Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กทบ 111 แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว_65

กทบ 111 แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว_65

Published by thitimaa29, 2022-08-07 08:09:40

Description: กทบ 111 แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว_65

Search

Read the Text Version

1 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรเู บ้ืองตน เกี่ยวกับการทองเที่ยวและการโรงแรม บทที่ 1 แนวคิดเก่ยี วกบั การทอ งเทย่ี ว แผนการสอนบทท่ี 1 ผูส อน อ.ฐิติมา องั กรุ วชั รพันธุ วัตถุประสงคการเรยี นรู เมื่อศกึ ษาบทเรียนนแ้ี ลว นิสิตสามารถ 1. อธิบายความหมายของการทองเทยี่ วและแรงจูงใจในการเดินทางทองเทีย่ ว 2. อธิบายความแตกตา งของอุตสาหกรรมการทองเทย่ี วกบั อุตสาหกรรมอื่น ๆ 3. ยกตัวอยา งความสำคัญของการทองเที่ยวทีม่ ีตอเศรษฐกจิ สังคม วัฒนธรรม และสงิ่ แวดลอม เน้ือหา - ความหมายของการทอ งเท่ยี ว - แรงจูงใจในการเดนิ ทางทองเทย่ี ว - ความหมายของอุตสาหกรรมการทอ งเทยี่ ว - ลกั ษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมการทอ งเที่ยว - ความสำคัญของการทองเท่ยี วและอุตสาหกรรมการทองเท่ียว การจัดประสบการณการเรยี นรู 1. ชแ้ี จงวตั ถปุ ระสงคแ ละเนอ้ื หา 2. บรรยายเน้ือหาตามหัวขอตางๆ 3. การสอนเชงิ รกุ แบบ Brainstorming ส่อื การสอน 1. เอกสารประกอบการสอน / e-Book 2. PowerPoint 3. แอปพลเิ คชัน่ Mentimeter การประเมินผล กิจกรรมในชัน้ เรยี น การมสี ว นรว มของนิสิตในการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น

2 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรเู บื้องตน เก่ียวกับการทองเทีย่ วและการโรงแรม บทที่ 1 แนวคดิ เกี่ยวกับการทองเทีย่ ว \"All travel has its advantages. If the passenger visits better countries, he may learn to improve his own. And if fortune carries him to worse, he may learn to enjoy it.\" - Samuel Johnson บทนำ ปจจุบันการทองเที่ยวไดกลายเปนสวนหนึ่งของชีวิตมนุษย มนุษยแสวงหาเวลาสำหรับการพักผอนหยอน ใจเพื่อหลีกหนีความซ้ำซากจำเจ ผอนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยลาและความเครียด ทำใหสุขภาพทางกายและ จิตใจสดชื่น พรอมที่จะกลับไปเผชิญกับภารกิจตาง ๆ การทองเที่ยวยังเปดโอกาสใหมีการศึกษาเรียนรู ไดรับ ประสบการณแ ปลกใหม ชวยเพิ่มพูนประสบการณชีวิตในดานตาง ๆ และเขาใจสภาพแวดลอมของแหลงทองเท่ียว ที่ไปเยือน นอกจากนี้ ปจจัยภายนอก เชน การคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว การติดตอสื่อสารและการพัฒนาสถานท่ี พักแรม เปนปจ จยั ท่ีกระตุนใหผคู นเดนิ ทางเพ่ือพกั ผอ นและทองเท่ยี วกันมากข้นึ จนทำใหม ีรูปแบบการทองเที่ยวที่มี ความหลากหลาย อุตสาหกรรมทองเท่ยี วเขามามีบทบาทสำคญั ในการพัฒนาประเทศ เห็นไดจากการที่รัฐบาลไดใช การทองเที่ยวเปนเครื่องมือในการฟนฟูเศรษฐกิจ โดยมีการประกาศใหการทองเที่ยวเปนวาระแหงชาติ เนื่องจาก อุตสาหกรรมทองเที่ยวเปนเครื่องจักรหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสรางรายไดเขาสูประเทศเปน จำนวนมาก อีกทั้งยังมีสวนสัมพันธกับภาคธุรกิจหลายประเภทที่กอใหเกิดรายไดในรูปของเงินตราตางประเทศ ท้ัง ธุรกิจที่เกี่ยวของโดยตรง ไดแก ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจจัดนำเที่ยว ธุรกิจคมนาคมขนสง ธุรกิจภัตตาคารและ รานอาหาร ธุรกิจจำหนายของที่ระลึกและสินคา พื้นเมือง และธุรกิจที่เกี่ยวของโดยออม ไดแก ธุรกิจดานการ กอสราง ธุรกิจโฆษณา ฯลฯ ซึ่งกอใหเกิดการลงทุน การจางงาน การกระจายรายไดสูทองถิ่น รวมทั้งการพัฒนา ระบบสาธารณูปโภคพืน้ ฐาน และการพัฒนาคณุ ภาพ ชีวิตของประชาชนไดทั้งน้ี ควรเขาใจกอนวาการทองเที่ยวคือ อะไร และอุตสาหกรรมการทองเทย่ี วมลี ักษณะอยางไร เพื่อการพัฒนาการทอ งเท่ียวไปทิศทางที่ถูกตอ ง

3 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรูเบ้ืองตนเกยี่ วกบั การทอ งเทีย่ วและการโรงแรม ความหมายของการทองเท่ียว การทองเที่ยว หรือภาษาอังกฤษ คือ “Tourism” ตามพจนานุกรมของแคมบริดจ ค.ศ. 2016 (Cambridge Dictionary, 2016) ใหความหมายวา การทองเที่ยวเปนธุรกิจการใหบริการ เชน การขนสง ที่พัก หรือกจิ กรรมทกี่ อ ใหเกดิ ความบนั เทงิ สำหรบั นักทอ งเทย่ี ว องคการสหประชาชาตไิ ดจ ัดประชุมวาดวยการเดินทางและทอ งเท่ยี วระหวางประเทศ ณ กรุงโรม ประเทศ อิตาลี เมื่อป พ.ศ. 2506 ไดใหคำจำกัดความไววา การทองเที่ยว หมายถึง การเดินทาง (Travel) ที่มีเงื่อนไข 3 ประการคือ 1. การเดินทาง (Travel) หมายถึง การเดินทางที่ไมไดถ ูกบังคบั หรอื เพื่อสินจาง โดยมีการวางแผนเดนิ ทาง จากสถานท่หี นง่ึ ไปยงั อกี สถานท่ีหน่ึง และใชย านพาหนะนำไปเปนระยะทางใกลห รอื ระยะทางไกลก็ได 2. จุดหมายปลายทาง (Destination) หมายถึง มีจุดหมายปลายทางที่จะไปอยูเปนการชั่วคราวแลวตอง เดินทางกลับที่อยูเดิมหรือภูมิลำเนาเดิม โดยเปนสถานที่ที่นักทองเที่ยวเลือกเดินทางไปเยือนและใชชวงเวลาหน่ึง อยู ณ ที่นั่น ซึ่ง ณ ที่นั้นมีส่ิงอำนวยความสะดวกและการบริการที่เพียงพอสำหรับสนองความตองการและความ พอใจใหกบั นักทอ งเท่ียวท่มี าเยอื น 3. ความมุงหมาย (Purpose) หมายถึง มีความมุงหมายหรือวัตถุประสงคในการเดินทางใดก็ไดที่ไมใชเพื่อ ประกอบอาชีพหรือรายได โดยมีความมุงหมายในการเดินทางอยูหลายอยางดวยกัน ซึ่งผูเดินทางคนหนึ่งอาจมี ความมุง หมายในการเดนิ ทางมากกวา หนง่ึ อยา งกไ็ ด องคการการทองเที่ยวโลก (United nations World Tourism Organization: UNWTO) แหงองคการ สหประชาชาตไิ ดกำหนดความหมายของการทองเท่ียวไวในป ค.ศ. 1963 ในการประชุมวาดวยการเดินทางและการ ทองเที่ยวเพื่อใหประเทศสมาชิกไดนำไปพิจารณาเปนแนวทางใหเกิดความเขาใจรวมกัน มีมาตรฐานเดียวกัน มี ใจความวา การเดินทางใดๆ ก็ตามที่เปนการเดนิ ทางทีต่ ามเงื่อนไขสากล 3 ประการ ดงั ตอไปนี้ 1. การเดินทางจากทีอ่ ยอู าศยั เปน ประจำไปยังสถานที่อืน่ ๆ เปนการช่ัวคราว 2. การเดินทางนั้นผูเดินทางเดนิ ทางดวยความสมคั รใจไมใชเปน การถูกบงั คบั 3. การเดนิ ทางเพ่อื วัตถปุ ระสงคใ ดๆ กต็ ามทไี่ มใ ชเดนิ ทางเพ่อื ประกอบอาชพี หรอื หารายได การทองเที่ยว (Tourism) เปนกิจกรรมการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง นักวิชาการสวนใหญ ใหค ำนิยามของคำวา “การทองเที่ยว” ดังนี้

4 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรเู บ้ืองตน เก่ยี วกับการทอ งเทีย่ วและการโรงแรม ผูใหค ำนิยาม ความหมาย องคการสหประชาชาติ การเดินทางเพื่อความบันเทิงรื่นเริงใจ เยี่ยมญาติ หรือการไปรวมประชุม แตมิใช (1963) เพอื่ การประกอบอาชีพเปนหลักฐานหรอื ไมพ ำนกั อยูเปนการถาวร Holloway (1995) การเดินทางออกจากที่อยูอาศัยไปยังสถานที่อื่นในระยะเวลาสั้นๆ และทำ กิจกรรมตางๆระหวางที่อยูในแหลงทองเที่ยว โดยมีวัตถุประสงคเพื่อตองการ เย่ยี มญาตหิ รอื พกั ผอนทอ งเทย่ี ว R.W. McIntosh (1995) การเดินทางเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและสิ่งแวดลอม โดยมีแรงกระตุนจากความ ตองการดานกายภาพ ดานวัฒนธรรม ดานปฏิสัมพันธ และดานสถานะ หรือ เกียรตคิ ณุ Lawson and Baud Bovy เปนนันทนาการรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในเวลาวางที่มีการเดินทางเขามาเกี่ยวของ (1998) โดยเปนการเดนิ ทางจากทอ่ี ยอู าศยั ไปยงั อกี ที่หนง่ึ ทถ่ี อื เปน แหลงทองเท่ยี ว การทองเที่ยวแหงประเทศ การเดินทางเพื่อผอนคลายความเครียด แสวงหาประสบการณแปลกใหมโดยมี ไทย (2544) เงื่อนไขวาการเดินทางนั้นเปนการเดินทางเพียงชั่วคราว ผูเดินทางจะตองไมถูก บังคับใหเดนิ ทาง ปรีชา แดงโรจน (2544) กิจกรรมอยางหนึ่งของมนุษย ซึ่งกระทำเพือ่ ผอนคลายความตึงเครยี ดจากกิจการ งานประจำ โดยปกติจะเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยไม คำนึงวา ระยะทางน้ันจะใกลหรอื ไกลและการเดินทางนั้นจะมีการคางแรมหรือไม ฐริ ชญา มณเี นตร (2552) การเดินทางของมนุษยจากสถานที่ใดสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง หรือการ เดินทางจากถิ่นพำนักที่อาศัยไปยังสถานที่อื่นเปนการชั่วคราวดวยความสมัครใจ ไปและเปน การเดนิ ทางดวยเหตผุ ลของการทองเท่ยี ว มิใชเ พอื่ ประกอบอาชพี หรอื หารายไดเชน การเดินทางเพื่อการพักผอน การเดินทางเพื่อไปชมการ แขงขัน กีฬา การเดินทางเพื่อการศกึ ษา การเดินทางเพือ่ การประชุมสมั มนา การเดินทาง เพอื่ เยย่ี มญาตพิ น่ี องหรือเพื่อน การเดินทางเพ่ือแลกเปลี่ยนวฒั นธรรม เปน ตน

5 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรูเ บ้ืองตน เกยี่ วกบั การทอ งเที่ยวและการโรงแรม ตามแนวคิดของ McIntosh R.W. & Gupta S. (1980) ไดกลาววา การทองเที่ยวเปนการเดินทางเพื่อ จุดหมายตางๆ โดยมีมูลเหตจุ งู ใจ 4 ประเภท คอื 1. มูลเหตุจูงใจทางดานกายภาพ หมายถึง ความตองการทองเที่ยวเพื่อพักผอนหยอนใจ เชน เขารวม กจิ กรรมทางการกฬี า หรอื รกั ษาสขุ ภาพ พกั ผอ นตากอากาศชายทะเล หรือรวมกจิ กรรมบนั เทงิ อ่นื ๆ 2. มลู เหตุจงู ใจทางวัฒนธรรม หมายถงึ ความตองการเรยี นรเู รือ่ งตางๆ ในแหลงอน่ื ที่มใิ ชท อ่ี ยูเดิม ไมว า จะ เปน ดา นศิลปวฒั นธรรม นาฏศิลป ดรุ ยิ างคศิลป ประเพณีตา งๆ 3. มูลเหตุจูงใจดานความสัมพันธระหวางบุคคล หมายถึง ความตองการพบปะสังสรรคกับผูคนใหมๆ หรือ เพอื่ นเกา ญาตพิ น่ี อ ง 4. มูลเหตุจูงใจดานสถานภาพและเกียรติภูมิ หมายถึง ความตองการพัฒนาตนเองใหมีฐานะ หรือ เกยี รติภมู สิ ูง อาจเปน ไปเพือ่ การศึกษา การประชุมและการตดิ ตอ ธรุ กิจ ธนกฤต สังขเฉย (2550) ไดกลาวไววา การทองเที่ยวเปนคำที่มีความหมายคอนขางกวาง เพราะมิได หมายความแตการเดินทางเพียงอยางเดียว หรือมุมมองเฉพาะในสวนของผูเดินทางเทานั้น หากพิจารณาจาก กระบวนการของการทองเที่ยวจะพบวาเปนความสัมพันธที่เกิดขึ้นซึ่งกันและกันระหวางนักทองเที่ยว ผูจัดบริการ ดานการทองเที่ยว หนวยงานของรัฐในทองถิ่น และประชาชนในแหลงทองเที่ยว ดังนั้น หากจะอธิบายความหมาย ของคำวาการทอ งเทย่ี วใหครอบคลุม อาจตอ งพจิ ารณา 4 องคป ระกอบ คอื

6 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรเู บื้องตนเกี่ยวกบั การทอ งเทยี่ วและการโรงแรม ความหมายของอตุ สาหกรรมการทองเท่ยี ว อุตสาหกรรม (Industry) หมายถึง การทำสิ่งของเพื่อใหเปนสินคา (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2525) เปนการประกอบกิจกรรมดวยการนำปจจัยการผลิตตางๆ ไดแก เงินทุน แรงงาน วัสดุอุปกรณ เครื่องมือ เครื่องจักร และการจดั การมารวมกันเพื่อผลิตสนิ คาหรือบริการอยางใดอยางหน่ึงทีม่ ีคุณคาตอมนุษย อยางไรก็ตาม อุตสาหกรรม ไมจำเปนตองเปน โรงงานที่ประกอบดวยเครื่องจกั รกลในการผลิตสินคา ออกจำหนายเทาน้ัน แตยัง มอี ุตสาหกรรมทเี่ ปน แหลงผลิตบรกิ ารที่กอใหเกดิ ความสะดวกสบาย หรือความพึงพอใจแกผูใชบ ริการดว ย อุตสาหกรรมการทองเที่ยว (Tourism Industry) หมายถึง อุตสาหกรรมบริการซึ่งประกอบดวยธุรกิจ หลายประเภท ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวของโดยตรง ซึ่งเปนผลผลิตหลักที่นักทองเที่ยวซื้อโดยตรง เชน ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจ ที่พักแรม ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวของทางออม ไดแก การผลิตสินคาเกษตรกรรม ธุรกิจผลิตสินคา อุปโภคบรโิ ภค ธรุ กิจกอ สรางทเ่ี ก่ียวของกบั นักทอ งเทย่ี ว เชน การสรา งถนน โรงแรม ฯลฯ อุตสาหกรรมการทองเที่ยว เปนการประกอบกิจกรรมดวยการนำปจจัยการผลิตตางๆ มาผลิตบริการดาน การทองเที่ยว ที่กอใหเกิดความสะดวกสบายหรือความพึงพอใจ และขายบริการดานการทองเที่ยวนั้นใหแก นักทองเที่ยวหรือผูเยี่ยมเยือน ซึ่งอุตสาหกรรมการทองเที่ยวจะผลิตทั้งสินคาและบริการผสมกัน แตสวนใหญจะ มุงเนน การผลิตการบรกิ ารโดยปรากฏในลักษณะของคุณคา ทางจติ ใจทน่ี กั ทองเทย่ี วไดร ับ เชน ความพึงพอใจ ความ ประทับใจ ประสบการณท ี่มี คุณคา ความสนุกสนาน อุตสาหกรรมการทองเที่ยว จึงเปนอุตสาหกรรมหนึ่งในอุตสาหกรรมประเภทบริการที่มีการใชวัตถุดิบ มีกระบวนการผลิต และมีผลผลิต ซ่ึงมอี งคประกอบ 4 ประการ คือ 1. โรงงาน แหลงที่ผลิตสินคาของอุตสาหกรรมการทองเที่ยว ไดแก พื้นที่ที่ใชประกอบการในการผลิตสินคาและ บรกิ ารดา นการทอ งเท่ยี ว หรือกจิ กรรมทางการทอ งเทีย่ ว 2. ผซู ้อื หรือ ลกู คา ไดแ ก นักทอ งเที่ยวท้งั ในประเทศ และตางประเทศ 3. สนิ คา หรอื บรกิ าร ไดแก ทรัพยากรทางธรรมชาติ ทรัพยากรที่มนุษยสรางขึ้น หรือสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการตางๆ เชน ทีพ่ ักแรม รา นอาหาร ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ

7 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรเู บ้ืองตน เกย่ี วกบั การทองเทยี่ วและการโรงแรม 4. การขนสง สินคาและบรกิ าร ปกติผูผลิตจะตองสงสินคาไปใหลูกคา แตในอุตสาหกรรมการทองเที่ยวนั้นผูซื้อ หรือนักทองเที่ยวจะตอง เดินทางไปซ้ือสนิ คาหรือบริการน้ัน ณ แหลง ผลติ เอง ซึ่งอาจไปโดยทางบก ทางนำ้ หรือทางอากาศ พระราชบญั ญตั ิการทอ งเที่ยวแหงประเทศไทย พ.ศ. 2522 ใหค วามหมายไวว า อตุ สาหกรรมการทองเท่ียว หมายความถึง อุตสาหกรรมทจี่ ัดใหม ีหรือใหบ รกิ ารเกยี่ วกับการทองเทยี่ วท้ังภายในและภายนอกราชอาณาจักรโดย มคี าตอบแทน และหมายรวมถึง - ธรุ กิจนำเทย่ี ว - ธุรกิจโรงแรมนกั ทอ งเท่ียว - ธรุ กิจภัตตาคาร สถานบริการและสถานทตี่ ากอากาศสำหรบั นักทอ งเทีย่ ว - ธรุ กิจการขายของทร่ี ะลึกหรือสนิ คาสำหรบั นกั ทอ งเทยี่ ว - ธุรกจิ การกฬี าสำหรบั นักทองเทยี่ ว - การดำเนินงานนทิ รรศการ งานแสดง งานออกราน การโฆษณาเผยแพร หรือการดำเนนิ งานอื่นใดโดยมี ความมงุ หมายเพ่อื ชกั นำหรอื สง เสรมิ ใหม กี ารเดินทางทองเที่ยว ลกั ษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมการทอ งเทยี่ ว 1. เปนอตุ สาหกรรมทจ่ี ับตอ งไมได เปนการบริการที่ไมมีตัวตน ผลของการรับบริการปรากฎในลักษณะความรูสึกทางจิตใจ เชน ความพึง พอใจ ความสขุ ความตื่นเตน ประสบการณ ทั้งนี้ผูร บั บรกิ ารไมสามารถตรวจสอบคุณภาพกอนใชบ รกิ าร 2. เปน อุตสาหกรรมท่ไี มอ าจจดั สงใหแ กผ ซู ้อื ถงึ ที่ได ผูซื้อสินคาทางการทองเที่ยวจะตองเดินทางมาซื้อบริการหรือมาใชบริการดวยตนเอง เนื่องจากสินคา ทางการทองเที่ยวไมสามารถเคลื่อนยายได ผูรับบริการดานการทองเที่ยวจะตองเดินทางมารับบริการดวยตนเอง เชน นกั ทอ งเท่ยี วตอ งซ้อื ทวั รไปชมอารยธรรมขอมที่อุทยานประวตั ศิ าสตรพนมรงุ 3. เปน อุตสาหกรรมทไี่ มมขี ีดจำกดั ในการผลิตและจดั จำหนาย เนื่องจากสินคาหรือผลิตภัณฑทางการทองเที่ยว ไดแก ทรัพยากรทางการทองเที่ยว เปนสิ่งที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาตแิ ละมีใหเ ลอื กหลากหลาย

8 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรูเบ้ืองตนเกย่ี วกับการทอ งเทยี่ วและการโรงแรม 4. เปน อตุ สาหกรรมทคี่ วบคุมคณุ ภาพและมาตรฐานของการผลติ ไดย าก เนอื่ งจากมีปจจยั ตางๆเปนตัวแปรใหเกิดการเปล่ียนแปลงไดเ สมอ ซึ่งอาจเปนปจ จยั ทีไ่ มส ามารถคาดการณ ไดลวงหนา เชน สภาพดินฟาอากาศ ภัยธรรมชาติ นอกจากนี้การใหบริการของธุรกิจในอุตสาหกรรมทองเที่ยวไม สามารถทำใหเปน มาตรฐานเดยี วกันได 5. เปน อุตสาหกรรมที่มลี ักษณะสูญเสยี งา ย ธุรกจิ ทเ่ี กี่ยวขอ งกบั อุตสาหกรรมการทอ งเทีย่ วไมสามารถเกบ็ ไวใ ชใ นเวลาตางกันได เชน การโดยสารรถไฟ ถา มีผมู าใชบริการนอยในแตล ะเทีย่ วก็จะทำใหเ กดิ การส้ินเปลืองโดยไมก อใหเกิดประโยชนแ ละรายได 6. เปน อุตสาหกรรมทีม่ ีอปุ สงคไมแนนอน อุปสงคของการเดินทางทองเที่ยวจะขึ้นลงตามฤดูกาล บางฤดูกาลจะมีจำนวนนักทองเที่ยวจำนวนมาก บางฤดูกาลก็มีนักทองเที่ยวจำนวนนอย ดังนั้น การวางแผนการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมบริการสำหรับรองรับ นกั ทอ งเทย่ี วจึงแตกตา งกันในแตละชวงเวลา 7. เปน อุตสาหกรรมท่ีใชแ รงงาน เนื่องจากการบริโภคสินคาและบริการในธุรกิจที่เกี่ยวของกับอุตสาหกรรมทองเที่ยวจำเปนตองใชแรงงาน ในการใหบ รกิ าร อกี ทงั้ อัตรากำลังจะมกี ารปรบั เปล่ยี นไปตามอุปสงคข องการทอ งเทยี่ วในแตล ะชวงเวลาอีกดว ย รูปที่ 2 อปุ สงคและอปุ ทานของอตุ สาหกรรมการทองเที่ยว

9 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรูเบ้ืองตนเกีย่ วกับการทอ งเทยี่ วและการโรงแรม วตั ถุประสงคข องการทองเทย่ี ว สำหรับจุดมุงหมายของการเดินทางเพื่อการทองเที่ยวตองมิใชเพื่อประกอบอาชีพและไปอยูประจำ แต เปนไปเพื่อวัตถุประสงคอยางใดอยางหนึ่ง วัตถุประสงคในการเดินทางทองเที่ยวของนักทองเที่ยว เกิดขึ้นไดจาก เหตผุ ลดงั น้ี (Mill, 1990) 1. การทองเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินและพักผอนหยอนใจ (Leisure/Recreation/Holiday) เปนการ เดนิ ทางในวนั หยดุ เพ่ือพกั ผอ นเพ่อื ตอบสนองความตอ งการทจี่ ะหลกี หนจี ากชีวิตทจี่ ำเจ และเรงรีบของนกั ทอ งเทย่ี ว หรือตองการพบเห็นสิ่งแปลกใหมไปจากสภาพแวดลอมเดิม หลีกหนีสภาพอากาศในประเทศของตน หรือตองการ เปลี่ยนบรรยากาศ ชมทิวทัศนที่แตกตาง การทองเที่ยวในลักษณะนี้เปนจุดประสงคพื้นฐานหลักของนักทองเที่ยว สวนใหญทั่วโลก ทั้งนี้วัตถุประสงคในการเดินทางจะเปนตัวกำหนดกิจกรรมและแหลงทองเที่ยวที่นักทองเที่ยวจะ เลือก วัตถปุ ระสงค ตวั อยา งแหลงทองเทย่ี ว 1. ตองการหลีกหนีจากชีวิตประจำวัน - สวนสาธารณะ / อทุ ยานแหงชาติ - น้ำตก - สปา - ชายทะเล 2. ตองการหาประสบการณท่แี ปลกใหม - กิจกรรมกลางแจง - ทัศนศกึ ษาหมบู า นชาวเขา - สวนสนุกเฉพาะทาง 3. หลกี หนอี ากาศหนาว - ชายทะเล (sun and see) - กิจกรรมดำนำ้ 2. การทองเที่ยวเพื่อการศึกษา (Educational) เปนการเดินทางเพื่อทำการวิจัยหรือสอนหนังสือ หรือเขา ศึกษา หรือดูงานในประเทศทีพัฒนาแลว ซึ่งมักจะพักอยูในประเทศนั้นเปนเวลานับเดือน เชน ไปทำการวิจัยดาน สงั คมวิทยา ทีป่ ระเทศอินเดีย ไปดูงานท่ียโุ รป ไปบรรยายวชิ าการทองเทย่ี วท่ีประเทศสิงคโปร ไปฝกอบรมระยะส้ัน เก่ียวกบั วชิ าการโรงแรมทปี่ ระเทศสวสิ เซอรแ ลนด

10 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรเู บ้ืองตนเกี่ยวกับการทอ งเท่ียวและการโรงแรม 3. การทองเที่ยวทางศาสนา (Religion) เปนการเดินทางทีป่ รารถนาจะเรียนรูเ ก่ียวกบั ศาสนาหรือเดินทาง ดว ยความศรัทธา เชน การเดนิ ทางเพื่อนมสั การสถานท่ีประสูติ ตรสั รู ปฐมเทศนา และปรนิ ิพพานของพระพุทธเจา หรอื เดนิ ทางเพือ่ รว มปฏบิ ตั ศิ าสนกจิ 4. การทองเที่ยวเพอ่ื การกฬี า (Sport) การทอ งเที่ยวนม้ี วี ัตถุประสงค 2 ประการ คือ 4.1 การเลนกีฬาเพื่อสุขภาพ คือ นักทองเที่ยวที่ไปทองเที่ยวพรอมกับวัตถุประสงคที่จะไปออกกำลัง กายดว ยการเลน กีฬา เชน การเลน กอลฟ การเขา รวมแขงขนั กีฬาเขต 4.2 การเดนิ ทางเพ่อื ไปชมการแขงขันกฬี า เชน การชมการแขง ขันกีฬาโอลิมปก 5. การทองเที่ยวเพื่อธุรกิจ (Business Tour/Professional) แมวาการเดินทางเกี่ยวของกับธุรกิจที่มี วัตถุประสงคเกี่ยวของกับการทำงาน แตก็จัดเปนการทองเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากการเดินทางในลักษณะน้ี จะสรางรายไดใหกับจุดหมายปลายทางที่นักธุรกิจไปเยือน และนักธุรกิจนั้นก็ไมไดมีวัตถุประสงคที่จะไปอยู ณ สถานที่นั้นเพื่อที่จะทำงาน หารายไดอยางเดียว หากตองบริโภคสินคาและบริการตางๆ ซึ่งหมายถึงการเขาพักใน โรงแรม การใชบ รกิ ารหอ งประชมุ ซื้อของฝากของที่ระลกึ ตางๆ 6. การทองเที่ยวเพื่อประวัติศาสตรและความสนใจพิเศษ (Historical and Special Interests) เปนการ เดินทางที่ปรารถนาจะไปชมโบราณสถานที่เกี่ยวโยงกับขอเท็จจริงทางประวัติศาสตร เชน ปราสาทหินพิมาย โครง กระดกู มนุษยโ บราณ 7. การทองเที่ยวเพื่อเยี่ยมญาติมิตร (Visiting Friend or Visiting Relation) เปนการเดินทางเพื่อเยี่ยม ญาติมิตรอันเปนการสรางสัมพันธภาพใหดียิ่งขึ้น การทองเที่ยวเพื่อเยี่ยมญาติมิตร หรือ VFR เปนการทองเที่ยวที่ สำคญั เปนอนั ดบั สองรองจากการทอ งเทีย่ วเพื่อความเพลิดเพลนิ และพกั ผอนหยอนใจ เชน ไปเย่ียมเพ่ือนท่ีประเทศ อังกฤษ ชาวตะวันตกเดินทางไปเยี่ยมญาติในเทศกาลคริสตมาส ชาวจีนนิยมเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวในเทศกาล ตรุษจนี 8. การทองเที่ยวเพื่อประชุมสัมมนา (Meeting Convention & Exhibition) การทองเที่ยวในรูปแบบน้ี กำลังไดรับความสนใจท้ังจากภาครัฐและเอกชนทั่วโลก โดยมีการสงเสริมใหเ กดิ การพัฒนาการทองเทีย่ วในรูปแบบ นอ้ี ยางจริงจงั เน่อื งจากเหน็ ความส าคญั ถงึ ภาพลกั ษณด า นการทองเท่ียวท้ังในระยะส้ันและระยะยาว กลาวคือ ผูท่ี เดินทางมาในลักษณะดังกลาวมักเปนนักทองเที่ยวที่มีศักยภาพสูง และมีความสามารถในการใชจายมากกวา นักทองเที่ยวทั่วไป นอกจากนี้แมวาผูที่มาเขารวมกิจกรรมดังกลาวจะมีวัตถุประสงคหลักในการเดินทางที่เกี่ยวของ ในเชิงธุรกิจ แตหากคนกลุมนี้มีความประทับใจและมีประสบการณที่ดีตอพื้นที่ที่ไดไปเยือนเปนครั้งแรก ก็อาจ เดนิ ทางกลบั ไปยงั พนื้ ทีน่ ั้นอีกครั้งในรูปแบบการทอ งเที่ยวเพ่อื การหยุดพกั ผอนในรูปแบบอนื่ ๆ อีกท้ังกลุมคนเหลานี้

11 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรเู บ้ืองตน เกี่ยวกบั การทองเท่ียวและการโรงแรม เปนคนที่มีการศึกษาระดับสูงและเปนผูนำดานความคิด หากเลือกที่จะมาแหลงทองเที่ยวใด ก็ยอมจะสราง ภาพลกั ษณทดี่ ใี หแ กแ หลง ทองเทยี่ วนั้น 9. การทองเที่ยวเพื่องานอดิเรก (Hobbies) เปนการเดินทางเพื่อทำงานอดิเรก หรือเปนการทองเที่ยวที่ เรียกวา “Special Interest Group Tour” จัดขึ้นเปนพิเศษสำหรับกลุมที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะ เชน การดนู ก การดำน้ำดูปะการงั และสตั วน้ำ วาดรูปบนภูเขา เลน สกี 10. การทองเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Health Tour) เปนความมุงหมายในการเดินทางเพื่อฟนฟูหรือบำรุง สุขภาพ ซึ่งอาจเดินทางไปยังแหลงทองเที่ยวทางธรรมชาติที่เอื้อใหสุขภาพสดชื่นแข็งแรง หรืออาจไปยังแหลงที่ ใหบรกิ ารฟน ฟู ดแู ลสุขภาพโดยตรง รูปที่ 3 การทองเท่ยี วเชงิ สขุ ภาพ ความสำคัญของการทอ งเท่ยี วและอตุ สาหกรรมการทอ งเท่ียว 1. ความสำคัญของอตุ สาหกรรมการทองเทีย่ วตอ เศรษฐกิจ 1.1 อุตสาหกรรมการทองเที่ยวเปนแหลงที่มาของเงินตราตางประเทศ กลาวคือ อุตสาหกรรมการ ทองเที่ยวมีลักษณะเปนสินคาสงออกประเภทไมเห็นตัวสินคา(Invisible Export) โดยไมมีการสงสินคาหรือบริการ ทางการทองเที่ยวออกไปขายยังตางประเทศจริงๆ แตนักทองเที่ยวชาวตางประเทศตองเปนผูรับผิดชอบการ เดินทางและซื้อสนิ คาบริการการทองเท่ียวในแหลงทองเท่ียวเอง เชน นักทองเที่ยวญี่ปุนซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินชม วัดพระแกว กจ็ ะจา ยคา ท่พี กั แรมคา อาหาร คา นำเที่ยว และคาสนิ คาท่รี ะลึก เปนตน 1.2 อุตสาหกรรมการทองเที่ยวชวยลดปญหาการขาดดุลการชำระเงินระหวางประเทศ กลาวคือ เมื่อ นักทองเที่ยวจากตางประเทศเดินทางเขามาทองเที่ยวในประเทศไทย ก็ตองเสียคาใชจายในการเดินทางและซื้อ

12 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรูเ บ้ืองตน เกย่ี วกบั การทองเทีย่ วและการโรงแรม สินคาทั้งบริการการทองเที่ยว ซึ่งรายไดจากอุตสาหกรรมการทองเที่ยวน้ี สามารถนำไปชวยลดภาวการณขาด ดุลการคาและการขาดดุลการชำระเงินของประเทศใหนอยลง หรืออาจทำใหเกิดการเกินดุลก็ได อันเปนการสงผล ใหเกดิ ความม่ันคงทางเศรษฐกิจ 1.3 อุตสาหกรรมการทองเที่ยวชวยสรางอาชีพและการจางงาน กลาวคือ อุตสาหกรรมการทองเที่ยว เปนอุตสาหกรรมการบริการที่ตองใชแรงงานสวนใหญในลักษณะของการตอนรับใหบริการ จึงมีการจางงานทั้ง ทางตรงและทางออม การจางงานทางตรง ไดแก อาชีพในธุรกิจการขนสง ธุรกิจที่พัก ธุรกิจอาหาร ธุรกิจจำหนาย สินคาที่ระลึก สวนการจางงานทางออม ไดแก อาชีพทางการเกษตรกรรม ซึ่งเปนแหลงผลิตอาหาร อาชีพทางดาน หัตถกรรม ซึ่งเปนแหลงผลิตสินคาที่ระลึก อาชีพกอสรางหรือบริการในสิ่งอำนวยความสะดวกดานอื่นๆ งานการ ธนาคารในการบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา เปนตน นับวาเปนการสรางอาชีพใหเกิดขึ้นมากมาย กอใหเกิดการจาง งานและชว ยแกปญ หาการวางงานของประเทศดวย 1.4 อุตสาหกรรมการทองเที่ยวกอใหเกิดการกระจายรายได กลาวคือ เมื่อมีการเดินทางทองเที่ยวจากท่ี หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ยอมกอใหเกิดการกระจายรายได เนื่องจากนักทองเที่ยวจะนำเงินไปจับจายใชสอยซื้อสินคา และบริการจากทองถิ่น ทำใหประชาชนในทองถิ่นมีรายได โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนามักจะมีปญหาความ แตกตา งในการพัฒนาระหวางตัวเมอื งกับชนบท รัฐบาลควรวางแผนและพฒั นาอุตสาหกรรมการทองเท่ียวสูทองถ่ิน ชนบท จะชวยใหช าวชนบทสามารถขายสนิ คาและบริการ ตลอดจนหตั ถกรรมพืน้ เมืองทีไ่ ดท ำข้ึนในชวงเวนวางจาก การประกอบเกษตรกรรม ทำใหม ีรายไดเพิ่มข้ึนอกี ทางหน่งึ ชวยใหช าวชนบทมคี วามเปน อยทู ด่ี ขี น้ึ 1.5 อุตสาหกรรมการทอ งเที่ยวกอใหเกิดการกระตุนการผลิต เน่ืองจากเงินตราทน่ี ักทอ งเที่ยวนำมาจับจาย ใชสอยจะหมุนเวียนอยูในเศรษฐกิจของประเทศ กระตุนใหเกิดการผลิตและการนำเอาทรัพยากรของประเทศมาใช ใหเกิดประโยชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร เชื่อวารายไดที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งในระบบเศรษฐกิจจะ กอใหเกิดรายไดตอเนื่องอีกหลายรอบ เมื่อรวมรายไดในรอบตางๆ เขาดวยกันจะพบวามีผลท าใหการผลิตและ รายไดมีมูลคาสูงขึ้นกวารอบแรกหลายเทาตัว หลักการดังกลาวนี้ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตรเรียกวา “ผลของตัว ทวีคูณ” (Multiplier Effect) สำหรับอุตสาหกรรมการทองเที่ยวไดเปนที่ยอมรับวามีคาผลของตัวทวีคูณอยูใน ระดบั สูง ทำใหเ กิดการกระตุนการผลิตสนิ คา และบรกิ ารทเี่ กี่ยวของใหสูงข้ึนดวย

13 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรเู บ้ืองตน เกย่ี วกบั การทอ งเทยี่ วและการโรงแรม 2. ความสำคัญของอตุ สาหกรรมการทอ งเท่ียวท่ีมตี อสังคมและวฒั นธรรม 2.1 การทองเที่ยวมีสวนในการสรางความสัมพันธกอใหเกิดสันติภาพ ความเปนมิตรไมตรีและความเขาใจ อันดีระหวางเจาของประเทศและผูมาเยือน และสรางความสามัคคีของคนในประเทศ มีการเดินทางไปมาหาสูกัน พบปะกัน 2.2 ชวยใหสภาพแวดลอมของทองถิ่นดียิ่งขึ้น เพราะตองอนุรักษและบำรุงรักษาสภาพแวดลอมและ ปอ งกนั แกไ ขปญ หาตางๆ ไมวาจะเปน ปญ หาความสกปรก ความเสอื่ มโทรม ความไมปลอดภยั โดยทกุ คนจะชวยกนั สอดสองดูแลเพราะถาหากสถานที่ใดสภาพแวดลอมไมดีไมมีความปลอดภัยไมสะดวกนักทองเที่ยวก็ไมประสงคที่ จะเดินทางไปเยอื น 2.3 การทองเที่ยวชวยขจัดปญหาระหวางเมืองกับชนบท ชวยขจัดการเคลื่อนยายอพยพเขามาทำงานใน เมืองใหญๆ เชน ปจจุบันประเทศไทยพยายามสงเสริมพัฒนาการทองเที่ยวในชนบทตางๆ ตามภูมิภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสกัดกั้นการหลั่งไหลของผูคนที่เขามาทำงานในภาคกลาง มีการสงเสริมและพัฒนา สถานที่ทองเทย่ี วใหมๆ 2.4 กระตนุ ใหม กี ารคิดคนนำทรัพยากรทีไ่ รค ามาประดษิ ฐเปนของทร่ี ะลกึ จำหนายใหแ กนกั ทองเที่ยว ชวย ใหประชาชนรูจักใชเวลาวางใหเกิดประโยชนในการผลิตและประดิษฐสิ่งของเครื่องใชในรูปแบบของสินคาพื้นเมือง ของที่ระลึก อันเปนการเสริมรายไดใหกับทองถิ่น อีกทั้งหาทางพัฒนาคุณภาพของการผลิตของที่ระลึกใหทันสมัย และคุณภาพท่ดี ขี ึ้น 2.5 สงเสริมใหประชาชนเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของตนเอง ชวยกันอนุรักษและ รักษาความเปน เอกลักษณของชาติเชน ความเปนมิตรไมตรีของคนไทย เชน การตอนรับตามประเพณไี ทย การไหว การจดั เทศกาลประเพณีตางๆ ซ่งึ ส่งิ ตา งๆ เหลานเี้ ปน การจูงใจใหนกั ทองเที่ยวเดินทางกลับมาเยือนประเทศไทยอีก ครงั้ 3. ความสำคัญของอุตสาหกรรมการทองเทีย่ วท่มี ตี อ สง่ิ แวดลอ ม การทองเที่ยวเปนกิจกรรมที่ตองพึ่งพาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดลอมในระดับสูงในการดึงดูด นักทองเที่ยว หนวยงานและองคกรที่เกี่ยวของกับการทองเที่ยวตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกลาว ธรรมชาติ และส่ิงแวดลอมจึงไดรับการดูแลรักษาใหอยูในสภาพที่ดี รวมถึงการออกมาตรการตางๆเพื่อรักษาสิ่งแวดลอม เชน โรงแรมขนาดใหญตองมีการจัดทำแบบประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดลอม (Environmental Impact Assessment) หรอื EIA เพ่ือลดปญหาน้ำเสยี ท่เี กดิ จากทีพ่ ัก นอกจากนี้ความตระหนกั ถึงความสำคัญของธรรมชาติ

14 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรเู บ้ืองตนเกยี่ วกับการทอ งเทีย่ วและการโรงแรม และสิ่งแวดลอม ทำใหเกิดรูปแบบการทองเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อการทองเที่ยวในแหลงธรรมชาติอยางถูกวิธีและเพื่อ การทองเที่ยวที่ยั่งยืน จึงกลาวไดวาการทองเที่ยวเปนตัวผลักดันใหประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและใหความ รวมมอื ในการอนรุ ักษและรักษาสง่ิ แวดลอมมากขึน้ บรรณานกุ รม ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการทอ งเทย่ี ว. กรุงเทพฯ : วิรตั น เอ็ดดูเคช่ัน จ ากดั . ทพิ วรรณ พุมมณ.ี (2550). อุตสาหกรรมการทอ งเทีย่ ว. กรงุ เทพฯ : สำนักพิมพมหาวิทยาลัยรามคำแหง. ธนกฤต สังขเ ฉย. (2550). อุตสาหกรรมการทอ งเท่ยี วและการบรกิ าร. นครปฐม : มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร. นิศา ชชั กลุ . (2555). อุตสาหกรรมการทอ งเท่ียว. กรงุ เทพฯ : สำนักพิมพแหง จุฬาลงกรณมหาวทิ ยาลยั . ศรญั ญา วรากลุ วิทย. (2558). อุตสาหกรรมการทองเทย่ี ว. กรุงเทพฯ : หา งหุนสวนจำกัดแวววาว พริ้นต้ิง

15 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรเู บ้ืองตนเกยี่ วกับการทองเทีย่ วและการโรงแรม กิจกรรมทายบท การสอนเชิงรุก (Active Learning) แบบ Brainstorming คำสั่ง: จงวิเคราะหวาชุมชนแหงนี้ไดประโยชนอะไรจากการสงเสริมการทองเที่ยวของชุมชนเพื่อใหเกิดความยั่งยืน ทัง้ ดา นเศรษฐกิจ สังคม/วัฒนธรรม และสิ่งแวดลอม ชมุ ชนลีเล็ดนำเทยี่ วเพ่ือการอนรุ กั ษ กลุมชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ ตั้งอยูที่ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎรธานี อาชีพที่ สำคญั ของชาวลเี ล็ด คอื การทำประมงกบั สวนมะพราว ระบบนิเวศของตำบลลีเลด็ เปน ระบบนิเวศ 2 น้ำ หรอื ทรี่ จู ักกันดวี า ระบบนเิ วศ “นำ้ กรอย” จึงทำใหพ้ืนที่ ของตำบลลีเล็ดมีความหลากหลายทางชีวภาพ ไมวาจะเปนพรรณไมและพันธุสัตวน้ำ โดยเฉพาะปาชายเลน ผืนใหญที่ เปนแหลงอาหารใหกับคนและสัตว เปนที่อยูอาศัยขยายพันธุของพืชและสัตว เปนแหลงสรางอาชีพ และรายไดของชาวบาน เปนวัสดุกอสราง และเชื้อเพลิง เปนเครื่องมือปองกันภัยธรรมชาติ ในปาชายเลนบาน ลเี ลด็ ชาวบา นเกอื บจะทกุ เพศทกุ วัย ที่ใชป ระโยชนจ ากปา ชวงเวลานำ้ ขน้ึ ชาวบานจะไปตัดจาก, หาหอย, จบั ปู เปย ว, ปก แรวปู, ดักอวน ชว งน้ำลงกห็ าหอยกนั , ถบี กระดานหาหอย, ตกเบด็ และหาปู ชุมชนเองก็มีการตั้งกฎของชุมชนเกี่ยวกับการใชทรัพยากรในปาชายเลน เชน การใชประโยชนจากตนไม ในปาชายเลนจะตองมีการขออนุญาตผานคณะกรรมการปาชายเลนกอน ซึ่งคณะกรรมการจะมาจากการ คัดเลือกของแตละหมูบาน นอกจากนี้ ชุมชนยังไดมีการจัดทำเขตอนุรักษพิเศษ คือ จัดไวเปนแหลงสำหรับ เพาะพันธุสัตวน้ำ เปนที่หลบภัยของสัตววัยออน โดยนำเอาภูมิปญญาทองถิ่น “กร่ำ” เครื่องมือประมงพื้นบาน มาประยุกตทำเปนแหลงที่อยูอาศัยของสัตวในเขตอนุรักษพิเศษ (มีลักษณะคลายกับการทำปะการังเทียม) ซึ่งมี พื้นที่ประมาณ 5 ไร และในเขตนี้หามทำประมงทุกประเภท ในปจจุบัน พื้นที่ปาชายเลนของตำบลลีเล็ด นับวา เปนพื้นที่ที่อุดมสมบูรณที่สุดในจังหวัดสุราษฎรธานี หลังจากการดำเนินการจัดการทองเที่ยวโดยชุมชน พื้นท่ี ของปาชายเลนไดขยายเพิ่มขึ้นจำนวน 3,000 ไรโดยที่ไมตองปลูก เพียงแตมีการเฝาระวังไมใหมีการทำประมง ผิดกฎหมายในพื้นที่ และผลจากการที่พื้นที่ปาเพิ่มขึ้น ทำใหทรัพยากรสัตวน้ำเพิ่มขึ้นดวย ชาวบานมีรายไดท่ี เพ่มิ ขึ้น ดานวฒั นธรรม ประเพณี 1. วันจบปจบเดือน วันแรม 14 ค่ำ เดือน 5 มีการทำบุญตักบาตร การละเลนพื้นบาน เลนสะบา เลนหญิงไหว ชายรำ ปจจุบันมีการแขงปนเสาน้ำมัน แขงพายเรือหัวใบทายบอด พายกระทะ ชักเขยอเปนการฉลองสงทายป เกา ตอนรบั ปใหมไ ทย 2. วันสวดคลอง นิยมทำในเดือน 6 ของทุกป เชาชาวบานทำแพเล็ก ๆ ดวยกาบกลวย แลวใหคนในหมูบานนำ ดอกไมธูปเทียนขา วสาร เสนผม เล็บ และเศษเสือ้ ผาใสลงในแพ นำไปลอยในคลอง เชื่อวาเปนการนำเอาสิง่ ไมดี

16 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรูเ บื้องตนเก่ียวกับการทองเที่ยวและการโรงแรม ออกไปจากตวั ชาวบานเรยี กแพนี้วา “เรือเจาเรอื นาย” จากนั้นนิมนตพระสงฆลงเรือเพอ่ื สวดทำพิธี ชาวบานจะ ขบั เรือใหพ ระสงฆส วดไปตลอดทางในคลอง เปนการสะเดาะเคราะห ขับไลส่งิ ช่ัวรายออกจากคลอง 3. วันรับตายาย (รับเปรต) วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เชื่อวาเปนวันที่ยมทูตปลอยวิญญาณบรรพบุรุษกลับมารับ สวนบุญจากลูกหลาน โดยการนำอาหารคาวหวาน ดอกไม ธูปเทียน ผลไม และขนมประจำทองถิ่น ไปทำบุญ เปน วันทล่ี กู หลานพบปะกนั 4. วันสงตายาย (สงเปรต) วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวบานจะใหความสำคัญกับวันสงมากกวาวันรับ โดยจะ เตรยี มอาหาร ทีน่ ยิ ม คอื ขา วสวย ผดั เปร้ยี วหวาน ทอดมนั แกงสม สะตอดอง แกงจดื ขนมหวาน เชน ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมที่ขาดไมได คือ รังนก ขนมไสเค็ม ขนมลา ขนมเทียน ขนมตม ผลไมตางๆ เลี้ยงพระ เพล รวมรบั ประทานอาหาร ตอนบาย สวดบงั สกุ ุลกระดกู ทีข่ าดไมไดคอื การตงั้ รานเปรต เพ่ือใหว ญิ ญาณท่ีไมมี ญาติมารับสว นบญุ 5. งานชักพระทอดผาปา แรม 1 ค่ำ เดือน 11 กอนวันงาน ชาวบานรวมกับพระสงฆทำเรือพนมพระ และรถ พนมพระ คืนวันพระ 15 ค่ำ ทำพิธีสวดสมโภชเรือพนมพระ ตกแตงพุมผาปา แรม 1 ค่ำ นิมนตพระสงฆลงเรือ เพ่อื ประพรมนา มนตใหกบั ชาวบาน เมอ่ื ถงึ อำเภอเมือง ก็เอารถพนมพระรวมขบวนแหไ ปทวั่ เมือง ลิเกปา คณะลิเกปา มีหัวหนากลุมชื่อ นายจำรัส กลับแดง อายุ 78 ป ฝกเลนลิเกปามาตั้งแตอายุ 19 ป มักนิยม เลนในงานวัด งานศพ ในคืนหลังจากที่เผาศพแลว ลิเกปาเลนไดทั้งกลางวันและกลางคืน เนื้อเรื่องที่เลนสวน ใหญเปนเรื่องของสามัญชน นำมาจากวรรณคดีบาง ชาวบานแตงเองบาง เชน เรื่อง ทินกรรัศมี มณีหยาดฟา จันทโครพ ตัวละครก็มีหลายตัวเชน พระเอก นางเอก พระรอง นางรอง เจาเมือง นางเมือง ตัวราย แขก นาง ยักษ โจร เสนาอำมาตย ตาเจา แมชี ตัวตลก ษี สวนเครื่องแตงกายก็แตกตางกันไป เชน ผูหญิงจะนุงผาลาย + เสื้อยืด + กรองคอ + ลูกปด ชฎา +ตางหู+ สรอยคอ สวนผูชายนุงโจงกระเบน + เสื้อยืด + กรองคอ + ลกู ปด + ผาคาดพงุ สว นษี จะใสช ดุ ษี + ไมเ ทา และมหี มวกษี เครอ่ื งดนตรีทใ่ี ชก็มี รำมะนา +โหมง + ฉ่ิง จุดเดนดานการทอ งเทยี่ วของชุมชน / สถานที่เดน 1. ปาชายเลน ปาชายเลนบานลเี ลด็ ตั้งอยูในพน้ื ทอ่ี าวบานดอน มผี นื น้ำทะเลอันกวางใหญ ลอมรอบดว ยปาชาย เลนอันอุดมสมบูรณ มีตนไมที่สำคัญหลายชนิด เชน ลำพู, โกงกาง, แสม, ถั่ว, ลำพูหิน, ตะบูน, หลุมพอสามารถ นำไมมาใชในงานกอสรางไดสวนที่ใชเปนสมุนไพรก็มี เชน เหงือกปลาหมอ รักษาโรคมะเร็ง, ยานขี้เดือน รักษา โรคทองอืด, แสมรักษาโรคผอมแหง แกลม ขับเลือด ฯลฯ และยังมีอีกหลายชนิด เชน ปรงทะเล, จาก, ลำแพน, หนอเซียน, ปอทะเล และพืชเล็ก ๆ เชนตะไครน้ำสัตวที่อาศัยอยูในปาชายเลนมี ลิงหางยาว, นกกระยาง, นก กะปดู , ห่ิงหอย, งู, ผึง้ , ตอ , ปทู ะเล, ปเู ปย ว, หอยจุบแจง, หอยกนั ฯลฯ 2. ศูนยเรียนรูและศึกษาธรรมชาติ เกิดจากการที่ชาวบานหมูที่ 4 รวมแรงรวมใจกันนำเงินจากโครงการ SML ของหมูบาน มาสรางเปนศูนยเรียนรูเกี่ยวกับระบบนิเวศปาชายเลน เพื่อใหเปนสถานที่ศึกษาเรียนรูของคนทั้ง

17 เอกสารประกอบการสอน กทบ 111 ความรเู บื้องตนเกีย่ วกับการทองเที่ยวและการโรงแรม ภายในและนอกชุมชน รวมทั้งเปนสถานที่พักผอนหยอนใจ หลังจากการกอสรางศูนยแลวเสร็จ ทางอำเภอและ จังหวัดไดสนับสนุนงบประมาณเพิม่ เติมในการกอสรางทางเดินศึกษาธรรมชาตใิ นปา ชายเลน (Walk Way) 3. เขตอนรุ กั ษพ ิเศษ เปน สถานท่ีที่จดั ทำขึ้นเพ่ือเปนแหลงท่ีอยูอาศยั และเพาะพันธสุ ตั วน ้ำ โดยการนำภูมิปญญา พ้ืนบานในการทำ มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร และมกี ารหา มไมใหจ บั ปลาในบริเวณเขตอนุรักษพ เิ ศษ 4. กลุม อาชีพ ไดแก กลุมใบจากและกลมุ กะป ท่มี า : สถาบันการทอ งเทยี่ วโดยชุมชน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook