Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กฎหมายครู

กฎหมายครู

Published by นฤเทพ พรหมเทศน์, 2017-12-06 23:02:01

Description: law53-03

Search

Read the Text Version

~ 77 ~  องคประกอบความผดิ ตามมาตรา 94 วรรคสาม 1. เสพยาเสพติด หรือสนับสนุนใหผอู ืน่ เสพยาเสพตดิ 2. เลนการพนนั เปน การเลน อยา งสมาํ่ เสมอตอ เน่ืองจนตดิ เปนนิสัย 3. กระทาํ การลว งละเมิดทางเพศตอ ผูเรยี นหรอื นกั ศกึ ษา “การเสพยาเสพติด” หมายถึง เสพของมึนเมาซ่ึงตองหามตามกฎหมาย เชน เสพเฮโรอีนฝน กัญชา ยาบา เปนตน หรือสงเสริมสนับสนุน รวมถึงชักชวน จําหนายใหผูอื่นเสพดวยซง่ึ การกระทาํ ดงั กลา วเปน ความผิดในคดีอาญาดวย “เลนการพนัน” หมายถึง เลนการพนันเอาทรัพยสินกัน การพนันมีทั้งประเภทท่ีกฎหมายหามขาด และประเภทที่จะเลนไดตอเม่ือไดรับอนุญาตจากทางการ อยางไรก็ดี กรณีจะเปนความผิดตามวรรคสามตอเม่ือเปน การเลนเปนอาจณิ กลา วคอื เลนอยา งสมา่ํ เสมอจนเปน นสิ ยั เทานัน้ คําวา “ลวงละเมิดทางเพศ” 26 หมายถึง พฤติกรรมท่ีละเมิดสิทธิของผูอ่ืนในเรื่องเพศไมว าจะเปน คําพูด สายตา และการใชทาที รวมไปจนถึงการบงั คบั ใหม เี พศสัมพันธ หรือการขม ขนื อยางไรก็ดี การพิจารณาพฤติกรรมใด ๆ วาเปนการลวงละเมิดทางเพศหรือไม จะตองดูจากเจตนาของผูกระทําเปนสําคัญวามีความคิดเจตนาที่เปนอกุศลจิตทางเพศหรือไม เชนการโอบกอดนักเรียนดวยความเอ็นดูในเวลา สถานท่ี และโอกาสอันควร ยอมแตกตางกับการโอบกอดนักเรียนในที่ลับตาผูคนหรือในผับในบาร หรือรานอาหารที่จําหนายสุรา หรือในขณะดมื่ สุรา เหลา นต้ี อ งดเู จตนาของผูกระทําและพฤตกิ รรมแวดลอ มประกอบดว ย การลวงละเมิดทางเพศ เปนกรณีความผิดที่เปล่ียนแปลงไปจากเดิม โดยมุงหมายที่จะวางกรอบความประพฤติของผูมีวิชาชีพครูใหเหมาะสมกับการเปนวิชาชีพช้ันสูง ที่นอกจากจะมีหนาท่ีอบรมส่ังสอนศิษยใหเปนคนดีคนเกงแลว ยังจะตองเปนผูท่ีพรอมดวยคุณธรรมจรยิ ธรรม เปนแบบอยางทด่ี ีของศิษยและชุมชนตามความคาดหวงั ของสังคมดวย                                                           26 สาํ นกั งานกจิ การสตรแี ละครอบครวั กระทรวงพฒั นาสงั คมและความมัน่ คงของมนษุ ย www.women family.go.th2women2/Gender New : 8 มีนาคม 2553.

~ 78 ~  ตวั อยา งพฤตกิ ารณความผิด - เลน การพนนั ในสถานศกึ ษา หรอื หนวยงานทีต่ นสังกัดอยู ((ไลออก) - เลนการพนันในเวลาปฏิบัติหนา ทีร่ าชการ (ไลอ อก) - เลนการพนนั กบั เพ่อื นรวมงานหรือผเู รยี นหรอื นักศึกษาในสถานศกึ ษาเดียวกัน (ไลออก) - เปนเจา มอื หรือรวมเปนผดู าํ เนินการจัดใหมกี ารเลน การพนนั (ไลออก) - การมีเพศสัมพันธ หรือการขอมีเพศสัมพันธ หรือการลวงละเมิดทางเพศถึงข้ันพยายามมีเพศสัมพันธก ับผูเรยี นหรือนักศกึ ษาท่อี ยูในสถานศกึ ษา (ไลอ อก) - การมีพฤติกรรมทางกายท่ีเปนการสัมผัสเนื้อตัว โดยสอใหเห็นถึงเจตนาหรือจุดมงุ หมายทจ่ี ะดาํ เนนิ ไปสูการมีเพศสัมพันธ (ปลดออก) - การมีพฤติกรรมทางกายอันหน่ึงอันใดหรือหลายพฤติกรรมประกอบกัน แมจะไมมีการสัมผัสเนื้อตัวแตมีหรือสอใหเห็นถึงเจตนาลวงเกินความเปนสวนตัว หรือความรูสึกสวนตัวในทางเพศ และมีผลทําใหผูถูกกระทําไดรับความอับอาย ความอึดอัด ความคับของใจ (เชน การมองในลักษณะถาํ้ มอง การมองดว ยเจตนาลวงเกินทางเพศ การใหดูส่ือลามกอนาจาร การสั่งใหนักเรียนแสดงทาทางทไ่ี มเ หมาะสมหรอื ใหแตงกายท่ไี มเหมาะสมในทางเพศ เปนตน : ปลดออก) ตัวอยางการกระทําที่ศาลวินิจฉัยวาเปน “ผูประพฤติชั่วอยางรายแรง” ตามมาตรา 94วรรคสองและวรรคสาม - ใชเอกสารหนังสือรับรองเงินเดือนปลอมไปประกันตัวจําเลยในคดีอาญา จนถูกศาลพิพากษาลงโทษฐานใชเอกสารปลอมและละเมิดอํานาจศาล (คําพิพากษาศาลปกครองกลางท่ี 1608/2547) - มียาเสพติดใหโทษประเภทที่ 1 (ยาบา) ไวในครอบครองเพ่ือจําหนาย (คําพิพากษาศาลปกครองกลางท่ี 1022/2548) - กระทําอนาจารเด็กนักเรียนหญิงซึ่งเปนศิษยของตน (คําพิพากษาศาลปกครองกลางที1่ 239/2546 และที่ 676/2547)

~ 79 ~  - ลอลวงนักเรียนหญิงซ่ึงเปนศิษยไปขมขืนกระทําชําเรา (คําพิพากษาศาลปกครองกลางท่ี 1006/2547 และที่ 787/2548) - มีความสัมพันธฉันชูสาวกับนักศึกษาหญิงซ่ึงเปนศิษยในขณะที่ตนเองมีภรรยาโดยชอบดว ยกฎหมายอยแู ลว (คําพิพากษาศาลปกครองสงู สดุ ท่ี อ.96/2547) - กระทําอนาจารและขมขืนกระทําชําเราขาราชการครูสตรีซึ่งเปนผูใตบังคับบัญชา(คาํ พิพากษาศาลปกครองกลางท่ี 679/2548) มาตรา 95 ใหผูบังคับบัญชามีหนาท่ีเสริมสรางและพัฒนาใหผูอยูใตบังคับบัญชามีวินัยปองกันมิใหผูอยูใตบังคับบัญชากระทําผิดวินัย และดําเนินการทางวินัยแกผูอยูใตบังคับบัญชาซ่ึงมกี รณอี นั มมี ลู ท่ีควรกลาวหาวา กระทาํ ผิดวินัย การเสริมสรางและพัฒนาใหผูอยูใตบังคับบัญชามีวินัย ใหกระทําโดยการปฏิบัติตนเปนแบบอยางท่ีดี การฝกอบรม การสรางขวัญและกําลังใจ การจูงใจ หรือการอ่ืนใดในอันท่ีจะเสริมสรางและพัฒนาเจตคติ จิตสํานึก และพฤติกรรมของผูอยูใตบังคับบัญชาใหเปนไปในทางทมี่ ีวนิ ัย การปองกันมิใหผูอยูใตบังคับบัญชากระทําผิดวินัย ใหกระทําโดยการเอาใจใสสังเกตการณ และขจัดเหตุท่ีอาจกอ ใหเกิดการกระทําผิดวินัย ในเร่ืองอันอยูในวิสัยที่จะดําเนินการปองกนั ตามควรแกกรณีได เมอ่ื ปรากฏกรณมี มี ูลท่คี วรกลาวหาวา ขาราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษาผูใดกระทําผิดวินยั โดยมพี ยานหลกั ฐานในเบ้ืองตนอยแู ลว ใหผ ูบ งั คับบัญชาดําเนนิ การทางวนิ ยั ทนั ที เมื่อมีการกลาวหาโดยปรากฏตัวผูกลาวหาหรือกรณีเปนที่สงสัยวา ขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผใู ดกระทําผดิ วินยั โดยยังไมมพี ยานหลกั ฐาน ใหผบู งั คับบัญชารบี ดาํ เนนิ การสบื สวนหรือพิจารณาในเบื้องตนวากรณีมีมูลท่ีควรกลาวหาวาผูนั้นกระทําผิดวินัยหรือไม ถาเห็นวากรณีไมมีมลู ท่ีควรกลา วหาวา กระทําผิดวินัยจึงจะยุติเร่ืองได ถาเห็นวากรณีมีมูลท่ีควรกลาวหาวากระทําผิดวนิ ยั กใ็ หด าํ เนนิ การทางวนิ ยั ทันที

~ 80 ~  การดําเนินการทางวินัยแกผูอยูใตบังคับบัญชาซ่ึงมีกรณีอันมีมูลท่ีควรกลาวหาวากระทําผิดวินยั ใหด ําเนินการตามทบ่ี ญั ญตั ิไวในหมวด 7 ผูบังคับบัญชาผูใดละเลยไมปฏิบัติหนาที่ตามมาตราน้ีและตามหมวด 7 หรือมีพฤติกรรมปกปอง ชวยเหลือเพ่ือมิใหผูอยูใตบังคับบัญชาถูกลงโทษทางวินัย หรือปฏิบัติหนาที่ดังกลาวโดยไมส จุ ริต ใหถ ือวาผูนั้นกระทาํ ผิดวินัย มาตรานี้กาํ หนดหนา ทข่ี องผูบ งั คับบัญชา ดงั น้ี 1. เสรมิ สรา งและพัฒนาใหผ ูอ ยูใตบ งั คบั บัญชามวี ินัย 2. ปอ งกันมใิ หผ ูอ ยูใตบังคบั บัญชากระทําผิดวินัย 3. ดาํ เนินการทางวนิ ัยแกผ ูอ ยูใตบังคับบญั ชาทก่ี ระทําผิดวนิ ัย ทง้ั น้ี ถา ผบู ังคับบญั ชาผใู ดไมป ฏบิ ัตหิ นา ทดี่ งั กลาว หรือปฏิบัติโดยไมสุจริต ผูบังคับบัญชาผูน ัน้ จะมีความผิดทางวินัย วิธีเสริมสรางและพัฒนา ใหผูอยูใตบังคับบัญชามีวินัยน้ัน กฎหมายไดบัญญัติแนวทางดําเนินการไว ดงั น้ี 1) ผูบังคบั บญั ชาตอ งปฏบิ ตั ติ นเปนแบบอยา งทดี่ ีของผอู ยูใตบ งั คับบัญชาในการรกั ษาวนิ ัย 2) ฝกอบรมผอู ยใู ตบงั คบั บญั ชาใหม วี ินยั 3) สรา งขวญั และกาํ ลงั ใจใหผูอ ยูใตบังคบั บญั ชามีวินยั 4) จูงใจใหผอู ยใู ตบ ังคบั บญั ชามีวนิ ัย 5) ดําเนินการอยางอ่ืนใดที่จะเสริมสรางและพัฒนา ทัศนคติ จิตสํานึก และพฤติกรรมของผูอยใู ตบังคบั บัญชาใหเ ปน ไปในทางทีม่ ีวนิ ัย วิธีปองกันมิใหผูอยูใตบังคับบัญชากระทําผิดวินัยน้ัน กฎหมายไดบัญญัติแนวทางดําเนนิ การไว ดงั น้ี 1) เอาใจใสส ังเกตการณวาจะมเี หตอุ นั อาจกอใหเกดิ การกระทาํ ผดิ วินัยอยางใดขึ้นบางหรอื ไม

~ 81 ~  2) ขจัดเหตทุ ่ีอาจกอใหเกดิ การกระทําผดิ วินัย วธิ ีดําเนนิ การทางวินยั กฎหมายไดบญั ญัติแนวทางปฏบิ ตั ิกอ นดาํ เนินการทางวินัยไว ดงั นี้ 1) ถามีมลู วา ผูอยใู ตบ งั คบั บญั ชาผูใดกระทาํ ผิดวินัย โดยมีพยานหลักฐานในเบื้องตนอยูแลวก็ใหด าํ เนินการทางวนิ ยั ทนั ที 2) ถา มีผูก ลา วหา (ตองปรากฏตัวผูกลาวหา ไมใชบัตรสนเทห) หรือผูบังคับบัญชาสงสัยวาผูอยูใตบังคับบัญชาผูใดกระทําผิดวินัย โดยยังไมมีพยานหลักฐาน ผูบังคับบัญชาตองรีบสืบสวนหรือพิจารณาวากรณีมีมูลท่ีควรกลาวหาหรือไม ถาไมมีมูลก็ยุติเร่ืองได ถามีมูลก็ใหดําเนินการทางวินยั ทันที สําหรับการดําเนินการมีขอพึงสังเกตวาผูบังคับบัญชาจะเก็บเรื่องท่ีมีผูกลาวหาผอู ยูใตบงั คับบัญชาของตนไวโดยไมด ําเนินการอยางใดหาไดไม จะตองรีบสืบสวนหรือพิจารณาวา กรณมี มี ลู ท่ีควรกลาวหาหรอื ไม ถา สืบสวนหรือพิจารณาแลวเห็นวากรณีไมมีมูลจึงจะยุติเร่ืองไดอยางไรก็ดีกรณีที่มีผูกลาวหาซึ่งผูบังคับบัญชาจะตองสืบสวนหรือพิจารณาดังกลาวน้ัน หมายถึงการกลา วหาโดยปรากฏตวั ผูกลา วหาเทา นั้น ถา เปน บัตรสนเทห ก ็ไมจาํ ตอ งดําเนินการดงั กลาว มีขอพึงสังเกตอีกประการหนึ่งวา เจตนารมณของกฎหมายไมตองการใหผูบังคับบัญชาดําเนนิ การทางวนิ ัยแกผ ูอยใู ตบงั คบั บญั ชาท้ังท่ยี ังไมแ นชัดวาเปนกรณีมีมูล จึงตองใหผูบังคับบัญชาสบื สวนหรือพจิ ารณาเสียกอนวากรณีมีมูลหรือไม เม่ือเห็นวากรณีมีมูล จึงจะดําเนินการทางวินัยได ทงั้ นี้ เพอ่ื ปองกันมใิ หข าราชการเสยี ชือ่ เสียงหรือเสยี สทิ ธิประโยชนไปโดยไมส มควร “กรณีมมี ูล” หมายความวา มีทีม่ าหรอื มีตน เหตุอันเปนท่ีมาของเร่อื งนนั้ ๆ องคประกอบความผิด ตามมาตรา 95 1. เปนผูบงั คับบัญชา 2. ไมดําเนินการทางวินัยทันทีเม่ือมีพยานหลักฐานเบ้ืองตนอันมีมูลวาผูอยูใตบังคับบัญชากระทําผดิ วินัย

~ 82 ~  3. ปกปอ งชวยเหลือผูอยูใตบ งั คบั บญั ชา 4. ดําเนินการโดยไมสุจรติ ตวั อยา งพฤติการณความผดิ - เจตนาหรือละเลยไมนําพาริเริ่มดําเนินทางวินัยเมื่อมีการกลาวหาหรือรองเรียนวามีการกระทําผดิ วนิ ัย โดยมพี ยานหลกั ฐานในเบื้องตน แลว (ภาคทัณฑ) - กรณีท่ีเปนการกลาวหาโดยหนวยงานของรัฐ เชน สตง., ปปช. ซึ่งไดมีการตรวจสอบสืบสวน หรอื สอบสวนมากอ นแลว ผบู งั คับบัญชาไมไดดาํ เนนิ การทางวินยั ทนั ที (ภาคทัณฑ) - เมอ่ื มผี กู ลาวหาหรอื สงสัยวาผูใ ดกระทําผดิ วินยั แตย งั ไมม พี ยานหลกั ฐาน ผบู ังคบั บัญชาตองสืบสวนหรือพิจารณาในเบ้ืองตนวาเปนกรณีมีมูลท่ีควรกลาวหาวาผูน้ันกระทําผิดวินัยหรอื ไม (ภาคทัณฑ) - ไมส่งั ยตุ เิ ร่ืองเม่อื พบวาเปน กรณไี มม ีมลู (ภาคทัณฑ) - พบวาเปนกรณีมีมูล แตผูบังคับบัญชาไมดําเนินการตอไป (ตัดเงินเดือน 5% เปนเวลา1 เดือน) - กล่ันแกลงผูอยูใตบังคับบัญชาในการกลาวหาหรือดําเนินการทางวินัย (ตัดเงินเดือน5% เปนเวลา 1 เดอื น) มาตรา 96 ขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผูใดฝาฝนขอหามหรือไมปฏิบัติตามขอปฏิบัติทางวินัยตามท่ีบัญญัติไวในหมวดน้ี ผูนั้นเปนผูกระทําผิดวินัยจักตองไดรับโทษทางวนิ ัย เวน แตมีเหตุอนั ควรงดโทษตามท่ีบัญญัติไวในหมวด 7 โทษทางวินยั มี 5 สถาน คือ (1) ภาคทัณฑ (2) ตัดเงนิ เดือน (3) ลดข้ันเงินเดอื น (4) ปลดออก

~ 83 ~  (5) ไลอ อก ผูใดถกู ลงโทษปลดออกใหผนู ั้นมีสทิ ธิไดรบั บําเหน็จบาํ นาญเสมอื นวาเปนผลู าออกจากราชการ มาตรานี้กําหนดโทษทางวินัยไว 5 สถานโทษ โทษภาคทัณฑ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือนเปนโทษวินัยไมรายแรง โทษปลดออก ไลออก เปนโทษวินัยอยางรายแรง และโทษปลดออกมสี ทิ ธิไดร ับบาํ เหนจ็ บาํ นาญ โทษ 5 สถานดังกลา วขางตน อาจแบง ออกเปน 3 ระดบั ดังน้ี 1. โทษสําหรับการกระทําผิดวินัยอยางรายแรง ไดแก ไลออก ปลดออก ซึ่งหากมีเหตุอันควรลดหยอนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได แตหามมิใหลดโทษต่ํากวาปลดออก(มาตรา 99) 2. โทษสําหรับความผิดวินัยที่ไมถึงขั้นรายแรง ไดแก ลดข้ันเงินเดือน หรือตัดเงินเดือนซ่ึงหากมีเหตุอันควรลดหยอนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษจากลดขั้นเงินเดือนเปนตดั เงนิ เดือน หรอื จากโทษตัดเงินเดอื นเปน ภาคทัณฑกไ็ ด 3. โทษสําหรับความผิดวินัยเพียงเล็กนอย ไดแก ภาคทัณฑ และหากเปนความผิดวินัยครั้งแรกจะงดโทษใหโดยวา กลาวตักเตือน หรอื ใหทําทณั ฑบนเปนหนงั สือไวก ็ได การลงโทษผูกระทําผิดวินัยในแตละระดับน้ัน ผูมีหนาที่พิจารณาเสนอความเห็นจะตองใชดุลพินิจในการพิจารณาหรือการสั่งลงโทษใหเหมาะสมกับความผิดตามท่ีกฎหมายกําหนดและนอกจากนี้จะตองนําหลักมโนธรรม หลักความเปนธรรม และนโยบายของทางราชการมาประกอบการพจิ ารณาดวย อนึ่ง โทษลดขั้นเงินเดือนอาจไมมีผลใชบังคับกับตําแหนงบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 38 ค. (2) ซ่ึงนําระบบการเลื่อนเงินเดือนตามกฎหมายวาดวยระเบียบขาราชการพลเรือนมาใชบ ังคบั โดยอนุโลม และปจจบุ นั ไมมโี ทษใหออก การใหออกเพ่ือรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนไมใชการลงโทษ อยางไรก็ดี ถาผูถูกส่ังใหออกเห็นวาไมไดรับความเปนธรรม ก็มีสิทธิรองทุกขตอ ก.ค.ศ. ได

~ 84 ~  มาตรา 97 การลงโทษขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใหทําเปนคําส่ัง วิธีการออกคําสั่งเกี่ยวกับการลงโทษใหเปนไปตามระเบียบของ ก.ค.ศ. ผูส่ังลงโทษตองสั่งลงโทษใหเหมาะสมกับความผิด และมิใหเปนไปโดยพยาบาท โดยอคติ หรือโดยโทสะจริต หรือลงโทษผูที่ไมมีความผิด ในคําส่ังลงโทษใหแสดงวาผูถูกลงโทษกระทําผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใดและมเี หตุผลอยางใดในการกาํ หนดสถานโทษเชน น้นั มาตราน้ีกําหนดวิธกี ารสงั่ ลงโทษโดยตอ งทําเปนหนงั สือและมรี ายละเอียดของคําส่งั ดังนี้ 1. ทาํ เปน คําสัง่ 2. วธิ กี ารออกคาํ สั่งเปนไปตามระเบยี บ ก.ค.ศ. 27 3. ตอ งสง่ั ลงโทษใหเหมาะสมกับความผดิ 4. ตอ งไมเปน การลงโทษโดยพยาบาท อคติ หรอื โดยโทสะจริต หรอื ลงโทษผทู ี่ไมมคี วามผดิ 5. คาํ สงั่ ลงโทษใหร ะบกุ รณกี ระทําผิดมาตราทีป่ รบั บทความผิด 6. เหตุผลในการกําหนดสถานโทษ                                                           27 ระเบยี บ ก.ค.ศ.วา ดวยวธิ ีการออกคําส่งั เก่ียวกับการลงโทษทางวนิ ัยขาราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศกึ ษา พ.ศ. 2548


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook