Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เทคโนโลยี องค์ความรู้ ผลงานวิจัย ม.พะเยา

เทคโนโลยี องค์ความรู้ ผลงานวิจัย ม.พะเยา

Published by pitakpong_joe, 2022-04-27 10:57:11

Description: เทคโนโลยี องค์ความรู้ ผลงานวิจัย ม.พะเยา

Search

Read the Text Version

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรตำรับผลิตภัณฑ์เอสเซนส์ที่มีส่วนผสมสารสกัดจากหัวไชเท้า คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 300 2075 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์มธุกร สายนาคำ คณะเภสัชศาสตร์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมซึ่งนำไปสู่การเกิดมลภาวะทางอากาศที่ประกอบ ไปด้วยฝุ่นละออง ควัน ดำ ควันขาว ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาทางผิวหนัง เช่น ผิวแพ้ง่าย ผิวแพ้ง่ายมักส่งผลเสียต่อผิวทำให้เกิดอาการผิวแดง ผิวระคายเคืองและผิวแห้งคัน การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนประกอบจากธรรมชาติซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ผลิตภัณฑ์เอสเซนส์สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายใน ท้องตลาดส่วนมากจะเน้นให้ความชุ่มชื้น และเพิ่มความกระจ่างใสให้กับผิว สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี สูตรตำรับผลิตภัณฑ์เอสเซนส์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากหัวไชเท้าสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย เป็นการนําสารสกัดจากหัวไช เท้ามาใส่ในผลิตภัณฑ์เอสเซนส์โดยมีส่วนประกอบที่มีความอ่อนโยน ให้ความชุ่มชื้น ช่วยลดอาการแห้งของผิว ช่วยปลอบประ โลมผิวทําให้ไม่รู้สึกระคายเคืองต่อผิว ต้านอนุมูลอิสระ ซ่อมแซมผิว ชะลอความเสียหายจากอนุมูลอิสระที่เข้าไปทําลายผิว และ ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจาก ธรรมชาติที่มีความปลอดภัยและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรตำรับแชมพูที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากแคร์รอต คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 300 2076 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์มธุกร สายนาคำ คณะเภสัชศาสตร์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมซึ่งนำไปสู่การเกิดมลภาวะทางอากาศที่ประกอบไปด้วยฝุ่นละออง ควันดำ ควันขาว ซึ่งนำไปสู่สาเหตุการเกิดปัญหาทางผิวหนัง เช่น ผิวแพ้ง่ายและนอกจากนี้ยังมีการระบาดของโรคโควิด-19 จึงทำให้ ผู้คนหันมาสนใจผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายมากขึ้น เช่น สบู่ แชมพู เจลล้างหน้า เจลล้างมือ เป็นต้น นอกจาก การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแล้วผู้บริโภคยังเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่มี ผิวแพ้ง่ายในท้องตลาดทั่วไปมีผลิตภัณฑ์แชมพูวางขายอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้หลังจาก ใช้งาน โดยอาจจะเกิดมาจากสารเคมี น้ำหอม หรือสารกันเสียจำพวกพาราเบนที่อยู่ในสูตรตำรับ ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงพัฒนา สูตรตำรับแชมพูที่มีส่วนประกอบอ่อนโยนเหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายและมีสารสกัดจากธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมภายในสูตร ตำรับเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภค สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี สูตรตำรับผลิตภัณฑ์แชมพูที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากแคร์รอตสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย เป็นการนำสารสกัดจาก แคร์รอตมาใส่ในตำรับจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์แชมพูที่สามารถทำความสะอาดเส้นผมได้ โดยมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรงและไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้บริเวณหนังศีรษะในผู้ที่มีอาการแพ้หรือมีหนังศีรษะที่บอบบาง นอกจาก นี้ยังมีการใช้ส่วนประกอบในสูตรตำรับที่มีความอ่อนโยนต่อผิวเหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีส่วนผสมจาก สารสกัดจากธรรมชาติที่มีความปลอดภัย และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่มี ความนิยมในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรตำรับเจลล้างหน้าที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากข้าวโอ๊ต คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 300 2072 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์มธุกร สายนาคำ คณะเภสัชศาสตร์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เจลล้างหน้ามีส่วนผสมของสารสกัดจากข้าวโอ๊ต (Avena sativa L.) ซึ่งมีสารประกอบเช่น hydroxybenzoic หรือ hydroxycarbonic acids, amides, alkylene, flavonoids และ avenanthramides ที่มี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านเชื้อจุลชีพ มาเป็นส่วนผสมในการทำผลิตภัณฑ์ล้างหน้ารูปแบบเจล (gel) ลักษณะเป็นของเหลว หรือกึ่งแข็งมีความอ่อนโยนเมื่อสัมผัสกับใบหน้าโดยมี คาร์พริลิล/คาร์พริล กลูโคไซด์ เป็นสารทำความสะอาดที่ไม่มีประจุเป็น ส่วนประกอบ ซึ่งมีความอ่อนโยนต่อผิว โดยนำข้าวโอ๊ตอบแห้งมาสกัดเพื่อให้ได้สกัดหยาบจากข้าวโอ๊ต เพื่อนำมาเป็นส่วน ประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์เจลล้างหน้าสำหรับผิวแพ้ง่ายโดยใช้สารสกัดจากธรรมชาติ สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี สูตรตำรับผลิตภัณฑ์เจลล้างหน้าที่มีส่วนผสมของจากสารสกัดของข้าวโอ๊ตสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย เป็นการนำสารสกัดจากข้าวโอ๊ตมาใส่ในตำรับจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์เจลล้างหน้าสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย ที่มีสารสำคัญจากสาร สกัดของข้าวโอ๊ต มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย มีสารทำความสะอาดไม่มีประจุที่มีความอ่อนโยน และมีค่า ความกรดด่างที่อ่อนโยนต่อผิว ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการพัฒนาจากส่วนผสมของสารสกัดจากธรรมชาติที่มีความ ปลอดภัย และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี เม็ดบีดส์สารสกัดผลมะขามป้อมในเซรั่มบำรุงผิวหน้าโดยเทคนิคสเฟียริฟิเคชั่น และกรรมวิธีการผลิต คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 300 2073 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์จิณัฐข์ดา เอ็งสุวรรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ เม็ดบีดส์สารสกัดผลมะขามป้อมในเซรั่มบำรุงผิวหน้าโดยเทคนิคสเฟียริฟิเคชัน (Spherification) ตามการประดิษฐ์นี้ ประกอบด้วย สารสกัดผลมะขามป้อม (Phyllanthus emblica fruit extract) เป็นสารสำคัญ โซเดียมอัลจิเนต (Sodium alginate) แอมโมเนียม อะไครโลอิลไดเมทิลทอเรต/วีพี โคพอลิเมอร์ (Ammonium Acryloyldimethyltaurate/VP Copolymer) แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium chloride) สารปรับเปลี่ยนการเชื่อมโยงโมเลกุล (Crosslinking modifier) สารเพิ่มความนุ่มลื่น (Emollient) สารเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer) สารปรับการไหล (Rheology modifier) สารเพิ่มความกระจ่างใส (Brightening agent) สารกันเสีย (Preservative) สารก่ออิมัลชัน (Emulsifier) และน้ำกลั่น (Solvent) ผสมตามสัดส่วนได้ที่คิดค้นขึ้นมา เตรียมแยกส่วนกันระหว่างเม็ดบีดส์และเซรั่ม โดยเม็ดบีดส์เตรียม โดยเทคนิคสเฟียริฟิเคชัน จากนั้นนำเม็ดบีดส์ที่ได้กระจายลงในเซรั่ม สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี การพัฒนาสารสกัดผลมะขามป้อมให้อยู่ในรูปแบบเม็ดบีดในตำรับเซรั่มบำรุงผิวหน้า เพื่อลดข้อจำกัดของ การใช้สารสกัดมะขามป้อมโดยตรง ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามน่าใช้ และเพิ่มความคงตัวทางกายภาพ เกิดการใช้ ประโยชน์เพิ่มมูลค่าของพืชสมุนไพรไทย ลดการนำเข้าเม็ดบีดส์จากต่างประเทศอีกด้วย และเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มทาง เลือกสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวหน้าที่มีสารสกัดผลมะขามป้อมบรรจุอยู่ใน รูปแบบเม็ดบีดส์ ช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดริ้วรอย ลดความหมองคล้ำ ลด การบวมแดงจากการอักเสบ และชะลอความเสื่อมของเซลล์ มีวิตามินบี 3 (Niacinamide) ช่วยให้ผิวหน้าแลดูกระจ่างใส วิ ตามินบี 5 (D-panthenol) ช่วยให้ความชุ่มชื่น และเนื้อเซรั่มมีความบางเบา ไม่เหนอะหนะผิว ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรการผลิตและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์แป้งอัดแข็งที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากบอระเพ็ด และน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงา คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 300 2071 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์วีรยา ปรีดาลิขิต คณะเภสัชศาสตร์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ เในสถานการปัจจุบันทั่วโลกกำลังประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศและโรคระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้อง สวมใส่หน้ากากอนามัยเกือบตลอดเวลา ปัญหาเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการ อุดตันของต่อมไขมันบนใบหน้าส่งผลให้เกิด สิวอุดตัน ดังนั้นการเลือกผลิตภัณฑ์ตกแต่งใบหน้าจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันผู้บริโภคต่างมีความคาดหวังใน ผลิตภัณฑ์แป้งอัดแข็ง ในด้านคคุณสมบัติการปกปิด ความบางเบา ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน นอกจากนี้การใส่หน้ากากอนามัย ตลอดเวลานั้นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต้องไม่เลอะเทอะหรือติดกับหน้ากากอนามัย และขณะที่สวมใส่หน้ากากอนามัยกลิ่นที่ หอมของผลิตภัณฑ์จะช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกความผ่อนคลาย จากความคาดหวังดังกล่าวจึงมีการนำพืชท้องถิ่นอย่างบอระเพ็ด และดอกกระดังงามาพัฒนา เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้บริโภค สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์แป้งอัดแข็งที่ช่วยทั้งในเรื่องการปกปิดและการบำรุงภายในผลิตภัณฑ์เดียว และตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้บริโภคในปัจจุบันที่นิยมใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสำคัญมาจากธรรมชาติ เพราะเป็นการลดการใช้สารเคมีที่อาจส่งผลให้เกิด การแพ้ โดยผลิตภัณฑ์จะประกอบด้วยบอระเพ็ดที่เป็นสารธรรมชาติที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ลด การสะสมของเชื้อจุลชีพ และดอกกระดังงาที่มีกลิ่นหอมหวาน ช่วยให้ความผ่อนคลายและลดความตึงเครียดที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน ดังนั้นผลิตภัณฑ์นี้จึงเป็นการสร้างความแตกต่างและความใหม่จากผลิตภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาดได้อีกด้วย และการ เลือกบอระเพ็ด ดอกกระดังงาที่เป็นสมุนไพรพื้นบ้านและสามารถหาได้ง่าย เมื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แป้งอัดแข็ง จะช่วยตอบ สนองความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ อีกทั้งผลิตภัณฑ์ยังสามารถช่วยลดสิวที่อาจเกิด จากมลภาวะในปัจจุบันได้ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรรมวิธีการผลิตผงสีชนิดไม่ละลายน้ำจากสีธรรมชาติด้วยวิธีดูดซับบนซิลิกา ขนาดระดับนาโนเมตร คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 200 300 3263 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์จักรินทร์ ศรีวิไล คณะเภสัชศาสตร์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ กระบวนการและกรรมวิธีการผลิตผงสีชนิดไม่ละลายน้ำจากสีธรรมชาติด้วยวิธีดูดซับบนซิลิกา ขนาด นาโนเมตร นั้นเป็นการนำสารสีที่ละลายน้ำซึ่งได้จากครั่งและแก่นฝางมาทำการดูดซับบนพื้นผิว ของซิลิการะดับนาโนเมตรจนเป็นส่วนผสมจนกระทั่งได้สีชนิดที่ไม่ละลายขึ้น และสามารถนำผงสีชนิด ที่ไม่ละลายนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทตกแต่งได้ และยัง สามารถใช้ทดแทนสีสังเคราะห์ได้ มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ ซึ่งครั่งและแก่นฝางสามารถทำการดูดซับ บนพื้นผิวของซิลิการะดับนาโนเมตรจผสมกันจนกระทั่งได้สีชนิดที่ไม่ละลายขึ้น และนำผงสีชนิดที่ไม่ ละลายไปใช้เป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทตกแต่ง และใช้เป็นสีสังเคราะห์ ทดแทนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทตกแต่งในปัจจุบัน สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี กรรมวิธีการผลิตผงสีชนิดไม่ละลายน้ำจากสีธรรมชาติด้วยวิธีดูดซับบนซิลิกาขนาดระดับนาโน เมตรนี้ มีส่วนผสมมาจากสีย้อมของฝางและครั่งเป็นส่วนผสมในการให้สีในผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปใช้ ทดแทนผงสีที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ ผงสีที่ได้มีหลากหลากหลายเฉดสี ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ มองหาผงสีที่ผลิตจากสารและสีธรรมชาติ 100 เปอร์เซนต์ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลงานทรัพย์สินทาง ปัญญา ด้านการแพทย์ และสุขภาพ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สื่อการสอนคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยโมเดล คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 190 300 2705 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย ดร.สิทธิเดช วชิราศรีศิริกุล รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ การประดิษฐ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น มีแนวคิดว่าควรทำเป็นกระเป๋า เพื่อให้สะดวกแก่การนำไปสอนในสถานที่ต่างๆ ด้านข้างกระเป๋าจะมีหน้าจอแสดงผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และภายในกระเป๋าจะมีโมเดลหัวใจแบบ 2 มิติ ที่มีการเรียงหลอดแสดงผลที่ควบคุมระดับสี ตามการไหลของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ มีแหล่งจ่ายและบอดร์ควบคุมการทำงานของหลอดแสดงผล ซึ่งการ ทำงานจะทำงานร่วมกัน กับเมนูรูปคลื่นต่างๆ โดยใช้คลื่นวิทยุในการเชื่อมต่อให้ข้อมูลทำงานร่วมกัน โดยการจัดให้มีการใช้หลอดแสดงผลที่ควบคุมระดับสี การใช้เทคนิคทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และไมโครคอนโทรลเลอร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน โดยประดิษฐ์ให้สามารถใช้วัสดุภายใน ประเทศในการประดิษฐ์สื่อการสอนให้ตรงตามความต้องการของผู้สอน แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1) โครงสร้างสื่อการสอนอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยโมเดล 2) จอแสดงผล 3) วงจรควบคุม สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี สื่อการสอนคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย ประกอบด้วยส่วนการทำงาน อีเคจีเคอร์เรนท์ และ อีเคจีโมเดล ที่มีหน้าจอแสดงผลและปุ่มควบคุมการทำงานที่สามารถใช้ควบคุมซึ่งกันและกัน ชุดอีเคจีเคอร์เรนท์ ติดตั้งจอแสดงผลและปุ่มควบคุมภายในกล่อง สามารถเก็บชุดอีเคจีโมเดลรวมกัน ในกล่องเดียว สามารถเคลื่ อนย้ายได้สะดวก ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ตำรับยาเม็ดปฏิชีวนะต้านเซลล์มะเร็งจากผงแห้งน้ำหมักที่มีองค์ประกอบของสารไดแนคติน คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 100 5343 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์กฤษณา พุกอินทร์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ โรคมะเร็งเป็นกลุ่มโรคที่มีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านสภาวะ แวดล้อมอาศัยจากภาวะมลพิษต่างๆ รวมถึงค่านิยมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการ เปลี่ยนแปลงที่สำคัญเหล่านี้ ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน ทำให้แนวโน้มของโรคมะเร็งทั้งจากการกลายพันธุ์ของสาร พันธุกรรมจากสารเคมีกระตุ้น และการก่อกลายพันธุ์จากโรคติดเชื้อหลายชนิดที่ไปกระตุ้นการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มสูงทุก ด้าน การรักษามะเร็งให้มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน ทั้งการฉายรังสี หรือการใช้เคมีบำบัดในการต้านเซลล์มะเร็ง แม้มีผล การทำลายเซลล์มะเร็งสูงแต่ก็เป็นพิษต่อเซลล์ปกติสูงด้วยเช่นกัน จากการออกฤทธิ์อย่างไม่จำเพาะเจาะจง การศึกษา ค้นคว้าสารธรรมชาติเพื่อการรักษาเซลล์มะเร็งจึงขยายตัวเพิ่มขึ้น ให้เป็นทางเลือกในการบำบัดรักษาโรค จากผลคาด หวังที่ว่า สารธรรมชาติที่ให้ผลการต้านเซลล์มะเร็งจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความเป็นพิษต่อเซลล์ปกติน้อยกว่า รังสีหรือสารเคมีสังเคราะห์ในการบำบัดรักษา สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี ยาเม็ดปฏิชีวนะต้านเซลล์มะเร็งที่มีองค์ประกอบของสารไดแนคติน มีส่วนประกอบของผงแห้งน้ำหมักเป็นส่วนผสม สำคัญในการออกฤทธิ์ของยา ผงแห้งผลิตจากน้ำหมักสเตรปโตมัยสีทกับน้ำแป้งต้มสุกให้ความร้อนในการทำให้เซลล์ส เตรปโตมัยสีทแตกปลดปล่อยสารออกฤทธิ์และเป็นการทำปราศจากเชื้อเพื่อการค้าไปในคราวเดียวกัน โดยการให้ความ ร้อนไม่ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของสารสำคัญในการผลิตยา ผงน้ำหมักแห้งที่ประดิษฐ์สามารถตรวจสอบองค์ประกอบ ของสารเป้าหมายคือสารไดแนคตินจากการแยกสารด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตทแล้วตรวจสอบกับเครื่อง HPLC จากพีคสัญญานที่ปรากฎเทียบกับของสารไดแนคตินมาตรฐาน สารไดแนคตินในผลิตภัณฑ์เป็นสารออกฤทธิ์ในการต้าน การเจริญของแบคทีเรียและต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งได้ในสารตัวเดียวกัน ยาจึงมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์เป็น ต้านการเจริญของแบคทีเรียและต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งในตำรับเดียวกัน ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรรมวิธีการสกัดดีเอ็นเอจากเลือดด้วยหัวดูดจ่ายสารละลายที่บรรจุเม็ดซิลิกา และชุดสกัด ดีเอ็นเอด้วยหัวดูดจ่ายสารละลายที่บรรจุเม็ดซิลิกา คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 100 0753 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์ธนพัฒน์ แพ่งเกษร รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ กรรมวิธีและสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นกรรมวิธีสกัดดีเอ็นเอด้วยหัวดูดจ่ายสารละลายที่ภายในบรรจุเม็ดซิลิกา สามารถสกัดได้ดีเอ็นเอโดยการดูดจ่ายสารละลายแต่ละชนิดตามลำดับ ให้ผ่านเข้าออกหัวดูดจ่ายสารละลาย - สารละลายที่หนึ่ง คือ น้ำยาบัฟเฟอร์ A ทำหน้าที่ในการย่อยตัวอย่างเลือดให้เกิดการปลดปล่อยสารพันธุกรรม ออกมา และทำหน้าที่เคลือบเม็ดซิลิกาให้มีคุณสมบัติที่สามารถตรึงดีเอ็นเอได้ - น้ำยาบัฟเฟอร์ B จะทำหน้าที่ล้างสารชีวโมเลกุลส่วนเกินที่ไม่ต้องการออกไป ให้คงเหลือแต่ดีเอ็นเอบริสุทธิ์ - และ น้ำยาบัฟเฟอร์ C จะทำหน้าที่ชะดีเอ็นเอที่ตรึงอยู่บนพื้นผิวเม็ดซิลิกาให้หลุดออกมา ฉะนั้นการประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นนี้ จึงมุ่งให้มีลักษณะสำคัญคือ ให้สามารถสกัดดีเอ็นเอได้โดยง่าย เพียงการดูดจ่าย สารละลายเข้าออก ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือขั้นสูง ใช้เวลาน้อย และสามารถประยุกต์ใช้ได้ในภาคสนาม สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี กรรมวิธีการสกัดดีเอ็นเอจากเลือดด้วยหัวดูดจ่ายสารละลายที่บรรจุเม็ดซิลิกา และชุดสกัดดีเอ็นเอด้วยหัวดูดจ่าย สารละลายที่บรรจุเม็ดซิลิกา ทำให้ได้กรรมวิธีสกัดดีเอ็นเอที่รวดเร็ว เพียงแค่ดูดจ่ายสารละลายผ่านเข้าออกหัวดูดจ่าย สารละลาย ไม่ต้องอาศัยเครื่องขั้นสูง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในภาคสนาม ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรรมวิธีการเตรียมส่วนประกอบของแผ่นทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอช คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 150 300 0997 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย ดร.ชลธิชา เทพหินลัพ, ศ.เกียรติคุณ ดร.ไมตรี สุทธจิตต์, ดร.ภัคสิริ สินไชยกิจ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ แผ่นทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระนี้มีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ แผ่นพลาสติกที่นำมาใช้ในการ ติดแผ่นทดสอบที่ เป็นบริเวณทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่าง แผ่นทดสอบที่เป็นบริเวณทำปฏิกิริยากับ สารตัวอย่าง โดยบริเวณแผ่นทดสอบจะติดสาร อนุมูลดีพีพีเอชลงไป แผ่นพลาสติกที่นำมาใช้ในการ ติดแผ่นทดสอบที่เป็นบริเวณทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่าง ได้แก่ แผ่นพลาสติกชนิดโพลี โพรพิลีน แผ่นทดสอบที่เป็นบริเวณทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่าง สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี การแปลผลอ่านค่าฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารตัวอย่างจากสีที่จางลง โดยเทียบกับสีของ แผ่นทดสอบที่จุ่มในสาร มาตรฐานกรดแกลลิก โดยอ่านค่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารตัวอย่างได้ใน หน่วย ไมโครโมลาร์เทียบเท่ากรดแกลลิก(UM equivalent gallic acid) ผู้ประดิษฐ์ได้ทดสอบ ความแม่นยำของการทดสอบหาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารตัวอย่างจำนวน 30 ชนิด ด้วยแผ่น ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอชด้วยวิธีการทดสอบแบบกึ่งปริมาณเทียบกับวิธีการทำลายอนุมูล ดีพีพีเอชแบบ มาตรฐาน พบว่าให้ค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.8352 ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี อุปกรณ์กั้นตัวอย่างหลายหลุม (Multiple concurrent biomarker detection) คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 160 300 1117 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12896 โดยนักวิจัย ดร.สุรีวัลย์ บำรุงไทย รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์กั้นตัวอย่างหลายหลุม เป็นอุปกรณ์ที่มีช่องเรียงกันเป็นแถวและความหนาพอประมาณ มีลักษณะ เป็นแผ่นกันน้ำและมีกาวหรือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลอื่น ในการใช้งานจะติดอุปกรณ์ลงในแผ่นชิ้นเนื้อ สไลด์ที่เตรียมจากทิชชูไมโครอะเรเทคนิคหรือเซลล์หรือเทคนิคอื่น ซึ่งอุปกรณ์นี้จะกั้นชิ้นเนื้ออกจากกันทำให้ เกิดบริเวณปิด อุปกรณ์นี้มีความมุ่งหมายเพื่อในการทำให้สามารถตรวจวัดสารอณูชีโมเลกุลได้หลายชนิด พร้อมกันในครั้งเดียว เช่น การตรวจสารอณูชีวโมเลกุลพร้อมกันตั้งแต่ 2 ถึง 1000 ชนิด และยังสามารถลด ปริมาณสารที่ใช้ย้อมลงได้มากจากเดิม 100-200 ไมโครลิตร โดยลดลงเหลือประมาณ 1-10 ไมโตรลิตร เท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดช่องของอุปกรณ์ โดยอุปกรณ์นี้เมื่อติดเข้ากับแผ่นสไลด์แล้วมีคุณสมบัติกันน้ำ อุปกรณ์นี้ยึดติดกับแผ่นสไลด์ด้วยกาวหรือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลอื่น ทำให้ติดแน่นแต่สามารถลอก ออกได้ เมื่อสิ้นสุดการใช้งานสามารถแกะลอกหรือไม่แกะลอกออกหลังการใช้งานก็ได้ ซึ่งระบุตำแหน่งของ แต่ละหลุมไว้ ทำให้สามารถมองเห็นตำแหน่งได้ชัดเจนภายใต้กล้องจุลทรรศน์ สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี อุปกรณ์กั้นตัวอย่างหลายหลุม เป็นอุปกรณ์ที่มีหลุมสำหรับใส่สารละลายเรียงกันเป็นแถวและมีความหนา มีลักษณะเป็นแผ่นกันน้ำและมีกาวหรือมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลอื่นที่สามารถติดกับแผ่นสไลด์ได้ ในการ ใช้งานจะติดอุ ปกรณ์ลงในแผ่นชิ้นเนื้ อสไลด์ที่เตรียมจากทิชชูไมโครอะเรเทคนิคหรือเซลล์หรือเทคนิค ซึ่ง อุปกรณ์นี้จะกั้นชิ้นเนื้ออกจากกันทำให้เกิดบริเวณปิด อุปกรณ์นี้มีความมุ่งหมายเพื่อในการทำให้สามารถตรวจ วัดสารอณูชีโมเลกุลได้หลายชนิดพร้อมกันในครั้งเดียว และเพื่อลดปริมาณสารที่ใช้ในการย้อมทางอณูชีว โมเลกุล มีคุณสมบัติกันน้ำ โดยอุปกรณ์นี้เมื่อติดเข้ากับแผ่นสไลด์ อุปกรณ์นี้ยึดติดกับแผ่นสไลด์ด้วยกาวและ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลอื่น ทำให้ติดแน่นแต่สามารถลอกออกได้ โดยเมื่อทำการทดลองแล้วเสร็จ สามารถแกะลอกหรือไม่แกะลอกออกหลังการใช้งานก็ได้ อุปกรณ์มีหมายเลขแสดงตำแหน่ง เพื่อให้สามารถ ระบุตำแหน่งได้ชัดเจนภายใต้กล้อง ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี แผ่นประคบร้อนสมุนไพร คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 200 300 0499 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ 18966 โดยนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณิชาภา พาราศิลป์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ แผ่นประคบร้อนสมุนไพรได้พัฒนาขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้ในการลดอาการปวด เมื่อย และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ด้วยตนเองในครัวเรือน โดยประกอบไปด้วยสมุนไพรท้องถิ่น 14 ชนิด ได้แก่ ไพล ตะไคร้ ใบมะขาม ใบมะกรูด ใบเตย ใบส้มป่อย ขมิ้น ใบหนาด ใบพลับพลึง ใบเปล้า ว่านน้ำ โกฐจุฬาลัมพา การบูร และเกลือ โดยกลิ่นของ สมุนไพรช่วยเพิ่มความหอม ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกผ่อนคลายขณะวางประคบเพื่อรักษา อีกทั้งยังมีสรรพคุณของ สมุนไพรที่บรรจุในแผ่นประคบซึ่งช่วยลดการอักเสบ ลดอาการปวดและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้ออีก ด้วย แผ่นประคบร้อนนี้สามารถให้ความร้อนได้ด้วยเตาไมโครเวฟด้วยระยะเวลาเพียง 5 นาที ก็สามารถให้ ความร้อนที่อุ่นสบาย เหมาะกับวางประคบบริเวณที่ปวดโดยไม่ทำให้เกิดผิวหนังไหม้ เพื่อสร้างคุณค่าและเพิ่ม มูลค่าให้กับสมุนไพรที่มีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นไทย เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดสินค้าใหม่ในภาค อุตสาหกรรมโดยใช้สมุนไพรในท้องถิ่นไทยเป็นวัตถุดิบสำคัญอย่างจริงจัง โดยผู้ประดิษฐ์ได้มีการจัดกลุ่ม สรรพคุณทางยาของสมุนไพรที่นำมาใช้ ให้สอดรับกับการบรรเทาอาการปวดเมื่อย พร้อมทั้งเกิดความผ่อน คลายระหว่างการใช้ด้วยคุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรในส่วนผสม เป็นกลุ่มสมุนไพรที่มีความ เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาผลิตเป็นแผ่นประคบร้อน สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี แผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทยที่ใช้สมุนไพรตามตำหรับปราญช์ชาวบ้าน สอดคล้องกับตำราแพทย์แผน ไทย สามารถให้ความร้อนกับร่างกายโดยไม่เป็นอันตราย มีกลิ่นหอมของสมุนไพร อีกทั้งตัวยาในสมุนไพร สามารถซึมผ่านผิวของผู้ป่วยได้อีกด้วย โดยแผ่นประคบร้อนสมุนไพรประกอบด้วย ไพล ตะไคร้ ใบมะขาม ใบ มะกรูด ใบเตย ใบส้มป่อย ขมิ้น การบูร และเกลือ โดยมีลักษณะเฉพาะคือ มีการเพิ่มเติมส่วนผสมของ ใบ หนาด ที่ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมฉุน มีคุณสมบัติขับเหงื่อและบรรเทาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ใบพลับพลึง ช่วย ลดการอักเสบ อาการเจ็บปวด ใบเปล้า ว่านน้ำ และโกฐจุฬาลัมพา ที่มีสรรพคุณลดอาการปวดเมื่อย ลดอาการ เกร็งของกล้ามเนื้อ อีกทั้งสามารถให้ความร้อนแผ่นประคบร้อนสมุนไพรได้ด้วยการอบด้วยเตาไมโครเวฟที่ใช้ ในครัวเรือน ทำให้สะดวกในการใช้งานที่บ้าน ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กระบวนการผลิตและส่วนผสมของน้ำหมักเพื่อหมักร่วมกับสเตรปโตมัยสีทให้เป็นน้ำ หมักที่ออกฤทธิ์ต้านการเจริญของแบคทีเรียและต้านเซลล์มะเร็งและการแปรรูปทำผง แห้งน้ำหมัก คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 300 2511 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย นางสาวกฤษณา พุกอินทร์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ โดยการผลิตน้ำหมักที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและต้านเซลล์มะเร็ง มีความมุ่งหวังเพื่อการพัฒนาการผลิตสาร ตั้งต้นในการผลิตยาต้นทุนต่ำในการประยุกต์ใช้เชิงพานิชย์ ที่สารออกฤทธิ์สังเคราะห์จากสิ่งมีชีวิตที่คัดแยกได้ จากธรรมชาติ โดยใช้สารตั้งต้นหลักในกระบวนการผลิตที่ต้นทุนต่ำมากจากผลผลิตทางการเกษตรและการ แปรรูปภายในประเทศ ให้เป็นทางเลือกในกระบวนการผลิตยา ที่สารออกฤทธิ์สำคัญมีคุณสมบัติทูอินวันที่เป็น ทั้งยาปฏิชีวนะและยาต้านเซลล์มะเร็งในหนึ่งเดียว ส่งเสริมการเข้าถึงยาในราคาถูกจากการผลิตในประเทศและ ต้นทุนการผลิตต่ำ ลดต้นทุนการนำเข้า สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี กระบวนการผลิตน้ำหมักที่ออกฤทธิ์ต้านการเจริญของแบคทีเรียและต้านเซลล์มะเร็ง และการแปรรูปทำ ผงแห้งน้ำหมัก การประดิษฐ์น้ำหมักโดยเลือกสารตั้งต้นหรือสับสเตรทหลักเป็นแป้งบริโภค คือแป้งมันสำประ หลัง แป้งข้าวโพด แป้งข้าวจ้าว และแป้งข้าวเหนียว โดยมีน้ำหมักที่มีสับสเตรทหลักเป็นโซลูเบิลสตาร์ชเป็นน้ำ หมักชุดควบคุม เมื่อหมักน้ำหมักครบกำหนดเวลาแล้ว จะมีขั้นตอนการเตรียมน้ำหมักก่อนทำแห้ง โดยน้ำหมัก ไปให้ความร้อนในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพให้ปลดปล่อยออกนอกเซลล์และปราศจากเชื้อทางการค้า ด้วยอุณหภูมิแบบพาสเจอร์ไรซ์ (pasteurization) และสเตอริไรซ์ (sterilization) คือ 63-121 องศา เซลเซียส ในช่วงเวลา 10-30 นาที ด้วยหม้อนึ่งความดันไอ (autoclave) จากกระบวนการผลิตน้ำหมักที่ ประดิษฐ์และผงแห้งของน้ำหมักมีฤทธิ์เป็นสารปฏิชีวนะต้านเซลล์มะเร็งได้ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลงานทรัพย์สินทางปัญญา ด้านอาหารเพื่อสุขภาพ และสูตรอาหารฯ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของสารสกัดเมล็ดกาแฟ และกระบวนการผลิต คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 300 1493 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์อัจฉราภรณ์ ดวงใจ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ ในส่วนของเมล็ดกาแฟตกเกรดยังคงมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และ กากใย โดยพบว่าเมล็ดกาแฟดิบมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ 10 ลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล ยับยั้งการสะสม และกระตุ้นให้มีการสลายของเซลล์ไขมัน สามารถลดนํ้าหนักของเยื่อไขมันขาว (white adipose tissue) และ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรดิในซีรั่มและในตับของหนู ซึ่งในเมล็ดกาแฟดิบประกอบไปด้วย คาเฟอีน (caffeine) กรดคลอโรจีนิก (chlorogenic acid) กรดควินิก (quinic acid) กรดคาเฟอิก (caffeic acid) และ กรดพ ี- ค ูมาริก (p-coum aric acid) กรดแกลลิก (gallic acid) กรดโอ-คูมาริก (o-coum aric acid) และกรดเอ็ม-คูมาริก (m -coum aric acid) พบว่ามีคุณสมบัติด้านต่อภาวะอ้วนได้ ช่วยกระตุ้นให้มี การใช้พลังงาน รวมไปถึงการเพิ่มการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก ช่วยสลายไขมันโดยไปเพิ่มการหลั่ง ของกรดไขมันอิสระ (free fatty acids) จากเซลล์ไขมัน สารสกัด เมล็ดกาแฟช่วยลดความดันโลหิต ยับยั้ง การทำงานของแบคทีเรีย ส่วนกรดคลอโรจีนิก (chlorogenic acid) มีถุทธี้ ฟ้องกันตับ (hepatoprotective) ด้านไวรัส (antiviral) และควบคุมระดับน้ำตาล สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี การผสมสารสกัด เมล็ดกาแฟจากสารสกัดจากเมล็ดกาแฟคั่วกลางและเมล็ดกาแฟดิบที่ผสมกันแล้ว ผสมใน อัตราส่วนร้อยละ 15-30 โดยนํ้าหนัก ตามการประดิษฐ์นี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารที่มีคุณค่าทาง โภชนาการ มีคุณสมบัติในการลดการสะสมของไขมัน เพิ่มการสลายไขมัน และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลใบสำ ไส้ ที่ซึ่งกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว ประกอบรวมด้วย สารสกัดจากเมล็ดกาแฟคั่วกลาง สารสกัดจาก เมล็ดกาแฟดิบ แอสปาร์แตม ซึลิกอนไดออกไซด์ ครีมเทียม คอสลาเจน วิตามินซี ไดโพแทสเซียมฟอสเฟต โดย เป็นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบ ทางการเกษตรของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมกาแฟให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต กาแฟ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรเครื่ องดื่ มผงพร้อมชงจากดอกบัวหลวงผสมดอกกระถิ่นเทศ และกระบวนการผลิต คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 300 2387 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์ศุภชัย เจริญสิน รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ การประดิษฐ์นี้ได้ประยุกต์ใช้การทำแห้งวัตถุดิบด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับเทคนิคทำแห้งแบบ แช่เยือกแข็งในการเตรียมวัตถุดิบสำหรับทำชากลีบบัวหลวงผสมดอกกระถินเทศ การทำแห้งกลีบบัวหลวง จะอาศัยหลักการการอบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พาความชื้นออกไป (น้ำจากวัตถุดิบ) ทำให้ตัวอย่างแห้งได้ การทำแห้งดอกกระถินเทศ ใช้เครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze dryer) ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงาน ไฟฟ้า ลดการไหม้ของวัตถุดิบ และใช้เทคนิคทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง เพื่อลดการสูญเสียกลิ่นของดอก กระถินเทศ ซึ่งระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิที่ใช้ในการอบ หรือในโดมพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อพัฒนาสูตรชากลีบ บัวหลวงผสมดอกกระถินเทศ โดยใช้เทคนิคดังที่ได้กล่าวข้างต้น เพื่อใช้บริโภคเสริมสุขภาพ สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี ชากลีบบัวหลวงผสมดอกกระถินเทศ มีการพัฒนาสูตรโดยศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของปริมาณกลีบบัว หลวงในการผสมกับดอกกระถินเทศ ทำให้ชาที่ได้มีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีสีธรรมชาติ และกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของดอกกระถินเทศ อีกทั้งไม่มีการเจือสีสังเคราะห์และการแต่งกลิ่นสังเคราะห์ใด ๆ ชากลีบบัวหลวงผสม ดอกกระถินเทศ ทำได้โดยผสมกลีบบัวหลวงอบแห้งที่ผ่านการบด อัตราส่วน 80-90% โดยน้ำหนัก กับดอก กระถินเทศที่ผ่านการทำแห้งด้วยเทคนิคแช่เยือกแข็ง อัตราส่วน 10-20% โดยน้ำหนัก ให้ได้น้ำหนักรวม 2.0 กรัม บรรจุลงในซองเยื่อกระดาษ ซิลปิด และบรรจุลงถุงฟอยล์แบนเพื่อป้องกันความชื้น ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรเครื่ องดื่ มผงพร้อมชงจากดอกบัวหลวงผสมข้าวกล้องคั่ว และกระบวนการผลิต คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 300 2513 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์ศุภชัย เจริญสิน รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ การประดิษฐ์นี้ได้ประยุกต์ใช้การทำแห้งวัตถุดิบด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับเทคนิคการคั่วใน การเตรียมวัตถุดิบสำหรับทำชากลีบบัวหลวงผสมข้าวกล้องงอกคั่ว การทำแห้งกลีบบัวหลวง จะอาศัย หลักการการอบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยนำวัตถุดิบทั้งสองชนิดเข้าวางบนชั้นที่ตั้งอยู่ในโรงอบ โดย โครงสร้างของโรงอบจะใช้แผ่น polycarbonate มีช่องนำอากาศจากภายนอกเข้าสู่ภายใน และมีช่อง เปิดด้านบนซึ่งติดตั้งพัดลมเพื่อช่วยดึงอากาศร้อนออกสู่ภายนอก ซึ่งระบบนี้ทำให้เกิดการไหลเวียนของ อากาศ และพาความชื้นออกไป (น้ำจากวัตถุดิบ) ทำให้ตัวอย่างแห้งได้ส่วนวัตถุดิบข้าวกล้องงอกคั่ว ใช้ การคั่วด้วยไฟ จนวัตถุดิบเปลี่ยนสีจากสีธรรมชาติ เป็นสีน้ำตาล-ทอง และมีกลิ่นหอมของสารในกลุ่มไพรา ซีน (pyrazines) และ สารประกอบคาร์บอนิล (carbonyl compounds) สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี ชากลีบบัวหลวงผสมข้าวกล้องงอกคั่ว เตรียมโดยใช้การทำแห้งวัตถุดิบกลีบดอกบัวหลวงด้วยการใช้ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ลดการไหม้ของวัตถุดิบ และใช้การคั่วด้วยไฟสำหรับ ข้าวกล้องงอก เพื่อให้ความร้อนช่วยเร่งการเกิดปฏิกิริยาเมลลาร์ด (Maillard reaction) ซึ่งเป็น ปฏิกิริยาเคมีระหว่างโปรตีน และน้ำตาลรีดิวซ์ในตัวข้าวกล้องงอก ผลที่ได้นอกจากจะทำให้เกิดสีน้ำตาล- ทองแล้ว ยังทำให้เกิดสารระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะตัวของข้าวกล้องงอกคั่ว เพื่อพัฒนาสูตรชากลีบบัวหลวง ผสมข้าวกล้องงอกคั่ว เพื่อใช้บริโภคเสริมสุขภาพ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรขนมดอกซ้อ (กาละแมดอกซ้อ) และกรรมวิธีการผลิต คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 190 300 3193 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์ยุพารัตน์ โพธิเศษ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการประดิษฐ์นี้เป็นการทดแทนน้ำตาลโดยใช้หญ้าหวานหรือสารสกัดจากหญ้าหวานใน ส่วนผสมขนมดอกซ้อ โดยการใช้หญ้าหวานผงและ/หรือสารสกัดจากหญ้าหวานทดแทนน้ำตาลที่ใช้ใน ส่วนผสมปกติ และยังคงรักษาคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ของขนมดอกซ้อที่ใกล้เคียงกับสูตรปกติเป็น ที่ยอมรับกับผู้บริโภคทั่วไปได้ และการประเมินอายุการเก็บรักษาที่เหมาะสม สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ขนมดอกซ้อ (กาละแมดอกซ้อ) เพื่อสุขภาพที่มีส่วนผสมของดอกซ้อผง โดยใช้สารให้ความ หวานที่เลือกได้จากหญ้าหวานผงหรือน้ำสกัดหญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานตามธรรมชาติแทนน้ำตาล ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน สามารถรับประทานได้ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์เยลลี่กัมมี่ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากผลกาแฟและกระบวนการผลิต คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 190 300 3280 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์อัจฉราภรณ์ ดวงใจ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เยลลี่กัมมี่ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากผลกาแฟตามการประดิษฐ์นี้มีส่วนผสม ประกอบด้วยสารสกัดจากผลกาแฟในอัตราส่วนร้อยละ 1-5 (กรัมต่อน้ำหนัก) ที่มีฤทธิ์ในการลดการสะสม ของไขมัน และยังสามารถเพิ่มการสลายไขมัน และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ การประดิษฐ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้ประโยชน์จากผลกาแฟให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยมี ประสิทธิภาพในการลดการสะสมของไขมัน เพิ่มการสลายไขมัน และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ และ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เยลลี่กัมมี่จากสารสกัดผลกาแฟ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์เยลลี่กัมมี่ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากผลกาแฟตามการประดิษฐ์นี้เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ ประกอบด้วยสารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีคุณสมบัติในการลดการสะสมของไขมัน เพิ่มการสลายไขมัน และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ ที่ซึ่งได้จากสารสกัดจากผลกาแฟและผสมในอัตราส่วนร้อยละ 1-5 (น้ำหนักต่อน้ำหนัก) ที่ซึ่งกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ประกอบรวมด้วย สารสกัดจากผลกาแฟ เจ ลาติน กลูโคสไซรัป น้ำตาลทราย กรดซิตริก สารกันเชื้อราในอาหาร สารแต่งกลิ่น สีผสมอาหาร โดยเป็นการ ใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบทางการเกษตรของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมกาแฟให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตกาแฟ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรและกรรมวิธีการผลิตปลาส้มกรอบ คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 190 300 3281 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ การประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับการผลิตปลาส้มกรอบ โดยมีส่วนประกอบหลัก คือ ปลาส้ม, แป้งมัน, กระเทียม, พริกไทย, น้ำตาลทราย, เกลือป่น และน้ำต้มสุก เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าพร้อมกับ ยกระดับผลิตภัณฑ์จากปลาส้ม ให้มีความหลากหลาย สะดวกต่อการบริโภค เป็นทางเลือกใหม่สำหรับ การบริโภคปลาส้ม รวมทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่พกพาง่ายและสะดวกและยังสามารถรับประทานได้ง่าย โดยไม่สูญเสียคุณค่าทางอาหารและรสชาติของปลาส้ม สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี โดยปลาส้มที่เลือกมาทำ ได้แก่ ปลานวลจันทร์, ปลายี่สก หรือปลาสวาย และมีส่วนประกอบ หลัก คือ ปลาส้ม, แป้งมัน, กระเทียม, พริกไทย น้ำตาลทราย และเกลือป่น นวดคลุกเคล้าให้เข้า และ ขั้นตอนการตากแห้ง จะตากแห้งในโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ จนได้เนื้อปลาส้มสามารถ นำไปทอด กรอบ พร้อมรับประทาน จากนั้นนำบรรจุในซองผนึกด้วยระบบสุญญากาศ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรและกรรมวิธีการผลิตปลาส้มผงโรยข้าว คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 190 300 3283 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ การประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับการผลิตปลาส้มผงโรยข้าว โดยปลาที่เลือกนำมาทำ ปลาส้มได้แก่ปลาตะเพียน หรือปลาจีน โดยมีส่วนประกอบหลัก คือ ปลาส้ม, ใบมะกรูด, กระเทียม, พริกแห้ง, น้ำตาลทรายและผงปรุงรส เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าพร้อมกับยกระดับ ผลิตภัณฑ์จากปลาส้ม ให้มีความหลากหลาย สะดวกต่อการบริโภค และสามารถเก็บรักษาไว้ รับประทานได้นานยิ่งขึ้น โดยไม่สูญเสียคุณค่าทางอาหารและรสชาติของปลาส้ม สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี โดยปลาที่เลือกนำมาทำปลาส้ม ได้แก่ ปลาตะเพียนหรือปลาจีน ซึ่งมีส่วนประกอบ หลัก คือ ปลาส้ม, พริกแห้ง กระเทียม ใบมะกรูด, น้ำตาลทรายและ ผงปรุงรส ที่ผ่าน กระบวนการต่าง ๆ แล้วนำแต่ละส่วนมาบด จากนั้นนำไปคลุกเคล้าผสมให้เข้ากันและนำไป บรรจุในซองผนึกด้วยระบบสุญญากาศ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์แกรนูลและเม็ดฟู่จากผลกาแฟและกระบวนการผลิต คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 190 300 3275 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาลีรักษ์ อัตต์สินทอง รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์แกรนูลและเม็ดฟู่จากผลกาแฟที่มีฤทธิ์ในการลดการสะสมของไขมัน เพิ่มการสลายไขมัน และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ ที่ซึ่งประกอบด้วย สารสกัดผลกาแฟในอัตราส่วนร้อยละ 1-5 กรัม การประดิษฐ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้ประโยชน์จากผลกาแฟให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยมี ประสิทธิภาพในการลดการสะสมของไขมัน เพิ่มการสลายไขมัน และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ และ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แกรนูลและเม็ดฟู่จากสารสกัดผลกาแฟ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์แกรนูลและเม็ดฟู่จากผลกาแฟและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์มีฤทธิ์ในการลดการ สะสมของไขมัน เพิ่มการสลายไขมัน และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ ที่ซึ่งประกอบด้วย สารสกัดผล กาแฟในอัตราส่วนร้อยละ 1-5 กรัม และกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยเป็นการใช้ประโยชน์จากของ เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมกาแฟให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์แคปซูลจากผลกาแฟและกระบวนการผลิต คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 300 0496 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาลีรักษ์ อัตต์สินทอง รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ การประดิษฐ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้ประโยชน์จากผลกาแฟให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยมี ประสิทธิภาพในการลดการสะสมของไขมัน เพิ่มการสลายไขมัน และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลใน ลำไส้ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แคปซูลจากสารสกัดผลกาแฟ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการพัฒนา ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์แคปซูลจากผลกาแฟและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์มีฤทธิ์ในการลดการ สะสมของไขมัน เพิ่มการสลายไขมัน และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ ที่ซึ่งประกอบด้วย สารสกัดผลกาแฟในอัตราส่วนร้อยละ 50-60 กรัม และกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดย เป็นการใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมกาแฟให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลงานทรัพย์สินทางปัญญา ด้านการเกษตรฯ และอื่นๆ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี หัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุนสำหรับการให้น้ำแก่พืชเฉพาะจุดแบบถอดเติมน้ำได้ คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 110 300 1042 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ 8046 โดยนักวิจัย ดร.สุขทัย พงศ์พัฒนศิริ, นายสาธิต จีนะสอน รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ การประดิษฐ์หัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุนสำหรับการให้น้ำแก่พืชเฉพาะจุดแบบถอดเติมน้ำได้ เกี่ยวข้องกับ หัวจ่ายน้ำเซรามิกแบบแนวดิ่งเพื่อการให้น้ำและปุ๋ยทางใต้ผิวดินแบบเฉพาะจุดบริเวณรากพืช โดยการสวม หัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุนเข้ากับปากขวดน้ำที่มีเกลียวหมุน แล้วฝังหัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุนไว้ ใต้ผิวดินใกล้ ต้นพืช ซึ่งหัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุนมีลักษณะเป็นทรงกรวยสองแบบ คือ หัวจ่ายน้ำเซรามิกรู- พรุนสำหรับ การให้น้ำแก่พืชเฉพาะจุดแบบถอดเติมน้ำได้ J-I (หัวจ่ายน้ำ J-I) และหัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุน สำหรับการ ให้น้ำแก่พืชเฉพาะจุดแบบถอดเติมน้ำได้ J-II (หัวจ่ายน้ำ J-II) ซึ่งหัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุนทั้ง สองแบบมี ความพรุนตัวสูงและมีความแข็งแรงทนทาน สามารถฝังไว้ที่ผิวดินและใต้ดินในระดับความลึก ต่างๆได้ ส่วนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุนทั้งสองแบบ คือดินเหนียวผสมกับวัสดุเพิ่มรู พรุน ที่ ซึ่งวัสดุเพิ่มรูพรุนนี้จะใช้ขี้เลื่อยจากไม้ร่อนละเอียดหรือวัสดุอินทรีย์สารประเภทต่างๆ ที่สามารถ สลายตัว ได้หลังการเผา เพื่อให้เกิดรูพรุนต่อเนื่องขนาดต่างๆ ที่มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำและปลดปล่อยน้ำ อย่าง ช้าๆ แบบต่อเนื่อง สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี หัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุนสามารถช่วยลดการระเหยของน้ำ การแน่นทึบของดินและ วัชพืช สามารถใช้ได้ ในการปลูกพืชแบบกระถาง สวนหย่อมหรือพื้นที่การเกษตรได้ ทั้งนี้ยังมีรูปแบบ วิธีการเติมน้ำและปุ๋ย เข้าไปยังขวดน้ำเพื่อให้น้ำแก่พืชผ่านหัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุนแบบถอดเติมน้ำได้ โดย สามารถใช้วิธีการตัด ก้นขวดให้เปิดปิดได้เพื่อง่ายต่อการเติมน้ำและปุ๋ยลงในขวดโดยไม่ต้องหมุนหัวจ่าย น้ำเซรามิกออก และ สามารถใช้วิธีการต่อระบบท่อส่งน้ำจากถังเก็บน้ำไปยังขวดน้ำที่สวมหัวจ่ายน้ำเซรา มิกได้โดยตรง ซึ่งไม่ ต้องเติมน้ำและปุ๋ยที่ขวดน้ำ สามารถต่อเป็นระบบถังน้ำเดียวต่อหัวจ่ายน้ำหรือต่อเป็น ระบบต่อเนื่องที่ เชื่อมหัวจ่ายน้ำหลายๆ หัวในระบบเดียว ตามความเหมาะในการปลูกพืช ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี อุปกรณ์บรรจุน้ำและให้น้ำทางผิวดินและใต้ผิวดิน คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 110 300 0153 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ 7415 โดยนักวิจัย ดร.สุขทัย พงศ์พัฒนศิริ, ดร.ชัยธำรง พงศ์พัฒนศิริ, นายสาธิต จีนะสอน รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ การประดิษฐ์นี้ เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์บรรจุน้ำและหัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุน เพื่อการให้น้ำแก่พืชทาง ใต้ ผิวดิน โดยอุปกรณ์บรรจุน้ำเป็นภาชนะเซรามิกที่ผลิตจากดินดำ มีรูปทรงเป็นลักษณะวงแหวนครึ่ง วงกลม รูปทรงสมมาตรมีความสูงและความหนาขนาดต่างๆ ภายในกลวงสามารถบรรจุน้ำได้ ด้านบนมี ฝาหรือช่องสำหรับใส่น้ำ และด้านล่างมีขอบด้านข้างที่ยื่นออกมาเพื่อป้องกันการเลื่อนของตัวอุปกรณ์ บรรจุน้ำ และภายในสามารถบรรจุน้ำได้ ด้านล่างมีรูสำหรับต่อกับข้อต่อที่เชื่อมกับวาล์วสำหรับจ่ายน้ำ หรือ ต่อกับท่อน้ำที่อีกปลายด้านหนึ่งของท่อน้ำนั้นต่อกับหัวจ่ายน้ำที่เป็นเซรามิกรูพรุน สำหรับหัวจ่ายน้ำ เซรามิ กรูพรุนนั้น ผลิตจากดินขาวที่เป็นส่วนเหลือทิ้งจากสายการผลิตของโรงงานเซรามิก และวัสดุเพิ่มรู พรุน คือ กากกาแฟ โดยหัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุนมีลักษณะเป็นทรงกรวย ที่มีขนาดและความแข็ง สามารถฝัง ไว้ ที่ผิวดินและใต้ดินในระดับความลึกต่างๆ ได้ ซึ่งภายในของหัวจ่ายน้ำเซรามิกรูพรุนมีช่องสำหรับเก็บ กักน้ำ เพื่อให้เซรามิกซึมซาบน้ำเข้าสู่ภายในและน้ำไหลผ่านไปได้ โดยช่องทางเข้าที่กล่าวมานี้จะมีข้อต่อ สำหรับต่อ ท่อส่งน้ำที่เชื่อมไปยังข้อต่อวาล์วของอุปกรณ์บรรจุน้ำ อุปกรณ์บรรจุน้ำและหัวจ่ายน้ำเซรามิกรู พรุนตาม สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี การประดิษฐ์นี้ เป็นระบบการให้น้ำแก่พืชทางใต้ผิวดินแบบน้ำซับ ซึ่งค่อยๆ ซึมซาบสู่ดิน แบบต่อเนื่อง และอัตโนมัติ โดยใช้แรงดันน้ำแบบ Negative Pressure และจะให้น้ำโดยตรงบริเวณรากพืช ซึ่ง ราก พืชสามารถเกาะและดูดน้ำจากหัวจ่ายเซรามิกรูพรุนได้ และยังสามารถช่วยลดการระเหยของน้ำ การแน่น ทึบของดินและวัชพืช สามารถใช้ได้ในการปลูกพืชแบบกระถางเดี่ยว และระบบต่อเนื่องที่ต่อท่อเป็นสาย ยาว ใต้ผิวดินได้ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรรมวิธีการผลิตชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืชแบบเชื้อผสม และชีวภัณฑ์ดังกล่าว คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 180 100 0510 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย ผศ.ดร.สุภัค มหัทธนพรรค รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ ผลิตชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืชแบบเชื้อผสม และชีวภัณฑ์ดังกล่าว ตามการประดิษฐ์นี้เป็นการ อธิบาย ถึงกรรมวิธีการผลิตชีวภัณฑ์ที่ประกอบด้วยขั้นตอนที่หนึ่ง การเตรียมสารพาที่มีอนุภาคขนาดเล็ก เพื่อเป็น อนุภาคเคลือบผิวลดความร้อนและลดการเกิดบาดแผลของพืชเนื่องจากการไหม้จากแสงแดด ขั้นตอนที่ สอง การเตรียมเชื้อที่ผ่านการทดสอบแล้วว่ามีคุณสมบัติเป็นเชื้อปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช และส่งเสริมการ เจริญเติบโตของพืชที่ผสมกันมากกว่า 1 ชนิด คือ เชื้อบาซิลลัส อะไมโลลิเควฟาเซียน (B. amyloliquefaciens; BA2) กับเชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส (B. subtilis; BS2) และขั้นตอนที่สาม การเตรี ยมสารละลาย ประกอบด้วย นํ้าตาล กลูโคส สารผงคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส และทัลคัม นำไปผสมกับ อนุภาคเมตาคาโอลีน ซึ่งจะได้ชีวภัณฑ์ป้องกัน ศัตรูพืชแบบเชื้อผสมในรูปแบบผง สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี การเตรียมสารพาที่มีอนุภาคขนาดเล็ก เพื่อเป็น อนุภาคเคลือบผิวลดความร้อนและลดการเกิด บาดแผลของพืชเนื่องจากการไหม้จากแสงแดด และการเตรียมเชื้อที่ผ่านการทดสอบแล้วว่ามีคุณสมบัติ เป็นเชื้อปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชที่ผสมกัน ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรอาหารนาโนเทคโนโลยีสำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเอ็มบริโอของซ้อ คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 190 100 7985 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ภพเก้า พุทธรักษ์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเอ็มบริโอ (Embryo) ของซ้อ (Gmelina arborea Roxb.) ในสภาพ ปลอดเชื้อ เพื่อให้เกิดต้นที่สมบูรณ์และสามารถออกปลูกได้ในธรรมชาติ :ซึ่งทำการเพาะเลี้ยงบน อาหารที่ปราศจากเชื้อประกอบด้วย คาร์บอนนาโนทิวบ์ (carbon nanotube) วุ้น และน้ำตาลทราย ที่ให้พลังงานแก่พืช โดยอาหารที่เติมคาร์บอนนาโนทิวบ์ ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่ามี ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด 11.78 เซนติเมตร และมีจำนวนรากเฉลี่ยมากที่สุด 12.90 เซนติเมตร จากนั้นย้ายปลูกลงดินในสภาพธรรมชาติเป็นผลสำเร็จ ทำให้ได้ต้นพืชที่ปลอดเชื้อและสมบูรณ์แข็ง แรง มีอัตราการอยู่รอดคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เพาะเมล็ดในสภาพธรรมชาติสามารถเจริญ เป็นต้นสมบูรณ์ได้ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งวิธีนี้สามารถนำไปขยายพันธุ์ในการอนุรักษ์พันธุ์ซ้อสู่ ธรรมชาติหรือในเชิงการค้า สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี การประดิษฐ์นี้พบว่า อาหารที่เติมคาร์บอนนาโนทิวบ์ ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร มีความ สูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด 11.78 เซนติเมตร และมีจำนวนรากเฉลี่ยมากที่สุด 12.90 เซนติเมตร หลัง จากการเพาะเลี้ยง 4 สัปดาห์ จากนั้นย้ายปลูกลงดินในสภาพธรรมชาติเป็นผลสำเร็จ ทำให้ได้ต้นพืชที่ ปลอดเชื้อและสมบูรณ์แข็งแรง มีอัตราการอยู่รอดคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เพาะเมล็ดใน สภาพธรรมชาติสามารถเจริญเป็นต้นสมบูรณ์ได้ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากประโยชน์ของซ้อมีนา นานัปการส่งผลให้ซ้อในธรรมชาติมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีนี้สามารถนำไปขยายพันธุ์ในการ อนุรักษ์พันธุ์ซ้อสู่ธรรมชาติหรือในเชิงการค้าได้ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตาข้างของคาวตอง ในสภาพปลอดเชื้อ คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 191 100 7986 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ภพเก้า พุทธรักษ์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ กรรมวิธีการฟอกฆ่าเชื้อตาข้างคาวตองด้วยสารละลายซิงค์ออกไซด์ (ZnO) ร่วมกับสารลายโซ เดียมไฮโปรคลอไรด์ (Sodium hypochlorite; NaClO) ที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน และการชัก นําให้ยอดใหม่จากชิ้นส่วนตาข้างคาวตอง โดยอาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงใช้อาหารสูตร Murashige และ Skoog (1962) ที่เติม BA (6-benzyl adenine) ที่ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 40 วัน พบว่า มีจำนวนยอดเฉลี่ยสูงสุด 9.26 ยอดต่อตาข้าง สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี การศึกษากรรมวิธีการฟอกฆ่าเชื้อตาข้างคาวตองด้วยสารละลายซิงค์ออกไซด์ (ZnO) ความเข้ม ข้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับสารลายโซเดียมไฮโปรคลอไรด์ (Sodium hypochlorite; NaClO) ที่ความเข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์ พบว่ามีอัตราการอยู่รอดคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ และการชัก นําให้ยอดใหม่จากชิ้นส่วนตาข้างคาวตอง โดยอาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงใช้อาหารสูตร Murashige และ Skoog (1962) ที่เติม BA (6-benzyl adenine) ที่ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เพาะ เลี้ยงเป็นเวลา 40 วัน พบว่า มีจำนวนยอดเฉลี่ยสูงสุด 9.26 ยอดต่อตาข้าง สามารถลดระยะเวลาใน การเพาะปลูกและเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว สูง นอกจากนี้สามารถนำต้นคาวตองที่ปลอดเชื้อไปผลิต สารทุติยภูมิ เพื่อสกัดสารที่มีสรรพคุณทางเภสัชกรรมได้อีกด้วย ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรอาหารที่ชักนำให้เกิดต้นที่สมบูรณ์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่มีใบคว่ำตาย หงายเป็นเป็นส่วนประกอบ คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 120 300 0401 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10170 โดยนักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ภพเก้า พุทธรักษ์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ การเพาะเลี้ยงส่วนใบอ่อนของต้นคว่ำตายหงายเป็นในสภาพปลอดเชื้อ เพื่อชักนำให้เกิดยอดจำนวนมากบนอาหาร MS ดัดแปลงที่เติม BA (N6-benzyl adenine) ความเข้มข้น 1.00, 3.00 และ 5.00 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA (α-Naphthalene acetic acid) ความเข้มข้น 0.10 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็น 25 วัน พบว่าที่ความเข้มข้นของ BA ร่วมกับ NAA มีผลต่อค่าเฉลี่ยจำนวนยอดและราก พบว่าทุกสูตรสามารถชักนำให้เกิดต้นที่สมบรูณ์ได้ และสูตรที่ สามารถชักนำให้เกิดต้นมากที่สุดคือ BA ความเข้มข้น 3.00 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA ความเข้มข้น 0.10 มิลลิกรัม ต่อลิตร โดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนยอดสูงสุด 243 ยอดต่อชิ้นส่วนพืช และย้ายปลูกลงดินได้เป็นผลสำเร็จ สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี สูตรอาหารที่ชักนำให้เกิดต้นสมบรูณ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของใบคว่ำตายหงายเป็น สามารถผลิตต้นพืชได้ จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วจากชิ้นส่วนใบ ทำให้ได้ต้นพืชที่ปลอดเชื้อ และสมบรูณ์แข็งแรง สามารถนำไปเพาะขยาย พันธุ์ต้นคว่ำตายหงายเป็นในเชิงการค้า ซึ่งคว่ำตายหงายเป็นเป็นไม้ดอกไม้ประดับเศรษฐกิจสามารถทำรายได้ใน เกษตรกรที่สนใจปลูก ช่วยลดระยะเวลาในการเพาะปลูกจากวิธีเดิม และสามารถผลิตต้นพันธ์ที่ปลอดโรคได้จำนวนมาก นอกจากนี้สามารถนำต้นพืชที่ปลอดเชื้อไปผลิตสารทุติยภูมิเพื่อสกัดสารที่มีสรรพคุณทางยาได้ เนื่องจากต้นคว่ำตาย หงายเป็นมีสรรพคุณทางยาหลากหลาย ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรการผลิตอาหารและกรรมวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากเมล็ดสตรอเบอรี่พันธุ์ พระราชทาน80 โดยใช้โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 210 300 2016 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ภพเก้า พุทธรักษ์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ เกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะทำการขยายพันธุ์สตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งวิธีที่เหมาะต่อการขยายพันธุ์ คือ เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ควรนำ เอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ไม่ว่าจะเป็นส่วนอวัยวะ หรือส่วนเนื้อเยื่อมาเพาะเลี้ยงบนอาหารที่ประกอบด้วย แร่ธาตุ น้ำตาล วิตามิน และสารควบคุมการเจริญเติบโต ภายใต้สภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์ (ภพเก้า พุทธรักษ์, 2556) แต่มีข้อจำกัดทาง ความรู้ทางเทคนิคและเครื่องมือที่มีราคาสูง จึงไม่แพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป (Kodym & Zapata- Arias, 2001, p.67) ซึ่งการทำให้อาหารปลอดเชื้อจุลินทรีย์เป็นเทคนิค ขั้นตอน หรือวิธีการที่สำคัญ ต้องอาศัยเครื่องมือ ที่จำเพาะและมีราคาสูง คือ หม้อนึ่งความดันไอน้ำ (Autoclave) (Plantmedia, 2010) จึงได้ทำการศึกษาการขยาย พันธุ์สตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยใช้โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) เพื่อลด ต้นทุนในการผลิตแทนการใช้ความร้อนจากหม้อนึ่งความดันไอน้ำ (Autoclave) นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาสูตรอาหาร ที่เติมน้ำซาวข้าวไรซ์เบอรี่ร่วมสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนิน (BA) และออกซิน (NAA) ต่อการเจริญเติบ โตของสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 ให้ได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะสมบูรณ์ แข็งแรง ผลผลิตมีคุณภาพสูง และปราศจาก เชื้อโรค สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากเมล็ดสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 (Fragaria × ananassa Duch.) ในสภาพปลอด เชื้อ โดยสูตรอาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่เติมโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) ร่วมกับเติมน้ำซาวข้าวไรซ์เบอรี่ ที่ และเติม สารควบคุมการเจริญเติบโตชนิด BA (6-benzyl adenine) และ NAA (1-Naphthalene acetic acid) เพาะ เลี้ยงเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สามารถขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนต้นสตรอเบอรีที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงสมบูรณ์ ปลอดโรค ในระเวลาอันสั้น การพัฒนาวิธีการโดยใช้โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารสังเคราะห์สูตร MS และทำให้ปราศจากเชื้อแทนการใช้หม้อนึ่งความดันไอน้ำ (Autoclave) สามารถลดต้นทุนและระยะเวลาในการผลิตให้กับ เกษตรกร ผู้ปลูกสตรอเบอรี่ และผู้ที่สนใจในการผลิตสตรอเบอรี่ปลอดโรคด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้ ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากใบเป็นยอดสมบูรณ์ของคาวตอง (Houttuynia Thunb.) ในสภาพปลอดเชื้อควบคุมอุณหภูมิ คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 190 100 7987 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ภพเก้า พุทธรักษ์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากใบคาวตองในสภาพปลอดเชื้อที่ควบคุมอุณหภูมิ แสง และความชื้น เพื่อชักนำให้เกิด ยอดให้ได้จำนวนมาก ซึ่งใช้เลี้ยงบนสูตรอาหาร MS (Murashige and SKoog, 1962) ดัดแปลงที่เติมสารควบคุม การเจริญเติมโตชนิด BA 6-benzyl adenine) และ NAA (1-Naphthalene acetic acid) ที่ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับสารละลายซิงค์ ออกไซด์ (ZnO) ที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 40 วัน พบว่า มีจำนวนยอดเฉลี่ยสูงสุด 6.60 ยอดต่อชิ้นส่วนพืช และความยาวยอดเฉลี่ย 3.63 เซนติเมตรต่อยอด สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี การประดิษฐ์สูตรอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากใบเป็นยอดสมบูรณ์ของคาวตอง (Houttuynia cordata Thunb.) ในสภาพปลอดเชื้อควบคุมอุณหภูมินี้ จะใช้อาหารในการเพาะเลี้ยงคือสูตร Murashige และ Skoog (1962) ดัดแปลงที่เติมสารควบคุมการเจริญเติมโตชนิด BA (6-benzyl adenine) และ NAA (1-Naphthalene acetic acid) ที่ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับสารละลายซิงค์ออกไซด์ (ZnO) ที่ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อ ลิตร เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 40 วัน พบว่า มีจำนวนยอดเฉลี่ยสูงสุด 6.60 ยอดต่อชิ้นส่วนพืช และความยาวยอดเฉลี่ย 3.63 เซนติเมตรต่อยอด สามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว รักษาพันธุกรรมสายพันธุ์คาวตอง และลดระยะเวลาใน การเพาะปลูก นอกจากนี้สามารถนำต้นคาวตองที่ปลอดเชื้อไปผลิตสารทุติยภูมิ เพื่อสกัดสารที่มีสรรพคุณทาง เภสัชกรรมได้อีกด้วย ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไก่พื้นเมืองโดยมีใบย่านาง ใบบัวบก ใบเตย เป็นส่วนผสม คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 200 300 1193 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมสำหรับไก่พื้นเมือง ประกอบด้วย ใบย่านาง ใบบัวบก ใบเตย ยีสต์ Saccharomyces Cerevisiae และแป้งกล้วย มีกรรมวิธีการผลิต นำวัตถุดิบที่ถูกหั่นเป็นชิ้นๆดังกล่าวมาผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำมาผสมใน อาหารสัตว์สำหรับไก่พื้นเมือง โดยใช้เครื่องผสมอาหาร เพื่อพัฒนาอาหารเสริมสำหรับไก่พื้นเมือง เพื่อเพิ่มสมรรถภาพ การผลิตไก่พื้นเมืองให้ดีขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในระดับครัวเรือนตลอดจนระดับฟาร์มมีรายได้ เพิ่มขึ้น ทั้งนี้การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับไก่พื้นเมืองในระดับอุตสาหกรรมยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับ ใบย่านาง ใบบัวบก ใบเตย ซึ่งเป็นสมุนไพรที่หาได้ทั่วไปในท้องถิ่น สร้างรายได้ให้เกษตรกรในท้องถิ่นได้ สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี สูตรและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไก่พื้นเมืองโดยมีใบย่านาง ใบบัวบก ใบเตย เป็นส่วนผสม เป็นการ นำสมุนไพรในท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติที่ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระและสารออกฤทธิ์ที่สำคัญต่อการเพิ่มสมรรถภาพการ ผลิตไก่พื้นเมืองมาแปรรูปและนำมาใช้เป็นส่วนผสมในสูตรอาหารเสริม ทำให้ไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงมีอัตราการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กิน การแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และน้ำหนักตัวที่ดีขึ้น ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สูตรและกรรมวิธีการผลิตอาหารเสริมสำหรับไก่แม่พันธุ์พื้นเมืองที่มีกวาวเครือขาว เป็นส่วนผสม คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 200 300 1192 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับไก่แม่พันธุ์พื้นเมือง ประกอบด้วย กวาวเครือขาว ยีสต์ Saccharomyces Cerevisiae และแป้งกล้วย มีกรรมวิธีการผลิต นำวัตถุดิบที่ผ่านการแปรรูปเป็นผงดังกล่าวมาผสมให้เป็นเนื้อ เดียวกัน จากนั้นเอามาผสมในอาหารสัตว์สำหรับไก่แม่พันธุ์ โดยใช้เครื่องผสมอาหารเพื่อพัฒนาอาหารเสริมที่สามารถ เพิ่มสมรรถภาพการผลิตไก่แม่พันธุ์พื้นเมืองให้ดีขึ้น สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี สูตรและกรรมวิธีการผลิตอาหารเสริมสำหรับไก่แม่พันธุ์พื้นเมืองที่มีกวาวเครือขาว เป็นส่วนผสมมีกรรมวิธีการผลิต คือ นำวัตถุดิบ มาผสมกันในภาชนะ โดยผสมวิตถุดิบให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำสูตรอาหารเสริมที่มีกวาวเครือขาว เป็นส่วนผสม มาผสมกับอาหารไก่แม่พันธุ์ในเครื่องผสมอาหาร โดยผสมสูตรอาหารเสริมกับอาหารไก่แม่พันธุ์ให้เป็นเนื้อ เดียวกัน แล้วนำอาหารที่ผสมแล้วมาให้ไก่แม่พันธุ์พื้นเมืองกินปริมาณ 100-150 กรัมต่อตัวต่อวัน โดยให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและบ่าย เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เลี้ยงไก่แม่พันธุ์ในโรงเรือนระบบเปิด อาหารเสริมสำหรับไก่แม่พันธุ์พื้น เมืองที่มีกวาวเครือขาว ยีสต์ Saccharomyces Cerevisiae และแป้งกล้วยนี้จะทำให้ไข่ไก่ที่ได้มีปริมาณการให้ไข่ การแลกเปลี่ยนอาหารเป็นไข่ และอัตราการฟักออกที่ดีขึ้น ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี แกรนูลปูนแดงเคลือบมะแขว่น คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 160 300 0037 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12678 โดยนักวิจัย ผศ.ดร.มาลีรักษ์อัตต์สินทอง รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ แกรนูลปูนแดงเคลือบมะแขว่นตามการประดิษฐ์นี้ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ 1) แกรนูล ประกอบด้วย เพคติน แป้งข้าวโพด ผงปูนแดง น้ำมันมะแขว่น และแป้งเปียก 2) น้ำยาเคลือบ ประกอบด้วย เพคติน น้ำมันมะแขว่นและอะซิโตน การประดิษฐ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ก่อให้เกิด ผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ยาวนานมากขึ้น สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี แกรนูลปูนแดงเคลือบมะแขว่นได้จากทำแกนกลาง ซึ่งเกิดจากฤทธิ์ของปูนแดงผสมมะแขว่น และทำให้อยู่ในรูปแกรนูล จากนั้นเคลือบด้วยน้ำมันมะแขว่นซึ่งออกฤทธิ์ในการกำจัดลูกน้ำยุง ลาย ได้ประมาณ 1 เดือน โดยจะลดการเกิดฝ้า ได้ดีกว่าการใช้ปูนแดงเพียงอย่างเดียว ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กระบวนการผลิตน้ำหมักเพื่อหมักเคลือบผ้าให้มีคุณสมบัติต้านแบคทีเรีย และส่วนผสมน้ำหมัก คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 190 300 3271 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์กฤษณา พุกอินทร์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตน้ำหมักเพื่อหมักเคลือบผ้าให้มีคุณสมบัติต้านแบคทีเรียและส่วนผสมน้ำหมักหรืออาหาร เหลวที่ใช้เพาะเลี้ยง Streptomyces sp. สายพันธุ์ที่ผลิตสารต้านแบคทีเรียแกรมบวก ซึ่งมีองค์ประกอบ ของแป้งบริโภคที่ใช้เติมในน้ำหมัก ประกอบด้วย แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง หรือแป้ง ข้าวโพด ที่ใช้ทดแทนโซลูเบิลสตาร์ช สูตรน้ำหมักที่ประดิษฐ์ขึ้นประกอบไปด้วย แป้งบริโภค เคซีน และเกลือ ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต เฟอรัสซัลเฟต แมกนีเซียมซัลเฟต โปแทสเซียมไนเตรท ไดโพแทสเซียมฟอสเฟต โซเดียมคลอไรด์ โดยการผลิตน้ำหมักประกอบด้วยการต้มน้ำแป้งบริโภคให้สุกแล้ว ผสมเข้ากับส่วนประกอบอื่นๆ จากนั้นปรับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ปรับปริมาตรด้วยน้ำสะอาด และทำให้ ปราศจากเชื้อด้วยการนึ่งในหม้อนึ่งความดันไอเพื่อทำให้ปราศจากเชื้อ กระบวนการผลิตน้ำหมักเพาะเลี้ยง Streptomyces sp. สายพันธุ์ที่ผลิตสารต้านแบคทีเรียแกรมบวก โดยใช้แป้งบริโภคชนิดต่าง ๆ ทดแทนโซลูเบิลสตาร์ช เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตน้ำหมัก เนื่องจากแป้ง บริโภคที่ผลิตภายในประเทศ มีราคาถูกกว่าแป้งชนิดที่ใช้ในห้องปฏิบัติการหรือโซลูเบิลสตาร์ช ซึ่งสูตรน้ำหมัก ที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ สามารถเพาะเลี้ยงและกระตุ้นให้ Streptomyces sp. สายพันธุ์ที่ผลิตสารต้านแบคทีเรียแก รมบวก เจริญและสร้างสารต้านแบคทีเรียแกรมบวกได้ สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี กระบวนการผลิตน้ำหมักเพื่อหมักเคลือบผ้าให้มีคุณสมบัติต้านแบคทีเรียและส่วนผสมน้ำหมักหรืออาหาร เหลวที่ใช้เพาะเลี้ยง Streptomyces sp. สายพันธุ์ที่ผลิตสารต้านแบคทีเรียแกรมบวก ซึ่งมีองค์ประกอบ ของแป้งบริโภคที่ใช้เติมในน้ำหมัก ประกอบด้วย แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง หรือแป้ง ข้าวโพด ที่ใช้ทดแทนโซลูเบิลสตาร์ชกระบวนการผลิตน้ำหมักเพาะเลี้ยง Streptomyces sp. สายพันธุ์ที่ผลิต สารต้านแบคทีเรียแกรมบวกเพื่อพัฒนาเป็นส่วนประกอบในการผลิตผ้าต้านแบคทีเรีย ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กระบวนการผลิตผ้าต้านแบคทีเรียแกรมบวกด้วยการหมักผ้าร่วมกับแอคติโน แบคทีเรียและกรรมวิธีการสกัดสารเคลือบและตรึงสารโดยตรงจากการหมัก ด้วยการใช้ความร้อน คำขอรับอนุสิทธิบัตร - คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 190 300 3272 - อนุสิทธิบัตร เลขที่ - โดยนักวิจัย อาจารย์กฤษณา พุกอินทร์ รายละเอียดและที่มาของผลิตภัณฑ์ วิธีการผลิตผ้าฝ้ายต้านแบคทีเรียแกรมบวก ประกอบด้วยการทำความสะอาดผ้าฝ้าย การหมักผ้าฝ้ายกับ น้ำหมักแอคนิโนแบคทีเรียที่ผลิตสารต้านแบคทีเรีย การสกัดและเคลือบผ้าฝ้ายโดยตรงด้วยความร้อนตั้งแต่ 63-121 องศาเซลเซียส การทำความสะอาดผ้าฝ้ายหลังหมักและเคลือบผ้าแล้ว และการทำให้แห้ง จากนั้นจะได้ ผ้าฝ้ายต้านแบคทีเรียแกรมบวก โดยจะนำผลิตภัณฑ์ผ้าที่ได้มาทดสอบการต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก กับ เชื้อมาตรฐานการตรวจสอบการต้านเชื้อของสิ่งทอตามมาตรฐาน AATCC ด้วยเชื้อ Staphylococcus aureus ATCC 25923 ซึ่งกระบวนการผลิตผ้าฝ้ายต้านแบคทีเรียที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน องค์ ประกอบหลักที่ใช้ในน้ำหมักผ้าฝ้ายต้านเชื้อมีราคาถูก สารเคลือบผ้าที่แอคติโนผลิตขึ้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเพิ่มประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผ้าฝ้ายในการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอต้านเชื้อแบคทีเรียในเชิง อุตสาหกรรมในอนาคต สรุปจุดเด่นของเทคโนโลยี กระบวนการผลิตผ้าต้านแบคทีเรียแกรมบวกด้วยการหมักผ้าร่วมกับแอคติโนแบคทีเรียและกรรมวิธีการ สกัดสารเคลือบและตรึงสารโดยตรงจากการหมักด้วยการใช้ความร้อนที่ซึ่งประกอบด้วยการทำความสะอาดผ้า การหมักผ้ากับน้ำหมักแอคนิโนแบคทีเรียที่ผลิตสารต้านแบคทีเรีย การสกัดและเคลือบผ้าฝ้ายโดยตรงด้วย ความร้อนตั้งแต่ 63-121 องศาเซลเซียส การทำความสะอาดผ้าฝ้ายหลังหมักและเคลือบผ้าแล้ว และการทำให้ แห้ง จนได้ผ้าต้านแบคทีเรียแกรมบวก ซึ่งกระบวนการผลิตผ้าต้านแบคทีเรียที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ ไม่ยุ่งยากซับ ซ้อน องค์ประกอบหลักที่ใช้ในน้ำหมักผ้าต้านเชื้อมี ราคาถูก สารเคลือบผ้าที่แอคติโนผลิตขึ้นเป็นมิตรต่อสิ่ง แวดล้อม สามารถเพิ่มประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผ้าในการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอต้านเชื้อแบคทีเรียในเชิง อุตสาหกรรมในอนาคต ความร่วมมือที่เสาะหา - เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ [email protected]


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook