Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore final เรือกับวิถีชีวิตคนริมคลอง

final เรือกับวิถีชีวิตคนริมคลอง

Published by Mape 's, 2021-12-28 06:20:12

Description: final เรือกับวิถีชีวิตคนริมคลอง

Search

Read the Text Version

เรือกับวิถีชีวิตคนริมคลอง เรือกับผู้คนริมคลองมีความผูกพันกันมายาวนานและคงจะผูกพันกันตลอดไป

เรือกับวิถีชีวิต คนริมคลอง ผู้เขียน: กษมาภรณ์ มณีขาว ก่อนที่ย่านบางมดจะมีถนนมากมาย ตัดผ่านอย่างทุกวันนี้ คลองบางมดและ คลองสาขา เป็นเส้นทางสัญจรเพียงสายเดียว ที่นำพาชาวบ้านริมคลองไปยังที่ต่าง ๆ แม้ปัจจุบันจะมีถนนคอนกรีตที่สะดวก ต่อการใช้งานและทำให้การสัญจรทางน้ำลดลง แต่การใช้เรือของผู้คนริมคลองยังไม่หายไปไหน ตั้งแต่เช้าจรดเย็น เรายังสามารถเห็น เรือแล่นไปมาได้ตลอดเวลา

ผู้เขียนได้มีโอกาสสนทนากับชาวบางมดที่ใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับเรือมา 40 – 70 ปี คือ คุณสนธยา เสมทัพพระ คุณณรงค์ เมืองประแก้ว และคุณสมจิตร จุลมานะ ทำให้ทราบเรื่องราวของเรือบางประเภทที่วิ่งในย่านนี้ ในอดีต ยามอรุณรุ่งชาวบ้าน จะคุ้นชินกับการเห็นพระภิกษุ พายเรือขนาดเล็กที่นั่งได้เพียง 1- 2 คน เช่น เรือเข็ม เรือบด หรือเรือสำปั้นเพรียว จากวัดต่าง ๆ เช่น วัดยายร่ม วัดพุทธบูชา วัดทุ่งครุ มาบิณฑบาตตามบ้าน ญาติโยม เรือเหล่านี้มีรูปทรงเพรียว ส่วนหัวส่วนท้ายโค้งเรียว แล่นได้เร็ว แต่ล่มง่าย ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับ ให้พระภิกษุใช้เพื่อเป็นการฝึก สมาธิไปในตัว ทั้งนี้ ที่วัดพุทธบูชา มีการจัดแสดงเรือที่พระภิกษุ เคยใช้ โดยแขวนไว้ใต้หลังคา ของอาคารหลังหนึ่งภายในวัดด้วย ถึงแม้ปัจจุบันพระภิกษุ จะเดินบิณฑบาตเพราะสะดวก และปลอดภัยกว่า แต่ยังมี พระภิกษุบางรูปพายเรือ ในคลองบางมดเพื่อบิณฑบาตอยู่ (ที่ปรากฏในภาพเป็นเรือแปะ)

เมื่อถึงเวลาต้องเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบัน ถ้าถิ่นที่ต้องการไป อยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก ชาวบ้านมักจะพายเรือลำขนาดกลางหรือขนาดเล็ก เช่น เรือแปะ เรือโปง และเรือสำปั้นไปเอง แต่ถ้าไปไกลและต้องบรรทุกของเยอะ เรือป๊าบ ก็มักจะติเครื่องยนต์ที่เรือ ส่วนเรือที่ใช้ก็แล้วแต่ความชอบ และจุดประสงค์ของการใช้งาน ของแต่ละครอบครัว แต่ที่ดูจะเป็น ที่นิยมมากในย่านบางมด ได้แก่ เรือป๊าบ ทั้งเรือแปะและเรือป๊าบเป็นเรือต่อ มีส่วนหัวและท้ายเรียว ส่วนกลางกว้าง ท้องเรือค่อนข้างแบน เรือป๊าบ มักจะมีขนาดยาวตั้งแต่ 3 วา (6 เมตร) ขึ้นไป ส่วนเรือแปะ ที่มีรูปทรงเหมือนกันจะมี ขนาดเล็กลงมา แต่ก่อน เกษตรกรที่ต้องดูแล สวนยกร่องเช่น สวนส้ม จะพายเรือ ขนาดเล็กไปตามท้องร่อง เพื่อรดน้ำต้นไม้และเก็บผลไม้ ใส่กระบุงไปขาย ในภาพ เป็นเรือ ที่มีลักษณะเหมือนเรือแปะ แต่สั้นกว่า คือ ประมาณ 8 ศอก (2 เมตร) เพื่อให้สามารถแล่น และกลับลำในท้องร่องได้

เรือโปง คุณณรงค์ เล่าว่าสมัยก่อนเคยใช้เรือโปง ยาว 10 ศอก (5 เมตร) สำหรับ บรรทุกส้มจากร่องสวนไปขาย เพราะมีบริเวณส่วนกลางกว้าง และทั้งลำสามารถ วางเข่งที่ใส่ส้มหนัก 20 กิโลได้ถึง 25 เข่ง ในสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน อธิบายว่าเรือโปงเป็นเรือขุดจากต้นตาลหรือต้นสัก แต่ที่เห็นในภาพนี้เป็นเรือต่อ คุณณรงค์จึงอธิบายว่า เรือขุดต้องใช้ต้นไม้ขนาดใหญ่มาก แต่ต้นไม้ใหญ่แบบที่มี ในสมัยโบราณหายากและมีราคาสูง คนรุ่นหลังจึงใช้วิธีต่อเรือขึ้นมาแทน

เรือสำปั้น เรือขนาดเล็กอีกชนิดหนึ่งซึ่งอาจไม่ได้เป็นที่นิยมของชาวบางมดมากเท่า เรือป๊าบ แต่ผู้คนเห็นจนชินตาในปัจจุบัน คือ เรือสำปั้น ของป้าวันดีที่พาย ขายส้มตำปลาร้าอยู่เป็นประจำ เรือสำปั้นแบ่งเป็นประเภทย่อยได้หลายชนิด แต่เรือของป้าวันดีเป็นเรือสำปั้นประเภทที่มีท้องเรือโค้งมน หัวและท้ายเรือเพรียว แบนกว้าง

เรือหางยาว สำหรับคนที่ต้องเดินทางไกล หรือไปยังที่ ๆ ไม่สะดวกจอดเรือ ก็มักจะนั่ง เรือหางยาว เรือหางยาวรุ่นแรกพัฒนามาจากการเอาเครื่องยนต์มาติดท้ายเรือพาย ซึ่งจะเป็นเรือพายประเภทใดก็ได้ จากนั้นนำเพลายาวที่มีปลายเป็นใบพัดมาติด กับเครื่องยนต์อีกที เรือหางยาวขนาดใหญ่บางลำจุได้ถึง 1,800 กิโล คุณสมจิตร ซึ่งเป็นเกษตรกรสวนส้มอีกท่านหนึ่งเล่าว่าราว ๆ ปี 2519 เคยใช้เรือหางยาว ขนกิ่งพันธุ์ส้มจำนวน 2,100 กิ่งจากบางกอกน้อยไปปลูกแถววัดทุ่งครุในคราวเดียว ในขณะเดียวกันพ่อค้าคนกลางก็เอาเรือหางยาวเข้ามารับซื้อส้มถึงในสวน

ในสมัยก่อน เรือหางยาวนับว่าเป็นเรืออเนกประสงค์ ตั้งแต่รับ-ส่งคน ไปทำงาน ส่งเด็กไปเรียนหนังสือ ขนส่งสินค้า วิ่งขึ้น-ล่องรับส่งคนและสิ่งของ ในงานรื่นเริง งานแต่งงาน และงานบุญต่าง ๆ เช่น งานบวช งานทอดกฐิน ผ้าป่า รวมทั้งนำร่างของผู้วายชนม์ทั้งชาวพุทธและชาวมุสลิมไปประกอบพิธีทางศาสนาด้วย น่าเสียดายที่ปัจจุบันไม่มีเรือหางยาววิ่งรับส่งคนเป็นประจำเหมือนในอดีตแล้ว

เรือป๊าบ 2 สูบ คุณณรงค์ กับคุณสนธยา เล่าให้ฟังเรื่องการเรียกชื่อเรือที่ติดเครื่องยนต์ว่า ชาวเรือมักจะเรียกเรือเหล่านี้ตามเครื่องหมายการค้า และขนาดของลูกสูบ เช่น เรืออีซูซุ, เรือหางยาวอีซุซุ, เรือหางยาว ฮอนด้า, เรือป๊าบ 2 สูบ เป็นต้น ทั้งนี้ ในอดีตถ้าบ้านไหนใช้เรือติดเครื่องยนต์จะดูเป็นคนมีฐานะดี

เรือสเต็ป เรืออีก 2 ประเภทที่พบเห็นได้ง่ายในย่านบางมดมานานแล้ว คือ เรือสเต็ป และเรือกระเทย ซึ่งมีลักษณะ หัวเรือแหลม เชิดขึ้น ส่วนท้ายตัด แต่ใต้ท้องเรือ ของเรือสเต็ปจะไม่เรียบเป็นผืนเดียวกันทั้งหมด เพราะตรงส่วนท้ายมีการตัดให้มี ลักษณะเหมือนเป็นขั้นบันได 1 ขั้น

หากเราเข้าไปดูภาพในเพจ FACEBOOK ของตลาดมดตะนอย, กัมปงในดงปรือ และ 3C PROJECT จะเห็นว่า ผู้คนยังคงใช้เรือนานาชนิดในการเดินทาง มีแม่ค้าพายเรือหรือใช้เรือติดเครื่องยนต์เร่ขายอาหาร พืชผักผลไม้ มีคนใช้เรือ ในการหาปลา มีนักท่องเที่ยวนั่งเรือชมทิวทัศน์ หรือทำกิจกรรนันทนาการต่าง ๆ โดยเรือบางลำได้ถูกเคลือบไฟเบอร์เพื่อเพิ่มความทนทาน นอกจากนั้น ด้วยเทคโนโลยียุคปัจจุบันทำให้มีเรือที่ผลิตจากสแตนเลสหรือไฟเบอร์ทั้งลำ เรือเหล่านี้มีน้ำหนักเบา ทนทาน ดูแลรักษาง่ายกว่าเรือขุด หรือเรือต่อ ที่ทำจากไม้ทั้งลำ

ตามคำบอกเล่าของคุณสนธยา ชาวเรือมีคำพูดว่า “ช่วงหัวน้ำขึ้น - ออกเรือ ช่วงน้ำลง - กลับบ้าน” ดังนั้น ชาวบ้านจึงมักจะพายเรือกลับบ้านในตอนเย็น ช่วงเวลาน้ำลง เพื่อจะได้ไม่ต้องออกแรงพายเรือทวนน้ำ และเมื่อถึงบ้าน ถ้าเจ้าของเรือ คิดว่าจะไม่ใช้เรืออีกเป็นเวลานาน ก็มักจะเก็บเรือไว้ในโรงเก็บ ปัจจุบัน ถ้านั่งเรือ ชมทัศนียภาพสองฝั่งคลอง ยังสามารถเห็นโรงเก็บเรือหรืออู่เรือได้ทั่วไป เจ้าของเรือ จะทำหลังคา และชักรอกยกเรือที่ต้องการเก็บขึ้นบนคาน เพื่อกันไม่ให้เรือจม ถ้าฝนตก แม้วันเวลาจะผ่านไปนานขนาดไหน การเดินทางของเรือดูจะไม่มีวันสิ้นสุด เรือไม้ลำเก่าที่ใช้ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างดี ก็สามารถ เป็นมรดกประจำตระกูล ไว้ให้พ่อแม่เล่าเรื่องราวของบรรพบุรุษให้ลูกหลานฟัง แล้วเรือก็จะเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนริมคลองตลอดไป

บ ร ร ณ า นุ ก ร ม ณรงค์ เมืองประแก้ว. (กันยายน 2564). เรือ. (กษมาภรณ์ มณีขาว, ผู้สัมภาษณ์) ไพฑูรย์ ขาวมาลา. (2557). สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 39 เรื่องที่ 3 เรือไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.saranukromthai.or.th/ sub/book/book.php?book=39&chap=3&page=t39-3-infodetail04.html สนทยา เสมทัพพระ. (สิงหาคม 2564). เรือ. (กษมาภรณ์ มณีขาว, ผู้สัมภาษณ์) สมจิตร จุลมานะ. (กันยายน 2564). เรือ. (กษมาภรณ์ มณีขาว, ผู้สัมภาษณ์) 3C Project. (ม.ป.ป.). เพจ 3C Project.เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/ 3CProject.BKK/? ref=page_internal


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook