หนังสือเล่มเล็ก เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย จัดทำโดย นางสาวมรกต สุวรรณัง เลขที่ ๑๕ นางสาวสมิตานัญ จันทรเทพ เลขที่ ๑๖ นางสาวอลิตชา จิตรซื่อ เลขที่๒๕ ชั้นมัธยมศึกษ าปีที่ ๕/๓ นำเสนอ คุณครูเจนวิทย์ ต้นไชย วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท๓๒๑๐๒ โรงเรียน เบญจมานุสรณ์ จันทบุรี
คำนำ หนังสือเล่มเล็กชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ภาษาไทย วรรณคดี และวรรณกรรม เรื่อง \"ลิลิตตะเลงพ่าย\" จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งความรู้ และความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ที่สนใจศึกษา แนวประวัติศาสตร์และวีรกรรม ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่การ ศึกษาได้เป็นอย่างดี หากผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้จัดทำขออภัย มา ณ ที่นี่ คณะผู้จัดทำ
สารบัญ หน้า ความเป็นมา ๑ ประวัติผู้แต่ง ๒-๓ ลักษณะคำประพันธ์ ๔-๖ เนื้ อเรื่อง ๗-๒๗ ตัวละครสำคัญ ๒๘-๓๒
๑ ความเป็นมา ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีการดำเนินเรื่องตามพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา เริ่มตั้งแต่สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต จนถึง ตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับ พระมหาอุปราชาของพม่า พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ.๒๑๓๕ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงพระนิพนธ์เรื่อง นี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยแต่งแนวเดียวกับ ยวนพ่ายโคลงดั้น หรือโคลงยวนพ่าย ซึ่งมีมาก่อนตั้งแต่สมัยสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ
๒ ประวัติผู้แต่ง ผู้ทรงพระนิพนธ์เรื่อง ลิลิตตะเลพ่าย คือสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ ปรมานุชิตชิโนรส พระนามเดิม พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) พระมารดา คือ เจ้าจอมมารดาจุ้ย ต่อมาได้เลื่อนเป็น \"ท้าวทรงกันดาล\" ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ได้ผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ พระตำหนักท่าวาสุกรี วัดพระเชตุพนฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับ สถาปนาเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส สมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับการสถาปนาเป็นก รมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ สถาปนา เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ รวมพระชนมายุ ๖๔ พรรษา
๓ ประวัติผู้แต่ง (ต่อ) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเป็นสมเด็จพระ สังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงเป็นพระราชวงศ์ พระองค์แรกที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ทรงสถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงสมณศักดิ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ถึงปี พ.ศ. ๒๓๙๖ รวม ๒ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา ในทางพระพุทธศิลป์ ได้ทรงคิดแบบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ถวายพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเลือกพระอิริยาบทต่าง ๆ จากพุทธ ประวัติเป็นจำนวน ๓๗ ปาง เริ่มตั้งแต่ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา จนถึงปางห้าม มาร พระพุทธรูปปางต่าง ๆ เหล่านี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่อง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นบุคคลผู้มีผลงานดี เด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๓ นับเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ ได้รับการถวายเกียรตินี้
๔ ลักษณะคำประพันธ ์ แต่งด้วยลิลิตสุภาพ ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน ๔๓๙ บท โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่าย ที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยา ตอนต้น ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาพย์ จัดเป็นวรรณคดีประเภท เฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ ๑.ลักษณะบังคับร่ายสุภาพ ร่ายสุภาพบทหนึ่งมีตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป และตอนท้ายต้องจบด้วยโคลง สองสุภาพ ร่ายสุภาพแต่ละวรรคกำหนดให้มี ๕ คำ สำหรับสัมผัสบังคับของ ร่ายสุภาพ กำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือที่ ๒ หรือที่ ๓ เพียงดำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไป การส่งสัมผัสเป็นไปเช่นนี้จนกระทั่ง จบด้วยโคลงสองสุภาพ ส่วนสัมผัสในซึ่งเป็นสัมผัสที่ไม่บังคับในร่ายสุภาพ ใช้ไดทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระ แต่นิยมสัมผัสพยัญชนะมากกว่า จะได้แผนภูมิดังนี้
๕ ลักษณะคำประพันธ์ (ต่อ) ๒.ลักษณะบังคับของโคลงสองสุภาพ โคลงสองสุภาพมรสามวรรค วรรคหนึ่งและวรรคสองมีวรรคละ ๕ คำ วรรคที่สามมี ๔ คำ และคำสร้อยสองคำ บังคับเอกโทในวรรค จะได้ แผนภูมิดังนี้ ๓.ลักษณะบังคับโคลงสามสุภาพ โคลงสามสุภาพ มีจำนวนวรรคเพิ่มจากโคลงสองสุภาพอีกหนึ่งวรรค โดยคำสุดท้ายของวรรคแรก ส่งสัมผัสไปยังคำที่สามของวรรคที่ ๒ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ บังคับ เอก โท จะได้แผนภูมิดังนี้
๖ ลักษณะคำประพันธ์ (ต่อ) ๔.ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ โคลงสี่สุภาพมี ๔ บท บาทละวรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลัง ๒ คำ เฉพาะวรรคหลังบาทที่ ๔ มี ๔ คำ คำสร้อยมีได้ท้ายบาทที่ ๑ และ ๓ มีบังคับเอก ๗ แห่ง โท ๔ แห่ง คำเอก โท ในวรรคที่ ๑ บาทที่ ๑ นั้น สลับที่กันได้ ส่วนในตำแหน่งที่ต้องการคำเอกอาจใช้คำตายหรือคำเสียงสั้น แทนได้ แต่ห้ามใช้คำตายในคำที่ ๔ วรรคหลังของบาทที่ ๔ บังคับ เอก โท จะได้แผนภูมิดังนี้
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ๗ บทที่ ๑ บทเริ่มต้น เนื่ องด้วยพระเดชานุภาพของกษัตริย์ไทยที่สามารถมีชัยเหนือศัตรู ซึ่งมีการเลิ่องลือพระเกียรติยศไปทั่วหล้า ทำให้เหล่ากษัตริย์เมืองต่างๆ รู้สึกหวั่นเกรงและไม่กล้าที่จะออกรบด้วย จึงได้นำบ้านเมืองมาถวาย เป็นเมืองขึ้นแก่ไทยซึ่งมีกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถทำให้แผ่นดินไทย สงบสุข เมื่อเมืองอื่นๆได้ยินชื่อต่างก็หวั่นเกรง เปรียบได้กับพระรามซึ่งมี ชัยเหนือทศกัณฐ์ สามารถมีชัยเหนือข้าศึกในทุกครั้ง เปรียบเสมือนพระ นารายณ์ที่ลงมาเกิด ซึ่งเหล่าข้าศึกไม่กล้าสู้รบด้วยและหนีไปที่อื่น และ กษัตริย์ต่างๆก็ได้ยกย่องและสรรเสริญ
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๘ ตอนที่ ๒ เหตุการณ์ทางกรุงหงสาวดี ฝั่ งมอญหรือพม่าได้ข่าวว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาสวรรคต ซึ่งมีสมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์ต่อ ซึ่งพระเจ้านันทบุเรงผู้เป็นกษัตริย์ ของพม่าได้คิดว่าอาจมีการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างสมเด็จพระนเรศวรและ สมเด็จพระเอกาทศรถ จึงได้นำทัพมาเตรียมหากว่ามีเหตุการณ์ไม่สงบจะได้ โจมตีอยุธยา โดยได้มีบัญชาให้พระมหาอุปราชาและพระมหาราชเจ้านคร เชียงใหม่มาเตรียมทัพทั้งสิ้น ๕ แสนคน แต่พระมหาอุปราชาได้ทูลว่า พระองค์กำลังมีเคราะห์ถึงตายตามที่โหรได้ทำนายเอาไว้ พระเจ้านันทบุเรงจึง พูดประชดเพื่อให้เกิดมานะว่าหากมีความหวาดกลัวต่อเคราะห์ ก็ให้นำเอาผ้า ของผู้หญิงมาสวมใส่
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๙ ตอนที่ ๒ เหตุการณ์ทางกรุงหงสาวดี (ต่อ) พระมหาอุปราชามีความรู้สึกอายเหล่าขุนนางจึงกราบลาพระเจ้านันทบุเรง และเกณฑ์ทหารไปรบ จากนั้นจึงสั่งลาพระสนม สรงน้ำแล้วแต่งพระองค์ด้วย สนับเพลา รัดผ้าคาดและสวมพระภูษา จากนั้นจึงสวมกำไลที่ตกแต่งด้วยแก้ว ลายมังกร ผ้าตาบที่ตกแต่งจากแก้วไพฑูรย์ สายสะอึ้งที่ทำมาจากพลอย สาย สังวาล และที่ศีรษะทรงใส่มงกุฎเทริดรูปพญานาคแบบที่กษัตริย์มอญทรงใส่กัน พระธำมรงค์มีแสงสีรุ้ง มีแก้ว ๙ ประการ มีความสง่าสมกัยที่เป็นกษัตริน์ ทรง เดินอย่างมีอำนาจและถืออาวุธไว้ที่พระหัตถ์ แล้วจึงทูลลาพระเจ้านันทบุเรงเพื่อ ไปรบกับสยาม พระเจ้านันทบุเรงได้พระราชทานพรให้ทำศึกได้ชนะสมเด็จพระ นเรศวร รวมถึงพระราชทานโอวาทในการทำศึก ซึ่งมี ๘ ข้อดังต่อไปนี้ ๑.ให้เอาอกเอาใจทหาร ๖.รู้จักการตั้งค่ายทหาร ๒.อย่ามีความขลาด ๗.รู้จักให้รางวัลแก่นายทัพ ๓.อย่าโง่เขลาและเบาความ ๘.รู้จักมีความพากเพียร ๔.ให้รู้จักกับกระบวนทัพของข้าศึก และมีความเชี่ยวชาญ ๕.รู้วิชาเกี่ยวกับรบ เมื่ อฟังจบพระมหาอุปราชารับพรและทูลลาพระราชบิดาส่วนนายช้างรื่นเริง แกล้งกล้าขี่ช้างพันธกอมารับพระมหาอุปราชา แล้วจึงได้เริ่มเคลื่อนทัพออกไป
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๑๐ ตอนที่ ๓ พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาจนบุรี พระมหาอุปราชาได้รำพึงรำพันถึงเหล่านางสนมว่าได้ออกเดินทางมา รบเพียงคนเดียวทำให้รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ เมื่อเห็นไม้ที่สวยงามก็นึกถึงนาง อันเป็นที่รัก เมื่อมาถึงที่กาญจนบุรึ กองระวังด่านได้สอดแนมและสังเกต จากฉัตรจึงทราบได้ว่าเป็นมอญที่มีพระมหาอุปราชาเป็นผู้นำทัพมาจึงไป แจ้งแก่เจ้าเมือง แต่ชาวกาญจนบุรีไม่สามารถที่จะต้านกองทัพพม่าได้ จึงได้เข้าไปหลบในป่าเพื่ อดูว่าพม่ามีกลยุทธ์ใดบ้างและได้ส่งข่าวให้ กรุงศรีอยุธยาได้ทราบ ส่วนพระมหาอุปราชาได้ให้พระยาจิดตองเป็นผู้นำใน การทำสะพานเชือกข้ามแม่น้ำกระเพินมาที่กาญจนบุรีซึ่งได้กลายเป็น เมืองร้าง ได้ทรงพักค่ายที่ในเมือง
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๑๑ ตอนที่ ๓ พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาจนบุรี (ต่อ) เมื่ อได้เคลื่ อนกองทัพมาจนถึงตำบลพนมทวนก็เกิดลมเวรัมภาพัดมา ทำให้เศวตฉัตรของพระมหาอุปราชาหัก พระองค์ได้ทรงเรียกโหรมาทำนาย เหล่าโหรรู้ว่าเหตุการณ์นี้เป็นลางร้าย แต่กลัวพระอาญาจึงทูลว่าพระองค์ จะปราบทัพไทยได้และอย่าทรงกังวล แต่พระองค์ทรงไม่เชื่อในคำทำนายที่ โหรได้ทำนายให้ และได้ทรงหวั่นไปแล้วว่าจะแพ้แก่อยุธยา รวมถึงได้นึกถึง พระบิดาที่จะขาดคนให้คำปรึกษาหลังจากที่ได้เสีบพระโอรสไป และคิดว่า ไม่อาจจะกลับไปตอบแทนพระคุณได้
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๑๒ ตอนที่ ๔ สมเด็จพระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร ในเวลาเดียวกัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงถามทุกข์สุขของ ราษฎรและได้ตัดสินคดีความต่างๆด้วยความยุติธรรม หลังจากนั้นก็ได้ ปรึกษาเหล่าขุนนางเพื่อเตรียมยกทัพไปตีเขมร โดยจะนำกำลังพลจาก ทางใต้มาช่วย และพระองค์ได้ทรงบัญชาให้พระยาจักรี เป็นคนดูแล พระนครหากว่ากองทัพมอญได้ยกทัพมาในระหว่างการรบกับเขมร แล้วทูตจากกาญจนบุรีก็ได้เข้ามาที่ท้องพระโรง
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๑๓ ตอนที่ ๕ สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ สมเด็จพระนเรศวรกำลังจะยกทัพไปตีเขมร แต่บังเอิญว่าฝ่ายมอญยกทัพ เข้ามา ทำให้พระองค์ต้องนำกองทัพไปรบกับมอญก่อน โดยพระองค์ทรง ประกาศเกณฑ์พลทหารจากเมืองกาญจนบุรีจำนวน ๕๐๐ คนสำหรับไป สอดแนมบริเวณลำน้ำกระเพินและให้ทำลายสะพานข้ามแม่น้ำ หลังจากนั้น พระองค์ได้รับรายงานศึกจากทูตเมืองต่างๆเป็นการเน้นย้ำว่าครั้งนี้พม่าได้ ยกทัพมาจริง พระนเรศวรจึงได้นำความมาปรึกษากับอกมาตย์ได้ข้อสรุปว่า ควรจะทำศึกนอกเมืองซึ่งข้อสรุปนี้ก็ตรงกับพระประสงค์ของพระองค์อยู่แล้ว พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้มีการเกณฑ์ทหารจากหัวเมืองต่างๆ โดย มองหมายให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นกองทัพหน้า และให้มีปลัดทัพคือพระ ราชฤทธานนท์พร้อมด้วยพลทหารจำนวน ๕ หมื่นคนให้ออกไปรบก่อน ซึ่งหากไม่สามารถที่จะสู้ได้ พระองค์จะเสด็จมาช่วย ต่อจากนั้นแม่ทัพทั้งสอง ได้ทูลลา และยกทัพไปที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดกาญจนบุรี โดยตั้งค่าย ตามชัยภูมิสีหนาม เพื่อเตรียมพร้อมในการออกรบรวมถึงเป็นการลวงให้ ข้าศึกทำการต่อสู้ได้ลำบากมากยิ่งขึ้น
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๑๔ ตอนที่ ๖ พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ สมเด็จพระนเรศวรได้ให้โหรทำการหาฤกษ์ที่เหมาะในการยกทัพหลวง โดยหลวงญาณโยคและหลวงโลกทีปเป็นผู้คำนวนหาฤกษ์ได้คือ วัน อาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนยี่ ในเวลา ๘.๓๐ นาฬิกา ส่วนพระสุบินที่ทรง ฝันว่าพระองค์ทรงเห็นน้ำท่วมป่าในทิศตะวันตก และในขณะที่ทรงลุยน้ำ ได้เกิดการปะทะและต่อสู้กับจระเข้ตัวใหญ่ สุดท้ายพระองค์ได้ใช้ พระแสงดาบฟันจระเข้จนตาย แล้วสายน้ำก็แห้งไป สามารถทำนายโดย พระโหราธิบดีได้ว่า พระสุบินครั้งนี้เกิดจากเทวดาสังหรณ์ โดยอธิบาย ต่อว่า กระแสน้ำในทิศตะวันตกก็เปรียบได้กับกองทัพพม่า จระเข้คือพระ มหาอุปราชา
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๑๕ ตอนที่ ๖ พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ (ต่อ) และสงครามครั้งนี้เป็นสงครามใหญ่ที่จะเกิดการรบบนหลังช้าง ส่วนที่ พระองค์ชนะจระเข้ทำนายได้ว่าพระองค์จะชนะศัตรูได้ด้วยพระแสงของ้าว การที่พระองค์ทรงลุยไปในกระแสน้ำทำนายได้ว่าพระองค์จะบุกเข้าไปในกลุ่ม ข้าศึกจนข้าศึกเหล่านั้นแตกพ่ายไป หลังจากนั้นพระองค์และสมเด็จพระ เอกาทศรถได้เสด็จไปที่บริเวณเกยทรงช้างเพื่อรอฤกษ์ และขณะนั้นเองที่ พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุขนาดเท่ากับผลส้มเกลี้ยงๆที่ ลอยมาจากท้องฟ้าทิศใต้และเวียนทักษิณาวรรค ๓ รอบ รอบบริเวณกองทัพ แล้วจึงวนไปทิศเหนือ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรง อธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุบันดาลให้พระองค์มีชัยชนะเหนือเหล่าข้าศึก แล้วจึงเคลื่อนทัพออกไป โดยช้างทรงพระนเรศวรคือเจ้าพระยาไชยานุภาพ และช้างทรงสมเด็จพระเอกาทศรถคือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๑๖ ตอนที่ ๗ พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้ว ยกทัพเข้าปะทะหน้าของไทย พระมหาอุปราชาได้ให้ฝ่ายกองตระเวนของมอญซึ่งได้แก่ สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วนและกองกำลังม้า ๕๐๐ คนมาสืบดูการเคลื่อนไหวของ ฝ่ายไทย ซึ่งพบว่ามาตั้งค่ายอยู่บริเวณหนองสาหร่าย จึงไปทูลให้พระมหาอุป ราชาทราบ และเมื่อพระมหาอุปราชาให้ประมาณกองกำลังไทยจึงทูลตอบไปว่า มี ๑ แสนถึง ๑ แสนแปดหมื่นคน ซึ่งทรงเห็นว่าพระองค์มีกองกำลังจำนวน ที่มากกว่าและควรที่จะโจมตีให้ได้ในตอนแรกเลย แล้วค่อยไปล้อมกรุง ศรีอยุธยาเพื่อชิงราชสมบัติในภายหลัง จึงได้มีบัญชาไปถึงเหล่าทหารให้จัด เตรียมกองทัพในเวลา ๓ นาฬิกา เมื่อ ๕ นาฬิกาก็ได้เคลื่อนทัพออกไป โดย พระมหาอุปราชาประทัพช้างชื่อพลายพัทธกอซึ่งกำลังตกมันอยู๋ เพื่อให้พร้อม สำหรับการโจมตีในตอนเช้า ส่วนฝ่ายไทย พระยาศรีไสยณรงค์และพระราช ฤทธานนท์ได้รับพระบรมราชโองการให้โจมตีข้าศึก โดยจัดรูปแบบทัพแบบตรี เสนา ซึ่งเป็นการจัดทัพที่แบ่งทัพใหญ่ออกเป็น ๓ ทัพย่อยๆ และแต่ละทัพนั้น ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๓ กองด้วยกัน ได้แก่
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๑๗ ตอนที่ ๗ พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพ เข้าปะทะหน้าของไทย (ต่อ) 1.กองหน้า เจ้าเมืองธนบุรี = นายกองหน้าปีกซ้าย เจ้าเมืองนนทบุรี = นายกองหน้าปีกขวา พระยาสุพรรณบุรี = นายกองหน้า 2.กองหลวง เจ้าเมืองสรรคบุรี = นายกองปีกซ้าย เจ้าเมืองสิงห์บุรี = นายกองปีกขวา พระยาศรีไสยณรงค์ = แม่ทัพ ขี่ช้างพลายสุรงคเดชะ 3.กองหลัง เจ้าเมืองชัยนาท = นายกองหลังปีกซ้าย พระยาวิเศษชัยชาญ = นายกองหลังปีกขวา พระราชฤทธานนท์ = ปลัดทัพคุมกองหลัง
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๑๘ ตอนที่ ๗ พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพ เข้าปะทะหน้าของไทย (ต่อ) ในเวลาประมาณ ๗ นาฬิกา กองทัพไทยที่เคลื่อนทัพจากหนองสาหร่าย ก็มาถึงโคกเผาข้าว และได้ปะทะกับกองทัพมอญที่นี่ ซึ่งได้เกิดการต่อสู้เป็น คู่ด้วยอาวุธชนิดเดียวกัน เกิดการเสียชีวิตจำนวนมาก สุดท้ายกองทัพมอญ ที่มีจำนวนมากกว่าได้เคลื่อนที่มาล้อมกองทัพไทย ทำให้ต้องถอยทัพออก มาก่อน ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้เตรียมกำลัง ไว้พร้อม
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๑๙ ตอนที่ ๘ สมเด็จพระนเรศวรทรงปรึกษายุทธวิธีเอาชนะข้าศึก ในขณะที่พราหมณ์ได้ทำพิธีเบิกประตูป่าและพิธีละว้าเซ่นไก่ หลวงมหาวิชัยได้นำพระแสงดาบอาญาสิทธิ์มาทำพิธีตัดไม้ข่มนาม สมเด็จพระนเรศวรทรงได้ยินเสียงปืน จึงมีบัญชาให้หมื่นทิพเสนาไป สืบข่าว หมื่นทิพเสนาได้กลับมาพร้อมกับขุนหมื่นมาเข้าเฝ้า สมเด็จพระนเรศวร และกราบทูลว่าทัพไทยได้สู้รบกับทัพมอญบริเวณ ตำบลโคกเผาข้าวตอน ๗ นาฬิกาและได้ถอยร่นกองกำลังเข้ามา เนื่องจากข้าศึกมีจำนวนมากกว่า สมเด็จพระนเรศวรได้ปรึกษากับ แม่ทัพ โดยแม่ทัพทูลให้พระองค์ส่งกองทัพออกไปต้านทัพพม่า แต่พระองค์ทรงเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทัพไทยต้องแตกพ่ายอีกครั้ง จึงได้ข้อสรุปว่าให้กองทัพที่ แตกพ่ายนั้นถอยทัพเข้ามาเพื่ อลวงให้ ข้าศึกยกทัพตามเข้ามา จากนั้นนำกองทัพใหญ่ออกโจมตีแทน ซึ่งวิธี การนี้น่าจะได้รับชัยชนะได้อย่างไม่ยากนัก พระองค์จึงมีคำสั่งให้หมื่น ทิพเสนาและหมื่นราชามาตย์ไปบอกให้ทัพหน้ารับถอยทัพ ส่วนพม่าที่ ไม่รู้ในอุบายครั้งนี้ก็ได้รุกไล่เข้ามาตามที่ได้ทรงวางแผนไว้
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๒๐ ตอนที่ ๙ ทัพเคลื่อนพล ช้างสมเด็จพระนเรศวรและ สมเด็จพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก ขณะที่กองทัพฝ่ายไทยกำลังรอฤกษ์ในการเคลื่อนทัพ ก็ได้ปรากฎ เมฆลอยอยู่ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แต่หลังจากนั้นท้องฟ้าก็กลับเป็น ปกติ มีแสงอาทิตย์ส่องลงมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นนิมิตที่บ่งบอกถึงความ โชคดี หลังจากนั้นสมเด็จพระเอกาทศรถและสมเด็จพระนเรศวรได้เคลื่อน ย้ายกองทัพรูปเกล็ดนาคตามที่ได้มีการกล่าวไว้ในตำราพิชัยสงคราม และ ได้เกิดการปะทะกับทัพของฝ่ายพม่า บังเอิญว่าพระเจ้าไชยานุภาพและ เจ้าพระยาปราบไตรจักรได้ยินเสียงฆ้อง เสีลงกลอง เสียงปืน จึงได้วิ่งจน เจ้าไปใกล้กับกองหน้าของทัพข้าศึกทำให้มีเพียงกลางช้างและควาญช้าง จำนวน ๔ คนที่ตามเสด็จได้ทัน
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๒๑ ตอนที่ ๙ ทัพเคลื่อนพล ช้างสมเด็จพระนเรศวรและ สมเด็จพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก (ต่อ) โดยช้างทรงได้แทงช้างข้าศึกทำให้ทหารพม่าเสียชีวิตไปมากมาย ทหารพม่าได้พยายามยิงปืนแต่ไม่สามารถทำอันตรายช้างทรงได้ ซึ่งใน การต่อสู้ครั้งนั้นได้มีฝุ่นจำนวนมากทำให้วิสัยทัศน์ไม่ดี มองเห็นไม่ สะดวก พระนเรศวรได้ตรัสแก่เหล่าเทวดาว่า ที่ท่านเหล่านั้นได้ทำให้ พระองค์มาประสูติเนื่ องจากได้หวังให้พระองค์มาเป็นกษัตริย์และบำรุง พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง แล้วเพราะอะไรท่านเหล่านั้นจึงไม่ทำให้ ท้องฟ้าสว่างเพื่อให้เห็นข้าศึกได้ชัด หลังจากนั้นท้องฟ้าก็เป็นปกติและ พระองค์ทั้งสองทรงเห็นพระมหาอุปราชาถูกล้อมรอบด้วยทหาร ใต้ต้น ข่อย จึงได้บังคับช้างเข้าไป ข้าศึกบางส่วนยิงปืนไฟเข้ามาแต่ก็ไม่ได้โดน พระวรกายแต่อย่างใด
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๒๒ ตอนที่ ๑๐ ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงเชิญพระมหาอุปราชามาทำศึกร่วมกัน โดยเริ่ม ด้วยการกล่าวถึงพระเดชานุภาพและเชิญมาทำการรบบนคอช้างร่วมกัน หลังจากที่ได้ตรัสเสร็จ พระมหาอุปราชาได้เกิดขัตติยมานะแล้วได้นำช้าง เข้าสู้รบ ซึ่งกวีประพันธ์ว่าช้างทรงทั้งสองเปรียบเสมือนช้างเอราวัณและช้าง คีรีเมขล์ ซึ่งเป็นพาหนะพญามารวัสวดี และกษัตริย์ทั้งสองได้มาทำสงคราม กัน เปรียบดั่งสงครามของพระรามและทศกัณฐ์ เม่อช้างทรงของพระนเรศวร ได้โถมตัวเข้าหาช้างทรงพระมหาอุปราชา ช้างทรงพระมหาอุปราชาอยู่ด้าน ล่างและได้ใช้งาทำให้ช้างทรงสมเด็จพระนเรศวรแหงนหน้าขึ้น
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๒๓ ตอนที่ ๑๐ ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย (ต่อ) จากนั้นพระมหาอุปราชาได้เงื้อพระแสงของ้าวเพื่อที่จะฟัน แต่สมเด็จ พระนเรศวรทรงหลบได้ ต่อมาจากนั้นช้างทรงพระนเรศวรได้อยู่ด้านล่างจึง ใช้งาทำให้ช้างพระมหาอุปราชาหงายหลังและในจังหวะนั้นเอง สมเด็จพนะ นเรศวรได้ใช้พระแสงของ้าวฟันที่พระอังสะขวาของพระมหาอุปราชาจน ขาดสะพายแล่ง พระวรกายของพระมหาอุปราชาได้เอนลงมาซบอยู่บนคอ ช้าง ส่วนนายมหานุภาพซึ่งเป็นควาญช้างชองสมเด็จพระนเรศวรได้ถูกยิง เสียชีวิต ด้านสมเด็จพระเอกาทศรถได้ฟันมางจาชโรตายด้วยพระแสง ของ้าวบนหลังพลายพัชเนียร และหมื่นภักดีศวรผู้เป็นกลางช้างของ สมเด็จพระเอกาทศรถถูกปืนเสียชีวิต ส่วนกองทัพไทยที่ตามมาถึงทีหลัง ได้มาฆ่าทหารพม่า และทหารบางส่วนได้หนีเข้าป่าไป
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๒๔ ตอนที่ ๑๑ สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร หลังจากที่ทำสงครามเสร็จสิ้นแล้ว ได้ทรงมีพระบัญชาให้สร้างสถูป บริเวณที่พระองค์ได้ทำยุทธหัตถี ที่ตำบลตระพังตรุ เพื่อเป็นการ เฉลิมพระเกียรติในการทำสงครามครั้งนี้ และได้ส่งเจ้าเมืองมล่วนและ ควาญช้างไปแจ้งข่าวพระมหาอุปราชาสิ้นประชนม์ และข่าวที่ทรงแพ้ สงคราม จากนั้นพระองค์ได้ยกทัพกลับมาที่กรุงศรีอยุธยา แล้วได้ พระราชทานความชอบและบำเหน็จ เงิน ทอง ทาส เชลย แก่พระยารา มราฆพผู้เป็นกลางช้างของสมเด็จพนะนเรศวร และขุนศรีคชคงผู้เป็นควาญ ช้างสมเด็จพระเอกาทศรถ รวมถึงพระราชทานบำนาญแก่ภรรยาและบุตร ของนายมหานุภาพกับหมื่นภักดีศวรที่ได้เสียชีวิตที่สนามรบ ส่วนแม่ทัพ และนายทหารต่างๆที่ตามเสด็จไม่ทัน ถูกพิพากษาให้ได้รับโทษประหารชีวิต แต่ช่วงนั้นใกล้วันขึ้น ๑๕ ค่ำ จึงได้มีกำหนดประหารในวันหนี่งค่ำ (ปฏิบท) แทน
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๒๕ เมื่อวันแรม ๑๕ ค่ำ เวลาประมาณ ๘ นาฬิกา สมเด็จพระวันรัตแห่งวัดป่า แก้ว และพระราชาคณะ ๒๕ องค์จากสองส่วน ได้แก่ คามวาสี และ อรัญ วาสี ได้มาที่พระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระนเรศวรจึงมีคำสั่งให้นิมนต์มา ที่ท้องพระโรง สมเด็จพระนเรศวรได้แสดงการคารวะแก่พระวันรัต พระวัน รัตจึงถามกี่ยวกับการยุทธหัตถี เมื่อฟังจบได้ถามแก่สมเด็จพระนเรศวรถึง การที่ทหารเหล่านั้นได้รับโทษ และได้กราบทูลว่า การที่สมเด็จพระ นเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ททรงปราบศัตรูโดยไม่มีเหล่าทหาร คอยช่วยนั้น เปรียบเสมือนกับการที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระตรีโลกนาถ) ได้ทรงชนะพญามารโดยลำพัง
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๒๖ ตอนที่ ๑๒ ขอพระราชทานอภัยโทษ (ต่อ) ซึ่งในการนี้พระเกียรติยศต่างๆของพระองค์ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกแดน แต่หากมีทหารอยู่ด้วย พระเกียรติยศที่ได้รับก็จะไม่มากเท่านี้ และ เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ เนื่องจากเทพเทวดาต่างๆได้บันดาลให้เป็น และขอให้ พระองค์ทั้งสองไม่ต้องขุ่นพระทัย เมื่อสมเด็จพระวันรัตเห็นว่าความโกรธที่ พระองค์ทรงมีต่อเหล่าทหารได้ลดน้อยลงแล้ว จึงได้กราบทูลว่าทหารเหล่า นี้มีความผิดร้ายแรง และสมควรที่ได้รับโทษ แต่ทหารเหล่านี้ยังคงความ จงรักภักดีต่อพระองค์และได้รับราชการมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักร พรรดิซึ่งเป็นพระบรมอัยกาและสมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระบิดามา ก่อน
เนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๒๗ ตอนที่ ๑๒ ขอพระราชทานอภัยโทษ (ต่อ) จึงได้ขอให้พระองค์งดโทษประหารชีวิต และหากในอนาคตได้มีสงคราม และเหล่าทหารที่ต้องการจะแก้ตัวจะเป็นการเพิ่มบารมีของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นสมเด็จพระวันรัตจึงถววายพระพรลาและกลับวัดอฃ สมเด็็ จพระ นเรศวรจึงได้พระราชทานอภัยโทษแก่ทหารเหล่านั้นและได้ให้โอกาสไปตี เมืองตะนาวศรี ทวายและมะริด เป็นการแก้ไขความผิด โดยให้เจ้าพระยา คลังและทหาร ๕ หมื่นคนไปตีทวาย และเจ้าพระยาจักรีคุมทหาร ๕ หมื่นคน ไปตีมะริดและตะนาวศรี และได้ทรงมีพระราชดำรัสถึงหัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่ง ได่ถูกกวาดต้อนครอบครัวต่างๆมาจำนวนมาก หากดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ไว้ให้ดีย่อมจะทำให้การยกทัพเข้ามาจากทางพม่าและมอญคงไม่น่ากลัว เท่าใดนัก
ตัวละครสำคัญ เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ๒๘ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฝ่ายกรุงศรีอยุธยา พระนามเดิมว่า \"พระองค์ดำ\" กษัตริย์องค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรม ราชากับพระวิสุทธิกษัตรี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีความเก่งกล้า สามารถเป็นผู้ประกาศเอกราชหลังจากที่ เสียไปให้กับพม่า ๑๕ ปี ขยายราชอาณาจักรให้กว้างใหญ่ ทำ สงครามกับพม่า จนทำให้พม่าเกิดหวาด กลัวไม่กล้ารบกับไทย เป็นเวลาร้อยกว่าปี ทรงเสด็จสวรรคตวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ มีพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครอง ราชย์ได้ ๑๕ ปี
ตัวละครสำคัญ เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๒๙ สมเด็จพระเอกาทศรถ ฝ่ายกรุงศรีอยุธยา พระนามเดิมว่า \"พระองค์ขาว\" เป็นพระ ราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชา และวิสุทธิกษัตรี เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระนเรศวร ได้เสด็จออกร่วมทำการรบคู่กับสมเด็จ พระนเรศวร เป็นอุปราชาทรงครองราชย์ต่อจาก สมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๕๓ พระชนม์พรรษาได้ ๕๐ พรรษาเศษ ครองราชย์ได้ ๕ ปี
ตัวละครสำคัญ เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) ๓๐ สมเด็จพระมหาธรรมราชา ฝ่ายกรุงศรีอยุธยา พระนามเดิมว่า \"ขุนพิเรนทรเทพ\" มีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง ได้รับสถาปนาเป็นพระมหาธรรม ราชาได้ไปครองเมืองพิษณุโลก สถาปนาพระมหาธรรมราชาเป็น เจ้าครองราชย์กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวร ทรงประกาศ อิสรภาพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๗ สมเด็จพระมหาธรรมราชาครอง ราชย์ได้ ๒๑ ปี (พ.ศ. ๒๑๒๒ - พ.ศ. ๒๑๓๓)
๓๑ ตัวละครสำคัญ เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ) พระเจ้าหงสาวดี (นันทบุเรง) ฝ่ายหงสาวดี หงสาวดี : เมืองหลวงเก่าของพม่า เป็นพระราชโอรสของบุเรงนอง ดำรง ตำแหน่งเป็นอุปราชาในสมัยพระเจ้าบุ เรงนอง ทรงร่วมทำศึกหลายครั้งใน การขยายอำนาจ ขยายอาณาจักร ได้ ขึ้นครองราชย์ต่อจากบุเรงนอง พระองค์ไม่ได้มีอำนาจบารมีเทียบเท่า พระเจ้าบุเรงนองเจ้าเมืองอื่ นที่ เคย อ่อนน้อมก็เกิดความแข็งข้อ ฝ่ายหงสาวดีระแวงกรุงศรีอยุธยาจะ แข็งข้อ จึงพยายามหาทางกำจัด แต่ สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบแผนจึง ประกาศอิสรภาพ การเปิดศึกกับอยุธยา ๕ ครั้ง พ่าย แพ้ทุกครั้ง จึงทำให้พระราชอำนาจ เสื่อมลง พระเจ้านันทบุเรงหนีไปเมือง ตองอู โดนลอบวางยาปลงพระชนม์
ตัวละครสำคัญ เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย (ต่อ)๓๒ พระมหาอุปราชา ฝ่ายหงสาวดี หงสาวดี : เมืองหลวงเก่าของพม่า เป็นพระราชโอรสของนันทบุเรง ดำรงตำแหน่งอุปราชาในสมัยของ นันทบุเรง เดิมชื่อ \"มังสามเกียด\" หรือ \"มังกะยอชวา\" ทรงทำงานสนองพระราชบิดา หลายครั้ง โดดเด่นด้านการทำศึก สงคราม ถวายงานครั้งสุดท้ายใน การยกทัพไปตีกับไทย โดยการทำ ยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวร แล้วสิ้นพระชนม์
Search
Read the Text Version
- 1 - 35
Pages: