Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore final กัมปงในดงปรือ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น

final กัมปงในดงปรือ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น

Published by Mape 's, 2021-12-28 06:26:01

Description: final กัมปงในดงปรือ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น

Search

Read the Text Version

กัมปงในดงปรือ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

กัมปงในดงปรือ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เขียน: มินฑิตา ปีนะเก ชื่อที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมา ค้นหาความหมาย “กัมปง”ในภาษามลายูหมายถึงชุมชน ส่วนคำว่า “ปรือ” ในภาษาไทยหมายถึง ต้นปรือหรือที่รู้จักกันในชื่อ ต้นธูปฤาษี เหตุที่มีการตั้งชื่อเช่นนี้ก็เพราะที่นี่เป็นแหล่งชุมชน ที่มีต้นธูปฤาษีขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก “กัมปงในดงปรือ”เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนดารุ้ลอิบาดะฮ์ ซึ่งเดิมที เป็นวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกระจายสินค้า ทางการเกษตรของชุมชนแต่ด้วยปัญหา สภาพน้ำในคลองปัจจุบันไม่เอื้อต่อการทำ การเกษตรทำให้ผลิตผลอย่างเช่น ส้มเขียวหวาน และผลไม้อื่น ๆ ลดลงเป็นอย่างมาก

ชาวบ้านจำต้องหาสิ่งใหม่มาเสริม ให้สามารถดำรงชีพกันต่อไปได้ การจัดทริป ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงเกิดขึ้น โดยใช้การสัญจรทางน้ำ ซึ่งเป็นรูปแบบ การสัญจรที่ใช้กันมา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมาเพิ่มความน่าสนใจ ให้กับการท่องเที่ยว ซึ่งนอกจากจะทำให้นักท่องเที่ยวเพลิดเพลิน ไปกับการล่องเรือชมธรรมชาติและ วิถีชีวิตสองฝั่งคลองแล้ว การที่มีเรือวิ่ง ในคลองยังช่วยเพิ่มก๊าซออกซิเจนในน้ำ ทำให้สภาพน้ำดีขึ้น

กัมปงในดงปรือมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส 2 ส่วน คือ กิจกรรมบริเวณริมคลอง และกิจกรรมนั่งเรือเที่ยว กิ จ ก ร ร ม ที่ 1 กิจกรรมบริเวณริมคลองซึ่งเป็น รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนมแพะ ของวิสาหกิจชุมชนดารุ้ลอิบาดะห์ ที่นี่ และผลงานหัตถกรรมฝีมือของคนในชุมชน นักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อ เลือกชิม เช่น เครื่องจักรสานจากต้นปรือ แต่จุดเด่น อาหารฮาลาลรสเด็ด เช่น ข้าวยำ โรตีแกงแพะ ของกิจกรรมบริเวณนี้ คือ การใช้จิตนาการ ปลาบูดู หรือเลือกซื้อผลไม้ เช่น มะพร้าว รังสรรค์ผลงานศิลปะ เช่น ระบายสี กล้วย และผลไม้อื่น ๆ ตามฤดูกาล กะลามะพร้าว และฝึกฝีมือ ทำขนมหวาน เช่น ทองม้วนนมแพะ ขนมต้มขาว และขนมดาดา

ขนนดาดา การทำขนมของชาวชุมชน “ขนมดาดา: ลักษณะเป็นแผ่นแป้งเหนียวนุ่ม กัมปงในดงปรือเป็นความรู้ หอมมัน เกิดจากแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียวและกะทิ ที่พัฒนาและสืบทอดต่อ ๆ กันมา นวดผสมกัน ยิ่งนวดนานยิ่งเพิ่มความเหนียวนุ่ม จนเกิดเป็นสูตรเฉพาะของชุมชน ให้กับตัวแผ่นแป้ง และแต่งสีให้เหลืองนวลด้วยหญ้าฝรั่น อย่างเช่นขนมดาดาขนมชื่อแปลกหู จากนั้นนำมาทอดบนกระทะที่เคลือบด้วยน้ำมันบาง ๆ ของชาวมุสลิมที่มักทำใน พอสุกแล้วพับเป็นแผ่นสามเหลี่ยม รับประทานพร้อม งานมงคล เครื่องจิ้มรสหวานอย่างน้ำตาลมะพร้าวที่ผ่านการเคี่ยว จนเหนียว และเพิ่มรสสัมผัสกรุบกรอบด้วยข้าวตอก ที่คั่วขึ้นใหม่ ๆ” กุสุมา อินสมะพันธ์

นอกจากขนมดาดาที่ จากคำบอกเล่าของคุณกุสุมา ทำให้เรารู้ว่า ชื่อแปลกหูแล้ว ท่านผู้อ่าน คงนึกสงสัยว่าปลาบูดูที่กล่าวถึง “ปลาบูดูสูตรที่ทำขายกันอยู่นี้เป็นสูตรที่มีมายาวนาน ในตอนต้นคือน้ำบูดูหรือไม่ มากกว่า 130 ปี เนื่องจากแต่ก่อนพื้นที่แถวบางมด คำตอบคือไม่ใช่ อย่าเข้าใจผิด มีแต่การทำนา ทำสวน น้ำในคลองสะอาด ทำให้มีปลาชุกชุม เป็นอันขาด น้ำบูดู คือการนำ รับประทานกันไม่ทันอีกทั้งสมัยนั้นยังไม่มีตู้เย็น พุงปลามาหมัก แต่ปลาดูบู ให้แช่อาหาร ชาวบ้านจึงคิดวิถีถนอมอาหาร คือการนำปลาทั้งตัวมาหมัก โดยการนำปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ปลายี่สก ปลานิล คล้ายกับปลาร้า ปลาส้มมากกว่า ปลาตะเพียน ปลาชะโดแล้วแต่จะหาได้ในแต่ละครั้ง ซึ่งปลาบูดูเป็นอีกหนึ่งสินค้า มาหมักกับข้าวคั่ว กระเทียม และเครื่องเทศต่าง ๆ จากชุมชนที่อยาก ให้ทุกท่าน ที่เป็นสูตรลับเฉพาะของชุมชน ก่อนบรรจุลงไหดิน ที่มาท่องเที่ยวกัมปงในดงปรือ แล้วเก็บไว้ราว 1 เดือนก็จะได้ปลาบูดูที่มีรสชาติ ได้ลองลิ้มชิมกัน เป็นเอกลักษณ์ คือ มีความเปรี้ยว เค็ม หวานปลาย นำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น นำมาทอด หรือทำหลนกินกับผักสด” กุสุมา อินสมะพันธ์

กิ จ ก ร ร ม ส่ ว น ที่ 2 ในส่วนนี้ นักท่องเที่ยวจะได้นั่งเรือ ตามเส้นทางคลองราชพฤกษ์น้อยชื่นชม ธรรมชาติ 2 ฝั่งคลอง ศึกษาวิถีชีวิต คนริมคลอง โดยในการล่องเรือ นักท่องเที่ยวจะได้แวะยัง จุดต่าง ๆ 2 แห่ง แต่จะเป็นที่ใดนั้น ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมในสัปดาห์นั้น ๆ ซึ่งในภาพรวมจะมีสถานที่สำหรับ ต้อนรับนักท่องเที่ยว 3 แห่ง ดังนี้

1 . ส ว น ผ ล ไ ม้ “สวนส้มบางมด” อย่างที่ทราบกัน ย่านบางมดขึ้นชื่อในเรื่องส้มเขียวหวาน ที่มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว เปลือกบาง ชานนิ่ม ปอกง่าย ถึงแม้สภาพน้ำที่มีปัญหา มาอย่างยาวนาน ทำให้ไม่สามารถปลูก เชิงพาณิชย์อีกต่อไปแต่ก็ยังคงเหลือ สวนที่ปลูกส้มเพื่อการอนุรักษ์ให้เราเห็น ได้สัมผัสได้ลองลิ้มชิมรสกันอยู่ ปัญหาในการทำสวนส้มทำให้เกษตรกร ต้องหันไปปลูกพืชประเภทอื่นมากขึ้น เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้ต่อไป เช่น มะม่วงนวลจันทร์ และ มะพร้าวน้ำหอม “สวนมะพร้าว น้ำหอมลุงสมนึก”ก็เป็นหนึ่งในนั้น สวนมะพร้าวนี้มีความพิเศษคือ เป็นสวนที่ปลูกมะพร้าวผสมกับ มะม่วนวลจันทร์ และมะม่วงน้ำดอกไม้ ตามคันดินรอบสวน

มะพร้าวน้ำหอมสด ๆ จากต้น โดยผู้ที่ไปสวนแห่งนี้จะได้รับประทาน น้ำมะพร้าวหอม ๆ หวาน ๆ สดจากต้น พร้อมกับรับฟังวิธีการปลูกมะพร้าวตามวิถี ของชาวสวนริมคลองที่ประสบปัญหา สภาพน้ำไม่เหมาะสม ว่ามีวิธีการ ปรับตัวอย่างไร นอกจากสวนมะพร้าวลุงสมนึกแล้ว ในบางอาทิตย์จะสับเปลี่ยนไปยัง “สวนมะพร้าวลุงพิน” ที่เป็น สวนมะพร้าวน้ำหอมอีกแห่งหนึ่ง ในย่านบางมด

2 . อ รุ ณ - นุ ช มี ฟ า ร์ ม การเที่ยวชมฟาร์มแพะ เรียกได้ว่าเป็นไฮไลท์ของ การมาเที่ยว กัมปงในดงปรือเลยก็ว่าได้ ณ ที่แห่งนี้ เราจะได้เห็นแพะวิ่งอยู่กลาง ทุ่งหญ้าสีเขียวได้ป้อนอาหาร แพะเองกับมือ และ ได้เรียนรู้ วิธีการเลี้ยงแพะที่เป็นวิถีดั้งเดิม ของชาวชุมชน นมแพะ เนื้อแพะ ของ ชุมชนดารุ้ลอิบาดะห์ ขึ้นชื่อใน เรื่อง ไร้กลิ่นสาบ ที่เป็นสาเหตุ ทำให้ใครหลายคนขยาดการรับประทาน ผลิตภัณฑ์จากแพะ ผู้ที่ไปเยือน ฟาร์มแห่งนี้ จะได้รับฟัง และ ดูการสาธิต วิธีการเลี้ยงแพะ ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์จากแพะไม่มี กลิ่นสาบ จากผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ตัวจริง

การเลี้ยงแพะที่ส ืบทอดจากบรรพบุรุษ “หญ้าที่ใช้เลี้ยงแพะต้องเป็น หญ้าขนที่ขึ้นตามธรรมชาติ ทุกอย่างที่แพะกินต้องสะอาด ไม่เน่าเสีย ถูกสุขลักษณะ คอกนอน ต้องสะอาดไม่มีมูลติดตามพื้น และขนที่เป็นตัวส่งกลิ่น ส่วนแพะนม พันธุ์ที่นิยม เลี้ยงในชุมชนคือ พันธุ์ซาแนน เวลารีดนมต้องฆ่าเชื่อที่เต้านมก่อน และต้องรีดด้วยมือเท่านั้น โดยใช้ขวดรองเพื่อจะได้ไม่มี กลิ่นของเครื่องมือรีด หรือกลิ่นสาบของนม ยามที่แพะมีอาการป่วยก็ รักษาด้วยสมุนไพรธรรมชาติ หากมันไม่สบายก็ให้กิน ฟ้าทะลายโจร หากท้องเสีย ก็ให้บอระเพ็ด” กุสุมา อินสมะพันธ์ กิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว : ผู้ที่มาฟาร์มแพะอรุณ-นุชมี นอกจากจะได้เรียนรู้วิธีเลี้ยงและ ดูแลแพะแล้ว ทางฟาร์มยังเปิดโอกาส ให้นักท่องเที่ยวได้ให้อาหารแพะ หัดรีดนมแพะ และดื่มนมที่รีด ด้วยตัวเองอีกด้วย

ทุกกิจกรรมสอดแทรกความรู้วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมการท่องเที่ยว “กัมปงในดงปรือ” ของชาวชุมชนดารุ้ลอิบาดะห์ ล้วนแต่มี การสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต และภูมิปัญญาของชาวชุมชนตลอด การเดินทาง นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้ สิ่งต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว หากใครที่อยาก จะมาเยือน ชาวชุมชนกระซิบฝากมา บอกว่าต้องจองเท่านั้น “กัมปงในดงปรือ” เปิดให้บริการ วันเสาร์-อาทิตย์สัปดาห์แรกของเดือนเท่านั้น โดยสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร จองทริปท่องเที่ยวเชิงเกษตรและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก “กัมปงในดงปรือ”

ค่าร่วมกิจกรรมเวิร์คช้อป ผู้ใหญ่ : 350 - 390 บาท เด็กอายุไม่เกิน 9 ขวบ : 300 บาท เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ : ฟรี (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมในแต่ละครั้ง) ช่วงเวลาเปิดตลาด วันเสาร์ และวันอาทิตย์ สัปดาห์แรกของเดือน การเดินทางด้วยด้วยขนส่งสารสาธารณะ รถโดยสารประจำทางสาย 75 รถกระป๋องสาย 70 (ลงปากซอยพุทธบูชา 36 และต่อรถมอเตอร์ไซต์จับจ้างไปที่กัมปงในดงปรือ ) การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล มีบริการที่จอดรถฟรีด้านหน้าตลาด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ - โทรศัพท์: 083 024 8107 - FACEBOOK: กัมปงในดงปรือ - หน้าหลัก | FACEBOOK

บ ร ร ณ า นุ ก ร ม กุสุมา อินสมะพันธ์. (สิงหาคม 2564). ประธานวิสาหกิจชุมชนดารุ้ลอิบาดะห์. (ณัฐพร วิริยะประภานนท์, มินฑิตา ปีนะเก, ผู้สัมภาษณ์) กัมปงในดงปรือ. (2561). เพจกัมปงในดงปรือ. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/ Gumpongnaidongpru/photos ธนพร จิตรจำลอง. (2564). สารคดี. เข้าถึงได้จาก https://www.sarakadee.com/ 2021/05/02/ดารุ้ลอิบาดะห์/