Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore final เดินทอดน่องกับเรือนไม้โบราณ ริมคลองบางมด

final เดินทอดน่องกับเรือนไม้โบราณ ริมคลองบางมด

Published by Mape 's, 2021-12-28 06:22:44

Description: final เดินทอดน่องกับเรือนไม้โบราณ ริมคลองบางมด

Search

Read the Text Version

เดินทอดน่องกับเรือนไม้โบราณ ริมคลองบางมด

เดินทอดน่องกับ เรือนไม้โบราณ ริมคลองบางมด ผู้เขียน: ศิริพันธ์ นันสุนานนท์ ปัจจุบันหากเอ่ยถึง วิถีชีวิตของคนริมคลอง ส่วนใหญ่ผู้คนมักมีภาพความทรงจำในวัยเยาว์ ไม่ว่าจะเป็นละแวกบ้านถิ่นเดิม โรงเรียนเก่า หรือบ้านเพื่อนสนิทที่ติดริมน้ำ สิ่งเหล่านี้เอง ที่ทำให้คนเมืองเลือกเดินทางท่องเที่ยว พักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อผ่อนคลาย และหาความรู้จากแหล่งท่องเที่ยวริมคลอง ไม่ว่าจะเป็นตลาดน้ำ วัด ที่ทำให้ชุมชน ริมคลองกลับมามีชีวิตอีกครั้ง

หากเปรียบเทียบกับคลองอื่นๆ คลองบางมดมีชื่อเสียงจาก ผลผลิตทางการเกษตร อย่างส้มบางมด ที่มีรสชาติหวานแหลม กลมกล่อม ด้วยรสเปรี้ยว ทำให้เป็นของขึ้นชื่อ ของย่านนี้แม้ว่าวิถีของชาวสวนส้มบางมด จะเหลือลดน้อยลง แต่สีสัน และจิตวิญญาณของคนที่นี่ ได้รับ การแต่งแต้มด้วยงานศิลปะริมคลอง และเทศกาลสำคัญของชุมชน อย่างเช่น เทศกาลบางมดเฟส ที่จัดอย่างต่อเนื่อง ช่วยวิถีชีวิตของ คนที่นี่กลับมามีการโลดแล่น

หากเราเดินลัดเลาะจากจุดเริ่มต้นที่ท่าเรือวัดพุทธบูชา เราจะพบหมู่อาคาร ริมคลองเรียงราย บางหลังอาจจะทรุดโทรมตามกาลเวลา บางหลังก็ยังคงยืนตระง่าน คงความสมบูรณ์ของงดงามทางศิลปะ ทุก ๆ หลังจะยกใต้ถุนสูงขึ้น เพื่อให้ลม ผ่านได้ดี ส่วนใหญ่มีอายุราว ๆ 60 ปีขึ้นไป สร้างด้วยไม้ธรรมดา หรือเนื้อแข็ง อาจจะมีใช้ไม้สักบ้างแ ต่หลาย ๆ หลัง ภายหลังจากการบูรณะ มักจะมี การใช้ปูนร่วมด้วย เรือนไม้ริมคลองบางมด

บ้านทรงไทยสะท้อนภูมิปัญญาวิถีชีวิตของไทยได้ดี ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติ ชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยม และความเชื่อ ซึ่งในอดีตชีวิตของคนไทย ที่มีความผูกพัน กับความเชื่อ จึงทำให้การปลูกบ้านเรือนส่วนใหญ่มีทำเลที่ตั้งใกล้กับแม่น้ำ โดยมีลักษณะเป็นบ้านไม้ ซึ่งช่างจะทำการยกใต้ถุน เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ และช่วยป้องกันน้ำท่วมในช่วงน้ำหลาก โดยช่างจะทำการสังเกตจากเสาสะพาน ข้ามคลองว่า จุดที่น้ำท่วมสูงสุดประมาณใด เรือนไม้ริมคลองบางมด

นอกจากนี้ ภูมิปัญญาทางเชิงช่างยังปรากฏได้จากการออกแบบหลังคาบ้าน ให้มีทรงสูง เพื่อให้พื้นที่ใต้หลังคาสูงโปร่งซึ่งจะช่วยระบายความร้อนได้ดี ส่วนชายคาบ้าน จะออกแบบให้ลาดชันรับกับแนวลม เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนออกจากตัวบ้าน ได้รวดเร็ว และช่วยป้องกันน้ำฝนรั่วซึมไหลเข้าสู่พื้นที่ภายในบ้าน พร้อมกับกันแดด เข้าสู่บริเวณบ้านได้ดียิ่ง อีกทั้งช่างยังออกแบบสร้างชานระเบียงออกมาเพื่อ นั่งรับลมนอกห้องและใช้เป็นลานอเนกประสงค์เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ดี มีข้อห้ามบางประการ เช่น การหลีกเลี่ยงสร้างห้องครัว ห้องน้ำทางทิศรับลม เนื่องจากลมจะพัดกลิ่นควันจากการทำอาหาร หรือจากห้องน้ำย้อนกลับเข้าบ้าน เรือนหงส์หยก

ณ คลองบางมด เรือนหงส์หยก ซึ่งตั้งอยู่ที่ ซอยพุทธบูชา 36 ถือเป็น เรือนทรงไทยโบราณที่เหลืออยู่ในชุมชนนูรุลหุดา ต่างจากเรือนไม้หลังอื่น ๆ ในละแวกเดียวกัน ปัจจุบันเรือนหงส์หยกได้นำตัวบ้านมาทำเป็นร้านอาหาร เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คำว่า หงส์หยก นั้น มาจากเจ้าบ้านเลี้ยงนกหงส์หยกไว้หลายตัว เรือนหงส์หยก

เรือนหงส์หยก จากคำบอกเล่าของคุณ เทวฤทธิ์ (ดีน) เจ้าของบ้าน เล่าให้ฟังว่า “...ตัวเรือนหงส์หยกมีอายุค่อนข้างนาน เพราะว่าเมื่อเขาเกิดมา ก็มีบ้านหลังนี้อยู่แล้ว ตัวบ้านสร้างจากไม้สักเกือบทั้งหลัง เสาเป็นเสากลม ไม่ใช่เสาเหลี่ยม แสดงให้เห็นความใหญ่ของต้นสัก ที่ใช้การเข้าเดือย แบบเก่า ส่วนตัวบ้านยังคงสภาพเดิม และไม่เคยย้ายหรือดีดตัวบ้านขึ้น ทั้งนี้เขามีความตั้งใจที่จะพยายามรักษาสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด ในขณะที่บ้านใกล้เรือนเคียงหลายหลังได้ทำการดีดตัวบ้านขึ้นทั้งหมดแล้ว ปัจจุบันเรือนหงส์หยกยังคงรักษาตามสภาพบ้านพร้อมรอรับผู้มาเยือน ให้เสมือนมาเที่ยวบ้านญาติ ...” ยังมีอีกหลายประเด็นสนุกและน่าสนใจอีกมากมายเกี่ยวกับบ้านทรงไทย และเกร็ดความรู้ภูมิปัญญาเชิงช่างของบรรพชนที่สรรสร้างสิ่งปลูกสร้างอันงดงาม และยืนยงผ่านกาลเวลา ให้ผู้คนได้มาเยือนและชื่นชม อีกทั้งช่วยย้อนความทรงจำ ที่กาลเวลาอาจทำให้เลือนไปได้กลับมาแจ่มชัดอีกครั้ง

ที่ตั้ง เลขที่ 28 ซ. พุทธบูชา 36 แขวง บางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140 ช่วงเวลาเปิด - ปิด จ. พ. ศ. ส. อา. 10.30 - 16.00 น. อ. 10.30 - 16.30 น. , พฤ. 10.30 - 19.00 น. การเดินทางด้วยรถด้วยสารสาธารณะ รถโดยสารประจำทางสาย 75 รถกระป๋องสาย 70, 77 (ลงปากซอยพุทธบูชา 36 และต่อรถจักรยานยนต์จับจ้างหรือรถแท็กซี่ ลงปากทางเข้าตลาดมดตะนอย และเลี้ยวขวา เพื่อเดินทางเลียบคลองบางมดไปจนถึงเรือนหงส์หยก) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ - โทรศัพท์: 080 450 3387

บ ร ร ณ า นุ ก ร ม งานสถาปนิก60. (2560). ภูมิปัญญาบ้านไทย...มรดกแห่งกาล เวลาสู่บ้านยุคใหม่ที่ลงตัว. เข้าถึงได้จาก https://www.forfur.com/แต่งบ้าน/ภูมิปัญญาบ้านไทย มรดกแห่งกาลเวลาสู่บ้านยุคใหม่ที่ลงตัว เทวฤทธิ์ เดชพ่อค้า. (กันยายน 2564). เรือนหงส์หยก. (ศิริพันธ์ นันสุนานนท์, ผู้สัมภาษณ์)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook