Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 3. บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสูตร

3. บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสูตร

Published by aj.sujitra, 2020-08-19 03:31:08

Description: 3. บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสูตร

Keywords: หลักสูตร

Search

Read the Text Version

1 บทท่ี 1 ความรู้เบือ้ งตน้ เกีย่ วกับหลักสตู ร ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสูตรเป็นการสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร ท้ังนีป้ ระกอบไปด้วย ความหมาย ความสาคัญ ระดับหลักสูตร ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร เช่น ปรัชญาการศึกษา จิตวิทยาและสังคมที่เป็นปัจจัยสาคัญในการกาหนดจุดมุ่งหมายของ หลกั สตู ร 1.1 ความหมายของหลักสตู ร คาว่า “หลักสูตร” แปลมาจากคา ในภาษาอังกฤษ คือ“curriculum” ซึ่งมีรากศัพท์มา จากภาษาลาติน “currere” หมายถึง “running course” หรือเส้นทางที่ใช้แข่ง ต่อมาได้นาศัพท์ มาใช้ในทางการศึกษาว่า “running sequence or learning experience” (Armstrong, 1986) หลักสตู รจึงเปน็ ศพั ท์ทางการศึกษาที่มคี วามหมายหลากหลายและแตกต่างกนั ไป เชน่ ทาบา (Taba, 1962) กล่าวว่า “หลักสูตร” หมายถึง เอกสารที่จัดทาขึ้น เพื่อระบุ เปูาหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนือ้ หาสาระ กิจกรรมหรอื ประสบการณ์การเรียนรู้ และ การประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตร อันเดิมให้ได้ผลดียิ่งข้นึ ในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเน้ือหาการเรียนการสอน การวัดและ ประเมินผลเพื่อบรรลุจุดมงุ่ หมายใหมท่ ีว่ างไว้ กู๊ด (Good,1973) ได้ให้ความหมายของคาศัพท์ไว้ในพจนานุกรมทางการศึกษา (Dictionary of Education) ว่า หลักสูตรคือ กลุ่มรายวิชาที่จัดไว้อย่างเป็นระบบหรือลาดับวิชาที่ บังคับสาหรับการจบการศึกษาหรือมาเพื่อรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหลักต่างๆ เช่น หลักสูตรสังคมศกึ ษา หลกั สตู รพลเรือนศึกษา โบแชมพ์ (Beauchamp,1981) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตร 3 สถานะคือ 1) ความหมายของหลักสูตรในขอบเขตของศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งศึกษาถึงกระบวนการพัฒนา หลักสูตร วิธีใช้หลักสูตร 2)ความหมายของหลักสูตรในขอบเขตของข้อกาหนดเกี่ยวกับการ เรียนการสอนที่เขียนขึ้นอย่างเป็นทางการ และ 3) ความหมายของหลักสูตรในฐานะระบบ หลักสตู รคือมกี ารพัฒนาหลกั สตู ร การนาหลักสตู รไปใช้และการประเมินผลหลักสตู ร

2 เซย์เลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Sayler, Alexander and Lewis. 1981) ได้ให้ ความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร หมายถึงการจัดเตรียมมวลประสบการณ์การเรียนรู้ เพือ่ ให้ผู้เรียนเกิดสัมฤทธิ์ผล ความมุ่งหมายทางการศึกษาอย่างกว้างๆ และจุดมุ่งหมายเฉพาะ โรงเรียน โอลิวา (Oliva, 1992) ได้ให้นิยามความหมายของหลักสตู ร โดยแบ่งเป็น 1. การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ (Purpose) หลักสูตรมีภาระหน้าที่ที่จะทาให้ผู้เรียน ควรจะเป็นอย่างไรหรือมีลักษณะอย่างไร หลักสูตรแนวคิดนี้จึงมีความหมายในลักษณะที่เป็น วิธีการที่นาไปสู่ความสาเร็จตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย เช่น หลักสูตรคือ การถ่ายทอดมรดก ทางวัฒนธรรม หลักสตู ร คือ การพฒั นาทกั ษะการคิดของผเู้ รียน เป็นต้น 2. การให้นิยามโดยยึดบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Contexts) นิยามหลกั สูตรในลกั ษณะนี้ เปน็ การอธิบายถึงลกั ษณะท่ัวไปของหลกั สตู รซึง่ แล้วแต่วา่ เนือ้ หาสาระของหลักสูตรมลี ักษณะ เปน็ อย่างไร เช่น หลกั สูตรทีย่ ึดเน้ือหาวิชา หลกั สูตรที่ยึดผเู้ รียนเปน็ ศนู ย์กลางหลักสตู รเพื่อ การปฏิรปู สงั คม เป็นต้น 3. การให้นิยามโดยยึดวิธีดาเนินการหรือยุทธศาสตร์ (Strategies) เป็นการให้นิยาม หลักสูตรในเชิงวิธีดาเนินการที่เป็นกระบวนการยุทธศาสตร์หรือเทคนิควิธีการที่ใช้ในการจัด การเรียนการสอน เช่น หลักสูตรคือ กระบวนการแก้ปัญหา หลักสูตรคือการทางานกลุ่ม หลักสูตรคือ การเรียนรู้รายบุคคล หลักสูตรคือ โครงการหรือแผนการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น โอลิวาได้สรุปความหมายของหลกั สูตรคือ แผนงานหรือโครงการสาหรับประสบการณ์ ทั้งหลายทีโ่ รงเรียนจัดให้แก่ผู้เรียน โดยแผนงานหรือโปรแกรมน้ันถูกระบุเป็นลายลักษณ์อักษร เพือ่ เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ มีขอบเขตกว้างขวาง หลากหลาย ดังน้ันหลักสูตรจึงเป็นท้ัง หนว่ ยการเรียน (Unit) รายวิชา (Course)หรือหัวข้อย่อยในรายวิชา (Sequence of courses) ท้ังนี้ แ ผ น ง า น ห รื อ โ ค ร ง ก า ร ท า ง ก า ร ศึ ก ษ า ดั ง ก ล่ า ว อ า จ เ กิ ด ขึ้ น ใ น แ ล ะ น อ ก ชั้ น เ รี ย น ภ า ย ใ ต้ การอานวยการของโรงเรยี น โซเวลล์ (Sowell, 1996) ได้กล่าวว่า มีผู้อธิบายความหมายของหลักสูตรไว้อย่าง มากมาย เช่น หลักสูตรเป็นการสะสมความรู้ด้ังเดิม เป็นวิธีการคิด เป็นประสบการณ์ที่ถูก กาหนดไว้เป็นแผนการจัดสภาพการเรียนรู้ เป็นความรู้และคุณลักษณะของผู้เรียน เป็นเน้ือหา และกระบวนการ เป็นแผนการเรียนการสอน เป็นจุดหมายปลายทางและผลลัพธ์ของการ จัดการเรยี นการสอนและเปน็ ผลผลติ ของระบบเทคโนโลยี เป็นต้น

3 บีนและคนอื่นๆ (Beane & others. 1986) สรุปความหมายของหลักสูตรไว้โดยใช้ เกณฑ์ความเป็นรูปธรรม (Concrete) ไปสู่นามธรรม (Abstract) และจากการยึดโรงเรียนเป็น ศูนย์กลาง (School - centered) ไปสู่การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner - centered) โดยได้ อธิบายไว้ ดงั นี้ 1. หลักสตู ร คอื ผลผลิตทีเ่ กิดขึ้นจากกระบวนการจัดการศึกษา (Curriculum as product) 2. หลักสตู ร คอื โครงการหรือแผนการในการจัดการศึกษา (Curriculum as program) 3. หลักสูตร คือ การเรียนรู้ที่กาหนดไว้อย่างมีความหมาย (Curriculum as intended learning) 4. หลักสูตร คือ ประสบการณ์ของผู้เรียน (Curriculum as experience of the learner) ปรนิ้ ท์ (Print, M. 1993) ได้ศึกษานิยมหลักสูตรและสรปุ ไว้วา่ หลกั สตู รจะกล่าวถึง 1. แผนการจัดประสบการณก์ ารเรียนรู้ 2. สิง่ ที่เสนอในสถาบนั การศึกษา/โปรแกรมการศึกษา 3. การนาเสนอในรปู เอกสาร 4. รวมถึงผลของประสบการณ์จากการนาเอกสารต่างๆไปใช้ สมิธ (Smith, M.K. 1996) ได้ให้แนวคิดในการนิยาม “หลักสูตร” ตามทฤษฏีและการปฏิบัติ หลกั สตู รมี 4 ทิศทางดังต่อไปนี้ 1. หลักสูตรเปน็ องค์ความรทู้ ีจ่ ะส่งผา่ นให้ผู้เรยี น 2. หลกั สตู รเปน็ ความพยายามที่จะช่วยใหผ้ เู้ รียนมีผลสัมฤทธิ์ 3. หลกั สตู รเปน็ กระบวนการ 4. หลักสูตรเป็น Praxis หมายถึง การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการ ปฏิบัตินน้ั นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคาว่า \"หลักสูตร\" ด้วยอักษรย่อ SOPEA ซึ่งหมายถึง - S (Curriculum as Subjects and Subject Matter) หลักสูตร คือ รายวิชาหรือ เนือ้ หาวิชาที่เรยี น - O (Curriculum as Objectives) หลักสูตร คือ จดุ หมายที่ผู้เรยี นพึงบรรลุ

4 - P (Curriculum as Plans) หลักสูตร คือ แผนสาหรับจัดโอกาสการเรียนรู้ หรอื ประสบการณแ์ ก่นกั เรียน - E (Curriculum as Learners, Experiences) หลักสูตร คือ ประสบการณ์ทั้ง ปวงของผู้เรยี นทีจ่ ัดโดยโรงเรยี น - A (Curriculum as Educational Activities) หลักสูตร คือ กิจกรรมทาง การศกึ ษาที่จดั ใหก้ ับนกั เรียน หลักสูตรในความหมายเดิมจะหมายถึง รายวิชาต่างๆ ที่นักเรียนจะต้องเรียน ส่วนความหมายใหม่ จะหมายถึง มวลประสบการณ์ท้ังหมดที่นักเรียนจะได้ภายใต้คาแนะนา และความรบั ผดิ ชอบของโรงเรียน นกั การศกึ ษาประเทศไทย ได้ให้ความหมายของคาว่าหลกั สูตรไว้ เชน่ กาญจนา คุณารกั ษ์ (2540) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึง โครงการหรือแผนข้อกาหนด อันประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง กิจกรรมและวัสดุต่างๆ ในการจัดการเรียน การสอนที่จะพัฒนาผู้เรียนมีความสามารถและเกิดการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เอกัตบุคคลไปสู่ ศกั ยภาพสงู สุดของตนเอง ธารง บัวศรี (2542) กล่าวว่า หลักสูตร คือแผนซึ่งได้รับการออกแบบจัดทาขึ้นเพื่อ แสดงจุดหมาย การจัดเน้ือหากิจกรรมและประมวลประสบการณ์ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา เพือ่ ให้ผู้เรยี นมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ตามจุดหมายที่กาหนดไว้ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554) กล่าวว่า หลักสูตร มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “race- course” หมายถึง เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งขัน เนื่องมาจากเปูาหมาของหลักสูตรที่มุ่งหวังให้ผู้เรียน สามารถเจรญิ เติบโตเปน็ ผู้ใหญ่ทีม่ ีคุณภาพและประสบความสาเร็จในการดารงชีวิตอยู่ในสังคม แหง่ อนาคตและในปจั จบุ ันความหมายของหลกั สูตร หมายถึง มวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้ ที่กาหนดไว้ในรายวิชา กลุ่มวิชา เนื้อหาสาระรวมท้ังกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดาเนินการจัด การเรียนรใู้ ห้กับผเู้ รียนอย่างมีประสิทธิภาพ หากจะสรุปความหมายของหลักสูตรจากนักการศึกษาหลายท่าน สามารถสรุป แนวความคิดเกี่ยวกบั ความหมายของหลักสูตรใหช้ ัดเจนได้ดงั นี้ 1. หลกั สตู รในฐานะทีเ่ ป็นวิชาเนือ้ หาสาระทีจ่ ดั ใหแ้ ก่ผู้เรยี น หลักสูตรในฐานะที่เป็นวิชาเนื้อหาสาระน้ัน หมายถึง วิชาและเนื้อหาสาระที่กาหนด ให้ผู้เรียนต้องเรียนในช้ันและระดับต่างๆ หรือกลุ่มวิชาที่จัดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างใด อย่างหนึง่ เช่น หลักสตู รเตรยี มแพทย์ หลกั สูตรธรุ กิจ หลักสูตรเกษตรอินทรีย์ หลักสูตรอาหาร ไทย เป็นต้น

5 ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแนวคิดสาคัญของหลักสูตรยังคงเป็นวิชาและเนื้อหาวิชาที่ ครูสอนให้และนักเรียนใช้เรียนในสถาบันการศึกษาในระดับต่างๆ แม้ว่าได้มีความพยายามหา ความหมายของหลักสูตรที่กว้างกว่านั้นแต่อย่างไรก็ตามหลักสูตรนี้ก็ถือเป็นพื้นฐานสาคัญใน การจดั หลักสตู ร 2. หลกั สูตรในฐานะที่เป็นเอกสารหลกั สูตร กลุ่มนี้เป็นการจัดความหมายในตัวเอกสารหลักสูตรที่ประกอบด้วย จุดหมาย หลักการ โครงสร้าง เน้ือหาสาระ อัตราเวลาเรียน กิจกรรมประสบการณ์และประเมินผลการ เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถ มีเจตคติในการอยู่ร่วมกัน มีพฤติกรรมที่กาหนดไว้ใน จุดมุ่งหมายของหลักสูตร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบ หลักสูตร เอกสารหลักสูตรเป็นเอกสารที่กล่าวถึงเนื้อหาสาระหลักสูตรโดยตรง คือ มี จุดมุ่งหมาย หลักการ โครงสร้างและเน้ือหาที่จัดไว้ในหลักสูตรน้ันๆ เช่น หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาข้ันพื้นฐาน พ.ศ.2551 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต หลกั สตู รครศุ าสตรบัณฑติ เป็นต้น 3. หลักสูตรในฐานะที่เป็นกิจกรรมต่าง ๆ ทีจ่ ะให้แก่นกั เรียน 4. หลักสูตรในฐานะแผนสาหรบั จดั โอกาสการเรียนรู้หรือประสบการณ์ทีค่ าดหวังแก่นักเรียน 5. หลักสตู รในฐานะที่มวลประสบการณ์ 6. หลักสตู รในฐานะที่เป็นจดุ หมายปลายทาง 7. หลักสูตรในฐานะที่เป็นระบบการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน นอกจากน้ันยังมีคาทีม่ คี วามหมายใกล้เคียงกบั หลักสตู รอีก เปน็ ต้นว่า 1. โปรแกรมการเรียน (A Program of Studies) คานี้ใช้แทนความหมายของหลักสูตร ซึ่ง คนทั่วๆไปใช้คล้ายกับรายการเรียงลาดับรายวิชา ปัจจุบันยังมีการใช้คานี้ในการจัด การศกึ ษาอดุ มศกึ ษาโดยการจัดลาดบั รายวิชา 2. เอกสารการเรียน (A Document) เป็นการนิยามความหมายของหลักสูตรตาม จุดมงุ่ หมายทีจ่ ะให้ศกึ ษาเพือ่ เสนอต่อผู้มาติดต่อที่สถานศึกษา 3. แผนการจัดกิจกรรม (Planned Experiences) หมายถึง กิจกรรมทั้งมวลที่โรงเรียน จัดให้นักเรียนและการวางแผนหลกั สตู รเปน็ การเตรยี มการให้โอกาสกับผเู้ รียน จากการศึกษาความหมายของนักการศึกษาหลายท่าน สรุปได้ว่า ความหมายขอ ง หลักสูตรคือมวลประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดให้กับผู้เรียนทุกอย่าง ท้ังโปรแกรมการเรียน

6 กิจกรรม โครงการและอื่นๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เพือ่ ให้ประสบการณ์นน้ั มคี วามหมายต่อผู้เรยี น 1.2 ความสาคญั ของหลักสตู ร ห ลั ก สู ต ร มี ค ว า ม ส า คั ญ เ พ ร า ะ เ ป็ น แ น ว ท า ง ที่ จ ะ ท า ใ ห้ ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น เ กิ ด ประสิทธิภาพ ความสาคญั ของหลักสูตรที่มีต่อการจดั การศึกษาน้ัน นักการศึกษาหลายท่านได้ กล่าวตรงกนั ว่า หลักสูตรมีความสาคญั ต่อการจัดการศึกษา ทั้งนี้ ธารง บวั ศรี (2532) ได้กล่าวว่า หลักสตู รมีความสาคัญเพราะหลักสูตรเป็นส่วน กาหนดมาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยมี รายละเอียดที่บ่งชีว้ ่าผเู้ รียนควรเรียนรอู้ ะไร มีเน้ือหาสาระมากน้อยเพียงไร ควรได้รับการฝึกฝน ให้มีทักษะในด้านใดและควรมีพัฒนาการท้ังในส่วนของร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างไร สุมิตร คุณานุกร (2536) ได้กล่าวถึง ความสาคัญของหลักสูตรว่าหลักสูตรมี ความสาคัญเพราะเป็นเคร่ืองชี้นาทางหรือเป็นบทบัญญัติของรัฐในการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้ที่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานาไปปฏิบัติ อีกทั้งยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานทางการศึกษา และควบคุมการจดั การเรียนการสอนของสถานศกึ ษา ใจทิพย์ เชอื้ รัตนพงษ์ (2539) ได้กล่าวว่า การที่จะทราบว่าการศึกษาในระดับต่างๆ จะ ดีหรือไม่ดีสามารถดูจากหลักสูตรการศึกษาในระดับนั้นๆ ของประเทศ เพราะหลักสูตรเป็น เคร่ืองมือในการปรับปรุงจุดมุ่งหมายและนโยบายทางการศึกษาของชาติเข้าสู่การปฏิบัติใน สถาบันการศึกษาระดับต่างๆ หลักสตู รจะเป็นเสมือนกบั หางเสือที่จะคอยกาหนดทิศทางให้การ เรียนการสอนเป็นไปตามความมุ่งหมายของการศึกษาหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ หลักสูตรเป็น เคร่ืองชี้นาทางในการจัดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียนซึ่งครูจะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน หลักสูตรจึงเป็นหัวใจสาคัญของการศึกษาและ เป็นเคร่ืองชี้ถึงความเจริญของชาติ ประเทศที่มีหลักสูตรที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ ประเทศ น้ันกจ็ ะมีคณุ ภาพการจัดการศึกษาให้กบั คนในชาติ

7 จากความสาคญั ของหลกั สตู รตามทศั นะของนกั การศึกษาดังกล่าวแล้วจึงสรุปเป็นข้อๆ ดงั น้ี 1. หลักสูตรเป็นเสมือนเบ้าหลอมพลเมืองให้มคี ุณภาพ 2. หลักสูตรเป็นมาตรฐานของการจดั การศกึ ษา 3. หลกั สูตรเปน็ โครงการและแนวทางในการให้การจัดการศึกษา 4. ในระดับโรงเรยี นหลกั สูตรจะให้แนวการปฏิบตั ิแก่ครู 5. หลักสูตรเป็นแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็ก ตามจดุ มงุ่ หมายของการศกึ ษา 6. หลกั สตู รเปน็ เครื่องกาหนดแนวทางในการจดั ประสบการณ์ว่าผู้เรียนและสังคมควร จะได้รับสิง่ ใดบ้างทีจ่ ะเปน็ ประโยชน์แก่เด็กโดยตรง 7. หลกั สูตรเป็นเคร่ืองกาหนดว่าเน้ือหาวิชาอะไรบ้างที่จะช่วยให้เด็กมีชีวิตอยู่ในสังคม อย่างราบรน่ื เปน็ พลเมืองที่ดีของประเทศชาติและบาเพ็ญตนใหเ้ ปน็ ประโยชน์แก่สังคม 8. หลกั สตู รเป็นเครือ่ งกาหนดว่าวิธีการดาเนินชีวิตของเด็กให้เป็นไปด้วยความราบร่ืน และผาสกุ เป็นอย่างไร 9. หลกั สตู รย่อมทานายลักษณะของสงั คมในอนาคต 10. หลักสูตรกาหนดแนวทางความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ ทักษะและเจตคติ ของผู้เรยี นทีจ่ ะอยู่ร่วมกันในสงั คม บาเพญ็ ตนให้เปน็ ประโยชน์ตอ่ ชุมชนและบ้านเมือง 1.3 องค์ประกอบของหลกั สูตร องค์ประกอบของหลักสูตรส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกันซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตร นาไปใช้ได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังน้ี ไทเลอร์ (1950) กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตรคือ 1. จดุ มงุ่ หมาย(Education purpose) ทีต่ อ้ งการใหผ้ เู้ รียนบรรลผุ ล 2. ประสบการณ์ (Education experience) ที่โรงเรียนจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุ จุดมงุ่ หมาย 3. วิธีการจัดประสบการณ์ (Organization of education experience) เพื่อให้การสอน เป็นไปอย่างมปี ระสิทธิภาพ 4. การประเมินผล (Determination of what to evaluate) เพื่อตรวจสอบจุดมุ่งหมาย ทีต่ งั้ ไว้

8 ทาบา (Taba. 1962) ที่ได้เสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตรไม่ว่าจะสร้าง ขึ้นในลักษณะใดย่อมประกอบด้วยส่วนสาคัญ 4 ส่วน คือ 1) จุดมุ่งหมาย 2) เนื้อหาสาระ 3) กิจกรรมและรปู แบบการเรียนการสอนและ 4) การประเมนิ ผล เคอร์ (Kerr. 1976) ได้นาเสนอองค์ประกอบของหลักสตู รไว้ 4 ส่วน ได้แก่ 1) วตั ถุประสงค์ ของหลักสตู ร 2) เน้ือหาสาระ 3) ประสบการณ์การเรยี นและ 4) การประเมินผล สุนีย์ ภพู่ ันธ์ (2546) กล่าวว่า หลกั สูตรมีองค์ประกอบสาคัญ คือ 1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (Curriculum aims) หมายถึง ความต้ังใจหรือความคาดหวังที่ ต้องการให้เกิดขึน้ ในตวั ผู้ทีผ่ ่านหลักสตู ร เป็นตัวกาหนดทิศทางและขอบเขตในการให้การศึกษา แก่เด็ก ช่วยในการเลือกเน้ือหาและกิจกรรมตลอดจนใช้เป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการ ประเมินผล 2. เนื้อหา (Content) เป็นสิ่งที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่กาหนด ไว้โดยดาเนินการตั้งแต่การเลือกเน้ือหาและประสบการณ์การเรียงลาดับเน้ือหาสาระและ การกาหนดเวลาเรียนที่เหมาะสม 3. การนาหลักสูตรไปใช้ (Curriculum implementation) เป็นการนาหลักสูตรไปสู่การ ปฏิบัติประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจดั ทาวสั ดุหลักสตู ร การจดั เตรยี มความพร้อมด้าน บคุ ลากรและสิง่ แวดล้อม การดาเนินการสอน 4. การประเมินผลหลักสูตร (Evaluation) คือการหาคาตอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิผล ตามที่กาหนดไว้ในจุดมุ่งหมายหรือไมม่ ากน้อยเพียงใดและอะไรเปน็ สาเหตุการประเมินผล หลักสูตรเป็นงานใหญ่และมีขอบเขตกว้างขวาง ผู้ประเมินจาเป็นต้องวางโครงการ ประเมินผลไว้ล่วงหนา้ ธารง บวั ศรี (2542) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตรว่า ควรประกอบด้วย 1. จุดมงุ่ หมายของหลักสูตร 2. จุดประสงคข์ องการเรยี นการสอน 3. เนือ้ หาสาระและประสบการณ์ 4. ยทุ ธศาสตรก์ ารเรียนการสอน 5. วัสดอุ ุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน 6. การประเมนิ ผล กาญจนา คุณารักษ์ (2543) ได้สรุปองค์ประกอบของหลักสูตรตามแนวคิดของทาบา (Taba, 1962) ไว้ 4 ประการ คือ จุดประสงค์ เนื้อหา วิธีสอนและการดาเนินการและ การประเมนิ ผล ซึ่งความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบ มีดงั นี้

9 1. จดุ ประสงค์ (Objectives) 2. เนือ้ หา (Subject matter) 3. วิธีสอนและการดาเนินการ (Methods and Organization) เป็นการแปลงจุดประสงค์ และเน้ือหาของหลักสูตรไปสู่การสอนตามที่หลักสูตรกาหนดไว้โดยใช้วิธีสอนแบบต่างๆ ที่ หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะตามจุดประสงค์ของ หลกั สตู ร 4. การประเมินผลหลักสูตร (Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียน การสอนโดยประเมินว่าผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะตามจุดประสงค์ของ หลกั สูตรหรอื ไม่ โดยใช้จดุ ประสงค์เปน็ แนวทางหรอื เป็นเกณฑใ์ นการประเมิน จากการศกึ ษาองค์ประกอบของหลักสูตรตามที่นักการศกึ ษาได้กาหนดไว้พบว่ามีความ สอดคล้องกนั จึงสรุปได้วา่ องค์ประกอบของหลกั สตู รที่สาคัญมี 4 ประการ คอื 1) จุดมงุ่ หมาย ของหลกั สูตร 2) เนือ้ หาสาระ 3) การจดั การเรียนการสอน และ 4) การประเมนิ ผล โดยมีรายละเอียด ดงั น้ี 1. จดุ มงุ่ หมายของหลักสตู ร (Curriculum Aim) หมายถึง ความตั้งใจหรือความคาดหวัง ที่ตอ้ งการใหเ้ กิดข้ึนในตัวผทู้ ีจ่ ะผา่ นหลักสูตร จุดมงุ่ หมายของหลักสูตรมีความสาคัญเพราะเป็น ตัวกาหนดทิศทางและขอบเขตในการศึกษาแก่เด็กช่วยในการเลือกเนื้อหาและกิจกรรม ตลอดจนใชเ้ ปน็ มาตรการในการประเมนิ ผลอย่างหนึ่ง จุดมุ่งหมายทางการศึกษามีหลายระดับ ได้แก่ จุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นการบอก ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรู้เปูาหมายของหลักสูตรนั้นๆ จุดมุ่งหมายของกลุ่มวิชา วิชาแต่ละกลุ่มจะสร้าง คณุ ลกั ษณะทีแ่ ตกต่างกนั ใหก้ ับผเู้ รียน ดังน้ันแต่ละกลุ่มวชิ าจงึ มจี ดุ มงุ่ หมายไว้ต่างกันซึ่งมีความ ละเอียดและจาเพาะเจาะจง ผู้สอนกลุ่มรายวิชาจะต้องกาหนดจุดมุ่งหมายในการสอนเน้ือหา แต่ละบทในรูปจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Performance Objective) แม้ว่าจุดมุ่งหมายมีหลาย ระดบั แตม่ ุ่งเปูาไปยังปลายทางเดียวกัน 2. เนื้อหาสาระ (Content) เม่ือกาหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว กิจกรรมต่อไป คือการเลือกเนื้อหาสาระ ประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่ จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ โดยดาเนินการเลือกเน้ือหาสาระและประสบการณ์ การเรียงลาดับเนื้อหา สาระและการกาหนดระยะเวลาเรียนอย่างเหมาะสม 3. กระบวนการจัดการเรียนรู้ (Instruction) ภายหลังจากที่ได้กาหนดโครงสร้าง เนื้อหา เวลาเรียนที่เหมาะสมแล้วจึงเป็นกิจกรรมที่เป็นการนาหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ

10 การเรียนการสอนประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดทาวัสดุหลักสูตร ได้แก่ คู่มือครู เอกสารหลักสตู ร แผนการสอน แนวการสอนและแบบเรียน เปน็ ต้น การเตรียมความพร้อมทางกายภาพด้านบุคลากรและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดโต๊ะ เก้าอี้ ห้องเรียน วัสดอุ ปุ กรณ์ในห้องเรยี น จานวนครูและสิง่ แวดล้อมการเรียนรู้ กิจกรรมสาคัญ ที่สุดคือการจัดการเรียนการสอนซึ่งครูนอกจากจะถ่ายทอดหลักวิชาความรู้แล้ว ควรจะมุ่งเน้น การเรียน การสอนทีผ่ เู้ รียนสามารถออกแบบการเรียนรไู้ ด้อย่างเตม็ ที่ 4. การประเมินผล (Evaluation) คือ การตรวจสอบและหาคาตอบว่า หลักสูตร สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด อะไรเป็นสาเหตุ การประเมินผลหลักสูตรจึงเป็นสิ่งจาเป็นและควรให้ครอบคลุมทั้งผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ (Learning Assessment) และการประเมนิ หลักสตู ร (Curriculum Evaluation) 1.4 ระดับของหลักสูตร หลักสตู รมีหลายระดับ (Level of Curriculum) ท้ังนีจ้ าแนกไปตามจุดประสงค์ของการใช้ หลักสตู รซึง่ นกั การศกึ ษาได้จาแนกเปน็ 5 ระดับ ดังน้ี 1. หลักสตู รระดับอดุ มการณ์ (Ideal Curriculum) หมายถึงหลักสูตรที่เป็นแนวความคิด และข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่างๆ ของนักการศึกษา ซึ่งต้องการจะให้ผู้เรียนมีลักษณะ อย่างใดอย่างหนึ่ง 2. หลักสูตรระดับปกติ (Formal Curriculum) เป็นหลักสูตรที่ถ่ายทอดแนวความคิด ของนักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญมาเขียนเป็นเอกสารหลักสูตรจึงเป็นเพียงแนวคิดของ ผู้เชี่ยวชาญเท่าน้ัน ท้ังนี้มีข้อจากัดของเอกสารและวิธีการถ่ายทอดด้วยภาษาเขียน จึงไม่ สามารถถา่ ยทอดแนวคิดได้ท้ังหมด 3. หลักสูตรระดับการเรียนรู้ (Perceived Curriculum) เป็นหลักสูตรตามความเข้าใจ ของครูผู้ใช้หลักสูตร ถึงแม้จะเป็นหลักสูตรฉบับเดียวกัน ผู้ใช้หลักสูตรแต่ละคนก็อาจจะเข้าใจ ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เกิดจากพื้นฐานความเข้าใจตลอดจนความสามารถในการตีความเอกสาร หลกั สูตรที่แตกต่างกันนน่ั เอง 4. หลักสูตรระดับปฏิบัติการ (Operational Curriculum) เป็นหลักสูตรในระดับ การนาไปใช้ในห้องเรียน นั่นคือ หลังจากที่ครูมีความเข้าใจหลักสูตรอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ ต้องนาไปใช้ แต่สภาพจริงอาจมีข้อจากัดเกี่ยวกับการนาหลักสูตรไปใช้ที่ทาให้เกิดความ แตกต่างในระดบั การรบั รู้ท่วั ไป

11 5. หลักสูตรระดับประสบการณ์ (Experiential Curriculum) เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นกับ ตวั ผเู้ รียน ซึง่ ได้รับการถ่ายทอดจากการเรียนการสอนในระดับปฏิบัติการ นักเรียนแต่ละคนจะ ได้รับประสบการณ์จากหลักสูตรแตกต่างกันไป ท้ังนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับรู้ของ ผเู้ รียนแตล่ ะคนและวธิ ีการจดั การเรยี นรู้ของครู 1.5 คุณสมบัติหลักสูตรท่ดี ี หลักสูตรเป็นแนวทางสาคัญในการจัดการเรียนรู้ ลักษณะของหลักสูตรที่ดีจะต้องนาไปสู่ การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและเกิดสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา หลักสูตรที่ดีมีคุณสมบัติ ต่อไปนี้ 1. ตรงตามความมุ่งหมายของการศกึ ษา 2. ตรงตามลักษณะของพฒั นาแตล่ ะช่วงวยั ของผู้เรยี น 3. ตรงตามลกั ษณะวฒั นธรรม ขนบธรรมเนยี มประเพณี เอกลกั ษณ์ของชาติ 4. เน้ือหาสาระเร่อื งที่สอนเพียงพอที่จะช่วยใหน้ กั เรียนคิดเปน็ และมีพัฒนาการในด้านต่างๆ 5. สอดคล้องกับชีวิตประจาวันของผู้เรียน คือ ต้องจัดวิชาทักษะและวิชาเนื้อหาให้ เหมาะสม 6. หลักสูตรที่ดีต้องสาเร็จจากการร่วมมือของทุกฝุาย เพื่อให้ได้ผลดีควรจัดให้เป็น คณะกรรมการ 7. หลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ต่อไป และจะต้องเรียงลาดับความยากง่าย ไม่ให้ขาดตอนออกจากกัน 8. หลักสูตรทีด่ ตี ้องส่งเสริมให้เด็กรู้จกั แก้ไขปญั หา 9. หลกั สตู รทีด่ จี ะต้องเพิม่ พูนและส่งเสริมทักษะเบือ้ งตน้ ที่จาเปน็ สาหรับเด็ก 10. หลกั สตู รที่ดตี ้องส่งเสริมให้เด็กเกิดความรู้ ทักษะ เจตคติ ความคิดริเรม่ิ มีความสร้างสรรค์ 11. หลักสูตรที่ดีต้องส่งเสริมให้เด็กทางานอย่างอิสระ และทางานร่วมกันเป็นหมู่คณะ เพือ่ พัฒนาให้รจู้ ักการอยู่รว่ มกันในสังคมพหวุ ฒั นธรรม (Multi - Culture) 12. หลักสูตรที่ดีต้องจัดประสบการณ์ที่ดีและกิจกรรมหลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็ก ได้เลือกอย่างเหมาะสมตามความสนใจ ความตอ้ งการและความสามารถของแต่ละคน 13. หลกั สตู รที่ดตี ้องส่งเสริมให้เด็กรู้จกั การแก้ปญั หา 14. หลักสูตรทีด่ ตี ้องจดั ประสบการณ์ที่มคี วามหมายต่อชีวติ เดก็ 15. หลกั สตู รที่ดีตอ้ งวางกฎเกณฑไ์ ด้อย่างเหมาะสมนาไปปฏิบตั ิ และวดั ประเมินผลได้

12 1.6 พื้นฐานทางปรัชญา ปรัชญาการศึกษามีความสาคัญในการเป็นอุดมการณ์เพื่อให้กิจกรรมการศึกษาใดๆ มีเปูาหมายและทิศทางที่ชัดเจน ควรจะต้องทาความเข้าใจในคาว่าปรัชญาและปรัชญา การศกึ ษา ดังน้ี ปรัชญามาจากคาในภาษากรีกว่า Philosophia แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “love of wisdom” (Popkin and Stroll., Philosophy Made Simple, 1956) ในเชิงวิชาการ ปรัชญาหมายถึง การศกึ ษาหาความจริงหรอื แก่นแท้ของสรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลกและจักรวาลอย่างเป็นระบบและมี ระเบียบแบบแผน เช่น ศึกษาว่า ธรรมชาติมนุษย์คืออะไร มนุษย์เป็นอินทรียวัตถุหรือเป็นเพียง สสารอย่างหนึ่ง จักรวาลทีเ่ ราเห็นและสมั ผัสอยู่นี้เป็นสิ่งที่เป็นจริงหรือเป็นเพียงภาพลวงตา ผล การศกึ ษาทาให้เกิดความเชอ่ื กนั หลากหลายแนว การนยิ ามความหมายของคาว่า “Philosophy” ไม่ได้มีลักษณะตามช่วงเฉพาะตอนต้นของสมัยกรีกเท่านั้น ความหมายของปรัชญาได้มีการ เปลีย่ นแปลงไปตามลกั ษณะของแนวความคิด และสภาวะแวดล้อมอีกด้วย นักปรัชญาบางคน ให้ความหมายอันแท้จริงของปรัชญาว่า หมายถึงหลักแห่งความรู้ และความจริงอนั สงู สุด อันเป็นอันติมะ ส่วนนักปรัชญาบางกลุ่มก็นิยามความหมายว่า ปรัชญา คือความรู้ที่สากลและจาเป็น (Universal and Necessary Knowledge) ที่บอกว่าเป็นความรู้ที่ สากล (Universal Knowledge) เพราะเป็นความรู้ที่ใช้อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้ ที่บอกว่าเป็น ความรู้ที่จาเป็น (Necessary Knowledge) เพราะเป็นความรู้ที่จาเป็นต้องรู้และจาเป็นสาหรับ สรรพวิชา เนื่องจากวิชาท้ังปวงต้องมีปรัชญาเป็นหลัก อาจกลาวไดวา “ปรัชญา” คือ “วิธีการ คิดอยางมีระเบียบเกี่ยวกับสิ่งตางๆ ที่มีอยูแลวหรือเปนความพยายามที่จะคนหาความสอดคลอง ของแนวความคิด และประสบการณท้ังหมด” (Kneller,1964 อางถึง สงัด อุทรานันท, 2532) จึงเป็นที่มาของลัทธิทางปรัชญาหลายลัทธิ เช่น ลัทธิจิตนิยม (Idealism) ลัทธิสัจนิยม(Realism) ลทั ธิปฏิบัตินยิ ม (Pragmatism) ลัทธิอัตถิภาวะนยิ ม (Existentialism) เป็นต้น 1.6.1 ปรชั ญาการศึกษาตะวนั ตกกบั หลกั สูตร ปรัชญาการศึกษา หมายถึง ระบบหรือแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สาคัญ ของการศึกษา ได้แก่ ความมุ่งหมาย นโยบาย เน้ือหาสาระ ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน การบริหารการศึกษา อันเป็นผลเน่ืองมาจากการศึกษาวิเคราะห์กล่ันกรองอย่างรอบคอบโดย อาศัยหลักปรัชญาเป็นพื้นฐาน ปรัชญาการศึกษาที่มีผลต่อการกาหนดจุดหมายของหลักสูตร ได้แก่

13 1. ปรชั ญาลัทธิสารตั ถนิยม (Essentialism) สารัตถนิยม (Essentialism) มาจากภาษาละตินว่า Essentia หมายถึง สาระ หรือ เนื้อหาที่เป็นหลัก เป็นแก่น เป็นสิ่งสาคัญปรัชญาสารัตถนิยม ในทางการศึกษา คือ ปรัชญาที่ยึดเนื้อหา (Subject Matter) เป็นหลักสาคัญของการศึกษา และเนื้อหาที่สาคัญนั้นก็ ต้องเน้นเนื้อหาที่ได้มาจากมรดกทางวัฒนธรรม ที่ควรได้รับการถ่ายทอดต่อไป สารัตถนิยม เปน็ การหล่อหลอมความคิด ของจิตนยิ ม (Idealism) และ สัจนิยม (Realism) มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สาระนิยมสารวาส ลัทธิจิตนิยมหรือคตินิยม (Idealism)เชื่อว่า ความเป็นจริง (Reality) เป็น ความนึกคิด (Mind) และเป็นจิตรภาพ (Idea) หรือ แบบ (From) ที่มีอยู่ในจินตนาการของเรา โลกแห่งความเป็นจริงอันสูงสุด (Ultimate reality) จึงเป็นโลกแห่งจินตนาการ (A world of mind) จากพนื้ ฐานความจริงน้ี จงึ เชื่อต่อไปว่า การล่วงรคู้ วามจริงได้ต้องอาศัยจิต (Mind) อาศัย ปัญญา(Intellect) เพื่อเข้าถึงความเป็นจริงที่มีอยู่ในจิตรภาพ(Idea) คือ เราใช้ปัญญาและ ความคิดในการรับรู้ความจริงเม่ือปัญญาล่วงรู้สิ่งที่เป็นจริงแล้วก็หมายถึงเรามี“ความรู้” Plato เปน็ บิดาแหง่ ปรัชญาสาขาจิตนิยม ที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดและตรงกับปรัชญาจิตนิยมใหม่ ในทัศนะ ของ Kant ซึง่ เหน็ ว่า การรนู้ ั้นจะเกิดข้ึนได้กต็ ่อเมอื่ มีองค์ประกอบสาคญั 2 สว่ น คือ 1. การรบั รู้ (Percepts) คือ การได้รับข้อมลู เกี่ยวกับวตั ถตุ ่าง ๆ มาโดยผัสสะ 2. การเข้าใจหรือสัญชาน (Concept) คือ ความนึกคิดที่เกิดขึ้นในจิตของเรา ความเข้าใจนั้นตอ้ งอาศัยการรับรู้ในการปูอนข้อมลู ต่าง ๆจากผัสสะ เชื่อว่าโลกแห่งความเป็นจริงคือโลกแห่งวัตถุ คือ สิ่งทั้งหลายที่เห็นตาม ธรรมชาติน้ันเป็นจริงในตัวของมันเองไม่ขึ้นอยู่กับจิต และโลกแห่งวัตถุนี้จะเป็นโลกที่เปิดเผย ความจริงและความรใู้ ห้แก่เรา ด้วยเหตุนี้การค้นหาความรู้ของวัตถุนิยมจึงอาศัยการเฝูาสังเกต อย่างมีระเบียบAristotle ศิษย์เอกของ Plato เป็นบิดาของ ลัทธิสัจนิยม ปรัชญาการศึกษา สารัตถนิยม เกิดขึ้นจากปัญญาชนรวมตัวกันอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการสา รัตถนิยมเพื่อความก้าวหน้าของการศึกษาอเมริกัน” ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ.1930 สา รัตถนิยม มีพื้นฐานความคิดเป็นแบบอนุรักษ์นิยม (Conservativism) ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ J.R. White กล่าวคือ เป็นความพยายามศึกษา ทาความเข้าใจและรักษาระเบียบกฎเกณฑ์ของสรรพ สิ่งในธรรมชาติมากกว่าที่จะคิดเปลี่ยนแปลง สารัตถนิยม คัดค้านความเชื่อของปรัชญา การศกึ ษาประสบการณน์ ิยม ซึง่ เสนอแนะให้กาจัดการเรียนการสอนแบบเก่า ที่เน้นการท่องจา และอานาจของครู ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย และเรียกร้องให้นักการศึกษา และประชาชนมา สนใจวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ และมีความรับผดิ ชอบต่อสังคม

14 นักการศกึ ษาคนสาคัญ 1. William C. Bagley (1874 – 1946) 2. Frederick S. Breed (1876 – 1952) 3. Herman H. Horne (1874 – 1946) 4. Isaac L. Kandel 5. Tomas Briggs หลักการสาคัญตามแนวคิดของปรัชญาการศกึ ษาสารตั ถนิยม การเรียนรู้ เกิดขึ้นได้จากการทางานหนักและนาไปประยุกต์ใช้ได้ ความมี ระเบียบวินัย เคร่งครัดเป็นสิ่งสาคัญ ปลูกฝ่ังให้เด็กเกิดความมานะ พยายาม ต้องอุทิศตนเพื่อ จุดหมายปลายทางในอนาคต การริเริ่มทางการศึกษา ควรเริ่มต้นที่ครู ครูเป็นผู้นาในการเรียนและสร้าง พัฒนาการให้กับเด็ก ทาหน้าที่เชื่อมโยงโลกของผู้ใหญ่กับโลกของเด็กเข้าด้วยกันหัวใจสาคัญ ของการศึกษา คือ การเรียนรู้เน้ือหาวิชามาเชื่อมโยงกัน การศึกษาช่วยให้เอกัตบุคคลตระหนัก ในศักยภาพของตน ความรแู้ ละประสบการณท์ ี่เป็นมรดกตกทอดเปน็ สิง่ ทีด่ งี ามและถูกต้อง เน้น ความสาคัญของ “ประสบการณข์ องเชือ้ ชาติ” โรงเรียนควรรักษาวิธีการดั้งเดิมที่ใช้ระเบียบวินัย และการอบรมจิตใจเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การสอนเด็กให้เกิดการเรียนรู้ ควรสอนให้ เข้าใจในสาระสาคัญ แมว้ ่าจะต้องมีการปรับให้สอดคล้องกบั ความตอ้ งการของเดก็ จดุ มงุ่ หมายทางการศึกษา ให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเน้ือหา สาระ (Essential subject – matter) อันได้จาก มรดกทางวัฒนธรรม โดยการรักษาและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังให้การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ใน เร่ืองของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีตธารงรักษาสิ่งที่ดีงามต่าง ๆ ในอดีต เอาไว้มุ่งพัฒนาผู้เรยี นใหเ้ ปน็ ผู้มรี ะเบียบวินยั มีปัญญา และรักษาอุดมคติอันดงี ามของสงั คมไว้ หลักสตู ร เป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหา (Subject – matter Oriented) เป็นหลักสาคัญ โดย ยึดประสบการณข์ องเชือ้ ชาติ หรอื มรดกทางวัฒนธรรมเป็นหลกั ได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระบบ ต่อเน่ืองตามขั้นตอนความยากง่าย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน วิชาพื้นฐาน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ตรรกวิทยา ศิลปะ ดนตรี ภาษาและวรรณคดี โดยมีการผสมผสานกันเพื่อช่วยเพิ่มทักษะในการอ่าน การเขียน การคิดและจินตนาการให้ ตวั ผเู้ รียน หลักสตู รจะต้องสอดคล้องกบั วฒุ ิภาวะของผเู้ รียน

15 กระบวนการเรียนการสอน การเรียนการสอนจะเน้นการบรรยายเป็นหลัก โดยมีศิลปะของการถ่ายทอด ความรู้เป็นสาคัญมีหลักการอบรมจิตใจ และถ่ายทอดค่านิยมเพื่อสร้างนิสัยที่ดีงามให้เกิดแก่ ผู้เรียนกระบวนการเรียนการสอนจะมี “ครู” เป็นผู้มีบทบาทสาคัญเป็นศูนย์กลางการเรียน การสอนคานึงถึงความสามารถ ความสนใจ และจดุ หมายของผเู้ รียนเพือ่ ใหเ้ กิดการเรยี นรู้ ผู้สอนหรือครู ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ดี มีความประพฤติดี มีศีลธรรม เป็น แบบอย่างที่ดี และเป็นศูนย์กลางของห้องเรียน เป็นผู้มีทักษะ เทคนิควิธี ที่จะโน้มน้าวให้ นักเรียนเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ เสริมสร้างความสนใจและเปูาหมายในการเรียนรู้ให้แก่ ผู้เรียน มีบทบาทสาคัญในอันที่จะกาหนดหรือตัดสินใจในกิจกรรมทางการเรียนรู้ ผู้เรียนเป็น ผู้รับ ผู้ฟังและทาความเข้าใจในเน้ือหาต่างๆ ที่ครูกาหนด เป็นผู้สืบทอดค่านิยมและมรดกทาง วัฒนธรรมไว้และถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังต่อไป เป็นผู้ที่มีความพยายาม อดทนและเป็นผู้มี ระเบียบวินยั สรุปแนวคิดปรัชญาการศกึ ษาสารัตถนิยม มุ่งเพื่ออนรุ กั ษ์ และสืบทอดมรดกทางวฒั นธรรมที่ดีงามของสงั คมไทยให้แก่คน รุ่นหลังหลักสูตรประกอบด้วยเน้ือหาสาระ การฝึกฝนทักษะ ค่านิยม ความเชื่อและความรู้ พืน้ ฐานของสังคม ผู้สอนเป็นผู้กาหนดตัดสิน คัดเลือกสิ่งที่เห็นว่าผู้เรียนควรจะเรียน ผู้เรียนจะ เป็นผู้รับ ผู้ฟัง ฝึกฝนตนเองให้เกิดความเข้าใจ และเชี่ยวชาญในสิ่งที่เรียนการเรียนการสอนใช้ วิธีการเรียนรู้จากครูและตารา เน้นการบรรยาย ซักถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหามากกว่า แลกเปลี่ยนความคิดเหน็ ระหว่างกัน 2. ปรัชญาลัทธินริ นั ตรวาท (Parennialism) คาว่า “นิรันตร” หรือ Perennial หมายถึง สิ่งที่คงที่ ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นนิรนั ดร ปรัชญา การศึกษานิรันตรนิยม เชื่อว่าการศึกษาควรจะได้สอนสิ่งซึ่งเป็น นิรันดรไม่เปลีย่ นแปลง มคี ุณค่าไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด ได้แก่ คุณค่าของเหตุผลและคุณค่าของ ศาสนา อันเป็นหลกั สาคญั ของปรชั ญานริ นั ตรนยิ ม ปรชั ญาการศึกษานิรันตรนิยม แบ่งแนวการศึกษาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะของปรัชญาทั่วไปที่เน้นหนักในเร่ืองของเหตุผล สติปัญญา ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา โดยตรง ลักษณะของปรัชญาท่ัวไปที่เกี่ยวพันกับศาสนาโดยตรง เป็นแนวคิดของกลุ่มศาสนา นิกาย คาธอลิคทีส่ มั พันธ์เรอ่ื งศาสนาเขา้ กับเหตผุ ล

16 ความเป็นมา ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาพื้นฐานกลุ่มวัตถุ นิยมเชิงเหตุผล (Rational Realism) หรือบางที่เรียกกันว่าเป็นพวกโทมัสนิยมใหม่ (Neo- Thomism) มีจุดมุ่งหมายให้การศึกษาเป็นพาหะนามนุษย์ไปสู่อดีตที่มีระเบียบ มีความม่ันคง มีจริยธรรม และความยตุ ิธรรม ซึ้งเปน็ ปรชั ญาที่มมี าต้ังแตส่ มัยกรีกโบราณ แต่เพิ่งได้รับการร้ือ ฟื้นจัดระบบใหม่เม่ือประมาณ 40 -50 ปี นิรันตรนิยมมีจุดมุ่งหมายให้การศึกษาเป็นพาหะนา มนุษย์ไปสู่อดีตนั้น เพราะเชื่อม่ันว่าแก่นของความคิดและวัฒนธรรมของสมัยโบราณและสมัย กลางของยโุ รป เป็นสิ่งที่ดีงามไม่เสื่อมคลายและสามารถนามาประยุกต์ใช้ได้ในปัจจุบันและทุก ประเทศ นกั การศกึ ษาคนสาคัญ 1. Robert M. Hutchins เป็นผู้นากลุ่มนิรันตรนยิ ม 2. Mortemer J. Adler 3. String Fellow Barr 4. Mark Van Doran 5. Scott Buchanan 6. Sir Richard Livinfstone หลกั การสาคญั ตามแนวคิดของปรชั ญาการศกึ ษานิรนั ตรนิยม แม้ว่าสภาพแวดล้อมจะแตกต่างต่างกันออกไป แต่ธรรมชาติของมนุษย์ ย่อมจะเหมือนกันในทุกแห่งหน ดังน้ัน การจัดการศึกษาให้แก่มนุษย์ควรจะเป็นแบบเดียวกัน หมดทุกคน ความมีเหตุผลเป็นคุณลักษณะอันสูงสุดของมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องใช้ความมี เหตุผลเป็นเคร่ืองควบคุมสัญชาตญาณตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นอานาจฝุายต่าของตน เพื่อจะได้ บรรลุจดุ หมายของชวี ิตทีไ่ ด้เลือกสรรแล้ว หน้าที่ของการศึกษา คือ การแสวงหาความรู้ในเร่ือง ของความเปน็ จริงอันเป็นนิรันดร การศึกษามิใช่เป็นการเลียนแบบอย่างชีวิต แต่เป็นการเตรียม ตัวเพื่อชีวิตนักเรียนควรจะได้เรียนวิชาพื้นฐานบางวิชา เพื่อให้เข้าใจและคุ้นเคยกับสิ่งที่คงทน ถาวรของโลกนักเรียนควรจะได้ศึกษางานนิพนธ์ที่สา คัญๆ ทางวรรณคดี ปรัชญา ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลงานที่บรรดาปรัชญาและผู้ทรงความรู้ทั้งหลายใน ยุคที่ผ่านมาได้ถ่ายทอดความรู้ ความสาเรจ็ อนั ยิง่ ใหญ่เอาไว้ จุดมงุ่ หมายทางการศึกษา จุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ดีที่สุดสาหรับมนุษย์ คือ เพื่อปลดปล่อยมนุษย์ จากความไม่รู้ช่วยพัฒนาพลังทางเหตุผล(ปัญญา) ศีลธรรม และจิตใจ คือ ต้องให้ความรู้กว้าง

17 พอใน การนาไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นความรู้ที่เป็นความเข้าใจแนวคิดรวบยอดและ ทฤษฎี การคิดเชิงทฤษฎี และการคิดเชิงการผลิต การคิดเชิงทฤษฎี เป็นการฝึกใช้เหตุผลขั้นสูง เพือ่ ให้ได้ความรทู้ ีแ่ ท้จริง การคิดเชิงการผลิต เป็นการคิดที่ช่วยนาการกระทา (การรเู้ พือ่ ทา) หลกั สตู ร มุ่งให้ความรู้ที่เป็นนิรันดร์แก่ผู้เรียน และช่วยให้นาความรู้อื่นมาเชื่อมโยง ประสานเปน็ ภาพรวม และนาไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกสถานการณ์เอื้ออานวยให้ผู้เรียนได้รู้จักกับ ผลงานอนั ล้าค่าของนกั ปรชั ญา เช่น คณติ ศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ปรัชญาและวรรณคดีซึ่งผู้เรียน ต้องใช้ปัญญาระดับสูงในการคิดและวิเคราะห์วิชาชีพต่างๆ ไม่นามารวมไว้ในหลักสูตร เพราะ เปน็ วิชาที่สอนเทคนิค การกระทา เป็นการเน้นทกั ษะมากกว่าทฤษฎี กระบวนการเรียนการสอน ผสู้ อนต้องมีความเปน็ เลิศ ต้องมีความรอบรู้ ใฝุรู้ ต้องเน้นความเป็นเลิศใน การสอน ต้องบังคับให้เรียนอย่างหนัก ต้องให้ผู้เรียนได้เรียนไปตามความสามารถทาง สติปญั ญาและเอกตั ภาพมนษุ ย์ มีองค์ประกอบเปน็ สาระเหมอื นกนั แตป่ ริมาณไม่เท่ากัน เป็นผู้มี ความรู้และจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน เป็นผู้สร้างบรรยากาศในการเรียน เป็นผู้เสนอความรู้ ข้อคิด เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และพัฒนาความคิดและสติปัญญาของผู้เรียนเป็นผู้มี ความคิดกว้างไกล มคี วามสามารถในการอภิปราย ให้เหตุผล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นผู้มี บทบาทและอานาจสาคัญ ผู้เรียน เป็นผู้มีสติปัญญา มีศักยภาพอยู่ในตัวเอง การเรียนรู้หรือ สติปญั ญาจะเกิดได้จากการฝึกฝนผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนอย่างมากเท่าๆ กันหรือมากกว่า ครูและเป็นลักษณะอภิปรายแลกเปลี่ยนกับครูภายใต้การแนะนาของครู ผู้เรียนมีความสนใจ ใคร่เรยี นรู้ 3. ปรชั ญาลทั ธิพิพฒั นาการนยิ ม (Progressivism) พิพัฒนาการ หรือ Progressive หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง การจัดการศึกษาต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง จึงได้เชื่อว่า “แนวทางแห่ง ความมอี ิสระเสรีทีจ่ ะนาไปสู่การเปลีย่ นแปลง ปรบั ปรงุ วฒั นธรรมและสังคม” ความเปน็ มา พิพัฒนาการนยิ มเกิดข้ึนเพือ่ ต่อต้านแนวคิดและวิธีการศึกษาแบบเดิมที่เน้น แต่เน้ือหา สอนแต่ท่องจา ไม่คานึงถึงความสนใจของเด็ก และพัฒนาเด็กแต่เพียงสติปัญญา เท่านั้น ทาให้ผู้เรียนขาดความริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่มีความมั่นใจในตนเอง อีกอย่างหนึ่งเพราะ

18 ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีใหม่ๆ ความนิยมในประชาธิปไตยและพัฒนาการ ใหม่ๆ ทางจิตวทิ ยาการเรยี นรู้ ฌอง ฌารค์ รสุ โซ, จอหน์ เฮนรี,่ เปสตาลอสซี่, เฟรด เดอริค ฟรอเบล เป็น ผมู้ ีแนวคิดทางปรชั ญาการศกึ ษาพิพัฒนาการนยิ มเป็นพวกแรก ของยุโรป ค.ศ. 1870 ฟรานซีส ดับเบิลยู ปาร์คเกอร์ ได้เสนอให้มีการปฏิรูประบบโรงเรียนขึ้นใหม่ แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมา จอห์น ดุย ทาการทดลองเพิ่มเติมจนทั่วโลกได้รู้จักปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ของเขา มีนักการศึกษาร่วมอยู่ด้วย วิลเลียม เอช คิลแพททริค จอห์น ไซล์คและเฮนรี่ บาร์นาร์ด สหรัฐอเมริกาจัดต้ังสมาคมการศึกษาพิพัฒนาการขึ้นในปี ค.ศ.1919 ได้จัดทาหลักสูตร การศึกษาเพื่อชีวิต (The Life-Centered Curriculum) ขึ้นใช้ในโรงเรียนอย่างกว้างขวาง จอห์น ดุย ได้ ยกย่องปารค์ เกอร์ ว่าเป็นบิดาของปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ปรัชญาการศึกษาพิพัฒ นาการนิยม ก่อต้ังขึ้นมาหลังสงครามโลกคร้ังที่สอง(ราว ค.ศ.1920) และนามาใช้อย่าง แพร่หลายมากทีส่ ุดในยุคปจั จบุ ัน สาหรับวงการศกึ ษาไทยได้ตอ้ นรับปรัชญาการศึกษาพิพัฒนา การนยิ ม (แบบก้าวหน้า)อย่างกระตือรือร้น โดยรู้จักกนั ในนามวา่ “การศกึ ษาแผนใหม่“ แนวคิดพ้ืนฐาน พิพัฒนาการนิยม มีแนวคิดเช่นเดียวกับปรัชญาปฏิบัตินิยม เชื่อว่าชีวิตเป็น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอตามกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบที่มีอิทธิพลสูงสุดใน การกาหนดรูปแบบของวัฒนธรรมและสังคม คือ การค้นคว้า ทดลองและประสบการณ์ของ มนษุ ย์ที่ได้เหน็ ประจกั ษ์ เช่อื ว่ามนุษย์เปน็ ผู้กาหนดอนาคตโชคชะตาของตนเอง มนุษย์ควรจะนั้น ความสาคัญและคุณค่าของแต่ละบุคคลให้มาก ดังน้ัน การศึกษาในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของ สังคมจะต้องเปลี่ยนแปรสภาพไปด้วยเม่ือถึงความจาเป็นการศึก ษาไม่ใช่สอนให้คนยึดมั่นใน ความจริงหรือถูกกาหนดไว้ตายตัว หากจะต้องหาทางปรับปรุงการศึกษาเพื่อจะเป็นแนวทาง นาไปสู่การคน้ พบความรใู้ หม่ๆ อยู่เสมอ ความหมายของการศกึ ษา พิพัฒนาการนิยมเชื่อว่าการศึกษาคือชีวิตไม่ใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต หมายความว่า การที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ก็โดยการลงมือกระทาจริงๆ ที่จะก่อให้เกิด ประสบการณ์กับผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอนจึงมุ่งการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาไปพร้อม ๆ กนั สามารถปรบั ตัวใหอ้ ยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ความมงุ่ หมายของการศกึ ษา จุดมุ่งหมายการศกึ ษาในปรัชญาการศึกษา พิพัฒนาการนิยม สรุปได้ว่า มุ่ง ให้ผู้เรยี นพัฒนาทางดา้ นรา่ งกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาไปพร้อมๆ กัน มุ่งให้ผู้เรียนรู้จัก

19 ปรับตวั เองเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสขุ มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัด ความสนใจ และ ตามความสามารถของผู้เรียน ส่งเสริมประชาธิปไตยทั้งในและนอกห้องเรียน มุ่งให้ผู้เรียนรู้จัก ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมุ่งให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการดารงชีวิตเป็นหมู่คณะ และรู้จัก ปกครองตนเองธรรมชาติของมนุษย์ เชื่อว่ามนุษย์เป็นคนดีมาแต่กาเนิด มนุษย์ไม่ได้โง่หรือ ฉลาดมาแต่กาเนิด มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความว่างเปล่า ความฉลาดหรืออุปนิสัยอื่นๆ มนุษย์ มาได้รบั ภายหลังและจากประสบการณ์ทั้งสิ้น มนุษย์มีอิสระเสรี มิได้อยู่ใต้การลิขิตของผู้ใด มี ศกั ยภาพทีจ่ ะพฒั นาตัวเองใหด้ ี กระบวนการของการศึกษาถือว่าประสบการณ์และการทดลอง มีความสาคัญที่สุดของการเรียนรู้และการเรียนรู้เป็นเร่ืองของการกระทา (Doing) มากกว่ารู้ (Knowing) และจะต้องให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและสังคมได้และจะต้อง คานงึ ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย ผู้สอนจะต้องมีบุคลิกที่ดี เห็นอกเห็นใจและเข้าใจความแตกต่างระหว่าง บุคคลของเด็กได้ดีบทบาทที่สาคัญของผู้สอน คือจะต้องเป็นผู้กระตุ้น ให้ผู้เรียนได้สนใจด้วย ตนเอง ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ด้วยตนเองบทบาทของผู้สอนไม่ใช่เป็นผู้ใช้อานาจหรือออก คาส่ัง แตท่ าหนา้ ที่ให้คาปรึกษาแนะแนวทางใหก้ บั ผเู้ รียน ผู้เรียนให้ความสาคัญกับตัวผู้เรียนมาก ถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของ การเรียนการสอน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเม่ือผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรงหรือลงมือ กระทาด้วยตนเอง (Learning by Doing) ผเู้ รียนมีอสิ ระทีจ่ ะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง วิธีสอน มุ่งให้ผู้เรียนรวมกลุ่มทากิจกรรม ใช้วิธีการสอนแบบ “แก้ปัญหา“ นาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง เห็นความสาคัญของ งานที่มีต่อตนเอง ต่อสังคม การสอนจึงเน้นในเร่ืองการสาธิต การอภิปราย การค้นคว้า การรายงานการประชุม การวางแผนซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความสามารถอย่างแท้จริงและ ได้รับประสบการณ์จริงด้วยตนเอง คานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ศักยภาพของผู้เรียน ระวงั ไม่ให้เด็กเรียนอ่อนเกิดปมด้อย หลักสูตร หลักสูตรแบบประสบการณ์หรือหลักสูตรแบบกิจกรรมเน้น การดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข หลักสูตรเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ที่ สัมพันธ์กับสังคม เน้ือหาของหลักสูตรจะต้องไม่ถูกกาหนดไว้ล่วงหน้า หลักสูตรที่ดีต้องมุ่งไปที่ การเรียนรทู้ กุ ชนิดทีจ่ ะช่วยใหผ้ เู้ รียนพัฒนาในทุกด้าน 4. ปรชั ญาลทั ธิปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) ปฏิรูป หรือ Reconstruct หมายถึง การบูรณะหรือการสร้างขึ้นใหม่ ปฏิรูป นิยมจึงมุ่งการปฏิรูปสังคม ขึ้นมาใหม่เพราะถือว่าสังคมในปัจจุบันมีปัญหา ท้ังด้านเศรษฐกิจ

20 การเมอื ง สังคมและศลิ ปวัฒนธรรมเปน็ เหตุตอ้ งแก้ปญั หาอยู่เร่อื ยๆ จึงต้องหาทางสร้างค่านิยม และแบบแผนของสงั คมขึน้ ใหม่ ความเป็นมา ผู้นาของปฏิรูปนิยมเริ่มจาก จอห์น ดุย (John Dewey)ตั้งแต่ ค.ศ.1920 เสนอแนวคิดเพื่อปฏิรูปสังคม แต่มิได้มีบทบาทมากนัก เพิ่งได้รับความนิยมในปี ค.ศ.1930 ขณะที่สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาด้านภาวะเศรษฐกิจการเมืองและสังคมตกต่าอย่างมาก ปญั หาคนวา่ งงานเกิดความเหลือ่ มล้าในสังคม จงึ ได้เกิดกลุ่มนกั คิดแนวหน้า นาโดย จอห์น เอส เค้าทส์ ฮาโรลด์ รักก์ หาทางแก้ปัญหา โดยใช้การศึกษาเป็นเคร่ืองมือในการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เลิกล้มระบบเก่าให้หมด หันไปมุ่งสร้างระบบสังคมขึ้นมาใหม่แบบ ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มคี วามเท่าเทียมกนั มากขึ้น ค.ศ.1950 ที โอดอร์ บราเมลด์ เป็นผู้ทา ให้ปรัชญาการศกึ ษาปฏิรูปนิยมเปน็ ทีร่ ู้จกั กนั อย่างกว้างขวาง เสนอปรัชญาการศกึ ษาเพื่อปฏิรูป สังคมในหนังสือหลายเล่มทาให้บราเมลด์ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของปรัชญาการศึกษา ปฏิรปู นิยม แนวคิดพื้นฐาน ปฏิรูปนิยมมีพื้นฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยมผสมผสานกับปรัชญาพิพัฒนา การ แนวคิดที่ผสมผสานทาให้ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมเน้นการศึกษาเพื่อสังคมเป็นสาคัญ คือผู้เรียนไม่ได้มุ่งพัฒนาตนเองอย่างเดียวแต่เพื่อนาความรู้พัฒนาสังคมให้ดีขึ้นได้ชื่อว่า “แนวทางแหง่ การปฏิรปู เพื่อสร้างวฒั นธรรมใหม่ข้ึนมา” จุดมงุ่ หมายทางการศึกษา มุ่งให้การศกึ ษาเปน็ เครือ่ งมอื พัฒนาสังคมมุ่งให้ผู้เรยี นทางานเป็นทีมเพื่อฝึก การทางานรว่ มกนั มุ่งให้ผู้เรยี นค้นหาวิธีการแก้ปญั หาเตรียมตัวเพือ่ อนาคต กระบวนการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนสารวจความสนใจความต้องการของตนเองสนองความสนใจ ด้วยการค้นคว้า การอภปิ รายและแสดงความคดิ เห็น โดยเฉพาะเรื่องเกีย่ วกับสังคมวิธีการเรียน การสอนเป็นวิธีการแก้ปญั หาของสังคมโดยตรงอาศัยวิธีแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการแบบโครงการ วิธีการของปรัชญาและวิธีการทางประวัติศาสตร์ ผสู้ อน ผสู้ อนต้องเชอ่ื ม่ันในหลักการประชาธิปไตยและนาไปสอนแก่ผู้เรียนต้องเป็น ผู้บุกเบิก นักแก้ปัญหา สนใจเร่ืองสังคมและปัญหาสังคมอย่างกว้างขวางเปิดโอกาสให้ผู้เรียน

21 ได้แสดงความคิดเห็น และคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ในการพัฒนาสังคม ช่วยแก้ไข ปญั หาสังคม ผเู้ รียน ผู้เรียนเป็นผู้ได้รับการปลูกฝังให้มีความสานึกในหน้าที่ พร้อมปฏิบัติทุก อย่างเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมได้รับการฝึกฝนให้รู้จักเทคนิคและวิธีการต่างๆ ในการ แก้ปัญหาสังคมตามแนวทางประชาธิปไตยโดยครูและนักเรียนร่วมมือกัน สิ่งที่สาคัญที่สุดคือ ผเู้ รียนต้องเรียนรู้วิธีการทางานรว่ มกนั เพือ่ การวางแผนปฏิรูปสงั คมในอนาคต วิธีสอน ควรสร้างบรรยากาศของการมีอิสระ มิใช่ด้วยการบังคับ เสนอแนะวิธี แก้ปญั หา การจดั ตารางสอนควรมกี ารยืดหยุ่น ศึกษาโดยการค้นคว้าและอภิปรายเป็นหลัก ให้ ผู้เรียนรู้จักวิพากษ์วิจารณ์เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับอนาคต การสอนของ ครูกับผู้เรียนจึงควรทางานร่วมกัน วางแผน แก้ปัญหา เช่น วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการ วางโครงการหรอื วิธีแก้ปัญหา หลกั สตู ร เน้นสังคมเป็นหลัก ผู้เรียนต้องเข้าใจสภาพของสังคมดีพอและมองเห็น แนวทางในการแก้ปัญหาสังคม เช่น ความยากจน การจราจร ยาเสพติด ควรจัดการศึกษา อุตสาหกรรม สื่อสารมวลชน การขนส่ง การอนามัย และสาธารณสุข นิเวศน์วิทยาและวิชา ท่ัวไป เช่น วรรณคดี ดนตรี ศิลปะ ฟิสิกส์ เคมี สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และ คณิตศาสตร์ หลักสตู รในลัทธินีใ้ ห้ความสาคญั แก่วชิ าทีช่ ่วยใหผ้ เู้ รียนเข้าใจสงั คมเปน็ อย่างดี 5. ปรัชญาลทั ธิอัตถิภาวนิยม (Existentialism) เป็นปรัชญาที่ให้ความสาคัญกับองค์ประกอบที่ทาให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ ยิ่งเพราะเชื่อว่ามนุษย์มิใช่วัตถุแต่มีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึก มีความต้องการ องค์ประกอบที่ สาคัญของลัทธิน้ีก็คือ “ความมเี สรีภาพ ความรสู้ ึกรบั ผดิ ชอบและการเลือกตดั สินใจ” ความเปน็ มา สาเหตทุ ี่เกิดปรัชญาลัทธินี้ขึ้นมาก็เน่ืองจากความรู้สึกสูญเสียตัวเองไปจาก ระบบสังคมปัจจบุ นั การศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทาลายความเป็นมนุษย์ด้วยการสร้างกรอบของ สังคมที่จากัดเสรีภาพของมนุษย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในแต่ละวันเราต้องทาหน้าที่ไปตามกรอบของ สังคมที่วางไว้จนไม่ค่อยจะมีเสรีภาพเป็นของตวั เองเลย

22 ผนู้ าปรชั ญาอตั ถิภาวนิยมในยคุ นี้ คือ 1. มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger) 2. ยังปอล ชาร์ตร์ (Jean-Paul Sartre) 3. คารล์ จัสเปอร์ (Karl Jusper) 4. เมอริช เมอเล ปองเต (Maurice Merlear-Ponty) 5. กาเบรียล มาร์เชล (Gabriel Marchel) 6. ปอล ทิลลิช (Paul Tillich) 7. มาร์ติน บูเบอร์ (Martin Buber) ในด้านการศึกษา ได้มีผู้ประยุกต์แนวคิดนี้ไปใช้กับ การศึกษาโดยนาไป ทดลองปฏิบัติในโรงเรียนต่างๆ เชน่ โรงเรียนสาธิต โรงเรียน Summer Hill ในองั กฤษของ A.S. Neill แนวคิดพื้นฐาน นักปรัชญาอัตถิภาวนิยมที่มีคนรู้จักกันมากและมีอิทธิพลมากที่สุด คือ ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean Paul Sartre) ชาวฝรง่ั เศสซึ่งเขาให้ความเหน็ เกี่ยวกับลัทธินี้ไว้พอสรุปได้ ดังน้ี มนุษย์ คือ เสรีภาพ สภาพความเป็นมนุษย์และเสรีภาพเป็นสิ่งที่แยกออก จากกันไม่ได้ กฎเกณฑห์ รอื ข้อห้ามตา่ งๆ ในสังคมโดยตัวของมันเองไม่มีอานาจอะไรที่มากีดกัน เสรีภาพของมนุษย์ มนษุ ย์มสี ิทธิที่จะเลือกรับหรอื ปฏิเสธก็ได้ มนุษย์เป็นผู้กาหนดชะตาชีวิตของ ตนเอง ชีวติ ของแต่ละคนจึงไม่มพี ระเจา้ หรอื พระพรหมเป็นผู้กาหนด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ชีวติ จะมีความหมายเช่นไร อยู่ทีก่ ารตัดสินใจหรอื การตง้ั กฎเกณฑข์ องมนุษย์เอง การศึกษาคือการส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนรู้จักพิจารณา ตัดสินใจตาม สภาพและเจตจานงที่มีความหมายต่อการดารงชีวิตของตนเองอย่างแท้จริงโดยเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกสรรคุณธรรมค่านิยมได้อย่างเสรี พร้อมกันนั้นก็ต้ องมีความ รับผิดชอบต่อตนเองด้วย หรืออาจกล่าวอย่างสรุปได้ว่าการศึกษาคือกระบวนการที่ส่งเสริมให้ มนุษย์เป็นมนุษย์ นั่นคือมีอิสระที่จะเลือกแนวทางในการดาเนินชีวิตของตนเองด้วยตนเองและ รบั ผิดชอบต่อการตดั สินใจเลือกน้ัน ผสู้ อน ผู้สอนจะต้องให้เสรีภาพแก่นักเรียนอย่างเต็มที่ ครูเป็นเสมือนพ่อแม่ มากกว่าเปน็ ครูผมู้ ีอานาจเปน็ ผู้ให้ความรัก ความอบอุ่น เลีย้ งดูและปฏิบัติต่อเด็กเสมือนเป็นลูก ของตนเอง คอยให้คาปรึกษาหารอื แก้ปัญหาส่วนตวั ตามความต้องการของเดก็ อย่างสม่าเสมอ

23 และต่อเน่อื งท้ังในภาวะปกติและเจ็บปุวย เอาใจใส่จัดการเรียนการสอนให้เกิดความสนุกสนาน และคานงึ ถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคนทั้งด้านสติปัญญาและอารมณ์ ครูจะต้องช่วยสร้าง ความพร้อมด้านอารมณ์ ความรู้สึกของเด็กให้เกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ หรือเกิดความสนใจ และต้องการเรียนรดู้ ้วยตนเอง และครูต้องพฒั นาการสอนของตนเองใหก้ ้าวหน้าอยู่เสมอ ผเู้ รียน เด็กทุกคนใช้เสรีภาพได้อย่างเต็มที่โดยไม่ละเมิดสิทธิส่วนตัวของผู้อื่นและ ส่วนรวม ทุกคนมีเสรีภาพอย่างเต็มที่และทัดเทียมกัน มีการปกครองตนเองในรูปแบบของ การประชุมสภาโรงเรียน เด็กได้เรียนรู้ชีวิตจากการดารงชีวิต ไม่ใช่วิชาเกี่ยวกับชีวิต การ ปกครองตนเองแบบประชาธิปไตย เด็กทุกคนมีเสรีภาพที่จะเรียนหรือไม่เรียนก็ได้ ขึ้นอยู่กับ ความพรอ้ มหรอื ความตอ้ งการของเด็กเอง ไม่มีการบังคับ เด็กที่ยังไม่เข้าห้องเรียนจะเลือกเล่น หรอื ทากิจกรรมที่เขาสนใจกไ็ ด้ตามความสมคั รใจ หลกั สูตร เน้นทั้งด้านวิชาการควบคู่กบั วิชาชีพ เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง คือ เม่ือ จบการศกึ ษาแล้วตอ้ งประกอบอาชีพได้ โดยเฉพาะเกษตรกรรมหรือเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ เช่นกัน ความสาเร็จของเด็กในโรงเรียนหมู่บ้านเด็กที่มีผู้กล่าวถึง คือ ความกล้าทา กล้า สร้างสรรค์ กล้าแสดงออกและรับผิดชอบต่อตนเองได้ดี ช่วยเหลือตนเองในสิ่งที่ทาได้และกล้า ยอมรับความผิดที่ตนได้กระทาโดยไม่ปิดบงั เปน็ ต้น ปรชั ญาของประเทศไทย ประเทศไทยในฐานะสังคมเกษตรกรรมพื้นฐานและมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดม สมบูรณ์ได้นาแนวคิดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการสร้างชาติซึ่งเป็น ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัวพระราชทานพระราชดาริชี้แนะแนวทาง การดาเนินชีวิต แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 40 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และ เมือ่ ภายหลังได้ทรงเนน้ ย้าแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดารงอยู่ได้อย่างม่ันคง และยง่ั ยืนภายใต้กระแสโลกาภวิ ตั น์และความเปลีย่ นแปลงต่างๆ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุก ระดบั ตง้ั แต่ระดับครอบครวั ระดบั ชมุ ชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ ดาเนนิ ไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมเี หตุผล รวมถึงความจาเป็นที่จะต้องมีระบบ ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงท้ังภายใน

24 ภายนอก ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนา วิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดาเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้อง เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจใน ทุกระดับ ให้มีสานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดาเนิน ชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อ การรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางท้ังด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและ วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เปน็ อย่างดี ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จงึ ประกอบด้วยคณุ สมบัติ ดังน้ี 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่ เบียดเบียนตนเองและผอู้ ื่น เชน่ การผลิตและการบริโภคทีอ่ ยู่ในระดบั พอประมาณ 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้อง เป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคานึงถึงผลที่คาดว่าจะ เกิดข้ึนจากการกระทานนั้ ๆ อย่างรอบคอบ 3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้าน ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน อนาคตโดยมี เง่ือนไข ของการตัดสินใจและดาเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ ดังน้ี 1. เง่ือนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกีย่ วกับวิชาการตา่ งๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนาความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมดั ระวังในการปฏิบัติ 2. เง่ือนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจรติ และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สตปิ ัญญาในการดาเนินชีวติ ประเทศไทยกับเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต หรือบริโภค ภายใต้ขอบเขต ข้อจากัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อนซึ่งก็คือ หลักในการลด การพึ่งพา เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเองและลดภาวะการเสี่ยง จากการไม่สามารถควบคุมระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจพอเพียงมิใช่ หมายความถึง การกระเบียดกระเสียนจนเกินสมควร หากแต่อาจฟุมเฟือยได้เป็นคร้ังคราวตาม อัตภาพแต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ มักใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะที่หามาได้ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนาไปสู่เปูาหมายของการสร้างความม่ันคงในทางเศรษฐกิจได้ เช่น โดยพื้นฐานแล้ว

25 ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความม่นั คงทางอาหาร เปน็ การสร้างความมัน่ คงให้เปน็ ระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง จึงเป็น ระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยงหรือความไม่ม่ันคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้ เศรษฐกิจ พอเพียงสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จาเป็นจะต้อง จากัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์และ การค้าการลงทุนระหว่างประเทศโดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่าง พอประมาณ มีเหตมุ ีผลและสร้างภูมิคมุ้ กนั ใหแ้ ก่ตนเองและสังคม การดาเนินชีวติ ตามแนวพระราชดาริพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังน้ัน เม่ือได้พระราชทาน แนวพระราชดาริหรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคานึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของ ประชาชนด้วย เพื่อไม่ใหเ้ กิดความขดั แย้งทางความคิดทีอ่ าจนาไปสู่ความขดั แย้งในทางปฏิบัติได้ แนวพระราชดาริในการดาเนินชีวติ แบบพอเพียง 1. ยึดความประหยัด ตดั ทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุมเฟือยในการใชช้ ีวติ 2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถกู ต้อง ซื่อสัตย์สุจริต 3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่าง รนุ แรง 4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝุหา ความรใู้ ห้มรี ายได้เพิม่ พูนขนึ้ จนถึงข้ันพอเพียงเป็นเปูาหมายสาคัญ 5. ปฏิบัติตนในแนวทางทีด่ ี ลดละสิ่งช่ัว ประพฤติตนตามหลักศาสนา จมุ พล วิเชยี รศิลป์ (2561) ได้นาเสนอระดบั ของความพอเพียงว่าอาจแบ่งได้ 3ระดบั คือ 1. ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจ พอเพียง แบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกล แหลง่ นา้ ตอ้ งพึง่ นา้ ฝนและประสบความเสี่ยงจากการทีน่ ้า จากการแก้ปญั หาความเสี่ยงเร่ืองนี้ จะทาให้เกษตรกรสามารถ มีข้าวเพื่อการบริโภค ยังชีพในระดับหนึ่งได้และใช้ที่ดินส่วนอื่นๆ สนองความต้องการพื้นฐานของ ครอบครัว รวมท้ังขายในส่วนที่เหลือ เพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็น ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทีไ่ ม่สามารถผลิตเองได้ ท้ังหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับ ครอบครัว 2. ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจเพียงพอแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ข้ันที่ 2 เป็นเร่ืองของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกัน ในรูปกลุ่ม หรอื สหกรณ์ หรอื การที่ธุรกิจต่างๆ รวมตัวกนั ในลักษณะเครือขา่ ยวิสาหกิจ

26 3. ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าซึ่งครอบคลุม ทฤษฎี ใหม่ข้ันที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจ สร้างความร่วมมือกับองค์กร อืน่ ๆในประเทศ เชน่ บริษทั ขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เปน็ ต้น ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงกบั การจดั การศกึ ษา 1. พอประมาณกับศักยภาพของผู้เรียน พอประมาณกับภูมิสังคมของโรงเรียนและ ชุมชนที่ต้ังฝกึ ใหผ้ เู้ รียนคิดเปน็ ทาเป็นอย่างมเี หตุผลและมีภูมิคุ้มกันในด้านต่างๆ โดยการดาเนิน กิจการตอ้ งนาไปสู่ความยงั่ ยืน 2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความรู้ อย่างรอบคอบ ระมัดระวัง ฝึกการทางานร่วมกับผู้อื่น มีคณุ ธรรมมีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น อดทน มีความพากเพียร มีวินัย มีสัมมาคารวะรู้จักทาประโยชน์ให้กับสังคม ร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสืบสาน วฒั นธรรมไทย จากความหมาย คุณลักษณะสาคัญของปรัชญาตะวันตกและปรัชญาของประเทศไทย กล่าวได้ว่าเปน็ อุดมคติของความคิด ความเชื่อทีจ่ ะทาให้มนุษย์เรามีเปูาหมายในการดาเนินชีวิต ปรัชญาจึงเป็นสิง่ ยึดเหนีย่ วใหก้ ารพฒั นาหลักสูตรดาเนินไปได้อย่างมีทิศทาง 1.7 พืน้ ฐานทางดา้ นจติ วิทยา การจัดทาหลักสูตรต้องพยายามจัดหลักสูตรให้สนองความต้องการและ ความสนใจ ของผู้ เรียน อย่าง แท้จริ งด้วย การ ศึกษ า ข้อมูล พื้นฐา นเกี่ย ว กบ ตัวผู้เ รียนว่ าผู้เรี ยนเป็ นใค ร มีความตอ้ งการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งเป็นเร่ืองที่เกี่ยวกับจิตวิทยาทั้งสิ้น ดังน้ันข้อมูลพื้นฐานทางด้านจิตวิทยาจึงเป็นส่วนสาคัญที่จะต้องคานึงถึงเพื่อประกอบการ กาหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร การกาหนดเนื้อหาวิชา การจัดการเรียนรู้ ตลอดจนเคร่ืองมือวัด ประเมินผล เพื่อให้ได้หลักสูตรที่เหมาะสม พัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเร่ืองของ จิตวิทยา โดยเฉพาะ จิตวิทยาพัฒนาการ(developmental psychology) และจิตวิทยาการเรียนรู้ (psychology of learning) ซึ่งจิตวิทยาท้ัง 2 สาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดทาหลักสูตรโดยตรง นอกจากนี้ นกั พัฒนาหลักสูตรยงั ให้ความสาคญั กบั จติ วิทยาทว่ั ไป (general psychology)ในส่วน ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของมนุษย์ด้วยเช่นกัน จิตวิทยาพัฒนาการกับการพัฒนา หลักสูตรจิตวิทยาพัฒนาการจะบอกถึงพัฒนาการของมนุษย์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และเชาวน์ปญั ญาทาให้ทราบถึงความสามารถ ความสนใจ ความตอ้ งการ เจตคติและศักยภาพ

27 ด้านต่างๆ ที่แตกต่างกันของผู้เรียนแต่ละคนองค์ประกอบของพัฒนาการของมนุษย์มี 2 ประการคอื 1. วุฒิภาวะ (maturity) หมายถึง กระบวนของความเจริญเติบโตสูงสุดของอินทรีย์ใน ร่างกายที่ทาให้เกิดความพร้อมที่จะทากิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะน้ันโดยไม่ต้องอาศัย การฝึกฝนหรอื เรียนรู้ใด ๆ หรอื เปน็ ไปตามธรรมชาติ 2. การเรียนรู้ (learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจาก ประสบการณ์การเรียนรู้อาจเกิดขึ้นด้วยการจูงใจ หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่ต้ังใจก็ได้พัฒนาการ และการเจรญิ เติบโตของมนษุ ย์ แบ่งออกเปน็ 2 ด้าน คือ 1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย (physical development) เป็นการเปลี่ยนแปลงใน ด้านโครงสรา้ งท้ังขนาดรปู ร่างและการทางานของอวยั วะต่าง ๆ ในร่างกาย 2. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา (mental development) เป็นความเจริญงอกงาม ที่บ่งบอกถึงการเพิ่มพูนความ สามารถในประกอบกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและรวบรวม ความรคู้ วามเข้าใจไว้เปน็ หมวดหมู่ เป็นพัฒนาการทางดา้ นความคดิ ความจาและความเข้าใจ การวางหลักสูตรต้องกาหนดเน้ือหาวิชาให้เป็นลาดับจากง่ายไปสู่เน้ือหาที่ซับซ้อนขึ้น สอดคล้องกับลาดับข้ันการพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนและคานึงถึงวุฒิภาวะและความ พร้อมของผเู้ รียน จติ วิทยาการเรียนรกู้ บั การพฒั นาหลกั สตู ร จติ วิทยาการเรียนรจู้ ะบอกถึงธรรมชาติของ การเรียนรู้ การเกิดการเรียนรู้และปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ สามารถนาไปใช้ใน การจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพแนวคิดของนักจิตวิทยาที่เกี่ยวกับทฤษฎี การเรียนรมู้ ี 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน ดงั นี้ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนยิ ม (behaviorist theory) 2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรนู้ ิยมหรือปัญญานิยม (cognitivist theory) 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนษุ ยนิยม (humanist theory) หรอื กลุ่มแรงจูงใจ (motivation theory) 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนยิ ม (behaviorist theory) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นที่ การศกึ ษาพฤติกรรมของบุคคลที่สามรรถสังเกตเห็นได้เป็นหลักโดยมีความเชื่อว่าปัจจัยหลักที่ มีผลต่อพฤติกรมของมนุษย์น้ันน่าจะมาจากสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม น่ันคือ ถ้าครูสามารถจัด สิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะสามารถทาให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ นกั จิตวทิ ยากลุ่มพฤติกรรมนิยมที่มีการกล่าวถึงเสมอคือ วัตสัน (Watson) กาเย่ (Gagne) สกินเนอร์ (Skinner) พาฟลอฟ (Parlor) ธอร์นไดค์(Thorndike) และกัททรี (Guthrie)

28 2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้นิยมหรือปัญญานิยม (cognitivist theory) นักจิตวิทยา กลุ่มปัญญานิยมให้ความสนใจในการศึกษาปัจจัยภายในตัวบุคคลที่เรียกว่าโครงสร้างทาง ปัญญา (cognitive structure) ที่มีผลต่อความจา การรับรู้และการแก้ปัญหาของบุคคล นกั จิตวิทยากลุ่มน้ีมคี วามเชือ่ วา่ การกระทาตา่ งๆ ของบุคคลน้ันเกิดขึน้ จากตวั บุคคลน้ันเองไม่ใช่ เกิดจากเง่ือนไขบุคคลเป็นผู้กระทา สภาพแวดล้อมที่จะทาให้บุคคลเรียนรู้ได้ดีนั้นจะต้องเป็น สภาพแวดล้อมที่บุคคลรับรู้และมีความหมายต่อบุคคลเท่าน้ัน อีกท้ังสิ่งใดที่บุคคลได้เรียนรู้มา ก่อนจะมีผลต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน ดังน้ัน นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจต่อสิ่งที่บุคคลได้ เรียนรู้มาแล้ว เพื่อจะได้จัดประสบการณ์ที่มีความหมายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพตัวอย่างนักจติ วิทยากลุ่มนี้ เช่น เกสตอลส์ (Gestalt) วิลเลี่ยม เจม (William Jame) จอหน์ ดวิ อี้ (JohnDewey) เอดวารด์ โทลแมน (Edword Tolman) พีอาเจต์ (Piaget) และบรูเนอร์ (Bruner) 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (humanist theory) หรอื กลุ่มแรงจูงใจ (motivation theory) นกั จิตวิทยากลุ่มน้ีคานึงถึงความเป็นคนของคน มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะว่า มนษุ ย์เกิดมาพร้อมกับความดี มนุษย์เป็นผู้ที่มีอิสระสามารถนาตนเองและพึ่งตนเองได้ เป็นผู้ที่ มีความคิดสร้างสรรค์ทาประโยชน์ให้สังคม มีอิสระที่จะเลือกทาสิ่งต่าง ๆ ยึดการเรียนรู้จาก แรงจูงใจเป็นหลัก นักจิตวิทยากลุ่มนี้ไม่ยอมรับว่าการเรียนรู้เกิดจากการกาหนดเง่ือนไขและ กลไกต่างๆ แต่เขาให้ความสนใจในลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคลโดยเน น สิง่ ที่เรยี กว่าตัวตน (self)ตลอดจนความมีอสิ รภาพการที่บุคคลได้มีโอกาสเลือกการกาหนดด้วย ตนเอง (self determinism) และการเจริญงอกงามส่วนตน (growth) ซึ่งลักษณะของการจัด การเรียนการสอนตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้จะเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง ( child- centered) นักจิตวิทยากลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ซึ่งมีอิทธิพลในการจัดการเรียนรู้คือโรเจอร์ (Rogers) และมาสโลว์ (Maslow) ข้อมูลทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้จะทาให้ได้แนวคิดในการจัดทาหลักสูตรที่เหมาะสม กับผเู้ รียน เชน่ - หลักสูตรจะต้องคานึงถึงการฝึกหัดเพราะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนอง - จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการแก้ปัญหา การค้นคว้าและวิธีการอื่นๆ ที่ส่งเสริม การหยั่งรู้ - หลักสูตรควรมีความยืดหยุ่น โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนบางรายวิชาตาม ความถนดั และความสนใจ

29 - การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้มีสถานที่เป็น แรงจงู ใจใหเ้ กิดการเรยี นรู้ จิตวิทยาทั่วไปกับการพัฒนาหลักสูตร ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาท่ัวไปที่นักพัฒนา หลักสูตรจะต้องคานงึ ถึงในการพัฒนาหลกั สูตร ได้แก่ 1. ความพร้อม (readiness) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นในร่างกายและจิตใจที่สามารถ พัฒนาข้นึ ได้จากการจัดประสบการณ์และส่งิ แวดล้อม 2. เจตคติ (attitude) หมายถึง ท่าทีที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะสังเกตได้จาก การแสดงออก ท่าทาง คาพูด 3. แรงจูงใจ (motive) และการจูงใจ (motivation) แรงจูงใจช่วยส่งเสริมให้ทางาน จนสาเร็จและนาพฤติกรรมของตนไปให้ตรงทิศทาง ส่วนการจูงใจกับวิธีการชักจูงให้บุคคล กระทาอย่างใดอย่างหนึง่ ตามที่ผชู้ กั จงู ต้องการ 4. การถ่ายโยงการเรียนรู้ (transfer of learning) เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่นาไปสู่ การเรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ และนาผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิด จากความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนมา เจตคติที่จะรับรู้ต่อไปประกอบกับทักษะของการฝึกฝน สิ่งทีก่ าลังเรียนรู้อยู่จนเกิดความเข้าใจใหม่ 5. การจา การลืม การคิด (memory forget thinking) การจา หมายถึงความสามารถ ทางสมองที่จะเก็บหรือคงที่สิ่งที่ได้เรียนรู้ไว้นานในช่วงเวลาที่ควรจา การลืม หมายถึง การไม่ รักษาความจาไว้ได้ ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว การคิด เป็นกระบวนการสร้างภาพให้ ปรากฏขึ้นในสมอง ซึ่งบางครั้งอาจต่อเน่ืองมาจากความจาข้อมูลทางด้านจิตวิทยาท่ัวไปจะทา ให้ได้แนวคิดในการจัดทาหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน เช่น การกาหนดเนื้อหาในวิชาทักษะ ต้องยึดหลักความพร้อม

30 1.8 ขอ้ มูลพื้นฐานทางด้านสังคมและวฒั นธรรม การศกึ ษาทาหนา้ ทีส่ าคัญคือ อนุรกั ษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสงั คมไปสู่คนรุ่นหลัง และปรับปรงุ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของสงั คมให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่างๆโดยหน้าที่ดังกล่าวการศึกษาจะช่วยควบคุมการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ เป็นไปในทิศทางที่พึงปรารถนา เพราะฉะน้ันหลักสูตรที่จะนาไปสอนอนุชนเหล่านั้นจึงต้องมี ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยกไม่ออกดังน้ันการพัฒนาหลักสูตรจึงจาเป็นต้อง คานึงถึงข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถใน การวิเคราะห์ความต้องการใหม่ผลการวิเคราะห์ออกมาอย่างไรหลักสูตรก็จะเปลี่ยนจุดหมาย ไปในแนวนั้นสามารถจาแนกข้อมลู ให้เหน็ ชัดเจนได้ดงั นี้ 1. โครงสร้างทางสังคม โครงสร้างสังคมไทยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ 1) ลักษณะสังคมชนบทหรือสังคมเกษตรกรรมและ 2) สังคมเมืองหรือสังคมอุตสาหกรรมใน ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีมากดังน้ันการพัฒนาหลักสูตร จาเป็นจะต้องศึกษาโครงสร้างทางสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและแนวโน้มโครงสร้างสังคมใน อนาคตเพื่อที่จะได้ข้อมูลมาจัดการหลักสูตรว่าจะจัดหลักสูตรอย่างไรเพื่อยกระดับการพัฒนา สังคมเกษตรกรรมและเตรียมพื้นฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมสู่การพัฒนา อตุ สาหกรรมตามความจาเปน็ 2. ค่านิยมในสังคม ค่านิยมหมายถึงสิ่งที่คนในสังคมเดียวกันมองเห็นว่ามีคุณค่า เป็นที่ยอมรับ หรือเป็นที่ป รารถ นาของคนทั่วไ ปใ นสังคมนั้ นๆ ดังนั้นก ารพัฒนาหลักสูตรจึง จาเปน็ ตอ้ งศึกษาค่านิยมต่างๆ ในสังคมไทย หน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรที่จะศึกษาและเลือก ค่านิยมที่ดีและสอดแทรกไว้ในหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังและสร้าง ค่านิยมที่ดีในสังคมไทย 3. ธรรมชาติของคนในสังคม จากสภาพวัฒนธรรมและค่านิยมของสังคมไทยทา ให้คนไทยส่วนใหญ่มีลักษณะบุคลิกภาพ เช่น ยึดม่ันในตัวบุคคลมากกว่าหลักการและเหตุผล ยกย่องบุคคลที่มีความรู้หรือได้รับการศึกษาสูง เคารพและคล้อยตามผู้มีวัยวุฒิสูง ยกย่องผู้มี เงินและผู้มอี านาจ รกั ความอิสระและชอบทางานตามลาพัง เชอ่ื โชคลางทางไสยศาสตร์ ฯลฯ 4. การชี้นาสังคมในอนาคต การศึกษาควรมีบทบาทในการชี้นาสังคมในอนาคต ด้วยเพราะในอดีตที่ผ่านมาระบบการศึกษาและระบบพัฒนาหลักสูตรของไทยเป็นลักษณะของ การตั้งรับมาโดยตลอด เช่น การต้ังรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น กระแสความเจริญของ ประเทศทางตะวันตก กระแสวิชาการตะวันตก ความต้องการและปัญหาของสังคมจึงทาให้ การศึกษาเป็นตัวตาม เป็นเคร่ืองมือที่คอยพัฒนาตามกระแสของการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

31 ฉะน้ันการจักการศึกษาที่ดีควรใช้การศึกษาเป็นเคร่ืองมือในการพัฒนาประเทศในอนาคตให้ เป็นไปตามเปูาหมายทีว่ างไว้ 5. ลักษณะสังคมตามความคาดหวัง การเตรียมพัฒนาทรัพยากรให้มีคุณภาพ มีคุณลักษณะหรือคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นเร่ืองไม่คงที่ การพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ให้มีคณุ ภาพในการดารงชีวติ จรรโลงสภาพสงั คมในอนาคตให้ดีข้นึ 6. ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคม ศาสนาเป็นเคร่ืองยึดเหนี่ยวจิตใจของคนใน สังคมเพราะฉะนั้นสิ่งที่บรรจุไว้ในหลักสูตรควรเป็นหลักธรรมในศาสนาต่างๆและควร เปรียบเทียบหลักธรรมของศาสนาเหลา่ น้ันเพ่อื ให้ผู้เรียนได้ทราบว่าทุกศาสนามีเปูาหมายสูงสุด ร่วมกัน คือการสอนให้คนเป็นคนดีเพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคมส่วนด้าน วัฒนธรรมน้ันปัจจบุ ันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพราะวิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้ามาก ในการพัฒนาหลักสตู รจึงต้องคานงึ ถึงการเปลี่ยนแปลงการเปลีย่ นแปลงทางวัฒนธรรม

32 สรุป ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสูตร มีความสาคัญ จาเป็นที่จะต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิด ความเข้าใจในความหมาย ความสาคัญ องค์ประกอบ ระดับของหลักสูตรตลอดจนบริบทของ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่มีคุณภาพ อันได้แก่ ปรัชญาการศึกษาที่จะเป็นความเชื่อให้ นักพัฒนาหลักสูตรได้ยึดเหนี่ยวและมุ่งม่ันในการพัฒนาความคิดไปสู่ความสาเร็จ ปรัชญา การศึกษาจึงเป็นการกาหนดกรอบความคิดพื้นฐานที่สาคัญรวมถึงพื้นฐานทางจิตวิทยาที่ สัมพันธ์กับการเรียนรู้ของผู้เรียน การเรียนรู้เป็นการสะสมความรู้ที่สัมพันธ์กับพัฒนาการของ ช่วงวัยผู้เรียน การได้รับการเสริมศักยภาพท้ังทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ย่อมจะทาให้เกิด การเรียนรู้ได้ดี อีกประการหนึ่งคือพื้นฐานทางสังคมที่เป็นบริบทของการดารงชีวิตของคนใน ชุมชน การสืบสานความคิด ภูมิปัญญา วิถีวัฒนธรรมในชุมชนย่อมจะทาให้การพัฒนา การศกึ ษาเปน็ ไปเพือ่ ตอบสนองคนในสงั คมให้อยู่ร่วมกันอย่างสนั ติ แบบฝึกหัด 1. ความรพู้ ืน้ ฐานมีความจาเปน็ สาคญั อย่างไรต่อการพฒั นาหลกั สตู ร 2. หลกั สูตรมีความสัมพันธ์กับผเู้ รียน สงั คมและความรอู้ ย่างไร 3. นักพัฒนาหลักสูตรควรคานึงถึงหลักการในการพัฒนาหลักสูตรอย่างไรให้เหมาะสมกับ การศกึ ษาไทย กิจกรรม 1. สืบค้นจากหนงั สือหรอื ในอินเตอร์เนต็ เพิ่มเติมเร่อื ง ความรเู้ บือ้ งตน้ เกีย่ วกบั หลักสตู ร 2. อภปิ ราย “หากเปรียบปรชั ญาเปน็ อุดมคติในการพัฒนาหลักสูตร ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงเปน็ อดุ มคติของการศกึ ษาไทยหรือไม่ อย่างไร” 3. แลกเปลี่ยนความคิดกบั เพื่อนนักศึกษา จากประเด็นทีศ่ ึกษาเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ได้แก่ ความหมาย ความสาคญั ของหลกั สตู ร ปัจจัยทีเ่ กี่ยวข้องกบั งานด้านหลกั สตู ร