Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือ การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

คู่มือ การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

Published by somchid buaphan, 2019-06-09 03:46:33

Description: เนื้อหา การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

Keywords: somchid buaphan

Search

Read the Text Version

การประยุกตใ ชหลกั เศรษฐกิจพอเพียง จดั ทำโดย คณะอนุกรรมการขบั เคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสงั คมแหงชาติ ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๙๗๖๙-๗๖-๘ พิมพค รง้ั ท่ี ๑ : กันยายน ๒๕๕๐ จำนวน : ๕,๐๐๐ เลม

“...เศรษฐกิจพอเพียง แปลวา Sufficiency Economy ...คำวา Sufficiency Economy น้ี ไมมใี นตำราเศรษฐกิจ. จะมไี ดอ ยา งไร เพราะวา เปนทฤษฎีใหม ...Sufficiency Economy นัน้ ไมม ใี นตำรา หมายความวา เรามีความคดิ ใหม... และทา นผูเชย่ี วชาญสนใจ ก็หมายความวา เราก็สามารถทจ่ี ะไปปรับปรงุ หรือไปใชหลักการ เพื่อทีจ่ ะใหเศรษฐกจิ ของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึน้ ...” พระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวนั เฉลิมพระชนมพรรษา ๒๓ ธนั วาคม ๒๕๔๒ 1 1การประยุกตใชหลักเศรษฐกิจพอเพียง

คำนำ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแหงชาติ (สศช.) โดยคณะอนุกรรมการ ขับเคล่ือนเศรษฐกิจพอเพียง ไดประสานภาคีตางๆ เพื่อสรางความรู ความเขาใจที่ถูกตองเกี่ยวกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใหประชาชน และทุกภาคสวนของสังคมสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกตใชไดอยางเหมาะสม และบังเกิดผล อยางเปน รปู ธรรม หนังสือเรื่อง “การประยุกตใชหลักเศรษฐกิจ พอเพยี ง” เลม นไ้ี ดร บั ความรว มมอื จากสำนกั เลขาธกิ าร นายกรัฐมนตรีในการจัดทำแนวทางการประยุกตใช หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบดวย สาระสำคญั ๒ สว น คือ 2

3

“...เศรษฐกิจพอเพียง เปนเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความม่ันคงของแผน ดนิ เปรียบเสมือนเสาเขม็ ทถี่ กู ตอกรองรับบา นเรอื น ตวั อาคารไวนั่นเอง สิง่ กอ สรา งจะมน่ั คงได กอ็ ยทู ี่เสาเขม็ แตคนสวนมากมกั ไมเ ห็นเสาเขม็ และลมื เสาเขม็ เสยี ดวยซ้ำไป...” พระราชดำรสั พระบาทสมเด็จพระเจา อยหู ัว จากวารสารชยั พฒั นา ประจำเดอื นสิงหาคม ๒๕๔๒ 4

เศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เปนปรัชญาท่ีพระบาท สมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แ น ว ท า ง ก า ร ด ำ เ นิ น ชี วิ ต แ ก พ ส ก นิ ก ร ช า ว ไ ท ย มาโดยตลอดนานกวา ๓๐ ป ต้ังแตกอนเกิด วิกฤตการณทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังไดทรง เนนย้ำแนวทางการแกไขเพื่อใหรอดพน และสามารถ ดำรงอยูไดอยางม่ันคงและยั่งยืนภายใตกระแส โลกาภิวัตนและความเปลี่ยนแปลงตางๆ 5

ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เปนปรัชญาที่ช้ีถึงแนวทาง การดำรงอยูและปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแตระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ท้ังในการพัฒนาและบริหารประเทศใหดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพฒั นาเศรษฐกจิ เพอื่ ให กา วทนั ตอ โลกยคุ โลกาภวิ ตั น ความพอเพยี ง หมายถงึ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความ จำเปนท่ีจะตองมีระบบภูมิคุมกันในตัวท่ีดีพอสมควร ตอ การมผี ลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทงั้ ภายนอกและภายใน ทง้ั น้ี จะตอ งอาศยั ความรอบรู ความรอบคอบและความระมดั ระวงั อยา งยง่ิ ในการนำ วชิ าการตา งๆ มาใชใ นการวางแผนและการดำเนนิ การ 6

ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะตองเสริมสราง พนื้ ฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจา หนาท่ีของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับใหมีสำนึกใน คุณธรรม ความซ่ือสัตยสุจริต และใหมีความรอบรู ที่เหมาะสม ดำเนินชวี ิตดว ยความอดทน ความเพยี ร มีสติ ปญ ญา และความรอบคอบ เพอ่ื ใหส มดุล และ พรอมตอการรองรับการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว และกวางขวาง ท้งั ดานวัตถุ สงั คม สิ่งแวดลอม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกไดเปนอยา งดี ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เร่ืองเศรษฐกิจพอเพียง ซ่ึงพระราชทานในวโรกาสตางๆ รวมท้ังพระราชดำรัส อน่ื ๆ ทเี่ กย่ี วขอ ง โดยไดร บั พระราชทานพระบรมราชานญุ าตใหส ำนกั งานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ นำไปใชและเผยแพรได เม่ือวันท่ี ๒๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๒ เพอื่ เปน แนวทางปฏิบัติของทุกฝา ยและประชาชนโดยทั่วไป 7

8

“...คนไมเขา ใจวากจิ การใหญๆ เหมอื นการสรางเขอื่ นปาสัก ก็เปนเศรษฐกิจพอเพยี ง เหมือนกนั เขานึกวาเปน เศรษฐกจิ สมัยใหม เปนเศรษฐกจิ ทห่ี า งไกลจากเศรษฐกจิ พอเพยี ง แตที่จรงิ แลว เปน เศรษฐกจิ พอเพยี งเหมอื นกนั ...” พระราชดำรสั เน่อื งในวโรกาสวนั เฉลมิ พระชนมพรรษา ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒ 9

10

การประยุกตใ ชห ลกั เศรษฐกิจพอเพยี ง ในระดบั และกลมุ ตางๆ ระดบั • บคุ คลและครอบครวั • ชมุ ชน • ประเทศ กลมุ • เกษตรกร • นักธุรกิจ • นักการเมอื ง • เจา หนาทีข่ องรฐั • ครูและอาจารย 11

การประยกุ ตใชห ลกั เศรษฐกจิ พอเพียง ระดบั บุคคลและครอบครัว เริ่มตนจากการเสริมสรางคนใหมีการเรียนรู วชิ าการและทกั ษะตา งๆ ทจี่ ำเปน เพอื่ ใหส ามารถรเู ทา ทนั การเปลี่ยนแปลงในดานตางๆ พรอมทั้งเสริมสราง คุณธรรม จนมีความเขาใจและตระหนักถึงคุณคา ของการอยูรวมกันของคนในสังคม และอยูรวมกับ ระบบนิเวศอยางสมดุล เพื่อจะไดละเวนการ ประพฤติมิชอบ ไมตระหนี่ เปนผูให เกื้อกูล แบงปน มสี ตยิ ้ังคิดพจิ ารณาอยา งรอบคอบกอ นทจี่ ะ ตัดสินใจหรือกระทำการใดๆ จนกระท่ังเกิดเปน ภูมิคุมกันที่ดีในการดำรงชีวิต โดยสามารถคิดและ 12

กระทำบนพื้นฐานของความมีเหตุผล พอเหมาะ พอประมาณกับสถานภาพ บทบาท และหนา ที่ของ แตล ะบุคคลในแตละสถานการณ แลว เพยี รฝกปฏบิ ัติ เชน น้ีจนสามารถทำตนใหเปนทพ่ี ง่ึ ของตนเองได และ เปนท่พี ่ึงของผูอ่นื ไดในท่ีสุด 13

การประยุกตใ ชห ลักเศรษฐกิจพอเพียง ระดบั ชุมชน ชุมชนพอเพียง ประกอบดวย บุคคลและ ครอบครวั ตา งๆ ทใ่ี ฝห าความกา วหนาบนพื้นฐานของ ปรชั ญาแหง ความพอเพียง คือมีความรูแ ละคณุ ธรรม เปนกรอบในการดำเนินชีวิตจนสามารถพึ่งตนเองได บุ ค ค ล เ ห ล า นี้ ม า ร ว ม ก ลุ ม กั น ท ำ กิ จ ก ร ร ม ต า ง ๆ ท่ีสอดคลองเหมาะสมกับสถานภาพ ภูมิสังคม ของแตละชมุ ชน โดยพยายามใชทรัพยากรตางๆ ทมี่ ี อยูในชมุ ชนใหเกิดประโยชนสูงสุด ผา นการรว มแรง รว มใจ รวมคดิ รว มทำ แลกเปลย่ี นเรยี นรกู บั บคุ คล หลายสถานภาพในส่ิงที่จะสรางประโยชนสุขของคน 14

สว นรวม และความกาวหนาของชุมชนอยางมีเหตผุ ล โดยอาศัยสติ ปญญา ความสามารถของทุกฝาย ท่ีเกี่ยวของ และบนพ้ืนฐานของความซ่ือสัตยสุจริต อดกล้ันตอการกระทบกระทั่ง ขยันหม่ันเพียร และ มคี วามเอื้อเฟอเผ่ือแผ ชวยเหลือแบงปนกันระหวาง สมาชิกชุมชน จนนำไปสูความสามคั คขี องคนในชมุ ชน ซึ่งเปนภูมิคุมกันที่ดีของชุมชน จนนำไปสูการพัฒนา ของชุมชนท่ีสมดุลและพรอมรับตอการเปลี่ยนแปลง ตางๆ จนกระท่ังสามารถพฒั นาไปสูเ ครือขายระหวา ง ชมุ ชนตางๆ 15

การประยกุ ตใ ชหลกั เศรษฐกจิ พอเพยี ง ระดับประเทศ แผนการบริหารจัดการประเทศ สงเสริมให บคุ คล/ชมุ ชนตางๆ มีวถิ ีปฏบิ ตั ิ มีความรวมมือ และ การพัฒนาในสาขาตางๆ ตามแนวทางของปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงและดำเนินการตามแผน ดงั กลาวอยา งรอบคอบเปนข้นั ตอน เร่มิ จากการวาง รากฐานของประเทศใหมีความพอเพียง โดยสง เสรมิ ใหประชาชนสวนใหญสามารถอยูอยางพอมีพอกิน และพึ่งตนเองไดดวยมีความรูและทักษะท่ีจำเปน ในการดำรงชีวิตอยางเทาทันตอการเปล่ียนแปลง ตา งๆ และมคี ุณธรรม ซ่ือสตั ยส จุ ริต ขยนั หมน่ั เพยี ร เอ้อื เฟอแบงปน และใชสติปญ ญาในการตัดสนิ ใจและ 16

ดำเนินชีวิตพรอมทั้งสงเสริมการแลกเปล่ียนเรียนรู ระหวางกลุมคนตางๆ จากหลากหลายภูมิสังคม หลากหลายอาชพี หลากหลายความคดิ ประสบการณ เพื่อสรางความเขาใจและรูความเปนจริงระหวางกัน ของคนในประเทศ จนนำไปสูความสามัคคี และ จิตสำนึกที่จะรวมแรงรวมใจกันพัฒนาประเทศให เจริญกาวหนาไปอยางสอดคลองสมดุลกับสถานภาพ ความเปนจริงของคนในประเทศอยางเปนขั้นเปนตอน เปน ลำดับๆ ตอ ไป 17

การประยกุ ตใ ชห ลักเศรษฐกจิ พอเพยี ง ในกลุมเกษตรกร 18

19

การประยุกตใชห ลกั เศรษฐกจิ พอเพียง ในกลุมนักธุรกจิ นักธุรกิจพอเพียงจะคำนึงถึงความม่ันคงและ ย่ังยืนของการดำเนินธุรกิจมากกวาการแสวงหา ผลประโยชนระยะสั้น ฉะนั้น จึงตองมีความรอบรูใน ธรุ กิจทีต่ นดำเนินการอยู และมีการศึกษาขอมูลขาวสาร อยตู ลอดเวลาเพอื่ ใหส ามารถกา วทนั ตอ การเปลย่ี นแปลง ตางๆ มีความรอบคอบในการตัดสินใจในแตละคร้ัง เพอื่ ปองกันขอบกพรอ งเสียหายตา งๆ ไมใหเกิดขึ้น และ ตอ งมคี ณุ ธรรม คอื มีความซอ่ื สตั ยส จุ รติ ในการประกอบ อาชพี ไมผ ลติ หรอื คา ขายสนิ คา ทก่ี อ โทษหรอื สรา งปญ หา ใหก บั คนในสงั คมและสง่ิ แวดลอ ม มคี วามขยนั หมน่ั เพยี ร อดทนในการพัฒนาธุรกิจไมใหมีความบกพรองและ 20

กา วหนา ไปอยางตอเนอื่ ง โดยมีการพฒั นาประสิทธภิ าพ การผลติ การปรับปรุงสินคา และคุณภาพใหท นั กบั ความ ตองการของตลาดและการเปล่ียนแปลงทางเทคโนโลยี และในขณะเดียวกันตองมีความรับผิดชอบตอสังคม และระบบนิเวศในทุกข้ันตอนของการดำเนินธุรกิจ โดยการรักษาสมดุลในการแบงปนผลประโยชนของ ธุรกิจในระหวางผูมีสวนไดสวนเสียตางๆ อยางสมเหตุ สมผลตั้งแตผูบริโภค พนักงาน บริษัทคูคา ผูถือหุน และสงั คมวงกวาง รวมถึงส่ิงแวดลอ ม 21

การประยกุ ตใชหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุม นักการเมอื ง นักการเมืองที่มีหลักคิด และหลักปฏิบัติบน พนื้ ฐานของเศรษฐกจิ พอเพยี งจะตอ งเปน ตวั อยา งของ ผูนำท่ีมีความเขมแข็งทางดานคุณธรรม จริยธรรม มีความละอายและเกรงกลัวตอการกระทำความผิด แมเพียงเล็กนอย เน่ืองจากการกระทำของผูนำ สงผลกระทบในวงกวางตอชุมชน/สังคม และ ในขณะเดียวกันนักการเมืองในทุกระดับจะตองรูจัก สังคม ชุมชน ที่แตละคนเปนผูแทนอยางถองแท มีความเขาใจระบบการปกครองและระเบียบปฏิบัติ ตางๆ ตามกฎหมายและขนบธรรมเนียมประเพณี 22

ของสังคม รอบรูและเทาทันการเปล่ียนแปลง ในดา นตางๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดย มุงท่ีจะดำเนินวิถีทางการเมืองเพ่ือใหทองถิ่น/ ประเทศชาติ มคี วามกา วหนา ไปอยา งสมดลุ ในทกุ ๆ ดา น และคนในทองถ่ิน/ประเทศชาติ อยูอยางพอเพียง สมคั รสมานสามัคคีปรองดองกัน การกำหนดนโยบาย การออกกฎหมายและ ขอบัญญัติตางๆ ตองยึดมั่นอยูบนพ้ืนฐานของความ พอเพยี ง โดยบำรงุ รกั ษาสง่ิ ทด่ี ที ม่ี อี ยแู ลว เชน คา นยิ ม องคความรู ส่ิงแวดลอมท่ีดี ใหคงอยู พรอมท้ัง ปรับปรุง/แกไข/ยกเลิก สวนที่ไมดีท่ีเปนเหตุใหเกิด ความไมสมดุล ไมพอเพียงในสังคม ใหกลับมาสู แนวทางปฏิบัติที่มุงสูความสมดุลและสนับสนุนใหเกิด 23

ส่ิงท่ีดีเปนประโยชนตอสวนรวมแตยังขาดอยู เชน ความกาวหนาดานเทคโนโลยี การพัฒนาฝมืออาชีพ ตางๆ ใหเกิดข้ึนอยางสมดุลกับศักยภาพและระดับ การพัฒนาของทองถ่ิน/ประเทศชาติ เพ่ือนำไปสู ความสามารถในการพึ่งตนเองไดของคน/ชุมชน ในทกุ ระดบั 24

การประยกุ ตใชหลกั เศรษฐกิจพอเพียง ในกลุมเจา หนาทข่ี องรัฐ เจา หนา ทขี่ องรฐั จะตอ งเรม่ิ ตน สรา งความพอเพยี ง ใหเกิดข้ึนในการดำเนินชีวิตของแตละบุคคลกอน โดยตระหนักถึงบทบาทหนาท่ีของตนในการเปน ผูใหบริการแกสังคม และรวมเสริมสรางสภาวะ แวดลอมที่เอื้อตอการอยูรวมกันของคนในสังคม และอยูรวมกับระบบนิเวศไดอยางสมดุล มีสำนึกใน คณุ ธรรม ความซือ่ สัตยสจุ รติ มสี ตยิ ัง้ คดิ ใชปญ ญา พิจารณาอยางรอบคอบในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติ หนา ทบี่ นพ้นื ฐานของความมเี หตุมีผล พอประมาณกับ ศักยภาพและสถานภาพของแตละบุคคลในแตละ 25

สถานการณ และหมนั่ เสริมสรางความรูใหเ ทาทันการ เปล่ยี นแปลงตางๆ เพื่อจะไดมีภมู ิคุมกันในตัวทด่ี ี การเตรยี มนโยบาย แผนงาน หรอื โครงการตา งๆ ตองสอดคลองกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โ ด ย เ น น ก า ร พั ฒ น า ท่ี ส ร า ง ค ว า ม ส ม ดุ ล ใ น ด า น เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดลอม และวัฒนธรรม ใหเกิดขึ้นพรอมๆ กับการรูเทาทันการเปล่ียนแปลง ตา งๆ โดยมุงใหป ระชาชน/ชุมชน สามารถพ่งึ ตนเอง และสามารถเปนที่พ่ึงของสังคม/ประเทศชาติได ในทสี่ ุด เ จ า ห น า ที่ ข อ ง รั ฐ ไ ม ค ว ร ส่ั ง ก า ร ห รื อ ชี้ น ำ ประชาชน/ชุมชนมากเกินไป แตควรสนับสนุนให ประชาชน/ชุมชนสามารถชว ยตนเอง กำหนดทิศทาง 26

การพัฒนาหรอื แผนงาน กิจกรรมทีย่ ืนอยูบนขาตนเอง พงึ่ พาตนเองได แลว ใหเ จา หนา ทขี่ องรฐั มาชว ยสนบั สนนุ ใหแผนงาน กิจกรรมน้ีเปนจริงขึ้นมา ตามหลักการ พัฒนา “ชวยเหลือประชาชน/ชุมชนเพ่ือใหเขาชวย ตวั เองได” 27

การประยกุ ตใ ชหลกั เศรษฐกิจพอเพยี ง ในกลุมครูและอาจารย ครูและอาจารยจะตองทำตนใหเปนตัวอยาง แกนักเรียนและนักศึกษา ในการดำเนินชีวิตอยาง พอเพยี งใหไ ดกอน จงึ จะสามารถถายทอด ปลกู ฝง อบรม และทำตนใหเปนตัวอยางแกนักเรียนและ นักศึกษา ใหเขาใจเศรษฐกิจพอเพียงอยางถูกตอง และสามารถนำไปประยุกตใชไดในชีวิตประจำวันของ แตละคน ผา นการบูรณาการในสาระเรยี นรวู ชิ าตางๆ ตลอดจนสอดแทรกในกิจกรรมพัฒนาผูเ รียนตา งๆ การดำเนินชีวิตอยางพอเพียง ตองเริม่ จากการ ตระหนักถึงความจำเปนของการอยูรวมกันของคน 28

ในสังคม และอยูรวมกับระบบนิเวศไดอยางสมดุล และเขาใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงอยางถองแท จนเห็นวาเปนหลักคิดและหลักปฏิบัติที่จะเสริมสราง ใหสังคมเกิดสันติสุข มีความเจริญกาวหนาอยาง สมดุลและยั่งยืน และคนในสังคมมีความสามัคคี ปรองดองกนั แลว ฝก ปฏิบตั ิตนใหมสี ำนึกในคณุ ธรรม ความซือ่ สตั ยส ุจรติ มีสติย้ังคิด ใชปญญาพิจารณา อยางรอบคอบ ในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติหนาที่ บนพน้ื ฐานของความมเี หตผุ ล พอประมาณกบั ศกั ยภาพ และสถานภาพของแตละบุคคล ในแตล ะสถานการณ และหม่ันเสริมสรางความรูในดานตางๆ ใหเทาทัน การเปลี่ยนแปลงเพ่ือจะไดมภี มู คิ มุ กันในตัวท่ดี ี 29

เนื่องจากความรูและความมีเหตุมีผลมีความ สำคัญย่ิง ครูและอาจารยจึงมีบทบาทสำคัญยิ่ง ในเรื่องน้ี แตอยาลืมวาตองเปนความรูท่ีรอบคอบ ระมัดระวงั และเหมาะสมกับแตล ะภูมิสังคมดวย 30

“...ในการพฒั นาประเทศน้นั จำเปนตอ งทำตามลำดบั ขน้ั เรม่ิ ดวยการสรางพืน้ ฐาน คอื ความมีกินมีใช ของประชาชนกอ น ดว ยวิธกี ารทป่ี ระหยดั ระมดั ระวงั แตถูกตอ งตามหลกั วิชา เม่ือพ้ืนฐาน เกิดขึ้นม่ันคงพอควรแลว จึงคอยสรางเสริม ความเจรญิ ข้นั ทสี่ งู ขึน้ ตามลำดับตอ ไป...การถือหลัก ทจ่ี ะสง เสริมความเจรญิ ใหค อยเปนไปตามลำดบั ดวยความรอบคอบ ระมัดระวังและประหยัดน้ัน ก็เพ่ือปองกันการผิดพลาดลมเหลว และเพื่อใหบรรลผุ ลสำเร็จไดแนนอนบริบูรณ. ..” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปรญิ ญาบตั ร ของมหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗ 31

“...ประหยดั พอเพียง ทกุ สิ่งทกุ อยา งที่พอเพยี ง จะตองทำจรงิ แลว กพ็ อเพียง ทฤษฎนี ี้ใชไ ด. ..” พระราชดำรัสพระราชทานแกเ อกอคั ราชฑูตและกงสลุ ใหญไ ทยฯ ๒๔ สงิ หาคม ๒๕๕๐ 32

หากทานผใู ดสนใจท่ีจะขอขอ มลู เพิ่มเตมิ สามารถติดตอไดท่ี กลุม งานเศรษฐกจิ พอเพยี ง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแหงชาติ ๙๖๒ ถนนกรงุ เกษม แขวงวัดโสมนสั เขตปอ มปราบ กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐ โทรศพั ท ๐ ๒๒๘๐ ๔๐๘๕ ตอ ๒๔๐๗, ๕๑๐๓ โทรสาร ๐ ๒๒๘๒ ๙๑๕๘ หรอื ๐ ๒๒๘๑ ๖๑๒๗ [email protected] หรอื www.sufficiencyeconomy.org


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook