เอกสารความรู้ฉบับท่ี 2/2563 ชุดนี้ชื่อเร่ือง Management Mind for Modern Executive โดยจัดเน้ือหาออกเป็น 3 ตอน โดยฉบับน้ีเป็น EP.3 Learn & Share ได้รวบรวมจากคาบรรยาย และประสบการณ์ ผบู้ รหิ ารทถ่ี า่ ยทอดผ่านโครงการศึกษาอบรมเพ่ือพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2562 ซ่ึงเป็นลักษณะการแบ่งปันความรู้ การถ่ายทอด ประสบการณ์และนาข้อมลู มาแลกเปลีย่ นซ่ึงกนั และกัน วัตถุประสงค์ 1) เพ่ือสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ ในการทางาน ตลอดจนการดาเนินชีวิต และการวางตนให้เหมาะสม ในฐานะผบู้ ริหารระดับสูง 2) เพื่อเป็นองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทางานผู้บริหาร ระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศและเป็นผู้บริหาร ยุคใหม่ท่ีมีศักยภาพสูง ให้สามารถขับเคล่ือนนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กระทรวงมหาดไทย พร้อมตอบสนองภารกิจ ของกระทรวงมหาดไทยในการบาบัดทุกข์ บารุงสุข เพื่อสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ของประชาชน รวมท้ังก่อให้เกิดประโยชน์สุขท้ังในระดับพ้ืนที่ องค์การ และประเทศชาติต่อไปให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ประเทศไทย “ประเทศไทย มีความม่ันคง มั่งค่ัง ย่ังยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยประกอบด้วยประสบการณ์ ผบู้ รหิ าร ดงั ต่อไปนี้
ดร.ฤทัย หงส์สิริ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ในหัวข้อ “กฎหมายปกครอง” นายประจกั ษ์ บญุ ยงั ผู้วา่ การตรวจเงินแผ่นดนิ ในหวั ข้อ “ข้อพงึ ตระหนักในการใช้จา่ ยเงนิ แผน่ ดนิ ” นางพิมพร โอวาสทิ ธ์ิ รองผอู้ านวยการสานักงบประมาณ ในหวั ข้อ “การบริหารงบประมาณ” นางสาวชณุ หจติ สังขใ์ หม่ ผูต้ รวจราชการกระทรวงการคลัง ในหวั ขอ้ “การบริหารจัดการการพัสดุสาหรับผบู้ ริหาร” ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชยั อธกิ ารบดีมหาวทิ ยาลยั หอการค้าไทย ในหัวข้อ“เศรษฐกิจไทยในภาวะท่ีเผชิญความท้าทายจาก เศรษฐกิจโลก” นายปรัชญา สมะลาภา รองประธานกรรมการหอการคา้ ไทย ในหัวข้อ “การขบั เคล่ือนงาน กรอ.” ท้ังน้ีเอกสารความรู้ฉบับน้ีได้จัดเก็บรวบรวมไว้ในระบบคลังความรู้ ของสถาบันดารงราชานุภาพ สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย www.stabundamrong.go.th เพ่อื เปน็ ประโยชนใ์ นการสบื ค้นตอ่ ไป กลมุ่ งานพัฒนาและบริหารจัดการความรู้ สถาบันดารงราชานภุ าพ สป.
สารบญั หนา้ 1 ดร.ฤทัย หงส์สิริ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด หนา้ 20 “ข้อพึงตระหนกั ในการใช้จา่ ยเงินแผ่นดิน 18 นายประจักษ์ บุญยัง ผู้วา่ การตรวจเงนิ แผ่นดนิ “การบรหิ ารงบประมาณ” นางพมิ พร โอวาสทิ ธิ์ หนา้ 32 รองผู้อานวยการสานักงบประมาณ 30
สารบญั “การบรหิ ารจัดการการพัสดุสาหรบั ผูบ้ รหิ าร” นางสาวชุณหจิต สงั ข์ใหม่ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลงั หนา้ 48 “เศรษฐกจิ ไทยในภาวะทเ่ี ผชญิ ความท้าทายจาก เศรษฐกจิ โลก” ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย หนา้ 66 อธิการบดีมหาวทิ ยาลยั หอการค้าไทย “การขับเคลอ่ื นงาน กรอ.” นายปรัชญา สมะลาภา หนา้ 77 รองประธานกรรมการหอการค้าไทย
กฎหมายปกครอง ดร.ฤทยั หงสส์ ริ ิ ตลุ าการศาลปกครองสูงสดุ กฎหมายนั้นมีความสาคัญเป็นอย่างมาก เพราะกฎหมายนั้น เปรียบเสมือนกฎกติกา ถ้าทางานโดยผิดกฎหมายย่อมส่งผลกระทบต่อ ผกู้ ระทาผิดได้ เช่น ปลดออก ไล่ออก เป็นต้น ซึ่งประเด็นท่ีจะควรจะต้องรู้ มีดังต่อไปนี้ ความรบั ผิดทางกฎหมาย ความรบั ผดิ ชอบข้าราชการน้ันจาแนกได้เปน็ 3 ประการ ไดแ้ ก่ ความรับผดิ ทางแพง่ (ชดใชค้ ่าเสยี หาย) โดยการชดใช้เงนิ หรือ ทรพั ยส์ ิน ความรับผดิ ทางอาญา (จาคุก/ปรับ) ความรับผิดทางวินัย กรณีความรับผิดนี้มีการฟ้องร้อง เป็นจานวนมาก โดยเฉพาะศาลปกครอง
กฎหมายทเ่ี กยี่ วข้อง กฎหมายทีเ่ กยี่ วข้องสามารถจาแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ กฎหมายเฉพาะท่ีเก่ียวกับงานในหน้าที่ เช่น พระราชบัญญัติ สถานบรกิ าร พระราชบัญญตั อิ าวุธปืนฯ พระราชบญั ญตั ิทะเบียนราษฎร เปน็ ต้น กฎหมายทั่วไป เป็นกฎหมายท่ีทุกกรม กระทรวงใช้ร่วมกัน ท้ังหมด แต่ในท่ีนจี้ ะเน้นเฉพาะกฎหมายทมี่ คี วามจาเป็นทจ่ี ะต้องรู้ เชน่ - พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายท่ีใช้บังคับกับวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ซ่ึงเกี่ยวข้องกับ คาสั่งทางปกครอง ซ่ึงเป็นเร่ืองของกฎหมายที่ได้กาหนดไว้ รวมถึง การกาหนดเกีย่ วกบั การใชอ้ านาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ - พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าท่ี พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายท่ีเก่ียวข้องกับการละเมิดต่างๆ กรณีไม่ใช้พระราชบัญญัติน้ี ตอ้ งมกี ฎหมายข้อยกเว้นระบุไว้ - พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ใช้กับ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ท่ีอยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของ หนว่ ยงานของรัฐ ไม่วา่ จะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดาเนินงานของรัฐ หรอื ข้อมูลข่าวสารเกีย่ วกบั เอกชน - พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
โดยในที่นจี้ ะกล่าวถึง รายละเอยี ดได้ ดังตอ่ ไปนี้ โดยมีสาระสาคัญ ดงั นี้ - คาสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 5 กล่าวว่า ...การใช้อานาจตาม กฎหมายของเจ้าหน้าท่ีที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ข้ึนระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าท่ีของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือ ชั่วคราว เช่น การส่ังการการอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แตไ่ ม่หมายความรวมถงึ การออกกฎ... ดงั น้ัน การใช้อานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ สามารถใช้อานาจ ข อ ง เ จ้ า ห น้ า ที่ ข อ ง รั ฐ ไ ด้ ฝ่ า ย เ ดี ย ว โ ด ย ไ ม่ ต้ อ ง อ า ศั ย ค ว า ม ส มั ค ร ใ จ ความยินยอม อานาจที่ไปกระทบสิทธิหน้าที่ เรียกรวมๆ ว่า วิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง - วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เป็นการเตรียมการและ การดาเนินการของเจ้าหน้าท่ีเพ่ือจัดให้มีคาสั่งทางปกครอง หรือกฎ และ รวมถึงการดาเนินการใดๆ ในทางปกครองตามพระราชบญั ญตั ิน้ี โดยมีหลักการคือ หลักเกณฑ์ และขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าท่ีท่ีเกี่ยวกับคาส่ังทางปกครอง ซ่ึงเป็นการปฏิบัติหน้าท่ีเกี่ยวกับ คาสั่งในเร่ืองน้ันๆ เช่น ความเป็นกลาง ก่อนออกคาสั่งจะต้องให้โอกาส ช้ีแจงก่อน นอกจากน้ี คาส่ังทางปกครองไม่จาเป็นต้องเป็นหนังสือ ออกด้วยวาจาหรือสัญลักษณ์ก็ได้ เช่น สัญญาณไฟจราจร เม่ือเห็นสีแดง เราหยุดรถ แตต่ อ้ งสือ่ ความหมายได้ตามพอสมควร เป็นต้น
นอกจากน้ี วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง สามารถแสดงแผนผัง ได้ดงั นี้ วธิ ีปฏิบัติราชการทางปกครอง คาขอ/การรเิ ริ่มของเจ้าหนา้ ที่ การพจิ ารณาทางปกครอง (ตอ้ งใหโ้ อกาสช้ีแจงก่อน) การทาคาสัง่ ทางปกครอง การแจง้ คาสงั่ /ประกาศ อทุ ธรณค์ าส่งั /การขอให้พิจารณาใหม่ ยนื ยนั คาสงั่ /เพิกถอน/เปลีย่ นแปลง การบังคบั ตามคาส่งั
- ผลของการวินิจฉัยว่าเป็นคาสั่งทางปกครอง จะต้องนา พระราชบญั ญตั ิวิธปี ฏบิ ัตริ าชการทางปกครองมาใช้บงั คบั ดว้ ย โดยหลักการ คือ ถ้าผลของคาสั่งทางปกครอง ทาให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย สามารถที่จะฟอ้ งศาลปกครองเพกิ ถอนได้ มาตราที่สาคัญตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 - มาตรา 3 บัญญัติว่า วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กาหนดในพระราชบัญญัติน้ี เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใด กาหนดวิธีปฏบิ ัติราชการทางปกครองเรอื่ งใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ ท่ีประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ากว่า หลักเกณฑท์ ี่กาหนดในพระราชบัญญตั นิ ี้ ความในวรรคหน่ึงมิให้ใช้บังคับกับข้ันตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ หรือโต้แย้งทก่ี าหนดไว้ในกฎหมาย ดังนั้น การดาเนินการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองจะต้องนา หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ไปใช้ด้วยยกเว้นกฎหมายกาหนดไว้เป็นการเฉพาะแต่ต้องเป็นหลักเกณฑ์ ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานไม่ต่ากว่าพระราชบัญญัติ วธิ ปี ฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 - มาตรา 13 บญั ญตั ิว่า เจา้ หนา้ ท่ีจะพิจารณาทางปกครองไมไ่ ด้ (1) เปน็ คกู่ รณีเอง (2) เปน็ คู่หมน้ั หรอื คู่สมรสของคู่กรณี (3) เป็นญาติของคกู่ รณี
(4) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทน หรอื ตวั แทนของค่กู รณี (5) เปน็ เจ้าหนห้ี รือลกู หน้ี หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี (6) กรณอี น่ื ตามที่กาหนดในกฎกระทรวง โดยคาว่า “คู่กรณี” ได้มีการบัญญัติไว้ในมาตรา 5 บัญญัติว่า ... “คู่กรณี” หมายความว่า ผู้ย่ืนคาขอหรือผู้คัดค้านคาขอ ผู้อยู่ในบังคับ หรือจะอยู่ในบังคับของคาสั่งทางปกครอง และผู้ซึ่งได้เข้ามาใน กระบว นการพิจารณาทางปกครอง เนื่องจากสิทธิของผู้นั้นจะ ถกู กระทบกระเทือนจากผลของคาสงั่ ทางปกครอง... ดงั นั้น เพือ่ ยดึ หลกั ความเป็นกลางผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจะไม่สามารถ พิจารณาทางปกครองได้ - มาตรา 16 บญั ญัตวิ ่า ...ในกรณมี เี หตุอืน่ ใดนอกจากที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 13 เก่ียวกับเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอานาจ พิจารณาทางปกครอง ซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทาให้การพิจารณาทาง ปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าท่ีหรือกรรมการผู้น้ันจะทาการพิจารณา ทางปกครองในเร่อื งน้นั ไมไ่ ด้… ดงั น้ัน เจ้าหน้าที่หรอื กรรมการในคณะกรรมการท่ีมีอานาจพิจารณา ทางปกครองทราบว่า ถ้ามีสภาพร้ายแรงอันอาจทาให้การพิจารณา ไม่เป็นกลาง จะต้องหยุดการพิจารณาไว้ก่อนและแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา เหนือตนข้ึนไปช้ันหน่ึง หรือประธานคณะกรรมการทราบเพื่อถอนตัว ให้ผู้อ่ืนดาเนนิ การแทน
- มาตรา 30 วรรคหน่ึง บัญญัติว่า ในกรณีท่ีคาส่ังทางปกครอง อาจกระทบถงึ สิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าทีต่ อ้ งให้คู่กรณีมีโอกาสท่ีจะได้ทราบ ขอ้ เทจ็ จริงอยา่ งเพียงพอและมีโอกาสไดโ้ ตแ้ ย้งและแสดงพยานหลกั ฐานของตน ดังนั้น ถ้าจะออกคาสั่งทางปกครองลงโทษกับใครหรือเป็นโทษ กับใครต้องให้โอกาสช้ีแจงก่อน ถึงแม้คาส่ังจะไม่ร้ายแรงก็ตาม ซ่ึงเป็นไปตาม บทบญั ญัติในพระราชบญั ญัติระเบยี บขา้ ราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ...ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตาม มาตรา 91 ปรากฏว่า กรณีมีมูล ถ้าความผิดน้ันมิใช่เป็นความผิดวินัย อย่างร้ายแรง และได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ ผถู้ ูกกล่าวหาทราบ พรอ้ มทง้ั รบั ฟังคาช้แี จงของผ้ถู ูกกล่าวหา... ซึ่งถ้าไม่ให้ชี้แจงจะถือว่าคาสั่งทางปกครองนั้นเป็นคาส่ังที่ไม่ชอบ ถึงอย่างไรก็ตามได้มีข้อยกเว้นตามมาตรา 30 วรรคสอง โดยสรุป ไดด้ งั ตอ่ ไปน้ี เมื่อมีความจาเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้เน่ินช้าไปจะก่อให้เกิด ความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผ้หู น่ึงผใู้ ดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ทาให้ระยะเวลาในการทาคาส่งั ล่าช้าออกไป เป็นขอ้ เท็จจรงิ ที่คู่กรณีให้ไว้ เหน็ ชัดว่า การใหโ้ อกาสไม่อาจกระทาได้ เปน็ มาตรการบังคับทางปกครอง กรณีอื่นตามที่กาหนดในกฎกระทรวง แต่ห้ามไม่ให้โอกาส ถ้าก่อให้เกิดผลเสียหายร้ายแรง ตอ่ ประโยชน์สาธารณะ
- มาตรา 40 วรรคหน่ึง บัญญัติว่า ...คาสั่งทางปกครอง ที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง การย่ืนคาอุทธรณ์หรือคาโต้แย้ง และระยะเวลาสาหรับการอุทธรณ์ หรือการโต้แย้งดังกลา่ วไวด้ ว้ ย... ดังน้ัน เม่ือมีคาส่ังทางปกครองจะต้องแจ้งสิทธิการอุทธรณ์ หรอื โตแ้ ยง้ พรอ้ มทัง้ ระบรุ ะยะเวลาใหท้ ราบด้วย - มาตรา 44 วรรคหน่ึง บัญญัติว่า ...ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คาสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมาย กาหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณี อุทธรณ์คาส่ังทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทาคาส่ังทางปกครอง ภายในสบิ ห้าวนั นับแต่วันทตี่ นได้รับแจง้ คาสัง่ ดงั กล่าว... ดังน้ัน เมื่อไม่เห็นด้วยย่อมสามารถที่จะอุทธรณ์ได้ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ถึงแม้ตาม กฎหมายในเร่ืองน้นั ๆ จะไม่มีการกาหนดไวก้ ต็ าม น อ ก จ า ก นี้ จ ะ ก ล่ า ว ถึ ง ร ะ เ บี ย บ ก ฎ ห ม า ย ต่ า ง ๆ ท่ี มี ความสาคญั โดยจะกล่าวถึงมาตราท่ี มี ค ว า ม จ า เ ป็ น ที่ จ ะ ต้ อ ง ท ร า บ ดังตอ่ ไปนี้
- มาตรา 4 บัญญัติว่า “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตาแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติกรรมที่อาจทาให้ผู้อ่ืนเชื่อว่า มีตาแหน่งหรือหน้าท่ีท้ังที่ตนมิได้มีตาแหน่งหรือหน้าที่น้ัน หรือใช้อานาจ ในตาแหน่งหรือหน้าที่ ท้ังน้ี เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ สาหรับตนเองหรือผู้อ่ืน หรือกระทาการอันเป็นความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่ ราชการหรือความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวล กฎหมายอาญาหรอื ตามกฎหมายอน่ื - มาตรา 91 บัญญัติว่า เม่ือคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวน ข้อเท็จจริงแล้วมีมติว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาน้ันเป็นอันตกไป ข้อกล่าวหาใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ามีมูลความผิดให้ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ถ้ามีมลู ความผดิ ทางวนิ ัย ใหด้ าเนินการตามมาตรา 92 (2) ถ้ามีมลู ความผิดทางอาญาให้ดาเนนิ การตามมาตรา 97
- มาตรา 92 บัญญัติว่า ...เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณา... แล้วมีมติว่าผู้ถูกกล่าวหาผู้ใดได้กระทาความผิดวินัยให้ประธานกรรมการ ส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชา... เพ่ือพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งต้ังคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ในการพิจารณา โทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหา ให้ถือว่ารายงานเอกสารและความเห็นของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสานวนการสอบสวนทางวินัยของ คณะกรรมการสอบสวนวนิ ัย... - มาตรา 93 บัญญตั ิว่า เมอ่ื ได้รับรายงานตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง และวรรคสามแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชา...พิจารณาลงโทษภายในสามสิบวัน นับแตว่ ันที่ได้รับเร่ือง และใหผ้ ู้บงั คบั บัญชา...ส่งสาเนาคาสง่ั ลงโทษดังกล่าว ไปใหค้ ณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ ภายในสบิ ห้าวนั นับแต่วนั ทไี่ ด้ออกคาสั่ง - มาตรา 94 บญั ญตั วิ ่า ผบู้ งั คบั บัญชา...ผู้ใดละเลยไม่ดาเนินการตาม มาตรา 93 ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชา...กระทาความผิดวินัยหรือกฎหมายตาม ก ฎ ห ม า ย ห รื อ ร ะ เ บี ย บ ห รื อ ข้ อ บั ง คั บ ว่ า ด้ ว ย ก า ร บ ริ ห า ร ง า น บุ ค ค ล ของผู้ถูกกลา่ วหาน้ันๆ - มาตรา 96 บัญญัติว่า ผู้กล่าวหาท่ีถูกลงโทษตาม...มาตรา 93 จะใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการส่ังลงโทษของผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสาหรับผู้ถูกกล่าวหาน้ันๆ กไ็ ด้ ทง้ั นี้ ตอ้ งใช้สิทธิดังกลา่ วภายในสามสิบวนั นับแตว่ ันทไ่ี ด้รับทราบคาสั่ง ดงั กล่าว
- มาตรา 97 บัญญัติว่า ในกรณีท่ีข้อกล่าวหาใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า มีความผิดทางอาญาให้ประธานกรรมการส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด หรือฟ้องคดีต่อศาล กรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นอัยการสูงสุด เพ่ือดาเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมี เขตอานาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยถือว่ารายงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสานวนการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาและให้ศาลประทับฟอ้ งไวพ้ จิ ารณาโดยไม่ต้องไตส่ วนมลู ฟ้อง... - มาตรา 116 บัญญัติว่า เมื่อ ก.พ.ค. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซ่ึงมีอานาจส่ังบรรจุตามมาตรา 57 ดาเนินการให้เป็นไป ตามคาวินิจฉัยนั้นภายในสามสบิ วันนับแตว่ ันท่ี ก.พ.ค. มคี าวนิ จิ ฉยั ในกรณีท่ีผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคาวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบ หรอื ถือวา่ ทราบคาวนิ ิจฉัยของ ก.พ.ค. ...
...ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ. ศ. 2542 เห็นได้ว่ า ข้อกล่าวหาท่ีอยู่ในอานาจไต่สวนและพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หมายถึง เฉพาะข้อกล่าวหาท่ีเกี่ยวกับการกระทาความผิดฐานทุจริต ต่อหน้าที่ กระทาความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทาความผิด ต่อตาแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมเท่าน้ัน และโดยที่ประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติถึงองค์ประกอบและโทษเก่ียวกับความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่ ราชการ และความผิดต่อตาแหน่งหน้าท่ีในการยุติธรรมไว้ ดังน้ัน ความผิด ต่อตาแหน่งหน้าที่ราชการและความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม จึงเป็นมูลความผิดทางอาญา ส่วนความผิดฐานทุจริตต่อหน้าท่ี ถือเป็นมูล ความผิดทางวินัย ดังน้ัน คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีอานาจหน้าที่ ในการไตส่ วนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดทางวินัยผู้ฟ้องคดีเฉพาะความผิด ฐานทุจรติ ตอ่ หนา้ ทร่ี าชการ... - มาตรา 5 บัญญัติว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหาย ในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทาในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ ผเู้ สยี หายอาจฟ้องหนว่ ยงานของรฐั ดังกลา่ วได้โดยตรง แตจ่ ะฟ้องเจ้าหน้าที่ ไม่ได้
ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าท่ีซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐ แห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐท่ีต้องรับผิด ตามวรรคหนงึ่ ดังน้ัน พระราชบัญญัติน้ีมีวัตถุประสงค์หลักเพ่ือคุ้มครองเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติราชการ ซึ่งถ้าการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ เมื่อมี ผู้เสียหายเกิดข้ึน สามารถมีสิทธิท่ีจะฟ้องได้แต่ต้องฟ้องหน่วยงานเท่าน้ัน ไม่สามารถฟ้องเจ้าหน้าท่ีได้ ตัวอย่างเช่น มีการรับรายงานว่ามีร้าน จาหนา่ ยสรุ าแกเ่ ด็กต่ากว่าอายุ 20 ปี หรือปิดเกินเวลา จึงได้มีคาส่ังให้ปิด รา้ นคา้ แหง่ น้นั ถือได้ว่าเปน็ การปฏบิ ตั หิ น้าท่ี ถ้าเกิดความเสียหายข้ึนถือว่า เป็นการละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้เสียหายมีสิทธิจะฟ้องหน่วยงานท่ี เ จ้ า ห น้ า ที่ สั ง กั ด ไ ด้ โ ด ย ต ร ง แ ต่ ก ฎ ห ม า ย ดั ง ก ล่ า ว เ ป็ น ก า ร คุ้ ม ค ร อ ง ในทางแพ่ง ไมไ่ ด้คมุ้ ครองในทางอาญาและวนิ ยั แต่อย่างใด - มาตรา 8 วรรคหน่ึง บัญญัติว่า ...ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้อง รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพ่ือการละเมิดของเจ้าหน้าท่ี ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทาละเมิดชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าท่ีได้กระทาการน้ัน ไปดว้ ยความจงใจหรือประมาทเลนิ เลอ่ อย่างรา้ ยแรง... ดังน้ัน หน่วยงานของรัฐต้องชดใช้ค่าสินไหมแทนผู้เสียหายแทน เจ้าหน้าที่ ซึ่งหน่วยงานของรัฐสามารถมีสิทธิเรียกได้เพียงกรณีเดียว คือ เจ้าหน้าท่ีกระทาการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่าง รา้ ยแรงเท่านั้น
นอกจากนี้ คดีละเมิดในอานาจศาลปกครอง ซ่ึงการละเมิดเก่ียวกับ เรื่องการปฏิบัติหน้าท่ีของเจ้าหน้าท่ี ไม่สามารถฟ้องเจ้าหน้าท่ีได้ ถา้ การกระทานนั้ เกิดจากการปฏิบตั ใิ นหน้าที่ จาแนกไดเ้ ป็น 4 กรณี ไดแ้ ก่ กรณที ี่ 1 การใชอ้ านาจตามกฎหมาย กรณที ่ี 2 กฎ คาส่งั ทางปกครองหรอื คาส่ังอ่ืน กรณีที่ 3 ละเลยตอ่ หนา้ ทท่ี ก่ี ฎหมายกาหนด กรณีท่ี 4 ปฏิบตั ิหนา้ ที่ล่าช้า - มาตรา 12 บัญญัติว่า ในกรณีที่เจ้าหน้าท่ีต้องชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนที่หนว่ ยงานของรฐั ไดใ้ ช้ให้แก่ผู้เสยี หายตามมาตรา 8 หรือในกรณีที่ เจ้าหน้าที่ต้องใช้คา่ สนิ ไหมทดแทนเนื่องจากเจา้ หน้าท่ผี ้นู ้ันไดก้ ระทาละเมิด ต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 ให้หน่วยงาน ของรฐั ท่ีเสยี หายมีอานาจออกคาส่ังเรยี กใหเ้ จ้าหนา้ ท่ผี นู้ ัน้ ชาระเงินดังกล่าว ภายในเวลาทก่ี าหนด ดังนั้น กรณีเจ้าหน้าท่ีต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงาน ของรัฐได้ใชใ้ หแ้ ก่ผเู้ สยี หายแล้วนั้น หน่วยงานของรัฐน้ันสามารถออกคาส่ัง กาหนดระยะเวลาในการเรยี กเก็บชาระเงนิ จากเจ้าหน้าท่ีผนู้ ั้นได้
- มาตรา 4 บัญญัติว่า ...“ข้อมูลข่าวสาร” หมายความว่า สิ่งที่ส่ือความหมายให้รู้ เรื่องราวขอ้ เท็จจริง ขอ้ มลู หรือสิ่งใดๆ ไม่ว่า การสื่อความหมายนั้นจะทาได้โดยสภาพ ของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และ ไม่ว่าจะไดจ้ ดั ทาไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเคร่ือง คอมพวิ เตอร์ หรอื วิธอี ่นื ใด ท่ีทาให้ส่งิ ที่บนั ทกึ ไวป้ รากฏได้ “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารท่ีอยู่ ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น ขอ้ มลู ขา่ วสารเกีย่ วกบั การดาเนนิ งานของรฐั หรอื ขอ้ มูลขา่ วสารเกี่ยวกับเอกชน... ดังน้นั ขอ้ มูลข่าวสารคือ ส่ิงที่ส่ือความหมายให้รู้เร่ืองราวข้อเท็จจริง ไมว่ า่ จะด้วยวิธีการใดๆ ซ่ึงข้อมูลข่าวสารของราชการนั้น จะต้องอยู่ในการ ครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการ ดาเนินงานของรัฐหรอื ขอ้ มูลข่าวสารเก่ยี วกบั เอกชนกต็ าม
- มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ได้กล่าวถึงศาลปกครองมีอานาจพิจารณา พิพากษาหรอื มคี าส่ัง โดยสรปุ ได้ดงั ต่อไปน้ี การออกกฎ คาส่งั หรอื กระทาฝา่ ยเดียวโดยไม่ชอบดว้ ยกฎหมาย ละเลยตอ่ หน้าทีห่ รือปฏิบัติหนา้ ทลี่ า่ ช้า ละเมิดหรือความรบั ผดิ อย่างอนื่ สัญญาทางปกครอง คดีท่ีกฎหมายบงั คับให้ฟ้องศาลเพ่ือบังคับบุคคลให้กระทา คดอี น่ื ที่กฎหมายกาหนด - มาตรา 42 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีกฎหมายกาหนด ขั้นตอนหรือวิธีการสาหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเร่ืองใด ไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องน้ันจะกระทาได้ต่อเมื่อ มีการดาเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการ ตามกฎหมายน้ัน หรือมิได้มีการส่ังการภายในเวลาอันสมควร หรือภายใน เวลาทก่ี ฎหมายนนั้ กาหนด
ดังน้ัน เมื่อกฎหมายกาหนดข้ันตอนหรือวิธีการสาหรับการแก้ไข ความเดือดรอ้ นหรอื เสียหายไว้โดยเฉพาะ เช่น กฎหมายกาหนดให้อุทธรณ์ได้ ต้องดาเนินการอุทธรณ์ก่อน กฎหมายกาหนดให้ร้องทุกข์ก่อน ต้องดาเนินการร้องทุกข์ก่อน กฎหมายกาหนดข้ันตอนการเยียวยาเสียหายไว้ ต้องดาเนินการเสียก่อน เป็นต้น มิเช่นน้ันจะฟ้องศาลปกครองมิได้ ยกเว้น กรณี ได้แก่ คาสั่งเป็นที่สุด จึงสามารถฟ้องศาลได้ เน่ืองจาก ไมต่ ้องอทุ ธรณแ์ ลว้ - มาตรา 49 - มาตรา 52 ได้กล่าวถึง ระยะเวลาฟ้องคดี โดยสรปุ ได้ ดงั น้ี ฟอ้ งภายใน 90 วนั นับแต่วันรู้หรือควรรเู้ หตแุ ห่งการฟ้องคดี คดีละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น ฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้ หรือควรรู้เหตุ แต่คดีสัญญาฟ้องภายใน 5 ปีนับแต่รู้หรือควรรู้เหตุ ท้ังน้ี ไม่เกิน 10 ปนี ับแตม่ เี หตแุ ห่งการฟ้องคดี เมอ่ื ใดก็ได้ กรณปี ระโยชน์สาธารณะหรอื สถานะบุคคล จาแนกได้เปน็ 2 ประเภท ไดแ้ ก่ คาสง่ั ทมี่ ีตอ่ ขา้ ราชการหรอื เจา้ หน้าท่ขี องรัฐ คาส่ังท่มี ีตอ่ ประชาชน
คาสัง่ ที่มตี ่อข้าราชการหรอื เจา้ หน้าที่ของรฐั คาส่ังท่ีเก่ียวกับการบริหารงานบุคคล ลงโทษทางวินัย เช่น การบรรจุ การแต่งต้ัง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสั่งพักงาน หรือส่ังให้ออก จากงานไว้ก่อน หรือการให้พ้นจาก ตาแหน่ง หรือการลงโทษทางวินัย รวมถึง คาวนิ ิจฉยั อุทธรณค์ าสงั่ เปน็ ตน้ คาสั่งท่ีเก่ียวกับสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทางไปราชการ ค่ารกั ษาพยาบาล เปน็ ต้น คาสง่ั อนื่ ๆ คาสั่งท่ีมตี ่อประชาชน คาสั่งไมอ่ อกใบอนุญาต เพิกถอนหรอื พกั ใช้ใบอนุญาต คาสั่งเกี่ยวกับการจัดซ้ือจัดจ้างของทางราชการ รวมถึง กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2543) โดยได้กล่าวถึง การดาเนินการสั่งซ้ือ หรือส่ังจ้างของทางราชการ เช่น ส่ังรับหรือไม่รับคาเสนอขายหรือรับจ้าง อนุมตั สิ ั่งซอ้ื หรอื สง่ั จา้ ง ส่ังยกเลิกกระบวนการพจิ ารณาคาเสนอ และสั่งให้ เปน็ ผูท้ งิ้ งาน คาสง่ั ใหก้ ระทาหรอื งดเวน้ กระทา คาวนิ ัจฉัยอทุ ธรณค์ าส่ัง
ตามระเบียบของท่ีประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ข้อ 72 วรรคสาม กล่าวว่า ศาลมีอานาจ สงั่ ทเุ ลาการบงั คบั ตามกฎหรือคาสัง่ ทางปกครองได้ ตามท่เี ห็นสมควรเมือ่ ศาลเห็นวา่ กฎหรือคาสงั่ ทางปกครองทเี่ ป็นเหตแุ ห่งการฟอ้ งคดีน้ัน น่าจะไมช่ อบดว้ ยกฎหมาย การให้กฎหรือคาส่ังทางปกครองดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อไป จะทาใหเ้ กิดความเสยี หายอย่างร้ายแรงท่ยี ากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง การทุเลาน้ันไม่เป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐหรือ แกบ่ รกิ ารสาธารณะ ดงั นน้ั ศาลมอี านาจสง่ั ทุเลาการบังคับตามกฎหรือคาสั่งปกครองได้ เมอ่ื มเี หตุ 3 ประการ ดังที่กล่าวไวใ้ นข้างต้น
ขอ้ พึงตระหนักในการใช้จ่ายเงนิ แผน่ ดิน นายประจกั ษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงนิ แผน่ ดิน นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้มา บรรยาย “ขอ้ พึงตระหนกั ในการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน” ในการฝึกอบรมเพ่ือ การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยเพ่ือมุ่งสู่ ความเป็นเลิศ ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เมื่อวันท่ี 27 กันยายน 2562 โดยได้น้อมนาพระราชดารัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ซง่ึ พระราชทานไว้ความวา่
ความสาคญั ในการควบคุมและตรวจสอบเงนิ แผ่นดนิ 5 ประการ ประกอบดว้ ย เงินของแผ่นดินคือ เงินของคนทง้ั ชาติ ระมดั ระวังอยา่ งเต็มที่ บังเกิดผลประโยชน์ เปน็ ไปตามกฎหมาย เป็นไปตามวัตถุประสงค์ บทบาท สตง. ปรบั ใหม่ เป้าหมายเพือ่ ถูกตอ้ งและ ไดผ้ ลมปี ัญหาเชญิ หารอื เพ่ืองานสาเร็จ จากปัญหาในการตรวจพบของ สตง. ท่ีผ่านมาทาให้ สตง. ปรับ บทบาทในการตรวจเพื่อมุ่งผลลัพธ์ คือ “ถูกต้องและได้ผล” โดยช่วย หน่วยรับตรวจหรือหน่วยงานของรัฐได้มีการใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย มีหน้าท่ีเชิญหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องมาหารือร่วมกัน เพื่อใหง้ านสาเรจ็
องค์ การตลาดควรจะเป็ นผู้ จั ดหาอาหารให้ ผู้ ต้ องขั งหรื อ ไม่ซึ่งระยะเวลาหน่ึง มีเอกชนมาดาเนินการดังกล่าว โดยเจ้าหน้าท่ี ดาเนินการ บอกว่า สตง. ตอบว่าไม่ควรทา ควรให้มีการแข่งขัน จึงได้ พูดคุยหารือกัน หลายรอบ และมีข้อเสนอว่า องค์การตลาดแข่งกับเอกชน ได้ แต่ไม่ใช่องค์การตลาดกินหัวคิวแล้วให้เอกชนทา การจัดซื้อไม่ผิด ระเบียบ ไม่ติดขัดข้อกฎหมาย แต่ให้พิจารณาท่ีจะเกิดประโยชน์ เม่ือถาม ว่าใครควรเป็นผู้ทาหนังสือหารือ สตง. เพื่อให้ได้หนังสือตอบกลับ ให้ดูว่า หนังสือควรจะคุ้มครองผู้ซ้ือ ดังน้ัน จึงให้เป็นหน้าที่กรมราชทัณฑ์ ทาหนังสอื หารือ บทบาทใหม่ของ สตง. ในปัจจุบันนอกจากเรื่องของการตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณแล้ว ยังเป็นการให้คาปรึกษาและตอบคาถามกับ หน่วยงานผู้ใช้จ่ายงบประมาณ ซ่ึงท่ีผ่านมาก็ได้ช่วยให้หน่วยงานต่างๆ สามารถทางานได้อย่างคลอ่ งตวั มากขึน้ พอสมควร การตรวจสอบเงินแผ่นดิน ในปัจจุบัน มุ่งประสงค์ให้โครงการต่างๆ ท่ีหน่วยงานรัฐดาเนินการแล้วให้มีความคุ้มค่า ทาแล้วใช้ได้ คุ้มค่ากับ งบประมาณ จึงยกตัวอย่างพร้อมภาพสิ่งก่อสร้างหลายแห่งยังใช้การไม่ได้ มาเป็นสิ่งเตือนใจ เช่น อาคารท่ีไม่ได้ใช้ประโยชน์ ระบบกาจัดขยะของ หลายจังหวัด สนามกีฬาจังหวัด ท่ีสร้างเสร็จแต่ไม่มีไฟฟ้า ห้องสุขาท่ีมี ฝักบัวอาบน้า 2 อันในห้องเดียว เคร่ืองเล่นเด็กท่ีใช้งบประมาณสูงล่ิว เป็นต้น ขอให้ข้อเสนอเรื่องการจัดการขยะ ว่าควรมีการทาประชาพิจารณ์ ให้ครบทุกกลุ่มเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา และไม่เสียหาย และหากการปฏิบัติ พบว่า มีหลายระเบียบเป็นอุปสรรคปัญหาของการทางาน การมีทุกภาคส่วน
พร้อมช่วยกันปรับปรุงโดยมีเจตนารมณ์เดียวกันในการทาให้เงินทุกบาท ของประเทศเกดิ ประโยชนส์ งู สุด กต็ ้องมารว่ มมือกนั ไม่อยากให้มองว่า สตง. อยู่ต่างฝา่ ย ไม่สนประโยชน์ภาพรวมทางานคอยแต่จะจับผิด ไม่มีใครต้องการให้เกิดข้อผิดพลาดในการทาโครงการ ดังน้ัน เพื่อป้องกันจึงจาเป็นที่จะต้องรู้ว่ามีโครงการใดมาลงในจังหวัดให้ครบถ้วน แต่การกลัวความผิดพลาดอาจทาให้ไม่กล้าริเร่ิมโครงการใหม่ๆ สตง. ได้ส่ง เจ้า หน้า ท่ีไป ศึกษาดูง านที่ ประเทศสาธ ารณรัฐป ระช าชน จีน ว่ าเขาท า อย่างไรเมื่อพบปัญหา ปรากฏว่า จะไม่มีการทักท้วงของ สตง.ที่จีนในการ ดาเนินโครงการริเร่ิมใหม่ๆท่ีไม่เคยทามาก่อน เพราะอาจมีความผิดพลาดได้ แตห่ ากเป็นโครงการทีท่ ามาซ้าๆแล้วทาผิด จะไดร้ ับโทษ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 ในมาตรา 27 ให้คณะกรรมการมหี นา้ ที่ วางนโยบายการตรวจเงนิ แผน่ ดนิ กาหนดหลกั เกณฑม์ าตรฐานเกยี่ วกับการตรวจเงนิ แผน่ ดนิ กากับการตรวจเงินแผ่นดินให้เป็นไปตาม (1) และ (2) และ ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงนิ การคลงั ของรัฐ ให้คาปรึกษา แนะนา หรือเสนอแนะเก่ียวกับการใช้จ่ายเงิน แผ่นดิน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ รวมทั้ง การให้คาแนะนาแก่หน่วยงานของรัฐในการแก้ไขข้อบกพร่องเก่ียวกับการ ใช้จา่ ยเงินแผ่นดนิ
ส่ังลงโทษทางปกครองกรณีมีการกระทาผิดกฎหมายว่าด้วย วนิ ัยการเงนิ การคลงั ของรฐั หน้าท่ีและอานาจอ่ืนตามท่ีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ประกอบรฐั ธรรมนูญนหี้ รอื กฎหมายอ่ืน นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. 2561 – 2565) มีสาระสาคัญ 3 ประการคือ ทศิ ทางและเป้าหมายในการตรวจเงินแผน่ ดนิ ผลสัมฤทธิ์ในการตรวจเงินแผ่นดิน การพฒั นาการตรวจเงนิ แผ่นดินใหม้ ปี ระสิทธิภาพและรวดเร็ว ผลสัมฤทธ์ิในการตรวจเงินแผ่นดิน ต้องมีความชัดเจน มีวิธีการ ตรวจท่ีเป็นมาตรฐานสากลเทียบเคียง จากมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดินของ องค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุด ระหว่างประเทศ (The International Standards of Supreme Audit Institutions : ISSAIs) รวมทั้งให้ ความสาคัญกับการควบคุมคุณภาพงาน ตรวจสอบให้เป็นมาตรฐานการตรวจเงิน แผ่นดินสากล ในต่างประเทศเขาตรวจ ผลสมั ฤทธ์ิ ซ่ึงผลการตรวจท่ีดีจะสะท้อน มาจากการมีความร่วมมือกัน และควร จะตอ้ งมคี นกระทาผิดน้อยลง
ตามมาตรา 53 กาหนดว่าผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีหน้าท่ี ตรวจเงินแผ่นดินตามนโยบายฯ หลักเกณฑ์ฯ กฎหมายวินัยการเงิน การคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ตรวจผลสัมฤทธ์ิ ประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงิน ของหน่วยงานของรฐั เม่ือไม่นานมานี้ ได้ไปบรรยายให้กับกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นในหัวข้อ สตง. ยุคใหม่เพื่อนคู่ใจท้องถิ่น การจัดในลักษณะนี้ ซึ่งเชิญองค์กรปกครองสว่ นท้องถ่นิ มารับความรู้ จะเดินทางไปบรรยายด้วย ตัวเอง เพื่อพูดคุย ให้คาปรึกษา เป็นการสร้างการรับรู้บทบาทภารกิจของ สตง. ไขข้อข้องใจอะไรท่ีท้องถ่ินเบิกได้ เบิกไม่ได้ ยกตัวอย่างเรื่องของ อปท. อุดหนุนสโมสรฟุตบอล เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้ทักท้วงไปว่า มีภารกิจอ่ืนที่น่าทาอีกหรือไม่ และ ควรท่ีจะมีการสร้างเกณฑ์จากการ หารือไหม สรุปสุดท้ายคือ ไม่ควรนาเงินของ อปท. ไปสนับสนุนสโมสร ฟตุ บอล
การเพิ่มช่องทางหรือบทบาทในการให้คาปรึกษาของ สตง. ในปัจจุบันจะมีคาตอบให้ ซ่ึงดีกว่าการตอบคาถามในสมัยก่อนที่ตอบ แบบเดิมๆ ว่าให้ทาตามระเบียบ ขอให้ม่ันใจว่า ถ้าเจตนาดีอยากทาให้ ถูกต้อง ถามมาได้เลย เราจะตอบแบบมีคาตอบให้ หรือถ้าบางเร่ืองมาเป็น หนังสือแล้วสร้างความเข้าใจได้ไม่หมด ก็สามารถเข้ามาพบปะพูดคุย โดยตรง หรือหากต้องการหนังสือยืนยันคาตอบ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ก็ ยนิ ดเี ช่นกัน การให้ความรู้ในเวทีการประชุมกรมการจังหวัด และร่วมงานพิธี ต่างๆ ถือเป็นอีกบทบาทหนึ่งซ่ึงได้ประชุมมอบนโยบายแล้ว ว่า เมื่อ สตง. เข้ารว่ มประชุมกรมการจงั หวดั สามารถทจี่ ะไปให้ความรู้ การเฝ้าระวัง หรือ เตอื นได้ รวมถึงการเขา้ ร่วมงานพิธีตา่ งๆของจังหวัด ท่ีผ่านมาบางหน่วยงานอาจมีความไม่มั่นใจ หรือลังเลว่าการใช้จ่าย จะถูกต้องหรือไม่ ทาแล้วจะเกิดปัญหาไหม จึงหารือไปยังหน่วยงานเจ้าของ ระเบียบฯ ดังน้ัน เม่ือหน่วยงานได้ทาตามกฎหมาย ระเบียบของ หน่วยต่างๆ แล้ว ให้ถือว่าเป็นการกระทาท่ีชอบ อย่างไรก็ตาม กฎหมาย ได้เปดิ ทางให้ สตง. มีสทิ ธิ์ท้วงได้
มาตรา 91 รายงานการเงิน จากจานวนทั้งสิ้น 8,000 กว่าหน่วย เดิมก่อนมีกฎหมายวินัยการเงินการคลัง สตง. ตรวจได้ 3,000 กว่าหน่วย โดยจะตรวจหน่วยที่ดูจากการประเมินความเส่ียง แต่เมื่อมีกฎหมายวินัย การเงินการคลัง ระบุให้จะต้องตรวจสอบรายงานการเงินภายใน 180 วัน คิดเป็นร้อยละ 100 นับแต่วันส้ินปีงบประมาณหรือตามตกลงกับ กระทรวงการคลังนั้นจะมีเวลาหลังจากที่ส่วนราชการส่งมาอีก 90 วัน เท่านั้น เน่ืองจากตามกฎ หมายวินัยการเงินการคลังดังกล่าว ให้ส่วนราชการต้องส่งรายงานการเงินการคลังภายใน 90 วัน ผลงานที่ผ่านมาตรวจได้คิดเป็นร้อยละ 90 กว่า เป็นการตรวจรายงาน มากขนึ้ แต่ลดการตรวจสอบอืน่ ๆ ลงไป
ในเร่ืองการลงโทษทางวินัย เป็นหน้าท่ีที่หัวหน้าส่วนราชการ สั่งลงโทษได้ แต่หากไม่ดาเนินการให้ถูกต้อง จะเข้ากรณีหมวด 7 ในมาตรา 96, 97 , 98 ซ่ึงหัวหน้าส่วนราชการจะถูกดาเนินการเสียเอง ดังนั้น วิธีแก้เมื่อมีเรื่องท่ีปฏิบัติไม่เป็นไปตามวินัยการเงินการคลัง ให้หัวหน้าส่วนราชการต้ังกรรมการสอบสวนทางวินัยไว้ได้เลย ท้ังน้ี ระหว่างผู้ตรวจสอบและผู้รับตรวจ หากไม่มีเจตนาทุจริต สามารถทาให้ กระบวนการตรวจสอบจบได้ โดยแจ้งให้แก้ไข (มาตรา 95 วรรค 1) แจ้งให้ชดใช้/ดาเนินการทางวินัย (มาตรา 95 วรรค 3) ยกเว้นว่ามี การทุจริต จะเป็นไปในอีกรูปแบบหน่ึง (มาตรา 95 วรรค 2) ผตง. แจง้ เรื่องให้ ป.ป.ช. ผลการตรวจ พบวา่ ส่งครบทกุ จงั หวดั /กลุ่มจังหวัด ผ่าน 31 จังหวัด 1 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ที่เหลือยังไม่สมบูรณ์ มีการประมวลผล เช่น แสดงความเห็นอย่างมเี งอ่ื นไข ไม่แสดงความเห็น แต่เนื่องจาก เป็นปี แรกอาจทาถูกบ้างผดิ บา้ ง สตง. จะเข้าไปช่วยเหลือ และพบปัญหาที่สาคัญ ประการหนึ่งคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งไม่ส่งรายงานการเงิน ภายในเวลาท่กี าหนด
บทบาทในภาพรวมของ สตง. ปัจจุบันจะต่างจากอดีต เม่ือพบว่า ในเรื่องใดมีการกระทาผิดกันมาก จาเป็นที่จะต้องดูว่าปัญหาดังกล่าว เกิดข้นึ จากอะไร หากมีปัญหาในทางปฏิบัติหรือข้อกฎหมาย หน่วยงานผู้มี หน้าท่ีกาหนดกฎเกณฑ์จะต้องร่วมกันแก้ไขระเบียบต่างๆ เพ่ือไม่ให้ต้อง เกิดความลังเลในการปฏิบัติ เพราะเจตนารมณ์ที่แท้จริงคือ ผลสัมฤทธ์ิ และประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงินของรัฐ เพ่ือให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเป็น หน้าท่ีผู้ตรวจสอบท่ีจะร่วมมือกับโครงการและงานต่างๆ เพื่อบอกว่า จะต้องทาอย่างไร หากติดปัญหาแล้วจะต้องแก้ไขอย่างไร เพื่อให้โครงการ ที่ถูกเสนอและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนสามารถเกิดข้ึนได้ โครงการ ที่หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบดาเนินการขอให้ดูว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในเร่ืองนั้นๆหรือไม่ เช่น เป็นกรมทางหลวงก็ไม่ควรที่จะไปสร้างสนามกีฬา เป็นตน้ สตง. พร้อมตอบคาถาม ตอบข้อสงสัยว่าจะทางานอย่างไร หรือมี ทางเลอื กอะไรท่สี ามารถทาไดบ้ า้ ง เพือ่ ให้งานถูกตอ้ งและได้ผลสาเรจ็
การบรหิ ารงบประมาณ นางพิมพร โอวาสทิ ธ์ิ รองผอู้ านวยการสานกั งบประมาณ กระบวนการงบประมาณ (Budget Cycle) กระบวนการงบประมาณ (Budget Cycle) กิจกรรมท่ีต้องดาเนินการตามขั้นตอนต่างๆ โดยปกติวงจร งบประมาณจะประกอบด้วย 5 ขน้ั ตอน ดงั นี้ การทบทวนงบประมาณและการวางแผนงบประมาณ การจดั ทางบประมาณ การอนมุ ตั ิงบประมาณ การบรหิ ารงบประมาณ การติดตามและประเมนิ ผลงบประมาณ
อธบิ ายดงั แผนภาพ ต่อไปน้ี
การบรหิ ารงบประมาณ การจัดทาแผนปฏบิ ัตงิ านและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ (ระเบียบว่าดว้ ยบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ข้อ 8 และ ขอ้ 9) “แผนการปฏบิ ัติงาน” หมายความวา่ แผนการปฏิบตั ิงานของหนว่ ยรบั งบประมาณในรอบปีงบประมาณ “แผนการใช้จ่ายงบประมาณ” หมายความว่า แผนแสดงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณ สาหรับหน่วยรบั งบประมาณเพอ่ื ดาเนินงาน ตามแผนการปฏบิ ตั ิงานในรอบปงี บประมาณ
การจัดทาแผนพ้ืนฐานและแผนยุทธศาสตร์จะเป็นการจัดทาแผน ตามปกติของหนว่ ยงาน โดยหน่วยงานจะดาเนนิ การ ดังนี้ หน่วยรับงบประมาณจะต้องจัดทาแผนการปฏิบัติงานและ แผนการใช้จ่ายงบประมาณเพ่ือเป็นกรอบแนวทางในการใช้จ่ายหรือ ก่อหน้ีผูกพันงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ รายจ่าย และเพ่ือใช้ในการกากับดูแล แล ะติดตามประเมินผล การปฏบิ ตั ิงานและการใชจ้ ่ายงบประมาณ โดยแผนดงั กลา่ วจะต้องแสดงถึง ความเชื่อมโยงเป้าหมายการปฏิบัติราชการของหน่วยรับงบประมาณ ภายใต้ยทุ ธศาสตร์ชาติ แผนแมบ่ ท แผนปฏริ ปู ประเทศ มเี ปา้ หมาย ตัวช้ีวัด รายการและวงเงนิ งบประมาณ หน่วยรับงบประมาณส่งแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย ง บ ป ร ะ ม า ณ ใ ห้ ส า นั ก ง บ ป ร ะ ม า ณ ไ ม่ น้ อ ย ก ว่ า สิ บ ห้ า วั น ก่ อ น วันเริ่มปีงบประมาณ (ร ะ เ บี ย บ ว่ า ด้ ว ย บ ริ ห า ร งบประมาณ พ.ศ. 2562 ขอ้ 12 และ ขอ้ 13) การจดั ทาแผนงานบรู ณาการ โดยหน่วยงานจะดาเนินการ ดังนี้ หน่วยรับงบประมาณท่ีมีงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ จัดทา แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ จาแนกตามแผนงาน บูรณาการ ผลผลิต โครงการที่ได้รับงบประมาณ โดยแผนดังกล่าวจะต้อง แสดงถึงวัตถุประสงค์ ความเชื่อมโยงเป้าหมายการปฏิบัติราชการของ
หน่วยรบั งบประมาณกับเป้าหมายร่วม ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนปฏิรปู ประเทศ โดยมเี ป้าหมาย ตัวชี้วัด รายการและวงเงนิ งบประมาณ ท่ไี ด้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หน่วยรับงบประมาณท่ีเป็นเจ้าภาพหลักของแผนงานบูรณาการ มี ห น้ า ที่ ร ว บ ร ว ม แ ล ะ พิ จ า ร ณ า ภ า พ ร ว ม ค ว า ม ส อ ด ค ล้ อ ง ข อ ง แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ของหน่วยรับงบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการ เพ่ือเสนอผู้มีอานาจ กากับแผนงานบูรณาการ (ผู้ท่ีคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นประธานหรือ ผู้กากับแผนงานบูรณาการ) พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนส่งให้ สานักงบประมาณ หน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักต้องส่งแผนงานบูรณาการให้ สานักงบประมาณไม่นอ้ ยกวา่ สบิ ห้าวนั ก่อนวนั เร่มิ ปีงบประมาณ การจดั ทาสรรงบประมาณ (ระเบียบว่าด้วยบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ขอ้ 18 และ ข้อ 21) “เงินจดั สรร” หมายความว่า สว่ นหนง่ึ ของงบประมาณรายจา่ ยทีแ่ บง่ สรรใหจ้ ่าย หรอื ให้ก่อหนี้ผกู พันในระยะหนงึ่
การจัดสรรงบประมาณของสานักงบประมาณ โดยหน่วยงานจะ ดาเนินการ ดังนี้ สานักงบประมาณจะอนุมัติเงินจัดสรรในวงเงินที่กาหนดไว้ ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจาปี ให้สอดคล้องกับ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือตามท่ีสานักงบประมาณ กาหนด โดยหนว่ ยรบั งบประมาณไม่ต้องย่ืนคาขออนุมตั เิ งนิ จัดสรร เม่ือได้รับอนุมัติเงินจัดสรรจากสานักงบประมาณแล้ว สาหรับกรณี ท่ีต้องดาเนินการหรือเบิกจ่ายโดยสานักงานในส่วนภูมิภาค ให้หน่วยรับ งบประมาณเร่งดาเนินการส่งเงินจัดสรรต่อไปยังสานักงานในส่วนภูมิภาค ภายในสบิ ห้าวนั นับแต่วนั ทไ่ี ดร้ บั อนุมัติจดั สรร
การใชจ้ า่ ยงบประมาณ (ระเบียบว่าด้วยบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ขอ้ 25)
ขอ้ ควรรู้ ในกรณที หี่ นว่ ยรับงบประมาณมีความจาเป็นต้องโอนงบประมาณรายจ่าย โอนเงิน จัดสรรหรือเปล่ียนแปลงเงินจัดสรร ให้ดาเนินการเพ่ือแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน เพ่ิมประสิทธิภาพการให้บริการ เพิ่มคุณภาพการให้บริการ พัฒนาบุคลากร พัฒนาเทคโนโลยี จะต้องแสดงเหตุผลความจาเป็นหรือความเหมาะสมได้ โดยคานึงถึงประโยชน์ต่อประชาชน ความประหยัด ความคุ้มค่า ความโปร่งใส รวมทั้งต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนปฏิรูปประเทศ และ เป้าหมายการให้บริการกระทรวง การโอนงบประมาณรายจ่าย หรือการโอนเงินจัดสรรจากแผนงานหน่ึงไปต้ังจ่าย ในแผนงานอื่นให้กระทาได้เฉพาะการโอนระหว่างแผนงานพ้ืนฐาน หรือระหว่าง แผนงานยุทธศาสตร์ หรือระหว่างแผนงานพื้นฐานและแผนงานยุทธศาสตร์ ภายใน หนว่ ยรบั งบประมาณเดยี วกนั โดยให้ขอทาความตกลงกับสานักงบประมาณ การโอนเงินจัดสรร และหรือการเปล่ียนแปลงเงินจัดสรรท่ีได้รับอนุมัติ ให้ขยายเวลาเบิกจา่ ยจากคลงั ให้ขอทาความตกลงกบั สานกั งบประมาณกอ่ น การโอนเงินจัดสรรหรือการเปล่ียนแปลงเงินจัดสรร ตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้ งบประมาณรายจา่ ยการโอนเงินจดั สรรหรือการเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร พ.ศ. 2562
หลกั เกณฑว์ ่าด้วยการใชง้ บประมาณรายจ่าย การโอนเงินจัดสรรหรอื การเปลี่ยนแปลงเงนิ จดั สรร พ.ศ. 2562 มีสาระสาคญั 2 ประการ ไดแ้ ก่ 1. กรณที ่ีตอ้ งขอทาความตกลงกบั สานักงบประมาณ 2. กรณที ไ่ี ม่ตอ้ งขอทาความตกลงกบั สานกั งบประมาณ หลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้งบประมาณรายจ่าย การโอนเงินจัดสรร หรอื การเปลยี่ นแปลงเงินจดั สรร พ.ศ. 2562 สาระสาคัญ ดงั น้ี งบบุคลากรให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่สานักงบประมาณกาหนดว่า เป็นรายจา่ ยในงบรายจา่ ยน้ี และให้ถัวจ่ายกันได้ในงบรายจ่ายเดียวกันและ อยู่ภายใตแ้ ผนงานเดียวกนั กรณีเป็นรายการในงบลงทุน และเอกสารประกอบกฎหมายว่าด้วย งบประมาณรายจ่าย ระบุจานวนเงินนอกงบประมาณสาหรับรายการใด ใหห้ น่วยรบั งบประมาณพิจารณานาเงินนอกงบประมาณตามอานาจหน้าท่ี เพ่ือสมทบกับเงินจัดสรรตามจานวนเงินนอกงบประมาณท่ีระบุสาหรับ รายการน้ัน แต่หากจะใช้เงินนอกงบประมาณสมทบเกินกว่าจานวนเงิน ตามเอกสารงบประมาณให้ขอทาความตกลงกับสานกั งบประมาณก่อน
การเปล่ียนแปลงประเภทงบรายจ่ายเพ่ือให้ถูกต้องตามการจาแนก ป ร ะ เ ภ ท ร า ย จ่ า ย ใ ห้ ก ร ะ ท า ไ ด้ โ ด ย ไ ม่ ต้ อ ง ข อ ท า ค ว า ม ต ก ล ง กั บ สานักงบประมาณ กรณีที่หน่วยรับงบประมาณจะใช้เงินนอกงบประมาณสมทบกับ เงินจัดสรรโดยไม่ขอทาความตกลงกับ สานักงบประมาณ ได้แก่ ค่าใชจ้ า่ ยในการชาระหนเี้ งนิ กู้หรือดอกเบีย้ เงินกู้ ค่าใช้จ่ายตามคาพิพากษา หรือคาสง่ั ของศาล และรายการครุภัณฑ์ท่ีมีวงเงินต่อหน่วยต่ากว่าหนึ่งล้านบาท หรือค่าสิ่งก่อสร้างท่ีมีวงเงินต่อหน่วยต่ากว่าสิบล้านบาท (สมทบได้ ไม่เกินรอ้ ยละสิบ) กรณีมีเงนิ จัดสรรเหลอื จ่ายจากการดาเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์หรือ จากการจัดซื้อจัดจ้างและกรณีที่มีความจาเป็นเพื่อจัดทาผลผลิตหรือ โครงการให้บรรลุเป้าหมายตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย งบประมาณ หนว่ ยรับงบประมาณอาจโอนเงนิ จดั สรรหรอื เปล่ยี นแปลง เงิน จัดสรร ภายใต้แผนงาน ผลผลิต หรือโครงการเดียวกันได้ โดยไม่ต้อง ขออนมุ ัตจิ ากสานกั งบประมาณ ซ่ึงมีเงอ่ื นไข ดงั นี้ มใิ ช่การโอนเงนิ จัดสรรหรอื เปล่ียนแปลงเงินจัดสรรจากรายจ่าย ในงบบคุ ลากร มิใช่รายการจัดหาครุภัณฑ์ยานพาหนะ รายการค่าครุภัณฑ์ที่มี วงเงินต่อหน่วยตั้งแตห่ นึง่ ล้านบาทขน้ึ ไปหรือรายการคา่ ทีด่ ิน ค่าสิ่งก่อสร้าง ที่มีวงเงินต่อหน่วยต้ังแต่สิบล้านบาทขึ้นไป หรือรายการผูกพัน ขา้ มปงี บประมาณ หรอื เป็นค่าใชจ้ ่ายในการเดนิ ทางไปราชการต่างประเทศ ช่ัวคราวท่ีไม่ได้กาหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย งบประมาณ
การอนุญาตให้หน่วยรับงบประมาณใช้เงินนอกงบประมาณสมทบ งบประมาณงบบุคลากรเพ่ือเป็นค่าใช้จ่ายในงบบุคลากร และงบดาเนิน กรณีเป็นค่าใช้จ่ายสาหรับอัตราบุคลากรใหม่ไม่ถือว่า การใช้เงินนอก งบประมาณสมทบนั้น เป็นข้อผูกพันว่า สานักงบประมาณได้ให้ ความเห็นชอบหรือความยนิ ยอมทจ่ี ะจดั สรรงบประมาณสาหรบั อตั ราตง้ั ใหมต่ อ่ ไป กรณีการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณ รายจ่ายบุคลากรจะใช้ตาม ระเบียบว่าด้วยการโอน งบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่าย บุคลากรระหวา่ งหนว่ ยรบั งบประมาณ พ.ศ. 2562
ระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและ งบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยจะกล่าวถึงมาตราที่สาคญั ดังน้ี (ระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณ รายจา่ ยบคุ ลากรระหว่างหน่วยรบั งบประมาณ พ.ศ. 2562 ข้อ 5) งบประมาณรายจ่ายบูรณาการหรืองบประมาณรายจ่ายบุคลากร ที่ต้ังไว้สาหรับหน่วยรับงบประมาณใด จะโอนไปต้ังเป็นงบประมาณ รายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณอ่ืนภายใต้แผนงานบูรณาการเดียวกัน ห รื อ ภ า ย ใ ต้ แ ผ น ง า น บุ ค ล า ก ร ภ า ค รั ฐ ไ ด้ เ ฉ พ า ะ ใ น ก ร ณี ท่ี ห น่ ว ย รั บ งบประมาณใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันไม่เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและ แผนการใชจ้ า่ ยงบประมาณทไี่ ด้รบั ความเห็นชอบจากสานกั งบประมาณ (ระเบียบว่าด้วยการโอน งบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่าง หน่วยรบั งบประมาณ พ.ศ. 2562 ข้อ 8 และ ขอ้ 10) กรณีงบประมาณที่ใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันไม่เป็นไปตาม แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หากหน่วยงาน เจ้าภาพเห็นควรให้หน่วยรับงบประมาณระงับการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อนางบประมาณโอนให้หน่วยงานอื่น ให้หน่วยงานเจ้าภาพเสนอ ผูม้ อี านาจกากบั แผนงานบรู ณาการพิจารณา กรณีเป็นงบประมาณเหลือจ่าย หากหน่วยงานเจ้าภาพพิจารณา เห็ นควรให้ หน่ วยรั บงบประมาณใช้ จ่ ายงบประมาณเหลื อจ่ ายดั งกล่ าว
ให้หน่วยรับงบประมาณเสนอสานักงบประมาณเพื่อพิจารณาอนุมัติโอน หรือเปล่ียนแปลงงบประมาณตอ่ ไป หนว่ ยรับงบประมาณใดท่ีมีความจาเป็นต้องขอรับโอนงบประมาณ รายจ่ายบูรณาการจากหน่วยรับงบประมาณอ่ืน เพื่อดาเนินการ ตามแผนบูรณาการที่ไม่ก่อให้เกิดรายการก่อหน้ีผูกพันข้ามปีงบประมาณ ให้ยื่นคาขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อผู้มีอานาจกากับแผนงาน บรู ณาการโดยให้เสนอไปยงั หนว่ ยงานเจ้าภาพ (ระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณ รายจา่ ยบคุ ลากรระหวา่ งหน่วยรับงบประมาณ พ.ศ. 2562 ข้อ 13) การโอนงบประมาณรายจ่ายบุคลากร ภายหลังสิ้นเดือน พฤษภาคม ให้สานักงบประมาณและหน่วยรับงบประมาณร่วมกัน ตรวจสอบผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ หากปรากฏว่า มีงบประมาณรายจ่ายบุคลากรในกรณีที่หน่วยรับงบประมาณใช้จ่ายหรือ ก่ อ ห น้ี ผู ก พั น ไ ม่ เ ป็ น ไ ป ต า ม แ ผ น ก า ร ป ฏิ บั ติ ง า น แ ล ะ แ ผ น ก า ร ใ ช้ จ่ า ย งบประมาณทไี่ ด้รับความเห็นชอบจากสานกั งบประมาณ สานักงบประมาณอาจปรับลดเงินจัดสรรหรือปรับลดงบประมาณ รายจ่ายที่ยังมิได้อนุมัติเงินจัดสรรเพื่อโอนให้หน่วยรับงบประมาณอื่น ท่ีได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายแผนงานบุคลากรภาครัฐไม่เพียงพอ ต่อไป หน่วยรับงบประมาณใดท่ีมีความจาเป็นต้องขอรับโอนงบประมาณ รา ยจ่ าย บุ ค ลา ก รจ าก หน่ ว ย รั บง บป ระ มา ณอ่ื น ให้ ย่ื น ค า ข อ ต่อสานักงบประมาณพร้อมท้ังช้ีแจงเหตุผล ความจาเป็นและรายละเอียด ค่าใช้จ่ายตามแบบที่สานักงบประมาณกาหนด ท้ังนี้ การยื่นคาขอรับ การจดั สรรงบประมาณให้กระทาไดเ้ ม่ือส้นิ ไตรมาสที่สามของปงี บประมาณแล้ว
การใชง้ บประมาณรายจา่ ยประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพรางกอ่ น สานักงบประมาณมีอานาจจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้หน่วยรับ งบประมาณใช้จ่ายหรือก่อหน้ีผูกพันภายใต้กรอบวงเงินของแผนงานและ รายการตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ดังนี้ งบประมาณรายจ่ายบุคลากร จัดสรรให้ได้ไม่เกินกึ่งหนึ่ง ของแต่ละแผนงานบคุ ลากรภาครัฐทต่ี ้ังไวส้ าหรบั หนว่ ยรบั งบประมาณนน้ั งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ จัดสรรให้ได้ ไม่เกนิ ก่ึงหนึ่งของแต่ละแผนงาน ท่ตี งั้ ไวส้ าหรบั หน่วยรับงบประมาณน้นั งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ จัดสรรให้ได้ไม่เกินก่ึงหน่ึง ของงบประมาณรายจ่ายแต่ละแผนงานบูรณาการ ท่ีตั้งไว้สาหรับหน่วยรับ งบประมาณน้ัน งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชาระหนี้ภาครัฐ จัดสรรให้ได้ ไม่เกินก่ึงหน่ึงของงบประมาณรายจ่ายแผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ทีต่ ้ังไว้สาหรบั หน่วยรบั งบประมาณนน้ั งบประมาณรายจ่ายงบกลาง จัดสรรให้ได้ไม่เกินกึ่งหนึ่ง ของงบประมาณรายจ่ายงบกลางแตล่ ะรายการ งบประมาณรายจ่ายสาหรับทุนหมุนเวียน จัดสรรให้ได้ไม่เกิน กึ่งหน่ึงของงบประมาณรายจ่ายท่ีต้ังไว้สาหรบั กองทนุ หรือทนุ หมนุ เวยี นนน้ั
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111