Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 4 ระเบียบ ขั้นตอนและพิธีการเข้าออกประเทศ

บทที่ 4 ระเบียบ ขั้นตอนและพิธีการเข้าออกประเทศ

Published by pilaiporn02122543, 2020-06-11 23:51:11

Description: บทที่ 4 ระเบียบ ขั้นตอนและพิธีการเข้าออกประเทศ

Search

Read the Text Version

คำนำ เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานมัคคุเทศก์ รหัสวิชา 307022005 จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้าง ความรู้และความเข้าใจแก่นักเรียนสาขางานการท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจ ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ 1) ความรู้ เบ้อื งต้นเก่ยี วกบั วชิ าชีพมัคคเุ ทศก์ และผ้นู ำเท่ียว 2) ประเภท คณุ สมบัติ บคุ ลิกลักษณะของมคั คเุ ทศก์ 3) การ วางแผนและการแก้ปัญหาในการนำเที่ยว 4) ระเบียบ ขั้นตอนและพิธีการเข้าออกประเทศ 5) บทบาทของ มคั คเุ ทศกต์ ่อธรุ กจิ และหนว่ ยงานท่ีเกย่ี วขอ้ งกับมัคคุเทศก์ เอกสารประกอบการสอนนี้ได้จัดทำขึ้นจากกการศึกษาข้อมูลจากหนังสือ ตำรา เอกสารและเว็บไซต์ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมัคคุเทศก์ ประกอบกับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของผู้จัดทำ เพื่อให้ได้ ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารประกอบการสอนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและผู้ท่ี สนใจ และหากมีข้อตชิ มหรอื คำแนะนำประการใด ผจู้ ัดทำจัดขอบพระคุณเป็นอย่างย่ิง นางวรณนั พงษจ์ นี วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช

บทที่ 4 ระเบยี บ ขน้ั ตอนและพิธกี ารเขา้ ออกประเทศ บทนำ การเดินทางที่สะดวกสบาย และการนำเที่ยวระหว่างประเทศให้ได้ผลตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ต้องมี การเตรียมการล่วงหน้าให้พร้อม เพราะมัคคุเทศก์ต้องเจอกับกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ของท่าอากาศยาน ความ สะดวกในเร่ืองพิธกี ารเข้าและออกเมืองในการนำเที่ยวระหว่างประเทศท่ีแตกต่างกันไป การมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซบั ซอ้ นใชเ้ วลานานในการเขา้ และออกประเทศ หรอื ความไมพ่ ร้อมในการเดินทาง ย่อมเสียเวลาและสร้างความ เบื่อหน่ายให้แก่นักทอ่ งเที่ยว ดังนั้นมัคคุเทศก์ควรศึกษาเตรยี มความพรอ้ มในการเดินทางไปต่างประเทศ ด้วย การศึกษากฎเกณฑ์ที่สำคัญของการเข้าออกเมือง ณ ท่าอากาศยานแต่ละประเทศ ศกึ ษาเอกสารที่จำเป็นต่างๆ ในการเข้าออกประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวด้วยความรวดเร็วเกิดประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงาน ในบทนี้จะกล่าวถึงเนื้อหา 3 เรื่อง คือการตรวจคนเข้าเมือง พิธีทางศุลกากร และพิธีการเดิน ทางเขา้ และออกประเทศ กองตรวจคนเขา้ เมือง กองตรวจคนเข้าเมืองเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย เป็นกองที่จัดตั้งขึ้นเพ่ือ ใช้ในการควบคุมดูแลการเข้ามา และการออกไปนอกราชอาณาจักรของชาวไทยและชาวต่างประเทศ หรือคน ต่างด้าว ทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ รัฐบาลจึงมีเครื่องมือเพื่อใช้ในการควบคุมการดำเนินการ ตรวจคนเข้าเมืองให้เป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นั่นคือมีพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองเพื่อใช้เป็นกฎ บงั คับใหเ้ กดิ ความรดั กุมในการดำเนนิ งานดงั กล่าวซึ่งมีสาระสำคัญดงั ต่อไปน้ี 1. ลักษณะบุคคลต้องห้ามไม่ให้เข้ามาในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา12 ได้บัญญัติลักษณะบุคคลต้องห้ามไม่ให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย (การท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย, 2535) ดงั น้ี 1) ไม่มหี นงั สือเดนิ ทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้องและยังสมบูรณ์อยู่ หรือ มีแต่ไม่ได้รับการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางหรอื เอกสารใชแ้ ทนหนังสือเดินทางเชน่ ว่านน้ั จากสถานทูตหรือ สถานกงสุลไทยในต่างประเทศหรือจากกระทรวงการต่างประเทศ เว้นแต่กรณีที่ไม่ต้องมีการตรวจลงตรา สำหรับคนต่างด้าวบางประเภทเป็นกรณีพิเศษการตรวจลงตราและการยกเว้นการตรวจลงตราให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การตรวจลงตราตาม 1) ให้เสียค่าธรรมเนียมตามท่ี กำหนดในกฎกระทรวง 2) ไม่มีปจั จัยในการยงั ชพี ตามควรแก่กรณีที่เข้ามาในราชอาณาจกั ร 3) เข้ามาเพื่อมอี าชพี เป็นกรรมกร หรือเขา้ มาเพอ่ื รบั จ้างทำงานด้วยกำลงั กาย โดยไม่ได้อาศัย วิชาความรูห้ รือการฝึกทางวชิ าการ หรือเข้ามาเพื่อทำงานอื่นอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายวา่ ด้วยการทำงานของ คนตา่ งด้าว

4) วิกลจริตหรือมีโรคอย่างใดอยา่ งหนงึ่ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 5) ยังมิได้ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ หรือฉีดวัคซีน หรือปฏิบัติการอย่างอื่นตามวิชาการแพทย์ เพือ่ ปอ้ งกนั โรคตดิ ต่อตามท่กี ฎหมายบญั ญัตแิ ละไม่ยอมให้แพทย์ตรวจคนเข้าเมืองกระทำการเชน่ ว่านัน้ 6) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลไทยหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือคำ พิพากษาของศาลต่างประเทศ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรอื ความผดิ ทย่ี กเว้นไว้ในกฎกระทรวง 7) มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิด อันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือบุคคลซึ่ง เจ้าหนา้ ทรี่ ัฐบาลต่างประเทศไดอ้ อกหมายจับ 8) มพี ฤตกิ ารณ์เปน็ ทนี่ า่ เชือ่ วา่ เขา้ มาเพ่ือการค้าประเวณี การค้าหญงิ หรอื เดก็ การค้ายาเสพ ติดให้โทษ การลักลอบหนีภาษีศุลกากร หรือเพื่อประกอบกิจการอื่นที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดขี องประชาชน 9) ไมม่ เี งินติดตวั หรอื ไม่มีประกันตามท่รี ฐั มนตรีประกาศตามมาตรา 14 10) รัฐมนตรีไม่อนุญาตใหเ้ ข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 16 11) ถูกรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศเนรเทศ หรือถูกเพิกถอนสิทธิการอยู่อาศัยใน ราชอาณาจักรหรือในต่างประเทศมาแล้ว หรือถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร โดย รัฐบาลไทยเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เว้นแต่รัฐมนตรีได้พิจารณายกเว้นให้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายการตรวจ วินิจฉัยโรค ร่างกายหรือจิต ตลอดจนการปฏิบัติการเพื่อป้องกันโรคติดต่อ ให้ใช้แพทย์ตรวจคนเข้าเมืองใน มาตรา 13 คนตา่ งดา้ วดังต่อไปน้ใี ห้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีหนงั สือเดนิ ทางหรือเอกสารใชแ้ ทนหนงั สือเดินทาง 1) ผคู้ วบคุมพาหนะและคนประจำพาหนะทางนำ้ หรือทางอากาศซึ่งเพียงแต่แวะเข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักรแล้วกลับออกไปเพื่อประโยชน์ในการควบคุมบุคคลดังกล่าว พนักงาน เจ้าหน้าทจี่ ะออกหนังสอื สำคญั ตามแบบท่ีกำหนดในกฎกระทรวงเพื่อใหถ้ ือไวก้ ็ได้ 2) คนสญั ชาตขิ องประเทศท่ีมอี าณาเขตติดต่อกบั ประเทศไทยเดนิ ทางข้ามพรมแดนไปมา ชั่วคราว โดยปฏิบตั ิตามขอ้ ตกลงระหว่างรฐั บาลไทยกบั รฐั บาลแห่งประเทศน้ัน 3) คนโดยสารรถไฟผ่านแดนซ่ึงถือต๋วั โดยสารทอดเดยี วตลอดเพียงแตผ่ ่านอาณาเขตประเทศ ไทยไปนอกราชอาณาจักรตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศนั้นๆ และรวมตลอดถึงผู้ ควบคุมพาหนะและคนประจำพาหนะแห่งรถไฟเช่นวา่ นนั้ ด้วย 2. ระเบียบในการเข้ามาในประเทศและออกไปนอกประเทศของชาวต่างประเทศ ชาวต่างประเทศท่ี เดินทางเขา้ มาในประเทศและออกไปนอกประเทศไทย จะตอ้ งมีเอกสารและสงิ่ ท่ีเกีย่ วขอ้ งดังต่อไปน้ี 2.1 หนังสือเดินทาง (Passport) หมายถงึ หนังสือหรอื เอกสารท่ีทางรฐั บาลออกให้กับบุคคล ที่ถือสัญญาหรือสัญชาตินั้นเพื่อเป็นหลักฐานสำหรับใช้ในการเดินทางออกนอกประเทศ ผู้ที่แสดงรูปและถือ หนังสือเดินทางจะมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศของตนใน ต่างประเทศ และสามารถเรียกร้องขอจากรัฐบาลที่ออกหนังสือเดินทางต่อรัฐบาลต่างประเทศ ในกรณีท่ี จำเปน็ ตอ้ งขอความช่วยเหลือ และคุ้มครองเท่าทีส่ ามารถช่วยไดโ้ ดยชอบดว้ ยกฎหมาย และสามารถใช้เดินทาง

กลับมายังประเทศของตนได้ หนังสือเดินทางจึงเปรียบเหมือนกับบัตรประชาชนที่มีไว้ใช้ในต่างประเทศ เป็น เอกสารแสดงสถานะบุคคลต่อเจา้ หนา้ ทีบ่ ้านเมืองและบุคคลทั่วไปในประเทศต่างๆ นับว่าเป็นเอกสารที่สำคัญ ซึ่งต้องเกบ็ รักษาเป็นอยา่ งดสี ำหรบั ผทู้ ีเ่ ดนิ ทางไปตา่ งประเทศหนงั สือเดินทางแบง่ ออกเป็น 5 ชนดิ ดงั นี้ 2.1.1 หนังสือเดนิ ทางทูต (Diplomatic Passport) โดยผู้ที่มีสทิ ธขิ อหนงั สือ เดนิ ทางทตู ได้แก่ (1) พระบรมวงศแ์ ละพระนดั ดาในพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั (2) พระอนุวงศ์ชนั้ พระองค์เจ้าและคู่สมรส (3) พระราชวงศแ์ ละบุคคลสำคญั ทีร่ าชเลขาธกิ ารขอไปเป็นกรณพี ิเศษ (4) ประธานองคมนตรีและองคมนตรี (5) นายกรฐั มนตรี รองนายกและรฐั มนตรี (6) ประธานและรองประธานสภาผ้แู ทนราษฎร ประธานและรองประธานวฒุ ิสภา (7) ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎกี า และประธานศาลอทุ ธรณ์ (8) ประธานศาลรฐั ธรรมนญู และประธานศาลปกครองสงู สุด (9) อดีตนายกรัฐมนตรี และอดตี รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการตา่ งประเทศ (10) ผ้บู ญั ชาการทหารสูงสดุ และผูบ้ ัญชาการเหล่าทัพ (11) ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึง่ เดนิ ทางไปราชการในต่างประเทศ (12) ขา้ ราชการทีต่ ำแหน่งทางการทูต ซึง่ ปฏิบัตหิ นา้ ทีป่ ระจำอยู่ ณ สว่ นราชการใน ต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดา มารดาในประเทศท่ีประจำอยู่ หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอนื่ แตบ่ ุตรตอ้ งอายุไมเ่ กนิ 25 ปี (13) คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ (2) ถึงข้อ (8) และ(14) บุคคลอนื่ ใดเพื่อประโยชน์แกท่ างราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรอื ภายใต้สถานการณ์พิเศษท่ี มีความจำเป็น หรือเกยี่ วกับการเผยแพร่ชอื่ เสียงเกียรติคุณของประเทศ หรอื อดตี เอกอัครราชทูต หรือในกรณีที่ เห็นสมควรให้ประหลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ประหลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมายมี อำนาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางทูตได้ โดยหนังสือเดินทางทูตมีอายุไม่เกิ น 5 ปี เมื่อ เสร็จภารกิจหรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือเดินทางทูต ให้ส่งหนังสือเดินทางทูตนั้นแก่กระทรวงการ ต่างประเทศ (กบั แกลม้ การเมือง หนงั สือเดนิ ทางฑตู , 2550, หนา้ 13) 2.1.2 หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport หรือ Service Passport) เป็น หนังสือเดินทางทรี่ ัฐบาลออกใหแ้ กข่ ้าราชการ หรือบคุ คลอ่ืน ๆ ใชถ้ ือไปราชการตา่ งประเทศ 2.1.3 หนังสอื เดนิ ทางธรรมดา (Ordinary Passport) เปน็ หนงั สอื เดินทางท่ีรัฐบาล ออกใหแ้ ก่คนสัญชาติของตนเพ่ือเดินทางออกนอกประเทศได้ 2.1.4 หนงั สือเดินทางขององค์การสหประชาชาติ (United Nation Passport) เป็น เอกสารท่ีองค์การสหประชาชาติออกใหแ้ ก่เจ้าหนา้ ท่ีขององค์การที่ทำงานอยใู่ นองค์การสหประชาชาติโดยตรง ซงึ่ อาจเป็นสัญชาตใิ ดกไ็ ด้

2.1.5 หนงั สือเดินทางหมู่ (Collective Passport) เป็นหนงั สือเดินทางทีร่ ฐั บาล ออกให้แก่กลุ่มคณะที่เดินทางไปต่างประเทศพร้อมกนั เชน่ หนงั สอื เดนิ ทางหมขู่ องขา้ ราชการที่เดินทางไปดู งานต่างประเทศ นอกจากนีย้ งั มีเอกสารทใี่ ชแ้ ทนหนังสือเดินทางซ่ึงมหี ลายชนดิ เช่น Certificate of Indentity, Emergercy Certificate, Form of Affirmation และ Laissez Passport เปน็ ตน้ โดยท่ัวไป หนงั สอื เดนิ ทางไทยมี 3 ประเภท คือ 1) เลม่ สีแดง หมายถึง หนงั สือเดนิ ทางทูต 2) เลม่ สีน้ำเงิน หมายถงึ หนังสอื เดนิ ทางราชการ 3) เล่มสีน้ำตาล หมายถึง หนังสือเดินทางธรรมดา 2.2 การตรวจลงตรา (VISA) การที่พนกั งานหรือเจ้าหนา้ ท่ใี นสถานทูต สถานกงสลุ ของแต่ละ ประเทศตรวจสอบว่าผู้ที่จะเดินทางมีคุณสมบัติสมควรอนุญาตให้เข้าไปในประเทศที่ต้องการหรือไม่ ถ้ามี คุณสมบตั กิ ็จะประทับตราในหนังสือเดินทาง หรอื ท่เี รียกวา่ การให้ VISA ลงในหนงั สอื เดินทาง เปน็ เคร่ืองหมาย ให้พนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศของตนทราบว่า ได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติถูกต้องสามารถใหเ้ ขา้ เมืองได้ การตรวจลงตราจะมีการกำหนดอายุการใช้ไว้ตามชนิดของหนังสือเดินทาง และตามวัตถุประสงค์ใน การเดินทางของบุคคลน้ันๆ การตรวจลงตราจะมคี วามเข้มงวดเพียงใดขึ้นอยู่กับนโยบายของแตล่ ะประเทศ ซ่ึง มีกฎเกณฑต์ า่ งกันสำหรบั ประเทศไทยจะอนุญาตให้ชาวต่างประเทศส่วนใหญ่เดินทางเข้าประเทศไทยเป็นเวลา 15 วนั โดยไมต่ ้องมกี ารตรวจลงตรา (VISA) มาจากต้นทาง เพ่ือสง่ เสริมการท่องเที่ยว Visa มาจากภาษาละติน หมายถึง เอกสารทีผ่ ่านการตรวจสอบแล้ว) วีซา่ หรือตรวจลงตราเป็นเอกสารซงึ่ ประเทศใดประเทศหน่ึงได้ออก ใหแ้ กบ่ ุคคลใดบุคคลหน่ึงภายใต้การพิจารณาของประเทศนั้นๆ แต่เพยี งผู้เดยี ว เพอ่ื เป็นการแสดงว่าได้อนุญาต ให้ต่างด้าวบุคคลใดบุคคลหนึ่งสามารถเดินทางเข้าประเทศผู้ได้ออกตรวจลงตรานั้นได้ ภายในช่วงระยะเวลา และขอบเขตของจุดประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ในการยื่นคำร้องขอรับตรวจลงตรา ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจ คน เข้าเมอื งขณะเดินทางเข้าประเทศผู้ออกตรวจลงตราปกติแล้วจะมีการประทับตรวจลงตราไว้ในหนังสือเดินทาง อาจเป็นในรูปแบบแผ่นสติ๊กเกอร์ ตราประทับหรืออาจอยู่ในรูปเอกสารอื่นใดที่ไม่ได้ประทับลงในหนังสือ เดนิ ทาง ในปจั จุบันตรวจลงตราในบางประเทศเป็นแบบอเิ ล็คทรอนิคส์ โดยเช่ือมโยงข้อมูลตา่ งๆ ผ่านเครือข่าย ในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งจะไม่ปรากฏเครื่องหมายใดๆในหนังสือเดินทาง หรือไม่มีเอกสารที่แสดงถึงการได้รับ ตรวจลงตราแล้ว ตรวจลงตราอาจเป็นเอกสารที่แสดงว่าบุคคลหนึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าหรือเดินทาง ออกจากพื้นที่ของประเทศอันเป็นของผู้ออกการเดินทางในอดีตก่อนสงครามโลก ไม่ต้องใช้วีซ่าหรือตรวจลง ตรา ครั้นมีสงครามเกิดความหวาดกลัวในเรื่องสายลับจึงทำให้ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องทำการตรวจสอบ บุคคลกอ่ นทจ่ี ะอนญุ าตใหเ้ ดินทางเขา้ สปู่ ระเทศของตน การตรวจลงตรามีความสำคัญมาก เพราะเป็นเอกสารสำคัญที่แสดงไว้ในหนังสือเดินทางว่าผู้ถือ หนังสือเดินทางคนนั้น มีสิทธิ์ที่จะเดินทางเข้าไปในประเทศที่มีเครื่องหมายการตรวจลงตราในหนังสือเดินทาง น้ัน โดยมีระยะเวลาที่กำหนดไวใ้ นเอกสารตรวจลงตรา โดยวีซา่ แบง่ ได้เปน็ ประเภทตา่ งๆ ดังนี้ 1. วซี ่าเดนิ ทางผ่าน (Transit Visa) ปกตจิ ะมีอายปุ ระมาณ 5 วนั เพอ่ื เป็นทางผ่านไปยังประเทศอื่นท่ี เปน็ จุดหมายอนั ไม่ใชป่ ระเทศทีไ่ ด้รับอนุญาตซึ่งวีซ่าเดนิ ทางผ่าน

2. วซี า่ ท่องเทย่ี ว (Tourist Visa) เป็นวซี า่ ท่ีมีจดุ ประสงค์ในการเดินทางเพ่ือการท่องเท่ียวหรือสันทนา การ โดยไมม่ ีกจิ กรรมทางธุรกจิ มาเก่ียวข้องระหวา่ งการเดนิ ทางนั้นๆ 3. วีซา่ ธรุ กิจ (Business Visa) เปน็ วีซ่าเพื่อวัตถุประสงค์ในการท าการค้าหรือติดต่อธุรกิจในประเทศ ผอู้ อกวซี า่ หรือกจิ กรรมอนื่ ใดอนั เกี่ยวกับการทำธุรกจิ ในบางประเทศจะมกี ารรวมเอาการจ้างงานอยา่ งถาวรไว้ ในการอนญุ าตนี้ดว้ ย 4. วีซ่าทำงาน ช่ัวคราว (Temporary Worker Visa) เป็นวีซ่าที่แสดงว่าบุคคลนั้นได้รับอนุญาตให้ ทำงานในประเทศนั้นได้ชั่วคราวตามเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ในวีซ่า ส่วนใหญ่วีซ่าชนิดนี้ มีขั้นตอนวิธีปฏิบัติมาก การได้มาซึง่ วซี ่าจึงคอ่ นข้างยาก แตม่ ีชว่ งเวลาการไดร้ บั อนญุ าตท่ยี าวนานกวา่ วซี า่ ธรุ กจิ 5. วีซ่า ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมอื ง (On-Arrival Visa) เป็นวีซ่าทีไ่ ด้รับเมื่อเดินทาง ถึงประเทศทเี่ ป็นจดุ หมายการเดินทาง ซ่งึ จะไดร้ บั ตรงจดุ ตรวจคนเข้าเมือง[4] 6. วีซ่าคู่สมรส หรือวีซ่าแต่งงาน (Spouse Visa, Partner Visa, Marriage Visa) เป็นวซี ่าทอ่ี นุญาตให้ คู่แต่งงานไม่ว่าชายหรือหญิง ที่เป็นคู่สมรสของผู้ถือสัญชาติของประเทศนั้น ๆ สามารถเดินทางเข้าสู่ประเทศ ของอกี ฝา่ ยหนง่ึ และพำนักไดถ้ าวรตามบุคคลในครอบครวั 7. วีซ่าคู่หมั้น (Fiancee Visa, Prospective Marriage Visa, settlement Visa) เป็นวีซ่าที่อนุญาต ใหค้ แู่ ต่งงานไม่วา่ ชายหรือหญงิ ท่ีมีความประสงค์จะเดินทางเข้าไปพำนักอยใู่ นประเทศตามสัญชาติของอีกฝ่าย และจะต้องทำการสมรสผู้ถือสัญชาติของประเทศดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดตามวีซ่า และสามารถเดิน ทางเขา้ สู่ประเทศของอีกฝ่ายหน่งึ และพำนักได้ถาวรตามบุคคลในครอบครวั 8. วีซ่านักเรียน (Student Visa) เป็นวีซ่าซึ่งอนุญาตให้ทำการเรียนในประเทศที่ได้รับวีซ่านักเรียน ตามเงือ่ นไขที่กำหนดไว้ ในบางประเทศอาจใช้วีซ่าท่องเท่ียวแทน 9. วีซ่าท่องเที่ยวและทำงาน (Working Holiday Visa) เป็นวีซ่าทีอ่ ยูภ่ ายใต้ขอ้ ตกลงระหวา่ งประเทศ ผเู้ ปน็ ภาคี มีสาระสำคญั คอื สามารถเดินทางเพือ่ การท่องเท่ยี วและทำงานภายใตเ้ งื่อนไขท่ีกำหนดไว้ 10. วีซ่าการทูต (Diplomatic Visa) เป็นวีซ่าที่อนุญาตให้แก่ผู้ที่ถือหนังสือเดินทางทางการทูตหรือ เพือ่ การของรฐั ของประเทศน้ันๆ 11. วีซ่านักเขียน (Journalist Visa) เป็นวีซ่าที่อนุญาตให้กับนักเขียนหรือผู้สื่อข่าวจากหน่วยงานที่ ได้รบั การยอมรบั 12. วซี า่ อพยพ (Immigration Visa) เป็นวซี ่าอนมุ ัตใิ ห้กับผู้ทต่ี ้องการอพยพไปต้งั ถนิ่ ฐานยังประเทศท่ี อนญุ าต 13. วีซ่าผู้รับบำนาญ หรือ วีซ่าผู้เกษียณ (Pensioner Visa หรือ Retirement Visa) เป็นวีซ่าซึ่งบาง ประเทศ อนญุ าตให้สำหรบั ผู้ท่ีสามารถแสดงตนได้วา่ มีรายได้ในตา่ งประเทศซึง่ ไม่ใช่ประเทศที่ออกวีซ่าดังกล่าว ให้ แตต่ อ้ งเปน็ จำนวนท่เี พยี งพอต่อการดำรงชีพ และไมม่ ีความประสงคท์ ีจ่ ะทำงานแล้ว มักมกี ารจำกดั อายุของ ผู้รับอนญุ าตโดยรูปแบบวซี ่าของแต่ละประเทศ อาจมีหลายลักษณะไดแ้ ก่ - แบบเอกสาร เป็นหนังสือซึ่งวีซ่าแบบเอกสารอาจถือได้ว่าเป็นวีซ่าแบบเก่าแก่ เช่น การอนุญาตให้ บุคคลเดินทางออกจากดนิ แดนของตน - แบบตราประทับ ใช้วธิ ีการประทบั หรอื พมิ พก์ ารตรวจลงตราไวด้ ว้ ยหมึก

- แบบฉลาก เปน็ การพิมพ์การตรวจลงตราไว้บนฉลากจากนัน้ นำฉลากนั้นติดลงบนหนังสอื เดินทาง - แบบอิเล็กทรอนิก เป็นรูปแบบล่าสุดของออกตรวจลงตรา ซึ่งจะบันทึกข้อมูลต่างๆไว้ในส่วนเก็บ ข้อมูลของหนังสือเดินทาง เมื่อเดินทางเข้าสู่ประเทศผู้อนุญาตข้อมูลต่างๆจะถูกเรียกขึ้นมาดูผ่านระบบ คอมพิวเตอร์ ในปัจจบุ นั ประเทศนิวซีแลนดใ์ ชว้ ีซ่ารปู แบบน้ี 2.3 บัตรโดยสารเครื่องบิน (Ticket) หากเดินทางโดยใช้บริการจากบริษัทนำเที่ยว บริษัทจะจัดการ เรื่องบัตรโดยสารให้ แต่ถ้าต้องการเดินทางเองผู้เดินทางสามารถซื้อบัตรโดยสารโดยตรงได้จากบริษัทการบิน เพราะจะม่ันใจได้ว่ามีท่ีนงั่ ในเทย่ี วบนิ สำรองไวแ้ น่ แตร่ าคาท่ตี อ้ งจา่ ยเปน็ ค่าโดยสารอาจแพงกว่า หากแต่ถ้าซ้ือ จากบริษัทนำเทีย่ วหรือตัวแทนจำหน่าย เราก็จะได้ที่นั่งและบริการเหมือนกันทุกประการในราคาที่อาจต่ำกวา่ เพราะระบบการให้สว่ นลดค่าโดยสารเครอื่ งบินท่ีแขง่ ขนั กนั สงู ในตลาดการท่องเทีย่ ว 2.4 ใบรายการของบุคคลที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร (ใบ ตม.6) ผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยว จะต้องกรอกใบ ตม.6 ให้เรียบร้อย แนบไปกับหนังสือเดินทางเพื่อให้พนักงานตรวจคนเข้าเมืองตรวจ ประทับตรา 2.5 ค่าธรรมเนียมการใชส้ นามบิน (Passenger Service Charge) ผูโ้ ดยสารหรอื นักท่องเทย่ี วจะต้อง เตรยี มเงิน คนละ 700 บาท เปน็ ค่าธรรมเนียมการใชส้ นามบิน ยกเว้นเด็กอายตุ ่ำกว่า 2 ปี คา่ ธรรมเนียมภาษี สนามบินนี้ใช้ สำหรับท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทย ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานเชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศ ยานหาดใหญ่ ซ่งึ ปจั จุบนั น้ีคา่ ธรรมเนียมภาษีสนามบนิ มักจา่ ยรวมไปกบั ราคาตัว๋ เครื่องบนิ แลว้ 2.6 สัมภาระ (Baggage) จะต้องมนี ้ำหนกั และขนาดตามสายการบินกำหนด ส่วนใหญ่แลว้ จะอนุญาต ให้นำกระเป๋าถือหรือสะพายติดตัวขึ้นบนเครื่องได้ 1 ใบ หรือที่เรียกว่า Overnight ส่วนกระเป๋าเสื้อผ้าที่จะ โหลดเข้าท้องเครื่องถ้าเดินทางไปแถบเอเชียหรือยุโรป ชั้นประหยัด (Economy Class) ได้ประมาณ 20 กิโลกรัม ชั้นธุรกิจ (Business Class) ได้ 30 กิโลกรัม ชั้นหนึ่ง (First Class) ได้ 40 กิโลกรัม ถ้าเดินทางไป อเมริกา นำกระเปา๋ ไปได้ 2 ใบๆละประมาณ 32 กิโลกรัม นำ้ หนักอาจเกินไดเ้ ล็กนอ้ ย ถา้ เกินพิกดั มากตอ้ งจ่าย ค่าปรับคิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ของค่าโดยสารชั้นหน่ึง ในราคาเต็ม หากทราบปัญหาเรือ่ งน้ำหนักเกินพิกัดตั้งแต่ แรกแต่ก็จำเป็นต้องนำไปด้วยควรส่งเป็นสัมภาระไม่ติดไปกับตัว นั่นคือควรนำบัตรโดยสารเครื่องบินไปแสดง และขอสง่ ของท่ีฝ่าย Cargo กอ่ นวนั เดินทาง 48 ชว่ั โมง ค่าระวางจะถกู กวา่ และสัมภาระจะไปถงึ โดยเที่ยวบิน เดียวกนั กับทเี่ ดนิ ทางไปถงึ (บริษัทการทา่ อากาศยานไทย, 2547) 2.7 ตั๋วแลกเงินหรือการแลกเปลี่ยนเงิน ผู้เดินทางต้องเตรียมแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างๆ ที่ผู้เดินทาง ต้องนำไปใช้จ่ายในประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทาง หรือซื้อเป็นตั๋วแลกเงินเพื่อความปลอดภัยไม่ต้องถือเป็น เงนิ สดใหเ้ ปน็ อนั ตรายแกต่ ัว พธิ ีทางศุลกากร พิธีทางศุลกากร เป็นการดำเนินงานของรัฐบาลในการควบคุมการนำเข้า และการนำออกสินค้าของ ประเทศซึ่งมีกรมศุลกากรสังกัดกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่จัดเก็บรายได้ในรูปของอากรขาเข้าและขาออก ระหว่างประเทศใหเ้ ปน็ ไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับของศุลกากร และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่

ป้องกันควบคุมปราบปรามการลักลอบ และหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรทั้งขาเข้าและขาออก ตลอดจนการจัดเก็บ ภาษีแทนหน่วยราชการอื่นๆ ด้วย เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกระทรวงมหาดไทย โดยพิธีทาง ศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง จะมีช่องทางในการเข้าออก 3 ช่องทางได้แก่ช่องมีของต้องสำแดง(ช่องสี แดง) ช่องไม่มีของต้องสำแดง(ช่องสีเขียว) และช่องสำหรับลูกเรือและฑูต สองช่องแรกสำหรับผูเ้ ดินทางท่วั ไป โดยจะมีศุลการักษ์ประจำตามจุดตามช่องต่างๆ ในการเข้าออกประเทศควบคุมดูแลให้ผู้เดินทางปฏิบัติตาม กฎระเบียบพธิ ีทางศลุ กากร พธิ ีการเดินทางเขา้ และออกประเทศ ตอ่ ไปน้จี ะกล่าวถึงขน้ั ตอนการผ่านพิธกี ารเขา้ ออกประเทศของผูโ้ ดยสารท่ัวไป ดงั น้ี 1. การเดินทางเขา้ ประเทศ (ขาเขา้ ) การเดินทางเขา้ ประเทศสามารถแบง่ ผโู้ ดยสารได้เป็น 3 ประเภท คอื 1.1 ผู้โดยสารขาลง (Arrival Passenger) คือผู้โดยสารที่มีจุดหมายปลายทางที่ประเทศไทย ผู้โดยสารจะต้องไปแสดงตัวพร้อมหนังสือเดินทางกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง และจะพำนักอยู่ในประเทศ ไทยระยะหน่งึ 1.2 ผู้โดยสารเปล่ียนเครื่อง (Transfer Passenger) คือผู้โดยสารที่เดินทางมาจากเครื่องบิน เครื่องหนึ่งเพื่อแวะเปลี่ยนเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง ผู้โดยสารเหล่านี้จะต้องไปทำการยืนยันที่นั่งใหม่ที่เคา น์เตอร์ สำหรับผู้โดยสารผ่านของสายการบินนั้น ๆ เพื่อรับบัตรที่นั่งใหม่ โดยไม่ต้องผ่านการตรวจหนังสือเดินทาง ผู้โดยสารจะไปทห่ี ้องผโู้ ดยสารขาออกเพ่อื เดินทางไปยังจดุ หมายปลายทางต่อไป 1.3 ผู้โดยสารผ่าน (Transit Passenger) คือ ผู้โดยสารท่ีเดินทางมากับเครื่องบินเครื่องหนง่ึ และมาแวะที่ท่าอากาศยานเพียงชั่วครู่ เพื่อเติมเชื้อเพลิงหรือรับส่งผู้โดยสาร หรือขนถ่ายหรือรับสินค้า แล้ว เดินทางตอ่ ไปยงั จุดหมายปลายทางโดยเคร่อื งบนิ เครือ่ งเดียวกนั


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook