Psจyิ ตchวิ ทoยloา gy
จบแล้วทำอะไรได้บ้าง ? จิตวิทยา คือ ? เรียนที่ไหน ? จิตวิทยากับจิตแพทย์ ต้องเรียนสายไหน ? ต่างกันอย่างไร? Psจyิ ตchวิ ทoยloา gy
จิตวิทยา
จิตวิทยาคืออะไร ? จิตวิทยา หรือ Psychology มีรากศัพท์มาจากคำว่า Psyche (จิตใจ) + logos (วิชา) ดังนั้นจิตวิทยาจึงเป็นการศึกษา เกี่ยวกับจิตใจ(กระบวนการของจิต) กระบวนความคิด และพฤติกรรม ของมนุษย์ ด้วยกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์
การศึกษาจิตวิทยาเปรียบเสมือนการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ จึงสามารถนำความรู้ ประยุกต์กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ เช่น กิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว ระบบการศึกษา การจ้างงาน เป็นต้น รวมไปถึงการช่วย รักษาและปรึกษาปั ญหาสุขภาพจิตได้อีกด้วย จิตวิทยา คือศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาพฤติกรรม การกระทำ หรือกระบวนการทางจิตใจ นักจิตวิทยา อธิบายว่า พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง การกระทำ ส่วนคำว่า กระบวนการทางจิต หมายถึง ทั้งพฤติกรรมภายนอก พฤติกรรมภายใน โดยที่บุคคลอาจจะไม่รู้ตัว และหมายถึงการทำงานของจิตใจของมนุษย์ เช่น การคิด จินตนาการ การฝัน เป็นต้น
ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม หรือกิริยาอาการ ของมนุษย์รวมถึงความพยายามที่จะศึกษาว่ามี อะไรบ้างหรือตัว แปรใดบ้าง ในสถานการณ์ใด ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะทำให้สามารถคาดคะเน หรือพยากรณ์ได้โดยใช้แนวทางหรือวิธีการทาง วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์
จิตวิทยา คือศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูล ความรู้มาเสนอ เพื่อควบคุมและอธิบายการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ จิตวิทยามุ่ง ศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของ ร่างกายกับจิตใจ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็น ระเบียบแบบแผนซึ่งครอบคลุมถึงอารมณ์ การ นึกคิด รับรู้พฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้
จิตวิทยามีสาขา อะไรบ้าง? มาดูกัน !!!
1. จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์เบื้องต้น ทฤษฎีพื้นฐานทางจิตวิทยาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นหลักการทั่วไป ทางจิตวิทยา 2. จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) นำกฎเกณฑ์และทฤษฎีมาประยุกต์ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการเรียนการสอนและวิธีการส่งเสริมประสิทธิภาพของ การเรียนรู้โดยนำหลักทางจิตวิทยาเข้ามาประยุกต์ใช้ ทั้งในการสำรวจปัญหาด้านการศึกษา ตลอดจนสร้างหลัก การทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการศึกษา 3. จิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) เป็นการศึกษาโดยการนำหลักจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคหาสาเหตุของความผิดปกติและรักษา ปัญหาทางจิต โดยจะพยายามค้นหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมหรือความผิดปกติทางจิตว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และเพื่อหาทางบำบัดรักษา หาวิธีป้องกัน แก้ไขให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
4. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์หลักทางจิตวิทยากับการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการอยู่ร่วมกัน ของบุคลากรทุกระดับในสถานที่ทำงาน โดยนำความรู้ทางจิตวิทยามาใช้ในการดำเนินการคัดเลือกบุคคล พัฒนา การบริหาร วิจัยตลาด คัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ฯลฯ เพราะสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจหรือบริษัทคือ ทรัพยากร มนุษย์ เป็นการศึกษาเพื่อค้นหากระบวนการและวิธีการที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน 5. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายอย่างเป็นลำดับขั้น โดยเน้นทำความเข้าใจการพัฒนาการ ด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลในแต่ละช่วงวัยให้เป็นไป ตามพัฒนาการและเพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป ซึ่งมักจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเด็กและวัยรุ่น สาขา นี้สามารถศึกษาต่อเฉพาะช่วงวัยได้อีก เช่น จิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่น เป็นต้น
6. จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ โดยเน้นศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของ บุคคลในสังคม เช่น การรับรู้ การตอบสนองระหว่างบุคคล สำรวจมติมหาชน การเกิดและการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติ ตลอดจนค่านิยมของแต่ละเชื้อชาติและวัฒนธรรมเพื่อสรุปเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีสำหรับอธิบาย พฤติกรรมของมนุษย์ในแต่ละสังคม อิทธิพลของบุคคลที่มีต่อผู้อื่น ฯลฯ เพื่อทำความเข้าใจอิทธิพลของสภาพ แวดล้อมต่างที่มีผลต่อพฤติกรรม 7. จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์โดยเน้นใช้วิธีการทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือกระบวนการทดลอง และนำผลที่ได้จากการทดลองไปสร้างเป็นทฤษฎีและกฏเกณฑ์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษา และเป็นการ ทำความเข้าใจถึงสาเหตุและผลของพฤติกรรมมากขึ้น เช่น การทดลองเกี่ยวกับการเรียนรู้ การคล้อยตาม การอบรมเลี้ยงดู เป็นต้น
8. จิตวิทยาชุมชน เดิมสาขาจิตวิทยาชุมชนนั้นอยู่รวมกับสาขาจิตวิทยาคลินิก แต่แยกสาขาออกมาเพื่อเป็นศึกษาในแง่ของการ ป้องกันอย่างละเอียดมากขึ้น สาขานี้เปรียบเสมือนจุดกึ่งกลางระหว่างจิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาอุตสาหกรรมและ จิตวิทยาสังคม โดยการทำงานส่วนใหญ่ของสาขานี้คือการฝึกอบรม 9. จิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาซึ่ งเป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้ที่มีปั ญหาได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับปั ญหา ของตนได้อย่างลึกซึ้งและมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยนักจิตวิทยาการปรึกษาจะทำ หน้าที่เป็นผู้เอื้อให้ผู้มีปัญหาได้เข้าใจปัญหาของตนอย่างชัดเจน ซึ่งนักจิตวิทยาการปรึกษาจะไม่เข้าไปบงการ แนะนำหรือแทรกแซงผู้รับคำปรึกษา เพียงแต่จะช่วยให้บุคคลที่กำลังประสบปัญหาได้เข้าใจและเห็นแนวทาง ในการแก้ปั ญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
10.จิตวิทยาการแนะแนว คล้ายกับสาขาจิตวิทยาการปรึกษา แต่จะศึกษาเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาเชิงแนะแนวการศึกษา เช่น การ แนะแนวเพื่อพัฒนานักเรียน การความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาได้ อย่างเหมาะสม วิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในงานแนะแนว เป็นต้น โดยส่วนใหญ่สาขานี้จะซ่อนอยู่ในคณะ ศึกษาศาตร์เพราะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครูหรืออาจารย์
จิตวิทยา เรียนที่ไหนได้บ้าง
คณะจิตวิทยา สาขาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาจิตวิทยาคลีนิค/สาขาจิตวิทยาการการปรึกษา/สาขาจิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ สาขาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาจิตวิทยาคลินิก/สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ/สาขาจิตวิทยา ชุมชน/สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต สาขาจิตวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สาขาจิตวิทยาคลินิก/สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาวิชาจิตวิทยา วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษา/วิชาเอกจิตวิทยา คลินิกและชุมชน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิชาจิตวิทยา วิชาเอกจิตวิทยาพัฒนาการ/วิชาเอกจิต วิทยาการให้การปรึกษาและแนะแนว/วิชาเอกจิตวิทยาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว คณะศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สาขาวิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
จบแล้วทำอะไรได้บ้าง
นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาในโรงเรียน นักจิตวิทยาบำบัด / นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม นักจิตวิทยาการปรึกษา นักวิชาการพัฒนาชุมชน นักกระตุ้นพัฒนาการ นักจิตวิทยาตามโรงพยาบาลต่างๆ นักจิตวิทยาเด็ก ผู้ช่วยแพทย์ในการตรวจสอบอาการทางจิต
เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ครูแนะแนว นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HR) นักการตลาด เจ้าหน้าที่แผนกสรรหาและฝึกอบรม นักประชาสัมพันธ์ นักจิตวิทยาการบิน นักสื่อสารมวลชน นักศิลปะบำบัด นักสังคมสงเคราะห์
ตัวอย่าง ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาสาขาจิตวิทยาคลินิก (Clinical psychology) และมีใบประกอบโรคศิลปะสาขา นักจิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาคลินิกส่วนใหญ่ปฏิบัติงานด้าน สุขภาพจิตและจิตเวชในหน่วยงานทางการแพทย์และสถาน พยาบาลต่าง ๆ นักจิตวิทยาคลินิกเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ให้ การรักษาทางการแพทย์ เช่น งานจิตเวชศาสตร์(Psychiatry) งานระบบประสาทและสมอง(Neuroscience) งานเวชกรรมป้องกัน งานเวชศาสตร์ฟื้ นฟู งานยาเสพติด จิตเวชเด็กและวัยรุ่น งานเวชศาสตร์ครอบครัว งานนิติจิตเวช เป็นต้น
นักจิตวิทยาคลินิก เน้นไปที่การดูแล บำบัดคนไข้ที่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีความเจ็บป่วยที่ทำให้เกิดความว้าเหว่ และต้องการถูกเติมเต็ม ทำหน้าที่ตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม อาจเป็นผู้ป่วย จิตเวชหรือบุคคลทั่วไปก็ได้ รวมถึงการทำแบบประเมินทางจิตวิทยา มีเกณฑ์ที่ชัดเจน ซึ่งนักจิตวิทยาคลินิกจะ ทำงานร่วมกับจิตแพทย์ตามโรงพยาบาลหรือหน่วยงานทางการแพทย์ต่าง ๆ หากต้องการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาต (License) เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก บัณฑิต จะต้องเข้าอบรมหลักสูตร “การฝึกปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิก” และฝึกงานในสถานพยาบาลที่ได้รับ การรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ความสามารถที่ จำเป็นต่อวิชาชีพ
วัตถุประสงค์ของนักจิตวิทยาคลินิกคือการ ทำความเข้าใจการรักษาและ ป้องกัน ปัญหาทางจิตวิทยาและความผิดปกติผ่านการประเมินการวินิจฉัย การแทรกแซงและการวิจัย วัตถุประสงค์หลักคือการแสวงหาการดูแลและ ปรับปรุงสุขภาพ ในทุกระดับจากมุมมองทางชีวจิตสังคมของผู้คน ทั้งหมดนี้ ทำผ่านการประยุกต์ใช้ความรู้ทักษะเทคนิคและเครื่องมือทางจิตวิทยา จิตวิทยาคลินิกสามารถใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามพื้นที่หลัก ยังคงเป็นศูนย์คลินิกบริการสุขภาพจิตและโรงพยาบาลทั่วไป นอกจากนี้ จิตวิทยาคลินิกเป็นวิชาชีพที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องขยายหน้าที่และสาขาการ ทำงาน
นักจิตวิทยาคลินิก ประเมินผู้ป่ วยที่มีปั ญหาหรือความผิดปกติทางด้านจิตใจ ทั้งการใช้แบบประเมิน การพูดคุย หรือการสังเกต ในแต่ละวันทำอะไร? 1. วางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์ ในการให้การบำบัดรักษาผ่านการพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้ป่วย ต้องเผชิญ 2. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและคนปกติที่เผชิญความเจ็บป่วยในจิตใจ 3. ใช้กระบวนการบำบัดรักษา เช่น จิตบำบัด การปรับพฤติกรรม และละครบำบัด เป็นต้น 4. หาแนวทางการบำบัดรักษาร่วมกับผู้ป่วย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติที่สุด 5. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจิต เช่น งานจิตเวชชุมชน การดูแลผู้ที่มีปัญหายาเสพติด หรือผู้ต้องขัง
ต้องใช้ทักษะและความรู้อะไรบ้าง? ทักษะ • การพูด การพูดคุยกับผู้อื่นเพื่อสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ • การอ่านจับใจความ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับใจความสำคัญของประโยค และย่อหน้าในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน • การฟังอย่างลึกซึ้ง • การเรียนรู้เชิงประยุกต์ การใส่ใจกับสิ่งที่ผู้อื่นกำลังพูดอย่างเต็มที่ จับประเด็นสำคัญ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อมาใช้ในการ สอบถามในเวลาที่เหมาะสม และไม่ขัดจังหวะในการพูด ตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต • การเขียน • การบริการ การเขียนประเด็นสำคัญผ่านการเลือกใช้คำ ระดับภาษา การมีความกระตือรือร้น ใส่ใจ เพื่อหาหนทาง และวิธีการเล่าเรื่องให้เข้ากับผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเหลือผู้รับบริการให้พึงพอใจ
ความรู้ • จิตวิทยา • การศึกษา และการฝึกอบรม ความรู้เกี่ยวกับการแสดงออกของมนุษย์ และความแตก ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบหลักสูตรการอบรม ต่างของบุคคล (เช่น บุคลิกภาพ การเรียนรู้ แรงจูงใจ) วิธีการสอนแบบรายบุคคลหรือกลุ่ม และการวัด ประเมินผลจากการสอน • การบริการลูกค้า ความรู้เกี่ยวกับการประเมินปั ญหาและความต้องการของ • การบริหารบุคคล ลูกค้า การบริการ การประเมินความพึงพอใจ และการ ความรู้เกี่ยวกับการสรรหาคัดเลือก และฝึกอบรม ปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า บุคลากร การบริหารค่าตอบแทน สวัสดิการต่าง ๆ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากร • ภาษาไทย ความรู้เกี่ยวกับหลักภาษาไทย รวมถึงความหมาย การ • สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา สะกดคำ หลักเกณฑ์การเขียน และไวยากรณ์ของภาษา ความรู้เกี่ยวกับการทำความเข้าใจพฤติกรรมกลุ่ม พลวัต (การเปลี่ยนแปลง) แนวโน้มอิทธิพลของสังคม และประวัติความเป็นมา
จิตวิทยาคลินิก: ตัวอย่างด้านการรักษา ความผิดปกติหรือปั ญหาในวัยเด็ก การกินผิดปกติ ความผิดปกติหรือปั ญหาในวัยรุ่น ความผิดปกติของการปรับตัว ความผิดปกติของอารมณ์หรือปั ญหา ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางการแพทย์ ความผิดปกติของความวิตกกังวลหรืออาการ ความผิดปกติทางเพศหรือปั ญหา บุคลิกภาพผิดปกติ ความผิดปกติทางปั ญญา ความผิดปกติของการนอนหลับ ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติด
จิตวิทยากับจิตแพทย์ ต่างกันอย่างไร
การศึกษาและ ความเชี่ยวชาญ จิตแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางแขนงหนึ่ง เส้นทางการเป็นจิตแพทย์จึงต้องเริ่มจากการเรียนแพทย์ทั่วไปในคณะ แพทยศาสตร์ 6 ปี และต่อแพทย์เฉพาะทางในภาควิชาจิตเวชศาสตร์อีก 3 ปี มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรค ทางจิต รวมถึงความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรม โดยในการวินิจฉัยและรักษาโรคทางจิตจะพิจารณาความ ผิดปกติจากปัจจัยทางด้านประสาทและสมอง พันธุกรรม รวมถึงโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย และต้องได้รับการรับรองให้ สามารถรักษาความผิดปกติทางจิตด้วย นักจิตวิทยา ไม่ใช่แพทย์ แต่จบจากคณะต่าง ๆ เช่น จิตวิทยา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ในหลักสูตรสาขา จิตวิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ กระบวนความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ในปัจจัยแวดล้อมทาง สังคมต่าง ๆ บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ จะสอนให้รู้จักสังเกตพฤติกรรมรวมไปถึงความคิด และจิตใจของมนุษย์ ซึ่งมีหลากหลายสาขา ใช้เวลาเรียน 4 ปีในระดับปริญญาตรี และหากต้องการเป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่ปฏิบัติงาน ด้านสุขภาพจิตและจิตเวชจะต้องต่อหลักสูตรอบรม 6 เดือนเพื่อสอบใบประกอบโรคศิลป์สาขาจิตวิทยาคลินิก
วิธีการรักษา จิตแพทย์ สามารถตรวจวินิจฉัยโรคทางจิตต่าง ๆ และให้การรักษาที่ครอบคลุม โดยจะเน้นรักษาด้วยยาและ การทำจิตบำบัด ซึ่งบางครั้งในส่วนของการทำจิตบำบัดจะส่งต่อไปให้นักจิตวิทยาเป็นผู้ดูแล นอกจากนี้จิตแพทย์ ยังอาจใช้การรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า รวมทั้งมีหน้าที่ในการตรวจสุขภาพกายและ ประเมินประสิทธิภาพของยาที่ผู้ป่วยใช้ นักจิตวิทยา ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ แต่สามารถใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อประกอบการวางแผนการ บำบัดทางจิต การรักษาของนักจิตวิทยาจะเน้นวิธีการบำบัดทางจิต ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมโดยการ พูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นหลัก เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและร่วมหาแนวทางการแก้ไข รวมถึงให้คำแนะนำในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือความคิดเพื่อฟื้ นฟูสุขภาพจิต ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือคาดว่าการใช้ยาอาจ ช่วยได้ นักจิตวิทยาจะส่งต่อผู้ป่วยไปยังจิตแพทย์ พร้อมผลการประเมินสภาพจิตเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการ วินิจฉัยเพิ่มเติม
โรคที่ให้การรักษา จิตแพทย์ จะเน้นรักษาโรคที่ต้องใช้หลายวิธีรักษาร่วมกัน ทั้งการใช้ยา การบำบัดทางจิต และการใช้จิตสังคม บำบัด โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้ป่วยอย่างครอบคลุม ผู้ป่วยที่มีโรคที่ค่อน ข้างซับซ้อน เช่น โรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวลชนิดรุนแรง โรคไบโพลาร์ โรคจิตเภท ภาวะออทิสติก มักต้องได้รับ การรักษาจากจิตแพทย์ รวมไปถึงกรณีที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองและคนรอบข้าง นักจิตวิทยา มักดูแลปัญหาทางสภาวะจิตใจที่สามารถรักษาได้ด้วยการทำจิตบำบัด ปัญหาทั่วไปที่หลายคนพบเจอ ในชีวิตประจำวัน แต่ไม่สามารถหาทางออกด้วยตัวเอง หรือไม่รู้จะไปปรึกษาใคร ล้วนแล้วแต่ปรึกษานักจิตวิทยา ได้ เช่น ความเครียดจากการเรียนและการทำงาน ภาวะหมดไฟ ในการทำงาน (Burnout) ความวิตกกังวลต่อ เรื่องต่างๆ ที่รู้สึกว่ามีมากเกินไป และปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทั้งครอบครัว เพื่อน หรือคนในที่ ทำงาน รวมไปถึงภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลที่ยังไม่รุนแรง ปัญหาอื่น ๆ ในด้านพฤติกรรม การเรียนรู้ และการ ปรับตัวเข้ากับสังคม
ทางเลือกในการรักษา จิตแพทย์ : หากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลรับรู้ได้ถึงความรุนแรงของอาการที่จะพาไปถึงความต้องการใช้สารเสพติด หรือ การทำร้ายตัวเองและผู้อื่น ควรเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์โดยตรง เพื่อรักษาอาการโดยใช้สารเคมีมาระงับ และหลังจากนั้นอาจได้รับการบำบัดกับนักจิตวิทยา นักจิตวิทยา : หากผู้ป่วยมีความรู้สึกกังวล คิดมากกว่าปกติ ทำให้ส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันแต่ยังไม่รุนแรง นัก การใช้วิธีการบำบัดกับนักจิตวิทยาจะตอบโจทย์ที่สุด แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาจากจิตแพทย์
เริ่มต้นพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาอย่างไรดี? เบื้องต้นแนะนำให้โทรสอบถามสถานพยาบาลและอาจอธิบายสาเหตุที่อยากขอคำปรึกษาเพื่อรับคำ แนะนำเพิ่มเติมว่าควรพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ในการพบกันครั้งแรก จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะพูดคุยถึงสาเหตุที่คุณคิดว่าตนเองต้องการรับการ บำบัด และสอบถามว่ามีอาการอย่างไร รู้สึกอย่างไร เป็นมานานแค่ไหน หลังจากนั้นจะเริ่มพูดคุยในเรื่อง ต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจผู้ป่วยให้มากขึ้น และอาจมีการทำแบบประเมินสุขภาพจิตร่วมด้วย เมื่อรู้จักกัน มากขึ้นแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นการวางแผนการรักษาและเปิดโอกาสให้ถามคำถามที่คุณยังสงสัยหรือข้องใจ เกี่ยวกับการรักษา อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะคุ้นเคยกับการบำบัดจิตกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา หากผ่านไป 2-3 สัปดาห์แล้วยังรู้สึกว่าการรักษาไม่ได้ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น ควรบอกให้ผู้ที่ให้การรักษาทราบเพื่อปรับวิธี การบำบัดให้เหมาะกับตัวเอง ซึ่งจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการรักษา ไม่ควรฝืนทำต่อไปโดยที่รู้สึกไม่ใช่ เพราะนั่นเท่ากับผิดวัตถุประสงค์การรักษาของจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ที่ต้องการช่วยฟื้ นฟูสุขภาพจิต ของผู้ป่วยและส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดี
ต้องจบสายอะไร ถึงจะเรียนได้ คำถามนี้เป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัยกันเยอะมากเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ จริง ๆ แล้ว คณะจิตวิทยา หรือสาขาจิตวิทยานั้นไม่ว่าจะจบจากสายไหนมาก็สามารถเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละ มหาวิทยาลัย บางมหาวิทยาลัยรับเฉพาะเด็กสายวิทย์-คณิต บางมหาวิทยาลัยรับทุกสายไม่ว่าจะจบสายไหนมาก็ สามารถเรียนได้ หากสนใจมหาวิทยาลัยไหนก็สามารถที่จะเข้าไปดูกำหนดเกณฑ์การรับของมหาวิทยาลัยนั้นได้เลย
อ้างอิง https://www.powerpointhub.com/freetemplate/ www.PowerPointHub.com www.iSlidesHub.com https://www.sanook.com/campus/1403611/ https://www.admissionpremium.com/content/5805 https://campus.campus-star.com/variety/70291.html https://www.admissionpremium.com/content/5781 https://sites.google.com/site/sportpsychology2539/citwithya-khux-xari https://nayollada.wordpress.com/about/
อ้างอิง https://www.krumaiiam.com/?p=444 https://campus.campus-star.com/education/137685.html https://tcaster.net/2020/05/psychologyvspsychiatrist-tcaster/ https://www.admissionpremium.com/content/1426 https://blog.ooca.co/2020/07/ https://th.laroutedesenergies.com/1036-what-is-clinical-psychology- definition-history-objective-and-examples https://campus.campus-star.com/jobs/87967.html https://primocare.com/
THANK YOU
Search
Read the Text Version
- 1 - 36
Pages: