Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore E book วรรณคดีขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

E book วรรณคดีขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

Published by noppadolkepan, 2021-11-09 10:47:12

Description: inbound8712340906837728801

Search

Read the Text Version

ขุนช้าง ขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

ผู้แต่ง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา ผู้แต่ง ไม่ปรากฏนามผู้แต่งตอนขุนช้างถวายฎีกาแต่ได้รับการยกย่อง จากวรรณคดีสโมสรว่าแต่งดีเยี่ยมโดยเฉพาะกระบวนกลอนที่สื่อ อารมณ์สะเทือนใจ (เป็น ๑ ใน ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่อง) ในตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและตอนขุนแผนพานางวันทองหนี เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอนขุนช้างขอนางพิมและขุนช้างตามนางวันทอง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนกำเนิดพลายงามเป็นสำนวนของสุนทรภู่

ฉันทลักษณ์ รูปร่างวิปริตผิดกว่าคน ทรพลอัปรีย์ไม่ดีได้ ทั้งใจคอชั่วโฉดโหดไร้ ช่างไปหลงรักใคร่ได้เป็นดี วันนั้นแพ้กูเมื่อดำน้ำ ก็กริ้วซ้ำจะฆ่าให้เป็นผี แสนแค้นด้วยมารดายังปรานี ให้ไปขอชีวีขุนช้างไว้

ประวัติความเป็นมา เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ เป็นนิยายพื้นบ้านของสุพรรณบุรี ที่แต่งขึ้นจากเรื่องจริง ที่ เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีหลักฐานอยู่ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า โดย แต่งเป็นบทกลอนสำหรับขับเสภา ให้ประชาชนฟัง เมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่มีผู้แต่งไว้ตั้งแต่งสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เหลืออยู่ เพียงบางตอนเท่านั้น เพราะถูกไฟไหม้และสูญหายไป เมื่อครั้งเสียกรุงกับพม่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯ ให้กวีหลายท่าน ให้ช่วยกันแต่งเพิ่มเติม ขึ้น โดยแบ่งกันแต่งเป็นตอน ๆ ไปจนจบเรื่อง ขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นยอดของหนังสือประเภทกลอนเสภา มีสำนวนโวหารที่ไพเราะคมคาย มีคติ เตือนใจ สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตและสังคมความเป็นอยู่ของคนไทย ให้ความรู้ เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย

ขุนช้างขุนแผน ณ เมืองสุพรรณบุรี กล่าวถึงครอบครัวสามครอบครัว คือ ครอบครัวของขุนไกรพลพ่าย รับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ นางทองประศรี มีลูกชายด้วยกันชื่อพลายแก้ว ครอบครัวของขุนศรีวิชัย เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยาชื่อนางเทพทอง มีลูกชายชื่อขุนช้่าง ซึ่งหัวล้านมาแต่กำหนิด และครอบครัวของพันศร โยธาเป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ศรีประจัน มี ลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ พิมพิลาไลย วันหนึ่งสมเด็จพระพันวษา มีความประสงค์จะล่าควายป่า จึงสั่งให้ขุนไกรปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมไว้ แต่ควายป่าเหล่านั้ัน แตกตื่นไม่ยอมเข้าคอก ขุนไกรจึงใช้หอกแทงควายตายไปมากมาย ที่รอชีวิตก็หนีเข้าป่าไป สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งให้ประหาร ชีวิตขุนไกรเสีย นางทองประศรีรู้ข่าวรีบพาพลายแก้วหนีไปอยู่เมืองกาญจนบุรี ทางเมืองสุพรรณบุรี มีพวกโจรจันศรขึ้นปล้นบ้านของขุนศรีวิชัยและฆ่าขุนศรีวิชัยตาย ส่วนพันศร โยธาเดินทางไปค้าขายต่างเมือง พอกลับมาถึงบ้านก็เป็นไข้ป่าตาย เมื่อพลายแก้วอายุได้ 15 ปี ก็บวชเณรเรียนวิชาอยู่ที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลย ต่อมาที่วัดป่าเลไลยจัดให้มีเทศน์ มหาชาติ เณรพลายแก้วเทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมพิลาไลยเลื่อมใสมากจนเปลื้องผ้าสไบบูชา กัณฑ์เทศ์ ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องผ้าห่มของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิมพิลาไลย อธิฐานขอให้ได้นางเป็นภรรยา ทำให้นาง พิมพิลาไลยโกรธมาก ต่อมาเณรพลพลายแก้วก็สึก แล้วให้นางทองประศรีมาสู่ขอนางพิมพิลาไลยและแต่งงานกัน

ทางกรุงศรีอยุธยาได้ข่าวว่ากองทัพเชียงใหม่ตีได้เมืองเชียงทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาจึงถามหาเชื้อสาย ของขุนไกร ขุนช้างซึ่งเข้าไปรับราชการอยู่จึงเล่าเรื่องราวความเก่งกล้าสามารถของพลายแก้ว เพื่อหวังจะพรากพลายแก้วไปให้ไก ลนางพิมพิลาไลย สมเด็จพระพันวษาจึงให้ไปตามตัวมา แล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับเมืองเชียงใหม่และได้รับชัยชนะ นายบ้านแสนคำ แมนแห่งหมู่บ้านจอมทอง เห็นว่าพลายแก้วกับพวกทหารไม่ได้เบียดเบียนให้ชาวบ้านเดือดร้อน จึงยกนางลาวทองลูกสางของตนให้เป็น ภรรยาของพลายแก้ว ส่วนนางพิมพิลาไลยเมื่อสามีไปทัพได้ไม่นานก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หาย ขรัวตาจูวัดป่าเลไลยแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง อาการไข้ จึงหาย ขุนช้างทำอุบายนำหม้อใส่กระดูกไปให้นางศรีประจันกับนางวันทองดูว่าพลายแก้วตายแล้ว และขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไว้ เป็นม่ายหลวงตามกฏหมาย นางวันทองไม่เชื่อ แต่นางศรีประจันคิดว่าจริง ประกอบกับเห็นว่าขุนช้างเป็นเศรษฐีจึงบังคับให้นางวันทอง แต่งงานกับขุนช้าง นางวันทองจำต้องตามใจแม่ แต่นางไม่ยอมเข้าหอ ขณะนั้นพลายแก้วกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาและได้บรรดาศักดิ์เป็น ขุนแผนแสนสะท้าน จากนั้นก็พานางลาวทองกลับสุพรรณบุรี นางวันทองเห็นขุนแผนพาภรรยาใหม่มาด้วยก็โกรธด่าทอโต้ตอบกับนาง ลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองก็ตกเป็นภรรยาของขุนช้าง อย่างจำใจ ต่อมาขุนช้างและขุนแผนเข้าไปรับการอบรมในวังและได้เป็นมหาดเล็กเวรทั้ง 2 คน วันหนึ่งนางทองประศรีให้คนมาส่งข่าวว่านางลาวทอง ป่วยหนัก ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง ตอนเช้าสมเด็จพระพันวษาถามถึงขุนแผนขุนช้างบอกว่า ขุนแผนปีนกำแพงวังหนีไปหาภรรยา สมเด็จพระพันวษาโกรธตรัสให้ขุนแผนตระเวนด่านที่กาญจนบุรี ห้ามเข้าเฝ้าและริบนางลาวทองเข้า เป็นม่ายหลวง

ขุนแผนได้ทราบเรื่องก็โกรธขุนช้าง คิดจะแก้แค้นแต่ยังมีกำลังไม่พอ จึงออกตระเวนป่าไปโดยลำพัง คิดจะหาอาวุธ ม้า และ กุมารทอง สำหรับ ป้องกันตัว ได้ตระเวนไปจนถึงถิ่นของหมื่นหาญนักเลงใหญ่ ได้เข้าสมัครเข้าไปอยู่ด้วย เพราะหวังจะได้บัวคลี่ลูกสาวของหมื่นหาญ ได้ทำตัว นอบน้อมและตั้งใจทำงานเป็นอย่างดีจนเป็นที่รักใคร่ของหมื่นหาญถึงกับออกปากยกลูกสาวให้แต่งงานด้วย พอได้แต่งงานกับบัวคลี่แล้ว ขุนแผนก็ไม่ยอมทำงานร่วมกับหมื่นหาญ ทำให้หมื่นหาญโกรธคิดฆ่าขุนแผน เพราะขุนแผนอยู่ยงคงกระพันจึงให้บัวคลี่ใส่ยาพิษลงในอาหารให้ ขุนแผนกิน แต่ผีพรายมาบอกให้รู้ตัว ขุนแผนจึงทำอุบายเป็นไข้ไม่ยอมกินอาหารแล้วออกปากขอลูกจากบัวคลี่ นางไม่รู้ความหมายก็ออกปากยก ลูกให้ขุนแผน พอกลางคืนขณะที่บัวคลี่นอนหลับขุนแผนก็ผ่าท้องนางแล้วนำลูกไปทำพิธีตอนเช้าหมื่นหาญและภรรยารู้ว่าลูกสาวถูกผ่าท้องตายก็ ติดตามขุนแผนไป แต่ก็สู้ขุนแผนไม่ได้ ขุนแผนเสกกุมารทองสำเร็จ จึงออกเดินทางต่อไป แล้วไปหาช่างตีดาบ หาเหล็ก และเครื่องใช้ต่าง ๆ เตรียมไว้ตั้งพิธีตีดาบจนสำเร็จ ดาบนี้ให้ชื่อว่า ดาบฟ้าฟื้ น ใช้เป็นอาวุธต่อไป หลังจากนั้นเดินทางไปหาม้า ได้ไปพบคณะจัดซื้อม้าหลวง ได้เห็นลูกม้าลูกม้าตัวหนึ่งมีลักษณะถูกต้องตามตำราก็ชอบใจ ได้ออกปากซื้อ เจ้าหน้าที่ ก็ขายให้ในราคาถูก ขุนแผนจึงเสกหญ้าให้ม้ากิน และนำมาฝึกจนเป็นม้าแสนรู้ให้ชื่อว่า ม้าสีหมอก เมื่อได้กุมารทอง ดาบฟ้าฟื้ นและม้าสีหมอกครบตามความตั้งใจแล้วก็เดินทางกลับบ้าน คิดจะไปแก้แค้นขุนช้าง นางทองประศรีมารดาห้าม ปรามก็ไม่ฟัง ได้เดินทางออกจากกาญจนบุรีไปยังสุพรรณบุรีขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยาลูกสาวพระยาสุโขทัยที่นำมาเป็นตัวจำนำไว้ใน บ้านขุนช้างเป็นภรรยา แล้วพาวันทองหนีออกจากบ้าน ขุนช้างตื่นได้ออกติดตามแต่ตามไม่ทัน ได้ไปทูลฟ้องสมเด็จพระพันวษาให้กองทัพ ออกติดตามขุนแผน ขุนแผนไม่ยอมกลับได้ต่อสู้กับกองทัพทำให้ขุนเพชร ขุนรามถึงแก่ความตาย กองทัพต้องถอยกลับกรุง ขุนแผนจึง กลายเป็นกบฏ ต้องเที่ยวเร่ร่อนอยู่ในป่า จนนางวันทองตั้งท้องแก่ใกล้คลอด ขุนแผนสงสารกลัวนางจะเป็นอันตรายจึงยอมเข้ามอบตัวกับ พระพิจิตร พระพิจิตรได้ส่งตัวเข้าสู้คดีในกรุง ขุนแผนชนะคดีและได้นางวันทองคืน ขุนแผนมีความคิดถึงลาวทอง ได้ขอให้จมื่นศรีช่วยขอให้ ขุนแผนถูกกริ้ว และถูกจำคุก แก้วกิริยาจึงตามไปปรนนิบัติในคุก

วันหนึ่งขณะที่นางวันทองมาเยี่ยมขุนแผน ขุนช้างได้มาฉุดนางวันทองไปจนนางวันทองคลอดลูกให้ชื่อว่า พลายงาม เมื่อขุนช้างรู้ ว่าไม่ใช่ลูกของตัวเองจึงหลอกพลายงามไปฆ่าในป่า แต่ผีพรายของขุนแผนช่วยไว้ นางวันทองบอกความจริงและได้ให้พลายงาม เดินทางไปอยู่กับย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี พลายงามอยู่กับย่าจนโต ได้บวชเป็นเณรและเล่าเรียนวิชาความรู้เก่งกล้าทั้ง เวทมนตร์ คาถา และการสงคราม เมื่อมีโอกาสขุนแผนได้ให้จมื่นศรีนำพลายงามเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก เมื่อมีศึกเชียงใหม่ พลายงามได้อาสาออกรบและทูลขอประทานอภัยโทษให้พ่อเพื่อไปรบ ขุนแผนและนางลาวทองจึงพ้นโทษ ขณะ ที่เดินทางไปทำสงครามนั้นผ่านเมืองพิจิตร ขุนแผนจึงแวะเยี่ยมพระพิจิตร เมื่อพลายงามได้พบนางศรีมาลาลูกสาวพระพิจิตรก็ หลงรัก จึงได้ลอบเข้าหานาง ขุนแผนจึงทำการหมั้นหมายไว้ เมื่อชนะศึก พระเจ้าเชียงใหม่ได้ส่งสร้อยทอง และสร้อยฟ้ามาถวาย พระพันวษาได้แต่งตั้งขุนแผนเป็นพระสุรินทรลือไชยมไหสูรย์ภักดี ไปรั้งเมืองกาญจนบุรี และได้แต่งตั้งพลายงามเป็น จมื่นไวยว รนาถ และประทานสร้อยฟ้าให้แก่พลายงาม จากนั้นก็ทรงจัดงานแต่งงานให้กับพลายงาม ขณะที่ทำพิธีแต่งงานขุนช้างได้วิวาทกับพลายงาม ขุนช้างได้ทูลฟ้อง จึงโปรดให้มีการชำระความโดนการดำน้ำพิสูจน์ ขุนช้างแพ้ ความ พระพันวษาโปรดให้ประหารชีวิต แต่พระไวยขอชีวิตไว้ ต่อมาพระไวยมีความคิดถึงแม่จึงไปรับนางวันทองมาอยู่ด้วย ขุนช้าง ติดตามไป แต่พระไวยไม่ยอมให้ขุนช้างจึงถวายฎีกา พระพันวษาจึงตรัสให้นางวันทองเลือกว่าจะอยู่กับใคร นางมีความลังเล เลือก ไม่ได้ว่าจะอยู่กับใคร พระพันวษาทรงโกรธจึงรับสั่งให้ประหารชีวิต แม้พระไวยจะขออภัยโทษได้แล้ว แต่ด้วยเคราะห์ของนางวัน ทอง ทำให้เพชรฆาตเข้าใจผิดจึงประหารนางเสียก่อน

เมื่อจัดงานศพนางวันทองแล้ว ขุนแผนได้เลื่อนเป็นพระกาญจนบุรี นางสร้อยฟ้าได้ให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้พระไวย หลงใหลนางและเกลียดชังนางศรีมาลา พระกาญจนบุรีมาเตือน พระไวยโกรธลำเลิกบุญคุณกับพ่อ ทำให้พระ กาญจนบุรีโกรธ คบคิดกับพลายชุมพลลูกชายซึ่งเกิดจากนางแก้วกิริยาปลอมเป็นมอญยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา หวังจะให้พระไวยออกต่อสู้ จะได้แก้แค้นได้สำเร็จ พระไวยรู้ตัวเพราะผีเปรตนางวันทองมาบอก พระพันวษาทรง ทราบเรื่องโปรดให้มีการไต่สวน พลายชุมพลพิสูจน์ได้ว่า นางสร้อยฟ้ากับเถรขวาดได้ทำเสน่ห์จริงแต่นางสร้อยฟ้าไม่ รับ จึงมีการพิสูจน์โดยการลุยไฟ สร้อยฟ้าแพ้ พระพันวษาสั่งให้ประหาร แต่นางศรีมาลาทูลขอไว้ นางสร้อยฟ้าจึงถูก เนรเทศกลับไปเชียงใหม่ และคลอดลูกชื่อ พลายยง ต่อมานางศรีมาลาก็คลอดลูกชาย ขุนแผนจึงตั้งชื่อให้ว่า พลายเพชร เถรขวาดมีความแค้นพลายชุมพล จึงปลอม เป็นจระเข้ไล่กัดกินคนมาจากทางเหนือหวังจะแก้แค้นพลายชุมพล พระพันวษาโปรดให้พลายชุมพลไปปราบ จระเข้ เถรขวาดสู้ไม่ได้ถูกจับตัวมาถวายพระพันวษา และถูกประหารในที่สุด พลายชุมพลได้รับแต่งตั้งเป็นหลวงนายฤทธิ์ เหตุการณ์ร้ายแรงผ่านไป ทุกคนก็อยู่อย่างมีความสุข

เนื้อเรื่องย่อ เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา ฝ่ายพลายงาม เมื่อชนะความขุนช้างแล้ว ก็อยู่มาด้วยความสุข แต่มาคิดว่ายังขาดแต่มารดา เห็นว่าไม่ควรคู่กับขุนช้าง แล้วคิดว่าจะรับแม่กลับมาอยู่กับขุนแผน พอตกค่ำจึงออกเดินทางไปบ้านขุนช้าง สะกดผู้คน ภูตพราย และแก้ อาถรรพณ์ แล้วสะเดาะกลอน เข้าไปถึงห้องนอน ถอนสะกดนางวันทอง แล้วเจรจากัน พระไวยแจ้งว่าจะมารับนางวันทอง กลับไปบ้าน นางวันทองแนะนำให้นำเรื่องขึ้นกราบทูลพระพันวษา พลายงามไม่เห็นด้วยและจะพาไปให้ได้ นางวันทองจนใจจึงยอมไปกับพระไวย ขุนช้างตื่นขึ้นไม่พบนางวันทอง ให้บ่าวไพร่ ค้นหาไม่พบ ฝ่ายพลายงามได้คิดว่า ถ้าขุนช้างรู้ว่าลักนางวันทองมา ก็คงจะนำความขึ้นกราบทูลสมเด็จพระพันวษา มารดาก็จะต้องโทษ คิดแล้วจึงให้หมื่นวิเศษผล ไปหาขุนช้างที่บ้าน ช่วยไกล่เกลี่ยเรื่องราว อย่าให้ขุนช้างโกรธ ด้วยเป็น คนที่เคยชอบพอกัน โดยให้บอกขุนช้างว่า ตนจับไข้อยู่หลายวัน เกรงว่าแม่ไม่ทันจะเห็นหน้า จึงให้คนไปพาแม่มา พอให้ตน หายไข้แล้ว จะส่งมารดาคืนกลับไป หมื่นวิเศษรับคำแล้วก็รีบไปบ้านขุนช้าง แจ้งเรื่องตามที่พระไวยสั่งมาทุกประการ ขุน ช้างได้ฟังก็ทั้งโกรธและแค้น เมื่อข่มความโกรธแล้วก็ตอบไปว่า ไม่เป็นไรเรื่องการเจ็บไข้ ถ้าขัดสนสิ่งไรก็ขอให้มาเอาที่ตน ได้ ว่าแล้วก็ปิดหน้าต่างใส่ ด้วยความเดือดดาลและแค้นใจ

วิเคราะห์ตัวละคร 1. สมเด็จพระพันวษา เป็นคนที่ตัดสินใจเด็ดขาด โกรธง่าย แต่มีความยุติธรรม เมื่อมีการฟ้องร้อง พระพันวษาก็จะ ไต่สวนหาความจริง ตัวอย่างบทประพันธ์ ครานั้นพระองค์ผู้ทรงเดช ฟังเหตุขุ่นเคืองเป็นหนักหนา อ้ายหมื่นไวยทำใจอหังการ์ ตกว่าบ้านเมืองไม่มีนาย จะปรึกษาตราสินให้ไม่ได้ จึงทำตามน้ำใจเอาง่ายง่าย ถ้าฉวยเกิดฆ่าฟันกันล้มตาย อันตรายไพร่เมืองก็เคืองกู อีวันทองกูให้อ้ายแผนไป อ้ายช้างบังอาจใจทำจู่ลู่ ฉุดมันขึ้นช้างอ้างถึงกู ตะคอกขู่อีวันทองให้ตกใจ คำศัพท์ ตกว่า หมายถึง ราวกับว่า ตราสิน หมายถึง แจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐาน จู่ลู่ หมายถึง หุนหันพลันแล่น ในความว่า “อ้ายช้างบังอาจใจทำจู่ลู่” จากบทประพันธ์ข้างต้น เมื่อสมเด็จพระพันวษาได้ฟังความจากนางวันทอง ก็โกรธจมื่นไวยที่ทำการอุกอาจทำเหมือนบ้านเมืองไม่มีกฎหมาย ถ้าเกิดมีการ ฆ่าฟันล้มตาย ประชาชนก็จะโกรธสมเด็จพระพันวษาได้ ฝ่ายขุนช้างก็ผิดที่ไปฉุดตัวนางวันทองมา แล้วยังอ้างชื่อสมเด็จพระพัน วษาไปข่มขู่พาตัวนางวันทองมา

2.ขุนแผน ขุนแผนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมีความกล้าหาญ เสียสละ รักนางวันทองมากแต่เจ้าชู้ มีวิชาอาคมด้าน ไสยศาสตร์ ตัวอย่างบทประพันธ์ ครานั้นวันทองเจ้าพลายงาม ได้ฟังความคร้ามครั่นหวั่นไหว ขุนแผนเรียกวันทองเข้าห้องใน ไม่ไว้ใจจึงเสกด้วยเวทมนตร์ สีขี้ผึ้งสีปากกินหมากเวทย์ ซึ่งวิเศษสารพัดแก้ขัดสน น้ำมันพรายน้ำมันจันทน์สรรเสกปน เคยคุ้มขังบังตนแต่ไรมา แล้วทำผงอิทธิเจเข้าเจิมพักตร์ คนเห็นคนทักรักทุกหน้า เสกกระแจะจวงจันทร์น้ำมันทา เสร็จแล้วก็พาวันทองไป จากบทประพันธ์ข้างต้น ตอนนั้นนางวันทองและพลายงามได้ฟังคำรับสั่งแล้วรู้สึกตื่นเต้น และขุนแผนเรียกนางวันทองเข้าไปในห้อง เพราะไม่ไว้ใจเลยเวกมนตร์ใส่นางวันทอง เอาขี้ผึ้งมาปากและกินหมากที่ลงมนตร์ไว้ มันเป็นของที่ช่วยแก้ปัญหา ทุกอย่าง มีทั้งน้ำมันพรายและน้ำมันจันทน์ที่ใช้พลางตัวมาตลอด แล้วนำผงเสน่ห์มาทาหน้า เพื่อให้คนที่เห็นทัก ทุกคนต่างคนหลงรักตนและเสกเครื่องหอมที่ทำด้วยไม้จันทร์ทำให้เป็นน้ำมันพอทำเสร็จแล้วก็พาตัวนางวันทอง ไป

3.ขุนช้าง - ขุนช้างมีลักษณะนิสัยรักเดียวใจเดียว มีฐานะร่ำรวยแต่ก็ไม่เคยมีหญิงอื่น ตัวอย่างบทประพันธ์ ขุนช้างแต่อยู่ด้วยกันมา คำหนักหนาหาได้ว่าให้เคืองไม่ เงินทองกองไว้มิให้ใคร ข้าไทใช้สอยเหมือนของตน จากบทประพันธ์ข้างต้น ขุนช้างอยู่ด้วยกันมาก็ไม่เคยทำเรื่องให้นางวันทองขุ่นเคืองใจและมีเงินทองให้วันทองใช้เพียงผู้ เดียว และบ่าวไพร่ใช้ได้ไม่ขัดสน

4.นางวันทอง 1.นางวันทองเป็นคนรักลูกมาก และเป็นห่วงลูก ตัวอย่างบทประพันธ์ จึงปลอบว่าพลายงามพ่อทรามรัก อย่าฮึกฮักว่าวุ่นทำหุนหัน จงครวญใคร่ให้เห็นข้อสำคัญ แม่นี้พรั่นกลัวแต่จะเกิดความ ด้วยเป็นข้าลักไปไทลักมา เห็นเบื้องหน้าจะอึงแม่จึงห้าม ถ้าเจ้าเห็นเป็นสุขไม่ลุกลาม ก็ตามเถิดมารดาจะคลาไคล ถอดความได้ว่า นางวันทองปลอบลูกว่าอย่าหุนหัน ที่แม่ไม่ไปเพราะกลัวลูกจะเดือดร้อนเป็นคดีความ แต่ถ้า ลูกเห็นว่าดีว่างามแม่ก็จะตามกลับไป

2.นางวันทองมีลักษณะนิสัยไม่กล้าตัดสินใจ ไม่เลือกเด็ดขาดว่าจะอยู่กับใคร จนทำให้ถูก ประหารชีวิตเพราตัวของนางทำตัวเอง ตัวอย่างบทประพันธ์ ความรักขุนแผนก็แสนรัก ด้วยร่วมยากมานักไม่เดียดฉันท์ สู้ลำบากบุกป่ามาด้วยกัน สารพันอดออมถนอมใจ ขุนช้างแต่อยู่ด้วยกันมา คำหนักหาได้ว่าให้เคืองไม่ เงินทองกองไว้มิให้ใคร ข้าไทใช้สอยเหมือนของตัว จมื่นไวยเล่าก็เลือดที่ในอก ก็หยิบยกรักเท่ากันกับผัว ถอดความได้ว่า ขุนแผนนั้นก็แสนรัก ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันมานาน ส่วนขุนช้างอยู่ด้วยกันมาก็ไม่เคยทำ เรื่องให้ขุ่นเคืองใจและมีเงินทองบ่าวไพร่ใช้ไม่ขัดสน และจมื่นไวยที่เป็นลูกชายก็เป็นเหมือน เลือดในอก ย่อมรักเท่ากับรักผัวอยู่แล้ว

5.จมื่นไวยวรนาถ (พลายงาม) 1.จมื่นไวยมีลักษณะนิสัย รักแม่มาก และพร้อมที่จะดูแลแม่ ตัวอย่างบทประพันธ์ ทุกวันนี้ลูกชายสบายยศ พร้อมหมดเมียมิ่งก็มีสอง มีบ่าวไพร่ใช้สอยทั้งเงินทอง พี่น้องข้างพ่อก็บริบูรณ์ ยังขาดแต่แม่คุณไม่แลเห็น เป็นอยู่ก็เหมือนตายไปหายสูญ ข้อนี้ที่ทุกข์ยังเพิ่มพูน ถ้าพร้อมมูลแม่ด้วยจะสำราญ ลูกมาหมายว่าจะมารับ เชิญแม่วันทองกลับคืนไปบ้าน แม้จะบังเกิดเหตุเภทพาล ประการใดก็ตามแต่เวรา ถอดความได้ว่า ทุกวันนี้พลายงามสบายมียศถาบรรดาศักดิ์ มีพร้อมทุกอย่างทั้งเงินทองบ่าวไพร่เมียก็ มีสองคน ผู้ใหญ่ฝ่ายพอก็อยู่ดี ยังขาดแต่แม่วันทอง อยู่ไปก็เหมือนตายไม่เคยสนใจเพราะ อย่างนี้ที่ยังทุกข์หนัก ถ้ามีแม่วันทองด้วยจะสุขสำราญ ที่ลูกมาตั้งใจว่าจะมารับแม่วันทอง กลับบ้านเรา ถึงจะเกิดเรื่องก็แล้วแต่เวรแต่กรรม

2.จมื่นไวยมีความถนัดด้านไสยศาสตร์เหมือนพ่อของตน ตัวอย่างบทประพันธ์ จุดเทียนสะกดข้าวสารปราย ภูตพรายโดดเรือนสะเทือนผาง สะเดาะดาลบานเปิดหน้าต่างกาง ย่างเท้าก้าวขึ้นร้านดอกไม้ หอมหวนอวลอบบุปผชาติ เบิกบานก้านกลาดกิ่งไสว เรณูฟูร่อนขจรใจ ย่างเท้าก้าวไปไม่โครมคราม ข้าไทนอนหลับลงทับกัน สะเดาะกลอนถอนลั่นถึงชั้นสาม กระจกฉากหลากสลับวับแวมวาม อร่ามแสงโคมแก้วแววจับตา คำศัพท์ ข้าวสารปราย หมายถึง ข้าวสารที่เสกแล้วซัดให้กระจาย ร้านดอกไม้ หมายถึง ชานเรือนโบราณที่ปลูกดอกไม้ไว้ สะเดาะกลอน หมายถึง ทำให้กลอนประตูหลุดออกได้ด้วยคาถาอาคม ถอดความได้ว่า พลายงามจุดเทียนร่ายมนตร์สะกด โปรยข้าวสารเสกใส่ทำให้ภูตพรายหนีกันหมด จึงสะเดาะกลอนประตู เข้าไปถึงสามชั้น บานหน้าต่าง เข้าไปข้างในห้อง และได้กลิ่นหอมของดอกไม้ที่หอมหวนอบอวลไปทั่วห้อง แล้วก้าวเข้าไปอย่างเงียบ ๆ พวกข้ารับใช้กำลังนอนหลับ พลายงามจึงใช้มนตร์สะเดาะกลอนประตูเข้าไป

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ 1.รสวรรณคดี 1.นารีปราโมทย์ เป็นบทเกี้ยว บทโอ้โลม แสดงความรักใคร่ เช่น ตอนที่ขุนแผนเข้าหานางวันทอง แล้วนางวันทอง คิดถึงความหลังเกิดน้อยใจจึงแกล้งหลับ ขุนแผนจึงโอ้โลมแสดงความรักใคร่และยอมรับผิดเพื่อให้นางวันทองพูดจา ด้วย ตัวอย่างบทประพันธ์ โอ้เจ้าแก้วแววตาของพี่เอ๋ย เจ้าหลับใหลกระไรเลยเป็นหนักหนา ดังนิ่มน้องหมองใจไม่นำพา ฤาขัดเคืองคิดว่าพี่ทอดทิ้ง ความรักหนักหน่วงทรวงสวาท พี่ไม่คลาดคลายรักแต่สักสิ่ง เผอิญเป็นวิปริตพี่ผิดจริง จะนอนนิ่งถือโทษโกรธอยู่ไย ถอดความได้ว่า ขุนแผนง้อนางวันทองด้วยคำพูดที่หวาน ๆ และขอโทษนางวันทอง ว่าอย่าโกรธขุนแผนเลย จะนอนนิ่งไม่คุยกับพี่ เลยเหรอ

2.พิโรธวาทัง คือ การตัดพ้อต่อว่า หึงหวง โกรธ เช่น ตอนที่พลายงามมีความโกรธแค้นขุนช้างมาก ทำให้ พลายงามไปพรากนางวันทองจากขุนช้าง เมื่อพลายงามไปเรือนขุนช้างและเข้าไปในห้องนอนเห็นขุนช้างนอน เคียงข้างนางวันทอง ก็ยิ่งโกรธแค้นแทบจะฆ่าขุนช้างทั้งที่หลับ ตัวอย่างบทประพันธ์ เปิดมุ้งเห็นหน้าแม่วันทอง ชมพลางย่างเยื้องชำเลืองมา มันแนบข้างกอดกลมประสมสอง ขยับจ้องดาบง่าอยากฆ่าฟัน นิ่งนอนอยู่บนเตียงเคียงขุนช้าง นึกกลัวจะถูกแม่วันทองนั่น เจ็บใจดังหัวใจจะพังพอง จะใคร่ถีบขุนช้างที่กลางตัว ถอดความได้ว่า เมื่อพลายงามเดินมาถึง พลายงามจึงเปิดมุ้งและเห็นขุนช้างนอนกอดแม่วันทอง จึงเจ็บใจจนอยากจะชัก ดาบฆ่ามัน คิดจะถีบขุนช้างก็กลัวจะโดนแม่วันทอง

1.3สัลลาปังคพิสัย คือ เป็นบทแสดงความเศร้าโศก คร่ำครวญ เช่น เหตุการณ์ที่พลายงามไปหานางวันทองที่ บ้านขุนช้าง ตัวอย่างบทประพันธ์ ครานั้นจึงโฉมเจ้าวันทอง เศร้าหมองด้วยลูกเป็นหนักหนา พ่อพลายงามทรามสวาทของแม่อา แม่โศกาเกือบเจียนจะบรรลัย ใช่จะอิ่มเอิบอาบด้วยเงินทอง มิใช่ของตัวทำมาแต่ไหน ทั้งผู้คนช้างม้าแลข้าไท ไม่รักใคร่เหมือนกับพ่อพลายงาม ทุกวันนี้ใช่แม่จะผาสุก มีแต่ทุกข์ใจเจ็บดังเหน็บหนาม ต้องจำจนทนกรรมที่ติดตาม จะขืนความคิดไปก็ใช่ที คำศัพท์ ทรามสวาดิ หมายถึง ผู้เป็นที่รัก ถอดความได้ว่า นางวันทองได้ตอบพลายงามว่า เศร้าใจเจียนตาย เงินทองข้าทาสบริวารไม่มีอะไรสำคัญกว่าลูก ทุกวันนี้ที่ นางวันทองทนอยู่ก็มีแต่ความทุกข์ไม่ได้มีความสุขเลย แต่ก็ต้องทนอยู่จะทำตามใจของตนเองก็ไม่ได้

2.ภาพพจน์ 2.1 อุปมา เป็นภาพพจน์ที่ใช้การเปรียบเทียบอธิบายลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยจะมีคำเชื่อม แสดงการเปรียบเทียบดังนี้ คล้าย เหมือน ดัง ราว ราวกับ ดุจ เปรียบปราน เป็นต้น ตัวอย่างบทประพันธ์ ครานั้นขุนช้างได้ฟังว่า แค้นดังเลือดตาจะหลั่งไหล ดับโมโหโกรธาทำว่าไป เราก็ไม่ว่าไรสุดแต่ดี ถอดความได้ว่า เมื่อขุนช้างได้ฟังแล้วรู้สึกแค้นขึ้นมา เปรียบเสมือนเลือดจะไหลออกจากตา

2.2 อุปลักษณ์ เป็นภาพพจน์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง คำที่ใช้เปรียบเทียบ ได้แก่ คำว่า เป็น คือ เท่า ตัวอย่างบทประพันธ์ เจ้าพลายงามตามรับเอากลับมา ที่นี้หน้าจะดำเป็นน้ำหมึก กำเริบใจด้วยเจ้าไวยกำลังฮึก จะพาแม่ตกลึกให้จำตาย ถอดความได้ว่า นางวันทองได้บอกแก่พลายงามที่มาตามนางไปอยู่ด้วย จะทำให้นางอับอายขายหน้าไม่กล้าพบหน้า ใครอีก (โดยจะใช้ภาพพจน์อุปลักษณ์เปรียบหน้าของนางวันทองที่มีความอับอายจนหมองคล้ำจนดำ เป็นน้ำหมึก)

3.โวหาร 3.1 อุปมาโวหาร เป็นการใช้ถ้อยคำแสดงการเปรียบเทียบอย่างมีชั้นเชิง โดยการนำสิ่งที่คล้ายคลึงกันมา เปรียบเทียบ เช่น เหตุการณ์ตอนที่พลายงามขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อพานางวันทองมาอยู่บ้านกับตน พลาย งามได้กล่าวเปรียบเทียบนางวันทองกับขุนช้างว่าไม่มีความเหมาะสมคู่ควรกัน ตัวอย่างบทประพันธ์ มาอยู่ไยกับอ้ายหินชาติ แสนอุบาทว์ใจจิตริษยา ดังทองคำทำเลี่ยมปากกะลา หน้าตาดำเหมือนมินหม้อมอม เหมือนแมลงวันว่อนเคล้าที่เน่าชั่ว มาเกลือกกลั้วปทุมมาลย์ที่หวานหอม ดอกมะเดื่อฤาจะเจือดอกพะยอม ว่านักแม่จะตรอมระกำใจ ถอดความได้ว่า มาอยู่ทำไมกับคนเลวทรามชั่วขี้อิจฉาแบบนี้ หน้าตาก็มอมแมมดำอย่างกับเขม่าที่ติดก้นหม้อ น่าเกลียด เหมือนแมลงวันเน่ามาบินตอมดอกไม้ที่สวยงามอย่างแม่ เหมือนคนชั่วมาปนกับคนดี จะว่ามากก็กลัวแม่จะ ทุกข์ใจ

3.2 บรรยายโวหาร เป็นกระบวนการแต่งที่มีเนื้อเรื่อง มีบทบาท ดำเนินว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อ ไหร่ เช่นจากตอนนี้ นางวันทองทูลพระพันวษา สาเหตุที่ทำให้นางวันทองได้ไปอยู่กับขุนช้าง ตัวอย่างบทประพันธ์ ขอเดชะละอองธุลีบาท องค์หริรักษ์ราชรังสรรค์ เมื่อกระหม่อมฉันมาแต่อารัญ ครั้งนั้นโปรดประทานขุนแผนไป ครั้นอยู่มาขุนแผนต้องจำจอง กระหม่อมฉันมีท้องนั้นเติบใหญ่ อยู่ที่เคหาหน้าวัดตะไกร ขุนช้างไปบอกว่าพระโองการ มีรับสั่งโปรดปรานประทานให้ กระหม่อมฉันไม่ไปก็หักหาญ ยื้อยุดฉุดคร่าทำสามานย์ เพื่อนบ้านจะช่วยก็สุดคิด ด้วยขุนช้างอ้างว่ารับสั่งให้ ใครจะขัดขืนไว้ก็กลัวผิด จนใจจะมิไปก็สุดฤทธิ์ ชีวิตอยู่ใต้พระบาทา ถอดความได้ว่า นางวันทองได้ทูลขอพระพันวษาว่า เมื่อตอนที่ออกจากป่าพระองค์ยกหม่อมฉันให้ขุนแผน ต่อมาขุนแผนติด คุก นางวันทองได้ตั้งท้องขุนช้างก็เข้ามาเอากระหม่อมไปอยู่ด้วยโดยอ้างว่าเป็นพระบัญชาของพระองค์ มาฉุด กระหม่อมไปเพื่อนบ้านก็เกรงกลัวเพราะคิดว่าเป็นพระบัญชาของพระองค์ (ซึ่งจากบทประพันธ์นี้ ผู้แต่งได้ บรรยายโวหารช่วยให้ผู้อ่านลำดับเหตุการณ์ได้ดีและเข้าใจเรื่องราว)

3.3 พรรณนา คือ จะเป็นการบรรยาย หรือกล่าวไว้อย่างละเอียดเพื่อให้ผู้อ่าน หรือผู้ฟังนึกภาพ เช่น จากตอนที่พรรณนา ความฝันของนางวันทองที่โดนเสือตะครุบกินในป่า ตัวอย่างบทประพันธ์ ฝันว่าพลัดไปในไพรเถื่อน เลื่อนเปื้ อนไม่รู้ที่จะกลับหลัง ลดเลี้ยวเที่ยวหลงในดงรัง ยังมีพยัคฆ์ร้ายมาราวี ทั้งสองมองหมอบอยู่ริมทาง พอนางดั้นป่ามาถึงที่ โดดตะครุบคาบคั้นในทันที แล้วฉุดคร่าพารี่ไปในไพร สิ้นฝันครั้นตื่นตกประหม่า หวีดผวากอดผัวสะอื้ นไห้ เล่าความบอกผัวด้วยกลัวภัย ประหลาดใจน้องฝันพรั่นอุรา ใต้เตียงเสียงหนูก็กุกกก แมงมุมทุ่มอกที่ริมฝา ยิ่งหวาดหวั่นพรั่นตัวกลัวมรณา ดังวิญญานางจะพรากไปจากกาย คำศัพท์ แมงมุมทุ่มอก หมายถึง ทุ่มอกคือตีอก เชื่อกันว่าเมื่อแมงมุมตีอกของมันจะเป็นลางร้ายอย่างหนึ่ง

ถอดความได้ว่า นางวันทองที่หลับสนิทอยู่ ก็ฝันว่าตนหลงไปในป่า หาทางกลับไม่ได้ ยิ่งเดินเลี้ยวไปไหนต่อไหนก็ยิ่ง หลงทาง และก็ไปเจอเสือสองตัวนอนหมอบอยู่ริมข้างทางแล้วก็ตะครุบนางเข้าไปในป่า หลังจากนั้น นางวันทองก็ตื่นขึ้นมาร้องไห้กอดขุนแผนและเล่าความฝันให้ขุนแผนฟัง ยิ่งได้ยินเสียงหนูร้องและ แมงมุมทุ่มอกยิ่งใจหายกลัวจะเกิดเรื่องไม่ดี

4.คำซ้ำ 4.1 ผู้แต่งได้นำคำคำเดียวมาใช้ในที่ใกล้ ๆ กัน เพื่อที่จะย้ำความหมายของเนื้อความให้หนัก แน่นมากขึ้น ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ 1 วันนั้นแพ้กูเมื่อดำน้ำ ก็กริ้วซ้ำจะฆ่าให้เป็นผี แสนแค้นด้วยมารดายังปรานี ให้ไปขอชีวีขุนช้างไว้ แค้นแม่จำจะแก้ให้หายแค้น ไม่ทดแทนอ้ายขุนช้างบ้างไม่ได้ หมายจิตคิดจะให้มันบรรลัย ไม่สมใจจำเพาะเคราะห์มันดี

ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ 2 สองมือปิดขาเหมือนท่าเปรต ใครมาเทศน์เอาผ้ากูไปไหน ให้นึกอดสูหมู่ข้าไท ยายจันไปเอาผ้าให้ข้าที ยายจันตกใจเต็มประดา เข้าไปฉวยผ้าเอามาคลี่ หยิบยื่นส่งไปให้ทันที เมินหนีอดสูไม่ดูนาย ขุนช้างตัวสั่นเทาบอกบ่าวไพร่ เจ้าวันทองไปไหนอย่างไรหาย เอ็งไปดูให้รู้ซึ่งแยบคาย พบแล้วอย่าวุ่นวายให้เชิญมา

5.คำซ้อน 5.1 ผู้แต่งได้นำคำซ้อนมาแต่ง เพื่อเน้นความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยความหมายยังคงเดิม ใจคอ ฆ่าฟัน เป็นต้น ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ 1 รูปร่างวิปริตผิดกว่าคน ทรพลอัปรีย์ไม่ดีได้ ทั้งใจคอชั่วโฉดโหดไร้ ช่างไปหลงรักใคร่ได้เป็นดี ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ 2 จะปรึกษาตราสินให้ไม่ได้ จึงทำตามน้ำใจเอาง่ายง่าย ถ้าฉวยเกิดฆ่าฟันกันล้มตาย อันตรายไพร่เมืองก็เคืองกู

6.การหลากคำ 6.1 ผู้แต่งได้เลือกใช้คำไวพจน์ เพื่อช่วยให้กลอนมีความไพเราะ ลงวรรค/สัมผัสได้ถูกต้อง แต่ยังคง ความหมายตามประสงค์เดิม ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ 1 อัดอึดฮึดฮัดด้วยขัดใจ เมื่อไรตะวันจะลับหล้า เข้าห้องหวนละห้อยคอยเวลา จนสุริยาเลี้ยวลับเมรุไกร ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ 2 จับดาบเคยปราบณรงค์รบ เสด็จครบบริกรรมพระคาถา ลงจากเรือนไปมิได้ช้า รีบมาถึงบ้านขุนช้างพลัน

คุณค่าทางสังคม บทบาทของพระมหากษัตริย์ต่อประชาชน พระมหากษัตริย์จะต้องแก้ปัญหาของประชาชน ทรงเปรียบเสมือน พ่อ หรือ ผู้ใหญ่ในครอบครัว เวลาคนในครอบครัวมีเรื่องเดือดร้อนหรือเกิดการณ์วุ่นวายมาฟ้องร้องพระองค์ทรงมีหน้าที่ตัดสิน คลี่คลายปัญหา

บทประพันธ์

สมเด็จพระพันวษาได้ยกนางวันทองให้ขุนแผน ขุนช้างบังอาจไปขู่นางวันทองและ โกหกนางวันทองว่าเป็นคำสั่งจากพระองค์ และพระองค์จึงกริ้วและสั่งให้เฆี่ยนขุนช้างให้ สลบคาที่แล้วเอามะพร้าวยัดปาก และจมื่นไวยมีความผิดที่ลักพาตัวนางวันทองกลางดึก คงจะมีขุนแผนผู้เป็นพ่อคอยหนุนหลัง เพราะว่าขุนช้างเอาเรื่องมาบอกพระพันวษาว่า จมื่น ไวยฉุดนางวันทองกลับไปให้พ่อถือว่าเป็นความผิด ทำไมถึงไม่พาพ่อมาฟ้องศาล หรือคิด ว่าพระพันวษาไม่สามารถตัดสินให้ได้ ต้องลงโทษด้วยลวดและปรับให้เหมือนเท่ากับผู้ชายที่ เป็นชู้กับคนอื่ น

คุณค่าด้านสังคม ความมีอำนาจของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีอำนาจเหนือราษฎรทั้งหลาย

บทประพันธ์ ๏ ครั้นว่ารุ่งสางสว่างฟ้า สุริยาแย้มเยี่ยมเหลี่ยมไศล จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงชัย เนาในพระที่นั่งบัลลังก์รัตน์ พร้อมด้วยพระกำนัลนักสนม หมอบประนมเฝ้าแหนแน่นขนัด ประจำตั้งเครื่องอานอยู่งานพัด ทรงเคืองขัดขุนช้างแต่กลางคืน... วันรุ่งขึ้นสมเด็จพระพันวษาประทับบนบัลลังก์มีนางกำนัลและสนม หมอบเฝ้าอยู่ ตั้งเครื่องกินและอยู่งานพัดตามหน้าที่ สมเด็จพระพันวษายัง โกรธขุนช้างตั้งแต่เวลากลางคืน

บทประพันธ์ พระสูตรรูดกร่างกระจ่างองค์ ขุนนางกราบราบลงเป็นขนัด ทั้งหน้าหลังเบียดเสียดเยียดยัด หมอบอัดถัดกันเป็นหลั่นไป เมื่อม่านรูดออก ขุนนางทั้งหลายก็พร้อมกันกราบลงหมอบ เฝ้ากันอยู่มากมายตามลำดับ

คุณค่าด้านสังคม การแบ่งชนชั้น -กษัตริย์ -ขุนนาง -ข้าไท/ทาส

บทประพันธ์ ๏ ครั้นว่ารุ่งสางสว่างฟ้า สุริยาแย้มเยี่ยมเหลี่ยมไศล จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงชัย เนาในพระที่นั่งบัลลังก์รัตน์ พร้อมด้วยพระกำนัลนักสนม หมอบประนมเฝ้าแหนแน่นขนัด ประจำตั้งเครื่องอานอยู่งานพัด ทรงเคืองขัดขุนช้างแต่กลางคืน วันรุ่งขึ้นสมเด็จพระพันวษาประทับบนบังลังก์ มีนางกำนัลและสนมหมอบเฝ้า อยู่ ตั้งเครื่องกินและอยู่งานพัดตามหน้าที่ สมเด็จพระพันวษาขัดเคืองขุนช้าง ตั้งแต่เวลากลางคืน

บทประพันธ์ ตะโกนเรียกในห้องวันทองเอ๋ย หาขานรับเช่นเคยสักคำไม่ ทั้งข้าวของมากมายก็หายไป ปากประตูเปิดไว้ไม่ใส่กลอน พลางเรียกหาข้าไทอยู่ว้าวุ่น อีอุ่นอีอิ่มอีฉิมอีสอน อีมีอีมาอีสาคร นิ่งนอนไยหวามาหากู ขุนช้างตะโกนเรียกหาวันทอง ก็ไม่มีเสียงขานรับกลับมา พอมองไปในห้องก็ เห็นข้าวของมากมายหายไป จึงตะโกนเรียกบ่าวไพร่ในบ้านให้เข้ามาหา

คุณค่าด้านความเชื่อ 1.ความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ในช่วงต้นของตอน ขุนช้างถวายฎีกา เราจะเห็นความรู้และอำนาจของไสยศาสตร์ ที่พระหมื่นไวยใช้ในตอนขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อพานางวันทองมาอยู่ด้วย

บทประพันธ์ “คะเนนับย่ายามได้สามครา ดูเวลาปลอดห่วงทักทิน ฟ้าขาวดาวเด่นดวงสว่าง จันทร์กระจ่างทรงกลดหมดเมฆสิ้น จึงเซ่นเหล้าข้าวปลาให้พรายกิน เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว ลงยันต์ราชะเอาปะอก หยิบยกมงคลขึ้นใส่หัว เป่ามนตร์เบื้องบนชอุ่มมัว พรายยั่วยวนใจให้ไคลคลา” จากบทประพันธ์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าพระหมื่นไวยมีความรู้เรื่องฤกษ์ยาม พิธีกรรม เวทมนตร์ และ วัตถุพิธีไสยเป็นอย่างดี การขึ้นเรือนของผู้อื่นจำเป็นต้องล้างอาถรรพณ์ของเรือนให้ได้ก่อน เพื่อไม่ให้มี ศัตรูมาขวางทางได้ พระหมื่นไวยใช้ผีพรายเป็นตัวช่วยทำลายอาถรรพณ์ทั้งหลาย เริ่มจากการคำนวณ เวลาที่เหมาะ นำสิ่งของเซ่นไหว้ผีพราย ได้แก่ เหล้าและอาหาร แล้วพระหมื่นไวยใช้วัตถุพิธีไสย ได้แก่ ขมิ้น ว่านยา ยันต์ราชะ และมงคล สำคัญที่สุดคือ การท่องมนตร์เพื่อให้ตนสามารถควบคุมผีพรายได้

คุณค่าด้านความเชื่อ(ต่อ) 2.ความเชื่อเกี่ยวกับความฝัน 1.ก่อนที่นางวันทองจะถูกตัดสินประหารชีวิต นางวันทองฝันว่าตนหลงเข้าไป ในป่าและถูกเสือตะครุบ จากตำราการทำนายฝันได้กล่าวถึงเรื่องเสือกัดไว้ว่า เจ้าของฝันจะมีศัตรูมุ่งร้ายพยาบาท

บทประพันธ์ ฝันว่าพลัดไปในไพรเถื่อน เลื่อนเปื้ อนไม่รู้ที่จะกับหลัง ลดเลี้ยวเที่ยวหลงในดงรัง ยังมีพยัคฆ์ร้ายมาราวี ทั้งสองมองหมอบอยู่ริมทาง พอนางดั้นป่ามาถึงที่ โดดตะครุบคาบคั้นในทันที แล้วฉุดคร่าพารี่ไปในไพร จากบทประพันธ์ข้างต้น ถอดความได้ว่า นางวันทองก็ฝันว่าตนหลงไปในป่า หาทางกลับไม่ได้ ยิ่งเดินเลี้ยวไปไหนต่อไหนก็ยิ่งหลงทาง และก็ไปเจอเสือสองตัวนอนหมอบอยู่ริมข้างทางแล้วก็ตะครุบนางเข้าไปในป่า

คุณค่าด้านความเชื่อ(ต่อ) 2.ขุนช้างฝันว่า ตนเป็นโรคเรื้อนต้องรักษาด้วยยาเข้าปรอท แต่ยากลับเป็นพิษทำลาย อวัยวะภายในเสียสิ้น ทั้งฟันก็หักจากปาก จากตำราการทำนาย ได้กล่าวถึงฝันเรื่องฟันโยก ฟันหักไว้ว่า เจ้าของความฝันจะเสียชีวิต หรือ ญาติจะเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ หลังจากนั้น คือนางวันทองได้รับโทษประหารชีวิต

บทประพันธ์ จะกล่าวถึงเจ้าจอมหม่อมขุนช้าง นอนครางหลับกรนอยู่ป่นเปื้ อน อัศจรรย์ฝันแปรแชเชือน ว่าขี้เรื้อนขึ้นตัวทั่วทั้งนั้น หาหมอมารักษายาเข้าปรอท มันกินปอดตับไตออกไหลลั่น ทั้งไส้น้อยไส้ใหญ่แลไส้ตัน ฟันฟางก็หักจากปากตัว จากบทประพันธ์ข้างต้น ถอดความได้ว่า ขุนช้างที่นอนหลับอยู่ ก็ได้ฝันร้ายว่า “เป็นขี้เรือนทั่วทั้งตัว พอไปหมอ หมอก็ให้กินยาประสมปรอท จึงถูกปรอทกินกินตับไตไส้พุงและฟันก็หักออกจากปาก”

คุณค่าด้านความเชื่อ 3.ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรม ตัวละครในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เมื่อประสบชะตากรรมที่ทำให้ตนเองพบกับ ความทุกข์ มักลงความเห็นว่า เป็นเรื่องของเวรกรรม

บทประพันธ์ จะกล่าวถึงโฉมเจ้าพลายงาม เมื่อเป็นความชนะขุนช้างนั่น กลับมาอยูบ้านสำราญครัน เกษมสันต์สองภิรมย์ยวน พร้อมญาติขาดอยู่แต่มารดา นึกนึกตรึกตราละห้อยหวน โอ้ว่าแม่วันทองช่างหมองนวล ไม่สมควรเคียงคู่กับขุนช้าง เออนี่เนื้อเคราะห์กรรมนำมาผิด น่าอายมิตรหมองใจไม่หายหมาง ฝ่ายพ่อมีบุญเป็นขุนนาง แต่แม่ไปแนบข้างคนจัญไร จากบทประพันธ์ข้างต้น ถอดความได้ว่า เมื่อพลายงามชนะความขุนช้าง ก็ได้กลับมาอยู่บ้านอย่างสุขสบาย ขาดก็แต่มารดา พลายงาม คิด ว่าแม่วันทองไม่ควรอยู่กับขุนช้าง อาจจะเป็นเคราะห์กรรมของแม่วันทองถึงต้องมาอับอายแบบนี้ พ่อก็เป็นถึงขุนนาง แต่แม่กลับไปอยู่กับคนจัญไร

ด้านความเชื่อ ความเชื่อในจารีตประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่น ผู้หญิงต้องมีสามีคนเดียว หญิงที่มีสามี หลายคน หรือมีสามีแล้วไปเป็นชู้กับชายอื่นก็จะถูกตราหน้าว่า เป็นหญิงแพศยาหรือกาลกิณี ไม่มี ความเจริญ ดังบทประพันธ์ที่ว่า

บทประพันธ์ กูเลี้ยงมึงถึงให้เป็นหัวหมื่น คนอื่ นรู้ว่าแม่ก็ขายหน้า อ้ายขุนช้างขุนแผนทั้งสองรา กูจะหาเมียให้อย่าอาลัย หญิงกาลกิณีอีแพศยา มันไม่น่าเชยชิดพิสมัย ที่รูปรวยสวยสมมีถมไป มึงตัดใจเสียเถิดอีคนนี้ เร่งเร็วเหวยพระยายมราช ไปฟันฟาดเสียให้มันเป็นผี อกเอาขวานผ่าอย่าปรานี อย่าให้มีโลหิตติดดินกู สมเด็จพระพันวษาได้กล่าวถึงขุนช้างและขุนแผนว่าให้ตัดใจนางวันทองแล้ว พระองค์จะหาเมียใหม่ เพราะว่านางวันทองเป็นหญิงที่ไม่ดี ไม่น่าชื่นชม ควรตัดใจ กับคนนี้ พระยายมราชได้รับสั่งให้ไปประหารชีวิตนางวันทองเอาขวานผ่าอก แล้วเอา ใบตองมารองเลือดให้หมากิน อย่าให้เลือดอัปรีย์การลีตกถึงพื้นดินเลย

ข้อคิดที่ได้รับ 1.ความรักทำให้เกิดความทุกข์ 2.ก่อนทำสิ่งใดต้องมีสติยั้งคิด ไม่ตัดสินใจด้วยอารมณ์ ต้องใช้เหตุผล 3.ทุกคนต้องเคารพกฎหมายบ้านเมืองเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย 4.การตัดสินใจไม่เด็ดขาดทำให้เกิดปัญหาได้ไม่รู้จบ 5.ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี เราจึงควรมีความกตัญญูต่อบิดามารดาผู้ที่ให้กำเนิดเรามา 6.วัดเป็นสถานที่ผูกพันกับชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน 7.ผู้ชายมีการถวายตัวเข้ารับราชการ 8.สมัยก่อนจะใช้สมุนไพรรักษาแผล และมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 9.สมัยก่อนเดินทางโดยเท้า และการขี่ม้า 10.ในสมัยก่อนจะมีการมัดจุกโกนจุกและนุ่งโจงกระเบนผูกขวัญรับขวัญ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook