเดอื ดร้อนของประชาชนในพ้นื ทไี่ ด้รบั การแกไ้ ขตอ่ ไป จากนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ รวมท้ัง นำเสนอประเด็นสภาพปัญหาต่าง ๆ ในพน้ื ที่ โดยมีรายละเอยี ด สรปุ ไดด้ งั นี้ อาสาสมัครทหารพราน ชูชาติ ญาติธรรม อาศัยอยู่หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองป่าก่อ อำเภอดอย หลวงจังหวัดเชียงราย แสดงความคิดเห็นโดยนำเสนอปัญหาเกี่ยวกับการได้รับความเดือดร้อนของ ประชาชนในพื้นที่ จากการไม่มีน้ำใช้ในการอุปโภคและบริโภค จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความ ช่วยเหลอื ประชาชนในเรือ่ งดงั กล่าว จ่าสิบตำรวจประสิทธิ ไชยอินถาแสดงความคิดเห็นโดยเสนอให้มีการก่อสร้างสะพาน ข้ามแม่น้ำกกบริเวณพื้นที่บ้านผาเรือ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จั งหวัดเชียงราย เชื่อมไปยังบ้านวังเขียว หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองป่าก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย เพื่อให้มีสะพาน ใชส้ ำหรบั ขนส่งพชื ผลทางการเกษตรเพื่อนำออกไปจำหนา่ ยสทู่ อ้ งตลาด ผู้ใหญ่บ้านผาเรือ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่ดินทำกิน กล่าวคือ ประชาชนในพื้นที่ซึ่งได้มีการร่วมพัฒนาที่ดินร่วมกับ นิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึกเชียงราย มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งนิคมฯ โดยเป็นราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ดั้งเดิม แต่ปัจจุบันที่ดินยังไม่มีเอกสารสิทธิแต่อย่างใด จึงขอให้สมาชิกวุฒิสภาประสานหน่วงงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแกไ้ ขปัญหาดงั กลา่ ว นางชูศรี ทิพพา อาศัยอยู่หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองป่าก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย แสดงความคดิ เหน็ โดยนำเสนอปญั หาความเดอื ดรอ้ นของประชาชนในพนื้ ทจี่ ากการขาดแคลนนำ้ สำหรบั ใชเ้ พ่อื การอปุ โภคและบริโภค นายเรือน บันดิ อดีตกำนันตำบลปงน้อย อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๒๘๘ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จงั หวดั เชียงราย แสดงความคิดเหน็ โดยนำเสนอประเด็นปัญหา ดังน้ี ๑. ปัญหาประชาชนในพ้ืนที่ไม่มีเอกสารสทิ ธิในที่ดินทั้งที่ได้มีการครอบครองและร่วมพัฒนาพน้ื ที่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ แต่ทหารผ่านศึกกลับได้รับเอกสารสิทธินี่ดินครบทุกครัวเรือน ดังนั้น เพื่อให้ เกิดความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกัน จึงเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ประชาชน ในพ้นื ท่ีได้รบั เอกสารสทิ ธิในทดี่ นิ ตามสิทธิที่พึงจะไดร้ ับเชน่ เดียวกบั ทหารผา่ นศึก ๒. การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของประชาชนในพื้นที่ เสนอให้มีการขุดเจาะน้ำบาดาล เพ่ือให้มนี ้ำใช้สำหรบั ทำการเกษตร รวมทัง้ การสร้างฝายชะลอน้ำในแม่นำ้ กก
๙๘ นายสมชัย โพธิ์ลังกา อาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ ๗๓ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จงั หวดั เชยี งรายแสดงความคดิ เหน็ เกย่ี วกบั การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนำ้ โดยเสนอให้มีการสร้างฝาย ชะลอน้ำในแมน่ ำ้ รัว ว่าที่ร้อยตรีหญิง นพวรรณ สิงห์ทอง รองหัวหน้านิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึกเชียงราย ทำการแทนหัวหน้านิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึกเชียงราย ยื่นหนังสือนิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึก เชียงราย ที่ กห ๕๑๑๐.๓.๓/๑๐๘ ลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๔ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ช่วยผลักดัน โครงการ (การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำกก) สรุปความได้ว่า นิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึกเชียงราย ขอความอนุเคราะห์ให้คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในการผลักดันโครงการ ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำกกบริเวณพื้นที่บ้านผาเรือ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เชื่อมไปยังบ้านวังเขียว หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองป่าก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย และการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำที่จะนำมาใช้สำหรับอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และตำบลหนองปาก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัด เชียงราย พลทหารสมชาติ คำดี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๔๗ หมู่ที่ ๑๑ บ้านผาเรือ ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวดั เชยี งราย ไดแ้ สดงความคดิ เห็นโดยนำเสนอปัญหา ดงั นี้ ๑. ปัญหาการไม่ได้รับการแต่งตั้งยศกรณีพิการจากปฏิบัติหน้าที่ กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ พลทหารสมชาติ คำดี เป็นทหารเกณฑ์ สังกัด ร.๔ พัน ๒ ค่ายจิรประวัติ จังหวัดนครสวรรค์ ปลดประจำการเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ต่อมาเม่ือปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้สมัครเปน็ ทหารพราน (ลูกจ้างช่วั คราว) ค่ายปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๗ – ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้ร่วมรบ ที่สมรภูมิช่องบกจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับบาดเจ็บจนขาขาดในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยพลทหาร สมชาติ คำดี ให้ข้อมูลว่า หากตนเป็นทหารเกณฑ์แล้วเข้าร่วมรบและขาขาด จะได้รับยศชั้นร้อยตรี (ในช่วงที่เป็นทหารเกณฑ์ได้ชั้น ๔) แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในขณะที่ตนร่วมรบและบาดเจ็บขาขาดใน ขณะที่เป็นทหารพราน ตนกลับไม่ได้รบั การแต่งตั้งยศแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันทหารคนอื่น ๆ ท่ีร่วม รบกบั ตนกลบั ได้รับการแตง่ ตงั้ ให้มยี ศสิบโท สิบเอก หรือจา่ โดยเรอื่ งดังกลา่ วสมาคมทหารผา่ นศึกพิการ แห่งประเทศไทยไม่ได้ดำเนินการเพื่อให้ตนได้รับยศและเงินตกเบิกตามที่สมควรจะได้รับ จึงขอความ เป็นธรรม เพื่อให้คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนประสานไปยัง หน่วยงานท่ี เก่ยี วขอ้ งเพอ่ื ดำเนนิ การเกย่ี วกบั เรอื่ งดงั กล่าวให้พลทหารสมชาติ คำดี ต่อไป ๒. ปัญหาการได้รับเงินจากโครงการ “ม. ๓๓ เรารักกนั ” ไม่ครบถ้วน กลา่ วคือ พลทหารสมชาติ คำดี เปน็ พนกั งานโครงการพิเศษของเซเวน่ – อีเลฟเว่น บรษิ ทั ซพี ี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยไดร้ ับสทิ ธิ ตามโครงการ “ม. ๓๓ เรารักกัน” ซึ่งตนจะต้องได้รับเงินจำนวน ๔,๐๐๐ บาท แต่ในปัจจุบัน (วันเสาร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๔) ได้รับเงินเพียง ๒,๐๐๐ บาท จึงมีความประสงค์ที่จะให้หน่วยงาน ทเ่ี กี่ยวข้องชว่ ยประสานงานให้ได้รับเงินครบถ้วนตามสิทธทิ ี่ควรจะได้รับต่อไป
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103