Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การจัดการศึกษาโดยใช้แนวคิดมุมมองทางจิตวิทยา

การจัดการศึกษาโดยใช้แนวคิดมุมมองทางจิตวิทยา

Published by nooing_sin, 2021-09-09 12:17:17

Description: การจัดการศึกษาโดยใช้แนวคิดมุมมองทางจิตวิทยา

Search

Read the Text Version

คำนำ รายงานเรื่อง การจัดการศึกษาโดยใช้แนวคิดมุมมองทางจิตวิทยา มีเนื้อหาประกอบด้วย การวิพากษ์ การจัดการศึกษาโดยใช้แนวคิดมุมมองทางจิตวิทยา ตามประเด็นดังน้ี สภาพการจัดการศึกษา อดีต-ปัจจุบัน, การพัฒนาการจดั การศกึ ษา โดยใช้มมุ มองทางจติ วทิ ยา ปญั หานักเรยี นไมอ่ ยากเรียน ขาดแรงจูงใจในการเรียน วิธีการแก้ไขปัญ/การส่งเสริม/พัฒนาปัญหา ทั้งด้านเป้าหมายการศึกษา ผู้เรียน หลักสูตรและเนื้อหา ผู้สอน การเรียนการสอนและการวัดผล ผู้บริหารการศึกษา สถาบันการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น ระดับท้องถิ่นและ ระดบั ชาติ คณะผ้จู ดั ทำหวังว่าการวิพากษ์การจัดการศกึ ษาโดยใชแ้ นวคิดมุมมองทางจิตวิทยา มีบทบาทสำคัญใน การจดั การศึกษา การสร้างหลักสตู รและการเรยี นการสอน โดยคำนงึ ถึงความแตกตา่ งระหว่างบุคคลของผู้เรียน และครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผเู้รียนและ กระบวนการเรยี นรู้ตลอดจนแก้ไขปญั หาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล นอกจากนย้ี ังมี วตั ถปุ ระสงค์เพื่อให้เขา้ ใจจิตวิทยาการศึกษา สามารถนำความร้ไู ปเป็นแนวทางในการบรหิ ารการศึกษาได้อย่าง ถูกต้องและมีประสทิ ธิภาพ คณะผ้จู ดั ทำ

สารบญั เรอ่ื ง หนา้ คำนำ ก สารบัญ ข วพิ ากษก์ ารจัดการศกึ ษาโดยใช้แนวคิดมุมมองทางจิตวทิ ยา ตามประเดน็ ดังนี้ 1.สภาพการจดั การศึกษา อดีต-ปจั จุบัน 1 2.การพฒั นาการจัดการศึกษา โดยใชม้ ุมมองทางจติ วทิ ยา 2.1 นกั เรียนไมอ่ ยากเรียน ขาดแรงจงู ใจในการเรียน 7 2.2 วิธีการแก้ไขปญั /การสง่ เสรมิ /พัฒนาปญั หาในแตล่ ะประเดน็ ขา้ งลา่ ง 2.2.1 เป้าหมายการศึกษา 8 2.2.2 ผูเ้ รียน 9 2.2.3 ผูส้ อน 11 2.2.4 การเรียนการสอนและการวดั ผล 12 2.2.5 ผบู้ รหิ ารการศกึ ษา 14 2.2.6 หลกั สตู รและเน้ือหา 16 2.2.7 สถาบันการศึกษา 17 บรรณานุกรม

1 การศกึ ษา การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเปน็ มีลักษณะนิสัยจิตใจท่ดี ี งาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษา ช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีก ประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึง เป็นปจั จยั ท่ี 5 ของชวี ติ เปน็ ปัจจยั ที่จะช่วยแก้ปญั หาทกุ ๆ ดา้ นของชวี ติ และเปน็ ปจั จัยทส่ี ำคญั ที่สุดของชีวิตใน โลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถี ดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็นมากขึ้นด้วย ที่มา และขอ้ มลู เพิ่มเตมิ ยคุ สมยั ของการศึกษาคืออะไร แบ่งเป็น 4 สมัยดงั นี้ 1.การศึกษาของไทยสมยั โบราณ 2.การศกึ ษาของไทยสมัยปฏิรปู การศกึ ษา 3.การศึกษาของไทยสมยั เปลยี่ นแปลงการปกครอง 4.การศกึ ษาของไทยสมยั พฒั นาการศึกษา 1. การศึกษาไทยในสมัยโบราณ (พ.ศ. 1781 – พ.ศ. 2411) ยังไม่มีโรงเรียนแก่เด็กไทยในสมัยนั้น สามารถหาความรู้ไดจ้ ากท่บี ้าน สำนกั สงฆ์ วชิ าที่สอนไมไ่ ดต้ ายตัว มคี วามรู้สามัญเพือ่ อา่ นออกเขียนได้ วิชาชีพ วิชา จรยิ ศกึ ษา และศิลปะป้องกนั ตัว 2. การศึกษาในสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 – พ.ศ. 2475) ผลจากการเข้ามาของชาวตะวันตก และการเปิดประเทศค้าขายกับตะวันตกนั้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการเมืองการปกครอง และ การศึกษาจึงได้มีความสำคัญขึ้นเพื่อพัฒนาคนเข้ามารับ ราชการนำไปสู่การเปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัย จึง ทำใหม้ กี ารจัดทำแผนแม่บทในการศกึ ษาเรียกว่าโครงการศกึ ษาฉบบั แรกพ.ศ. 2441 3. การศึกษาสมัยปกครองตามระบอบ รัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) การศึกษามีความสำคัญ มากขึ้น เนอื่ งจากตอ้ งการพัฒนาคนให้เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธปิ ไตย อีกท้ังเป็นเร่อื งของสิทธิของ ประชาชนในการเขา้ รับการศกึ ษาเพ่ือพฒั นาประเทศ 4.การศึกษาของไทยสมัยพัฒนาการศึกษา สภาวะประเทศ – ยุคก้าวหน้าแห่งการสื่อสารสารสนเทศ และเทคโนโลยี สภาวะผู้นำ – พัฒนาแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพฒั นาด้านการศึกษา 1. ประกาศใช้แผนการศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 เน้นจรยิ ศกึ ษา พลศึกษา พุทธิศึกษา และหตั ถศึกษา 2. ประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา และ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น มีการประกาศใช้แผนพัฒ การศกึ ษาแหง่ ชาติ ตัง้ แตฉ่ บับที่ 1 – 8

2 3. ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กอย่างน้อย 1ปี ก่อนเขา้ เรียนระดับประถมศกึ ษา ด้วยแนวคิดและหลักการสำคัญของการมุง่ พัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยส่งผลให้วิถีชวี ิตของคนใน ชนบทต้องปรบั เปลี่ยนไปอย่างมาก จากเดมิ ท่ใี ชว้ ัตถุดิบจากธรรมชาติ เกบ็ เกยี่ วตามฤดกู าล มีการนำเทคโนโลยี มาใช้ควบคุมธรรมชาติ เร่งผลผลิตได้ แรงงานก็เปลี่ยนจากแรงงานคนและสัตว์ไปเป็นเครื่องยนต์ เครื่องจักร ปุ๋ยและสารเคมี ผลิตผลที่เคยเพื่อใช้เอง และก็นำมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันได้กลายเป็นผลติ เพื่อค้าขาย มีการ ผลิตกันเป็นจำนวนมากตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ความรู้ที่มาพร้อมกับรูปแบบการผลิตใหม่น้ี ส่งผลกระทบต่อคนในชุมชน ส่งผลกระทบต่อความรู้ภูมิปัญญาเดิมของคนในชุมชน ทำให้ด้วยคุณค่า ไม่มี ความหมาย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545และ(ฉบับที่3) พ.ศ.2553 และ(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ได้ให้ความหมายของการศึกษาในมาตรา ๔ ที่กำหนดว่า “การศึกษา” หมายความว่า กระบวนการเรยี นรเู้ พ่อื ความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต” กำหนดความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาในมาตราที่ 6 ที่กำหนดไว้ว่า“การจัดการศึกษาต้อง เป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ทีส่ มบูรณ์ทัง้ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวติ สามารถอยู่ผู้อื่นร่วมกับได้อย่างมีความสุข” และมาตรา 8 ได้กำหนดหลักการ จัดการศกึ ษาให้ยึดหลัก 3 ประการคือ เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ใหส้ งั คมมสี ่วนร่วมในการจัด การศึกษาและการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง (พระราชบัญญัติการศึกษา แหง่ ชาติ, 2545) จะเห็นได้ว่า การศึกษา เป็นคำที่มีความหมายกว้างและมีการใช้กันอย่างกว้างขวาง เป็นที่คุ้นเคยของ คนทั่วไป การศึกษาเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการที่มนุษย์ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ รอบตัว ซ่ึง ก่อให้เกิดการรับรู้ และเข้าใจความเป็นไปของสิ่งที่ปฏิสัมพันธ์นั้นจนเกิดเป็นความรู้ หรือปัญญาที่สามารถ นำไปใช้ในการดำรงชีวิต ทั้งในการอยู่กับธรรมชาติ สภาพแวดล้อม และสังคม ตลอดจนการปรับเปลี่ยน ธรรมชาติ สภาพแวดล้อม และสงั คมตามความตอ้ งการของมนุษย์ การศกึ ษาจงึ เป็นกระบวนการทีเ่ กิดขึ้นและมี อยู่ในมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะชนช้ันใด อาชีพใด เพศหรือวัยใด และการศึกษาเป็นกระบวนการที่สามารถเกิดข้นึ ได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอดช่วงของชีวิต และที่สำคัญการศึกษา ประกอบด้วยความรู้ที่หลากหลายโดยมีที่มา หรือ สร้างจากบุคคลหรอื กลุ่ม บคุ คลตา่ งๆ ท่ีดำรงอยู่รว่ มกนั ในสงั คม การศึกษาไม่ไดจ้ ำกัดอย่ภู ายในกรอบขอบข่าย ของโรงเรียน หรือสถานศึกษา แต่การศึกษาเป็นเรื่องของทุกภาคส่วนของสังคม ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน องค์กรธุรกิจเอกชน องค์กร วัด กองทัพ หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจและเอกชน สถาบันทางสังคมต่างๆ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงมุ่งเปิดให้ทุกภาคส่วนใน สังคมเข้ามามสี ่วนรว่ มในการจัดการศึกษา เพื่อส่งเสรมิ การเรียนรูข้ องคนทุกคน ทุกชว่ งชวี ิต อย่างต่อเนอ่ื ง โดย

3 มีเป้าหมายเพื่อให้คนเป็นคนที่มีคุณภาพ ทั้งความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสขุ (อุษณีย์ ธโนศวรรย.์ 2549 : 2) ดังนัน้ การศึกษาท่ีจะนำไปส่กู ารสรา้ งสมดุลให้กับสังคม คือการศึกษาทีใ่ หค้ วามสำคัญกับความรู้ท่ีมีอยู่ อย่างหลากหลายในชุมชนหรือสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ไมป่ ิดกัน้ หรือลดคณุ คา่ ของบางส่วนลง เป็นการศึกษาที่ เปิดให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีสิทธิมีสว่ นในการจัดการศึกษาได้อย่างหลากหลายรูปแบบ วิธีการและ สถานที่ ยุคสมัยของการศกึ ษาคอื อะไร เปน็ อย่างไร การปฏิรูปการศึกษา คือ การปรับเปลี่ยนพัฒนาเพื่อให้การศึกษาสามารถสร้างคนดีให้กับสังคมและ เป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาอารยประเทศบนพื้นฐานของวัฒนธรรมและความ เปน็ ไทย การศึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ตลอดชีวิตในประเทศที่พัฒนา แล้วการพัฒนาศักยภาพของคนจะต้องนำหน้าการพัฒนาประเทศในมิติอื่นตัวอย่างประเทศที่ประสบ ความสำเร็จในการพัฒนา เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์ ได้ทุ่มเท การลงทนุ ในการพัฒนาคนในชาติก่อนหน้าที่ประเทศจะเริ่มเจริญเตบิ โตอย่างรวดเรว็ แลว้ ทั้งสนิ้ ประเทศเหล่าน้ี ได้มีการปฏิรปู ระบบการศกึ ษาอยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ เพื่อพฒั นาคนในชาตใิ ห้มคี วามรู้และ ประสบการณ์ โดย ให้การศกึ ษาเป็นตัวนำการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ เพื่อคนในชาติจะได้นำความรแู้ ละประสบการณ์ไปพัฒนา ประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองดังที่เรา จะพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆ ประเทศจะมีประชากรที่ได้รับ การศกึ ษาในอัตราทส่ี งู การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตาม อธั ยาศัย คอื (1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของ การศึกษา การวดั และการประเมินผล ซ่ึงเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาทแี่ นน่ อน (2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจดั การศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเน้ือหา และหลกั สตู รจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลมุ่ (3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความ พร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ สถานศึกษาอาจจัด การศึกษาในรูปใดรูปแบบหนึ่ง หรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ ผู้เรยี นสะสมไวใ้ นระหวา่ งรูปแบบ เดียวกนั หรือตา่ งรูปแบบได้ไมว่ ่าจะเป็นผลการเรยี นจากสถานศึกษาเดียวกัน หรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน การสอน และจะสง่ เสรมิ ใหส้ ถานศึกษาจัดไดท้ ้งั 3 รปู แบบ ยุคสมัยของการศึกษา เป็นช่วงที่การศึกษาถูกจัดระเบียบด้วยความรู้สำคัญบางประการ และด้วย ความรู้นี้จะเป็นตัวที่เข้ามากำกับทิศทางการศึกษาตลอดจนการออกกฏ กติกา ที่เข้ามากำกับวิถีการดำรงชีวติ

4 อาจจะทำให้บางอย่างเป็นไปได้ และบางอย่างเป็นไปไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงยุคการศึกษา มิได้หมายความว่ า ความรู้ชุดที่มีอยู่ในยุคของการศึกษาเดิมนั้นจะหมดไป แต่ความรู้ที่มีอยู่เดิมนั้นยังคงดำรงอยู่ แต่มีการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของความสำคญั ในการเข้ามากำหนด หรือจัดระเบยี บให้กับสรรพสิ่งต่างๆ การแบ่งยุคของความร้จู งึ ไม่ใช่เป็นการแบ่งตัดขาดจากกัน แต่เป็นการแบ่งเพื่อให้เห็นถึงความรู้สำคัญที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการจัด ระเบียบให้กับการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีพหรือการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคม โดยแบ่งยุคสมัยของ การศึกษา ดังนี้ ท้งั ในอดีต และปัจจุบัน 1. ยุคความรู้ในวิถชี วี ติ ความรู้สำคัญที่เข้ามาจัดระเบียบให้กับสิ่งต่างๆ ในสังคมไทยในยุคนี้ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ ของธรรมชาติ โดยธรรมชาติเป็นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต ความรู้เกี่ยวกับกฏแห่งกรรม ซึ่งเป็นความรู้สำคัญ ที่เขา้ มากำหนดความสมั พันธ์ระหว่างบคุ คลในสงั คม ความรู้จะสืบทอดผ่าน วิถีการดำรงชวี ิต ซึ่งเกี่ยวพันกบั การดำเนินชีวติ ของแตล่ ะคน เช่น เป็นบุตรขนุ นางเรียนรู้ อักขระวิธี วิธีการปฏิบัติราชการจากพ่อแม่ บุตรชาวนาเรียนรู้วิธีการทำนาจากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และเรียนรู้หลักการศาสนาจากพระ การสร้างความรู้ และการส่งผ่านความรู้ในยุคนี้ จัดกระทำผ่านการ บอกเลา่ เล่าเรยี น การฝึกฝน การลงแรงปฏิบตั ิจริง การเข้าถึงความรู้ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมคำสอนทางศาสนา และการดำรงชีวิตในวิชาชีพต่างๆ ให้ ความสำคัญกับการลงแรงฝกึ ปฏิบัตซิ ึง่ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่เกดิ จากการปฏิบตั ิ (Practical Wisdom) 2. ยุคการรู้หนังสอื นับแต่การแพรเ่ ข้ามาของอารยธรรมตะวันตก รวมท้งั วิทยาการความรู้ตะวันตกที่แสดงให้เห็นถึงความ มีประสิทธิภาพต่างๆ เข้ามามีอิทธิพลต่อแนวนโยบายในการพัฒนาประเทศ แนวนโยบายสำคัญ คือ การนำ วทิ ยาการความรู้จากประเทศตะวันตกมาใช้ในการพฒั นาประเทศ โดยความรสู้ ำคญั ในยุคน้ี คอื การรู้หนังสือท่ี มีการถ่ายทอดผ่านการจัดการศึกษาในรูปของโรงเรียน และการสอนอักขระวิธีในวัด โดยการรู้หนังสือเป็น ความรู้สำคัญที่ช่วยให้เข้าถึงวิทยาการความรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงพระธรรมคำสอนของพุทธศาสนา หรอื การเข้าถงึ วทิ ยาการความรู้ตะวันตก การรู้หนังสอื จึงเป็นความรสู้ ำคญั และเปน็ หนทางให้ได้มาซึ่งความรู้อนื่ ที่มีคุณค่า มีความสำคัญ อีกทั้ง ยงั เป็นเคร่อื งหมายของความฉลาด และเป็นหนทางในการศึกษาวทิ ยาการทงั้ ปวง เพราะการศกึ ษาวิทยาการใด กต็ ้องรูห้ นงั สือเป็นพน้ื ฐาน 3. ยุคความรทู้ ตี่ ัง้ บนหลกั การเหตุผลแบบวทิ ยาศาสตร์ ในยุคนี้เป็นช่วงของการพัฒนาประเทศ โดยอาศัยแนวคิดการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยที่ให้ ความสำคัญกับความรู้ที่ตั้งบนหลกั การเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่เข้าไปกำหนดรูปแบบ กฎเกณฑ์ต่างๆ รวมทั้งการสอบวัดและการประเมินให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การผลิต แบบเดิมที่มีการใช้แรงงานคนและสัตว์ถูกประเมินว่ามีประสิทธิภาพน้อยกว่าการใช้เครื่องจักรกล การทำงาน โดยบุคคลคนเดยี วตลอดทุกกระบวนการถูกประเมินวา่ มปี ระสิทธภิ าพน้อยกว่าการแบ่งงานกันทำ เปน็ ต้น ด้วย

5 หลักการสำคัญดังกล่าวจึงเข้าไปกำหนดรูปแบบความรู้สำคัญที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะ ของคนในสังคมแบบทันสมัย คือ เป็นคนที่พร้อมในการเปิดรับความคิดและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ มีนิสัยชอบ วางแผน เชือ่ ในความสามารถของมนษุ ย์ 4. ยคุ ความร้ทู ีต่ ง้ั บนหลกั การเหตผุ ลแบบวทิ ยาศาสตร์ ทส่ี ามารถใช้ประโยชน์ได้ ความรู้ในยุคสมัยนี้ มิได้เป็นเพียงความรู้ความจริงที่ตั้งบนหลักการเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่เป็น ความรู้ความจริงที่ถูกจัดระเบียบโดยอุดมการณ์ทุนนิยมที่ให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์ ความรู้จึงถูก แบ่งแยกออกเปน็ ความรู้ กับความรูท้ ่ใี ชป้ ระโยชนไ์ ด้ โดยอาศยั การทดลอง วิจัย มาเป็นตัวบ่งบอกถึงประโยชน์ ของความรนู้ ้นั ซงึ่ เท่ากบั เป็นการผนวกความรู้เข้ากับการใช้ประโยชน์ นัน้ คือความรูใ้ ดทีส่ ามารถใชป้ ระโยชน์ได้ หรือใช้ประโยชน์ในการสรา้ งผลผลติ ได้ ความรนู้ ั้นกไ็ ด้รับการยอมรบั ว่าเป็นความร้ทู มี่ ีคุณค่า จากคุณลักษณะสำคญั ของความรู้ในแต่ละยคุ ของการศึกษา ช้ใี ห้เห็นชดั เจนวา่ การศึกษามีลักษณะไม่ หยุดนิ่ง คือ มีความรู้ที่สร้างขึ้นใหม่ให้มีความหมายและความสำคัญ ความรู้เก่าที่ถูกลดทอนความสำคัญลง ความรู้เก่าที่ถูกหยิบยกให้มีความสำคัญขึ้นมาใหม่ ซึ่งความหมายและความสำคัญของความรู้เหล่านี้จะถูก ถา่ ยทอดหรือส่งผา่ นใหก้ ับสมาชิกในสังคมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในรูปของกฎ กติกา คา่ นยิ ม คณุ คา่ ที่สังคม ให้กับความรู้ทแี่ ตกต่างกนั (อษุ ณยี ์ ธโนศวรรย.์ 2549 : 2 - 8) การปฏริ ูปการศกึ ษาคอื อะไร เป็นอยา่ งไร การปฏิรูปการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีความหมายลึกซึ้งกว้างไกล เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้าง ขนานใหญ่ เป็นการเปลี่ยนทั้งระบบ แต่เปลี่ยนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้ไม่เกิดความรุนแรงหรือกระทบ ในทางเสียหายน้อยที่สุดเป็นวิถีทางของอารยชน เหมาะสมกับสังคมประชาธิปไตยที่ยึดหลักการเปลี่ยนแปลง โดยปราศจากการใช้พละกำลังและความรุนแรง อุษณีย์ ธโนศวรรย์. (2549 : 10 - 11) ได้กล่าวว่า หัวใจของ การปฏิรูปการศึกษา อยู่ที่ “การปฏิรูประบบความคิด” ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนระบบคิดเพื่อรื้อถอนระบบ ความคิดเก่าไปสู่ระบบความคิดใหม่เพื่อให้ระบบความคิดใหม่เข้าไปกำหนดจิตสำนึก และปรับเปลี่ยน พฤตกิ รรม หรือการกระทำ และการปฏิรปู การศกึ ษาจะสำเรจ็ ลงได้ ต้องมีการดำเนนิ การในส่วนของภาคปฏิบัติ การเพอื่ ให้การปฏิรปู การศกึ ษาสามารถขบั เคล่อื นไป การปฏิรูปการศึกษาควรเน้นปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วน ร่วมและตั้งเป้าหมายที่มีพลัง และส่งเสริมการประกันคุณภาพภายในให้เป็นวัฒนธรรมคุณภาพ ส่วนการ เปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายนั้นไม่ใช่แค่เพียงต้องการให้คนเห็นผลรูปธรรมในระยะสั้น ยังมีปัญหาสำคัญใน โครงสร้างลึกๆของปัญหาการศึกษาไทยที่ต้องใช้เวลาแก้ในระยะยาว และต้องเริ่มแก้กันตั้งแต่วันนี้ การปฏิรูป การศึกษาจงึ ตอ้ งลงลึกถึงแกน่ ของปญั หา (ปรชี า เรงิ สมทุ ร์, 2555) จะเหน็ ไดว้ ่า ในปัจจบุ ันการปฏริ ปู การศึกษา ทางดา้ นระบบบริหารและการจัดการจะเปลีย่ นไปมาก ตวั อย่างเช่น มกี ารกระจายอำนาจท้ังในดา้ นบริหารและ ด้านวิชาการลงสู่ระดับพื้นที่ โดยชุมชน ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเข้ามามีบทบาทในการ บริหารและการจัดการศึกษาในพื้นที่ของตนอย่างมาก ประชาชนจะเข้ามามีส่วนในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ และร่วมติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาในท้องถิ่น ในส่วนของหลักสูตรและการจัดการเรียนการ

6 สอน จะตอ้ งมีลกั ษณะที่ตอบสนองต่อความต้องการของผเู้ รียนที่หลากหลาย มีความสอดคลอ้ งกบั สภาพปัญหา และความแตกต่างของท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากสภาพแวดล้อมในชุมชน และสังคมที่เป็นจริงโดยเนน้ การปฏิบัติ ซึ่งสิง่ เหล่านี้จะส่งผลไปถึงเรื่องของการวัดและประเมินผลด้วย สำหรับ สถานศึกษาจะมีบทบาทในการจัดการศึกษาแบบเบ็ดเสร็จ (School Based Management) จึงต้องการครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนและ การถ่ายทอดความรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารงานและการจัดการอย่างมี ประสทิ ธิภาพ การปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงจึงมีเป้าประเด็นที่การปรับเปลี่ยนระบบความคิดเกี่ยวกับการศึกษาคน และธรรมชาติ และความรู้ เพื่อให้ระบบคิดใหม่เข้าไปกำหนดคุณค่า และความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ การสร้างความรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในสังคม สำหรับการจัดการศึกษาต้องไม่จำกัดเพียงเฉพาะรูปแบบ หรือช่องทางที่รัฐกำหนดให้เท่านั้น ทุกคน ทุกภาคส่วนของสังคมจำเป็นต้องคิด ช่วยกันร่วมมือกันคิดหา ช่องทาง เพอ่ื เปดิ พื้นท่ีใหส้ ามารถเขาไปมสี ิทธิ มสี ่วนในการจดั การศกึ ษา (อษุ ณีย์ ธโนศวรรย์. 2549 : 13)

7 ประเด็นปัญหา “ นกั เรยี นไมอ่ ยากเรียน ขาดแรงจงู ใจในการเรียน ” นกั เรยี นไมร่ จู้ ะเรียนอะไร ไม่ร้วู า่ ตวั เองอยากเป็นอะไร หรือประกอบอาชีพอะไรในอนาคต เด็กเหล่าน้ี ส่วนใหญ่ผลการเรียนอยู่ระดับปานกลางจนถึงต่ำ ชอบเล่นเกม หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก ไม่ค่อยชอบพูดคุย ถาม คำตอบคำ หรือไม่ก็ตอบคำถามเพ่ือให้พ่อแม่สบายใจ เช่น ถ้าพ่อแม่ถามว่าอยากเรียนอะไร เด็กก็มักจะตอบ อะไรออกไปเพื่อหวังจะให้พ่อแม่สบายใจหรือเลิกถาม เช่น เรียนวิทย์ เรียนศิลป์คำนวณ ฯลฯ หรือถ้าพ่อแม่ ถามว่าโตขนึ้ จะเป็นอะไร หรอื จะไปทำมาหากินอะไร เดก็ อาจจะตอบว่า อยากเปน็ หมอ อยากเปน็ นักบิน อยาก เป็นทหาร พ่อแม่ได้ยินแล้วก็ปลาบปลื้มสบายใจ และให้สังเกตว่า เมื่อเด็กตอบคำถามพ่อแม่แล้ว พ่อแม่พอใจ แล้ว ทุกครง้ั ท่ีถกู ถามอกี เด็กก็จะตอบคำตอบเดมิ พ่อแม่ก็เลยเช่อื มน่ั วา่ เดก็ อยากจะทำสิง่ นั้นจรงิ ๆ สาเหตุที่เด็กวัยรุน่ สมัยนี้มักจะไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้ความต้องการของตนเอง และที่สำคัญไม่มีความชอบ อะไรเป็นพเิ ศษ ทัง้ นเ้ี ป็นเพราะวา่ พวกเขาไม่รู้จักคุณค่าและความสามารถท่ตี นเองมีอยู่ ในวยั เดก็ เลก็ เด็กๆ จะ ทำนู่นทำนี่ ซึ่งจะแสดงความสามารถเฉพาะตนออกมา แต่มักจะถูกพ่อแม่ละเลย มองว่าเป็นเรื่องของเด็กซน หรือมองว่าเป็นเรื่องผิด ถูกห้ามไม่ให้ทำบ้าง ถูกเปรียบเทียบกับคนอื่นบ้าง พ่อแม่ตามใจมาก หรือปล่อยปละ ละเลย พ่อแม่คาดหวังไว้สูงบ้าง (คุณพ่อคุณแม่คงเถียงในใจวา่ ไม่ได้คาดหวังอะไรลกู ท้ังนัน้ แต่การพร่ำบ่นพร่ำ สอน หรือพูดซ้ำๆ ซากๆ ทำให้เด็กคิดว่านั่นคือสิ่งที่พ่อแม่คาดหวังไว้ค่ะ) บ้านที่พ่อแม่ขี้วิตกกังวล พ่อแม่เจ้า ระเบียบ พอ่ แมบ่ า้ งาน หรือบา้ สังคม หรอื บา้ นท่คี รอบครัวแตกแยก มกั จะพบเด็กท่ีขาดแรงจูงใจในการดำเนิน ชวี ิต และไมร่ ูว้ า่ อยากจะทำอะไรในอนาคตค่อนข้างมาก ปัญหาน้พี บไดใ้ นครอบครวั ในทกุ ระดับรายได้ ปัจจุบัน โรงเรียนมนี โยบายลด 0 ลด มส เพ่อื จะสรา้ งแรงจงู ใจหรือเสริมแรง เสริมกำลังใจให้กับผ้เู รียน แต่ผลกลับกัน ผู้เรียนหลายคนทราบดีว่า เรียนแบบใหน เรียนอย่างไร เขาก็มีผลการเรียนอยา่ งนอ้ ย 1 และไม่ ติด มส พฤติกรรมของเด็กจึงเปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง การส่งงานเพื่อได้คะแนนเพิ่ม เพื่อวัดผลการเรียน แบบจริงจังกลับทำไม่ได้ การวัดผลประเมินผลไม่สามารถวัดผู้เรียนได้จริง นโยบายกลบั เขา้ มาเป็นอุปสรรคตอ่ การเรียนการสอน นโยบายนี้ ไม่เป็นเชิงรูปธรรม แต่เป็นที่ทราบกัน ของครูผู้สอนในหลาย ๆ โรงเรียน ว่า ครูผู้สอน ไม่สามารถให้เด็กมีผลการเรียนเป็น 0 ในบางโรงเรียน นโยบายถูกใช้ทางอ้อม ผ่านวิธีการให้ครูตัด คะแนนผู้เรียนอย่างน้อย 60 % ในทุกหน่อยการเรียน เมื่อครบกระบวนการ นักเรียนจะมีคะแนน อย่างน้อย ท่ีสุดคือ 60% จงึ ทำให้ผลการเรยี น ไมม่ ี 0 ไปโดยปรยิ าย

8 เปา้ หมายการศึกษา การจัดการเรยี นการสอนในยุคปัจจบุ ัน กําลงั ละเลยถงึ สภาพจติ ใจของผเู้ รยี น ที่จะทำใหเ้ กิดความสุข ในการเรียนรู้ ซึง่ กระบวนการผลิตนักเรยี นนัน้ ยังเป็นรูปแบบเดิม ท้งั ในด้านหลักสตู รและกระบวนการจัดการ เรียนการสอนท่มี ุ่งเนน้ ความเปน็ เลิศทางด้านวชิ าการ เกิดภาวะการแข่งขนั อย่างสงู ทำใหผ้ เู้ รียนมีความกดดัน สร้างความวิตกกังวลและเคร่งเครียดให้กับผู้เรียน ผู้สอนจะสนใจและฝึกหัดผู้เรียนที่เรียนเก่งและมองข้าม ผู้เรียนที่เรียนอ่อน การเรียนในลักษณะนี้ส่งผลกระทบทางลบต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้และการพัฒนา ผ้เู รยี นให้บรรลุตามศักยภาพสูงสุด จติ วิทยาการศกึ ษามีบทบาทสำคญั ในการจดั การศกึ ษา การสร้างหลกั สูตรและการเรียนการสอน โดย คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา เพื่อจะได้ เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน จติ วทิ ยาการศกึ ษาจะชว่ ยใหผ้ ู้สอนมีความเข้าใจตัวในตัวผูเ้ รียนอย่างแจ่มแจ้ง ร้จู กั ธรรมชาตผิ เู้ รยี นในแต่ละช่วง วยั เขา้ ใจความรสู้ กึ นกึ คิดภายในจติ ใจ ดังนัน้ จิตวิทยาการศกึ ษาทำให้ผสู้ อนมเี ทคนิควธิ กี ารในการจัดการเรียน การสอนได้อย่างมปี ระสิทธิภาพและทำให้นักเรียนเห็นคุณคา่ ของความรู้ ท่ีมผี ลตอ่ การดำเนินชวี ิตต่อไปในอนาคต ซึ่งตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.2561-2580 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและ เสรมิ สร้างศักยภาพทรัพยากรมนษุ ย์ วา่ ต้องพฒั นาคนในทกุ มิติและในทุกชว่ งวยั ให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีเปา้ หมายการพฒั นาทส่ี ำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วง วยั ให้เปน็ คนดี เกง่ และมคี ณุ ภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมท้ังกาย ใจ สติปญั ญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมี สุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศลี ธรรม และเปน็ พลเมอื งดีของชาติ มหี ลักคดิ ท่ีถูกตอ้ ง มที ักษะท่จี า่ เปน็ ในศตวรรษที่ ๒๑ มที กั ษะส่อื สาร ภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรูแ้ ละการพัฒนาตนเองอย่างตอ่ เนื่อง ตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมี สัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่สำคัญของทุกฝ่ายที่จะต้องทำให้ผู้เรียนเกิดความ อยากเรยี นและมกี ารวางแผนเป้าหมายในชีวติ

9 ผ้เู รียน ปญั หาทเี่ กิดขึน้ กับผเู้ รยี น การเรียนรู้ตามความหมายทางจิตวทิ ยา หมายถึง การเปล่ียนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอยา่ งค่อนข้าง ถาวรเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ มีปัจจัยหลากหลายที่ทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ต่างกัน เช่น เพศ, อายุ , ความสนใจในการเรียน, ความสามารถทางปัญญา, ประสบการณ์, เจตคติและความสมบูรณ์ของ อวัยวะรับสัมผัสเป็นต้น ด้วยเหตุผลที่หลายประการนี้ทำให้เกิดอุปสรรคในการเรียนรู้มากมาย และเกิดปัญหา วา่ “ผู้เรียนไม่อยากเรียน ขาดแรงจูงใจในการเรียน” การรับรู้ (Perception) ผู้เรียนมีการรับรู้ที่ต่างกัน ทำให้แสดงออกมาต่างกัน อาจจะมาจากเพศที่ แตกต่างกัน ช่วงอายุหรือประสบการณ์เดมิ ทีแ่ ตกต่างกัน ในปัญหาที่เกิดข้ึนคอื ผู้เรยี นไม่อยากเรียนอาจจะเกิด จากไมม่ คี วามตอ้ งการทจ่ี ะรู้, ไม่มีความใสใ่ จท่ีจะร,ู้ ไมม่ ีแรงจูงใจท่จี ะรบั รู้, ไม่มีความร้แู ละประสบการณ์เดิมมา ก่อน หรอื ไมม่ ีความคาดหวังในการเรยี น ยกตัวอย่างเชน่ ในวชิ าภาษาอังกฤษ นกั เรยี นอาจจะไม่รวู้ ่าต้องเรียนไป เพ่ืออะไร ในเมอ่ื ชีวติ ของเขาพบเจอเพยี งการทำนา เล้ยี งสัตวเ์ ท่าน้ัน ไม่เคยเจอชาวต่างชาติในชีวิตจริง มองไม่ ออกวา่ จะไปใชภ้ าษาอังกฤษกบั ใครท่ีไหน จึงทำให้ไมอ่ ยากเรยี นหรอื รับรู้ ทัศนคติ (Attitude) ความรู้ ความเข้าใจ อารมณ์และ ความรู้สึกและมีแนวโน้มการปฏิบัติที่มีต่อส่ิง ต่างๆ เรื่องราว และประเด็นต่างๆ ซึ่งจะเกิดการประเมนิ ค่าสิ่งใดส่ิงหน่ึง บุคคลใดบุคคลหน่ึง และสถานการณ์ ในทิศทางใดทิศทางหนึง่ อาจจะไปในทางสนับสนุนหรอื คัดค้านกไ็ ด้ จากปัญหานี้ผู้เรียนไม่อยากเรียนอาจจะมี เหตุผลมาจากมีทัศนคติเชิงลบกับวิชาเรียน โรงเรียนหรือตัวครูผู้สอน ทัศนคติเป็นสิ่งที่คงทนถาวร แม้ว่า ทศั นคตเิ ปน็ สิง่ ทีเ่ ปล่ียนแปลงได้แต่ตอ้ งอาศัยเวลาจงึ จะสามารถเปลยี่ นแปลงได้ เชาว์ปัญญาและความถนัด ( Intelligence & Aptitude) ความสนใจในสิ่งที่เรียนต่างกัน บางครั้ง การเรียนในห้องเรียนหรือวชิ าเรยี นทีม่ ีในโรงเรยี น ผู้เรียนไม่ไดถ้ นัดจึงทำใหเ้ รียนรู้ได้ช้า เพราะความถนัดนั้นไม่ ใช้ความจำในอดีตหรือประสบการณ์เดิม ยังมีทฤษฎีพหุปัญญาของ Dr.Howard Gardner ที่บอกว่าปัญญา ของมนษุ ย์มหี ลายดา้ น เช่น ดา้ นภาษา, สงั คม, ตรรกศาสตร์ เปน็ ต้น เพราะฉะน้ัน ครูควรท่จี ะหากิจกรรม หรือ ควรสังเกตว่า ผู้เรียนสนใจในด้านไหน เพื่อที่จะสนับสนุนและส่งเสริมผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง บางครั้งผู้เรียน อาจจะไมถ่ นดั วิชาภาษาองั กฤษ แตอ่ าจจะถนัดการต่อวงจรไฟ การซอ่ มอปุ กรณไ์ ฟฟ้าเป็นตน้ IQ (Intelligence quotient) หรือความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้ การปรับตวั ตอ่ ปัญหาอย่าง เหมาะสมและความสามารถที่จะทำกิจกรรมต่างๆได้ อย่างมีจุดมุ่งหมายและมีคุณค่าทางสังคม สามารถคิด อย่างมีเหตุผลสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่า IQ ของผู้เรียนแต่ ละคนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่างเช่น พันธุกรรม, ความสมบูรณ์ของสมอง, สิ่งแวดล้อม, อายุ, เพศ, เชื้อชาติ เป็นต้น บางคนอาจจะเรียนรู้ได้เร็ว ในขณะเดียวหากผู้เรียนมีระดับIQต่ำกว่าปกติ ก็อาจ เป็นเหตุผลที่ทำให้ไม่อยากเรียน เพราะถูกด้อยค่าจากครูหรือเพื่อน กลัวว่าตนเองถูกมองว่าโง่ หรือบางครั้ง ผู้เรียนที่มี IQ สูง แล้วไม่รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมอาจจะมองสิ่งที่เรียนง่ายเกินไป ทำให้เขาไม่อยากที่จะ เรยี นกไ็ ด้

10 EQ (Emotional Quotient) หรือความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความสามารถที่เกีย่ วข้องกับการรับรู้ ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึกของตนเองและนำอารมณ์และความรู้สึกนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมี ประสิทธิภาพทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วย นักเรียนที่มี EQ ต่ำ อาจเป็นจากสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง หากนักเรียนมี EQ ที่ดีก็จะทำให้ มีการเรียนที่ดี แสดง พฤติกรรมออกมาดีไปด้วย การที่ผู้เรียนไม่อยากเรียน อาจจะมาจากการที่ผู้เรียนมีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ เพราะ ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ จะไม่รู้ว่าทำไมถึงมีความรู้สึกแบบน้ัน ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นจาก ผู้อื่น ยิ่งหากเป็นการบังคบั ผเู้ รียนอาจจะย่ิงรสู้ กึ วา่ ตนเองด้อยค่ามากขึ้น ทำใหป้ ิดกนั้ ลไมอ่ ยากเรียนอีกตอ่ ไป ที่กล่าวมาข้างต้นหากครูผู้สอน เพื่อน หรือสถานศึกษา ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลนี้จะทำ ให้ผเู้ รียนขาดแรงจงู ใจในการเรียน แรงจูงใจ (Motivation) มีความสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ เป็น เหตุปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อระดับของพฤติกรรม เพราะแรงจูงใจอาจจะเป็นแรงดึงดูด หรือ ผลักให้มนุษย์ แสดงพฤตกิ รรมท่ีแตกต่างกนั ออกไป โดยแรงจงู ใจภายในคอื สิ่งที่เกิดขน้ึ ภายในรา่ งกายและจิตใจ เปน็ แรงจูงใจ ท่ีเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ความหิว ความต้องการ ความศรัทธา ส่วนแรงจูงใจภายนอก เกิดขึ้นโดยมีสังคม ส่งแวดล้อมหรือบุคคลรอบข้างเป็นสิ่งเร้า เช่น รางวัล สิ่งตอบแทน หรือคำชมเป็นต้น การที่ผู้เรียนไม่อยาก เรียนเหตุสำคัญคือไม่มีแรงจูงใจ กล่าวคือ ผู้เรียนมีความต้องการของมนุษย์ในระดับต่ำ (Lower order needs) ไม่ได้ตอ้ งการเปน็ ท่ียอมรับของสงั คม มแี ค่ความต้องการข้ันพื้นฐานเท่านนั้ อาจเพราะสภาพแวดล้อม ของผู้เรียนเป็นชุมชนแออัด ผู้คนรอบข้างไม่ได้ทำงานอะไร จึงทำให้ผู้เรียนไม่มีแรงจูงใจในการเรียน เพราะคิด ว่าหากเรียนจบแล้ว คงออกมาใช้ชีวิตตามสภาพแวดล้อมที่เห็น ในทางกลับกันหากผู้เรียนอยู่ในครอบครัวที่มี ทุกอย่าง พ่อแม่ผู้ปกครองตามใจ ผู้เรียนอยากได้อะไร ก็ได้ตามที่ต้องการโดยทีไ่ มต่ ้องพยายามอะไรเลย เหตุนี้ อาจจะทำให้ผู้เรยี นรสู้ ึกไม่มแี รงจูงใจในการเรยี น ร้สู ึกเกียจคร้าน คอยทจี่ ะเปน็ ผรู้ ับอยา่ งเดยี วเท่านั้น

11 บทบาทของผูส้ อน (คร/ู อาจารย)์ Learning Theory ครจู ะต้องมีความรเู้ กย่ี วกับ ทฤษฎีการเรียนร้จู ะชว่ ยนักเรยี นใหเ้ รียนรู้และจดจำอยา่ งมีประสิทธิภาพไดอ้ ยา่ งไร Aptitude ก่อนจะสอนเรื่องใดควรสำรวจความสามารถพื้นฐานตลอดจนความถนัดของผู้เรียนก่อน เพื่อจัดสิ่งเร้าให้ตรง กับที่เขาต้องการ รวมถึงเลือกงานที่เหมาะกับความสามารถและความถนัดของผู้เรียน จะช่วยให้เขาสนใจงานท่ี มอบหมายให้ทำ Motivation 1. ต้องศึกษาถึงความต้องการของผู้เรยี นโดยสว่ นใหญ่ว่าเป็นอยา่ งไร จะไดจ้ ัดบทเรยี น สภาพห้องเรียนสื่อการเรียน ตา่ งๆ ให้ตรงกบั ความต้องการของเขา 2. กอ่ นจะสอนเร่ืองใดควรสำรวจความสามารถพน้ื ฐานตลอดจนความถนดั ของผู้เรียนกอ่ น เพอ่ื จดั สง่ิ เรา้ ใหต้ รงกบั ทเ่ี ขาต้องการ 3. จดั สภาพห้องเรยี นใหน้ า่ สนใจ ตง้ั คำถามย่วั ยแุ ละท้าทายความสามารถของนกั เรยี น ในขณะเดยี วกนั กก็ ระตุ้นให้ ผ้เู รียนตื่นตวั กบั สภาพการณบ์ างอยา่ งทเี่ ป็นปญั หา ทแ่ี ปลกไปจากเดิม เป็นตน้ 4. ใหผ้ ู้เรยี นประสบผลสำเร็จในงานทท่ี ำบ้าง เพอ่ื เป็นกำลังใจให้เขาทำงานระดบั สงู ตอ่ ไป โดยเลอื กงานท่ีเหมาะกับ ความสามารถและความถนัดของผ้เู รียน จะชว่ ยใหเ้ ขาสนใจงานทม่ี อบหมายใหท้ ำ 5. ชี้ทางหรือรายงานผลความกา้ วหนา้ ของผู้เรียนให้ทราบเปน็ ระยะๆ ให้เขาได้ทราบวา่ เขากา้ วมาถงึ ไหนแล้ว อกี ไม่กี่ข้นั กจ็ ะถงึ จุดหมายปลายทางที่ตอ้ งการแลว้ จะทำใหเ้ ขาต้ังใจทำเพ่ือผลสำเรจ็ ของตวั เขาเอง 6. ฝึกให้ผู้เรยี นเรียนรดู้ ้วยตัวเขาบ้าง จากการศกึ ษานอกสถานท่ี จากการสงั เกต หรือจากการสมั ภาษณ์ สอบถาม จากแหลง่ วชิ าการต่าง ๆ ตลอดจนการทดลองค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง หรอื ให้นกั เรียนฝึกเปน็ ผู้นำและผตู้ าม โดยใหน้ ักเรยี นเป็นผู้ดำเนนิ งานเกย่ี วกับการเรียนการสอนและการฝึกวนิ ัยด้วยตวั ของนักเรียนเอง Teaching Methods ครูที่ใช้วิธีการเดียวกับผู้เรียนทุกคนเปรียบเสมือนหมอที่จ่ายยาตัวเดียวกันแก่คนไข้ทุกคนที่มารับการรักษา โดยไมค่ ำนึงถึงโรคประจำตัวหรือประวตั ิการแพ้ยาของผู้ปว่ ย ผู้ป่วยทีม่ ีโรคประจำตัวเรือ้ รังและมีอาการแพ้ยาย่อมไม่ เหมือนผปู้ ว่ ยท่วั ๆไปฉันใด ผู้เรียนท่มี ีความตอ้ งการพเิ ศษก็ยอ่ มแตกตา่ งจากผูเ้ รียนทว่ั ๆไปเช่นกนั

บทบาทของผูส้ อน (คร/ู อาจารย์) (ตอ่ ) Personality ต้องนอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ แล้วหากครูผู้สอนเข้าใจทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎี บคุ ลกิ ภาพของผ้เู รยี นในวัยต่าง ๆ ต้ังแต่วัยแรกเกิด วัยอนุบาล ประถมฯ มัธยมฯ จนถงึ อดุ มศกึ ษา จะทำใหค้ รูผ้สู อนรู้ วิธีการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับบุคคลแต่ละวัย ตามพัฒนาการทางร่างกาย ความคิด จิตใจ อารมณ์ และ สังคมของผ้เู รียนได้ และดว้ ยความรูค้ วามเขา้ ใจอย่างถ่องแท้ในดา้ นน้ี Perception ครูอาจารย์สามารถเล็งเห็นศักยภาพที่แฝงเร้นอยู่ภายในตัวผู้เรียน และช่วยผลักดันให้ผู้เรียนสามารถค้นพบ ศักยภาพของตวั เองได้ และสามารถใหค้ ำแนะนำท่ีผ้เู รียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวติ ของเขาได้จริง และถ้าหากครูอาจารย์สามารถล่วงรู้ถึงสิ่งที่เป็นเหมือนปุ่ มเริ่มต้น(Start)ของผู้เรียนและสามารถทำให้ปุ่มเริ่มต้น (Start)นีท้ ำงานได้ มนั จะเปน็ แรงขับเคล่ือนผู้เรยี นให้มุ่งไปในหนทางทเี่ ขาใฝ่ฝันดว้ ยพลงั จากภายในตัวของเขาเอง กล่าวโดยสรุปคือ ความรู้ทางจิตวิทยานี้ช่วยชี้ให้ครูผู้สอนเห็นว่าความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็น ตัวแปรที่สำคัญในการเข้าใจพฤติกรรม ครูผู้สอนสามารถอธิายพฤติกรรมนั้นๆให้แก่ผู้เรียนคนอื่นๆเข้าใจ ได้ และนำไปสู่การแก้ไขพฤติกรรมนั้นๆได้อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนควรสำรวจ ความสามารถพื้นฐานตลอดจนความถนัดของผู้เรียนก่อน เพื่อจัดสิ่งเร้าให้ตรงกับที่เขาต้องการ รวมถึง เลือกงานที่เหมาะกับความสามารถและความถนัดของผู้เรียน และยังคอยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน อยา่ งตอ่ เน่ืองและสร้างสรรค์ ผ่านวธิ ีการสอนท่ีหลากหลายเหมาะสมกบั วัยและพัฒนาการของผู้เรียนเป็น หลกั และเฟ้นหาศกั ยภาพของผู้เรยี น หรอื ผลกั ดนั ให้ผู้เรยี นสามารถคน้ พบศักยภาพของตนเอง ซง่ึ จะเป็น แรงขับเคลอ่ื นผ้เู รยี นใหม้ งุ่ ไปในหนทางท่เี ขาใฝฝ่ ันดว้ ยพลังจากภายในตวั ของเขาเอง

12 การเรยี นการสอนและการวัดผล นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ แล้ว ครูผู้สอนจะต้องรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และกล่มุ ทง้ั ทางดา้ นระดบั เชาวนป์ ญั ญา ความคดิ สร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซงึ่ นักจติ วิทยาได้ คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน และในการ สร้างหลกั สูตรท่เี หมาะสม ครูท่ีใชว้ ิธกี ารเดยี วกับผู้เรียนทกุ คนเปรียบเสมือนหมอท่ีจ่ายยาตัวเดียวกนั แกค่ นไข้ทุกคน ท่ีมารบั การรักษา โดยไม่คำนึงถึงโรคประจำตัวหรือประวัติการแพ้ยาของผูป้ ว่ ย ผูป้ ่วยท่ีมีโรคประจำตัวเร้ือรังและมี อาการแพ้ยาย่อมไม่เหมือนผู้ป่วยทั่ว ๆ ไปฉันใด ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษก็ย่อมแตกต่างจากผู้เรียนทั่ว ๆ ไป ฉันนนั้ และการทห่ี มอเปิดเผยความลับของคนไข้ถือเปน็ สง่ิ ท่ียอมรับไม่ได้เช่นไร การท่ีครอู าจารยต์ ำหนิปมด้อยของ ผเู้ รยี นท่ีมีความตอ้ งการพเิ ศษกถ็ ือเป็นสิง่ ท่ียอมรบั ไมไ่ ด้เช่นกัน ครผู สู้ อนยดึ หลกั การสอนและวธิ ีการสอนตามทฤษฎี ทางจิตวิทยาที่ เช่น หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม และมนุษยนิยม หากครูผู้สอนเข้าใจวิธีการเรียนรู้ การจดจำ การทำความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิ ดสร้างสรรค์ ตลอดจนองค์ประกอบตา่ ง ๆ ท่จี ะมสี ว่ นช่วยในการเรียนร้ขู องผเู้ รยี น สิง่ เหล่านย้ี อ่ มมีประโยชนต์ ่อการเรยี นการสอน การวัดผลประเมินผล ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้ครูทราบว่า การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของ แต่ละวิชาหรือหน่วยเรียนหรือไม่ เพราะถ้าผู้เรียนมี สัมฤทธผิ ลสงู ก็จะเป็นผลสะท้อนวา่ การจัดการศึกษามปี ระสิทธิภาพ ในการเรียนการสอนนน้ั สงิ่ สำคญั ทส่ี ดุ ประการ หนึ่งก็คือ ส่งเสริมให้เด็กเกิดมีแรงจูงใจขึ้น ถ้าสามารถทำได้ควรส่งเสริมให้เด็กเกิดแรงจูงใจภายใน แต่แรงจูงใจ ภายในนัน้ ปลกู ฝงั ได้ยาก ครูทัว่ ไปจงึ มกั ใชแ้ รงจงู ใจภายนอกเข้าชว่ ย แรงจูงใจภายนอกท่ีครใู ชอ้ ยู่เปน็ ประจำ มีดังน้ี 1. รางวัล การให้รางวัลมีหลายอย่าง เช่น ให้รางวัลเป็นของ การให้เครื่องหมายอันเป็นสัญลักษณ์แห่ง ความดี เชน่ ใหด้ าว หรือให้เกยี รตบิ างอย่าง หรอื ให้สทิ ธิพเิ ศษบางอยา่ ง การให้รางวัลนี้ครูแทบทุกคนปฏิบัติกันอยู่ และเมือ่ ใหร้ างวลั ไปแล้ว เดก็ รสู้ ึกตืน่ เตน้ และเรียนดขี น้ึ 2. ความสำเร็จในการเรียน การที่เด็กได้รับความรูแ้ ละทักษะเพิ่มขึ้นจากการเรียน ก็เป็นแรงจูงใจใหเ้ ด็ก เรยี นดขี ้นึ กว่าเดิม ครตู ้องจัดการสอนให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของเด็กทุกคน เพ่อื ให้เด็กแต่ละคนได้รับ ความสำเร็จตามระดับของตน การสอนที่เราทำกันเป็นปกตินั้น ได้แก่การสอนตามแบบกลางๆ ซึ่งไม่พยายามปรับ บทเรียนให้เข้ากับเด็กทุกระดับ ซึ่งอาจจะทำให้เด็กที่เรียนเก่ง เบื่อหน่าย เพราะเรื่องที่สอนนั้นง่ายเกินไป คนปาน กลางอาจสนุก ส่วนเด็กอ่อนอาจจะเรียนไม่ทัน เพราะครูสอนเร็วเกินไป ความสำเร็จที่เด็กได้รับแม้จะเป็น ความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม แต่ก็ย่อมทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น ในตนเอง มีความภูมิใจในตนเองและมี กำลงั ใจทีจ่ ะเรียนมากขนึ้ 3. การยกยอ่ งชมเชย คำชมทเี่ หมาะกบั โอกาสและเหมาะสมกบั การกระทำของนกั เรยี นย่อมเปน็ แรง จงู ใจ ให้แก่เด็กเปน็ อยา่ งดี แตถ่ ้าครชู มอย่างไม่จริงใจ และเดก็ รกู้ ันทั่วไปว่า คำชมเชยของครูไม่มีความหมายพิเศษเด็กจะ ไมเ่ อาใจใส่ต่อคำชมเชยนั้น ครไู ม่ควรใชค้ ำชมพรำ่ เพร่ือ สำหรับเด็กท่ีเรยี นอ่อนนนั้ แมเ้ รียนดขี น้ึ เพียงเล็กน้อย เราก็ ควรชมเชย ส่วนเด็กเรียนเก่งจะชมก็ต่อเมื่อทำงานยากๆ ได้สำเร็จ คำชมของครูจึงจะมีค่าสำหรับเด็กทุกคน ในแง่

13 ของจิตวิทยามผี ู้พบแล้วว่า การชมเชยเด็กทีเ่ ก็บตวั มักได้ผลดีในการจูงใจกวา่ การชมเด็กเปดิ เผย และการชมเด็กเกง่ มากๆ มักได้ผลนอ้ ยกวา่ การชมเดก็ ออ่ น 4. การตำหนิ ถ้าครูใช้การตำหนิแต่เพียงเล็กน้อยไม่พร่ำเพรื่อเกินไปแล้ว การตำหนิก็มีผลในการ สร้าง แรงจูงในในการเรยี นได้มากเหมอื นกัน ในการตำหนิน้ันครตู ้องทำให้เหมาะสมกับความบกพร่อง และตำหนใิ หเ้ หมาะ กับโอกาส ครูไม่ควรตำหนิเดก็ โดยไม่มีหลักฐาน และต้องให้เด็กรู้ว่าตนควรแก้ไขอยา่ งไร การตำหนิก็เหมือนกับการ ชมเชย ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล ถ้าครูตำหนิเด็กเรียนอ่อนมากๆ คำตำหนินั้นจะไม่มีผลในการสร้าง แรงจูงใจ ถ้าตำหนิเด็กเรียนเก่งให้ตรงกับข้อบกพร่องของเด็ก คำตำหนิของครูจะมีผลดีมาก แต่เท่าที่เราปฏิบัติกัน อยู่นั้นเรามกั ทำตรงข้ามกับคำกล่าวนี้ คือเราชอบตำหนเิ ด็กเรียนอ่อนและยกย่องเด็กเรียนเก่ง เด็กเก็บตัวไม่ชอบให้ ครตู ี เด็กพวกน้ยี ิ่งตยี ิง่ เสยี หายหนักขึ้น แทนที่จะมผี ลในการสรา้ งแรงจูงใจ คำตำหนขิ องครู อาจทำให้เด็กประเภทน้ี หมดกำลงั ใจมากขน้ึ สว่ นเด็กเปดิ เผยไม่เปน็ ไร 5. การแข่งขัน การแข่งขันในการเรียน ถ้าเป็นไปในทำนองเป็นมิตรก็เป็นการจูงใจในการเรียนที่ดี อย่าง หนึ่ง ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแข่งขันหลายๆ ทางการแข่งขัน นักจิตวิทยาแบ่งออกเป็น 3 วิธีคือแข่งขันระหว่าง นกั เรียนทั้งหมด, แข่งขันระหว่างกลมุ่ และการแขง่ ขันกบั ตนเอง 6. ความช่วยเหลือ ความร่วมมือก็นับเป็นแรงจูงใจในการเรียนที่ดีอย่างหนึ่ง ตามปกติเด็กย่อมมีความ ต้องการฐานะทางสังคม และความต้องการความรักอยู่แล้ว ความร่วมมือเป็นการสนับสนุนให้เด็กสนองความ ตอ้ งการทงั้ สองอยา่ งนไ้ี ด้เปน็ อยา่ งดี 7. การรู้จักความก้าวหน้าของตน ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับความสำเร็จ แต่การที่เด็กจะทราบถึง ความก้าวหน้าของคนนั้นต้องอาศัยการบอกกล่าวของครู ถ้าเด็กทราบความก้าวหน้าของตนอยู่เสมอ เด็กจะมี กำลงั ใจท่จี ะเรียนมากขึน้

14 บทบาทของผู้บรหิ ารสถานศกึ ษา ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการบรหิ ารจัดการสถานศึกษา คือ ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา เนื่องจาก เป็นกลไกหลักในการกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ต้องทำหน้าที่และรับผิดชอบโดยตรงในการดูแล ควบคุมกำกับและส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการทำงานในส่วนต่างๆของสถานศึกษา ให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายที่ได้วางไว้ ดังนั้น ความก้าวหน้า หรือ ความล้าหลังของสถานศึกษาและ คุณภาพของนกั เรียน จะขึน้ อยกู่ ับความสามารถของผู้บริหารสถานศกึ ษาเปน็ หลัก สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องคำนึงถึง คือนักเรียน แต่เป็นในลักษณะการทำงานผ่านครู โดยการอำนวยการให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามหลักสูตร ทำให้ครูมีสื่อในการทำงาน สร้างและ ขวัญกำลังใจให้ครู ดแู ลเรอ่ื งสวัสดกิ ารต่างๆ เพื่อให้การบริหารสถานศึกษาเป็นไปด้วยความราบรื่น และเพื่อเป็นการส่งเสริมครู ผู้บริหารควร จะตอ้ งมีความรู้ทางจิตวทิ ยาในด้านต่างๆ เชน่ ด้านบคุ ลกิ ภาพ (Personality) ผู้บรหิ ารจะตอ้ งเขา้ ใจ พฤติกรรม ลักษณะเฉพาะของแตล่ ะบคุ คล ทั้ง ของนักเรียน คุณครู และตนเอง ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภายนอก เช่น รูปร่างหน้าตา ลักษณะ ท่าทาง หรือ ลกั ษณะภายใน เชน่ สตปิ ัญญา ความคดิ หรอื นสิ ยั ใจคอ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีบุคลิกภาพดี ต้องมีความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่หงุดหงิด บ่นว่าตลอดเวลา เคารพสทิ ธิ รบั ฟังความคิดเหน็ ของครูและนกั เรียน และต้องมจี ิตวิทยาในการพดู จาชมเชย โนม้ น้าวจงู ใจให้ครูมี ความตง้ั ใจทำงาน เพ่ือความเจริญกา้ วหนา้ ของสถานศึกษา รวมท้งั มจี ิตใจทจี่ ะส่งเสริมความก้าวหนา้ ของครดู ว้ ย ด้านแรงจูงใจ (Motivation) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มีผลต่อความสำเร็จของงาน หากบุคลากรไม่มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ก็จะเป็นมูลเหตุที่ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน หรือ อาจกอ่ ใหเ้ กดิ ปญั หาตา่ งๆตามมาได้ ครูเป็นหัวใจของความสำเร็จทางการศึกษา การที่ครูจะทำงานได้ดีมีคุณภาพนั้น ขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบหลายประการ เช่น ด้านความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จรยิ ธรรม นอกจากนย้ี ังมีองค์ประกอบท่ี มีความสำคัญเปน็ อยา่ งย่ิงอีกอยา่ งหนึ่งก็คือ แรงจงู ใจในการปฏบิ ัตงิ านของครู เพราะผลการปฏบิ ัติงานของแต่ ละบุคคลจะขึ้นอยู่กับระดับแรงจูงใจ เพราะแรงจูงใจเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดความอยาก ความต้องการ และแรง ปรารถนาที่จะทำงานให้สำเร็จ ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องรู้จักวิธีการสร้างแรงจูงใจให้กับครูและ นกั เรียน ร้จู กั เลอื กใชว้ ิธีการให้เหมาะสมกับแต่ละคน แตล่ ะโอกาส

15 ด้านการรับรู้ (Perception) คือ การแปลความหมายจากการสัมผัส โดยเริ่มตั้งแต่ การมีสิ่งเร้ามา กระทบกบั อวัยวะรับสมั ผัสทัง้ ห้า และสง่ กระแสประสาท ไปยังสมอง เพอ่ื การแปลความ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีความเข้าใจว่าแต่ละคน มีการคิด ความรู้สึก ความจำ การเรียนรู้ การ ตัดสินใจ ที่แตกต่างกันตามสิ่งเร้าที่ได้สัมผัสมา และพฤติกรรมเหล่านี้จะสะท้อนถึงคุณภาพในการปฏิบัติงาน เมื่อผู้บริหารสถานศึกษามีความเข้าใจถึงการรับรู้ของบุคคล ก็จะมีประโยชน์ต่อการจัดการเรยี นการสอน และ การบริหารจัดการสถานศกึ ษา ด้านความถนัด (Aptitude) ศักยภาพของบุคคลในการทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างมี ประสทิ ธภิ าพ ซ่งึ ศกั ยภาพเหลา่ น้ันถูกพฒั นาขึ้นมาจากการจดั สภาพแวดล้อมให้บุคคลได้เรียนรหู้ รือฝึกฝนอย่าง เหมาะสม ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีนโยบาย หรือแนวทางในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนให้ เป็นไปตามความถนดั ความสามารถของผเู้ รียน เพื่อให้เกดิ การพฒั นาศกั ยภาพของแตล่ ะบคุ คลได้มากที่สดุ กล่าวโดยสรุป ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องมีจิตวิญญาณผู้บริหาร ต้องรู้ความต้องการพื้นฐานของ มนุษย์ รจู้ กั เอาใจใส่ผใู้ ต้บังคบั บัญชา โดยใชว้ จิ ารณญาณ ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของคนตามหลักจิตวิทยา ในด้านความคิด ความต้องการ ตลอดจนการแสดงออกด้วยกิริยาท่าทางและการพูดจา สังเกตพฤติกรรมทัง้ ใน ส่วนบุคคลและพฤติกรรมของกลุ่ม ว่าพฤติกรรมเหล่านั้น มีเหตุผลใดมาเกี่ยวข้อง หรือมีปัญหามาจากเรื่องใด เมื่อวิเคราะห์เหตุและผลแห่งปัญหานั้นได้ถูกต้องชัดเจน ผู้บริหารจะสามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาได้อย่าง เหมาะสม ใช้อุปสรรคและปญั หานัน้ เปน็ โอกาสในการพัฒนาคน พัฒนางานและพฒั นาตนเองได้อีกดว้ ย

16 การพฒั นาหลักสูตร เนอ้ื หา และ สถาบันการศึกษา โดยใช้มุมมองทางจิตวิทยามีสาระสำคัญโดยสรปุ ดงั น้ี พน้ื ฐานทางดา้ นจิตวิทยา ในการจัดทำหลักสูตรนั้น นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงอยู่เสมอว่าต้องพยายามจัดหลักสูตรให้ สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ด้วยการศึกษาข้อมูล พื้นฐานเกี่ยวกบตัวผู้เรียนว่า ผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องทีเ่ กี่ยวกบั จติ วิทยาทั้งสิ้น โดยเฉพาะ จิตวิทยาพัฒนาการ (developmental psychology) และจิตวิทยาการเรียนรู้ (psychology of learning) ซึ่งจิตวิทยาทั้ง 2 สาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรโดยตรง นอกจากนี้ นักพัฒนาหลักสูตร ยังให้ความสำคัญกับจติ วทิ ยาทั่วไป (general psychology) ในสว่ นทีเ่ ก่ียวกบั การสง่ เสริมการเรียนรขู้ องมนุษย์ ด้วยเชน่ กัน จติ วิทยาพัฒนาการกบั การพฒั นาหลักสูตร ทำให้ทราบถึงความสามารถ ความสนใจ ความต้องการ เจตคติ และศักยภาพด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกันของผู้เรียนแต่ละคนองค์ประกอบของพัฒนาการของมนุษย์ มี 2 ประการคอื 1. วุฒิภาวะ (maturity) หมายถึง กระบวนของความเจริญเติบโตสูงสุดของอินทรีย์ในร่างกายที่ทำให้ เกิดความพร้อมที่จะทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้นโดยไม่ต้องอาศัยการฝึกฝนหรือเรียนรู้ใด ๆ หรือ เปน็ ไปโดยธรรมชาติ 2. การเรียนรู้ (learning) เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจาก ประสบการณ์ การเรียนรู้ อาจเกดิ ขน้ึ ด้วยการจงู ใจ หรืออาจเกิดข้ึนโดยไมต่ ัง้ ใจก็ได้ กระบวนการพัฒนาหลักสูตร และเนือ้ หา โดยอาศัยมุมมองทางจติ วิทยา มีขนั้ ตอนดังน้ี 1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน คือ ข้อมูลทางด้านความต้องการ ความจำเป็นและปัญหาทาง สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง ตลอดจนนโยบายทางการศึกษาของรัฐ ข้อมูลทางด้านจิตวิทยา ปรัชญาการศึกษา ความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนวิเคราะห์หลักสูตรเดิม เพื่อพิจารณาข้อบกพร่องที่ควร ปรบั ปรงุ แก้ไข 2. การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลกั สูตร คณะกรรมการดำเนินงานจะต้องรว่ มกนั พจิ ารณากำหนด จุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน โดยจุดมุ่งหมายของหลกั สูตรจะระบุคุณสมบัตขิ องผู้ที่ จบหลักสูตรนั้นๆ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะ พิสัย โดยกำหนดทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเฉพาะ แต่ละรายวิชา ซ่ึง จะเน้นการปฏิบัติมากขึ้น โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนปลูกฝงั นสิ ัยท่ีดีงาม เพื่อให้เป็นพลเมอื งดี 3. การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ หลังจากได้ กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว ก็ถึงขั้นการเลือกสาระความรู้ต่างๆ ที่จะ นำไปสูก่ ารพฒั นาผูเ้ รียนให้เปน็ ไปตามจุดมุ่งหมายท่ีกำหนดไว้ เพ่ือความสมบูรณ์ ให้ได้วิชาความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้ จึงครอบคลุมถึงการ คัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหลา่ นั้นว่า เนื้อหาสาระใดควร เป็นพ้ืนฐานของเนือ้ หาใดบ้าง ควรให้เรยี นอะไรก่อนอะไรหลงั แล้วแก้ไขเนื้อหาท่ี ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม ตามหลักจิตวิทยาการ เรยี นรู้

17 4. การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นของการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มี ความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับครูผู้สอน หลักสูตรจะประสบผลสำเร็จ มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหาร โรงเรียน และครูผู้สอนจะต้องศกึ ษาทำความเข้าใจ และมีความชำนาญในการใช้หลกั สตู ร ซึ่งครอบคลมุ ถงึ การ เตรียมการสอน การจัดการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในโรงเรียนเพื่อเสริมหลักสูตร การ นิเทศการศึกษา และการบรหิ ารการบรกิ ารหลกั สตู ร ฯลฯ นอกจากนี้ในขัน้ น้ยี งั ครอบคลมุ ถงึ การนำหลักสูตรไป ทดลองใชก้ อ่ นนำไปเผยแพร่ด้วย การสง่ เสริมกระบวนการและขนั้ ตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนกั เรยี นของสถานศกึ ษา สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน (2559 : 14-20) ได้กล่าวถึงกระบวนการและขัน้ ตอน ของระบบการดูแลช่วยเหลือนกั เรียนมีองคป์ ระกอบสำคญั 5 ประการ ดังน้ี 1. การรู้จักนักเรยี นเป็นรายบุคคล 2. การคัดกรอง 3.การส่งเสรมิ และพฒั นา 4.การปอ้ งกันชว่ ยเหลอื และแกไ้ ข 5. การสง่ ต่อ การรจู้ ักนกั เรียนเป็นบุคคล ด้วยความหลากหลายของนักเรียน และนักเรียนแต่ละคนซึ่งมีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ แตกตา่ งกัน ผา่ นการหลอ่ หลอมใหเ้ กดิ พฤติกรรมในหลายลกั ษณะ ทง้ั ดา้ นบวกและด้านลบ ดังนั้น การรู้ข้อมลู ท่ี จำเป็นเกี่ยวกับตัวนักเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ครูอาจารย์มีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้น สามารถนำ ข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการคัดกรองนักเรียนและนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนา การป้องกันและ แก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูกทางซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ตามหลักวิชาการมิใช่การใช้ความรู้สึกหรือคาดเดา โดยเฉพาะในการแก้ปัญหานักเรียนซึ่งจะทำให้ไม่เกิด ข้อผิดพลาดต่อการช่วยเหลือนกั เรยี น การคดั กรองนักเรียน การคัดกรองนกั เรียน เป็นการพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับนกั เรียนเพ่ือการจัดกลุม่ นกั เรียน ซงึ่ จะเป็น ประโยชนอ์ ยา่ งยิง่ ในการหาวธิ ีการทเ่ี หมาะสมในการดแู ลชว่ ยเหลอื นกั เรียนใหต้ รงกับสภาพปญั หาและความ ต้องการจำเป็นด้วยความรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ ระบบดูแลช่วยเหลือนกั เรียนอาจจดั กลุ่มนักเรียนตามผล การคัดกรองเปน็ 2, 3 หรอื 4 กล่มุ กไ็ ด้ ตามขอบข่ายและเกณฑ์ การสง่ เสริมและพัฒนานักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน เป็นการสนับสนุนใหน้ ักเรียนทุกคนไม่ว่าจะเปน็ นักเรียนกลุ่มปกติ หรอื กลมุ่ เสี่ยง/มีปัญหา กล่มุ ความสามารถพิเศษให้มีคุณภาพมากขน้ึ ได้พฒั นาเต็มศักยภาพ มีความภาคภูมิใจ ในตนเองในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปกติและกลุ่มพิเศษกลายเป็นนักเรียนกลุ่ม เสย่ี ง/มปี ัญหา และเป็นการช่วยใหน้ ักเรียนกลุ่มเสย่ี ง/มปี ัญหากลับมาเปน็ นักเรียนกลุ่มปกติและมีคุณภาพตาม มาตรฐานที่โรงเรยี นหรอื ชมุ ชมคาดหวังต่อไป

18 การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูควรให้ความเอาใจใส่กับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่ สำหรับนกั เรยี นกลุ่มเส่ยี ง/มีปญั หานนั้ จำเปน็ อยา่ งมากท่ีต้องให้ความดูแลเอาใจใส่อยา่ งใกล้ชิด และหาวิธีการ ช่วยเหลือทั้งการป้องกันและการแก้ไขปัญหา โดยไม่ปล่อยปละละเลยนักเรียนจนกลายเป็นปัญหาของสังคม การสร้างภูมิคุ้มกัน การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน จึงเป็นภาระงานที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าอย่างมาก ในการพฒั นาให้นักเรียนเติบโตเปน็ บุคคลทีม่ ีคุณภาพของสังคมต่อไป การส่งต่อ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนโดยครูที่ปรึกษา อาจมีกรณีที่บางปัญหามีความยากต่อ การช่วยเหลือ หรือช่วยเหลือแล้วนักเรียนมพี ฤติกรรมไม่ดีขึ้นควรดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะดา้ น ตอ่ ไปเพอ่ื ให้ปัญหาของนักเรียนได้รับการชว่ ยเหลอื อย่างถูกทางและรวดเรว็ ขน้ึ หากปลอ่ ยให้เป็นบทบาทหน้าที่ ของครูที่ปรึกษาหรือครูคนใดคนหนึ่งเพียงลำพังความยุ่งยากของปัญหาอาจมีมากขึ้น หรือลุกลามกลายเป็น ปัญหาใหญ่โตจนยากต่อการแก้ไขซึ่งครูที่ปรึกษาสามารถดำเนินการได้ต้ั งแต่กระบวนการรู้จักนักเรียนเป็น รายบุคคลหรอื การคัดกรองนกั เรียนกไ็ ด้ ทั้งน้ี ขึ้นอยู่กบั ลกั ษณะปัญหาของนกั เรยี นในแตล่ ะกรณี การส่งตอ่ แบ่งเป็น 2 แบบ 1. การสง่ ตอ่ ภายใน ครทู ีป่ รกึ ษาส่งต่อไปยังครูที่สามารถให้การชว่ ยเหลือนกั เรยี นได้ ทั้งนี้ ข้ึนอยู่กับ ลกั ษณะปญั หา เชน่ ส่งตอ่ ครแู นะแนว ครพู ยาบาล ครูประจำวชิ า หรือฝ่ายปกครอง 2. การส่งต่อภายนอก ครแู นะแนวหรอื ฝ่ายปกครองเป็นผูด้ ำเนนิ การส่งต่อไปยังผเู้ ชย่ี วชาญภายนอก หากพิจารณาเห็นวา่ เปน็ กรณปี ญั หาท่มี ีความยากเกนิ กว่าศักยภาพของโรงเรียนจะดแู ลช่วยเหลือได้

บรรณานกุ รม กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). พระราชบญั ญตั ิการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไข เพ่มิ เตมิ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรบั สง่ สินคา้ และพัสดุ ภณั ฑ์ (ร.ส.พ.) ครูบา้ นนอก. (๒๕๕๒). การปฏริ ูปการศกึ ษาไทย. สบื คน้ เมื่อ ๙ กันยายน ๒๕๖๔, จาก https://www.kroobannok.com/24213 ปรีชา เรงิ สมุทร.์ (๒๕๕๕). การพัฒนาครคู ือหวั ใจของการปฏิรปู การศกึ ษาทศวรรษที่สอง. สงขลา : มหาวิทยาลยั หาดใหญ.่ สบื คน้ เม่อื ๙ กนั ยายน ๒๕๖๔, จาก https://www.trueplookpanya.com/blogdiary/26583. อุษณีย์ ธโนศวรรย์. (๒๕๔๙). แกน่ แท้ของการศกึ ษาและการปฏริ ูปการศึกษา, เอกสารชุด วชิ าการฝกึ อบรมหลักสูตรการเรยี นรเู้ พ่อื สรา้ งความเข้มแข็งใหก้ บั ผู้ที่มสี ว่ นร่วมในการ จดั การศกึ ษา ภายใตโ้ ครงการพฒั นารูปแบบการกระจายอำนาจโดยใช้โรงเรยี นเป็น ฐาน. หนา้ ๑ - ๒๐ กรงุ เทพฯ : มหาวิทยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook