ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑
คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-BOOK) เรื่อง กาพย์ชมเครื่อง คาวหวาน เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมคัด สรรค์ในหนังสือเรียน ๖๐๔-๓๐๓ มหาลัยวิทยาลัย หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ให้ทั้ง ความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน ความรู้ในด้าน ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมอันดีงาม รวมไปถึง ข้อคิดต่าง ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าต่อผู้ที่มา ศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โสรญา หมัดเหม ผู้จัดทำ
สารบัญ หน้า กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ๑ ๒ คำนำ ๓ สารบัญ ๔-๕ ประวัติความเป็นมา ๖-๒๐ ประวัติผู้แต่ง ๒๑-๒๓ ลักษณะคำประพันธ์ ๒๔ ตัวอย่างผังกลอน ๒๕ บทประพันธ์เครื่องคาวหวานต่าง ๆ คุณค่าที่ได้รับ ข้อคิดที่ได้รับ อ้างอิง
ความเป็นมา ๑ รัชกาลที่ ๒ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เพื่อชมสมเด็จพระ ศรีสุริเยน-ทราบรม ราชินี ด้วยทรงมีความสามารถเป็น เลิศในการปรุงเครื่องเสวย และเพื่อใช้เป็นบทเห่เรือ เสด็จประพาสส่วนพระองค์ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ ใช้กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานในการเห่เรือของทาง ราชการคู่กับบทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
ประวัติผู้แต่ง ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นพระราชโอรสในพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมริน ทราบรมราชินี พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านวรรณศิลป์ ผลงาน ด้านภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรมของพระองค์เป็นที่ ประจักษ์เด่นชัดแก่สายตาชาวโลก จึงทรง ได้รับการเทิดพระ เกียรติจากยูเนสโก (UNESCO) เนื่องในอภิลักขิตสมัยครบ ๒๐๐ ปีแห่งพระ บรมราชสมภพ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ในฐานะบุคคลสำคัญ ของโลก และรัฐบาลไทยจึงถือเอาวัน คล้ายวันพระราชสมภพวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติ จนถึงทุกวันนี้
ลักษณะคำประพันธ์ ๓ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน แต่งเป็นกาพย์เห่ ประกอบด้วยโคลง สี่สุภาพและกาพย์ยานี ๑๑ โดย มี โคลงสี่สุภาพ ๑ บท เป็นบทนำ หรือ บทขึ้นต้น แล้วแต่งกาพย์ยานี ๑๑ อีกหลายบทให้มีเนื้อความ สอดคล้อง และสัมพันธ์กับโคลงบทนำ
ตัวอย่างผังกลอน ๔
๕ โดยบทนำของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานจะแต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑ บท ต่อจากนั้นจะแต่งด้วย กาพย์ยานี ๑๑ ไม่จำกัดจำนวนบท ซึ่งกาพย์แต่ละบทมีเนื้อความสอดคล้องกับโคลงบทนำ เช่น... ๏ แกงไก่มัสมั่นเนื้อ นพคุณ พี่เอย หอมยี่หร่ารสฉุน เฉียบร้อน ชายใดบริโภคภุญช์ พิศวาส หวังนา แรงอยากยอหัตถ์ข้อน อกให้หวนแสวง ๚ ๏ มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา ฯลฯ โคลงบทแรกกล่าวถึงแกงมัสมั่นที่มีรสชาติเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอมจากยี่หร่า ชายใดที่ได้รับประทาน แกงนี้ก็ติดใจ อยากรับประทานอีก ซึ่งเนื้อความของกาพย์ยานี ๑๑ บทต่อมาก็มีความหมายเหมือน กัน จึงแสดงให้เห็นว่าโคลงสี่สุภาพและกาพย์ยานี ๑๑ สองบทนี้มีเนื้อความสอดคล้องกัน
๖ ๏ แกงไก่มัสมั่นเนื้อ นพคุณ พี่เอย หอมยี่หร่ารสฉุน เฉียบร้อน พิศวาส หวังนา ชายใดบริโภคภุญช์ อกให้หวนแสวงฯ แรงอยากยอหัตถ์ข้อน หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ๏ มัสมั่นแกงแก้วตา แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา ชายใดได้กลืนแกง
๗ ๏ ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ
๘ ๏ ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ำส้มโรยพริกไทย โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง
๙ ๏ หมูแนมแหลมเลิศรส พร้อมพริกสดใบทองหลาง พิศห่อเห็นรางชาง ห่างห่อหวนป่วนใจโหย
๑๐ ๏ ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ
๑๑ ๏ เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมัน น่าซดรสครามครัน ของสวรรค์เสวยรมย์
๑๒ ๏ ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคลับคล้ายเห็น
๑๓ ๏ ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น ใครหุงปรุงไม่เป็นเ ช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ
๑๔ ๏ เหลือรู้หมูป่าต้ม แกงคั่วส้มใส่ระกำ รอยแจ้งแห่งความขำ ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม
๑๕ ๏ ช้าช้าพล่าเนื้อสด ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์
๑๖ ๏ ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน
๑๗ ๏ เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง
๑๘ ๏ รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน
๑๙ ๏ ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน ใบโศกบอกโศกครวญ ให้พี่เคร่าเจ้าดวงใจ
๒๐ ๏ ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน ผักหวานซ่านทรวงใน ใคร่ครวญรักผักหวานนางฯ
๒๑ คุณค่าที่ได้รับ คุณค่าด้าน วรรณศิลป์ ไม่ใช่แค่อาหารที่รสเลิศ แต่คุณค่าทางวรรณศิลป์ที่อยู่ในกาพย์เห่ชม เครื่องคาวหวานนั้นก็เลิศไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น... ๑. การสรรคำและเล่นเสียงให้เกิดความไพเราะ เช่น การเล่นเสียง วรรณยุกต์ในคำว่า ‘หรุ่ม’ ‘รุม’ ‘รุ่ม’ และการเล่นเสียงพยัญชนะในคำว่า ‘ร้อน’ ‘รุม’ ‘รุ่ม’ ซึ่งเห็นได้โดดเด่นมากในบทนี้… เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง
๒๒ ๒. การเปรียบเทียบแบบอุปมา เปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เช่น การเปรียบเทียบแสร้งว่าที่เป็นชื่ออาหาร กับท่าทีการ สนทนาของนางอันเป็นที่รักในบทนี้… ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน ใบโศกบอกโศกครวญ ให้พี่เคร่าเจ้าดวงใจ
๒๓ ๓. การกล่าวเกินจริง (อติพจน์) เช่น การพรรณนาว่ารสชาติของก้อยกุ้งนั้น อร่อยมาก แค่แตะปลายลิ้นก็รู้สึกอร่อยจนแทบจะขาดใจในบทนี้… ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ
๒๔ ข้อคิดที่ได้รับ นอกจากการพรรณนาถึงอาหารเลิศรส บรรยาย ความรัก ความคิดถึง และความทรมานใจในช่วงเวลา ที่ต้องพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก กาพย์เห่ชม เครื่องคาวหวานยังถ่ายทอดวัฒนธรรมด้านอาหาร การกินผ่านอาหารพื้นบ้าน อาหารชาววัง ทั้งสัญชาติ ไทย จีน มุสลิมไว้อย่างกลมกลืน และถึงอาหารส่วน ใหญ่จะเป็นตำรับโบราณที่หาทานได้ยาก
อ้างอิง ๒๕ ธีรศักดิ์ จิระตราชู .2021.กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน, สืบเมื่อ11พฤศจิกายน 2564 .จาก.HTTPS://BLOG.STARTDEE.COM/FBCLID=IWAR0O2VQENWDZG9L_B0HL4 WV61564WHF0LL_TSL7WM48SW4JPYMMBZZETRPG
Search
Read the Text Version
- 1 - 29
Pages: