รายงานการการประชมุ คณะกรรมการ PRICE (ระดับ A) ครง้ั ท่ี 1/2564 วนั ท่ี 14 ตลุ าคม 2564 เวลา 13.30-16.00 น. ผา่ นประชมุ ออนไลน์ (Zoom) ผ้เู ขา้ ประชุม 1. รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ณวุ รี ์ ประภสั ระกลู 2. รองศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.สมพร เตชะงามสุวรรณ 3. ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.นัทธี อ่ำอินทร์ 4. อาจารย์ สพ.ญ.ดร.มรกต นันทไพฑรู ย์ 5. อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา 6. นายกฤษณะ พนั ธุ์จนิ ดา 7. นางสาวสุคนธา ทองบริสุทธ์ิ วาระที่ 1 เรื่องแจง้ เพอ่ื ทราบ ประธานแจง้ ใหท้ ี่ประชมุ ทราบ ยทุ ธศาสตร์และแผนงานภาพรวมของฝา่ ยวจิ ยั นวตั กรรม และ สอื่ สารองค์กร มีรายละเอยี ด ดังนี้ Research Process 1. Proposal and Grant (ขอ้ เสนอโครงการวจิ ยั +แหลง่ ทุนสนับสนุน) 2. How to research กลไกการทำวจิ ัยอยา่ งไร? Research academy and online CE 3. IBC/IACUC ดำเนนิ การตามมาตรฐาน (Simple Support Standard) 4. Area , Equipment (Supportive process ; CU VET Enterprise) 5. How to publish (Publication clinic) 6. Social Impact (OKR งานประชมุ วิชาการ CUVC การทำงานวจิ ัยรว่ มกันระหว่างภาควิชา) Vision “สตั วแพทยศาสตรจ์ ฬุ าฯ โดดเดน่ งานวิจยั นำไปใช้สู่ความย่ังยืน” (CUVET : Research in practice for sustainable life) Mission 1. Promote research impact 2. Strengthen CUVET Enterprise 3. Integrative academic and research 4. Improve International Reputation รายงานการการประชุมคณะกรรมการ PRICE (ระดับ A) คร้งั ที่ 1/2564 1
Goals 1. Number of publication 2. Number of research and CE courses 3. International and national partnership 4. Social Visibility 5. Reputation Score 6. Number of RU, RT and start up 7. Amount Funding/market Cap ทีป่ ระชุมรบั ทราบ พร้อมท้งั ประธานเสนอใหผ้ ชู้ ่วยคณบดีทุกฝา่ ยพิจารณาสามารถปรับ/เพ่ิม เพื่อ ความสมบูรณ์ของยุทธศาสตร์ฝายวจิ ยั นวัตกรรม และสอ่ื สารองค์กรตอ่ ไป 1.1 รายงานความก้าวหนา้ และผลการดำเนนิ งานของทกุ ฝา่ ย (วิจยั นวตั กรรม บริการวชิ าการ และประชาสัมพันธ์ ประธานไดแ้ จ้งใหท้ ี่ประชมุ ทราบในการดำเนนิ การตา่ งๆ มรี ายละเอยี ด ดงั นี้ 1.1.1 การยมื เงนิ สำรองค่าตพี มิ พบ์ ทความระดับนานาชาติ ฝ่ายวิจยั ฯ ไดด้ ำเนินการยมื เงินสำรองจา่ ยจากงบดำเนินการ เปน็ จำนวนเงนิ 300,000 บาท (สามารถยืมเงินเพือ่ การนำไปดำเนนิ การของการตพี ิมพ์บทความ แบบระบบหมุนเวียน สำหรับ บทความระดบั Tier 1 และ Q1 เท่าน้นั ) 1.1.2. การจดั ต้ังกองทนุ สนับสนนุ งานวจิ ยั ฝ่ายวิจยั ฯ ได้ตดิ ตามสำหรบั การจดั ตงั้ กองทนุ สนับสนนุ งานวิจัยกับรองคณบดีบรหิ าร และผอู้ ำนวยการฝา่ ยบรหิ าร ซงึ่ จะนำเร่ืองกองทนุ คยุ ใน Inner ซึ่งบางสว่ นไดด้ ำเนนิ การเร่อื งการสอบถามเกี่ยวกับ ภาษีกับกรมสรรพากร 1.1.3. ปญั หาการเงนิ จ่ายเงนิ เดือน C2F ไม่ตรงเวลา ฝา่ ยวจิ ัยฯ ได้ดำเนินการคุยกบั ฝ่ายการเงิน ได้ข้อตกลงโดยให้ฝ่ายวิจยั ฯ ส่งเอกสาร การตง้ั เบกิ ทนุ PhD และ Postdoc ภายในสปั ดาหแ์ รกของทุกเดือน ฝ่ายการเงนิ จะดำเนินการโอนให้ตรงรอบทุก เดือน 1.1.4 การทำเรอื่ งขอสนับสนนุ การตีพิมพ์ จดหมายเดียวถึง วิชาการและวิจัย ฝ่ายวิจยั ฯ รว่ มกับฝ่ายบัณฑิตศกึ ษา ได้ปรับแบบฟอร์มขอสนับสนนุ งบประมาณการ ตีพิมพ์บทความระดบั นานาชาติ มีการออกบนั ทึกข้อความแจง้ ฝ่ายประชาสมั พันธจ์ ัดทำ Infographic ประชาสมั พนั ธ์ใหค้ ณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตระดบั บัณฑิตได้รบั ทราบ ท้ังนเี้ อกสารการเบกิ แบทั้ง 2 ฝา่ ย น้นั ฝ่าย วจิ ัยฯ เปน็ ผดู้ ำเนนิ การลงนามเซน็ รับรองเอกสารถูกต้องโดยหวั หน้ากลุ่มภารกจิ วิจยั และนวัตกรรม เป็นผู้ลงนาม รายงานการการประชมุ คณะกรรมการ PRICE (ระดับ A) ครง้ั ที่ 1/2564 2
วาระที่ 2 เร่อื งเสนอเพ่อื พิจารณา 2.1 เกณฑ์ (คะแนน+การประเมิน) ทุนสนบั สนนุ กลมุ่ วิจยั CE/RU/STAR ประธานไดเ้ สนอเพ่ือพจิ ารณาเรอ่ื งเกณฑ์ (คะแนน+การประเมนิ ) ทุนสนับสนุนกลมุ่ วจิ ยั CE/RU/STAR ตามท่ีได้มกี ารประชาพจิ ารณ์เกณฑก์ ารประเมนิ ของสว่ นงาน 40% ยงั มผี ู้วจิ ัยบางทา่ นไมเ่ หน็ ด้วย ตอ่ เกณฑด์ งั กลา่ ว ประธานเสนอให้ควรมีการนดั หวั หน้าหนว่ ยปฏบิ ัตกิ ารมาระดมสมองเพ่ือปรับเกณฑใ์ หเ้ กิดความ เหมาะสมของเกณฑก์ ารประเมินต่อไป ทง้ั นีเ้ กณฑ์ดงั กลา่ วยงั ไม่ไดจ้ ดั ทำเป็นประกาศ จึงสามารถปรบั เปล่ียนให้ เหมาะสมเพ่อื ใช้เปน็ การภายในคณะฯ ได้ 2.2. แนวทางการดำเนินการระดมทนุ และ CEO ประธานได้เสนอเพ่ือพจิ ารณาเร่ืองแนวทางการดำเนนิ การระดมทนุ และ CEO โดยผชู้ ่วย คณบดีฝา่ ยนวัตกรรมวิจัยและผปู้ ระกอบการ ได้นำเสนอ มีรายละเอยี ด ดงั นี้ 1. การส่อื สารและประชาสัมพนั ธภ์ ายในองคก์ ร CUVET การสรา้ งการรับรู้ เขา้ ถงึ ใช้ประโยชนจ์ าก บรษิ ัท ซียูเวท เอนเทอร์ไพรส์ จำกดั ให้กบั อาจารยแ์ ละบุคลากรในคณะฯ โดยเน้นการเปลีย่ นแนวคิดเดิมทบ่ี คุ ลากรส่วนใหญเ่ ช่ือว่า จะมีแต่ผลิตภณั ฑ์ นวัตกรรมเทา่ น้นั มาใชป้ ระโยชน์จากตรงน้ีได้ ซ่งึ ยังรวมถึงการบริการต่างๆ ในคณะด้วยท่ีสามารถมาใช้ประโยชน์ได้ (อาจลองพจิ ารณาการทำเปน็ Enterprise Clinic เพ่ือให้ขอ้ มูลและคำแนะนำกบั ผูส้ นใจ) 2. การระดมทนุ สรา้ งโรงงานตน้ แบบผลิตวคั ซีนสตั ว์ (เป็นสว่ นกลางของคณะ) - บริษทั ซียูเวท เอนเทอรไ์ พรส์ จำกัด มีแนวคดิ ทีจ่ ะสรา้ งโรงงานตน้ แบบผลติ วคั ซนี สตั ว์ ระดับเลก็ หรือกลาง (small or medium module) ไว้ภายในคณะฯ เพ่ือใชเ้ ป็นทรี่ องรับการผลิตวคั ซนี จาก งานวิจยั ของอาจารยแ์ ละนกั วิจยั ท่ปี จั จบุ ันมกี ารพฒั นาอย่จู ำนวนมากมายในคณะ แต่ยังติดปัญหาเรอ่ื งการผลติ UPSCALE และ Quality control - แผนระดมทนุ กบั นกั ลงทุนจากภาคเอกชน โดยมีตดิ ต่อเข้ามาพดู คยุ แล้ว คอื DKSH แต่ กส็ ามารถหาหลายบริษัทมาร่วมลงทนุ ได้ - บริษัท ซยี เู วท เอนเทอร์ไพรส์ จำกัด เสนอรูปแบบ Joint Venture กบั นกั ลงทุน เพื่อ share facility รว่ มกนั และตกลงแบง่ ผลประโยชนจ์ ากผลประกอบการจากการดำเนนิ ธรุ กจิ รบั จา้ งผลติ วัคซนี - จะใชว้ คั ซนี ปลาในการนำร่องเพือ่ Kick off และมีลูกค้ารายแรกที่มาใชบ้ รกิ าร คือ บริษทั อะควา อินโนแวค จำกัด ซึ่งเปน็ หนงึ่ ใน startup ทเี่ กิดขนึ้ ในคณะฯ (ในสว่ นวัคซนี ปลา DKSH ก็สนใจเปน็ ผทู้ ำตลาดและจำหนา่ ย ต้องมีการนัดหมายหารือเพ่ือตกลงรูปแบบท่เี หมาะสมในการร่วมลงทุนกับบริษัท อะควา อินโนแวค จำกัด) 3. CEO บริษทั ซียเู วท เอนเทอร์ไพรส์ จำกดั อยู่ระหวา่ งการหารือ เพ่ือทาบทาม น.สพ.วศิ ทุ ธิ์ สุขภัทราพริ มย์ เป็น CEO บรษิ ัท ซียู เวท เอนเทอรไ์ พรส์ จำกดั ท้ังน้ีตอ้ งดำเนนิ การเร่อื งการปรับเปล่ยี นกรรมการบริษัทซียูเวท เอนเทอร์ไพรส์ จำกัด เป็นลำดบั ตอ่ ไป รายงานการการประชมุ คณะกรรมการ PRICE (ระดบั A) คร้งั ที่ 1/2564 3
2.3. การเพมิ่ reputation 2.3.1 Food tech solution center by TFG AND CU บริษทั ไทยฟ้ดู ส์ และคณะฯ จะดำเนนิ การความร่วมมือระหว่างองค์กร เพื่อสร้าง impact ต่อสงั คม (สถานศกึ ษา, บรษิ ทั ฯ และอุตสาหกรรม) มกี ารกำหนดกจิ กรรมทางวชิ าการท่ีชดั เจนในแตล่ ะปี ได้แก่ งานวจิ ยั การคดั เลือกงานวจิ ัย การสมั มนาทางวิชาการ และการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการของอาจารย์และ นกั วิจัยภายในคณะฯ ทัง้ นป้ี ระธานขอเสนอให้ท่ีประชมุ เตรียมกจิ กรรม และแผนงานของฝ่ายต่างๆ ซ่ึงจะมกี าร ประชมุ อีกครงั้ ในสปั ดาห์หนา้ เพ่อื เสนอเปน็ กิจกรรม และแผนงานความรว่ มมือ (ภาพรวม) ต่อไป 2.3.2 Research and publication course การสร้างส่ือการสอนงานวจิ ัย course online ให้กับอาจารยใ์ หมก่ ับนสิ ติ ทุกระดับ การศกึ ษา (รปู แบบสำเรจ็ รูป) ใช้ Platform ทีส่ ามารถสร้างเนือ้ หา แลว้ นำแขวนทาง Mooc หรือ course online ต่างๆ หรือทำผ่าน my courseville ในแตล่ ะรายวชิ า 2.3.3 Research forum project การส่ือสารและประชาสมั พันธ์ระหวา่ ง CUVET และผปู้ ระกอบการ นักลงทนุ - Research Project forum เวทีท่ีจะเช่ือมโยงโจทย์วจิ ัยจากบริษทั ใหก้ ับทีมวิจยั ใน คณะ เพอ่ื สร้างผลิตภัณฑ์ และ/หรอื การบริการ ทีต่ รงกับความต้องการของบริษัท - การนำเอาผลติ ภณั ฑ์และบริการที่มีในคณะ มานำเสนอในรปู แบบ pitching โดยเน้น กลุม่ เป้าหมาย คือ นักลงทุน ท้งั ท่เี ปน็ ศิษย์เก่าหรือ นักลงทุนท่ัวไป 2.4. ภาระงาน ค่างาน สายสนับสนุน เปน็ การวเิ คราะห์คา่ งาน เพอ่ื ให้สอดคล้องกับแผนงานกิจกรรม ของฝ่ายวิจยั นวัตกรรม บรกิ ารวิชาการ และประชาสมั พนั ธ์ ซงึ่ นำเอาภาระงานบคุ ลากรสายสนับสนนุ มาเกลีย่ เพ่ือให้เหมาะสมกับการ ดำเนินงานตามแผนกิจกรรมของฝ่ายได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพ ปิดประชุม เวลา 16.00 น. นางสาวสคุ นธา ทองบรสิ ทุ ธิ์ ผูจ้ ดบันทกึ รายงานการประชุม รายงานการการประชุมคณะกรรมการ PRICE (ระดบั A) ครั้งที่ 1/2564 4
Search
Read the Text Version
- 1 - 4
Pages: