Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสืออ่านเพิ่มเติม "เส้นสาย...เครื่องหมายบนผิวจราจร"

หนังสืออ่านเพิ่มเติม "เส้นสาย...เครื่องหมายบนผิวจราจร"

Published by Kritsana Mathong, 2020-06-12 23:55:32

Description: หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด “รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน” เรื่อง เส้นสาย...เครื่องหมายบนผิวจราจร

Search

Read the Text Version

หนังสอื อา่ นเพม่ิ เตมิ ชดุ “รณรงค์ป้องกันและลดอบุ ัติเหตทุ างถนน” เส้นสายเ..ค. รือ่ งหมาย บนผิวจราจร โรงเรยี นดงเจรญิ พทิ ยาคม อ.ดงเจรญิ จ.พจิ ิตร สานักงานเขตพน้ื ที่การศกึ ษามัธยมศกึ ษาเขต 41 สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พนื้ ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ



หนงั สืออ่านเพมิ่ เตมิ ชุด “รณรงคป์ ้องกันและลดอุบัตเิ หตทุ างถนน” เส้นสาย...เครอ่ื งหมายบนผวิ จราจร โรงเรยี นดงเจริญพิทยาคม อำเภอดงเจรญิ จังหวดั พิจติ ร สำนักงานเขตพ้นื ทีก่ ารศกึ ษามัธยมศึกษาเขต 41 สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คำนำ ปจั จบุ ันน้ี ปัญหาท่ีสำคญั ของประเทศไทยทจ่ี ะต้องแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง น่ันก็คือ “ปัญหาอุบัติเหตุ ทางถนน” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล และสาเหตุของอุบัติเหตุทางถนน ในประเทศไทย เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งในด้านผู้ขับขี่ที่ขาดความรู้และฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการจราจร ทางบก ขาดจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนน ด้านยาพาหนะที่ไม่สมบูรณ์ครบถ้วน ขาดการตรวจสภาพและ บำรุงรักษา ด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการสัญจร เช่น สภาพอากาศเลวร้าย ทัศนวิสัยการมองเหน็ ไม่ชัดเจน สภาพถนนชำรุด เป็นหลุมเป็นบ่อ สภาพถนนไม่ปลอดภยั ตามหลักวิศวกรรม เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลก็ได้ ให้ความสำคญั กบั ปัญหาอบุ ัตเิ หตทุ างถนน ท้ังในช่วงระยะเวลาปกติ รวมถึงช่วงวันหยุดยาวและช่วงเทศกาลท่ีมี ปริมาณจราจรสงู ข้นึ เพื่อลดอุบตั ิเหตุบนทอ้ งถนนอยา่ งแทจ้ ริง โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ประจำอำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันโรงเรียนดงเจริญพิทยาคม ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับจังหวัดพิจิตร ในโครงการสานพลังสร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน จังหวัดพิจิตร ปี 2562-2563 เมอ่ื วันท่ี 23 กนั ยายน 2562 ณ โรงแรมมีพรสวรรค์ แกรนด์ โฮเทล แอนด์ รีสอรท์ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยมีวัตถุประสงค์หลกั เพื่อให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกในการขบั ขี่อย่างมีวินัยและถูกกฎจราจร อยา่ งม่งุ เน้น ให้เกิดความปลอดภยั และลดอบุ ตั เิ หตุบนท้องถนน การที่จะทำให้ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะ สามารถสัญจรบนท้องถนนได้อย่างปลอดภัยและกฎจราจร สิ่งสำคัญที่นอกเหนือจากทักษะการขับขี่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน นั่นคือ การที่ผู้ขับขี่มีความรู้และเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก และมีความรู้ความเข้าใจใน เครื่องหมายและสัญญาณจราจรที่ปรากฏบนทางหลวง ดังนั้น ในที่ประชุมคณะทำงานโครงการสานพลัง สร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม ร่วมกับคณะสภานักเรียน โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ต่างให้ความเห็นชอบในการรณรงค์ป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนน ที่ประชุมจึงมีมติให้คณะทำงานโครงการสานพลังสร้างมาตรการองค์กร เพื่อความปลอดภัยทางถนน โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม เป็นผู้ผลิตสื่อการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนกิ ส์ สอื่ สงั คมออนไลน์ และระบบส่ือสารมวลชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมชุด “รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน” จะมีประโยชน์ต่อนกั เรยี น ผู้ปกครอง ผู้ใช้รถใช้ถนน และผู้ที่สนใจไม่มากกน็ อ้ ย หากมีข้อผดิ พลาดประการใด กราบขออภยั มา ณ ท่นี ี้ จักขอบคณุ ย่งิ คณะทำงานโครงการสานพลงั สร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภยั ทางถนน โรงเรยี นดงเจริญพทิ ยาคม

สารบัญ บทท่ี 1 บททัว่ ไป............................................................................................................................................. 1 1.1 ประเภทเคร่ืองหมายจราจรบนพนื้ ทาง ................................................................................................. 1 1.2 สีของเครื่องหมายจราจรบนพ้ืนทาง...................................................................................................... 1 1.3 วัสดุสำหรับเครอื่ งหมายจราจรบนพื้นทาง ............................................................................................ 2 1.4 การบำรงุ รกั ษา..................................................................................................................................... 3 บทที่ 2 เคร่ืองหมายจราจรบนพน้ื ทางตามแนวทางเดนิ รถ............................................................................... 4 2.1 เส้นแบง่ ทศิ ทางจราจรปกติ................................................................................................................... 4 2.2 เส้นแบ่งทศิ ทางจราจรหา้ มแซง............................................................................................................. 4 2.3 เส้นแบง่ ทิศทางจราจรหา้ มแซงเฉพาะด้าน............................................................................................ 5 2.4 เสน้ แบง่ ช่องเดินรถปกติ........................................................................................................................ 5 2.5 เสน้ ห้ามเปล่ยี นช่องจราจร.................................................................................................................... 5 2.6 เสน้ ขอบทางดา้ นนอก........................................................................................................................... 6 2.7 เสน้ ขอบทางดา้ นใน.............................................................................................................................. 6 บทท่ี 3 เคร่ืองหมายจราจรบนพน้ื ทางตามขวาง .............................................................................................. 7 3.1 เส้นแนวหยุด ........................................................................................................................................ 7 3.2 เสน้ ใหท้ าง............................................................................................................................................ 7 3.3 เส้นทางคนขา้ ม .................................................................................................................................... 8 บทที่ 4 เครื่องหมายจราจรบนพนื้ ทางอ่นื ๆ .................................................................................................... 9 4.1 เขตปลอดภัย หรอื เกาะสี...................................................................................................................... 9 4.2 ข้อความบนพ้นื ทาง .............................................................................................................................. 9 4.3 ลกู ศร ................................................................................................................................................. 10 4.4 เสน้ ชะลอความเรว็ ............................................................................................................................. 10 4.5 เสน้ ทางรถไฟตดั ผ่าน .......................................................................................................................... 10 4.6 เส้นทแยงห้ามหยดุ รถ......................................................................................................................... 11 4.7 เส้นช่องจอดรถ................................................................................................................................... 11

4.8 เคร่อื งหมายใหท้ าง ............................................................................................................................. 11 บทท่ี 5 เครื่องหมายจราจรบนสนั ขอบทาง.................................................................................................... 13 5.1 เครื่องหมายหา้ มจอดรถ ..................................................................................................................... 13 5.2 เครื่องหมายหา้ มหยดุ รถ ..................................................................................................................... 13 5.3 เครอ่ื งหมายขาวดำ............................................................................................................................. 13 บทที่ 6 เคร่ืองหมายวัตถุหรือสง่ิ กีดขวางในเขตทาง ....................................................................................... 14 6.1 เครอื่ งหมายแถบเฉียงสลบั สี ............................................................................................................... 14 6.2 เครือ่ งหมายเป้าสะทอ้ นแสง ............................................................................................................... 14 บทที่ 7 เคร่ืองหมายปุ่มบนพื้นทาง................................................................................................................ 15 7.1 บทนิยาม............................................................................................................................................ 15 7.2 การใช้เคร่ืองหมายปุ่มนำทางตามแนวทางเดินรถทวั่ ไป....................................................................... 15 บทท่ี 8 เคร่ืองหมายนำทาง........................................................................................................................... 19 8.1 หลกั นำทาง ........................................................................................................................................ 19 8.2 เป้าสะท้อนแสง .................................................................................................................................. 19 อา้ งอิง........................................................................................................................................................... 20

-1- บทที่ 1 บททวั่ ไป 1.1 ประเภทเครอ่ื งหมายจราจรบนพืน้ ทาง เคร่ืองหมายจราจรบนพนื้ ทางแบง่ ออกเป็น 7 ประเภทดงั ตอ่ ไปนี้ 1) เครื่องหมายจราจรบนพืน้ ทางตามแนวทางเดนิ รถ (Longitudinal Pavement Markings) 2) เครื่องหมายจราจรบนพ้นื ทางขวางแนวทางเดนิ รถ (Transverse Pavement Markings) 3) เครือ่ งหมายจราจรบนพื้นทางอนื่ ๆ (Other Pavement Markings) 4) เคร่อื งหมายจราจรบนสนั ขอบทาง (Curb Marking) 5) เครอื่ งหมายจราจรแสดงตำแหน่งของวตั ถุหรอื สงิ่ กดี ขวาง (Object Markers) 6) เครอื่ งหมายปุ่มบนพื้นทางจราจร (Raised Pavement Markings) 7) เครื่องหมายนำทาง (Delineators) 1.2 สีของเครอื่ งหมายจราจรบนพืน้ ทาง เครอื่ งหมายจราจรบนพื้นทางให้ใชส้ ขี าวและสีเหลือง ส่วนสดี ำใชเ้ พอ่ื เพมิ่ การตดั สี สีขาว ใช้เป็นเคร่ืองหมายจราจรบนพื้นทาง ดังน้ี ก) เส้นแบ่งชอ่ งเดินรถหรือช่องจราจร ข) เสน้ ขอบทางดา้ นซา้ ย ค) รปู บง้ั บรเิ วณหวั เกาะ ง) เสน้ หยดุ จ) เสน้ ใหท้ าง ฉ) ทางคนขา้ ม ช) เส้นแสดงการจอดรถ ซ) รูปเกาะบริเวณทางแยก ฌ) เคร่ืองหมายและข้อความบนพน้ื ทางจราจร

-2- สเี หลือง ใชเ้ ปน็ เคร่ืองหมายจราจร ดังน้ี ก) เสน้ แบ่งทิศทางจราจร ข) เสน้ ขอบทางดา้ นขวาบนทางคู่ ค) เสน้ เฉยี งบริเวณเกาะแบง่ ทิศทางจราจร ง) เสน้ ทแยงหา้ มหยดุ ขวาง เครื่องหมายจราจรอื่น ๆ ให้ใช้ทั้งสีขาว สีดำ สีเหลืองและสีแดง แล้วแต่ความหมายและการใช้งาน เฉพาะแห่ง เช่น สันขอบทางบริเวณใดที่ทาสีเหลืองสลับขาวหมายความว่าบริเวณนั้นห้ามจอดรถ แต่สามารถ หยุดรับ-ส่งชั่วขณะ บริเวณใดทาสีแดงสลับขาวหมายความว่า ห้ามหยุดรถหรือจอดรถ ส่วนสันขอบสีดำสลับ ขาวมีไว้เพื่อแสดงตำแหน่งอุปสรรค สำหรับสีแดงใช้เป็นเครื่องหมายห้าม ทิศทางการจราจรที่มองเห็นป้าย สีแดงหมายความว่าห้ามเข้าในปัจจุบนั หลายประเทศได้กำหนดสฟี ้าสำหรับใชเ้ ส้นแสดงขอบเขตทีจ่ อดรถของ คนพกิ ารหรือทจี่ อดรถในเวลาส้นั ๆ เพอ่ื การรอคอยหรือรับส่งผู้โดยสารในเวลาท่ีกำหนด 1.3 วสั ดสุ ำหรับเคร่ืองหมายจราจรบนพน้ื ทาง วัสดุทใี่ ชท้ ำเปน็ เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง โดยท่วั ไปมดี ังน้ี 1) สีทาหรือพ่น เป็นวัสดุที่มีอายุใช้งานสั้น มีราคาถูก จึงเหมาะที่จะใช้งานบนถนนที่จะต้องบูรณะ ซ่อมแซมในอนาคตอนั ใกล้ หรือบนถนนท่ีมปี ริมาณการจราจรต่ำ 2) สีเทอร์โมพลาสติก เป็นวัสดุทีม่ ีอายุใช้งานนานและคงทนต่อการเสียดสีของการจราจร แต่มีราคา แพงกว่าสีทาหรือสีพ่นธรรมดา สีเทอร์โมพลาสติกจึงเป็นวัสดุที่เหมาะสมและประหยัดในการใช้เป็น เครือ่ งหมายจราจรบนพ้นื ทางบนถนนทไ่ี ด้มาตรฐานและมีปริมาณจราจรสงู 3) แผ่นเทปสำเร็จรูป ใช้ติดบนผิวจราจร คุณสมบัติของแผ่นเทปที่ใช้จะต้องมีความทนทานต่อการ เสยี ดสีของยางรถ มสี ที ่ถี าวรไม่ซีดหรือเปลยี่ นสีเมือ่ ใช้งานเป็นเวลานาน สารยดึ แน่นจะต้องสามารถยึดแผ่นเทป ใหต้ ิดกับผิวจราจรไดแ้ น่น ไมห่ ลดุ หรอื เคลอ่ื นท่ี แผ่นเทปสำเร็จรปู สว่ นมากจะมีอายุใช้งานได้ทัดเทียมหรือนาน กวา่ สีเทอรโ์ มพลาสติก และมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือสามารถเปิดการจราจรได้ทันทีท่ีติดตั้งเสร็จ จึงเหมาะท่ีจะใช้ เป็นเครอื่ งหมายจราจรบนพืน้ ทางตามขวาง บนถนนในเมืองท่ีมีการจราจรหนาแน่น 4) ปุ่มตดิ บนผิวจราจร เม่อื ตดิ ตง้ั แลว้ จะนนู ข้ึนจากผิวทาง ซ่ึงมขี อ้ ดคี ือ ทำให้ผขู้ ับข่มี องเห็นได้ชัดเจน กว่าเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางที่แบนราบกับผิวทางและเมื่อขับรถผ่านปุ่มผู้ขับขี่จะมีความรู้สึกสะดุด เล็กน้อย ทำให้ระมัดระวังมากขึ้น การติดตั้งต้องทำอย่างถาวร โดยการฝังเดือย (Anchor Bolts) หรือใช้สาร ยึดแน่น เช่น อีพอกซี่ (Epoxy Resin) ปุ่มอาจทำด้วยโลหะหรืออโลหะก็ได้ แต่จะต้องมีสีตามความหมายที่ใช้

-3- ปุ่มที่มีไฟกระพริบในตัวเป็นวิวัฒนาการใหม่ อาจจะมีประโยชน์สำหรับบริเวณที่มีอันตรายสูง แต่ในปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานการวิจัยข้อดีที่ชัดเจน ทั้งนี้ ความสูงและลักษณะของปุ่มจะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อ การจราจร 5) วสั ดุฝังในผวิ จราจร ในการกอ่ สร้างทางใหม่ หรือทำผิวจราจรใหม่ อาจใชว้ ัสดทุ ม่ี ีสีต่างจากผิวทาง ฝงั ไว้แสดงเปน็ เคร่ืองหมายจราจรกไ็ ด้ วัสดทุ ่ีใช้ควรมคี วามแข็งแรงเทยี บเท่าวสั ดุผิวทาง 1.4 การบำรงุ รักษา 1) เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางทุกแห่งจะต้องได้รับการดูแลรักษา ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย และ มองเห็นไดง้ ่ายและชดั เจนอยู่ตลอดเวลา รวมท้งั การสะทอ้ นแสงในเวลากลางคนื ด้วย 2) เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางทุกประเภท รวมทั้งปุ่มติดบนพื้นทางจราจรจะต้องได้รับการ ตรวจสอบเป็นระยะ ๆ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน หากชำรุดบกพร่องต้องรีบเปลี่ยน แก้ไข หรือทาสี ตีเสน้ ใหม่ 3) ให้จัดทำเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางโดยเร็วที่สุดหลังจากการก่อสร้างปูพื้นผิวจราจรใหม่ เว้นแต่กรณีที่เส้นและเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางอาจถูกรถงานก่อสร้างทำให้สกปรกหรือชำรุดให้จัดทำ แบบชั่วคราวก่อน โดยเฉพาะบริเวณที่จะเกิดอันตรายได้ง่ายถ้าเส้นจราจรหรือเครื่องหมายจราจรไม่ปรากฏ บนพื้นทาง

-4- บทท่ี 2 เครอื่ งหมายจราจรบนพืน้ ทางตามแนวทางเดนิ รถ 2.1 เส้นแบง่ ทศิ ทางจราจรปกติ มีลักษณะเป็นเส้นประสีเหลือง หมายความว่า เป็นเส้นแสดงการแบ่งแยกการจราจรของยวดยาน ที่มีทิศทางตรงกันข้าม ให้ขับรถไปตามด้านซ้ายของเส้นแบ่งทิศทางการจราจร ยกเว้นในกรณีที่ต้องการ แซงขนึ้ หน้ารถคนั อืน่ เสน้ แบ่งทิศทางจราจรปกติ 2.2 เส้นแบ่งทศิ ทางจราจรหา้ มแซง มีลักษณะเป็นเส้นทึบสีเหลืองเดี่ยว หรือคู่ หมายความว่า ให้ขับรถไปตามด้านซ้ายของเส้น ห้ามมิให้ ขับรถผา่ น หรือคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด เสน้ แบ่งทศิ ทางจราจรห้ามแซง

-5- 2.3 เสน้ แบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงเฉพาะด้าน เป็นเส้นที่กำหนด รถที่ขับอยู่ด้านซ้ายของเส้นทึบ ห้ามมิให้ขับรถผ่านหรือคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด ส่วนรถที่ขับอยู่ทางด้านเส้นประ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยสามารถแซงขึ้นหน้าคันอื่น หรือล้ำออกไปทางขวา ของเส้นได้ เสน้ แบง่ ทิศทางจราจรหา้ มแซงเฉพาะด้าน 2.4 เสน้ แบง่ ชอ่ งเดินรถปกติ เป็นเส้นแบ่งช่องเดินรถ หรือทางจราจรที่มีทิศทางเดียวกัน หมายความว่า ให้ขับรถภายในช่องจราจร หรอื ชอ่ งเดินรถ หา้ มขบั ครอ่ มเส้น เวน้ แตจ่ ะเปลี่ยนชอ่ งจราจรหรือชอ่ งเดนิ รถ เสน้ แบง่ ชอ่ งเดนิ รถปกติ 2.5 เสน้ หา้ มเปลี่ยนชอ่ งจราจร เป็นเส้นแบ่งทางเดินรถหรือทางจราจรในทิศทางเดียวกัน ให้เป็นช่องทางเดินรถหรือช่องจราจร หมายความวา่ ให้ขับรถภายในช่องจราจร หรอื ช่องเดินรถ ห้ามขับผ่าน หรอื คร่อมเส้น เสน้ หา้ มเปลีย่ นช่องจราจร

-6- 2.6 เส้นขอบทางด้านนอก มีลักษณะเป็นเส้นทึบแถบสีขาว หมายถึง เส้นที่มีไว้ให้ผู้ขับขี่รถทราบถึงขอบผิวจราจร เพ่อื ความสะดวกและปลอดภัย เส้นขอบทางดา้ นนอก 2.7 เส้นขอบทางด้านใน มีลักษณะเป็นเส้นทึบแถบสีเหลือง หมายถึง เส้นที่มีไว้ให้ผู้ขับขี่รถทราบถึงขอบทางด้านใน ของผิวจราจรด้านติดกบั เกาะกลางหรือฉนวนแบง่ ทิศทางจราจรทีก่ ลางทาง เส้นขอบทางด้านใน

-7- บทที่ 3 เคร่อื งหมายจราจรบนพน้ื ทางตามขวาง 3.1 เสน้ แนวหยุด มีลักษณะเป็นเส้นทึบสีขาวกว้างและขวางแนวการเดินรถ หมายความว่า เมื่อมีสัญญาณจราจร บังคับหยุดหรือป้ายหยุด ให้ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถก่อนถึงเส้นแนวหยุดและเมื่อได้รับสัญญาณจราจรให้ไป หรือเมื่อไม่เปน็ เหตใุ ห้กดี ขวางการจราจรแลว้ ใหผ้ ่านเส้นแนวหยดุ ไปได้ เสน้ แนวหยุด 3.2 เสน้ ใหท้ าง มีลกั ษณะเปน็ เส้นประสีขาวกวา้ ง และขวางแนวทางเดนิ รถ หมายความวา่ ผู้ขับข่ตี ้องขบั รถให้ช้าลง หากเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยต่อรถคันอ่ืนหรือคนเดินเทา้ ในทางขวางหน้า หรือเปน็ การกดี ขวางการจราจร ผขู้ ับข่ี ตอ้ งหยดุ รถกอ่ นถงึ แนวเสน้ ให้ทาง เส้นให้ทาง

-8- 3.3 เส้นทางคนข้าม มีลักษณะเป็นแถบสีขาวหลาย ๆ แถบ ประกอบกันขวางทางเดินรถ หรือเป็นเส้นทึบสีขาวสองเส้น ขนานกันขวางแนวทางเดินรถ และมีเส้นแนวหยุดหรือเส้นให้ทางประกอบ หมายความว่า ผู้ขับรถทุกชนิด จะต้องขับรถให้ช้าลง และพร้อมที่จะหยุดรถได้ทันท่วงทีเมื่อมีคนเดินข้ามถนน ณ ทางข้ามนั้น ในเขตทางข้าม ถนนที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ หรือสัญญาณควบคุมให้คนเดินข้ามถนนมีสิทธิไปก่อน ฉะนั้นในขณะที่มีคนกำลังเดิน อยใู่ นทางข้ามถนนให้ผู้ขับขี่หยุดรถก่อนถึงเส้นแนวหยดุ หรือเสน้ ให้ทาง และเม่ือคนเดนิ ขา้ มถนนได้ข้ามไปแล้ว จงึ จะเคล่ือนรถตอ่ ไปได้ เสน้ ทางคนข้าม

-9- บทที่ 4 เครื่องหมายจราจรบนพ้นื ทางอน่ื ๆ 4.1 เขตปลอดภยั หรือเกาะสี มีลักษณะเป็นแถบหรือเส้นทึบสีขาว หรือสีเหลืองตีทแยงกับแนวทศิ ทางการจราจร หรือเป็นลักษณะ กา้ งปลา และลอ้ มรอบดว้ ยเส้นทบึ สีขาว หรอื สเี หลือง หมายความว่าหา้ มมใิ หข้ ับรถลำ้ เขา้ ไปในพน้ื ที่ดงั กลา่ ว เขตปลอดภยั หรือเกาะสี 4.2 ข้อความบนพ้ืนทาง มลี กั ษณะเปน็ ข้อความสขี าวบนพื้นทาง เชน่ คำวา่ “หยดุ ” “ลดความเร็ว” “ขบั ช้า ๆ” หมายความว่า ให้ผู้ขบั ขร่ี ถต้องปฏิบตั ติ ามขอ้ ความน้นั ๆ หรอื เพ่อื เตอื นใหร้ ะมดั ระวังสภาพทาง หรือการจราจร หมายความว่า ให้คนขบั รถหรอื คนเดนิ เทา้ ปฏบิ ตั ิตาม และระมัดระวงั การใชช้ อ่ งจราจร หรอื เดินรถใหถ้ ูกตอ้ ง ขอ้ ความบนพืน้ ทาง

- 10 - 4.3 ลกู ศร มีลักษณะเปน็ ลูกศรสขี าวแสดงทิศทางของการจราจร ใหร้ ถตรงไป เล้ยี วซ้าย เลย้ี วขวา เลย้ี วกลับหรือ ร่วมกัน หมายความวา่ เมื่อปรากฏในช่องจราจรหรือช่องเดนิ รถใดให้ผู้ขบั รถที่อยู่ในชอ่ งจราจรหรือช่องเดนิ รถ ปฏิบัตติ ามเคร่ืองหมายนั้น ลกู ศร 4.4 เสน้ ชะลอความเร็ว มีลักษณะเป็นเส้นหลาย ๆ เส้น ขวางช่องเดินรถหรือช่องจราจร หมายความว่า ควรขับรถให้ช้าลง และเพิม่ ความระมัดระวงั เส้นชะลอความเรว็ 4.5 เส้นทางรถไฟตัดผา่ น มีลักษณะเป็นกากบาทสีขาว ลากทแยงตัดกัน พร้อมมีอักษรโรมัน RR ประกอบ หมายความว่า ทางข้างหนา้ มีทางรถไฟตัดผ่าน ควรขบั รถให้ชา้ ลง และเพิม่ ความระมัดระวงั เส้นทางรถไฟตัดผา่ น

- 11 - 4.6 เส้นทแยงห้ามหยุดรถ มีลักษณะเป็นเส้นทึบสีเหลืองลากทแยงตัดกัน ภายในกรอบเส้นทึบสีเหลือง หมายความว่า ห้ามหยุด รถทุกชนดิ ภายในกรอบเสน้ ทแยงห้ามหยดุ รถ ยกเว้นรถท่ีหยุดรอเพอื่ เลีย้ วขวา เส้นทแยงห้ามหยุดรถ 4.7 เส้นชอ่ งจอดรถ มีลักษณะเป็นเส้นทึบสีขาว แสดงขอบเขตของช่องจอดรถ หมายความว่า ผู้ขับขี่ต้องจอดรถภายใน กรอบเส้นชอ่ งจอดรถ ห้ามจอดรถครอ่ มเส้น หรือทำให้ส่วนใดของรถล้ำออกไปนอกแนวทกี่ ำหนด เสน้ ช่องจอดรถ 4.8 เครื่องหมายให้ทาง มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลมสีขาว โดยมุมแหลมชี้สวนทิศทางการจราจร แสดงหรือทำให้ ปรากฏบนพื้นทางประกอบเส้นให้ทาง หมายความว่า ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ช้าลง ถ้าเห็นว่าจะไม่ปลอดภัย

- 12 - ต่อรถคันอื่น หรือคนเดินเท้าในทางขวางหน้า หรือเป็นการกีดขวางการจราจร ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถก่อนถึง เสน้ ให้ทาง เคร่ืองหมายให้ทาง

- 13 - บทท่ี 5 เครื่องหมายจราจรบนสันขอบทาง 5.1 เครื่องหมายห้ามจอดรถ มลี ักษณะเป็นแถบสีเหลอื งสลับขาว แสดงทข่ี อบคันหิน หรอื ขอบทางดา้ นซ้ายของทางเดินรถ หรือทาง จราจรหรือที่อื่น ๆ หมายความว่า ห้ามจอดรถทุกชนิดระหว่างแนวเขตที่กำหนด เว้นแต่การหยุดรับส่งคน หรอื สง่ิ ของชั่วขณะซง่ึ ตอ้ งกระทำโดยมชิ กั ช้า เครื่องหมายหา้ มจอดรถ 5.2 เคร่ืองหมายหา้ มหยดุ รถ มีลักษณะเป็นแถบสีแดงสลับขาว แสดงที่ขอบคันหิน หรือขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ หรือทาง จราจรหรือทอ่ี ื่น ๆ หมายความว่า ห้ามหยดุ รถ หรือจอดรถทกุ ชนดิ ตรงแนวน้นั เป็นอนั ขาด เคร่ืองหมายห้ามหยดุ รถ 5.3 เครอื่ งหมายขาวดำ มีลักษณะเป็นแถบสีขาวสลับสีดำแสดงหรือทำให้ปรากฏที่ขอบคันหินหรือสิ่งกีดขวางอื่น ๆ เพื่อให้ผูข้ ับข่ีและผู้ใชท้ างได้เห็นขอบคนั หนิ หรือสิ่งกดี ขวางนน้ั ๆ ได้ ชดั เจนยิง่ ขึน้ เคร่อื งหมายขาวดำ

- 14 - บทท่ี 6 เครื่องหมายวตั ถุหรอื สงิ่ กีดขวางในเขตทาง 6.1 เคร่อื งหมายแถบเฉียงสลบั สี ลักษณะเป็นแถบสีขาวสะท้อนแสงสลับสีดำหรือสีเหลืองสลับดำ แถบทแยงเฉียง 45 องศา ลงมา ทางด้านที่รถวิ่งผ่าน ถ้าติดตั้งด้านซ้ายของทางเดินรถ แถบสีเริ่มจากบนซ้ายลงมาล่างขวา และถ้าอยู่ทางด้าน ขวาของทางเดินรถ แถบเฉยี งก็จะทแยงจากขวาลงซ้าย ในกรณที ่ีใหร้ ถไปได้ทั้งทางด้านซา้ ยหรือขวา แถบเฉียง ทแยงกลางลงไปทางซ้ายและขวาสำหรบั สิ่งกดี ขวางท่ีอยเู่ หนือทางเดนิ รถแถบสลบั สตี ง้ั ฉากกับทางเดนิ รถ เครอ่ื งหมายแถบเฉยี งสลับสี 6.2 เคร่ืองหมายเปา้ สะทอ้ นแสง เครื่องหมายเป้าสะท้อนแสง เป็นแผ่นป้ายที่มีการสะท้อนแสงสูงมากเพื่อใช้ติดตั้งบนวัตถุหรือสิ่งกีด ขวางทีเ่ กิดอบุ ัติเหตุรถชนเปน็ ประจำ หรอื วตั ถหุ รอื สง่ิ กีดขวางทอี่ ยใู่ นทางเดนิ รถหรอื ใกล้ หรอื ติดกับทางเดินรถ หรือใชต้ ิดต้ังเสรมิ บนเคร่ืองหมายแถบเฉยี งสลับสีเพอื่ เพ่ิมความปลอดภัยต่อการจราจร แบบที่ 1 แบบที่ 2 เคร่อื งหมายเปา้ สะท้อนแสง

- 15 - บทท่ี 7 เคร่ืองหมายป่มุ บนพนื้ ทาง 7.1 บทนยิ าม เครื่องหมายปุ่มบนผิวจราจร โดยทว่ั ไปเป็นปมุ่ โลหะหรืออโลหะใช้ติดต้ังบนผิวจราจรมีทั้งชนิดสะท้อน แสงกลับและไม่สะท้อนแสง มีสีตามความหมายต่าง ๆ ทำให้ผู้ขับขี่ยวดยานสามารถมอง เห็นช่องทางเดินรถ หรือช่องจราจรได้ดีขณะที่มีทัศนวิสัยเลวร้าย ช่วยให้มีการตัดสินใจใช้ช่องทางที่มีความสับสนได้เร็วข้ึน และเตอื นใหร้ ้วู ่ายวดยานไม่อยูใ่ นชอ่ งจราจรเมื่อลอ้ สะดุดกบั ป่มุ นูนดังกลา่ ว เคร่ืองหมายปมุ่ บนผวิ จราจร เครอ่ื งหมายปมุ่ บนผวิ จราจร แบบรปู ส่เี หลยี่ มจัตรุ สั แบบรปู สเ่ี หลี่ยมผนื ผา้ ตวั อย่างเครอื่ งหมายปุม่ บนผวิ จราจร 7.2 การใชเ้ คร่ืองหมายปมุ่ นำทางตามแนวทางเดินรถทวั่ ไป โดยทั่วไปเครื่องหมายปุ่มบนผิวจราจร จะใช้บนทางหลวงที่มักจะมีภูมิอากาศที่ทำให้ ทัศนวิสัยไม่ดี เปน็ ประจำ เชน่ หมอกลงจดั ในบางฤดูกาล ปรมิ าณฝนตกสูงมากในช่วงเวลาสัน้ ๆ หรอื ทบ่ี รเิ วณทางหลวงที่มี ปริมาณการจราจรสูง บริเวณทางร่วมทางแยกที่มีหลายช่องจราจร และการจราจร สับสน บริเวณที่ไม่มีไฟฟ้า แสงสวา่ งในเวลากลางคนื

- 16 - การใช้เครื่องหมายปุ่มบนพื้นทางเพื่อการนำทาง ซึ่งไม่คำนึงถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแซงหรือข้อ กำหนดการใช้ช่องจราจร การตดิ ต้ังให้วางอยูร่ ะหว่างเครื่องหมายแบ่งทิศทางจราจรเสน้ ทึบสองเสน้ ซ่ึงห้ามแซง ท้งั สองดา้ น หรอื วางอย่รู ะหว่างเส้นทึบคู่กับเส้นประ ซ่งึ ห้ามการจราจรด้านหน่ึงแซง หรอื วางอยู่บนหรือติดกับ กบั เสน้ ทบึ เดีย่ ว หรือเส้นประท้งั เครอ่ื งหมายแบ่งทิศทางจราจรและแบ่งช่องจราจร

- 17 - (หน่วย : มิลลเิ มตร) มาตรฐานการตดิ ต้งั เคร่อื งหมายปุ่มบนผิวจราจรบนเส้นแบง่ ทศิ ทางจราจร (Center Lines)

- 18 - (หน่วย : มิลลิเมตร) มาตรฐานการตดิ ต้งั เคร่อื งหมายปุ่มบนผิวจราจรบนเส้นแบ่งชอ่ งจราจร (Center Lines) และเสน้ ขอบทาง (Edge Lines)

- 19 - บทท่ี 8 เครื่องหมายนำทาง 8.1 หลักนำทาง หมายถึง หลักไม้ คอนกรีต โลหะ หรืออโลหะอื่น ๆ และมีการติดตั้งแถบสะท้อนแสงหรือเป้าสะท้อน แสง ซึ่งมคี ณุ สมบตั สิ ะท้อนแสงให้มองเหน็ ไดอ้ ย่างชดั เจนในเวลากลางคืน เมือ่ ฉายดว้ ยไฟสูงของรถยนตท์ ัว่ ไป ชนิดหลักคอนกรีต ชนดิ หลกั โลหะแบบอ่อนตวั ได้ ตัวอย่างเคร่อื งหมายหลักนำทาง 8.2 เปา้ สะทอ้ นแสง หมายถึง วัสดุสะท้อนแสงที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ ใช้ติดตั้งในงานทางเพื่อช่วยนำทาง การจราจร ตวั อยา่ งเป้าสะทอ้ นแสง

- 20 - อา้ งอิง เอกสารอ้างอิง 1. มาตรฐานการปอ้ งกนั อุบตั ภิ ัยทางถนน กรมส่งเสรมิ การปกครองท้องถน่ิ กระทรวงมหาดไทย 2. คู่มือเครื่องหมายควบคุมการจราจร ภาค 2 เครื่องหมายจราจร ( Markings) ฉบับปี พ.ศ. 2533 กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม 3. คู่มือการใช้อุปกรณค์ วบคุมการจราจร ฉบับปี พ.ศ. 2554 เล่มที่ 2 คู่มือเครื่องหมายจราจรบนพ้ืนทางกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม 4. ข้อกำหนดการจัดทำเครื่องหมายจราจรบนผิวทาง (การตีเส้น ลูกศร ขีดเขียนข้อความ) กรมทางหลวง กระทรวง คมนาคม 5. คู่มือและมาตรฐานเครื่องหมายจราจร ฉบับสมบูรณ์ เล่มที่ 2 คู่มือและมาตรฐานเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม 6. คู่มอื ประชาชน สำนักงานตำรวจแหง่ ชาติ แหล่งขอ้ มลู ทางอินเทอร์เน็ต วิกิพีเดีย. 2562. ป้ายจราจรในประเทศไทย. [ระบบออนไลน์]. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ป้ายจราจรในประเทศ ไทย. สืบคน้ เม่อื 5 มถิ ุนายน 2563. สำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง. 2553. ประกาศคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก เรื่อง มาตรฐาน เครื่องหมายจราจร. [ระบบออนไลน์]. จาก http://bhs.doh.go.th/sites/default/files/download/manual/ มาตรฐานเครือ่ งหมายจราจร.pdf. สบื ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563.