Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ระบบโครงร่าง

ระบบโครงร่าง

Published by ภัทรพล ไพโรจน์, 2022-03-02 05:32:47

Description: ระบบโครงร่าง

Search

Read the Text Version

ระบบโครงร่าง (Skeleton system) เป็นระบบที่เป็นที่ยึดเกาะของระบบกล้ามเน้ือ (Muscular system) เพื่อช่วยในการค้ำจุนร่างกาย ปกป้องอวัยวะภายใน รักษาร่างกายให้คงตัว ช่วยในการ เคลื่อนไหวในทุก ๆ ด้าน อาทิ นั่ง นอน เดิน หยิบจับ ออกกำลัง เป็นต้น เป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส นอกจากน้ไี ขกระดูกซ่งึ เป็นเนอื้ เย่อื กระดกู ช้ันในจะสร้างเม็ดเลือด แดง รวมถึงเมด็ เลอื ดขาวชนดิ ลิมโฟไซต์ ในระบบภูมิค้มุ กนั อีกดว้ ย อวยั วะทีเ่ กี่ยวขอ้ ง กระดูก (Bone) เป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา โดยมีการพัฒนาให้มีรูปแบบของกระดูกที่แตกต่าง และสอดคล้องกันกับการทำงานของร่างกาย เช่น กะโหลกศีรษะ (skull) มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก กระดูกต้นขา มีลักษณะเป็นแกนยาว มีจุดยึด เกาะของกลา้ มเน้ือ เปน็ ตน้ ผใู้ หญจ่ ะมีกระดูกจำนวน 206 ชิ้น แบ่งออกตามตำแหน่งในรา่ งกายเป็น 2 ประเภท ดงั น้ี กระดูกแกนลำตัว (Axial skeleton) มีจำนวน 80 ชิ้น ได้แก่ กระดูกกะโหลกศีรษะจำนวน 29 ชน้ิ กระดกู สนั หลัง 51 ชน้ิ

กระดูกสาขาของรา่ งกาย (Appendicular skeleton) มีจำนวน 126 ช้ิน เป็นกระดกู ท่ี แยกออกมาจากกระดูกแกนลำตวั ประกอบดว้ ย กระดกู แขน 60 ชนิ้ กระดกู ขา 60 ช้ิน กระดกู สะบกั 2 ชน้ิ เชงิ กราน 2 ช้นิ และ ไหปลาร้า 2 ชน้ิ นอกจากนี้ หากดตู ามรูปร่างของกระดกู ยังสามารถแบ่งไดเ้ ป็น กระดูกแบบยาว เชน่ กระดกู แขน ขา หนา้ แข้ง กระดูกแบบสน้ั เชน่ กระดกู ขอ้ มือ ข้อเทา้ กระดูกแบบแบน เชน่ กระดกู ศรี ษะ กระดูกอก กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกอุ้งเชิงกราน และกระดูกแบบสั้นฝังตัวอยู่ในเอ็น เช่น กระดูกสะบ้าโครงสร้างภายในของกระดูก โดยเฉพาะกระดูกแบบยาว ด้านนอกจะเป็นเนื้อเย่ือ กระดูกในส่วนที่อดั แน่น (Compact bone) ส่วนปลายจะเป็นเนื้อเยื่อกระดูกในส่วนทีโ่ ปร่ง (Spongy bone) โดยปลายด้านทีเ่ ป็นขอ้ ต่อจะมกี ระดกู อ่อน (Articular cartilage) อยทู่ ผี่ วิ ส่วนแกนกลางของกระดูก จะมีโพรงกระดูกที่มีหลอดเลือดและไขกระดูก (Bone marrow) อยู่ โดยไขกระดูกนี้จะทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ให้กับร่างกาย ที่ผิว ด้านนอกของกระดูกยกเว้นด้านข้อต่อ จะมีเยื่อหุ้มกระดูก (Periosteum) เป็นช่องทางทางในการนำ เลือด สารอาหาร มาเลย้ี งเซลลก์ ระดกู ตลอดจนเป็นทางผา่ นของเสน้ ประสาทที่มายังกระดกู ด้วย

กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีโปรตีนหลายชนิด เช่น คอลาเจน เป็นสวน ประกอบที่มีความอ่อนนุ่มกว่ากระดูก แต่แข็งกว่ากล้ามเนื้อ สามารถเป็นเนื้อเยื่อในระบบโครงร่างได้ พบในบริเวณข้อต่อต่างๆของร่างกาย รวมถึงโครงร่างของ ใบหู จมูก และหลอดลม กระดูกอ่อนไม่มี หลอดเลือดมาเลี้ยง โดยเซลล์ของกระดูกอ่อนจะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผา่ นคอลลาเจนสู่เสน้ เลือดด้านนอก ทั้งนี้กรณีเซลล์กระดูกอ่อนถูกทำลายจะซ่อมแซมตัวเองได้แต่ช้า เนื่องจากมีเมตาบอลิ ซมึ ทีต่ ำ่ ขอ้ ตอ่ และเอน็ เช่ือมกระดูก (Joint & Ligament) ข้อต่อจะเป็นบริเวณที่กระดูก 2 ชิ้นมาต่อกัน โดยมีเอ็นและองค์ประกอบอื่น ๆ รวมถึง กลา้ มเน้ือช่วยยดึ เสริมความแข็งแรง แบง่ เปน็ 3 ประเภท ไดแ้ ก่ ข้อต่อเส้นใย (Fibrous joints) มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันยึดกระดูกเข้าไว้อย่างแน่นหนา ไม่มี ชอ่ งวา่ งระหว่างข้อตอ่ เปน็ ขอ้ ต่อท่เี คล่อื นไหวไมไ่ ด้ ได้แก่ ข้อตอ่ กะโหลกศรี ษะ

ขอ้ ต่อกระดูกอ่อน (Cartilage joints) มีกระดูกอ่อนขั้นระหว่างกระดูกทั้งสองข้างท่ีมาต่อกัน ไม่มีช่องว่างระหว่างข้อต่อ ข้อต่อประเภทนี้เคลื่อนไหวไดเ้ ล็กน้อย ได้แก่ ข้อต่อกระดูกสันหลัง ข้อต่อ กระดูกเชงิ กราน ข้อต่อชนิดซิลโนเวียล (Sylnovial joint) เป็นข้อต่อที่มีแคปซูลหุ้มข้อ ภายในแคปซูลจะมี เยื้อหุ้มข้อ ถัดจากเยื่อหุ้มข้อจะเป็นโพรงข้อต่อ ภายในโพรงจะมีน้ำไขข้อ (Sylnovial fluid) ที่สร้าง จากเนื้อเยื่อรอบแคปซูลหุ้มข้อ เพื่อช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนที่ได้สะดวก นอกจากนี้ ผิวของกระดูกที่มา เชื่อมกันเป็นข้อต่อชนิดนี้ จะมีส่วนที่เรียกว่ากระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular cartilage) ร่วมอยู่ด้วยเรา สามารถแบ่งชนดิ ของขอ้ ต่อชนดิ ซิลโนเวยี ล (Sylnovial joint) ตามลกั ษณะการเคลอ่ื นไหว ได้เปน็ ขอ้ ต่อแบบวงรีเคล่อื นไหวได้ 2 ทาง เชน่ ขอ้ ตอ่ บริเวณคอ - ข้อต่อแบบเดือยเคลื่อนไหวโดยหมุนรอบแกน เช่น ขอ้ ตอ่ ต้นคอกับฐานกะโหลกศรี ษะ - ขอ้ ต่อแบบลกู กลมในเบ้ากระดูก เช่น ขอ้ ต่อหวั ไหล่ - ข้อต่อแบบอานมา้ ลกั ษณะโคง้ เว้าสอดคล้องกันพอดี เชน่ ขอ้ ต่อนิ้วมือกบั กระดกู ฝา่ มอื

- ขอ้ ตอ่ แบนราบ เชน่ ข้อต่อท่ีกระดูกขอ้ มอื และสุดท้ายขอ้ ตอ่ แบบบานพบั มกี ารเคลือ่ นไหวคลา้ ยบานพับประตู เช่น ขอ้ ศอก สำหรับเอ็นกระดูก (Ligament) เป็นกลุ่มหรือมัดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดเส้นใย (Fibrous tissue) ที่ช่วยยึดกระดูกและกระดูกชิ้นอื่นเข้าไว้ เพื่อประกอบขึ้นเป็นข้อต่อ (Joint) โดยจะมี คุณสมบัติในการยดื หยนุ่ ตา่ งจากเอน็ กล้ามเนอ้ื (Tendon) ซง่ึ ไมม่ ีความยืดหยนุ่ แต่หากเอ็นกระดกู เจอ แรงดึงมากเกินไป อาจจะไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ ทั้งนี้ในข้อต่อชนิดซลิ โนเวียลจะมีเอ็นแคปซลู (Capsular ligament) เป็นส่วนของแคปซูลข้อต่อ โดยเอ็นนอกแคปซูล (Extra-capsular ligament) ทำหน้าท่เี ชอ่ื มกระดูกเข้าด้วยกันและช่วยรักษาเสถียรภาพของข้อต่อ เอ็นในแคปซูล (Intra-capsular ligaments) ทำหน้าทร่ี ักษาเสถยี รภาพของขอ้ และทำให้ขอ้ ตอ่ มพี ิสยั การเคล่อื นไหวกว้างขึ้น

โรคระบบโครงสรา้ งที่พบบ่อย โรคข้อเสือ่ ม เปน็ โรคที่เกิดจากความเส่ือมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ท้ังทางดา้ นรปู ร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ พบได้บ่อยที่ข้อเข่า โดยการเปลี่ยนแปลง ดงั กล่าวไมส่ ามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจมีความเส่ือมท่รี นุ แรงขน้ึ โรครูมาตอยด์ เป็นโรคที่มีการอักเสบของส่วนต่าง ๆ ร่างกาย ไม่ใช่เพียงที่ข้อ โดยเกิดจาก ระบบภมู คิ ุ้มกนั ในร่างกายทำงานผดิ ปกติและไปทำลายอวยั วะต่าง ๆ ในร่างกายตัวเอง เชน่ ผิวหนัง ดวงตา ปอด หัวใจ และหลอดเลือด เปน็ ต้น โรคเกาต์ เป็นโรคที่มีการอักเสบจากการมีกรดยูริคในเลือดสูง จนเกิดการตกผลึกของกรดยูริค ตามขอ้ ต่าง ๆ เป็นเหตุให้ข้อมกี ารอักเสบ ปวด ร้อน บวม แดง และเจ็บเม่ือถูกสัมผัส พบบ่อยตามข้อ ต่อขนาดเล็ก เช่น ข้อกระดูกฝ่าเท้า และข้อกระดูกฝ่ามือ มีปัจจัยเสี่ยงจากหลายสาเหตุ อาทิ กิน อาหารมีสารพิวรีนสูงต่อเนื่องเป็นประจำ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เชน่ โรคอว้ น โรคเบาหวาน โรคความดนั โลหติ สูง เป็นตน้ โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ การติดเชื้ออาจทำให้เกิดการอักเสบที่ข้อต่อ ทั้งแบบข้อเดียว หรอื หลายขอ้ เฉยี บพลันหรอื เร้อื รงั มกั พบในผสู้ ูงอายุ ผูท้ ่มี ีโรคเบาหวาน โรคตบั โรคมะเร็ง หรอื กนิ ยา กดภูมติ า้ นทานกรณที ร่ี ักษาช้า หรอื ไม่ได้รบั ยาท่เี หมาะสม อาจทำให้เสยี ชวี ติ ได้ โรคกระดูกพรุน กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โดยจะเกิดความเสี่ยงจากการแตกหรือหักของกระดูก พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก หรือ ขอ้ มือ รวมทั้งยังสามารถเกิดได้กบั กระดูกสว่ นอนื่ ๆ ของร่างกายอีกด้วย โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากหมอนรองกระดูกที่รองรับแรงกระแทกจาก การใช้งานของกระดูกสันหลังเสื่อมลง ทำให้ขาดความยืดหยุ่น พร้อมทั้งไปกดทับเส้นประสาท จนมี อาการปวดตามแนวของเส้นประสาทนั้น พบได้บ่อยตรงข้อต่อด้านล่างของกระดูกเอว และข้อต่อ บริเวณคอ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook