คู่มือการวัด สัญญาณชีพ เมื่อต้อง Home Isolation จากโครงการ กักตัวปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพคุณ โดย นิสิตพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยบูรพา
1.ลงทะเบียนผ่านไลน์ BuuWeSAFEClinic เพื่อบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2.วัดอุณหภูมิ และความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดและ บันทึกข้อมูลผ่านไลน์ BUUWeSAFEClinic วันละ 2 ครั้ง (08:00 น. และ 17.00 น.) 3.ทําแบบประเมินสุขภาพจิต ในวันที่ 3 ของการพักรักษาตัวที่บ้าน 4.เก็บรวบรวมขยะติดเชื้อ ใส่ถุงดำ 2 ชั้น ปิดปากถุงให้แน่น ก่อนนําไปทิ้งรวมกับขยะทั่วไป 5.หากพักรักษาตัว ครบกำหนด (10 วัน) นำอุปกรณ์ใส่ถุงกลับ มาคืนที่โรงพยาบาล 6.ท่านสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ เมื่อพักรักษาตัว ครบกําหนด ขณะพักรักษา ตัวที่บ้านต้อง ทำอย่างไร
วิธีวัดอุณหภูมิร่างกายให้ถูกต้อง อุณหภูมิร่างกายปกติจะอยู่ที่ 35.4-37.4 องศาเซลเซียส หากต่ำกว่านี้อาจมีการวัดที่คลาดเคลื่อนควรวัดซ้ำอีกครั้ง และหากมีค่าที่สูงกว่านี้จะถือว่ามีไข้ การวัดอุณหภูมิทางรักแร้ ทำความสะอาดเครื่องวัดอุณหภูมิด้วยแอลกอฮอล์ หรือสบู่และ น้ำอุณหภูมิห้อง กรณีใช้เครื่องวัดอุณหภูมิปรอทแก้ว จับให้แน่น สลัดให้ปรอทลง สู่กระเปาะและอ่านอุณหภูมิได้ต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียสก่อนวัด เช็ดรักแร้ให้แห้งวางเครื่องวัดอุณหภูมิให้กระเปาะอยู่ช่อง กึ่งกลางรักแร้หุบแขนให้แนบชิดลำตัว กรณีใช้เครื่องวัดอุณหภูมิปรอทแก้ว ควรทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วจึงนำออกจากรักแร้ ยกให้อยู่ในระดับสายตา อ่านผลที่วัดได้ กรณีใช้เครื่องวัดอุณหภูมิชนิดดิจิทัลต้องใช้ค่าอ่านที่เสียง สัญญาณแล้วจึงนำออกจากรักแร้ ทำความสะอาดเครื่องวัดอุณหภูมิด้วยแอลกอฮอล์ หรือสบู่และ น้ำจากนั้นเก็บในที่แห้ง ข้้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
วิธีวัดค่าออกซิเจนในเลือด และสัญญาณชีพให้ถูกต้อง ค่าออกซิเจนในเลือดไม่ควรต่ำกว่า 95 – 100% แต่หากวัดแล้วค่าที่ได้ลดลงมากกว่าเท่ากับ 3% ให้รีบแจ้งทีมสุขภาพ อัตราการเต้นของชีพจรอยู่ที่ 60-100 (เฉลี่ย 80 ครั้ง/นาที) 1. 2. ใส่นิ้วเข้าไปในตัว หายใจเข้าลึก ๆ ผ่อนคลาย เครื่องจนสุดและ เครื่องจะทำการวัดค่า หนีบนิ้วให้สนิทกับ ตัวเครื่อง จากนั้น แล้วจะแสดงผลที่ได้บนหน้า กดปุ่มเปิดเครื่อง จอเครื่อง โดยค่าตัวบนคือ ระดับออกซิเจนในเลือด มีหน่วยเป็น% ส่วนตัวล่างคือ อัตราการเต้นของหัวใจ/นาที ข้อมูลจาก พญ.ร่มเย็น ศักดิ์ทองจีน ศูนย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา
การทดสอบภาวะออกซิเจนต่ำในเลือด ขณะออกกำลังกายด้วยการลุกนั่งในผู้ป่วยโควิด-19 อุปกรณ์ 1. เก้าอี้ที่แข็งแรงชนิดมีพนักพิงหลัง แต่ไม่มีที่เท้าแขน ความสูงจากที่นั่งถึงพื้น 40-50 ซม. 2. เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (pulse oximeter) ควรมีจอแสดงผล ให้เห็นค่า SpO2 และ HR ได้ชัดเจน วิธีการ 1. ให้ผู้ป่วยถอดหน้ากากอนามัยออก ยืนเท้าเอวและวางมือสองข้างไว้ที่ สะโพก โดยสวมเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วตลอดการทดสอบ 2. ให้ผู้ป่วยนั่งเต็มก้นลงบนเก้าอี้แล้วลุกขึ้นยืนตรงทันทีโดยไม่ใช้มือดันเก้าอี้และ กลับไปนั่งเต็มก้นอีกครั้ง ทำซ้ำให้เร็วที่สุดเท่าที่ได้ใน 1 นาที (ควรได้ 20-30 ครั้ง ใน 1 นาที) โดยกำหนดความเร็วที่ปลอดภัยด้วยตนเอง นั่งให้เต็มก้นโดยข้อเข่าทำ มุม 90 องศาและลุกขึ้นยืนตรงจนสุดตลอดการทดสอบ 3. ให้สิ้นสุดการทดสอบก่อนครบ 1 นาที ถ้าผู้ป่วยเหนื่อย หรือ HR > 120 หรือ SpO2 ลดลงจากเดิม 3% ขึ้นไป (desaturation) โดยที่ค่านั้นต่ำจริงเมื่อเครื่อง วัดและแสดงผลติดกัน 2-3 ครั้ง (เครื่องจะวัดและแสดงผลราวทุก 3 วินาที) 4. เมื่อสิ้นสุดการทดสอบหลังครบ 1 นาที ให้วัด SpO2 ต่อไปอีก 1 นาที ถ้ายังไม่พบภาวะออกซิเจนต่ำ ให้ถือว่าการทดสอบเสร็จสมบูรณ์ ที่มา นิธิพัฒน์ เจียรกุล สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ศิริราช
Search
Read the Text Version
- 1 - 5
Pages: