อิ น เ ท อ ร์ เ น็ ต เ พื่ อ ส ร ร พ สิ่ ง ( I O T ) INTERNET OF THINGS BY KEETAPAT MANMAI
คำ นำ ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนิน ชีวิตของมนุษย์เรามากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก ซึ่งการใช้ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การศึกษา การค้นหาข้อมูล เป็นต้น จนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็น เรื่องปรกติในสังคมปัจจุบัน และด้วยความที่เทคโนโลยี มีการพัฒนาไปอย่างกว้างขวาง จึงได้มีการริเริ่มแนวคิด INTERNET OF THING หรือ IOT เป็นการเชื่อมโยง เทคโนโลยีทั้งหมดเข้าด้วยกัน สำหรับในบทความนี้ก็จะมี การกล่าวถึง การริเริ่มแนวคิดที่มาของการทำ INTERNET OF THING ประโยชน์ของ INTERNET OF THING เป็นต้น ในการจัดทำบทความในครั้งนี้หวัง ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษา หรือมีความ สนใจในบทความฉบับนี้ ผู้จัดทำ คีตภัทร มั่นหมาย
ส า ร บั ญ เ รื่ อ ง ห น้ า SMART HOME 1 SMART CITY 3 SMART GRIDS 5 SMART FARMINGM 7 CONNECTED CAR 8 SMART RETAIL 11 SMART WEARABLE 12 SMART SUPPLY CHAIN 13 บ ร ร ณ า นุ ก ร ม 14
Smart Home Smart Home หรือ Home Automation เป็น ระบบบ้านยุคใหม่ที่มีความทันสมัย ที่สามารถควบคุม อุปกรณ์ และ ระบบภายในบ้าน ได้จากภายนอกหรือทุกที่ ที่มี internet ผ่าน Application ใน Smartphone เพื่อ ตอบสนอง Lifestyle ในปัจจุบัน และ ยังสามารถเชื่อม ต่อระบบ security เพื่อเพื่มความปลอดภัยภายในบ้านได้ เ ปิ ด ปิ ด ป ลั้ ก ไ ห น ส บ า ย ม า ก (Belkin WeMo)
smart home ในปัจจุบันจะเป็นการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ความ ต้องการของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน สามารถแบ่งกลุ่มงานวิจัย ออกได้เป็น 4 กลุ่ม ตามความต้องการคือ 1. เพื่อความสะดวกสบาย งานวิจัยพวกนี้จะเป็นระบบอัตโน มัตต่าง ๆ เช่นประตูอัตโนมัติ, รีโมทอัจฉริยะ ซึ่งสินค้าที่มีใน ท้องตลาดส่วนใหญ่ก็จะเป็นในกลุ่มนี้ 2. เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จะเป็นงานวิจัย ในการเพิ่มความสามารถให้กับกล้องวงจรปิดคือนอกจากจะ ทำการบันทึกภาพอย่างเดียวแล้ว แต่ยังรวมเซนเซอร์ต่าง ๆ เข้า มาเพื่อใช้ในการตรวจตราเช่นเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว และเพิ่มระบบการขับไล่ผู้ร้ายด้วยการเชื่อมต่อกับ alarm หรือ แจ้งไปยังสถานีตำรวจ นั่นคือเพิ่มความสามารถในการช่วยระงับ เหตุเข้ามาด้วย ซึ่งสินค้าในท้องตลาดในกลุ่มนี้ก็มีเช่นกัน 3. เพื่อประหยัดพลังงาน เช่นการเปิดปิดไฟอัตโนมัติตาม แสงอาทิตย์ หรือปิดไฟอัตโนมัติเมื่อไม่มีคนอยู่ รวมไปถึงการ บริหารจัดการพลังงานในกรณีที่ติดตั้งแผงวงจรโซลาร์เซลล์ 4. เพื่อดูแลสุขภาพของผู้อาศัยภายในบ้าน เช่นจะติดตั้ง เซนเซอร์ตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจจับไฟไหม้ โดยส่งสัญญาณ เมื่อ เวลาเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ
Smart City เป็นรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล หรือข้อมูล สารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิและคุณภาพของ บริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภคของ ประชากร โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่ อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Smart City เป็นโครงการที่ หลาย ๆ เมืองทั่วโลก พยายามพัฒนาให้เข้ากับยุค 4.0 โดย การเอาเทคโนโลยีมาผสานกับการใช้ชีวิตของประชาชน ไม่ว่า จะทั้งด้านการขนส่ง การใช้พลังงาน หรือโครงสร้างพื้นฐาน ที่ จะทำให้เมืองที่สะดวกสบายเหมือนในฝัน เกิดขึ้นได้จริง ทั้งยัง ทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขกันด้วย แนวคิด Smart City เ ค รื อ ข่ า ย ไ ร้ ส า ย (WIRELESS NETWORK)
เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ซึ่งเป็นรากฐานในการ เชื่อมโยงอุปกรณ์หรือสิ่งของรอบ ๆ ตัวเข้ากับโครงข่ายการ สื่อสารแบบอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการวางผังเมืองที่ชาญฉลาด รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายรูปแบบการบริหารจัดการเมือง แบบ Smart City เป็นการสร้างเมืองที่จะมีการเติบโตอย่าง ยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และเลือกใช้พลังงานสะอาด จึงช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่ง แวดล้อม ปัญหามลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย ขยะ การระบายน้ำ ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี คุณภาพอากาศที่ดี เพิ่มพื้นที่สี เขียว และลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Heat Island Effect) แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่มี Smart City ที่สมบูรณ์ เป็นรูปเป็นร่าง แต่ก็กำลังขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย ที่คัดเลือกเป็นเมืองอัจฉริยะต้นเเบบด้วยกัน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา โดยความร่วมมือของ 3 กระทรวง คือ กระทรวง พลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะซึ่งมี แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
Smart Grids คือ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยีหลาก หลายประเภทเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยครอบคลุมตั้งแต่การ ประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นตลอดทั้งห่วงโซ่ของระบบ ไฟฟ้าตั้งแต่การผลิตไฟฟ้า การส่งไฟฟ้า การจำหน่ายไฟฟ้า ไปจนถึงภาคส่วนของผู้บริโภค ได้อย่างชาญฉลาด การสื่อสาร ในการเก็บข้อมูลและทำการสั่งการควบคุมโครงข่ายไฟฟ้าโดย ใช้ข้อมูลดังกล่าวในการตัดสินใจ ส ร้ า ง เ ค รื อ ข่ า ย ข ย า ย ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร ใ ช้ พ ลั ง ง า น ไ ฟ ฟ้ า ข อ ง ผู้ บ ริ โ ภ ค
ป ร ะ โ ย ช น์ ข อ ง S m a r t G r i d : * * ด้ า น ร ะ บ บ ไ ฟ ฟ้ า - ร ะ บ บ ส่ ง จ่ า ย ไ ฟ ฟ้ า มี ค ว า ม มั่ น ค ง เ ชื่ อ ถื อ ไ ด้ แ ล ะ มี คุ ณ ภ า พ สู ง ขึ้ น ม า ก - ร ะ บ บ ส่ ง จ่ า ย ไ ฟ ฟ้ า จ ะ สื่ อ ส า ร กั น ไ ด้ อ ย่ า ง ทั่ ว ถึ ง ทํ า ใ ห้ เ พิ่ ม ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ สู ง ขึ้ น - ใ น ก ร ณี ที่ เ กิ ด ปั ญ ห า ไ ฟ ฟ้ า ดั บ ขึ้ น ผู้ ใ ช้ ไ ฟ ฟ้ า จ ะ ส า ม า ร ถ ก ลั บ ม า ใ ช้ ไ ฟ ฟ้ า ไ ด้ ใ ห ม่ ภ า ย ใ น ร ะ ย ะ เ ว ล า อั น สั้ น * * ด้ า น บ ริ ก า ร - ผู้ ใ ช้ ไ ฟ ฟ้ า ต ร ว จ ส อ บ ลั ก ษ ณ ะ ก า ร ใ ช้ ไ ฟ ฟ้ า แ ล ะ ล ด ค่ า ไ ฟ ฟ้ า ใ น แ ต่ ล ะ เ ดื อ น ไ ด้ - มี ร ะ บ บ แ จ้ ง เ ตื อ น ไ ฟ ฟ้ า ขั ด ข้ อ ง แ บ บ อั ต โ น มั ติ - มี บ ริ ก า ร ใ ห ม่ ๆ * * ด้ า น สั ง ค ม แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม - ส นั บ ส นุ น ใ ห้ ผู้ ใ ช้ ไ ฟ ฟ้ า ป ร ะ ห ยั ด ก า ร ใ ช้ พ ลั ง ง า น แ ล ะ ผ ลิ ต พ ลั ง ง า น ที่ เ ป็ น มิ ต ร กั บ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม - ส นั บ ส นุ น น โ ย บ า ย ภ า ค รั ฐ ใ น ก า ร ส ร้ า ง ค ว า ม มั่ น ค ง ท า ง พ ลั ง ง า น ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ - ส ร้ า ง ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย ใ ห้ ชุ ม ช น
Smart Farmingm การทำการเกษตรอัจฉริยะที่นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหาร จัดการระบบการเพาะปลูกในทุก ๆ ขั้นตอน และสามารถ ควบคุมทุกอย่างได้ด้วยเทคโนโลยี เพื่อทำการตรวจสอบ เก็บ ข้อมูล วิเคราะห์ และแก้ปัญหาการเพาะปลูกได้แบบ Real- Time พร้อมกับสามารถแสดงผลข้อมูลการเจริญเติบโตและ คาดการณ์ผลผลิตได้อย่างแม่นยำ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทยของเรายังคงอยู่ในจุดเริ่มต้นของการทำเท่านั้น เนื่องจากการทำ Smart Farming จำเป็นต้องมีบุคลากรที่ เชี่ยวชาญ และได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน อีกทั้ง ตัวเกษตรกรเองก็จำเป็นต้องมีการเรียนรู้ พัฒนาตัวเอง และ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงจากวิถีเดิมที่เคยทำมา โ ม เ ดิ ร์ น ฟ า ร์ ม
Connected Car Connected Car เป็นการประยุกต์ใช้งานอย่างหนึ่งของ Internet of Things (IoT) โดยเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมา ประยุกต์ใช้กับยานยนต์และการคมนาคมขนส่ง ทำให้รถยนต์ สามารถสื่อสารกับสิ่งต่างๆ หรือเป็นเหมือน “สมาร์ทโฟนติดล้อ (Smartphone on wheels)” ตามคำกล่าวของ Akio Toyoda ประธานบริษัท Toyota Motor Corporation Connected Car จะทำให้เกิดบริการแอพพลิเคชันและรูป แบบธุรกิจใหม่ๆ ที่ช่วยให้การคมนาคมขนส่งมีความปลอดภัย มากขึ้น มีประสิทธิภาพคล่องตัวมากขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวก สบายให้แก่ผู้เดินทาง ดังนี้ 1) บริการด้านข่าวสารและความบันเทิง (Infotainment) โดย ผู้โดยสารรถยนต์สามารถดูหนังฟังเพลงจากในรถที่ sync ข้อมูล กับโทรศัพท์มือถือ ทำให้ประสบการณ์ในการใช้งานระหว่าง อุปกรณ์เป็นไปอย่างลื่นไหล ตัวอย่างเช่น Apple Carplay
2) บริการประกันภัยที่คิดเงินตามการขับจริง (Usage-based Insurance) โดยจากข้อมูลลักษณะการขับขี่จะทำให้บริษัทประกัน ภัยสามารถประเมินความเสี่ยงของผู้ขับขี่ได้ดีขึ้น และนำมาคิดค่า เบี้ยประกันตามพฤติกรรมในการขับรถได้ เช่น ผู้ขับขี่เป็นระยะ ทางสั้นๆ และใช้ความเร็วต่ำ ก็จะจ่ายค่าเบี้ยประกันต่ำกว่าผู้ขับขี่ ระยะทางไกลๆ และใช้ความเร็วสูง 3) บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ในกรณีที่ผู้ขับขี่ประสบอุบัติเหตุ หน่วยงานให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินสามารถให้ความช่วยเหลือได้ อย่างทันท่วงที ตัวอย่างเช่น ในยุโรปได้มีบริการที่เรียกว่า eCall กำหนดให้รถยนต์ใหม่ทุกคันต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่จะโทรเรียก หมายเลขฉุกเฉิน 112 โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุการชน รุนแรง และส่งข้อมูลการทำงานของถุงลมนิรภัย และพิกัดของ รถยนต์ให้หน่วยงานให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินทราบ ซึ่งจะช่วย ลดระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้ถึง 40-50% 4) บริการตรวจเช็ครถยนต์จากระยะไกล (Remote Diagnostic and Maintenance) โดยเซนเซอร์ที่อยู่บนรถยนต์จะตรวจวัด สภาพรถและส่งข้อมูลไปยังศูนย์บริการโดยอัตโนมัติ ทำให้ศูนย์ บริการสามารถวิเคราะห์สภาพรถและพยากรณ์การเสียของรถได้ ล่วงหน้าแล้วแจ้งให้ผู้ขับขี่นำรถมาซ่อมได้ก่อนที่จะเกิดการเสีย จริง
5) การสื่อสารของรถยนต์กับสิ่งรอบตัว (Vehicle-to-Everything Communications: V2X) โดยมีทั้งการสื่อสารระหว่างรถยนต์ (Vehicle- to-vehicle: V2V) เช่น รถยนต์คันหน้าแจ้งเตือนรถยนต์ที่ตามมาเมื่อมี การเบรกเพื่อความปลอดภัย การสื่อสารระหว่างรถและโครงสร้างพื้นฐาน (Vehicle-to-infrastructure: V2I) เช่น สัญญาณไฟจราจรอาจแจ้งให้รถ หลีกเลี่ยงเส้นทางรถติด ช่วยให้การคมนาคมคล่องตัวขึ้น ซึ่งการสื่อสาร ของรถยนต์ในลักษณะนี้จะเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมใน การเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมยานยนต์ ตัวอย่างเช่น การจัดตั้ง สมาคม 5G Automotive Association ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้ เล่นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกับอุตสาหกรรมยานยนต์ 6) การประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดย สามารถนำข้อมูลจากเซนเซอร์ต่างๆ ที่ติดตั้งในรถยนต์มาใช้ ใ น ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ เ พื่ อ ป รั บ ป รุ ง ร ะ บ บ ก า ร ค ม น า ค ม ข น ส่ ง แ ล ะ ก า ร พัฒนาเมือง ตามแนวคิดของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ได้ เช่น หากเซนเซอร์ตรวจพบการเบรกของรถยนต์บนถนนเส้น หนึ่งอย่างผิดปกติ อาจเป็นไปได้ว่าผู้ใช้ทางเบรกเนื่องจาก ถนนดังกล่าวเกิดการทรุดตัว ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาใช้ ในการแจ้งผู้เกี่ยวข้องเพื่อซ่อมแซมถนนได้ 7) การขับขี่โดยอัตโนมัติ (Automated Driving) โดยนำการ สื่อสารมาใช้ร่วมกับเซนเซอร์ต่างๆ ซึ่งใช้ในการตรวจจับสิ่งที่อยู่รอบ ตัว
Smart Retail ระบบค้าปลีกอัจฉริยะ เป็นการนำเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) มาใช้ในการขายสินค้าและบริการ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการ ดำเนินธุรกิจห้างร้าน ด้วยการเพิ่มประสบการณ์สำหรับลูกค้าในการซื้อ ผ่านการส่งข้อมูลให้กับลูกค้าด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าได้ทุกที่ทุกเวลา โดย ลูกค้าสามารถเช็ครายการสินค้า และซื้อสินค้าได้ด้วยตนเอง เพื่อ อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า และลดการใช้ทรัพยากรแรงงานในการ บริการลูกค้าด้วยระบบการทำงานที่ชาญฉลาดของ IoT ซึ่งในอนาคตมี แนวโน้มที่ระบบนี้จะถูกนำไปใช้และพัฒนามากยิ่งขึ้น เพื่อตอบโจทย์ ความต้องการและการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบัน
Smart Wearable Smart Wearableเทรนด์การตลาดปี 2021 ที่คาดว่าจะมา แรงในหมู่คนทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ Smart Wearable หมายถึงอุปกรณ์อัจฉริยะที่สามารถทำงานได้หลายอย่าง ตั้งแต่ วัด ชีพจร วัดก้าว คำนวณเวลานอนหลับ อ่านข้อความ รับโทรศัพท์ การทำงานเหล่านี้จะถูกรวมอยู่ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวซึ่งเราจะสามารถ สวมใส่บนร่างกายเราได้
Smart Supply Chain Supply Chain หรือในชื่อไทยคือห่วงโซ่อุปทาน คือกระบวนการที่ทำให้เกิดสินค้าใดสินค้าหนึ่งขึ้นมา หรือ บริการใดบริการหนึ่งขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการ (Demand) ของเหล่าลูกค้าต่างๆ โดยกระบวนการดัง กล่าวจะมีรูปแบบและการจัดการแยกย่อยออกไป แล้วแต่ ว่าเรากำลังผลิต Supply ใดขึ้นมาเพื่อตอบสนองผู้ซื้อ
บ ร ร ณ า นุ ก ร ม HTTPS://WWW.MUT.AC.TH/
Search
Read the Text Version
- 1 - 17
Pages: