Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ไดอารี่ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน(1)

ไดอารี่ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน(1)

Published by แก้วทิพย์ เดชมณี, 2021-11-14 09:54:07

Description: ไดอารี่ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน(1)

Search

Read the Text Version

ตำบล ตะป านพุนพิน สุราษฎร์ธานี รวบรวมโดยนักศึกษา สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ปี4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

TAPAN นางสาวมนต์ชนก อินทร์เนื่อง 6116209001038 ’S นางสาวแก้วทิพย์ เดชมณี 6116209001157 นางสาวสุภารัตน์ ฉิมสุข 6116209001158 DIARY สาขารัฐประศาสนศาสตร์

พระราชดำรัส/หรือคำคม การดำรงชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา การ ปรับปรุงตัวจะต้องมีความเพียรและความอดทนเป็ นที่ ตั้ง ถ้าคนเรามีความหมั่นเพียร ไม่มีความอดทน ก็อาจ จะท้อใจไปโดยง่าย เมื่ อท้อใจไปแล้ว ไม่มีทางที่จะมีชีวิต เจริญรุ่งเรืองแน่ ๆ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่ครูและนักเรียน โรงเรียนจิตรลดา ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๓

คำนำผู้เขียน MOC.ETISTAERGYLLAER.WWW หนังสือเล่มนี้เป็ นไดอารี่ตำบลตะปานอำเภอพุนพินจังหวัด สุราษฎร์ธานีเป็ นส่วนหนึ่ งของวิชาฝึ กประสบการณ์วิชาชีพ รัฐประศาสนศาสตร์โดยมีจุด ประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่และบริบท ตำบลตะปานทั้งนี้ในหนังสือมีเนื้ อหาประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับข้อมูล พื้นฐานโครงสร้างของชุมชนโครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพสถานที่สำคัญ และการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน คณะผู้จัดทำ ขอขอบคุณอาจารย์อยับ ซาดัดคาน ผู้ให้ความรู้และ แนวทางการศึกษาและหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะให้ความรู้และประโยชน์แก่ ผู้อ่านทุกๆท่าน คณะผู้จัดทำ 15 ตุลาคม 2564 HANDMADE SOAPS

ส า ร บั ญ เรื่อง หน้า TAPAN PUNPIN ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 1 ประวัติความเป็นมาของตำบล ขนาดและที่ตั้งของตำบล 2 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ 7 การเดินทาง/การคมนาคม 7 ส่วนที่ 2 โครงสร้างของชุมชน 8 ด้านการเมือง การเมืองการปกครอง 9 ข้อมูลประชากร 10 ด้านการศึกษา/ศาสนา/วัฒนธรรม 11 บริบริบททางสังคม/ความเป็นอยู่ 12 14 ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม 15 16 ส่วนที่ 3 โครงสร้างโครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ 17 18 แหล่งทุนทางธรรมชาติ 21 แหล่งอาหาร 23 ผลิตภัณฑ์ชุมชนของดีของขึ้นชื่อ 24 สถานภาพทางเศรษฐกิจ 25 26 ส่วนที่ 4 สถานที่สำคัญ 26 27 แหล่งท่องเที่ยว แหล่งโบราณสถาน 31 ศาสนสถานของทุกศาสนา 32 แหล่งเรียนรู้/โรงเรียน/ห้องสมุดชุมชน 33 34 ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน 35 36 ด้านธรรมชาติ 38 ด้านเศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยว โครงสร้างพื้ นฐาน บรรณานุกรม ภาคผนวก TAPAN PUNPIN SURATTHANI

TAPAN PUNPIN สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 3 10 ตารางที่1.1 ไทม์ไลน์พัฒนาการตำบลตะปาน 11 ตารางที่ 2.1 ด้านการเมืองการปกครอง 23 ตารางที่ 2.2 ข้อมูลประชากร ตารางที่ 3.4 การรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพ TAPAN PUNPIN SURATTHANI

TAPAN PUNPIN สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 18 19 ภาพที่1 ภาพหัวปลีทอด 20 ภาพที่2 แกงกะทิหยวกกล้วยกุ้งสด 21 ภาพที่3 ขนมสอดไส้ 21 ภาพที่4 ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันสมุนไพรพฤกษาเฮิร์บ , สบู่ฟักข้าว 22 ภาพที่5 ตะกร้าเชือกมัดฟาง 22 ภาพที่6 การผ้าเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ 25 ภาพที่7 น้ำพริกตะไคร้ป้าหรรษา 27 ภาพที่8 แหล่งท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน OTOP นวัตวิถีวัง 27 28 โชกุน 29 ภาพที่9 โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง 30 ภาพที่10 โรงเรียนบ้านบนไร่ ภาพที่11 โรงเรียนบ้านปลายคลอง ภาพที่12 โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์ ภาพที่13 โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว TAPAN PUNPIN SURATTHANI

1 ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน TAPAN SURATTHANI

2 ประวัติความเป็นมาของตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลตะปานเดิมเป็ นสภาตำบลตะปานตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ.2537 ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็ นองค์การบริหารส่วนตำบลจากกระทรวง มหาดไทย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 โดยมีที่ทำการ ตั้งอยู่เลขที่ 9/1 หมู่ที่ 1 บ้านปลายคลอง แต่ก่อนเมื่ อประมาณ100ปี เศษการตั้งถิ่นฐานของประชาชนส่วน ใหญ่อาศัยพื้ นที่ริมแม่น้ำตาปี เป็ นพื้ นที่ตั้งถิ่นฐานโดยอพยพลงมาจากป่ า ต้นน้ำของแม่น้ำตาปี ลงมาเรื่ อยๆอพยพลงมาเห็นถึงสภาพพื้ นที่มีความ อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำมาหาเลี้ยงชีพดั่งคำโบราณที่กล่าวว่าในน้ำ มีปลาในนามีข้าวหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งส่วนใหญ่พื้ นที่ที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานต้องเป็ นพื้ นที่โค้งน้ำหรือ พื้ นที่ที่เป็ นจุดรวมของสายน้ำทำให้เป็ นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำทำมา หากินได้เป็ นแหล่งเพาะสัตว์น้ำและเป็ นที่ราบลุ่มสามารถทำนาได้และ ผู้นำในการตั้งถิ่นฐานคนแรกของตำบลนั้น ชื่อ “ปาน” ต่อมามีผู้อพยพ มาอยู่มากขึ้น กลายเป็นชุมชนขนาดเล็กเรียกว่าบ้านปากคลองตาปาน และเมื่ อมีการอพยพมากขึ้นจนกลายเป็ นหมู่บ้านหนึ่ งชื่ อว่าบ้านตะปาน ซึ่งเป็ นหมู่บ้านหนึ่ งอยู่ในตำบลกรูดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5และปั จจุบัน บ้านตะปานเป็นชื่อหมู่บ้านหมู่ที่2 ของตำบลตะปาน (แผนพัฒนาท้อง ถิ่น,2561)

3 ไทม์ไลน์ พัฒนาการของ ตำบลตะปาน อำเภอพุ นพิ น จังหวัดสุ ราษฎร์ธานี

4

5

6

ขนาดและที่ตั้งของตำบล 7 ที่ตั้ง องค์ก ารบริหารส่วนตำบลตะปาน ตั้งอยู่เลขที่ 9/1 หมู่ที่ 1 บ้าน ปลายคลองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอพุนพินประมาณ 42 กิโลเมตร และมีอาณาเขตดังนี้ 1)ทิศเหนือติดต่อกับตำบลกรูด 2) ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเคียนซา 3)ทิศตะวันออกติดต่อกับแม่น้ำตาปี และเขตอำเภอบ้านนาเดิม 4)ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอคีรีรัฐนิคม (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561) ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ 1)แหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวนแม่น้ำไหลผ่าน จำนวน 1 สาย 2)ลำน้ำ , ลำห้วย คลอง จำนวน 7 แห่ง 3)น้ำที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภคเป็ นน้ำที่ได้จากน้ำฝนและน้ำดิบจาก แม่น้ำตาปี ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปาและระบบ น้ำประปาหมู่บ้าน 4)ป่าไม้ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีป่าไม้อยู่เป็นส่วนน้ อย 5)ภูเขาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีภูเขาอยู่เป็นส่วนน้ อย 6)ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน พื้ นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลส่วนมากเป็ นพื้ นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ (แผนพัฒนาท้อง ถิ่น,2561)

ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ 8 การเดินทาง/การคมนาคม 2 1 ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ตำบลตะปานมีพื้นที่ส่วนใหญ่ปลูก ยางพาราและปาล์มน้ำมันมีลักษณะทาง ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียง กายภาพเป็ นที่ราบสูงทางด้านตะวัน ตกต่ำลงมาทางตะวันออกริมฝั่งแม่น้ำ ใต้ซึ่งทำให้มีช่วงฤดูฝนยาวนานและ ตาปี ทางทิศตะวันออกริมฝั่ งแม่น้ำตาปี ไหลผ่านหมู่ที่2และหมู่ที่3มีคลองตะปาน มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน ไหลผ่านหมู่ที่1,2และ4และคลองชิงโส ไหลผ่านหมู่ที่1และไหลสู่แม่น้ำตาปี เรียก ทำให้ฤดูร้อนและฝนระยะเวลาใกล้ ว่า“ปากคลองตะปาน”(แผนพัฒนาท้อง ถิ่น,2561) เคียงกันทำให้ฤดูฝนมีน้ำมากเกินไป 3 และฤดูร้อนร้อนเกิดการขาดแคลนน้ำ ดื่มน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง(แผนพัฒนาท้อง ถิ่น,2561) 4 ลักษณะของดิน การเดินทาง / การคมนาคม ดินในพื้นที่ตำบลตะปาน อำเภอ การเดินทางองค์การบริหารส่วนตำบล พุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานีมี ตะปานมีถนนสายพุนพิน-พระแสง ลักษณะเป็ นดินร่วนปนทราย ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข4133 (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561) ระยะทางประมาณ6กิโลเมตร แม่น้ำที่สำคัญคือแม่น้ำตาปี ไหลผ่าน (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561)

9 ส่วนที่ 2 โครงสร้างของชุมชน TAPAN SURATTHANI

10 ด้านการเมืองการปกครอง โดยปัจจุบันมีนายธนิก กิจเวชวิสุทธิ์เป็นนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลตะปานและมีนางธนัชนก อำไพเพชรเป็นรองปลัดองค์การ บริหารส่วนตำบลรักษาราชการแทนปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลมี นายประพัฒน์ สุภาภรณ์เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะ ปานนายชาญฤทธิ์ เจริญรักษ์เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะ ปานและนายพีรยุทธ์ นาคกุลเป็นเลขานุการนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลตะปาน (องค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน,2561) การปกครองท้องที่ตำบลตะปานแบ่งออกเป็น5หมู่บ้านดังนี้ ที่มา: (องค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน,2561)

11 ข้อมูลประชากร ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ตำบลตะปาน มีประชากรตาม ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ แยกตามรายหมู่บ้าน ดังนี้ ที่มา: (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561)

ด้านการศึกษา / ศาสนา / 12 วัฒนธรรม ด้านการศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษามีจำนวน 6 แห่ง ดังนี้ -โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน - โรงเรียนบ้านปลายคลอง -โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง -โรงเรียนบ้านบนไร่ -โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์ -โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว โรงเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 5 แห่ง ดังนี้ -โรงเรียนบ้านปลายคลอง -โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง -โรงเรียนบ้านบนไร่ -โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์ -โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว โรงเรียนมัธยมศึกษามี จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ -โรงเรียนบ้านปลายคลอง (โรงเรียนขยายโอกาส) -โรงเรียนบ้านบนไร่ (โรงเรียนขยายโอกาส) -โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว (โรงเรียนขยายโอกาส)(องค์การบริหารส่วนตำบลตะ ปาน,2561)

13 ด้านสาธารณสุข ในด้านสาธารณสุขจากข้อมูลสถานพยาบาลในเขตตำบลตะปานมี สถานพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 1 แห่ง คือ -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปาน(แผนพัฒนาท้อง ถิ่น,2561) 3.สังคมสงเคราะห์ - ดำเนินการรับขึ้นทะเบียนและจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ ป่ วยเอดส์ - รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด -ประสานการจัดทำบัตรผู้พิการ (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561) การนั บถือศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดจำนวน 2แห่ง สำนักสงฆ์จำนวน 1 แห่ง -วัดราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 -วัดปลายคลองพัฒนาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 -สำนักสงฆ์บ้านบนไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 (แผนพัฒนาท้อง ถิ่น,2561)

บริบททางสังคม / ความเป็นอยู่ 14 การเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตตำบลตะปานร้อยละ ๘๐ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมได้แก่ยางพาราและปาล์มน้ำมัน ยางพาราส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ดิน เหมาะสมทุกหมู่บ้านเป็ นยางพันธุ์ดีทั้งหมดเมื่ อยางที่มีอายุมากแล้วและจะมี แนวโน้ มปลูกยางพันธุ์ดีทดแทนโดยจะมีการขอทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สำหรับปาล์มน้ำมัน เกษตรกรได้มีการจัดหาซื้อพันธุ์ปาล์มจากแหล่งที่เกษตรกร เชื่อถือสำหรับไม้ผลต่างๆจะปลูกบริเวณใกล้ลำคลองห้วยซึ่งปลูกตามสภาพ ความเหมาะสมของพืชที่ เพื่อเป็นพืชเสริมรายได้จากพืชหลัก (แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลตะปาน. สภาพพื้นที่และเศรษฐกิจ. (ออนไลน์).2556,สืบค้นเมื่อวันที่1 พฤศจิกายน 2564. จาก http://phunphin.suratthani.doae.go.th/2560/patana54/tapan.doc) การปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรจะมีการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์น้ำ มีการเลี้ยงปลา โค แพะ สุกร เป็ด และไก่พื้นเมือง น้ำจืด เช่น ปลาดุก ปลาหมอ ปลานิล ปลา ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ พร้อมมีการ ตะเพียนขาว เนื่องจากตำบลตะปานมีแม่น้ำ ปรับปรุงพันธุ์ตลอดเวลา เพราะ ตาปีไหลผ่าน และมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ เกษตรกรจะคำนึงถึงผลตอบแทนและ สร้างขึ้น เกษตรกรได้มีการจับปลาในแหล่ง ความคุ้มค่าเป็ นหลัก(แผนพัฒนาการ น้ำเหล่านี้เพื่อนำไปบริโภค (แผนพัฒนาการ เกษตรระดับตำบลตะปาน. สภาพ เกษตรระดับตำบลตะปาน. สภาพพื้นที่และ พื้นที่และเศรษฐกิจ. เศรษฐกิจ. (ออนไลน์).2556,สืบค้นเมื่อวันที่ (ออนไลน์).2556,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 1 พฤศจิกายน 2564. จาก พฤศจิกายน 2564. จาก http://phunphin.suratthani.doae.go.th/2 http://phunphin.suratthani.doae.g 560/patana54/tapan.doc) o.th/2560/patana54/tapan.doc) 2.5ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม

ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม 15 ประเพณีและงานประจำปี - ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เดือนมกราคม -ประเพณีวันสงกรานต์ เดือนเมษายน -ประเพณีวันเข้าพรรษา เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม - ประเพณีวันสารทเดือนสิบ เดือนกันยายน – ตุลาคม - ประเพณีวันออกพรรษาและชักพระ เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561) ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านหัตถกรรม ช่างเล็ก พร้อมด้วยภรรยา นางซิ้ม ชูประดิษฐ ์ อยู่ ม.2 โรด่วยมสกืบันทออนดุรักกันษ์มกาาเรกืตอีมบีด1ก0ร0ีดปียโาดงยแมบีดบ โบราณ กรีดยางด้วยภูมิปั ญญาชาวบ้านที่นับวันจะ สูญหายไป โดยมีดกรีดยางซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญ ของชาวสวนยางพารา (พิมล เพชรรัตน์,สัมภาษณ์. 1 พฤศจิกายน 2564) ด้านการเกษตร นายพิมล เพรชรัตน์ ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 84 หมู่ ที่2 ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัด สุราษฎร์ธานี มีความเชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม และเป็นเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ Yong Smart Farmer(พิมล เพชรัตน์,สัมภาษณ์. 1 พฤศจิกายน 2564)

16 ส่วนที่3 โครงสร้างเศษฐกิจและอาชีพ TANPAN SURATTHANI

แหล่งทุนทางธรรมชาติ 17 แหล่งน้ำ แหล่งน้ำมีความสำคัญต่อเกษตรกรแหล่งน้ำ ธรรมชาติคือน้ำดิบจากแม่น้ำตาปี ไหลตามแนว ทิศตะวันออก ของตำบลซึ่งไม่ทำให้เกษตรนำมา ใช้นำมาใช้ประโยชน์ได้มากนัก คลองตะปาน ใช้น้ำได้ตลอดปี ถ้าเกิดภาวะ วิกฤตปริมาณฝนน้ อยอาจทำให้น้ำคลองไม่มีน้ำ จะมีผลกระทบต่อไม้ผลซึ่งมีการปลูกไม้ผลริม คลองตลอดสาย (แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลตะปาน. สภาพพื้นที่และเศรษฐกิจ. (ออนไลน์).2556,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จาก 1 http://phunphin.suratthani.doae.go.th/2560/ patana54/tapan.doc) ป่ าไม้ ด้านป่าไม้ซึ่งแยกเป็นประเภทดังนี้ ป่าสงวน แห่งชาติ ป่าจำแนก และเขตสงวนแหล่งถ่านหิน เป็นป่าสงวนเกือบทั้งตำบลประมาณร้อยละ 80 ของพื้ นที่ทั้งหมดส่วนใหญ่เป็ นเกษตรกรได้มี การทำการเกษตรเช่นปลูกยางพาราและปลูก ปาล์มน้ำมัน (แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลตะปาน. สภาพพื้นที่และเศรษฐกิจ. (ออนไลน์).2556,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จาก http://phunphin.suratthani.doae.go.th/2560/ patana54/tapan.doc)

แหล่งอาหาร 18 หัวปลีทอด LOCAL FOOD ขั้นตอนการทำ -น้ำหัวปลีมาซอยเป็ นแว่นบางๆ -แล้วมาคลุกเคล้ากับแป้ งทอดกรอบ แล้วทอดในน้ำมันพืชร้อนๆจนสุกเหลือง -ตักขึ้นพักในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน (ชุมชนวังโชกุน.เมนูอาหารแก้จน. (ออนไลน์).2014,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จากhttps://issuu.com/pomdemandgro up/docs/_______________________ _____________f21de90c095ff1? fbclid=IwAR3jmDMFQ9yWJ8_sTWIV DQogfN6BKmNQrfOnQ7wQeT2194w 1TiJC5JhuYIk)

แกงกะทิหยวก 19 กล้วยกุ้งสด ขั้นตอนการทำ -นำมะพร้าวขูดมาคั้นกับน้ำอุ่น แยกหัวกะทิกับหาง กะทิไว้ต่างหาก - ตำเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด . - หั่นหยวกกล้วยเป้ นท่อนขนาดพอคำ นำไปแช่น้ำ สะอาด แล้วใช้ตะเกียบหรือแท่งไม้ปั่นไปมาเพื่อให้ เส้นใยที่ติดอยู่กับหยวกกล้วยออกหมด - แกะเปลือกกุ้ง เอาเส้นดำออกและขี้กุ้งออกให้ หมด - นำหางกะทิใส่หม้อ ยกตั้งไฟร้อนปานกลางใส่ เครื่องแกงลงละลาย รอจนน้ำกะทิเดือดจึงใส่หยวก กล้วยและกุ้งรอจนสุก จึงเทหัวกะทิลงไปคนให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำตาลและเกลือให้ออกรสหวาน นำเจือ ด้วยรสเค็มปะแล่มแล้วยกลงพร้อมเสิร์ฟ (ชุมชนวัง โชกุน.เมนูอาหารแก้จน.(ออนไลน์).2014,สืบค้นเมื่อวัน ที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จากhttps://issuu.com/pomdemandgroup/docs/_ ___________________________________f21 de90c095ff1? fbclid=IwAR3jmDMFQ9yWJ8_sTWIVDQogfN6 BKmNQrfOnQ7wQeT2194w1TiJC5JhuYIk)

20 ขนมสอดไส้ LOCAL FOOD ขั้นตอนการทำ -ผสมแป้ งทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน ใส่น้ำอุ่นแล้ว นวดให้เข้ากัน ปั้ นเป็ นก้อน กลม เส้นผ่าเส้นศูนย์กลางขนาด1/2นิ้วแล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดหมาดๆ รักษาความชื้ นของแป้ ง -คั้นมะพร้าวด้วยน้ำลอยดอกมะลิให้ได้หัวกะทิประมาณ 4 ถ้วย ผสมกับแป้ ง ข้าวเข้ากัน เติมเกลือ ตั้งไฟคนตลอดเวลา ระวังอย่าให้แป้ งเป็ นลูก -ทำส่วนผสมของไส้ขนม ผสมมะพร้าว น้ำตาลและน้ำ เข้าด้วยกัน ตั้งไฟ กลาง คนจนเหนียวพอปั้ นได้ ยกลง ทิ้งไว้จนเย็น ปั้ นเป็ นก้อนกลมๆขนาด ประมาณ 1/2 ถ้าต้องการให้มีกลิ่นหอมมากขึ้ นก็อบเทียนหอม -แผ่แป้ งให้ที่ปั้ นไว้เป็ นแผ่นกลม ใส่ไส้ ห่อปิ ดให้มิด -ใส่ในใบตองและตักส่วนหน้ าขนมใส่ประมาณ 2 -3 ช้อนชา แล้วห่อเป็ นทรง สูง คาดด้วยทางมะพร้าวและกลัดด้วยไม้กลัด -นึ่ งประมาณ 10 นาทีพร้อมรับประทาน (ขนมใส่ไส้.วิธีการทำ.(ออนไลน์).2557,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จากhttps://th.openrice.com/th/recipe/%E0%B8%82%_t69ShrH8rU4vjHN0uEteBgSNow nk_wo43CNvu4)

21 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ของขึ้นชื่อ 1 วิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพรหมู่ที่3 ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันสมุนไพรพฤกษาเฮิร์บ , สบู่ฟักข้าว เป็ นกลุ่มที่เกิดจากการความร่วมมือร่วมใจกันของคนใน ชุมชนโดยมีนางจารีย์ เป็นประธานกลุ่มชาวบ้านในนาม วิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพรจังหวัดสุราษฏร์ ธานี ได้รวบรวมสมาชิกในชุมชนมาสร้างรายได้เสริมจาก การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มซึ่งภายใต้วิสาหกิจชุมชนวัง โชกุนอนุรักษ์สมุนไพรกิจกรรมเหล่านี้มีรากฐานมาจากวิถี ชีวิตดั้งเดิมของขาวบ้านในชุมชนวังโชกุน ตั้งแต่อดีต โดยอาศัยภูมิปั ญหาท้องถิ่นและทุนชุมชุนที่มีอยู่ในการ ดำเนินกิจกรรม เหตุเพราะเดิมชาวบ้านในชุมชนสังโชกุน มีการเพาะปลูกสมุนไพรตามบ้านเรือนจำนวนมาก เมื่อมี สมุนไพรจำนวนมากเกิน ชุมชนได้มีการไปศึกษาดูงานใน พื้นที่ต่างๆ ต่อมาประธานชุมชนจึงนำแนวคิดนี้มา ประยุกต์และปรับใช้ในการแปรรูปสมุนไพรที่ตนมี ผลิตภัณฑ์ของชุมชนขึ้นเพื่อเสริมสร้างรายได้และอาชีพ ให้กับคนในชุมชน(วิศวกรสังคมตำบลตะปาน,2564) 2 ผลิตภัณฑ์ชุมชนหมู่ที่5 ตะกร้าเชือกมัดฟาง ผลิตภัณฑ์ตำบลของหมู่ที่ 5 ตำบลตะปานคือ สานตะกร้า หลังจากทำสวนยางเสร็จต่างคนก็ต่างนำผลิตภัณฑ์ไปทำที่ บ้านของตัวเอง แล้วนำมาขาย ตามออเดอร์ ใช้เวลาว่างหลัง จากทำสวน ที่มาของการสานตะกร้า ปีพศ. 2560 มีกลุ่ม กศน.เข้ามาสอนนางวนิดา รอดทองอ่อน ปีพศ. 2561 ทำการ สอนให้กับแม่บ้าน ในหมู่ที่ 5ปีพศ. 2561 เริ่มสอนตาม หมู่บ้านต่างๆในตำบลเดียวกัน ปีพศ. 2563 ได้รับเชิญไป สอนสถานที่ต่างๆ เช่น สถานพินิจ(วิศวกรสังคมตำบลตะ ปาน,2564)

22 3 ผลิตภัณฑ์ชุมชนหมู่ที่5 การผ้า เพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ การผ้าเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ ด้วยเทคนิคสี กากเพชร เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผ้า เป็นรายได้เสริมของครอบครัว ปีพศ. 2563 เริ่มทำจากผ้าถุงผ้าปาเต๊ะหรือผ้า อินโดครูจาก กศน.มาสอนที่ บ้าน(วิศวกรสังคมตำบลตะปาน,2564) 4 ผลิตภัณฑ์ชุมชนหมู่ที่2 น้ำพริกตะไคร้ป้ าหรรษา หมู่ 2 ตำบลตะปาน อ.พุนพิน ผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำพริกตะไคร้ป้ าหรรษา คุณหรรษา กิจเวชวิสุทธิ์ ผู้ให้ข้อมูล แม่มะลิ จันทร์รอด ผู้คิดค้นสูตรน้ำ พริกตะไคร้ และให้ชาวบ้านมารวมกลุ่มในการทำน้ำพริกตะไคร้ 2544 ใน เวลาต่อมาเศรษฐกิจดีขึ้นราคายางพาราสูงขึ้นทำให้ชาวบ้านหันไป ประกอบอาชีพขายน้ำยาพาราดังเดิมไม่มีเวลามาทำน้ำพริกตะไคร้ ทำให้ กลุ่มสลายไป คุณหรรษา กิจเวชวิสุทธิ์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลร้านค้าชุมชน ก็ได้ใช้ เวลาที่ตนว่างทำน้ำพริกตะไคร้ขาย โดยใช้ชื่อว่า 'น้ำพริกตะไคร้ป้ า หรรษา(วิศวกรสังคมตำบลตะปาน,2564)

23 สถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน 1) การเกษตร ประชากรในเขตตำบลตะปานร้อยละ 80ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 80 อาชีพรับจ้างร้อยละ 10 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 5 อาชีพอื่นๆร้อยละ 5 2) การประมง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะปานไม่มีอาชีพ ประมงเป็นหลักแต่มีการทำประมงเป็น รายได้เสริมประมาณ 10 ครัวเรือน 3) การปศุสัตว์ เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนและ เป็นรายได้เสริม เช่น เป็ด ไก่ โค สุกร เป็นต้น 4) การบริการ โรงแรม จำนวน 1 แห่ง 5) การท่องเที่ยว ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะปานไม่มีแหล่งท่อง เที่ยวแต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงาน ประเพณีต่างๆ เป็นต้น 6) อุตสาหกรรม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน ไม่มีโรงงาน อุตสาหกรรม 7) การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพหน่วยธุรกิจในเขตอบต.ตะปาน โรงแรม จำนวน 1 แห่ง ปัั้มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน - แห่ง - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ จำนวน 1 แห่ง(แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561) การรวมกลุ่มเพื่ อการประกอบอาชีพ 1. ที่มา: (แผนพัฒนาท้องถิ่น,พ.ศ.2561)

24 ส่วนที่ 4 สถานที่สำคัญ TAPAN SURATTHANI

แหล่งท่ องเที่ยว 25 1) สถานที่ท่องเที่ยวหมู่ที่3 แหล่งท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน OTOP นวัตวิถีวังโชกุน วิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพร วิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์ สมุนไพรตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 141/78 หมู่ที่ 3 ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุ ราษฏร์ธานีเป็นกลุ่มที่เกิดจากการความร่วมมือร่วมใจกันของคนในชุมชนโดยมี นาง จารีย์ ประธานกลุ่มชาวบ้านในนามวิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพร จังหวัดสุ ราษฏร์ธานี ได้รวบรวมสมาชิกในชุมชนมาสร้างรายได้เสริมจากการดำเนินกิจกรรม ของกลุ่มซึ่งภายใต้วิสาหกิจ ชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพรนั้น ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ ยาสีฟันพฤกษา แชมพูอัญชันใบบัวบก ชามะรุม และสบู่ฟักข้าว กิจกรรมเหล่านี้มีรากฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในชุมชนวังโชกุน ตั้งแต่ อดีตโดยอาศัยภูมิปัญหาท้องถิ่นและทุนชุมชนที่มีอยู่ในการดำเนินกิจกรรม เหตุ เพราะเดิมชาวบ้านใน ชุมชนวังโชกุนมีการเพาะปลุกสมุนไพรตามบ้านเรือนเป็น จำนวนมากมาว่าจะเป็น กล้วย มะรุม ฟักข้าว อัญชัน เป็นต้น ซึ่งพอมีสมุนไพรเหล่านี้จำนวนเยอะเกินไปผนวกกับในช่วงปีพ.ศ.2559 ชุมชน วังโชกุนได้เปิดศูนย์การ เรียนรู้แก้จนคนสหกรณ์ขึ้นภายในชุมชนเพื่อเป็นแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทางศูนย์การเรียนรู้ได้นำเอา ชาวบ้านในชุมชนไปศึกษาดูงานใน ต่างพื้นที่ ต่อมาประธานกลุ่มจึงนำเอาแนวคิดดังกล่าวที่ได้ไปดูงานมามา ประยุกต์และ ปรับใช้ในการแปรรูปสมุนไพรที่ตนมีเป็ นผลิตภัณฑ์ของชุมชนขึ้นเพื่ อเสริมสร้างรายได้ และอาชีพ ให้กับคนในชุมชน อีกทั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ยังได้รับรางวัลสินค้า ปลอดภัยจากกรมการพัฒนาชุมชนในปี พ.ศ.2562 ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่สามารถ สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนรวมถึงครัวเรือนได้ ทั้งนี้ในทุกขั้นตอนของการปลูก ตลอดจนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกันในการปลูก สมุนไพรตลอด จนการบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ นำไปสู่การเกิดเป็นกลุ่มอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้ครอบครัว และ ชุมชน ต่อมาหลังจากนั้นก็มีหน่วยงานภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษาได้เข้ามา ให้การสนับสนุนทั้งในส่วนของ ความรู้ในด้านวิชาการและงบประมาณต่าง ๆ ทำให้ทาง กลุ่มมีการพัฒนาการดำเนินงานภายในกลุ่มและ ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเพื่อ ลดรายจ่ายและตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนได้มากขึ้น ปัจจุบัน วิสาหกิจ ชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพรถือได้ว่าเป็ นวิสาหกิจชุมชนที่สามารถผลิตสินค้าและ บริการบนพื้นฐาน ทุนชุมชนและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (วิศวกรสังคมตำบลตะปาน,2564)

26 2) แหล่งโบราณสถาน ไม่มี (ธนิก กิจเวชวิสุทธ์,ประพันธ์ สุภาภรณ์,ชาญฤทธิ์ เจริญรักษ์ สัมภาษณ์. 11 กันยายน 2564) 3)ศาสนสถานของทุกศาสนา วัด จำนวน 2 แห่ง คือ วัดราษฎร์บำรุง หมู่ที่ 2 และ วัดปลายคลองพัฒนาราม หมู่ที่ 1 ตำบล ตะปาน วัดราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่หมู่ที่2 วัดปลายคลองพัฒนาราม ตั้งอยู่ที่1 สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง คือ สำนักสงฆ์บ้านบนไร่ หมู่ที่ 3 บ้านบนไร่ สำนักสงฆ์บ้านบนไร่ ตั้งอยู่เลขที่81/1 หมู่ที่3 ตำบล ตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561) 4) แหล่งเรียนรู้/โรงเรียน/ห้องสมุดชุมชน โรงเรียน จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง โรงเรียนบ้านบนไร่ โรงเรียนบ้านปลายคลอง โรงเรียน บ้านราษฎร์ประดิษฐ์ โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว

27 โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์ โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์ มีเนื้อที่ 20 ไร่ ซึ่งนายมาโนช แก้วสุคนธ์ เป็นผู้บริจาค เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2529 เป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง มีนายวาด จันทร์รอด ครู โรงเรียน “ วัดราษฎร์บำรุง ” เป็นครูคนแรก เปิดทำการสอนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียน 24 คนโดยใช้อาคารเรียนชั่วคราวซึ่งราษฎรใน ท้องถิ่นสร้างขึ้น (โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์.(2021). ประวัติความ เป็นมา. (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่8กันยายน2564. จากhttp://thaischool.in.th/school_detail.php? school_id=84105744&fbclid=IwA) โรงเรียนบ้านบนไร่ โรงเรียนบ้านบนไร่ เปิดสอนเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๒ โดยได้รับการบริจาคที่ดิน จาก นายประยูร นางนงลักษณ์ ประดับศิลป์ จำนวน ๑๒ ไร่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๓ ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัด สุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒ สำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งเเต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึง ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านบนไร่.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่8กันยายน2564. จาก https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-)

28 โรงเรียนบ้านปลายคลอง โรงเรียนบ้านปลายคลอง เป็นโรงเรียนขนาดกลาง สังกัด สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 มีเนื้อที่ 48 ไร่เศษ โรงเรียนบ้านปลายคลองได้ก่อสร้างและเริ่มทำการสอน เมื่อปี พ.ศ. 2491 โดยชาวบ้านปลายคลอง ช่วยกันสร้างเป็นอาคารไม้ชั่วคราวหลังคามุงด้วย จาก ซึ่งมีนายเนื่อง หริตา เป็นผู้รักษาราชการในตำแหน่งครูใหญ่ เป็นผู้นำ และให้ชื่อว่า \"โรงเรียนประชาบาลตำบลกรูด 6 บ้านปลายคลอง\" เเละขึ้น อยู่กับเขตการปกครองอำเภอบ้านนาสาร ซึ่งต่อมา ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ทางกระทรวงมหาดไทย ได้เเบ่งเขตการปกครองใหม่ มาขึ้น อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (โรงเรียน บ้านปลายคลอง.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). ค้นเมื่อวัน ที่8กันยายน2564. จากhttp://thaischool.in.th/school_detail.php? school_id=84105719&fbclid=IwAR0)

29 โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานีเขต 2 จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 24 พฤษภาคม 2474 เปิดทำการ สอนครั้งแรกเมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม พุทธศักราช 2475 ใช้ชื่อว่า “ โรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านกรูด ” เป็น โรงเรียนขนาดเล็ก มีเนื้อที่ 25 ไร่ มีเขตบริการหมู่ที่ 2 ของตำบลตะปาน โรงเรียนตั้งอยู่ในเขตบริการของ องค์การบริหารส่วน ตำบลตะปาน ห่างจากโรงเรียนประมาณ 3 กิโลเมตร ระยะทางจากโรงเรียนถึงที่ตั้งสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ประมาณ 47 กิโลเมตร มีถนนลาดยาง ตัดผ่าน หน้ าโรงเรียน ทำให้การเดินทางสะดวก ปัจจุบันโรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 (โรงเรียนวัด ราษฎร์บำรุง.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). ค้นเมื่อวัน ที่8กันยายน2564. จากhttp://thaischool.in.th/school_detail.php? school_id=84105975&fbclid=IwAR07Fl7F2-)

โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว 30 โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2 อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งในพื้นที่เขต ป่าสงวนเเห่งชาติหมู่ที่ 5 ตำบล ตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื้อที่ 34 ไร่ ระยะทางถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 2 58 กิโลเมตร การจัดตั้ง นายเเสง ทองอินทร์ ผู้นำ ราษฎรอพยพมาบุกเบิกตั้งถิ่นฐานใหม่ในท้องที่บ้านห้วยทรายขาว คาดหวัง ให้มีสถานศึกษาในหมู่บ้าน พื้นที่ 34 ไร่ ต่อมานายสมบูรณ์ เพชรทอง นายประเสริฐ หลักชุม ผู้นำชุมชน และนายจิระ ศุทธางกูร หน.ปอ.พุนพิน ร่วมกัน จัดตั้งโรงเรียน ชื่อ “โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว สาขาโรงเรียนบ้าน บนไร่” โดยราษฎรใน หมู่บ้านร่วมกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด 3 ห้องเรียน เปิดทำการสอน 1 พฤษภาคม 2529 ในปี 2539 เปิดเรียนเป็น โรงเรียนเอกเทศ ชื่อ “โรงเรียนบ้านห้วยทราขขาว” และ ขยายชั้นเรียนถึง ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันเปิดทำการสอน ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 และ มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 (โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่8กันยายน2564. จาก https://banhuaisaikhao.ac.th/)

31 ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน TAPAN SURATTHANI

ด้านธรรมชาติ และสิ่ ง 32 แวดล้อม

33 ด้านเศรษฐกิ จ

34 ด้านการท่ องเที่ยว

35 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

36 บรรณานุกรม แผนพัฒนาท้องถิ่น. (2561). ตำบลตะปาน. (ออนไลน์). ค้นหาเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564. จาก. http://www.taparn.go.th/default.asp โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). ค้นเมื่อ วันที่8กันยายน2564. จาก http://thaischool.in.th/school_detail.php? school_id=84105975&fbclid=IwAR07Fl7F2- 05AyEHefSyqZ4qhpcddmNodBRcCP-vlCP8xoZ94PtpUW1h9A8 โรงเรียนบ้านบนไร่.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). ค้นเมื่อวัน ที่8กันยายน2564. จาก https://data.boppobec.info/emis/schooldataview.php? School_ID=1084640395&Area_CODE2=8402&fbclid=IwAR2mtoIrWnue mWvxfZypW0hrre7NaetfjgeZHbQsNdgxqbAbUoD7T5WklIo โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่8กันยายน2564. จากhttp://thaischool.in.th/school_detail.php? school_id=84105744&fbclid=IwAR2DlLH6N1qKeFMv4PDTMFFaQAgs4l IgHQ67wbs1IaqmWtxPc-oQrc1dTNw โรงเรียนบ้านปลายคลอง.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). ค้นเมื่อ วันที่8กันยายน2564. จาก http://thaischool.in.th/school_detail.php? school_id=84105719&fbclid=IwAR0W4gyv99jXl_WIjgmjURnw6BQ5fTk7 UzBeaFp5jmumRZrCCtyCcGSsoo8 โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่8กันยายน2564.จาก https://banhuaisaikhao.ac.th/

37 บรรณานุกรม ชุมชนวังโชกุน.เมนูอาหารแก้จน.(ออนไลน์).2014,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จากhttps://issuu.com/pomdemandgroup/docs/____________________ ________________f21de90c095ff1? fbclid=IwAR3jmDMFQ9yWJ8_sTWIVDQogfN6BKmNQrfOnQ7wQeT2 194w1TiJC5JhuYIk ขนมใส่ไส้.วิธีการทำ.(ออนไลน์).2557,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จากhttps://th.openrice.com/th/recipe/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0 %B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B9%84%E 0%B8%AA%E0%B9%89/228? fbclid=IwAR0Gq1FSYS661qA4Zgmt_t69ShrH8rU4vjHN0uEteBgSNow nk_wo43CNvu4 แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลตะปาน. สภาพพื้นที่และเศรษฐกิจ. (ออนไลน์).2556,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จาก http://phunphin.suratthani.doae.go.th/2560/patana54/tapan.doc แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลตะปาน. สภาพพื้นที่และเศรษฐกิจ. (ออนไลน์).2556 สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จากhttp://phunphin.suratthani.doae.go.th/2560/patana54/tapan.doc) วิศวกรสังคมตำบลตะปาน,2564 นาย ธนิก กิจเวชวิสุทธ์, ผู้ให้สัมภาษณ์, วันที่8 กันยายน 2564. นาย ประพันธ์ สุภาภรณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์, วันที่8 กันยายน 2564. นาย ชาญฤทธิ์ เจริญรักษ์, ผู้ให้สัมภาษณ์, วันที่8 กันยายน 2564. นายพิมล เพชรรัตน์, ผู้ให้สัมภาษณ์, วันที่7 ตุลาคม 2564.

38 ภาคผนวก TAPAN SURATTHANI

39 ภาพที่1 ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันสมุนไพรพฤกษาเฮิร์บ,สบู่ฟักข้าว ภาพที่2 ตะกร้ามัดเชือกฟาง ภาพที่3 การผ้าเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ

40 ภาพที่4 น้ำพริกตะไคร้ป้ าหรรษา ภาพที่5 แหล่งท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน OTOP นวัตวิถีวังโชกุน ภาพที่6 โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง ภาพทึ่7 โรงเรียนบ้านบนไร่

41 ภาพที่8 โรงเรียนบ้านปลายคลอง ภาพที่9 โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์ ภาพที่10 โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว ภาพที่11 สัมภาษณ์ นายพิมล เพชรรัตน์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook