Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือ Admin smss

คู่มือ Admin smss

Published by ปาริชาติ ปิติพัฒน์, 2021-11-09 16:27:02

Description: คู่มือ Admin smss

Search

Read the Text Version

คู่มือ ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา (School Management Support System) SMSS Version 5.0 SMSSเอกสารประกอบการฝึกอบรมปฏิบัติการ กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 คำนำ ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา (SMSS) พัฒนาขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้สถานศึกษาใช้บริหารจัดการงานของสถาน ศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น ภายใต้หลักการจัดการ สมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) SMSS เป็น Software ระบบเปิดที่ให้โอกาสทุกคนสามารถพัฒนา โปรแกรมได้ สามารถพัฒนาต่อยอด เพื่อตอบสนองงานตามภารกิจของ สถานศึกษาให้สมบูรณ์ คู่มือ SMSS เป็น Version 5.0 เล่มนี้ เป็นเอกสารที่คณะทำงาน รวบรวมจัดทำขึ้น เพื่อเป็นเอกสารประกอบการฝึกอบรมอีกทั้งสถานศึกษาที่ ไม่ได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรม สามารถใช้คู่มือเล่มนี้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง คณะทำงาน ก

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 สารบัญ ส่วนที่ 1 การจัดการระบบ 1 ความเป็นมา 1 โครงสร้างของระบบ 3 วัตถุประสงค์ 3 การใช้งานส่วนการจัดการระบบ ส่วนที่ 2 การใช้งานระบบ 8 การรับ/ส่งไปรษณีย์ภายในหรือ กับไปรษณีย์ สพท. 8 การส่งไปรษณีย์ภายในหรือกับ ไปรษณีย์ สพท. 11 การรับไปรษณีย์ภายใน ส่วนที่ 3 ระบบงานย่อย 13 ระบบภารกิจผู้อำนวยการ 14 ระบบการรักษาราชการแทน 16 ระบบนิเทศ ติดตาม และประเมินผล 19 ระบบสิทธิและโอกาสทางการศึกษา 23 ระบบทดสอบการศึกษา 32 ระบบข้อมูลบุคลากร ข

ส่วนที่ 1 การจัดการระบบ

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 ความเป็นมา การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนำมาซึ่งการเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต และวิธีการทำงานเป็นอย่างมาก วิธีการสมัยใหม่ทำความชัดเจนในรายละเอียด ขณะเดียวกันให้ บทสรุปในภาพใหญ่ ซึ่งไม่อาจทำงานได้โดยใช้เครื่องมือเดิม ๆ ที่เคยใช้อีกต่อไป ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา (SMSS) เป็นเครื่องมือที่ออกแบบและพัฒนา ขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่การบริหารจัดการสมัยใหม่ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็น ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System) โดยหวังว่าจะก่อให้เกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการจัดการการศึกยา ส่งผลกระทบในทางบวกอย่างใหญ่หลวงต่อ ประเทศชาติ โครงสร้างของระบบ โปรแกรม SMSS พัฒนาขึ้นด้วยภาษา PHP และฐานข้อมูล MysQL โปรแกรมได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของการใช้งานปกติทั่วไป และส่วนของการจัด การระบบ ผู้ใช้ปกติทั่วไป login ที่ htp:/xcx.xxx.xxx.xxx/smss (ค่านี้แตกต่างกันไปแต่ละสถาน ศึกษา) ส่วนผู้ดูแลระบU login ที่ htp:/xxx.xx.xxx.xxx/smss/admin ซึ่งเป็นส่วนของการจัดการ ระบบ สามารถ Login ได้ฉพาะสิทธิ์ระดับผู้ดูแลระบบ SMSS เท่านั้น 1

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 SMSS มีส่วนของการใช้งานทั่วไปผ่าน Smart Phone เพื่อตอบสนองวิถีชีวิตใหม่ของยุค ปัจจุบัน เมื่อเรียกใช้งานผ่าน Smart Phone ให้หน้า (Page) ที่แตกต่างไป สะดวกต่อการใช้งานเบื้องต้น 2

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 วัตถุประสงค์ ส่วนของการจัดการระบบเป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานในระดับโครงสร้างใหญ่หน้าที่หลัก คือ กำหนดข้อมูลพื้นฐานกลาง และกำหนดผู้ทำหน้าที่ดูแลระบบงานย่อย (Module) เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ งานย่อยบริหารจัดการระบบงานย่อยต่อไป การใช้งานส่วนการจัดการระบบ เมื่อ Login แล้ว จะปรากฏส่วนของการจัดการระบบดังภาพ 1. ตั้งค่าระบบ เมนูแรก ได้แก่ ตั้งค่าระบบ มีรายการเมนู ได้แก่ การตั้งชื่อโรงเรียน การกำหนดกลุ่ม และรหัสเชื่อมระบบ AMSS++ 1.1 ชื่อโรงเรียน กำหนดชื่อโรงเรียนเพื่อเป็นชื่อเว็บ และเป็นส่วนของการอ้างอิงชื่อโรงเรียนเพื่อใช้ งานกับระบบงานย่อยต่าง ๆ 3

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 1.2 กลุ่ม(งาน) กำหนดกลุ่ม (งาน) ของโรงเรียน โดยทั่วไปประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ บริหารวิชาการ บริหารงบประมาณ บริหารงานบุคคล และบริหารทั่วไป ซึ่ง SMSS ได้กำหนดไว้แล้ว ผู้ดูแลระบบ สามารถเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงได้ (แนะนำให้ใช้ 4 กลุ่ม เท่านั้น) 1.3 รหัสเชื่อมต่อAMSS++ รหัสเชื่อมต่อนี้จะใช้ในกรณีที่ประสงค์เชื่อมต่อกับระบบ AMSS++ เพื่อความสะดวก ในการใช้งาน และการส่งต่อข้อมูลถึงกันของสองระบบ รหัสโรงเรียน : คือรหัสที่กา หนดไว้ตรงกันระหว่าง SMSS และ AMSS++ ควรเป็น รหัสมาตรฐาน สพฐ. รหัส Sync : เป็นรหัส(ลับ)ที่สถานศึกษากา หนดขึ้นเพื่อกา หนดไว้ที่ SMSS และ AMSS++ URL ของ AMSS++ : เป็น URL ของ AMSS++ ของต้นสังกัด ถ้ากา หนด URL จะมีผล ให้เกิดเมนูสา หรับเปิดใช้ AMSS++ ภายใต้ระบบ SMSS 4

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 2. ระบบงาน 2.1 ระบบงานย่อย (Module) SMSS ประกอบด้วยระบบงานย่อยต่าง ๆ เช่น ระบบงานย่อยการวางแผน ระบบ งานย่อยการเงินและบัญชี ระบบงานย่อยการมาเรียน ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้งาน หรือ ติดตั้ง หรือถอนออกจากระบบได้ ตามลักษณะการใช้งานของแต่ละสถานศึกษา 5

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 2.2 ผู้ดูแล (admin) ระบบงานย่อย ระบบงานย่อยแต่ละระบบจะมีผู้ดูแลระบบงานย่อยแต่ละงาน ซึ่งผู้ดูแลระบบใหญ่ (SMSS) มีหน้าที่กำหนดผู้ดูแลระบบงานย่อยแต่ละงาน ตามภารกิจหน้าที่ของบุคลากรใน สถาน ศึกษา 3. ลงทะเบียน ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา (SMSS) เป็นระบบที่จำเป็นต้องพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับปรุงระบบงานเดิมและเพิ่มเติมระบบงานใหม่ ดังนั้น การลงทะเบียนผู้ใช้ (โรงเรียน) จะทำให้ทีมพัฒนาโปรแกรมมีข้อมูลผู้ใช้ เพื่อแจ้งข่าวสาร พร้อมทั้งส่งโปรแกรมที่ ปรับปรุ งใหม่ให้อย่างต่อเนื่อง 4. ผู้ใช้ 4.1 เปลี่ยนรหัสผ่านตนเอง เปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับผู้ดูแลระบบที่ Login อยู่ในขณะนั้น 6

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 4.2 คืนค่า (Reset) รหัสผ่านผู้ใช้ กรณีผู้ใช้ลืมรหัสผ่าน ผู้ดูแลระบบจะทำหน้าที่คืนค่ารหัสผ่านให้กับผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถ Login เข้ามาได้ ซึ่งรหัสผ่านที่คืนค่าจะเป็นค่าเดียวกับ Username 4.3 เพิ่ม แก้ไข ผู้ใช้ เพิ่มผู้ใช้เป็นการกำหนด Username และ Password ให้กับผู้ใช้ที่เป็นบุคลากร ในโรงเรียน ซึ่งการเพิ่มผู้ใช้นอกจากวิธีนี้แล้ว บุคลากรในโรงเรียนสามารถ Login ด้วยเลขประจำ ตัวประชาชนทางด้านผู้ใช้ทั่วไปได้ด้วยตนเอง เพื่อมากำหนด Username และ Password เข้าใช้ งาน หมายเหตุ ชื่อผู้ใช้ชื่อ audit สงวนไว้สำหรับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน เมื่อสถาน ศึกษาอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในจาก สพท. เข้าตรวจสอบการเงินและบัญชีก็ให้เพิ่มผู้ใช้ ชื่อ audit เข้าในทะเบียนผู้ใช้ 5. คู่มือ Download คู่มือสำหรับส่วนของการจัดการระบบ 7

ส่วนที่ 2 การใช้งานระบบ

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 การรับ-ส่งไปรษณีย์ภายในหรือกับไปรษณีย์ สพท. ผ่านระบบ SMSS ระบบไปรษณีย์ออกแบบมาเพื่อให้บุคลากรใช้ติดต่อสื่อสาร ส่งข้อมูล สารสนเทศต่างๆ ถึงกันและกัน คล้ายระบบเมล์ทั่วไป แต่ส่วนที่ต่าง คือ ไปรษณีย์ของระบบ smss สามารถรับ-ส่งถึง บุคลากรทุกคนใน สพท. และส่งถึงบุคคลในต่างโรงเรียนได้ และที่สำคัญตรวจสอบได้ว่า เปิดรับ หรือยัง ถ้ารับแล้ว รับวันและเวลาใด ซึ่งระบบเมล์ทั่วไปยังทำไม่ได้ การส่งไปรษณีย์ภายในหรือกับไปรษณีย์ สพท. 1. เข้าระบบ (login) ด้วย username และ password ที่ได้ลงทะเบียนไว้ 2. เมื่อผ่านแล้ว ไปที่ เมนูบริหารทั่วไป คลิกที่ เลือกไปรษณีย์หากต้องการส่งถึง บุคลากรภายในโรงเรียน (หรือ) ไปรษณีย์ สพท. (ระบบไปรษณีย์ไปถึงบุคลากรใน สพท. หรือ บุคลากรของโรงเรียน ในสังกัด สพท.) หลักการทำงานของระบบไปรษณีย์จะคล้ายกัน ตัวอย่าง เลือก ส่งไปรษณีย์ สพท. 3. เลือก ส่งจดหมาย เลือกบุคคลที่ต้องการส่งถึง หรือส่งทุกคนใน สพท. หรือ โรงเรียนได้ 8

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 เลือกชื่อ คลิกเลือก และจบด้วยคลิก เสร็จ เป็นอันจบขั้นตอนเลือกบุคคล พิมพ์เรื่อง พิมพ์เรื่องโดยย่อ แนบไฟล์ พิมพ์คำอธิบาย จบด้วยคลิกตกลง 4. ไปรษณีย์ที่ส่ง จะเก็บในทะเบียนจดหมายส่งเรียบร้อย กรณีจะลบออก คลิกที่ 9

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 5. กรณีประสงค์จะตรวจสอบว่า ไปรษณีย์ที่ส่ง มีการเปิดรับหรือยัง ถ้าเปิดรับแล้ว รับวัน เดือน ปี และเวลาเท่าใด ให้คลิกที่ส่งถึง จะปรากฏรายชื่อผู้รับจดหมาย พร้อมแสดงสถานะ คือจดหมายที่ส่งยังไม่ได้เปิดรับ คือจดหมายที่ส่งมีการเปิดรับแล้ว ซึ่งระบบจะแสดงวันเดือนปี และเวลาที่เปิด รับจดหมาย ให้ผู้ส่งได้รับทราบด้วยเช่นกัน 10

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 การรับไปรษณีย์ภายใน 1. เมื่อเข้าระบบ (login) ด้วย username และ password ที่ได้ลงทะเบียนไว้ หากปรากฏ หนังสือราชการหรือมีการติดต่อสื่อสารใดๆ เข้ามาในระบบ เช่น ไปรษณีย์ ระบบจะเตือนดังภาพ สามารถคลิกที่ลิงก์ การแจ้งเตือนเพื่อรับจดหมายได้เลย 2. หรือจะเข้าไปที่ เมนูบริหารทั่วไป คลิกที่ ไปรษณีย์ 11

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 3. คลิกเมนู และ เพื่อรับจดหมาย และ คลิกเปิดจดหมายใหม่ที่ยังไม่ได้รับ สังเกต ที่เครื่องหมาย และ จดหมายใหม่ที่ยังไม่ได้รับ จดหมายที่เปิดรับแล้ว จดหมายที่เปิดรับแล้ว จะแสดงเครื่องหมาย พร้อมแสดง วันเดือนปีและเวลาที่เปิดรับ 12

ส่วนที่ 3 ระบบงานย่อย

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 ระบบภารกิจผู้อำนวยการ ออกแบบไว้เพื่อเป็นข้อมูลข่าวสารให้กับ ผู้บริหาร ตลอดจนคณะครูและบุคลากรทางการ ศึกษาในสังกัด ได้รับทราบภารกิจ แต่ละวันของฝ่ายบริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติ ราชการแทน 1. การกำหนดเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแลระบบภารกิจผู้อำนวยการหรือเจ้าหน้าที่ได้รับการแต่งตั้ง เข้าระบบ (login) ด้วย username และ password ที่ได้ลงทะเบียนไว้ แล้วไปที่ ระบบภารกิจผู้ อำนวยการผู้ดูแล สามารถกำหนดเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมได้ดังรูป 2. การบันทึกภารกิจผู้อำนวยการ ไปที่ เมนูบันทึกข้อมูล ภารกิจผู้อำนวยการ เพิ่มภารกิจ สามารถลบออกคลิกที่ หรือแก้ไขได้โดยคลิกที่ ตามหมายเลข 13

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 ระบบการรักษาราชการแทน ระบบนี้ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้สถานศึกษา ในกรณี โรงเรียนไม่มีผู้อำนวย การ แต่มีผู้รักษาราชการแทน ดังนี้ 1. การกำหนดเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแลระบบรักษาราชการแทน หรือเจ้าหน้าที่ได้รับการแต่งตั้ง เข้าระบบ (login) ด้วย username และ password ที่ได้ลงทะเบียนไว้ แล้วไปที่ ระบบรักษาราชการ แทน ผู้ดูแลสามารถกำหนดเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมได้ดังรูป หากสำเร็จจะปรากฎตามหลายเลข 2. การกำหนดผู้รักษาราชการแทน ซึ่งจะได้สิทธิ์ต่างๆ เหมือนผู้อำนวยการโรงเรียน ในระบบ SMSS 14

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 3. สามารถเพิ่มผู้รักษาราชการแทน และเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ลบออกได้ 4. ดูรายงานการรักษาราชการแทนได้ 15

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 ระบบนิเทศ ติดตาม และประเมินผล 1. ความสำคัญ ระบบนิเทศ ติดตาม และประเมินผล เป็นอีกระบบย่อยหนึ่งที่มีความสำคัญทำงด้านงาน. วิชาการ เป็นทั้งการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และการประกันคุณภาพการศึกษา ทำให้การดำเนิน งาน ดังกล่าว มีความเป็นระบบ มีความคงเส้นคงวา มีความเป็นมาตรฐาน ทำงานอย่างมืออาชีพ ระบบนิเทศ ติดตาม และประเมินผล หากทำงานร่วมกันกับระบบทดสอบการศึกษาอย่างสมบูรณ์ จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน 2. หลักการทำงานของระบบ ระบบนิเทศ ติดตาม และประเมินผล เริ่มต้นที่คำถามว่า การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นอย่างไร ซึ่งจะได้คำตอบที่เป็นตัวตั้ง คือ มาตรฐานของการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งให้ รายละเอียดไปสู่ตัวชี้วัด ความสาเร็จ หลังจากนั้นก็เป็นการเทียบความเป็นปัจจุบันของการจัด การศึกษากับมาตรฐานคุณภาพ ซึ่งก็คือ การติดตาม และประเมินผล ต่อเนื่องไปสู่การนิเทศ แนะนำ ช่วยเหลือต่อไป ซึ่งการดำเนินงานใน กระบวนการนี้มีสามระดับ คือ ระดับที่หนึ่ง การนิเทศ ติดตาม และประเมินผลของผู้อานวยการโรงเรียนและ ครูระดับที่สอง ผู้อานวยการโรงเรียนนิเทศ ติดตาม ประเมินผลครู และระดับที่สาม ศึกษานิเทศก์นิเทศ ติดตาม และประเมินผล ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู 3. การใช้งาน 3.1 การตั้งค่าระบบ การตั้งค่าระบบส่วนแรกเป็นการกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานในส่วนของบุคลากรในสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษา หลักใหญ่ คือ กำหนดให้ศึกษานิเทศก์ และรองผู้อานวยการสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาเป็นผู้นิเทศ ส่วนที่สองเป็นรอบของนิเทศ ซึ่งควรจะเป็นรายภาคเรียน ซึ่งในหนึ่งรอบครูจะนิเทศ ติดตาม และประเมินผลตนเองได้เพียงครั้งเดียว 16

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 3.2 มาตรฐานการจัดการศึกษา มาตรฐานการจัดการศึกษาเป็นการกำหนดมาตรฐาน รายการมาตรฐาน และ รายการตัวชี้วัดให้ ครอบคลุมคุณภาพของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เช่น 3.3 นิเทศ ติดตาม และประเมินผล บันทึกการนิเทศฯ เป็นส่วนหนึ่งของบันทึกผลตามรายการมาตรฐานต่างๆ 17

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 3.4 รายงาน 18

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 ระบบสิทธิและโอกาสทางการศึกษา 1. ความสำคัญ พันธกิจด้านสิทธิและโอกาสทางการศึกษาเป็นพันธกิจหลักอีกพันธกิจหนึ่ง เป็นความ รับผิดชอบต่อประชากรวัยเรียนที่จะต้องบริการให้ทุกคนได้รับการศึกษา หากไม่ตระหนักในความ สำคัญจะละเลยได้ง่าย ท้ายที่สุดจะไม่ได้ดำเนินอะไร นอกจากประมาณการด้านตัวเลขว่าสามารถ นำเด็กวัยต่างๆ เข้าเรียนแล้วร้อยละเท่าไร การทำงานด้านสิทธิและโอกาสจะต้องทำงานเชิงรุก เพราะผู้ที่พิการหรือด้อยโอกาส มาก ๆ บางคนจะไม่ปรากฎตัวให้เห็น ไม่เข้ามาสมัครเรียนในโรงเรียน 2. หลักการทำงานของระบบ ระบบสิทธิและโอกาสเป็นระบบที่เช็คประชากรวัยเรียนเป็นรายคนว่าได้เข้าเรียนแล้ว หรือยัง ไล่เรียงจากคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย โดยระบบจะมีข้อมูลหลักอยู่สามส่วน คือหนึ่ง ข้อมูล ประชากรวัยเรียนเรียนทั้งหมดใน เขตพื้นที่การศึกษา สอง ข้อมูลรายชื่อนักเรียนทุกคนในเขตพื้นที่ การศึกษา และสามข้อมูลพื้นที่เขตบริการของสถานศึกษา ในกระบวนการทำงานเบื้องต้นระบบจะ ไล่เช็คการเข้าเรียนให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน ประชากร วัยเรียนคนใดไม่พบการเข้าเรียนสถาน ศึกษาจะติดตามภาคสนาม และหากมีประชากรวัยเรียนรายใดไม่เข้า เรียนจะเข้าสู่กระบวนการ ให้การช่วยเหลือต่อไป 3. การใช้งาน 3.1 การตั้งค่าระบบ การตั้งค่าระบบจะต้องกำหนดเขตบริการของเขตพื้นที่การศึกษา กำหนดเจ้าหน้าที่ กำหนดเขตพื้นที่ บริการของสถานศึกษา 19

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 3.2 ข้อมูลประชากรวัยเรียน ด้านข้อมูลประชากรวัยเรียนเป็นส่วนที่เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บันทึกข้อมูลประชากร วัยเรียนทั้งหมดเข้าระบบ 20

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 3.3 ประชากรวัยเรียน เป็นส่วนของการค้นหาว่าประชากรวัยเรียนในแต่ละช่วงอายุได้เข้าเรียนแล้วหรือ ยัง โดย แบ่งออกเป็นสามกลุ่มอายุ โรงเรียนทำการค้นหา (กดที่ปุ่มค้นหา) ระบบจะหาว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนใด ชั้นไหน ขึ้นมาเอง ในรายชื่อที่ไม่ปรากฏโรงเรียน โรงเรียนจะดำเนินการติดตามตามที่อยู่แล้วทำงานการ บันทึกข้อมลโดยคลิกที่รูปดินสอ ดังภาพ 21

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 3.4 รายงาน ส่วนของการรายงานที่สำคัญของระบบ คือ รายงานว่าประชากรวัยเรียนคนใดไม่เข้า เรียน ด้วยสาเหตุเบื้องต้นอะไร ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินการช่วยเหลือเป็นรายบุคคลให้ได้รับการ ศึกษาต่อไป 22

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 ระบบทดสอบการศึกษา 1. ความสำคัญ ระบบทดสอบการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาสามารถนำมาช่วยส่งเสริมสนับสนุน ตลอดจนกำกับคุณภาพ การศึกษามาตรฐานของสถานศึกษาในสังกัดให้จัดการศึกษาเป็นไปตาม มาตรฐานของหลักสูตร ระบบทดสอบการศึกษาสามารถวิเคราะห์ แจ้ง เตือน ที่จะนำไปสู่การพัฒนาแก้ไขซึ่ง จะส่งผลไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธี การจัดการเรียนการสอนให้ครบถ้วนตามมาตรฐานตัวชี้วัดของหลักสูตร 2. หลักการทำงานของระบบ ระบบทดสอบการศึกษาถูกออกแบบไว้ให้สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษากำหนดแบบทดสอบมาตรฐานที่เป็นไปตามโครงสร้างของหลักสูตร แล้วกำหนดให้สถาน ศึกษาแต่ละแห่งนำผู้เรียนเข้าทำการสอบ ทั้งเป็นแบบทดสอบ Onlineและเป็นแบบทดสอบกระดาษ ผลการสอบจะได้สารสนเทศจากการวิเคราะห์ทั้งภาพรวมระดับ สพท. ระดับสถานศึกษา และผู้เรียน เป็นรายบุคคล โดยแยกรายละเอียดถึงระดับ ตัวชี้วัด ระดับมาตรฐานการเรียนรู้ และระดับสาระ ของรายวิชาที่สอบอีกทั้งยังสามารถกำหนดแบบทดสอบบางฉบับเป็นแบบทดสอบมาตรฐานสำหรับ ประเมินผลสรุปเมื่อสิ้นภาคเรียน ที่จะบันทึกผลการทดสอบของนักเรียนไว้อ้างอิงผลสำเร็จของการ จัดการเรียนการสอนแต่ละระดับ (ภาคเรียน) 3. การใช้งาน 3.1 ส่วนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การตั้งค่าระบบเป็นการกำหนดบุคคลให้มีสิทธิ์ ทำหน้าที่อะไรได้บ้าง การกำหนดมาตรฐานเป็นการ กำหนดรายละเอียดของหลักสูตร ในเบื้องต้นของ การติดตั้งระบบทดสอบการศึกษาได้มีข้อมูลตาม หลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 และ ปรับปรุง 2560 ไว้ให้เรียบร้อยแล้วในส่วนของข้อสอบเป็นการบันทึก ข้อสอบ แต่ละข้อเข้าในคลังข้อสอบ โดยรายการเมนูคลังข้อสอบจะ เป็นแบบทดสอบ Online ดังภาพ 23

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 หลังจากมีข้อสอบในคลังข้อสอบแล้ว จึงมาสร้างแบบทดสอบ (ต้นฉบับ) โดยการเลือก ข้อสอบจาก คลังข้อสอบเข้าเป็นแบบทดสอบ เช่น แบบทดสอบศิลปะ ป.6 ชุดที่ 1 ซึ่งเลือกข้อสอบ จากคลังข้อสอบ จำนวน 20 ข้อ เป็นต้น การบริหารการสอบ เป็นการกำหนดรายการสอบโดยการอ้างอิงแบบทดสอบ (ต้นฉบับ) เช่น กำหนดรายการสอบเป็น ศิลปะ ป.6 ปีการศึกษา 2557 ครั้งที่ 1 โดยการอ้างอิงแบบทดสอบ (ต้นฉบับ) ศิลปะ ป.6 ชุดที่ 1 เป็นต้น กำหนดผู้สอบ เป็นการกำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งดำเนินการสอบได้ในช่วงวันเวลาใด แบบทดสอบมาตรฐานเขตพื้นที่เป็นการ กำหนดแบบทดสอบฉบับที่เป็นการวัดผล ประเมินสำหรับ สิ้นสุดภาคเรียน และจะ เก็บข้อมูลสำหรับนักเรียนไว้ในระบบ ทดสอบตลอดหลักสูตรตั้งแต่ชั้น ป.1 เป็นต้นไป 24

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 กำหนดการสอบรายวันเป็นการกำหนดการสอบให้กับโรงเรียนโดยเจ้าหน้าที่เขต เป็นการกำหนด เพิ่มเติมจากการบริหารการสอบรายฉบับเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น กำหนดการจองสอบเป็นการลดการกำหนดช่วงเวลาการสอบเป็นรายโรงเรียนเป็น การกำหนด ช่วงเวลาให้กับทุกโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนที่ประสงค์จะสอบสามารถจองการ สอบได้ภายใต้ข้อกำหนดจำนวน โรงเรียนต่อวันที่กำหนดโดยสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา 25

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 ในการทดสอบโดยไม่ใช้ระบบ Online ก็สามารถดำเนินการได้โดยระบบทดสอบ จะทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับการสอบ Online เพียงแต่นักเรียนสอบในแบบทดสอบ กระดาษแล้วคุณครูป้อนผลสอบเข้ามา ในระบบ 26

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 เมื่อป้อนผลการสอบเข้ามา โดยข้อสอบปรนัยป้อนเป็นคำตอบ รายข้อ ส่วนข้อสอบอัตนัยป้อนเป็น คะแนนรายข้อ ระบบจะทำการ วิเคราะห์ขอมูลและรายงานผลเช่นเดียวกับการสอบ Online การรายงานผลระบบทดสอบสามารถรายงานได้หลายลักษณะทั้งภาพรวมของเขตพื้นที่ การศึกษา ภาพรวมสถานศึกษาแต่ละแห่ง หรือนักเรียนเป็นรายบุคคล ลงรายละเอียดจนถึงระดับตัว ชี้วัดมาตรฐานของ หลักสูตร 27

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 3.2 ส่วนของสถานศึกษา สถานศึกษามีเมนูหลักสำหรับการปฏิบัติงานเพียงสองเมนู คือ บริหารการสอบสำหรับการสอบ Online และเมนูแบบ ทดสอบ(กระดาษ) สำหรับป้อนข้อมูลผลการสอบ การบริหารการสอบ(Online) ประกอบด้วยรายการเมนู 3 รายการ คือ จองวันสอบ รายการ แบบทดสอบที่เปิด (สอบ) ซึ่งแสดงรายการสอบที่ สพท.อนญาตให้สถานศึกษาดำเนินการ สอบได้ตามช่วงเวลา ที่กำหนด และรายการสอบของสถานศึกษา เมื่อสถานศึกษาจะดำเนิน การสอบ สถานศึกษาจะต้อง กำหนดการสอบ และกำหนด ผู้ที่จะเข้าสอบ 28

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 การบริหารการสอบ คุณครูผู้สอบจะเป็นผู้บริหารการสอบ ผู้สอบจะ Login โดยใช้เลข ประจำตัวประชาชน เพื่อเข้าระบบ Amss++ ส่วนการจะเข้าสอบครูผดำเนินการสอบจะต้องแจ้งรหัส การสอบให้ผู้สอบ ผู้สอบจึงจะดำเนินการสอบโดยการควบคุมการสอบเป็นรายบุคคล คุณครู สามารถยุติการสอบเป็นรายบุคคลโดยควบคุมรายการจบ การสอบ รายงานผลการสอบ เป็นสารสนเทศที่แสดงใน 3 แบบ คือ แบบภาพรวมของสถานศึกษา คะแนน รวมผู้สอบรายบุคคล และรายละเอียดรายบุคคล ภาพรวมสถานศึกษา คะแนนรวมรายบุคคล รายละเอียดรายบุคคล 29

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 3.3 ส่วนของผู้สอบ ผู้สอบ Login โดยใช้เลขประจำตัว ประชาชน แล้วเข้าระบบทดสอบการศึกษา เลือก รายการสอบ รายการสอบที่เปิดให้สอบจะปรากฏ ให้ผู้สอบเลือก เมื่อผู้สอบกรอกรหัสการสอบถูกต้องจะ ปรากฏขอสอบข้อที่ 1 ผู้สอบสามารถทำ ข้อสอบไป ตามลำดับ หรือเลือกทำข้อใด ๆ ก่อนก็ได้ เมื่อสถานศึกษาจะดำเนิน การสอบ สถานศึกษาจะต้อง กำหนดการสอบ และกำหนด ผู้ที่จะเข้าสอบ รายงานผลสอบ ผู้สอบสามารถดูรายงานผลสอบของตนเองต่อเมื่อครูผู้คุมสอบปิดการสอบ แล้ว เท่านั้น ผลการสอบจะแสดงรายละเอียดถึงระดับตัวชี้วัด ดังภาพ 30

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 3.3 ส่วนของผู้สอบ ผู้สอบ Login โดยใช้เลขประจำตัว ประชาชน แล้วเข้าระบบทดสอบการศึกษา เลือก รายการสอบ รายการสอบที่เปิดให้สอบจะปรากฏ ให้ผู้สอบเลือก เมื่อผู้สอบกรอกรหัสการสอบถูกต้องจะ ปรากฏขอสอบข้อที่ 1 ผู้สอบสามารถทำ ข้อสอบไป ตามลำดับ หรือเลือกทำข้อใด ๆ ก่อนก็ได้ เมื่อสถานศึกษาจะดำเนิน การสอบ สถานศึกษาจะต้อง กำหนดการสอบ และกำหนด ผู้ที่จะเข้าสอบ รายงานผลสอบ ผู้สอบสามารถดูรายงานผลสอบของตนเองต่อเมื่อครูผู้คุมสอบปิดการสอบ แล้ว เท่านั้น ผลการสอบจะแสดงรายละเอียดถึงระดับตัวชี้วัด ดังภาพ 31

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 ระบบข้อมูลบุคลากร 1. ความสำคัญ ข้อมูลบุคลากรในสวนนี้เป็นสวนเพิ่มจากข้อมูลพื้นฐานครู และบุคลากรซึ่งเป็นข้อมล เบื้องต้นของการ ใช้งานระบบ SMSS การเพิ่มรายละเอียดของข้อมูลบุคลกรจะต่อยอดของ การพัฒนาการบริหารจัดการที่ เกี่ยวข้องกับบุคลากรใหเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น 2. หลักการทำงานของระบบ ระบบข้อมูลบุคลากรออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ต่อการใช้งานบนพื้นฐาน ของการเก็บและการใช้งานข้อมูลที่ใช้อยู่จริง 3. การใช้งาน 3.1 ส่วนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เลือก ข้อมูลบุคลากร เลือก กำหนดเจ้าหน้าที่ คลิก เพิ่ม รายการ เพื่อเพิ่มเจ้าหน้าที่ เลือกเจ้าหน้าที่ ที่ต้องการเพิ่ม เรียบร้อย กดเพิ่มเจ้าหน้าที่ แสดงเจ้าหน้าที่กำหนด 32

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 3.2 ข้อมูลส่วนตัว กรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวให้ครบ เรียบร้อยกดบันทึก กรอกรายละเอียดข้อมูลบิดา/มารดา/ บุตร/วุฒิการศึกษา ฯลฯ ให้ครบทุกข้อ 3.3 Log Book เพิ่มข้อมูลโดยเลือก แสดงหน้าต่างการกรอกข้อมูล เพิ่มข้อมูล เรียบร้อย กดบันทึก การมอบหมายการสอน 33

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 3.4 ส่งออกเป็นไฟล์ EXCEL ทำการบันทึกข้อมูลทุกเมนู เรียบร้อยแล้ว เลือก ส่งข้อมูล Excel สามารถ ดาวน์โหลดข้อมูลที่กรอกทั้งหมดออกมาได้ จะได้ข้อมูลที่เป็นไฟล์ Excel 3.5 รายงาน เป็นการแสดงข้อมูลส่วนตัวของครู แต่ละคนภายในโรงเรียน สามารถเข้าไปดูรายละเอียด ของแต่ละบุคคลได้ 34

คู่มือระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา School Management Support System : สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 คณะผู้จัดทำรวบรวม ที่ปรึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองบัวลำภู เขต 2 1. นายผดุงเกียรติ รักษ์วรโชติ รอง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2. นายบุญชู สิทธิสอน หนองบัวลำภู เขต 2 3. นายเจนภพ ชัยวรรณ รอง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 4. นายธเนศ ตรีพงษ์ หนองบัวลำภู เขต 2 5. นายพิทักษ์ รันรัติยา รอง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองบัวลำภู เขต 2 ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล การจัดการศึกษา คณะทำงาน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกลฯ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ 1. นายประภาส พลไชย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ 2. นายอดิศร โคตรนรินทร์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ 3. นางปาริชาติ ปิติพัฒน์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ 4. นายเจียมพล บุญประคม นักประชาสัมพันธ์ ปฏิบัติการ 5. นางสาวเตือนใจ แสนนา เจ้าหน้าที่ ICT 6. นางสาวนูรมี โตะลู 7. นายอธิวัฒน์ สายสิงห์ ออกแบบปกและจัดรู ปเล่ม ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ 1. นางปาริชาติ ปิติพัฒน์ 2. นายเจียมพล บุญประคม 35

SMSS


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook