ภูมิศาสตร์ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ คือ วัสดุ อุปกรณ์ ในรูปแบบ ต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาการสำรวจ การเก็บรวบรวม การบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ สามารถจำแนกตามหน้าที่หลักของการใช้งานได้ 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1. เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นสื่อความรู้ทางภูมิศาสตร์ สื่อความรู้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึงวัสดุ อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีต่างๆ ที่ ทำหน้าที่เผยแพร่ให้ความรู้ สำหรับการศึกษาเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ อาจอยู่ในรูป ของตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ แบบจำลอง สื่อดิจิทัล เสียง และภาเคลื่อนไหว ต่างๆตัวอย่างเครื่องมือเหล่านี้ เช่น ตำราเรียนภูมิศาสตร์ เว็บไซต์ที่เผยแพร่ ความรู้ทางภูมิศาสตร์ แผนที่ประเภทต่างๆ ลูกโลกจำลอง ภูมิประเทศจำลอง รูป ถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม เป็นต้น
แผนที่ (Map) คือ สิ่งที่บอกลักษณะและที่ตั้งของสิ่งต่างๆที่ปรากฎอยู่บนพื้นผิวโลกโดยการย่อส่วนให้เล็กลง และใช้ สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆลงบนวัสดุพื้นแบนราบ โดยมีมาตราส่วนที่แสดงระยะทางจริงบนพื้นผิวโลก สิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฎในแผนที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น มหาสมุทร ทะเล ภูเขา แม่น้ำ เป็นต้น 2. สิ่งทีมนุษย์สร้างขึ้น เช่น เส้นทางการคมนาคม เขื่อน พื้นที่เกษตรกรรม สนามบิน เป็นต้น
แผนที่แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ 1) แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) เป็นแผนที่แสดงข้อมูลรายละเอียดของผิวโลกที่เกี่ยวกับ ภูมิลักษณ์แบบต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่ มนุษย์สร้างขึ้น ภาพ แผนที่ภูมิประเทศไทย
2) แผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงข้อมูลหลักเฉพาะ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น แผนที่ประชากร แผนที่อากาศ แผนที่ป่าไม้ 3) แผนที่เล่ม เป็นแผนที่ที่รวบรวมเกี่ยวกับแผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เฉพาะเรื่องไว้เป็นเล่มเดียวกัน ภาพ แผนที่ป่าไม้ (แผนที่เฉพาะเรื่อง)
ประโยชน์ของแผนที่ แผนที่เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความจำเป็นสำหรับการศึกษาสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ และเป็นประโยชน์ในการดำเนิน กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ดังนี้ 1. ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้แสดงเส้นทางคมนาคมในการเดินทาง เป็นต้น 2. ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีประโยชน์ในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว การวางแผนการท่องเที่ยว รวมถึงการตัดสินใจ เลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว 3. ใช้ในการรายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น แผนที่แสดงอุณหภูมิ แผนที่แสดงการเคลื่อนที่ของพายุ ซึ่งทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เป็นต้น 4. ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนสร้างระบบสาธารณูปโภค เช่น วางแผนการตัดถนน วางระบบโทรคมนาคม วางสายไฟฟ้า วาง ท่อประปา การสร้างเขื่อน เป็นต้น 5. ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น แผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากร แผนที่แสดงแหล่งปลูกพืช เศรษฐกิจ ซึ่งช่วยทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป เป็นต้น 6. ใช้ในกิจการทางทหาร โดยนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนทางยุทธศาสตร์ เช่น การเลือกตั้งที่ค่ายทหาร การทิ้งระเบิดโจมตีทางอากาศ เป็นต้น 7. ใช้ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น ใช้เป็นข้อมูลในการสำรวจและปักปันเขตแดน เป็นต้น 8. ใช้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพื้นที่ เช่น ศึกษาชนิด คุณภาพ และการกระจายดิน ธรณีวิทยา ป่าไม้ เป็นต้น
ลูกโลกจำลอง (Globe) คือ สิ่งจำลองของโลก สร้างด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษ ยาง พลาสติก เพื่อใช้ในการศึกษา ภูมิศาสตร์ ลูกโลกช่วยให้มองเห็นภาพรวมของโลกต่างจาก แผนที่ที่ให้ข้อมูลในเชิงพื้นราบ โลกมีรูปร่างคล้ายผลส้ม แม้จะสามารถจำลองพื้น ผิวโลกได้ดีกว่าแผนที่แต่มีข้อเสียบางประการ ลูกโลกแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
แบบแรก คือ ลูกโลกที่แสดงส่วนที่ แบบที่สอง คือ ลูกโลกที่แสดงโครง เป็นพื้นผิวโลก เช่น แสดงส่วนที่เป็นพื้น สร้างภายในเปลือกโลก น้ำ ได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร แสดงส่วน ที่เป็นพื้นดิน ได้แก่ เกาะ ทวีป ประเทศ
ประโยชน์ของลูกโลกจำลอง 1. ลูกโลกจำลองมักแสดงรายละเอียด ดังนี้ ลูกโลกแสดงลักษณะผิวโลก โดยแบ่งผิวโลกออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน ได้แก่ 1.1 ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ ซึ่งได้แก่น้ำทะเลเป็นส่วนใหญ่ จะแสดงด้วยสีน้ำเงินอ่อน และ ส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งได้แก่ทวีปและเกาะขนาดต่างกัน 1.2 ส่วนที่เป็นแผ่นดิน ลูกโลกจำลองจะแสดงลักษณะภูมิอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ เขตประเทศ หรือชื่อเมืองหลวงหลักบนผิวโลก 2. ลูกโลกมีประโยชน์ในการศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์ดังนี้ สามารถบอกรายละเอียดของพื้นผิวโลกได้ บอกสภาพภูมิอากาศ ฤดูกาลมหาสมุทร การเกิดกลางวันกลางคืน
ภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial photography) คือ รูปที่ได้จากการถ่ายทางอากาศโดยผ่านเลนส์กล้องและฟิล์ม หรือข้อมูลเชิงเลข ซึ่งถ่ายด้วยกล้องที่นำไปในอากาศยาน อันได้แก่ บัลลูน เครื่องบิน เป็นต้น ในสมัย ปัจจุบันมีการถ่ายรูปทางอากาศจากยานอวกาศได้ด้วย ประเภทของภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางอากาศ มี 2 ประเภทใหญ่ๆตามลักษณะการถ่ายภาพ ดังนี้
1. ภาพถ่ายทางอากาศแนวดิ่ง เป็นรูปถ่าย 2. ภาพถ่ายทางอากาศแนวเฉียง เป็นรูปถ่ายที่ ทางอากาศที่ถ่ายรูปในแนวตั้งฉากกับผิวโลก เกิดจากการกำหนดแกนกล้องในลักษณะเฉียง และไม่เห็นแนวขอบฟ้า
ประโยชน์ของภาพถ่ายทางอากาศ 1. การสำรวจและทำแผนที่ภูมิประเทศ 2. การใช้ในกิจการทหารและความมั่นคงของประเทศ 3. การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้ที่ดิน 5. การวางผังเมืองและการสำรวจแหล่งโบราณคดี 6. การสำรวจและการติดตามด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงของชาติ
ประเภทที่ 2 เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นสื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ สื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือ เทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำหน้าที่เพื่อสำรวจ ตรวจวัด บันทึก เก็บ รวบรวม และ วิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ตัวอย่างเครื่องมือเหล่านี้ เช่น สมุดจดบันทึก เข็มทิศ เทปวัด ระยะทาง กล้องสามมิติ เทอร์โมมิเตอร์ ระบบกำหนดตำแหน่ง บนพื้นโลก หรือจีพีเอส(Global Positioning System : GPS) ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือจีไอเอส(Geographic Information System : GIS) ข้อมูลจากการรับรู้ระยะไกล(Remote Sensing : RS) เป็นต้น
เข็มทิศ คือ เครื่องมือสำหรับใช้หาทิศทาง มีเข็มแม่เหล็กที่แกว่งไกวได้อิสระในแนวนอน ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ตามแรงดึงดูดของแม่เหล็กโลก และที่หน้าปัดมีส่วนแบ่งสำหรับหา ทิศทางโดยรอบ เข็มทิศจึงมีปลายชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ การบอกทิศทางในแผนที่โดยทั่วไป คือ การบอกเป็นทิศที่สำคัญ 4 ทิศ ได้แก่ 1. ทิศตะวันออก (E ; East) 2. ทิศตะวันตก (W ; West) 3. ทิศเหนือ (N ; North) 4. ทิศใต้ ( S ; South)
ประโยชน์ของเข็มทิศ เข็มทิศใช้ประโยชน์ในการเดินทาง ได้แก่ การเดินเรือทะเล เครื่องบิน การใช้เข็มทิศจะต้องมีแผนที่ประกอบ และต้องหาทิศเหนือ ก่อน เพื่อจะได้รู้ทิศอื่น การใช้เข็มทิศ เนื่องจากการหาทิศจริงในแผนที่ต้องใช้เข็มทิศ เพื่อหาทิศเหนือ ก่อน จึงต้องวางแผนที่ให้ตรงทิศตามเข็มทิศ จากนั้นจึงใช้แผนที่ได้ตาม วัตถุประสงค์
กล้องสามมิติ (stereoscope) เป็นเครื่องมือสำหรับมองภาพสามมิติ กล่าวคือ สามารถมองความสูง-ต่ำของภูมิประเทศ ในลักษณะสามมิติ ประกอบด้วยเลนส์ 2 อัน ซึ่งสามารถปรับให้เท่ากับระยะห่างของสายตา ผู้มองได้ ในการมองจะต้องวางภาพให้อยู่ในแนวเดียวกันและต้องเป็นภาพที่ทำการถ่ายต่อ เนื่องกัน ซึ่งแต่ละภาพจะมีรายขอบที่ทับกันหรือซ้อนกัน โดยพื้นที่ของภาพในแนวนอนให้ ชายขอบของภาพมีพื้นที่ทับซ้อนกันประมาณร้อยละ 60 และในแนวตั้งร้อยละ 20
กล้องสามมิติที่นิยมใช้กันมี 2 ชนิด คือ 1. กล้องสามมิติแบบพกพา (poket stereoscope) สามารถนำติดตัวไปใช้ได้ง่าย แต่ดูภาพได้บริเวณแคบๆ 2. กล้องสามมิติแบบกระจกเงา (mirror atereoscope) โดยใช้กระจกเงาสะท้อนภาพทำให้เห็นได้เป็นบริเวณกว้างกว่า กล้องสามมิติแบบพกพา
ระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลก หรือ GPS (Global Positioning System) คือ ระบบการนำทางด้วยดาวเทียมซึ่งประกอบด้วยดาวเทียมอย่างน้อย 24 ดวง GPS สามารถปฏิบัติการได้ในทุกสภาพอากาศ ทุกที่ในโลก ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่ง มาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่าง ๆ ที่โคจรอยู่รอบโลกทำให้สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่ สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลกและในทุกสภาพอากาศ รวมถึงสามารถคำนวณความเร็วและ ทิศทางเพื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนที่ในการนำทางได้
ประโยชน์ของ จีพีเอสเป็นเทคโนโลยีที่อยู่รอบๆตัวเรา และด้วยความสามารถของจีพีเอสทำให้ เราสามารถเอาข้อมูลของตำแหน่งมาใช้ประโยชน์ได้หลายๆอย่าง เช่น 1. ระบบนำทาง (Navigation System) 2. ระบบติดตามยานพาหนะ (Automatic Vehicle Location) 3. ระบบสำรวจพื้นที่ (Survey) 4. การทำแผนที่ (Mapping)
ลักษณะทางกายภาพ ของประเทศไทย
ลักษณะภูมิอากาศ ประเทศไทยมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน โดยมีสภาพอากาศร้อนชื้น อบอ้าว เฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส มี 3 ฤดู ยกเว้นภาคใต้มี 2 ฤดู
ขอบคุณค่ะ
Search
Read the Text Version
- 1 - 34
Pages: