Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Human Anatomy

Human Anatomy

Published by pampam12345678, 2021-10-13 15:07:57

Description: 25E2D6D3-F002-48EF-AC3A-973A1565B58E

Search

Read the Text Version

ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทรอยด์ 1. ฮอร์โมนไทรอกซิน - แหล่งที่สร้าง : สร้างจากไทรอยด์ฟอลลิเคิล - อวัยวะเป้าหมาย : อวัยวะร่างกายทั่วไป - หน้าที่ : ควบคุมเมแทบบอลิซึมต่างๆของร่างกาย เช่น ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต, การใช้ พลังงาน และ การสังเคราะห์สาร เป็นต้น 2. ฮอร์โมนแคลซิโทนิน - แหล่งที่สร้าง : สร้างจากเซลล์พาราฟอลลิคิวลาร์หรือเซลล์ซี - อวัยวะเป้าหมาย : กระดูก, ท่อหน่วยไต และ ลำไส้เล็ก - หน้าที่ : ลดระดับแคลเซียมในเลือดให้ต่ำลงถ้าในเลือดมีระดับแคลเซียมสูงกว่าปกติ ทำได้ โดย - เพิ่มการสะสมแคลเซียมที่กระดูก - ลดการดูดแคลเซียมกลับจากท่อหน่วยไต ( ขับแคลเซียมทิ้งทางน้ำปั สสาวะ ) - ลดการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็ก ( เพื่อไม่ให้แคลเซียมถูกดูดเข้าสู่กระแสเลือด )

Parathyroid glang เป็นต่อมขนาดเล็กมี 2 คู่ อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้งฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือดและรักษาความเป็นกรดเป็นด่างในร่างกาย ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ฮอร์โมนที่สร้าง : พาราทอร์โมน หรือ พาราไทรอยด์ฮอร์โมน (Parathyroid gland )หรือ PTH ซึ่งเป็น สารประเภทพอลิเพปไทด์ อวัยวะเป้าหมาย : กระดูก ท่อหน่วยไต และ ลำไส้เล็ก หน้าที่ : ช่วยทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดเพิ่มขึ้นถ้าระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ฮอร์โมนจะ รักษาสมดุลของแคลเซียมในเลือด โดยทำงานตรงข้ามกับแคลซิโทนิน จากต่อมไทรอยด์ ดังนี้ กระตุ้นการสลายแคลเซียมจากกระดูกแล้วปล่อยเข้าสู่เลือด กระตุ้นท่อของหน่วยไตให้เพิ่มการดูดกลับของแคลซียมเข้า สู่เลือด ลดการขับถ่ายแคลซียม ไปกับ ปั สสาวะ กระตุ้นให้มีการดูดซึม แคลเซียม ที่ลำไส้เล็กเพิ่มขึ้น หมายเหตุ : การทำงานของพาราไทรอยด์ฮอร์โมน จะมีประสิทธิภาพดีขึ้นเมื่อทำงานร่วมกับวิตามินดี

Thymus gland ต่อมไทมัส (Thymus gland) มีลักษณะเป็นพู 2 พู อยู่บริเวณทรวงอกรอบเส้นเลือดใหญ่ ของหัวใจ ต่อมไทมัสจะเจริญเต็มที่ ตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดาและมีขนาดใหญ่มากเมื่อยังมีอายุน้อย แต่เมื่ออายุมากขึ้น ขนาดของต่อมไทมัสจะเล็กลงและฝ่อไปในที่สุดต่อมไทมัสทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน thymosin ซึ่งมีหน้าที่ในการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อต่อมไทมัสเอง ซึ่งเป็นอวัยวะน้ำเหลืองสร้าง T – lymphocyteหรือT – cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยการ ทำลายเซลล์แปลกปลอมที่เกิดขึ้นและกระตุ้นการทำงานของ B – cell ให้สร้างแอนติบอดีขึ้น มาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคให้หมดฤทธิ์ไป ฮอร์โมนที่สร้าง : ไทโมซิน ( thymosin ) อวัยวะเป้าหมาย : เนื้อเยื่อต่อมไทมัส หน้าที่ : กระตุ้นให้เนื้อเยื่อต่อมไทมัสเอง ซึ่งเป็นอวัยวะน้ำเหลืองสร้าง T – lymphocyte หรือT – cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

Pancreas ตับอ่อนตั้งอยู่ที่ด้านบนซ้ายของช่องท้อง โดยวางตัวจากส่วนโค้งของลำไส้เล็กส่วนดู โอดีนัม (duodenum ) ถึงม้าม (spleen) ละด้านหลังของกระเพาะ (stomach) มี ลักษณะค่อนข้างแบน มีความยาวประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร ตับอ่อนทำหน้าที่ทั้ง เป็นต่อมมีท่อคือการสร้างน้ำย่อยไปที่ลำไส้เล็กและเป็นต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมนเซลล์ ที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนจะรวมกันเป็นกลุ่มมีชื่อว่า ไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ ฮานส์ ( Islets of Langerhans ) มีปริมาณ 1 – 3 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อเยื่อตับอ่อน ทั้งหมด อร์โมนที่สร้างจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ 1.ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) แหล่งสร้าง : จากเบต้าเซลล์ (beta cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่รอบนอกของกลุ่มเซลล์ไอส์ เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ อวัยวะเป้าหมายคือ ตับ กล้ามเนื้อ หน้าที่ : ลดระดับน้ำตาลในเลือด (ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ 80 – 100 มิลลิกรัม / 100 ลบ.ซม. )โดยเพิ่มการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ตับ กระตุ้นให้เซลล์ ตับและเซลล์กล้ามเนื้อเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นไกลโคเจน ( โมเลกุลคาร์โบไฮเดรตที่สร้าง จากกลูโคส ) เก็บสะสมไว้ภายในเซลล์

2. ฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) แหล่งสร้าง : จากแอลฟาเซลล์ (alpha cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ส่วนในและเป็นเซลล์ ส่วนใหญ่ของกลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ อวัยวะเป้าหมาย คือ ตับ กล้ามเนื้อ หน้าที่ : เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด – กระตุ้นให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อเปลี่ยนไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสปล่อยเข้าสู่ กระแสเลือด – เพิ่มการสังเคราะห์กลูโคสจากกรดอะมิโนและกรดไขมัน การรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด จะเป็นสัญญาณยับยั้งหรือกระตุ้นการหลั่ง อินซูลินและกลูคากอนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ และผลจากการทำงานของ ฮอร์โมนทั้งสองจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในสภาวะปกติเสมอ 3.ฮอร์โมน Somatostantin :เป็น neurotransmitter ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน glucagon, insulin

adrenal glands ต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex) ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนที่สำคัญ 3 ตัว มีหน้าที่และกลไกในการควบคุมการทำงานที่แตกต่างกัน1 คือ 1. Aldosterone สร้างจากชั้น zona glomerulosa มีหน้าที่ในการปรับสมดุลของโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือด aldosterone ออกฤทธิ์ที่ proximal tubule ของไต ทำหน้าที่ในการดูดกลับโซเดียมกลับเข้าสู่ร่างกายและขับ โพแทสเซียมออกไปทางปั สสาวะ กลไกในการควบคุมการหลั่ง aldosterone คือระดับ ของโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือด โดยผ่านกลไกของ renin-angiotensin system ปั จจัยที่ทำให้มีการหลั่ง aldosterone มากขึ้น ได้แก่ ภาวะโซเดียมต่ำในเลือด (hyponatremia) หรือปริมาณน้ำในร่างกายลดลง (hypovolemia) 2. Cortisol สร้างจากชั้น zona fasciculata เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในการปรับร่างกายขณะที่มีความเครียด (stress) เช่น ความ เจ็บป่วย เป็นต้น กลไกในการควบคุมการสร้างและหลั่ง cortisol อาศัยกลไกป้อนกลับ (feedback mechanism) ระหว่างฮอร์โมน cortisol และ adrenocorticotropic hormone (ACTH) จากต่อมใต้สมอง และ corticotropin-releasing hormone (CRH) จากไฮโปธาลามัส เรียกว่า hypothalamic-pituitary-adrenal (HPA) axis 3. Androgen สร้างจากชั้น zona reticularis เป็นฮอร์โมนเพศ มีบทบาทน้อยมากในช่วงวัยเด็ก แต่มีบทบาทมากในขณะที่เข้าสู่วัยรุ่น ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ทำหน้าที่ในการเริ่มมีขนหัวหน่าว (pubarche, adrenarche) กลไกการควบคุมยังไม่ทราบแน่ชัด และไม่ขึ้นกับ hypothalamic-pituitary-gonadal (HPG) axis ที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน androgen จากต่อมเพศ

ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนใน ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla ) : ต่อมหมวกไตส่วนในเป็น ทั้งต่อมไร้ท่อและเป็นส่วนของประสาทซิมพาเทติก จะทำงานเมื่อเผชิญหน้ากับ ภาวะเครียด ตื่นเต้น ตกใจ กลัว หนีภัย เมื่อเจ็บปวดและออกกำลังกาย สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ - ฮอร์โมนเอพิเนฟริน ( epinephrine hormone ) หรือ อะดรีนาลิน (adrenalin hormone ) - ฮอร์โมนนอร์อิพิเนฟริน ( norepinephrine hormone ) หรือ นอร์อะดรีนาลิน (noradrenalin hormone ) 1.ฮอร์โมนเอพิเนฟริน แหล่งที่สร้าง : ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla ) อวัยวะเป้าหมาย : ตับ , หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ,หัวใจ หน้าที่ : - เปลี่ยน ไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดทำมีระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นใน กระแสเลือดการเผาผลาญอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้น - กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงและเร็วขึ้น ทำให้เลือดลำเลียงออกซิเจนและกลูโคสไปให้ เซลล์ร่างกายได้มากขึ้น - หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะภายในต่างๆขยายตัว - หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณผิวหนังและช่องท้องหดตัว 2.ฮอร์โมนนอร์เอพิเนฟริน แหล่งที่สร้าง : ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla ) อวัยวะเป้าหมาย : ตับ , หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ,หัวใจ หน้าที่ : - เปลี่ยน ไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดทำมีระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นใน กระแสเลือดการเผาผลาญอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้น - กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงและเร็วขึ้น ทำให้เลือดลำเลียงออกซิเจนและกลูโคสไปให้ เซลล์ร่างกายได้มากขึ้น - หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะภายในต่างๆหดหรือบีบตัว

Pineal gland ต่อมไพเนียล (Pineal Grand) คือ ต่อมไร้ท่อขนาดเล็กที่ผลิตสารเมลาโทนิน (Melatonin) ทำ หน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของต่อมเพศก่อนวัยหนุ่มสาวแต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นอาจมีผลต่อการ ตกไข่และประจำเดือนในเพศหญิง หากต่อมไพเนียลผลิตฮอร์โมนมากเกินไป จะทำให้เป็น หนุ่มสาวช้ากว่าปกติ แต่หากต่อมนี้ถูกทำลาย เช่น เกิดเนื้องอกในสมอง จะทำให้เป็นหนุ่มสาว เร็วกว่าปกติ เป็นต้น ถูกสร้างมากในเวลากลางคืน และน้อย ในเวลากลางวัน คือ มีวัฏจักรประจำวัน [circadian rhythym] กล่าวคือ เมื่อแสงสว่างส่องผ่านนัยน์ตาในเวลากลางวันไพเนียลแกลนด์จะหยุด ผลิตเมลาโทนินทันที ที่ได้รับแสงสว่าง แต่จะสร้างสารที่เรียกว่า เซโรโทนิน [serotonin] ซึ่ง เป็นสารที่ทำให้ร่างกายมีชีวิตชีวา กระฉับกระเฉงขึ้น จึงมีการนำ เมลาโทนินไปใช้ในผู้ที่นอน หลับยาก และปรับเวลานอนหลับในการเดินทางไกลข้าม 3-6 โซนเวลาหรือที่เรียกว่า [jet lag] ตามปกติ ต่อมไพเนียล ผลิต เมลาโทนิน โดยเฉลี่ยคืนละ 1-3 มิลลิกรัม ปริมาณการสร้าง เมลาโทนินจะลดลงตามวัย โดยอายุ 5-6 ปี จะมีระดับเมลาโทนินสูงสุด และลดลง ในวัยหนุ่ม สาว เมื่อถึงวัยกลางคน (40 ปีขึ้นไป) จะ ลดลงเป็นครึ่งหนึ่งของระดับเดิม และจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเข้าสู่วัยชรา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ยาตัวนี้เป็นที่ต้องการของผู้ที่ไม่ประสงค์จะชราก่อนวัย หรือที่เรียกว่า \"วัยทอง\" ซึ่งเป็นวัยที่ความกระฉับกระเฉงจะลดถอยลง ความเสื่อมโทรมของ ร่างกายจะเกิดมากขึ้น

บทที่5 ระบบกล้ามเนื้อ Muscles system ระบบกล้ามเนื้อ (The muscular system) เป็นระบบเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของ ร่างกายมนุษย์สามารถเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่างๆ ทั้งเดิน วิ่ง เหยียด ยืดแขน และอื่นๆ ได้นั้นต้องอาศัยการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและระบบกระดูกให้ทำหน้าที่ร่วมกันเสมอ กล้ามเนื้อจึงเปรียบได้กับเครื่องยนต์ซึ่งเป็นแหล่งของพลังงานกล ใช้ในการเคลื่อนไหว ของร่างกาย

กล้ามเนื้อ (Muscle) เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแป ลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้น เนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของ ร่างกาย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ กล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) กล้ามเนื้อ เรียบ (smooth muscle) และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) กล้ามเนื้อทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการ เคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้ เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจ จิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการก ลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา หน้าที่สำคัญของกล้ามเนื้อ 1.คงรูปร่างท่าทางของร่างกาย (Maintain Body Posture) 2.ยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน (Stabilize Joints) 3.ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว (Provide Movement) โดยการเปลี่ยนพลังงานที่ได้จากสาร อาหารมาเป็นพลังงานกล(Mechanical Energy) หรือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการ เคลื่อนไหว 4.รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย(Maintain Body Temperature) โดยผลิตความร้อน ออกมาตามที่ร่างกายต้องการ

ประเภทของกล้ามเนื้อ 1.กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) พบได้ที่อวัยวะภายในของร่างกาย และเป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ตลอด กล้ามเนื้อแบบนี้มีชื่อ เรียกอีกอย่างว่า กล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ (Involuntary Muscle) เพราะเราไม่สามารถ ควบคุมกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้ สมองและร่างกายขจะสั่งให้กล้ามเนื้อเรียบทำงานด้วยตัวของมัน เอง เช่น ในกระเพาะ (Stomach) และระบบการย่อยอาหาร (Digestive System) กล้าม เนื้อเหล่านี้จะหดตัวแน่นขึ้นและขยายตัวออก เพื่อให้อาหารเดินทางไปตามระบบย่อยอาหาร ส่วนอื่นๆของร่างกายได้ 2.กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) กล้ามเนื้อที่ประกอบขึ้นเป็นหัวใจมีชื่อเรียกว่ากล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อชนิดนี้เป็นกล้ามเนื้อ นอกอำนาจจิตใจเหมือนกับกล้าม เนื้อเรียบ ทำให้เกิดการเต้นของหัวใจ (Heart Beat) อยู่ ตลอดเวลา กล้ามเนื้อหัวใจจะบีบตัว (Contract) เพื่อดันเลือดส่งออกไปยังส่วนต่างๆของ ร่างกาย และคลายตัว (Relax) เพื่อให้เลือดไหลกลับเข้ามาสู่หัวใจหลังจากที่ไหลวนไปสู่ส่วน อื่นๆของร่างกายแล้ว 3.กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อภายใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary Muscle) ชนิดเดียวในร่างกาย กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้ กล้าม เนื้อลายจะห่อหุ้มโครงกระดูกของเราไว้ และทั้งสองอย่างจะทำงานร่วมกัน ทำให้ร่างกาย สามารถทำงาน กล้ามเนื้อลายมีรูปร่างและขนาดที่หลากหลาย จึงทำงานได้หลากหลายรูป แบบ กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อลาย

การทำงานของกล้ามเนื้อ เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงาน ประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้อ อีกมัดหนึ่งจะคลายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonistic muscle เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสาน เป็นคู่ ๆ พร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะ คลายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonistic muscle เมื่อกล้ามเนื้อไบเซพหรือ Flexors คลายตัว กล้ามเนื้อไตรเสพหรือ Extensors จะหดตัว ทำให้แขนเหยียดออก ส่วนเมื่อกล้ามเนื้อไบเซพหรือ Flexors หดตัว กล้ามเนื้อไตรเสพหรือ Extensors จะคลายตัว ทำให้แขนงอเข้า กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย เส้นเยื่อไมโอไฟบริล ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย ประกอบด้วยเส้นที่ ประกอบด้วยโปรตีน (Protein filament) 2 ชนิด คือ 1.เส้นหนาประกอบด้วยโปรตีนหรือที่เรียกว่าเส้นใยไมโอซิน (Myosin filament) 2.เส้นบางประกอบด้วยโปรตีนหรือที่เรียบว่าเส้นใยแอ็คทิน (Actin filament)

เส้นใยทั้ง 2 เส้น ซึ่งมีจำนวนมากมายนี้ จะรวมตัวกันเป็นหน่วยเรียกว่า ซาร์โคเมีย (Sarcomere) และเส้นใยทั้ง 2 เส้น ซึ่งมีจำนวนมากมายในแต่ละซาร์โคเมีย จะทำให้กล้าม เนื้อลายมีลักษณะเป็นลายมืดและลายสว่างสลับกันไป เส้นใยไมโอซินตั้งอยู่ในเขตที่มืดซึ่งเรียกว่า เอแบนด์ หรือ อนิโวทรอปปิคแบนด์ (A-Band or Anisotropic Bands) อย่างไรก็ดี เส้นใยแอคทินจะยื่นเข้าไปในเขตเอแบนด์ด้วยและ เมื่อเส้นใยกล้ามเนื้อลายหดตัว เส้นใยแอ็คทินจะเคลื่อนตัวไปซ้อนทับเส้นใยไมโอซินในเขต เอแบนด์มากขึ้น เส้นใยแอ็คทินจะอยู่ติดกับเส้นซีไลน์ (Z-line) ซึ่งอยู่ที่ปลายซาร์โคเมีย แต่ละข้าง เนื่องจากเส้นซีไลน์ตั้งอยู่ตลอดความยาวของเส้นใยกล้ามเนื้อลาย ฉะนั้น ช่วงซาร์โคเมียมีเขตเอแบนด์และเขตไอแบนด์ (I-Band ) บรรจุอยู่ จึงเป็นเหตุที่ทำให้ เส้นใยกล้ามเนื้อลายมีลักษณะปรากฏเป็นลาย ถ้าเส้นใยกล้ามเนื้อลายถูกดึงออกจากกันแรงมากผิดปกติ ปลายของเส้นใยแอ็คทินภายใน เขตเอแบนด์จะถูกดึงออกจากกัน ซึ่งจะทำให้เขตเอชโซน (H -zone) ปรากฏอยู่ตรงกลาง ของเขตเอแบนด์ กล้ามเนื้อลายจะหดตัวเมื่อเส้นใยไมโอซินและแอ็คทินเลื่อนเข้าหากัน ในขณะที่กล้ามเนื้อลาย หดตัว เนื่องจากเส้นใยแอ็คทินยึดแน่นอยู่กับเส้นซีไลน์ ดังนั้น เมื่อเส้นซีไลน์ถูกดึงเข้าหากัน ก็จะทำให้ช่วงไอแบนด์และช่วงซาร์โคเมียหดตัวสั้นลงตามไปด้วย ทฤษฎีการหดตัวของกล้ามเนื้อลายนี้เรียกว่า ทฤษฎีเส้นใยเลื่อนเข้าหากัน (Sliding over the filaments theory)

กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย กลัามเนื้อใบหน้า (facial muscles) กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตื้น คือ อยู่ใต้ผิวหนัง (Subcutaneous tissue) ด้าน หนึ่งเกาะกับกระดูกหน้า อีกด้านหนึ่งติดกับผิวหนังของใบหน้าทำหน้าที่แสดงความรู้สึกบน ใบหน้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ และแสดงอาการทางสีหน้า เช่น ยิ้ม หัวเราะร้องไห้ เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นบุคลิกภาพของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี กล้ามเนื้อที่ใช้ แสดงความรู้สึกของใบหน้า (Muscle of facial expression) ที่สำคัญ ได้แก่ Frontalis อยู่ที่หน้าผาก ทำหน้าที่ ยกคิ้วขึ้นลง ทำหน้าผากย่น Nasalis อยู่ที่จมูก ทำหน้าที่ หุบปีกจมูก เวลาดมกลิ่น Corrugator อยู่บริเวณคิ้ว – เหนือคิ้ว ทำหน้าที่ ขมวดคิ้ว ครุ่นคิด Orbiculalisocculi อยู่รอบดวงตา ทำหน้าที่ ปิดตา หรือหลับตา Zygomaticus major เกาะอยู่บริเวณโหนกแก้ม – ปากบน ทำหน้าที่ยกปาก Orbicularis oris อยู่บริเวณรอบปาก ทำหน้าที่ หุบปาก ทำริมฝีปากยื่น ทำปากจู๋ Risorius อยู่ถัดออกมาทางด้านข้างของปาก ทำหน้าที่เวลาแสยะยิ้ม

กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยว (Muscle of mastication) มี 4 มัด คือTempolaris muscle อยู่ที่ขมับด้านข้างของกระโหลกศรีษะ แผ่เป็นรัศมีเต็มขมับทำหน้าที่อ้า หุบและยื่นปาก เวลา เคี้ยวอาหารMasseter muscle อยู่ด้านนอกมุมขากรรไกรล่างของใบหน้ารูปร่างสี่เหลี่ยมผืน ผ้าทำหน้าที่ยกกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นเวลาเคี้ยวอาหารPterigiod muscle เป็นกล้าม เนื้อที่อยู่ลึกยื่นจากส่วนมาตรฐานของกระโหลกศรีษะไปยังบริเวณขากรรไกรล่าง มี 2 คู่ คือ External และ Internal pterigoid muscle ช่วยในการอ้าปาก หุบปาก เคลื่อนกราม ไปทางด้านข้าง กล้ามเนื้อคอ (Muscle of the neck) กล้ามเนื้อคอ (Muscle of the neck) ที่สำคัญในการเคลื่อนไหวของคอ มีอยู่ 3 มัด คือ 1.Sternomastoidหรือ Sternocleidomastoideusเป็นกล้ามเนื้อที่ใหญ่ที่สุดของคอเกาะ พาดจากกระดูกหน้าอกกับกระดูกไหปลาร้าไปยังด้านนอกของกระดูก Mastoid และกระดูก ท้ายทอย ทำหน้าที่เอียงคอ หันและหมุนคอ 2.Splenius capitisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านข้างของคอ มีจุดเกาะเริ่มจากกระดูกสันหลังส่วน ลำตัว (thoracic spine) อันที่ 3 และ 4 ไปยังจุดเกาะปลายที่กระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่ยืด คอ เอียงคอและเงยหน้า 3.Semispinaliscapitisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของคอ จุดเกาะต้นเริ่มจากกระดูกสัน หลังส่วนคอ (cervical spine) อันที่ 4 และ 5 ไปยังจุดเกาะปลายที่กระดูกท้ายทอย ทำ หน้าที่ยืดคอ เอียงคอและเงยหน้า

กล้ามเนื้อส่วนลำตัว (Muscle of the trunk) 1.กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้ากล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้าที่เห็นเด่นชัด และมัดใหญ่ 1.1 Pectoralis minor เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมแบนเล็กอยู่ภายใต้กล้ามเนื้อPectoralis major เกาะจากผิวนอกของกระดูกซี่โครงซี่ที่ 3 – 5 ไปยัง Coracoid process ของกระดูก สะบัก ทำหน้าที่ดึงหัวไหล่ไปทางด้านหน้าและลงล่าง และช่วยรับน้ำหนักตัวขณะที่ยืนเอามือยัน 1.2 Pectoralis major เป็นกล้ามเนื้อทรวงอกมัดใหญ่รูปร่างคล้ายพัดคลุมอยู่บนอกและทับอยู่ บนกล้ามเนื้อ Pectoralis minor และเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะจากแนวกลางของกระดูกหน้าอกไป ยังกระดูกต้นแขน เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นลักษณะเพศชายได้ชัดเจนคือมีลักษณะอกผายไหล่ผึ่ง ทำ หน้าที่หุบ งอ หมุนต้นแขนเข้าด้านใน ช่วยในการผลัก ขว้าง ปีนป่าย การหายใจเข้ารั้งแขนให้มา ทางด้านหน้าทำให้ไหล่คงรูปอยู่กับที่

1.3 Rectus abdominisเป็นกล้ามเนื้อหน้าท้องมีลักษณะเป็นแถบยาวเป็นปล้อง ๆ เมื่อ ออกแรงเกร็งมีจุดเกาะต้นจากกระดูกหัวเหน่า (Pubic bone) ทอดขึ้นบนและค่อย ๆกว้าง ขึ้นไปเกาะที่ปลายผิวหน้าของกระดูก Xiphoid และกระดูกซี่โครงที่ 5, 6,7 ทำหน้าที่เกร็ง ช่องท้องเวลายกของหนัก ช่วยในการขับถ่ายและคลอดบุตร 1.4 Oblique externusหรือ External oblique เป็นกล้ามเนื้อลำตัวด้านข้างตั้งต้นจาก กระดูกที่ 4 -12 ทอดเฉียงจากบนมาล่าง ยึดเกาะที่ Iliac crest ของกระดูกเชิงกรานทำ หน้าที่เหมือนกับกล้ามเนื้อ Rectus abdominis 1.5 Serratus anterior เป็นกล้ามเนื้อด้านในของรักแร้ อยู่ทางด้านข้างของอกมีรูปร่างเป็น แฉก ๆ ยึดติดกับกระดูกซี่โครงทางด้านหน้าไปยังกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ยึดดึงกระดูกสะบัก ให้อยู่กับที่และช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ Deltoid เวลายกแขน 2.กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหลังในส่วนลำตัวด้านหลัง

2.1 Trapezius เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมคลุมบริเวณคอด้านหลังลงมาถึงหลังโดยยึด เกาะจากแนวกลางของแผ่นหลังส่วนบนไปเกาะที่กระดูกไหปลาร้าทั้งซ้ายและขวา ทำหน้าที่ รั้งกระดูกสะบักมาข้างหลัง กล้ามเนื้อส่วนบนเมื่อหดตัวไหล่จะยกขึ้น ส่วนกลางหดตัวจะ ดึงสะบัก 2 ข้างเข้ามาหากัน ส่วนล่างหดตัวจะทำให้ไหล่ถูกดึงลง 2.2 Latissimusdorsiเป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมแบนกว้าง คลุมอยู่ตอนล่างของแผ่นหลัง และบั้นเอวทอดผ่านไปมุมล่างของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ดึงแขนเข้าชิดลำตัวดึง แขน ลงมา ข้างล่าง ด้านหลังและหมุนแขนเข้าด้านใน กล้ามเนื้อนี้ใช้มากในการปีนป่าย ว่ายน้ำ และ กรรเชียงเรือ จะหดตัวทันทีในขณะที่จาม กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน (Muscle of the upper limb) 1.กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่ 1.1 Deltoid เป็นกล้ามเนื้อคลายขนนกหลาย ๆ อันมารวมกันเป็นมัดใหญ่หนารูปสามเหลี่ยม จุดเกาะอยู่ที่ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แล้วไปเกาะที่ตอนกลางของกระดูกต้นแขน ทำ หน้าที่ยกไหล่และยกต้นแขน เป็นส่วนที่บ่งบอกลักษณะเพศชายได้อย่างชัดเจน 1.2 Supraspinatus เริ่มเกาะจากกระดูกสะบักไปยังกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่ช่วยกล้ามเนื้อ Deltoid ในการยก หรือกางแขน

1.3 Infraspinatusเริ่มเกาะจากกระดูกสะบักไปยังกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่หมุนต้นแขน ออกด้านนอก และดึงแขนไปด้านหลัง 1.4 Teres minor และ Teres major เกาะที่กระดูกสะบัก แล้วมาเกาะที่กระดูกต้นแขน โดย Teres minor ทำหน้าที่หมุนแขนออกด้านนอก Teres major ทำหน้าที่หมุนแขนเข้า ด้านใน 1.5 Subscapularisมีจุดเกาะที่กระดูกสะบักและกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่หมุนต้นแขนเข้า ด้านใน 2.กล้ามเนื้อแขนส่วนต้น 2.1 Biceps brachiiเป็นกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นแขน มีที่เกาะส่วนบนแยก 2 ทาง คือ เกาะจาก Coracoid process และ Supraglenoid tubercle ไปยัง Tuberosity ของ กระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) ทำหน้าที่งอต้นแขนและปลายแขน หมุนแขนเข้า และดึงออก 2.2 Brachialis เป็นกล้ามเนื้อต้นแขนที่อยู่ตรงกลางค่อนมาด้านล่าง เกาะจากกระดูกต้น แขนไปยัง Tuberosity ของกระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) ทำหน้าที่งอข้อศอก 2.3 Coracobrachialisเกาะจาก Coracoid process ของกระดูกสะบักไปยังกึ่งกลาง ของกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่งอต้นแขน 2.4 Triceps brachiiเป็นกล้ามเนื้อด้านหลังของต้นแขน ปลายบนแยก 3 ทางเกาะที่ กระดูกสะบักหนึ่งที่ และอีก 2 ทางเกาะที่กระดูกต้นแขน และมีจุดเกาะปลายที่กระดูก ปลายแขนท่อนใน (Ulna) กล้ามเนื้อมัดนี้จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับกล้ามเนื้อ Biceps brachiiคือ ทำหน้าที่เหยียดปลายแขน 3.กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน 3.1 Brachioradialisเป็นกล้ามเนื้อด้านนอกของปลายแขน มีจุดเกาะต้นที่ตอนล่างของ กระดูกแขน ไปเกาะที่ด้านนอกของกระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) ทำหน้าที่งอ ปลายแขน 3.2 Flexor carpi radialisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของปลายแขน มีจุดเกาะที่กระดูก ต้นแขนแล้วมาเกาะที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 และ 3 ทำหน้าที่งอข้อมือและกางมือ 3.3 Palmaris longusเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหน้าของแขน จุดเกาะต้นเริ่มจาก กระดูกต้นแขนไปยังกระดูกปลายแขน แล้วกลายเป็นเอ็น (Tendon) ไปเกาะที่ฝ่ามือทำ หน้าที่งอข้อมือ

3.4 Flexor carpi ulnarisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหลังของกระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) ผ่านมาที่ข้อมือ ทำหน้าที่งอข้อมือ 3.5 Extensor carpi radialislongusเป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นจากกระดูกต้นแขน แล้วไปเกาะที่กระดูกฝ่ามือทางด้านหลัง ทำหน้าที่กางและเหยียดข้อมือ 3.6 Extensor digitorumเป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นจากกระดูกต้นแขน และมีปลายเป็น เอ็น 4 อัน ไปเกาะยังกระดูกนิ้วมือทั้ง 4 นิ้ว ทำหน้าที่เหยียดนิ้วมือและข้อมือ 4.กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้ว กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้วมือ เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็กและสั้น ส่วนมากจะเป็นเอ็นของกล้าม เนื้อซึ่งติดต่อมาจากแขนท่อนล่าง ทำหน้าที่ช่วยในการงอและเหยียดมือและข้อมือรวมทั้ง ช่วยให้นิ้วหัวแม่มือสามารถเคลื่อนไปแตะนิ้วอื่น ๆ ได้จึงเรียกว่า Opposition กล้ามเนื้อใน กลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ 4.1 Thenar eminence เป็นกล้ามเนื้อหัวแม่มือเกาะที่ฝ่ามือ โดยเฉพาะที่ได้ฐานหัวแม่มือ จะเห็นเป็นเนินชัดเจน ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ 4.2 Hypothenar eminence เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้นิ้วก้อย มีรอยนูนเด่นชัด ทำหน้าที่งอนิ้ว ก้อย 4.3 Dorsal interosseusเป็นกล้ามเนื้อที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 และ 2 ผ่านมาเกาะที่นิ้วชี้ ทำ หน้าที่กางนิ้วชี้และหมุนหัวแม่มือ 4.4 Abductor pollicisเกาะอยู่ที่ฐานของนิ้วหัวแม่มือ ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา (Muscle of the lower limb)

1.กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและก้นกบ 1.1 Gluteus maximusเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และหน้าที่สุดของส่วนสะโพก มีจุดเกาะที่ Ilium และ Sacrum ของกระดูกเชิงกราน แล้วไปเกาะยังกระดูกต้นขา ทำหน้าที่เหยียดขา กางต้นขา หมุนต้นขา ไปทางด้านข้าง 1.2 Tensor fasciae lataeเป็นกล้ามเนื้อทางด้านข้างของสะโพก เกาะอยู่ที่ส่วนหน้าของ กระดูกเชิงกรานทำหน้าที่กางและหมุนขาเข้าด้านใน 2.กล้ามเนื้อส่วนโคนขา กล้ามเนื้อส่วนนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งหน้าที่ และประสาทที่มาเลี้ยง ด้านหลังของ ต้นขาเรียกว่า Flexor surface เป็นที่อยู่ของกล้ามเนื้อกลุ่มเอ็นหลังต้นขาด้าล่าง(Hamstring group) อีกกลุ่มหนึ่งคือ กล้ามเนื้อกลุ่มดึงข้อ (Adductor group) และยังมีกล้ามเนื้อกลุ่มด้าน หน้าของต้นขา (Anterior group) กล้ามเนื้อส่วนโคนขามัดที่สำคัญ มีดังนี้ 2.1 Biceps femorisเป็นกล้ามเนื้อในกล้ามเนื้อกลุ่มเอ็นหลังต้นขาด้านล่าง จุดเกาะเริ่มจาก กระดูก Ischium และกระดูกต้นขาไปยังส่วนหัวของกระดูกปลายขาท่อนเล็ก (Fibula)ทำหน้าที่ เหยียดต้นขาและงอเข่า 2.2 Rectus femorisเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของต้นขา (Anterior group)เป็นกล้ามเนื้อ มัดใหญ่อยู่ทางด้านหน้าของต้นขา จุดเกาะเริ่มจากกระดูก lliumไปยังกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia) ทำหน้าที่งอต้นขาและเหยียดปลายขา 2.3 Satoriusเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของต้นขา มีลักษณะยาวแบนพาดเฉียงบนโคนขา จุดเกาะเริ่มจาก Iliac spine ไปยังส่วนบนของกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia)ทำหน้าที่งอต้น ขา และปลายขา 3.กล้ามเนื้อส่วนปลายขา กล้ามเนื้อส่วนปลายขาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มด้านหน้าของปลายขา(Anterior compartment) กลุ่มด้านข้างของปลายขา (Lateral compartment) และกลุ่มด้านหลังของ ปลายขา (Posterior compartment) กล้ามเนื้อส่วนปลายขาที่สำคัญ ได้แก่ 3.1 Tibialisanticusเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของปลายขา เกาะจากด้านข้างของกระดูก ปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia) และจากผังผืด ซึ่งยึดระหว่างกระดูกปลายขาท่อนใหญ่และท่อนเล็ก และเกาะที่กระดูกฝ่าเท้าทำหน้าที่กระดกข้อเท้า และบิดข้อเท้าเข้าด้านใน 3.2 Gastrocnemius เป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหลังของปลายขา เป็นกล้ามเนื้อน่องเกาะจาก ส่วนปลายของกระดูกต้นขาทั้งสองด้าน ส่วนปลายกลายเป็นเอ็นเกาะที่กระดูกส้นเท้า(Achillis tendon) ทำหน้าที่งอหลังเท้า เหยียดนิ้วเท้า ถีบฝ่าเท้าลงและช่วยงอเข่าด้วย 3.3 Soleus เป็นกล้ามเนื้อใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาอยู่ใน Gastrocnemius ทำหน้าที่งอฝ่าเท้า

4.กล้ามเนื้อส่วนเท้า เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะคล้ายบริเวณมีข้อมือแตกต่างกันตรงที่เป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมส้นเท้า ระหว่างการเดิน กล้ามเนื้อส่วนเท้าที่สำคัญ มีดังนี้ 4.1 Flexor hallucislongusเกาะจากด้านหลังของกระดูกช่วงล่าง ส่วนปลายเป็นเอ็นเกาะ ที่กระดูกหัวแม่เท้า ท่อนปลายทำหน้าที่งอปลายนิ้วหัวแม่เท้า ทำหน้าที่กระดกข้อเท้าลง และ บิดเท้าเข้าด้านใน 4.2 Extensor digitorumbrevisเป็นกล้ามเนื้อด้านหลังเท้า ตรงปลายเป็นเอ็นไปเกาะที่นิ้ว เท้าทั้ง 4 ยกเว้นนิ้วหัวแม่เท้า ทำหน้าที่เหยียดข้อของนิ้วเท้าทั้ง 4 4.3 Adductor hallucisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกสุด ทำหน้าที่เหยียดหัวแม่เท้า 4.4 Flexor digitorumbrevisเป็นกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเท้า ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหว เป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้าเวลาเดิน

บทที่6 ระบบกระดูก Skeletal System เป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยป้องกันอวัยวะบอบบางต่างๆ ที่อยู่ภายในที่เกาะเกี่ยว อยู่ ภายในกระดูกแต่ละส่วนของร่างกาย องค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งภายในกระดูก คือ ไขกระดูก ขณะเดียวกันกระดูกยังเป็นแหล่งเก็บสะสมเกลือแร่ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แคลเซียมและฟอสฟอรัส บริเวณรอบกระดูกจะมีเนื้อเยื่อหนาห่อหุ้มอยู่เรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก (Periosteum) ซึ่งเยื่อหุ้มกระดูกนี้ ประกอบด้วยเซลล์กระดูกและหลอดเลือด ซึ่งจะนำเลือด มาเลี้ยงในส่วนของกระดูกชั้นนอก กระดูกชั้นนอกหรือเรียกว่า กระดูกทึบ (Compact bone) ประกอบด้วยเกลือแร่สะสมอยู่เป็นวงกลมล้อมรอบท่อขนาดเล็กๆ ซึ่งเรียกว่า ท่อฮาเวอร์เชียน (Haversian canal) เซลล์กระดูกรอบๆท่อฮาเวอร์เชียน จะได้รับอาหารและออกซิเจนจาก หลอดเลือดที่ผ่านท่อฮาเวอร์เชียนที่ผ่านท่อเหล่านี้ และถ้าหากว่า กระดูกเกิดแตกหัก เส้น ประสาทในท่อเล็กๆ นี้ก็จะส่งกระแสประสาทไปยังสมองเราจึงรู้สึกถึงความเจ็บปวด ส่วน กระดูกชั้นในนั้นมองดูคล้ายรวงผึ้ง เพราะมีลักษณะเป็นร่างแหที่มีช่องว่างระหว่างกระดูก เรียกว่า กระดูกพรุน (Spongy bone) แต่ก็มีความแข็งแรงไม่แพ้ส่วนกระดูกทึบเช่นกัน ซึ่ง ถ้ากระดูกของคนเราเป็นกระดูกทึบทุกท่อนร่างกายคงหนักมาก ไขกระดูกจะมีปริมาณราวๆ 227 กรัม สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ประมาณ 5,000 เม็ด/วัน สำหรับทารกใน ครรภ์โครงกระดูกทุกชิ้นจะมีไขกระดูกแดงบรรจุอยู่ แต่เมื่อเจริญเติบโตถึงวัยผู้ใหญ่แล้วจะ พบไขกระดูกนี้เฉพาะในส่วนของกะโหลกศรีษะ กระดูกหน้าอก กระดูกสันหลัง กระดูก สะโพกและบริเวณตอนปลายของกระดูกชิ้นยาวๆ เท่านั้น

ระบบโครงกระดูกประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ กระดูกอ่อน (Cartilage) ทำหน้าที่รองรับส่วนที่อ่อนนุ่มของร่างกาย เพื่อที่จะทำให้การ เคลื่อนไหวได้สะดวก ป้องกันการเสียดสี เนื่องจากผิวของกระดูกอ่อนเรียบ จึงพบว่ากระดูก อ่อนจะอยู่ที่ปลายหรือ หัวกระดูกที่ประกอบเป็นข้อต่อต่าง ๆ และยังเป็นต้นกำเนิดของกระดูกแข็งทั่วร่างกาย ข้อต่อ (Joints) คือส่วนต่อระหว่างกระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมาต่อกัน เพื่อการเคลื่อนไหว ของร่างกาย เอ็น (Tendon) มีทั้งที่เป็นเอ็นกล้ามเนื้อและเอ็นยึดข้อ (Ligament) เป็นเนื้อเยื่อที่มีความ แข็งแรงมาก มีลักษณะเป็นเส้นใยเหนียว ช่วยยึดกระดูกกับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน กระดูก (Bone) เป็นส่วนที่แข็งที่สุด โครงกระดูกในผู้ใหญ่ ประกอบด้วยกระดูกจำนวน 206 ชิ้น ส่วนในทารกแรกเกิดจะมีกระดูกถึง 300 ชิ้นเพราะกระดูกอ่อนยังไม่ติดกัน มนุษย์มีกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1.กระดูกแกนกลางของร่างกาย (Axial skeletal) มีทั้งหมด 80 ชิ้นได้แก่ 1.1. กระดูกกะโหลกศรีษะ (Cranium)

กระดูกหน้าผาก (Frontal bone) 1ชิ้น กระดูกด้านข้างศรีษะ (Parietal bone) 2ชิ้น กระดูกขมับ (Temporal bone) 2 ชิ้น กระดูกท้ายทอย (Occipital bone) 1 ชิ้น กระดูกขื่อจมูก (Ethmoid bone) 1ชิ้น กระดูกรูปผีเสื้อ (Sphenoid bone) 1 ชิ้น 1.2. กระดูกใบหน้า (Bone of face) กระดูกสันจมูก (Nasal bone)2ชิ้น กระดูกกั้นช่องจมูก (Vomer) 1ชิ้น กระดูกข้างในจมูก (Inferior concha) 2 ชิ้น กระดูกถุงน้ำตา (Lacrimal bone) 2ชิ้น กระดูกโหนกแก้ม (Zygomatic bone) 2ชิ้น กระดูกเพดาน (Palatine bone) 2 ชิ้น กระดูกขากรรไกรบน (Maxillary) 2ชิ้น กระดูกขากรรไกรล่าง (Mandible) 1 ชิ้น

1.3. กระดูกหู (Bone of ear) กระดูกรูปฆ้อน (Malleus) 2ชิ้น กระดูกรูปทั่ง (Incus) 2 ชิ้น กระดูกรูปโกลน (Stapes) 2 ชิ้น 1.4. กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น 1.5. กระดูกสันหลัง (Vertebrae) 26 ชิ้น

กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical vertebrae) 7 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebrae) 12ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar vertebrae) 5ชิ้น กระดูกกระเบนเหน็บ (Sacrum) 1ชิ้น กระดูกก้นกบ (Coccyx) 1 ชิ้น 1.6. กระดูกทรวงอก (Sternum) 1 ชิ้น 1.7. กระดูกซี่โครง (Rib) 24 ชิ้น

2.กระดูกระยางค์ (Appendicular skeletal) ประกอบด้วย กระดูก 126 ชิ้น 2.1 กระดูกไหล่ (Shoulder girdle) – กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) 2ชิ้น – กระดูกสะบัก (Scapular) 2 ชิ้น 2.2 กระดูกต้นแขน (Humerus) 2 ชิ้น 2.3 กระดูกปลายแขน (Bone of forearm) – กระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) 2 ชิ้น – กระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) 2 ชิ้น

2.4. กระดูกข้อมือ (Carpal bone) 16 ชิ้น 2.5. กระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bone) 10 ชิ้น 2.6. กระดูกนิ้วมือ (Phalanges) 28 ชิ้น 2.7. กระดูกเชิงกราน (Hip bone) 2 ชิ้น 2.8. กระดูกต้นขา (Femur) 2 ชิ้น 2.9. กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) 2 ชิ้น 2.10. กระดูกน่อง (Fibula) 2 ชิ้น 2.11. กระดูกข้อเท้า (Tarsal bone) 14 ชิ้น 2.12. กระดูกฝ่าเท้า (Metatarsal bone) 10 ชิ้น 2.13. กระดูกนิ้วเท้า (Phalanges) 28 ชิ้น จำนวนของกระดูก (Number of bone) จำนวนของกระดูกทั้งหมดในร่างกาย หมายถึง กระดูกในผู้ใหญ่ที่เจริญ เต็มที่แล้ว มีทั้งสิ้น 206 ชิ้น โดยแบ่งเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ – กะโหลกศรีษะ( Cranium) 8 ชิ้น – กระดูกหน้า (Face) 14 ชิ้น – กระดูกหู (Ear) 6 ชิ้น :กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น – กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น – กระดูกหน้าอก (Sternum) 1 ชิ้น – กระดูกซี่โครง (Ribs) 24 ชิ้น – กระดูกแขน (Upper extremities) 64 ชิ้น – กระดูกขา (Lower extremities) 62 ชิ้น

แบ่งตามลักษณะกระดูก 1.กระดูกยาว ได้แก่ กระดูกแขน กระดูกขา 2.กระดูกสั้น ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า 3.กระดูกแบน ได้แก่ กระดูกซี่โครง กระดูกอก กระดูกสะบัก 4.กระดูกยาว รูปร่างไม่แน่นอน ได้แก่ กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูก เชิงกราน 5. กระดูกลม 6. กระดูกโพรงกะโหลกศีรษะ หน้าที่ของกระดูก 1.ช่วยรองรับอวัยวะต่างๆ ให้ทรงและตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ควรอยู่ (Organ of support) 2.เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนไหว เช่น พาร่างกายย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (Instrument of locomotion) 3.เป็นโครงของส่วนแข็ง (Framework of hard material) 4.เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆ และ Ligament เพื่อทำหน้าที่เป็นคานให้ กล้ามเนื้อทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว 5.ช่วยป้องกันอวัยวะสำคัญไม่ให้ได้รับอันตราย เช่น สมอง ปอด และหัวใจ เป็นต้น 6.ทำให้ร่างกายคงรูปได้ (Shape to whole body) 7.ภายในกระดูกมีไขกระดูก (Bone marrow) ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือด (Blood cell) 8.เป็นที่เก็บแร่ธาตุ Calcium ในร่างกาย 9. ป้องกันเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ทอดอยู่ตามแนวของกระดูกนั้น

ข้อต่อและกระดูก กระดูกที่ละท่อนต่อเชื่อมกันด้วยเอ็นซึ่งต่อกันได้หลายแบบแล้วแต่การเคลื่อนที่ การที่ กระดูกประกอบด้วยชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาต่อๆกัน ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวล ราบรื่นมากขึ้น กระดูกที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น กะโหลกศีรษะ กระดูกเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย เช่น กระดูกบริเวณก้นกบ กระดูกแบบบานพับ เช่น กระดูกต้นแขน ข้อต่อบริเวณหัวเข่า กระดูกแบบหัวกลม เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะ กระดูกต้นคอ กระดูกต้นขากระดูก สะบักเป็นต้น เคลื่อนไหวของข้อต่อ 1.เคลื่อนได้ระนาบเดียวกัน(แบบบานพับ) เช่น ข้อศอก ข้อเข่า 2.เคลื่อนได้2 ระนาบ เช่น ข้อมือ กระดกขึ้น-ลง 3.เคลื่อนได้ 3 ระนาบ เช่น ข้อไหล่ ข้อสะโพ

บทที่7 ระบบย่อยอาหาร Digestive System ระบบย่อยอาหารมีหน้าที่ย่อยอาหารให้ละเอียด แล้วดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การย่อยอาหาร (Digestion) หมายถึง กระบวนการสลายอนุภาคอาหารให้มีขนาดเล็กสุด จนสามารถดูดซึมเข้าไปในเซลล์ได้ เมื่อมนุษย์รับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกาย จะผ่านระบบต่าง ๆ ดังนี้ • ปาก • หลอดอาหาร • กระเพาะอาหาร • ลำไส้เล็ก • ลำไส้ใหญ่ • ของเสียออกทางทวารหนัก

ช่องปาก (Mouth, Oral cavity) ช่องปากเป็นส่วนต้นของท่อทางเดินอาหาร มีขอบเขตดังนี้ ด้านหน้าและด้านข้าง : เป็นส่วนของแก้มซึ่งเป็นแผ่นกล้ามเนื้อของหน้า คลุมด้านนอกด้วย ผิวหนัง ด้านในบุด้วย Stratified squamous non-keratinizing epithelium ส่วน ด้านหน้าของแก้มจะสิ้นสุด โดยกลายเป็นริมฝีปากบน(upper lib) และ ริมฝีบากล่าง (lower lib) ด้านบน : เป็นเพดานแข็ง (Hard palate) ทางด้านหน้า และเพดานอ่อน (Soft palate) ทางด้านหลัง เพดานแข็ง(Hard palate) ประมาณ 2/3 ด้านหน้า เป็นส่วนของกระดูก maxilla และ กระดูก palatine คลุมทับด้วยเยื่อเมือก เพดานอ่อน (Soft palate) เป็นส่วนของเพดานอยู่ด้านหลังประมาณ 1/3 ด้านหลัง เป็น แผ่นกล้ามเนื้อยื่นเข้าไปในคอหอย(pharynx) ประกอบด้วย muscle fibers, หลอดเลือด , เส้นประสาท , adenoid tissue, mucous gland และดาดด้วย mucous membrane ปลายสุดด้านหลังมีติ่งยื่นลงมาตรงกลาง เรียกว่า ลิ้นไก่ (Uvula) ด้านล่าง : ลิ้น (Tongue) ด้านหลัง : Oropharynx Sphincter 6 ที่ภายในระบบย่อยอาหาร 1.Upper esophageal sphincter 2.Lower esophageal sphincter 3.Pyloric sphincter 4.Sphincter Of oddi 5.Internal anal sphincter 6.External anal sphincter

ลิ้น (Tongue) หน้าที่ : พูด รับรส คลุกเคล้าอาหาร กลืนอาหาร เป็นอวัยวะเสริมในระบบย่อยอาหาร (Accessory organ) เป็นกล้ามเนื้อลายคลุมด้วยเยื่อ เมือก ใต้ลิ้นด้านหน้าจะมี Frenulum ยึดใต้ลิ้นให้ติดกับเพดานปาก ผิวด้านบนและด้านข้างของลิ้นจะมีตุ่มนูนเล้กๆ เรียกว่า papillae เป็นปุ่มรับรส แบ่งออก เป็น 4 แบบดังนี้ 1.filiform papilla กระจายทั่วไป ไม่มีต่อมรับรส 2.Fungiform papilla คล้ายดอกเห็ด 2/3 ด้านหน้าลิ้น 3.Circumvallate papilla มีประมาณ 10-12 อัน อยู่ 1/3 ด้านหลังลิ้น เรียงตัวกันเป็น รูปตัว V หน้า sulcus terminalis 4.Foliate papilla เป็นสันนูนเล็กๆ ทางด้านข้างของลิ้น ส่วนใหญ่พบในสัตว์เคี้ยวเอื้อง

ฟัน(Teeth) ฟันแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.ตัวฟัน (Crown) ส่วนที่ยื่นออกมา 2.รากฟัน (Root) ส่วนของฟันที่ฝังอยู่ใน alveolar process ของกระดุก mandible และ maxilla และถูกหุ้มภายนอกด้วยเหงือก(Gum) 3.คอฟัน(Neck) อยู่ระหว่าง root กับ crown ลักษณะของฟัน แบ่งออกเป็น 4 ชนิด 1.ฟันตัด (Incisors) ขากรรไกรละ 4 ซี่ ใช้สำหรับตัดและฉีกอาหาร 2.ฟันเขี้ยว (Canines) ขากรรไกรละ 4 ซี่ ปลายฟันมียอดแหลม ใช้สำหรับตัดและฉีกอาหาร 3.ฟันกรามน้อย (Premolar) ขากรรไกรละ 4 ซี่ สำหรับตัดอาหารและบดอาหาร 4.ฟันกรามใหญ่ (Molar) ขากรรไกรละ 6 ซี่ ฟันกรามบนมี 3 ราก ฟันกรามล่างมี 2 ราก ใช้บดอาหาร

ต่อมน้ำลาย(Salivary gland) 1. Parotid gland : อยู่ทางด้านหน้าของรูหู โดยต่ำกว่ารูหูเล็กน้อย สร้างน้ำลายที่มีลักษณะ ใส ส่งออกทาง parotid duct หรือ stensen’s duct ซึ่งวางตัวขนานกับโหนกแก้ม เปิด เข้าสู่ช่องปากตรงกับฟันกรามบนซี่ที่ 2 ผลิตน้ำลายประมาณ 25% ของน้ำลายทั้งหมด 2.Submandibular gland อยู่ใต้กระดูกขากรรไกร สร้างน้ำลายที่มีลักษณะใสมากกว่า เหนียว ส่งออกทาง Wharton’s duct ไปเปิดที่โคนของ lingual frenulum ผลิตน้ำลาย ประมาณ 70% ของน้ำลายทั้งหมด 3.Sublingual gland อยู่ใต้ลิ้น โดยวางอยู่ใต้เยื่อบุช่องปาก ไปเปิดที่ช่องปากโดยตรง ผลิตน้ำลายประมาณ 5% ของน้ำลายทั้งหมด น้ำลาย มีลักษณะเป็นของเหลว มี 2 ชนิด คือ 1.ชนิดใส (Serous) มีน้ำย่อย amylase หรือ Ptyalin ทำหน้าที่ย่อยแป้ง ให้เป็น Dextrin ซึ่งเป็นแป้งที่มีขนาดเล็กลง 2.ชนิดเหนียว (Mucous) ช่วยให้การคลุกเคล้าอาหารผสมกับน้ำย่อยเกิดได้ดีและสะดวก ต่อการกลืนอาหาร

หลอดอาหาร(Esophagus) หลอดอาหาร : เป็นท่อกลวงต่อระหว่างคอหอยกับกระเพราะอาหาร ยาว 25 cm แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.Cervical portion ข้างบนติดกับส่วนปลายของ Laryngopharynx และบริเวณ Epiglottis วางอยู่ด้านหลังของ Epiglottis มี upper esophageal sphincter 2.Thoracic portion อยู่ใน posterior mediastinum อยู่หลังหลอดลม (Trachea) สิ้นสุดที่รอยต่อกับกระเพาะอาหาร ที่บริเวณกะบังลม(Diaphragm) ตรงระดับกระดูก สันหลังอกข้อที่ 10 (T10) โดยจะผ่านเข้าไปในรูกะบังลม 3.Abdominal portion ใต้กะบังลม ยาวประมาณ 3 cm มี lower esophageal sphincter ช่วยป้องกันการ reflux ของกรดและอาหารจาก กระเพาะอาหาร

ผนังของหลอดอาหารแบ่งออกเป็น 4 ชั้น ชั้น Mucosa มีเยื่อบุชนิด Stratified squamous epithelium ชั้น submucosa เป็นชั้นของ connective tissue พบหลอดเลือด , หลอดน้ำเหลือง และเส้นประสาท ชั้น Muscularis มีลักาณะพิเศษคือ 1/3 ด้านบนเป็นกล้ามเนื้อลาย- สั่งการได้ (บังคับให้กลืนได้) 1/3 ส่วนกลาง เป็นกล้ามเนื้อผสม (กล้ามเนื้อเรียบและกล้าเนื้อลาย) 1/3 ส่วนล่างเป็นกล้ามเนื้อเรียบ – สั่งการไม่ได้ ชั้น Adventitia อยู่ชั้นนอกสุด ไม่มี peritoneum หุ้ม หน้าที่ของหลอดอาหาร เป็นทางผ่านของอาหารจากช่องปากและคอหอยไป สู่กระเพาะอาหาร การเคลื่อนของ อาหารผ่านหลอดอาหาร เคลื่อนที่แบบ Peristalsis movement การสร้างสารจำพวกเมือกซึ่งเป็นของเหลวใสๆ ลื่นๆ ออกมาจากต่อมเมือก ที่อยู่ในผนัง ทุกส่วนของหลอดอาหารทุกส่วน แต่จะมีมากที่สุดในหลอดอาหารส่วนปลาย ซึ่งเมือกนี้จะ เป็นตัวช่วยหล่อลื่นในการเคลื่อนที่ของอาหาร

กระเพาะอาหาร (Stomach) ขอบเขต : ด้านบนติดกับ esophagus ด้านล่างติดกับ small intestine ส่วน duodenum มีลักษณะเป็นรูปตัว J วางอยู่บริเวณลิ้นปี่ ค่อนมาทางด้านใต้ชายโครงด้านซ้ายของช่องท้อง ภายในจะเห็นเป็นลักษณะการพับไปมาของชั้นกล้ามเนื้อ เรียกว่า Rugae ซึ่งมีหน้าที่เพิ่ม พื้นที่ในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะมรโค้ง 2 ข้าง คือ 1.Lesser curvature เป็นโค้งเล็ก ทางด้านขวาของกระเพาะอาหาร 2.Greater curvature เป็นโค้งใหญ่ ทางด้านซ้ายของกระเพาะอาหาร มี peritoneum ไปเชื่อมกับส่วน transverse colon เรียกว่า greater omentum กระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ส่วนคือ 1.Cardiac part เป็นส่วนที่อยู่รอบรูเปิดของหลอดอาหาร 2.Fundus part เป็นส่วนที่คล้ายกระเปาะที่อยู่ทางด้านว้ายของ cardiac 3.Body part เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุด อยู่ตรงกลางของกระเพาะอาหาร 4.Pylorus part เป็นส่วนที่แคบที่สุด แบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อยคือ pyloric antrum เป็น ส่วนที่ขยายกว้างออกเล็กน้อย และส่วน Pyloric canal เป็นรูแคบ มีกล้ามเนื้อหูรูดที่ เรียกว่า Pyloric sphincter

ผนังของกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ชั้น คือ 1.ชั้น mucosa บุด้วย Simple columnar epithelium บริเวณนี้จะมี Gastric glands Gastric glands ประกอบด้วยเซลล์ 4 เซลล์ คือ 1.Chief cell สร้าง pepsinogen เมื่อสารนี้ถูกกับกรดในกระเพาะอาหารจะเปลี่ยนเป็น pepsin ซึ่งเป็นน้ำย่อยที่ย่อยโปรตีน 2.Parietal cell สร้างกรดไฮโดรคลอริก(HCl) ที่ช่วยเปลี่ยน pro-enzyme ให้เป็น enzyme และสร้าง intrinsic factor ที่เกี่ยวกับการดูดซึมวิตามิน B12 3.Mucous cell สร้างเมือก ที่เป็นเบส เคลือบกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นอันตราย จากกรดไฮโดรคลอริก (HCl) 4.Enteroendocrine cell สร้างฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมน Gastric, Serotonin, Histamine 2.ชั้น Submucosa มีหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และเส้นประสาท 3.ชั้น Muscularis ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ชั้นนอกเป็น longitudinal layer มีลักษณะตามยาว ชั้นกลางเป็น Circular layer มีลักษณะเป็นวงกลม ชั้นในเป็น Oblique layer มีลักษณะเป็นเฉียง 4.ชั้น Serosa ชั้นนอกเป็น visceral peritonea

ตับ (Liver) ตำแหน่ง : วางตัวอยู่ในช่องท้องด้านบนขวาใต้ต่อกะบังลม กินเนื้อที่ใต้ชายโครงขวาทั้งหมด และยื่นเข้าในบริเวณลิ้นปี่ และใต้ชายโครงซ้ายบางส่วน มหกายวิภาคของตับ : ตับเป็นต่อมมีท่อขนาดใหญ่ ตับเกือบทั้งหมดถูกคลุมด้วย peritoneum ซึ่งทำหน้าที่ยึดตับไว้ให้อยู่กับโครงสร้างใกล้เคียงเยื่อบุช่องท้องแต่ละส่วน มีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้ Coronary ligament : ยึดผิวด้านบนของตับไว้ในกะบังลม Falciform ligament : ยึดผิวด้านหน้าของตับไว้กับกะบังลมและผนังหน้าท้อง Round ligament : เป็นแท่งเอ็นกลมๆ ยึดระหว่างตับกับสะดือ ซึ่งเป็นส่วนเหลือของ umbilical vein ในตัวอ่อน Lesser omentum : ยึดขั้งตับไว้กับกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ตับแบ่งออกเป็น 4 กลีบ ตามลักษณะที่เห็นภายนอก คือ Right lobe อยู่ทางด้านขวาของ Falciform ligament Left lobe อยู่ทางด้านซ้ายของ Falciform ligament Caudate lobe อยู่ด้านล่าง อยู่ระหว่าง Inferior vena cava และ Left lobe Quadrate lobe อยู่ด้านล่าง อยู่ระหว่าง Gall bladder และ Round ligament ผิวล่างของตับจะมีบริเวณที่เรียกว่า ขั้วตับ (Porta hepatic) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีโครงสร้าง สำคัญผ่านเข้าออกจากตับ ได้แก่ Hepatic artery นำเลือดแดงที่มีออกซิเจนสูง เข้าสู่ตับ เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงตับ Hepatic portal vein นำเลือดที่มีสารอาหารที่ถูกดูดซึมจากลำไส้เล็กเข้าสู่ตับ Bile duct เป็นท่อที่นำน้ำดีที่สร้างจากตับไปเก็บที่ถุงน้ำดี

ถุงน้ำดี (Gall bladder) ตำแหน่ง : วางอยู่ในแอ่งที่ผิวด้านล่งของตับทางด้านหน้า ตำแหน่งของถุงน้ำดีบริเวณผนังหน้า ท้อง คือจุดตัดระหว่างชายโครงขวากับขอบด้านขวาของกล้ามเนื้อ rectus abdominis มหกายวิภาคของถุงน้ำดี : ถุงน้ำดีมีลักษณะคล้ายลูก pear และมี connective tissue ยึดติด กับตับ ขนาดของถุงน้ำดียาวประมาณ 8-10 cm กว้าง 2.5 cm ระบบทางเดินน้ำดีประกอบด้วย common hepatic duct เป็นท่อนำน้ำดีออกจากตับผ่านทาง left, right hepatic duct และ cystic duct ซึ่งเป็นทางผ่านของน้ำดีเข้าและออกจากถุงน้ำดี ถุงน้ำดีจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการสะสมน้ำดีไว้ชั่วคราวเพื่อปล่อยลงสู่ลำไส้เล็กเมื่อมีการย่อย อาหารโดยผ่านทาง common bile duct จุลกายวิภาคของน้ำดี ผนังของถุงน้ำดีจะประกอบไปด้วยชั้นทั้งหมด 3 ชั้น คือ 1.ชั้นในสุดเป็น Mucosa membrane 2.ชั้นกลางเป็น Muscle และ Fibrous tissue 3.ชั้นนอกสุดเป็น serous membrane ซึ่งมาจาก peritoneum น้ำดี(Bile) ผลิตมาจากตับ มีลักษณะสีเขียวๆเหลือง มีฤทธิ์เป็นด่าง โดยปกติแล้วใน 1 วัน ตับจะ ผลิตน้ำดีได้ประมาณ 500-800 cc. น้ำดีทำหน้าที่เป็น co-enzyme ช่วยลดความตรึงผิวของ ไขมันให้เป็น Emulsified fat เพื่อให้น้ำย่อย Lipase สามารถย่อยไขมันได้ดีขึ้น การเดินทางของน้ำดี : สร้างมาจากตับ ผ่านมาทาง left, right hepatic duct มารวมกันเป็น ท่อเดียวเรียกว่า common hepatic duct แล้วนำน้ำดีไปเก็บสะสมไว้ที่ถุงน้ำดีเพื่อปรับความ เข้มข้นให้เหมาะสม จากนั้นเมื่อน้ำดีจะถูกใช้จะผ่าน Cystic duct มารวมกับท่อ common hepatic duct เรียกว่า common bile duct แล้วเปิดเข้าบริเวณลำไส้เล็กส่วนที่ 2 ของ Duodenum บริเวณ sphincter of oddi

ตับอ่อน(Pancreas) ตำแหน่ง : วางอยู่หลัง Greater curvature ของกระเพาะอาหาร มีลักษณะคล้ายปลา หรือ คล้ายใบมะม่วง มหกายวิภาคของตับอ่อน : รูปร่างยาวประมาณ 12.5 cm และหนาประมาณ 2.5 cm ตับอ่อนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1.ส่วนหัว(Head) อยู่ทางขวาเป็นส่วนที่กว้างที่สุด วางอยู่ในโค้งรูปตัว C ของลำไส้เล็ก ส่วน Duodenum 2.ส่วนคอ(Neck) วางพาดผ่านเส้นเลือด aorta 3.ส่วนลำตัว(Body) ทอดเฉียงขึ้นไปทางซ้ายข้ามกระดูกสันหลังส่วนเอวอันที่ 1 (L1) 4.ส่วนหาง (Tail) ของตับอ่อนจะไปจรดบริเวณขั้วของม้าม (spleen) การเดินทางน้ำย่อยที่สร้างจากตับอ่อน : จะไหลเข้าสู่ลำไส้เล็กผ่านทาง main pancreatic duct ไปรวมกับน้ำดีที่มาจาก common bile duct บริเวณที่เห็นเป็นกระเปาะเรียกว่า Hepatopancreatic ampulla ซึ่งจะเปิดเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนที่ 2 ของ duodenum บริเวณ sphincter of oddi

ลำไส้เล็ก(Small Intestine) หน้าที่ : ทำหน้าที่ย่อยอาหารและดูดซึมอาหาร เริ่มตั้งแต่ส่วน Pyloric sphincter ของ กระเพาะอาหาร จนถึง ileocaecal valve แล้วจึงเปิดเข้าสู่ลำไส้เล็กลำไส้เล็กมีเส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ยาวประมาณ 21 ฟุต จะมีเยื่อบุช่องท้องยึดลำไส้ไว้กับผนังด้าน หลังของช่องท้อง เรียกว่า เยื่อแขวนลำไส้ (mensentery) มหกายวิภาคของลำไส้เล็ก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.Duodenum เป็นลำไส้เล็กส่วนต้นที่สั้นที่สุด ยาวประมาณ 10-12 นิ้ว เริ่มต้นที่ pyloric sphincter ไปสิ้นสุดที่ duodenojejunal flexure เป็น retroperitoneal structure 2.Jejunum เป็นลำไส้เล็กส่วนกลางยาวประมาณ 8 ฟุต ภายในมีรอยจีบตามขวาง (Plica circulares) ชัดเจนและมีจำนวนมาก 3.Ileum เป็นลำไส้เล็กส่วนปลาย ยาวที่สุด ยาวประมาณ 12 ฟุต ติดต่อกับลำไส้ใหญ่ บริเวณ Iliocecal valve จุลกายวิภาคของลำไส้เล็ก ผนังของลำไส้เล็ก มี 4 ชั้นคือ 1.Mucosa ชั้นเยื่อเมือกของลำไส้เล็ก จะมีโครงสร้างที่เรียกว่า villi ซึ่งพบมากที่ jejunum ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างอาหารกับลำไส้เล็กให้มากขึ้น ทำให้การ ย่อยและการดุดซึมมีประสิทธิภาพสูง 2.Submucosa เป็น connective tissue ที่มีหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลืองจำนวนมาก ชั้น submucosa ของลำไส้เล็กส่วน duodenum จะมีต่อมเมือก เรียกว่า Brunner’s gland เป็นจำนวนมาก จะสร้างเมือกที่มีฤทธิ์เป็นด่างไว้ป้องกันผนังลำไส้เล็กไม่ให้โดน ทำลายโดยน้ำย่อยของกรดจากกระเพาะอาหารและช่วยปรับสภาพความเป็นกรด- เบส ของอาหารที่มาจากกระเพาะอาหาร 3.Mucularis ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียน 2 ชั้น คือชั้นนอกเป็นกล้ามเนื้อ longitudinal ชั้นใน เรียงตัวเป็นวง คือกล้ามเนื้อ Circular muscle 4.Serosa ลำไส้เล็กส่วน Jejunum และ Ileum จะมี peritoneal หุ้มและยึดกับผนังช่อง ท้องด้านหลังด้วย mesentery ส่วน Duodenum จะมี peritoneal หุ้มเป็นบางส่วน เท่านั้น

ลำไส้ใหญ่(Large Intestine ลำไส้ใหญ่ ยาวประมาณ 1.5 m เริ่มจาก caecum ถึง anus ลำไส้เล็กถูกยึดกับผนังช่อง ท้องทางด้านหลัง เรียกว่า mesocolon บริเวณรูเปิดจาก ileum เข้าสู่ caecum เรียกว่า iliocecal valve ลำไส้ใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1.ส่วน Caecum มีลักษณะเป็นถุงปลายตัน เป็นส่วนต้นของลำไส้ใหญ่ที่ลำไส้เล็กมาเปิดเข้า ช่องเปิดเรียกว่า iliocecal valve อยู่ทางด้านขวาของร่างกาย บริเวณ Right iliac fossa ยาวประมาณ 5-7 cm ตรงปลายของ caecum จะมี Vemiform appendix หรือไส้ติ่ง ซึ่ง เป็นหลอดเล็กปลายตันห้อยอยู่ 2.ส่วน Colon เป็นส่วนที่ต่อจาก caecum แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ Ascending colon มีความหมายประมาณ 12-20 cm ต่อจากส่วนcaecum ไปจนถึง right hepatic flexure โดยวางตัวอยู่ทางด้านขวาของช่องท้องจนถึงใต้ตับ 3.ส่วน Rectum ต่อจาก Sigmoid colon เริ่มต้นจาก S3 ยาวประมาณ 12 cm รูปร่างโค้ง ตามความโค้งของ sacrum และ coccyx ไป ประมาณ 3 cm ส่วนปลายสุดจะหักขึ้นไปด้าน หลังและลงข้างล่างแคบเป็น anal canal ทางด้านล่างของ rectum ในผู้ชายอยู่หลังต่อม ลูกหมาก ในผู้หญิงอยู่หลัง Vagina ผนังลำไส้ใหญ่แบ่งออกเป็น 4 ชั้น 1.ชั้น Mucosa เป็น simple columnar epithelium ที่มี goblet cell เป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่สร้างเมือกเพื่อช่วยหล่อลื่นกากอาหารในขณะที่เคลื่อนที่ผ่านไปตามลำไส้ใหญ่ 2.ชั้น Submucosa เป็นชั้นของ connective tissue มีหลอดเลือดและท่อน้ำเหลือง 3.ชั้น Muscularis มี 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นกล้ามเนื้อตามยาว คือlongitudinal muscle ซึ่ง มีลักษณะพิเศษ คือ มีการหนาตัวขึ้นเป็นแถบตามยาว 3 แถบเรียกว่า Taeniae coli แรงดึงตัวของแถบเหล่านี้ดึงให้ลำไส้ใหญ่มีลักษณะเป็นกระเปราะ ที่เรียกว่า Hausta 4.ชั้น Serosa จะถุงไขมันเล็กๆมาเกาะ เรียกว่า appendices epiploicae

ทวารหนัก(Anus) Anal canal ยาวประมาณ 2.5 – 4 cm เป็นส่วนสิ้นสุดของลำไส้ใหญ่ เริ่มต้นจาก rectal ampulla, anorectal junction คือบริเวณที่ rectum หักตัวงอไปด้านหลัง Anal canal ถูกล้อมรอบไปด้วย sphincter คือ internal anal sphincter และ external anal sphincter – Internal anal sphincter เป็นกล้ามเนื้อเรียบ ชั้น circular muscle ซึ่งทำงานอยู่นอก อำนาจจิตใจ ถูกควบคุมโดยระบบประสาท พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic system) อยู่ในระดับ 2/3 ของ anal canal มีขอบล่างที่สามารถคลำได้ กล้ามเนื้อหูรูดจะ คลายตัวเมื่อ Parasympathetic nerve ถูกกระตุ้น – External anal sphincter เป็นกล้ามเนื้อลาย อยู่ล้อมรอบส่วนล่าง 1/3 ของ anal canal ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อ Levator ani หนาตัว สามารถควบคุมได้ เพราะอยู่ภายใต้ อำนาจจิตใจ ควบคุมโดยระบบประสาทซิมพาเทติก(Sympathetic system)

บทที่8 ระบบขับถ่ายปัสสาวะกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย Excretory System & Reproductive System ระบบขับถ่ายปั สสาวะ Excretory System ระบบขับถ่ายปั สสาวะเป็นระบบหนึ่งในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการขับของเสีย หรือขับสารพิษ ออกจากร่างกาย เพื่อควบคุมภาวะร่างกายให้คงที่ (homeostasis) การผลิตน้ำปั สสาวะจะ เป็นตัวนำพาของเสีย หรือสิ่งที่เป็นพิษโดยเฉพาะสารประกอบไนโตรเจน (nitrogenous compound) ออกจากร่างกาย จึงช่วยรักษาสมดุลของของเหลว และ อิเล็คโตรไลท์ โครงสร้างของระบบขับถ่ายปั สสาวะประกอบด้วยไต (kidneys) 1 คู่ ท่อไต หรือหลอด ปั สสาวะ (ureters) 1 คู่ กระเพาะปั สสาวะ (urinary bladder) และท่อปั สสาวะ (urethra)

ไต (Kidneys) ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญในระบบขับถ่ายปั สสาวะ ในสัตว์เลี้ยงทุกชนิดมีไตอยู่ 1 คู่ อยู่ภายนอก ช่องท้อง (peritoneal cavity) และมีตำแหน่งอยู่ติดกับกระดูกสันหลังส่วนเอว เนื้อไตของ สัตว์เลี้ยงมีสีน้ำตาลแดง ถูกครอบคลุมอยู่โดยรอบด้วยเนื้อเยื่อบางๆ ที่เรียกว่า เยื่อไต (renal capsule) ยกเว้นส่วนที่มีลักษณะเว้าเข้าไป เรียกว่า รีนัลไฮลัส (renal hilus) ซึ่ง เป็นจุดที่เส้นเลือด เส้นประสาท และท่อไต หรือหลอดปั สสาวะผ่านเข้าออกจากไตเท่านั้น จะ มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว และมีผิวเรียบ โดยทั่วไปไตข้างขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าไตข้างซ้าย

หน้าที่ของไต คือ – สร้างน้ำปั สสาวะซึ่งเกิดจากการกรองเลือดที่ไต โดยของเสียส่วนใหญ่เป็นของเสียที่เกิดจาก ขบวนการเมตาโบลิซึมของเซลล์ – เกี่ยวข้องกับการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย เนื่องจากการขับถ่ายปั สสาวะทำให้ร่างกาย สูญเสียน้ำ ซึ่งเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ในน้ำปั สสาวะ และเป็นตัวทำละลายสำหรับสารต่างๆ เช่น ยูเรีย(urea) และ ครีเอทีน (creatine) ที่เป็นของเสียจากขบวนการเมตาโบลิซึมที่ร่างกาย ต้องการขับออก ไตจึงเป็นตัวควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายไม่ให้มีการขับน้ำออกมากเกินไป โดยการควบคุมของฮอร์โมนแอนตี้ไดยูเรดติกฮอร์โมน หรือเอดีเอช (antidiuretic hormone , ADH) ที่สังเคราะห์จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า และ อัลโดสเตอโรน (aldosterone) ที่ สังเคราะห์จากต่อมหมวกไตส่วนนอก – ควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย ด้วยการควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในน้ำเลือด โดย ทั่วไปในเลือดมีค่า pH ประมาณ 7.4 ซึ่งเป็นระดับที่เซลล์ในร่างกายสามารถทำหน้าที่ได้อย่าง ปกติ แต่การที่เลือดมี pH เป็นด่างมากเกินไป (alkalosis) หรือ มี pH เป็นกรดมาก เกินไป (acidosis) จะมีผลให้การทำงานของเซลล์มีประสิทธิภาพลดลง – ควบคุมสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย (electrolyte balance) โดยการขับแร่ธาตุส่วนที่มี มากเกินความต้องการออก และดูดกลับแร่ธาตุส่วนที่ร่างกายมีความต้องกลับเข้าสู่ร่างกาย ผ่านทางหลอดไต – สังเคราะห์และหลั่งฮอร์โมนฮอร์โมนอิริโทรปอยด์ติน ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์เม็ดเลือด แดง (erythropoiesis) และฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการควบคุมความดันของเลือด คือ ฮอร์โมน เรนนิน (renin) – เกี่ยวกับการทำลายสารพิษ (detoxification) เพื่อช่วยกำจัดสารพิษในร่างกาย โดยการ เปลี่ยนสารพิษบางชนิดให้เป็นสารที่มีพิษน้อยลง หรือเปลี่ยนให้เป็นสารที่ไม่มีพิษ แล้วขับออก จากร่างกาย – ทำหน้าที่ผลิตไวตามินดีที่ทำงานได้ (active vitamin D or 1, 25 Dihydroxycholocalciferal) เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียมอิออนที่ผนังลำไส้เล็ก


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook