Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore โครงร่างวิจัยในชั้นเรียน

โครงร่างวิจัยในชั้นเรียน

Description: โครงร่างวิจัยในชั้นเรียน เอกสารในการเรียนรายวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ 1 รหัสวิชา GD58602

Search

Read the Text Version

โครงร่างวิจยั ในช้ันเรยี น การจดั การเรียนรแู้ บบเชิงรกุ (Active Learning) เพื่อพัฒนาผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียน วชิ าเคมี เรอื่ ง ปริมาณสัมพันธ์ และความพงึ พอใจต่อการจดั การเรียนรู้ ของนกั เรยี นชน้ั มธั ยมศึกษาปีท่ี 4 โดย นางสาวกาญจนา ม่วงฉะครำ่ นักศกึ ษา ป.บณั ฑติ วิชาชพี ครู หมู่ 1 รนุ่ 23 หลกั สตู รประกาศนยี บตั รบัณฑติ วิชาชพี ครู มหาวิทยาลัยราชภฏั หมบู่ า้ นจอมบงึ

เรอ่ื ง การจัดการเรยี นรูแ้ บบเชงิ รกุ (Active Learning) เพอื่ พัฒนาผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี น วิชาเคมี เรื่อง ปริมาณ สมั พันธ์ และความพงึ พอใจตอ่ การจดั การเรยี นรู้ ของนกั เรยี นช้ันมธั ยมศกึ ษาปที ี่ 4 1. ความเป็นมาและความสำคญั ของปัญหา วิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อมนุษย์และสังคมในทุกยุคทุกสมยั เพราะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการ ประกอบอาชีพต่าง ๆ และใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันวิทยาศาสตร์ ช่วยให้เกิดองค์ความรู้และความเข้าใจใน ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทำให้คนมีการพัฒนา กระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผลคิดวิเคราะห์คิดสร้างสรรค์ มี ทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหา ความรู้ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ ตัดสินใจได้โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ หลากหลาย และใช้ประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ในปัจจุบันโลกเป็นสังคมแห่งความรู้ ( Knowledge-based society) ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ เป้าหมาย หนงึ่ ของการศึกษาวิทยาศาสตร์คอื ให้ นกั เรียนทกุ คนเป็นผรู้ ้วู ทิ ยาศาสตร์ (Scientific literacy for all students) ซึ่งสามารถนำเอาความรู้ไปใช้ทั้งในอาชีพและงานทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม รัก ความเป็นไทย มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และ สามารถอยูก่ บั ผอู้ ื่นในสังคมได้อย่างสนั ติ (กระทรวงศึกษาธกิ าร, 2551) การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning หรือ วิธีการเรียนเชิงรุก เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ เน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในด้านการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจ และการนำความรู้ ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันส่งเสริมให้ผู้เรียนตื่นตัวต่อการเรียนรู้การกระตือรือร้นด้าน การรู้คิดมากกว่าที่ผู้สอนสอน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตนเองมากกว่าฟังการบรรยายเพียงอย่าง เดียว การเรียนการสอนเชิงรุก (Active learning) จึงเป็นการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ ผู้เรียนมีประสิทธิภาพสูง ผู้เรียนจะมีความพึงพอใจในรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ กจิ กรรมลงมอื กระทำมากกวา่ การเรยี นท่ีผู้เรียนเปน็ ฝา่ ยน่งั รับความรู้เพียงอยา่ งเดยี ว การจดั กิจกรรมการเรียนรู้ ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจมโนทัศน์ที่สอนได้ถูกต้อง และลึกซึ้ง เกิดความคงทนถาวร ผู้เรียน สามารถเชื่อมโยงความรู้ไดเ้ ป็นอยา่ งดี ผู้เรียนเกดิ ความสนุกสนานจากกิจกรรมที่จดั ขึน้ ในการเรียนการสอน ผู้เรียน สามารถบูรณาการความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ เป็นผู้ลงมอื ปฏิบตั ิกิจกรรมการเรียนด้วยตนเอง การเรียนเชิงรกุ (Active learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้วิธีหนงึ่ ซึ่งมีเทคนิควิธีการที่หลากหลาย ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็น Active learner โดยผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้คอยอำนวย ความสะดวกให้แก่ผู้เรียนมากกว่าจะเป็นผู้บรรยายหรือสอนเองทั้งหมด ผู้สอนจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้

แสวงหาความรู้แลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างความรู้ด้วยตัวเอง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เรียนต้องมี ซึ่งตอบสนองต่อ ทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ช่วยให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการ พัฒนาวิสัยทัศน์การเรียนรู้โดยผสมผสานองค์ ความรู้ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อประสบความสำเร็จ (Prince, 2004 Bonwell, 2003 พินรัฎ สีตลวรางค์, 2560) วิธีการเรียนเชิงรุกสามารถช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียน เรยี นร้แู บบมสี ว่ นรว่ ม และสนับสนนุ ให้ผ้เู รยี นสร้างองค์ความรดู้ ว้ ยตนเอง (Hake, 1998 Watanapokakul, 2006) ด้วยลักษณะเฉพาะของวิชาเคมีเป็นเนื้อหาที่มีความเชื่อมโยงต่อเนื่อง ค่อนข้างซับซ้อน เข้าใจยาก และเป็น นามธรรม สาเหตุสว่ นใหญม่ าจากเด็กไม่อยากเรียน และไม่มคี วามสนใจในการเรียนรู้ แม้ว่าเนอ้ื หาของรายวิชาเป็น วิชาพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ แต่การเรียนการสอนวิชาเคมีส่วนใหญ่ ผู้สอนมุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีคำนวณ ท่องจำเนอ้ื หาและสูตรมากกวา่ ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏบิ ตั ิ คิดวเิ คราะห์ แสวงหาความรู้ และสามารถแก้ปญั หาทาง วิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนจำนวนมากคิดไม่เป็น ทำไม่เป็น ทางานร่วมกับผู้อื่นไม่ได้และไม่สามารถ เชอื่ มโยงความร้เู พ่ือนำมาใช้ในชวี ิตประจำวันได้ ทำใหว้ ิชาเคมีเปน็ วชิ าท่ยี ากตอ่ การเรียนรแู้ ละเข้าใจในเนื้อหา เป็น ผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายยังไม่ประสบ ผลสัมฤทธิ์ที่ดี จากการศึกษาคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 6 ปกี ารศกึ ษา 2564 มคี ะแนนเฉลยี่ 26.36 (โรงเรยี นหนองปลาหมอพิทยาคม2564) จากปัญหาดังกล่าว ได้มีความพยายามที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้วิจัยจึงมี ความสนใจทีจ่ ะศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นวิชาเคมี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งที่มีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย สามารถกระตุ้น ความสนใจ ด้วยกิจกรรมที่สนุก และท้าทายความสามารถของผู้เรียน ให้เกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมที่ผู้สอนจัดให้ ผู้เรียนไดล้ งมือปฏิบัติ ได้อภิปรายร่วมกันและสรุปรวบรวมข้อมลู เพื่อนำไปสูก่ ารแก้ปญั หา อีกทั้งยังช่วยตรวจสอบ ความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน พุทธศักราช 2551 2. วตั ถปุ ระสงคข์ องการวิจัย 1. เพอื่ เปรียบเทยี บผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนกอ่ นเรียนและหลงั เรยี นของนกั เรียนที่ได้รบั การจดั การ เรยี นร้แู บบเชงิ รกุ (Active learning) 2. เพอื่ ศกึ ษาความพงึ พอใจตอ่ การจัดการเรยี นร้ขู องนกั เรียนที่ไดร้ บั การจัดการเรียนรู้แบบเชงิ รุก (Active learning) 3. สมมติฐานของการวิจัย 1. นกั เรยี นมผี ลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นท่ีไดร้ บั การจดั การเรยี นรู้แบบเชงิ รกุ (Active learning) หลงั เรียนสงู กวา่ กอ่ นเรียน 2. นกั เรยี นทไ่ี ดร้ บั การจดั การเรยี นรู้แบบเชงิ รกุ (Active learning) มคี วามพึงพอใจในระดบั มากขน้ึ ไป

4. ขอบเขตของการวจิ ัย 4.1 ประชากร นกั เรยี นชน้ั มัธยมศกึ ษาปที ี่ 4 โรงเรยี นหนองปลาหมอพิทยาคม ตำบลหนองปลาหมอ อำเภอบ้านโปง่ จงั หวัดราชบุรี จำนวน 1 หอ้ ง นกั เรยี น 11 คน 4.2 กลมุ่ ตัวอยา่ ง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนหนองปลาหมอพิทยาคม ตำบลหนองปลาหมอ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 11 คน ซึ่งเป็นนักรียนแผนการเรียน วทิ ยาศาสตร์ – คณติ ศาสตร์ 4.3 เนอ้ื หาทใ่ี ช้ในการศกึ ษา เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเนื้อหาวิชาเคมี เรื่องปริมาณสัมพันธ์ ตามหนังสือรายวิชา เพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี เล่ม 2 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 4.4 ตวั แปรทศี่ กึ ษา 4.4.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ รูปแบบการจดั การเรยี นรู้ตามแผนการจัดการเรยี นรู้แบบเชิงรุก (Active learning) - กลุ่มทดลอง จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) ประกอบด้วยกจิ กรรมการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรยี นรู้ 5 ข้นั ตอน ( 5 STEPs) - ขน้ั ตอนที่ 1 การเรยี นรู้ต้งั คำถาม หรอื ขนั้ ต้งั คำถาม - ขน้ั ตอนที่ 2 การเรยี นร้แู สวงหาสารสนเทศ - ขั้นตอนที่ 3 การเรยี นร้เู พือ่ สรา้ งองคค์ วามรู้ - ขั้นตอนที่ 4 การเรียนรู้เพอื่ การสื่อสาร - ขน้ั ตอนที่ 5 การเรียนรู้เพอ่ื ตอบแทนสังคม 4.4.2 ตวั แปรตาม ได้แก่ 1) ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนของผู้เรยี นกอ่ น และหลงั เรียน 2) ความพึงพอใจต่อการจดั การเรยี นรแู้ บบเชิงรุก (Active learning) 5. ระยะเวลาทใ่ี ชใ้ นการศกึ ษา ระยะเวลาทใ่ี ชใ้ นการทำวิจัย ดำเนนิ การใน ภาคเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา 2565 ใช้เวลาสอนทั้งหมด 8 สัปดาหจ์ านวน 16 ชั่วโมง โดยเลือกจำนวน 1 แผนการจัดการเรยี นรู้ เรื่อง เคร่อื งกลอยา่ งง่าย ซึง่ เปน็ แผนการจดั การเรยี นร้แู บบเชงิ รกุ (Active learning) 6. นิยามศพั ทเ์ ฉพาะ 1. การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) หมายถึง รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมของ ผู้เรียน และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ผู้เรียนจะเชื่อมโยงความรู้เดิมและความรู้ใหม่ได้

จากการคิด การได้ปฏิบัติระหว่างการเรียนการสอนซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบการจัดการ เรียนรู้แบบ Active Learning ที่ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขน้ั ตอน ( 5 STEPs) ได้แก่ ข้นั ตอนที่ 1 การเรยี นรู้ตง้ั คำถาม หรอื ข้ันตงั้ คำถาม (Learning To Question) ขั้นตอนที่ 2 การเรยี นร้แู สวงหาสารสนเทศ (Learning To Construct) ขน้ั ตอนท่ี 3 การเรยี นรู้เพือ่ สร้างองคค์ วามรู้ (Learning To Construct) ขน้ั ตอนที่ 4 การเรยี นรเู้ พื่อการสอ่ื สาร (Learning To Communicate) ขั้นตอนที่ 5 การเรยี นรเู้ พ่อื ตอบแทนสังคม (Learning To Service) 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่แสดงออกทางด้าน พุทธิพิสัย ซึ่งวัดจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทำแบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ที่ผู้วิจัยสร้าง ขึ้นตามจุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ เพื่อทำการ ทดสอบก่อนเรียน (Pretest) และหลังเรียน (Posttest) โดยวัดระดับความสามารถ ดังนี้ 1. จำ 2. เข้าใจ 3. นำไปใช้ 4. การนำไปใช้ 3. ความพงึ พอใจต่อการจัดการเรียนรู้ หมายถึง ความรู้สึก อารมณ์ หรือทัศนคติท่ีผู้เรียนมตี ่อส่ิง ใดสิ่งหนึ่งในแง่มุมต่าง ๆ ในงานวิจัยประเมินจากแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการ เรียนรู้ โดยใช้แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 15 ข้อที่ครอบคลุม องคป์ ระกอบทั้ง 4 ดา้ น ได้แก่ ด้านบทบาทผูส้ อน ดา้ นบทบาทนกั เรยี น ดา้ นวิธกี ารจัดการเรยี นรู้ และด้าน การวดั และประเมนิ ผล บรรณานกุ รม กรมวชิ าการกระทรวงศึกษาธิการ. (2539). การประเมนิ จากสภาพจรงิ . กรงุ เทพฯ: ครุ สุ ภา ลาดพร้าว. กระทรวงศกึ ษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน พุทธศกั ราช 2551. หนว่ ยศึกษานเิ ทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน. (2562). แนวทางการ นเิ ทศเพือ่ พัฒนาและสง่ เสรมิ การจัดการเรยี นรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลด เวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. _______. (2562). แนวทางการนเิ ทศบรู ณาการโดยใช้พน้ื ทีเ่ ป็นฐานเพื่อพฒั นาคณุ ภาพการศึกษาสู่ การนิเทศภายในโรงเรยี น โดยใชห้ ้องเรยี นเป็นฐานเพ่ือพฒั นาคณุ ภาพของผู้เรียน. _______. (2562). หลักสตู รฝกึ อบรมการนเิ ทศการจดั การเรยี นรเู้ ชงิ รุก (Active Learning) โดย กระบวนการCoaching & Mentoring. จรรยา ดาสา. 2552. 15 เทคนิคในการจดั การเรยี นร้ทู เี่ นน้ การเรยี นเชิงรกุ . นิตยสาร สสวท. :36(163) : หน้า72-76. วุทธศิ กั ดิ์ โภชนุกูล, 2553. Active Learning [Online], Available : http://www.pochanukul.com/ ?p=169 มหาวิทยาลยั ศรีปทมุ . 2556. การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของอาจารย์

มหาวทิ ยาลยั ศรีปทุม. สบื คน้ จาก http://www.spu.ac.th/tlc/files/2013/05/kmactivelearning- pdf. วันที่สบื คน้ 5 มีนาคม 2563. รสติ า รักสกลุ . 2557. สัมฤทธผิ ลของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยใช้ Active Learning.วทิ ยานพิ นธ์ครศุ าสตร์อุตสาหกรรมมหาบณั ฑิต สาขาวชิ าคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยสี ารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยพี ระจอมเกล้าธนบุรี. สาวติ รี โรจนะสมิต. 2555. การจัดการเรียนรดู้ ส้ ยวธิ ีการเรยี นเชงิ รุก (Active Learning) เพื่อพฒั นา พฤตกิ รรมการเรียนรู้ และแนวคิดเหี่ยวกับการจัดการเรียนรขู้ องนักศกึ ษามหาวิทยาลัย ราชภัฎพระนคร. สาขาวชิ าวิทยาศาสตร์ท่วั ไป วิทยาลยั การฝกึ หัดครู มหาวทิ ยาลัยราชภัฎ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook