ก ปญั หาและเฉลยข้อสอบ นักธรรมชน้ั ตรี - โท - เอก พ.ศ. ๒๕๖๓ สาํ นักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
ข ปญั หาและเฉลยขอ้ สอบ นักธรรมช้ันตรี - โท - เอก พ.ศ. ๒๕๖๓ สาํ นกั งานแมก่ องธรรมสนามหลวง เลขที่ ๒๘๗ อาคารหอสมดุ มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั หนา้ วัดบวรนิเวศวหิ าร ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรงุ เทพมหานคร ๑๐๒๐๐ โทร. ๐ ๒๖๒๙ ๔๓๐๐, ๐ ๒๖๒๙ ๐๙๖๑-๒ โทรสาร. ๐ ๒๖๒๙ ๒๑๔๒ Website : www.gongtham.net Email :[email protected] Line : @gongtham
ค เร่ือง ปัญหาและเฉลยข้อสอบนักธรรมชั้นตรี-โท-เอก พ.ศ. ๒๕๖๓ พมิ พค์ ร้ังแรก : วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ จํานวน : ๑,๐๐๐ เล่ม จัดพมิ พ์ : สํานักงานแม่กองธรรมสนามหลวง เลขท่ี ๒๘๗ อาคารหอสมุดมหามกุฏราชวทิ ยาลัย หน้าวดั บวรนิเวศวิหาร ถนนพระสเุ มรุ แขวงบวรนเิ วศ เขตพระนคร กรงุ เทพมหานคร ๑๐๒๐๐ โทร. ๐ ๒๖๒๙ ๔๓๐๐, ๐ ๒๖๒๙ ๐๙๖๑-๒ โทรสาร. ๐-๒๖๒๙-๒๑๔๒ ทีป่ รกึ ษา สมเด็จพระวนั รตั วัดบวรนิเวศวหิ าร สมเดจ็ พระมหาวีรวงศ์ วดั ราชบพิธสถติ มหาสมี าราม ตรวจต้นฉบับและพิสจู น์อักษร : พระเทพเจตยิ าจารย์ วดั โสมนสั วิหาร พระราชสารสุธี วดั ตรีทศเทพ พระสุธีรตั นาภรณ์ วัดสุทัศนเทพวราราม พระมงคลเมธาวฒั น์ วัดนรนาถสุนทรกิ าราม พมิ พ์ / รปู เล่ม: พระราชมงคลเมธี วดั สมั พนั ธวงศ์ พระครูพพิ ธิ วรกจิ จาทร วัดระฆังโฆสติ าราม พมิ พ์ที่ โรงพิมพม์ หามกุฏราชวทิ ยาลัย ตัง้ อย่เู ลขที่ ๑๒๙ หมู่ ๓ ถนนศาลายา-นครชยั ศรี ตาํ บลศาลายา อําเภอพทุ ธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๐๐-๒๓๗๓-๔
ง คาํ ปราศรัยแม่กองธรรมสนามหลวง วนั เปิดสอบธรรมสนามหลวงนักธรรมชน้ั ตรี พุทธศักราช ๒๕๖๓ วันท่ี ๒๖ กนั ยายน ๒๕๖๓ ทา่ นผูเ้ ป็นประธานกรรมการ และนักเรยี นผสู้ อบธรรมสนามหลวงทัง้ หลาย วันนี้เป็นวันเปิดสอบธรรมสนามหลวง นักธรรมช้ันตรี ประจําปี การศึกษา ๒๕๖๓ พร้อมกันท่ัวราชอาณาจักร โอกาสนี้ขอปรารภกับท่าน ทัง้ หลายตามสมควร นบั จากโบราณกาลมา มารดาบิดาหรือปู่ย่าตายายมักจะสนับสนุน ให้บุตรหลานของตนได้บรรพชาอุปสมบท ด้วยความคาดหวังจะเป็นโอกาส อีกทางหนึ่งให้ได้ศึกษามีความรู้เข้าใจในพระธรรมคําสอน นําไปประพฤติ ปฏบิ ัตใิ ห้เปน็ ผูส้ มบูรณด์ ว้ ยวิชาและจรณะ พฤติกรรมของพระภิกษุสามเณรส่วนใหญ่ เป็นไปในทางพัฒนา มากข้ึน เม่ือเปรียบเทียบกับพฤติกรรมก่อนบวช อีกทั้งบางรูปยังสามารถ นําพระธรรมคําสอนไปถ่ายทอดเผยแผ่ต่อญาติพ่ีน้องและประชาชนท่ัวไป ให้เปน็ คนดมี ศี ลี ธรรม อาํ นวยคณุ ประโยชนต์ อ่ ประเทศชาตบิ ้านเมอื งมใิ ชน่ ้อย
จ การท่ีท่านท้ังหลายได้เข้ามาบวชในพระศาสนา ตั้งใจศึกษาตาม สติกําลังของตนและความเอาใจใส่ของแต่ละสํานักนี้ จึงเป็นส่ิงสําคัญยิ่ง เพ่ือยังการศึกษาพระปริยัติธรรมให้เจริญกว้างไกลและท่ัวถึงมากยิ่งข้ึน พระพุทธศาสนาก็จกั เจริญม่ันคงสถาพร ท่านท้ังหลายส่วนใหญ่คงจะได้ลาสิกขาไปถือครองเพศคฤหัสถ์ ดงั นนั้ อย่าได้ทอดทิง้ คําสอนทีไ่ ด้เล่าเรยี นมา ขอให้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ และนําธรรมไปปฏิบัติให้สมควรแก่ภาวะของตน ยิ่งความบีบคั้นของสังคม และเศรษฐกจิ มมี ากเพยี งใด พระธรรมยิ่งมีคุณค่ามากข้ึนเพียงนั้น ธรรมย่อม ค้มุ ครองผู้ประพฤตแิ ละอาํ นวยประโยชนส์ ขุ เก้ือกลู ขออนุโมทนาขอบคุณ ต่อท่านประธานอํานวยการ กรรมการ กํากับห้องสอบและผู้มีส่วนเก่ียวข้องทุกฝ่าย ที่ได้ช่วยกันสนับสนุนการเรียน การสอนพระธรรมวินัยและได้ช่วยกันจัดสอบธรรมสนามหลวงด้วยความ บรสิ ุทธ์ิยุตธิ รรมในครั้งน้ี ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยและกุศลกรรม ท่ีท่านท้ังหลายได้ต้ังใจบําเพ็ญมาโดยลําดับ จงประมวลเป็นพลวปัจจัย บันดาลให้ทุกท่านถึงความงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยของสมเด็จ พระผูม้ ีพระภาคเจ้า ประสบความเจรญิ รุ่งเรืองตลอดนิตยกาล เทอญ (สมเด็จพระมหาวรี วงศ์) แมก่ องธรรมสนามหลวง
ฉ คาํ ปราศรยั แม่กองธรรมสนามหลวง วนั เปิดสอบธรรมสนามหลวง นักธรรมชน้ั โทและเอก พทุ ธศักราช ๒๕๖๓ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ท่านผเู้ ป็นประธานกรรมการ และนักเรียนผู้สอบธรรมสนามหลวงทั้งหลาย วันนี้ เป็นวันเปิดสอบธรรมสนามหลวงนักธรรมช้ันโทและเอก ประจําปีการศึกษา ๒๕๖๓ พร้อมกันทั่วราชอาณาจักร โอกาสน้ีขอปรารภ กับทา่ นทัง้ หลายตามสมควร เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ไ ท ย ไ ด้ รั บ ผ ล ก ร ะ ท บ ที่ รุ น แ ร ง จ า ก ส ถ า น ก า ร ณ์ โรคระบาดโควิด ๑๙ โดยมีคนตกงานกระจายไปทั่วประเทศ และกระทบ ต่อครัวเรือนชนชั้นกลางและครัวเรือนท่ียากจนอย่างท่ีไม่เคยมีมาก่อน ในอดีต แม้ว่าการฟ้ืนตัวทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ ปรับตัวดีข้ึน แต่มีความ ไมแ่ น่นอนอยคู่ อ่ นข้างมาก เป็นท่ีน่ายินดีว่า อุบาสกอุบาสิกาถึงจะได้รับความลําบากจาก สถานการณ์นี้ แต่มไิ ด้ละเลยในการอุปถมั ภ์พระภกิ ษุสามเณร ได้ทําหน้าท่ีของ พุทธศาสนิกในส่วนของตนไม่ขาดตกบกพร่อง เราจึงสามารถยังอัตภาพ ให้เปน็ ไปโดยพอสมควร ท่านท้ังหลายท่ีมีความศรัทธาเลื่อมใส ได้เข้ามาบรรพชา อุปสมบทเป็นพระภิกษุสามเณร เป็นศาสนทายาทสืบอายุพระพุทธศาสนา จึงควรจะได้ตระหนักในใจตนให้แน่ชัดว่า เราน้ันจักต้องปฏิบัติเช่นใด
ช ที่จะสามารถตอบแทนคุณความดี ที่อุบาสกอุบาสิกาได้มีแก่ตนและแก่ คณะสงฆไ์ มใ่ หข้ าดตกบกพรอ่ งเชน่ กัน สมเด็จพระสมั มาสมั พทุ ธเจ้าได้ตรัสสอนว่า เมื่อสมณชีพราหมณ์ ได้รับการบํารุงแล้ว ควรทําการตอบแทนด้วยการห้ามปรามจากความชั่ว ให้ตงั้ อยูใ่ นความดี อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ทําส่งิ ทเ่ี คยฟงั แล้วใหแ้ จ่มแจ้ง และบอกทางสวรรค์ให้ การท่ีเราจะปฏิบัติตนเช่นน้ีได้ จะต้องศึกษาให้มากในคําส่ังสอน ด้วยอ่านหรือฟัง พร้อมน้อมนํามาคิดขบเจาะให้เข้าใจ และพัฒนาให้มีขึ้น ทวีเพ่ิมพูน นําไปปฏิบัติเต็มกําลังความสามารถ และนําพระธรรมคําสอน ไปถ่ายทอดเผยแผ่ต่อพุทธศาสนิกชน ให้เป็นคนดีมีศีลธรรมเช่นน้ีแล้ว ท่านท้ังหลายจักได้ทําหน้าที่อย่างสําคัญท่ีจะรักษาพระพุทธศาสนาให้ สถิตมั่นคงสถาพร ทั้งเป็นปัจจัยอันสําคัญที่จะสร้างความสุขความเจริญ แกต่ น อาํ นวยคณุ ประโยชน์ตอ่ สงั คมและประเทศชาติ ขออนุโมทนาขอบคุณต่อท่านประธานอํานวยการ กรรมการ กํากับห้องสอบ และผู้มีส่วนเก่ียวข้องทุกฝ่ายที่ได้ช่วยกันสนับสนุนการเรียน การสอนพระธรรมวินัย และได้ช่วยกันจัดสอบธรรมสนามหลวงด้วยความ บรสิ ทุ ธ์ยิ ุตธิ รรมในคร้งั นี้ ขออานภุ าพแหง่ คณุ พระศรรี ัตนตรัย และกุศลกรรม ท่ีท่านทั้งหลายได้ตั้งใจบําเพ็ญมาโดยลําดับ จงประมวลเป็นพลวปัจจัย บันดาลให้ทุกท่าน ถึงความงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยของสมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้า ประสบความเจรญิ รุ่งเรอื งตลอดนิตยกาล เทอญ (สมเด็จพระมหาวรี วงศ์) แมก่ องธรรมสนามหลวง
ซ วิธีตรวจในสนามหลวง ขอประกาศแกก่ รรมการทั้งหลายทราบทัว่ กนั การตรวจประโยคธรรมและธรรมศึกษาของสนามหลวง ความ ประสงค์เพื่อทราบความรู้ของนักเรียนตามความเป็นจริง เป็นทางให้ผู้ศึกษา เจริญในวิทยาการ และจริยสมบตั สิ ืบอายุพระพุทธศาสนาตอ่ ไป ปัญหาท่ีออกสอบ สนามหลวงแผนกธรรมได้รวบรวมขึ้นจากข้อสอบ ของพระกรรมการหลายรูปมีกรรมการตรวจพิเศษคัดเลือกอีกชั้นหน่ึง ถาม ความจาํ บ้างความเขา้ ใจบ้าง ความคิดบ้าง การตรวจต้องถือแนวน้ีเป็นเกณฑ์ ตรวจคําถามท่ีถามความจําต้องตอบให้ตรงตามแบบ และอาจเหมือนกันได้ หมดทุกคนท่ถี ามความเข้าใจในทางท่ถี กู มีไดอ้ ยา่ งเดยี ว แต่โวหารอาจต่างกัน ท่ีถามความคิดเหตุผลย่อมมีได้คนละอย่างตามความคิดของแต่ละคน น้ีเป็น ประมาณในการตอบ คําตอบนนั้ เป็นเพยี งแนวทางให้กรรมการได้ถือเป็นเกณฑ์ ในการตรวจ ได้สะดวกเป็นเพียงมติหน่ึงที่อาศัยหลักเป็นสําคัญ จะเกณฑ์ให้ นักเรียนตอบตรงกันทุกข้อคงเป็นไปไม่ได้ เว้นไว้แต่ใจความสําคัญเท่าน้ัน ส่วนข้อสอบ ของธรรมศึกษาทุกช้ัน เว้นเรียงความแก้กระทู้ธรรม ปัญหาท่ี ออกสอบเป็นแบบปรนัย คือเลือกคําตอบที่ออกมาแล้วในแต่ละข้อแต่ต้อง เป็นคําตอบท่ีถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ ซ่ึงมีท่ีถูกท่ีสุดเพียงข้อละคําตอบเดียว
ฌ นักเรยี นจะตอ้ งเลอื กตอบขอ้ ท่ถี ูกเทา่ น้ัน เลือกตอบผิดเป็นไม่ได้คะแนน เป็น การถามทัง้ ความรู้ ความเขา้ ใจ ความจํา และความคิดไปในตัวดว้ ย การตรวจก็เพ่ือจะรู้ว่านักเรียนมีความรู้หลักธรรมวินัย ควรแก่การ ดํารงพระศาสนาหรือไม่ ควรได้เป็นได้ ควรตกเป็นตก อย่างนี้เป็นทางเจริญ วทิ ยาการของผ้ศู กึ ษาตอ่ ไป ผู้ตรวจพึงต้ังใจอยู่ในมัชฌัตตุเบกขาวางตนเป็นกลาง ถือความจริง เปน็ หลักถกู วา่ ตามถกู ผดิ ว่าตามผดิ ไมค่ วรถอื อคติอนั ทําให้เสียความเที่ยงธรรม ม่งุ ทํากิจพระศาสนาสงเคราะหก์ ลุ บตุ รให้ได้ความเสมอภาคท่วั หนา้ กนั ท่านท้ังหลายได้รับอาราธนามาให้เป็นกรรมการนั้น คือเป็นผู้ท่ี สนามหลวงเห็นแล้วว่าทรงคุณธรรม ควรแก่ฐานะสมควรจะยกย่องให้เป็น ผู้ตรวจความรู้ของนักเรียนได้ ขอท่านจงเคารพต่อความเป็นธรรมเพ่ือความ เสมอภาคแก่นักเรียนทง้ั หลาย ถ้าคณะกรรมการกองใดหรอื ผู้ใดมมี ติไม่ลงกัน หรือขัดข้องอย่างใด หากตกลงกันไม่ได้ ให้หารือประธานในที่นั้นให้ท่าน ชขี้ าด และพึงปฏบิ ัติตามโดยธรรม อนึ่ง นักเรียนบางคนบางสํานักอยากได้จนเกินพอดี ถึงกับทําผิด ระเบียบของสนามหลวง ลืมคิดถึงตนว่าเรียนธรรมสอบธรรมเป็นนักธรรม ขอให้กรรมการท้ังหลายช่วยสอดส่องตรวจตรากํากับไปด้วย ลักษณะของ ใบตอบที่ส่อทุจริต ดังน้ี ๑. ฉบับเดียวกันลายมือไม่เหมือนกัน หรือวันต้นอย่างหนึ่ง วนั หลังอยา่ งหน่ึงซ่ึงสอ่ ว่าเป็นคนละคนเหลา่ นีแ้ ปลว่าคนอืน่ ทาํ ให้ ๒. คําตอบที่ต้องเรียงคําพูดมากๆ เหมือนกับฉบับอื่นอันส่อว่า ไมใ่ ช่ความจําความรอู้ นั เปน็ สํานวนของตนน้ี แปลว่าดูคําตอบของคนอื่นหรือ ใหค้ นอ่นื ดูคาํ ตอบ
ญ ๓. ตอบโดยทํานองอย่างเขียนคําบอกเหมือนกันจริงๆ เช่น ผิดเหมือนกันถูกเหมือนกัน แก้เหมือนกันขีดฆ่าเหมือนกัน ตกข้อความ เหมอื นกัน นแี้ สดงว่า มผี บู้ อกใหต้ อบ ๔. ถ้าเหน็ วา่ ทจุ ริตอยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ จงลงเลข ๐ นําเสนอประธาน กรรมการเก็บรวบรวมไวก้ บั ใบตอบคนเดยี วกนั เพ่อื เปน็ หลักฐาน
ฎ วิธตี รวจประโยคธรรมสนามหลวง ๑. วิธีตรวจนี้เป็นวิธีตรวจให้คะแนน คะแนนเต็มแต่ละข้อมี ๑๐ คะแนน ๒. การจะตรวจให้คะแนนเต็มหรือไม่ ให้กรรมการพิจารณาเห็น ตามสมควรถ้าไมถ่ กู เลยใหล้ งเลข ๐ ๓. ข้อใหญ่ที่มีข้อย่อยให้ลงคะแนนที่ข้อย่อยแต่ละข้อ แล้วรวม คะแนนไว้ท่ีเลขหัวข้อใหญ่น้ันๆ เมื่อตรวจข้อย่อยครบในแต่ละข้อย่อยใหญ่ ให้รวมคะแนนไว้คราวหนึ่ง แล้วเขียนเลขจํานวนคะแนนท่ีได้เฉพาะข้อน้ันๆ ไวท้ ่เี ลขหวั ขอ้ ของข้อนน้ั ๆ ๔. เมื่อตรวจครบทั้ง ๑๐ ข้อแล้วให้รวมคะแนนทั้งหมด (๑๐ ข้อ) แลว้ เขียนไวท้ ม่ี ุมขวาดา้ นบนทกุ ฉบบั ๕. ตรวจเสร็จแล้วให้ลงชื่อกํากับไว้ท่ีมุมซ้ายมือด้านบนทุกฉบับ และฉบับแรกของแต่ละปึกให้ลงชือ่ โดยเขียนตวั บรรจงทุกปกึ ๖. เฉพาะใบตอบของธรรมศึกษาทุกชั้น เว้นกระทู้ ข้อสอบแต่ละ วิชา มี ๕๐ ข้อๆ ละ ๒ คะแนน ให้ตรวจไปตามใบตอบฉบับที่ตอบไว้ ใหต้ รวจแตล่ ะฉบบั แลว้ ใหน้ บั ข้อรวมคะแนนและปฏบิ ัติเช่นเดยี วกับข้อ ๕ ๗. ในกรณีท่ีนักเรียนธรรมศึกษากากบาทลงในช่องคําตอบในข้อ เดียวกันหลายคําตอบ ถือว่าข้อน้ันๆ เป็นผิดไม่ได้คะแนน หากมีรอยขูดลบ ขีดฆ่าไว้แต่พอเป็นหลักฐานให้ทราบว่านักเรียนตกลงใจตอบคําตอบ ในข้อไหนไดก้ ็ใหต้ รวจไปตามน้ัน ๘. การตรวจให้ใช้กรรมการ ๒ รูป เม่ือกรรมการรูปท่ี ๑ ตรวจ เสร็จแล้ว ให้กรรมการรูปที่ ๒ ตรวจซํ้า ถ้าเห็นไม่ร่วมกันให้ตกลงแก้ไข เปล่ียนแปลงได้ถ้าเห็นร่วมกันก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้ว ให้ลงนาม กํากับไวท้ กุ ฉบบั โดยปฏิบัติเชน่ เดยี วกับกรรมการรูปที่ ๑
ฏ การให้คะแนน ๑. การให้คะแนนนกั ธรรมและธรรมศึกษาทุกช้นั มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ ๑.๑ สําหรับประโยคนักธรรมทุกชั้นให้ถือ ๔๐๐ คะแนน เป็น เกณฑ์ วิชาทุกวิชาให้คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน เม่ือรวมคะแนนของทั้ง ๔ วิชาแล้ว ต้องได้คะแนนไม่ต่ํากว่า ๒๘๐ คะแนน ถือว่าสอบได้ ต่ํากว่า ๒๘๐ คะแนน ถอื ว่าสอบตก ๑.๒ สําหรับธรรมศึกษาทุกชั้นให้ถือ ๔๐๐ คะแนน เป็นเกณฑ์ วชิ าทกุ วชิ าใหค้ ะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน เมื่อรวมคะแนนของท้ัง ๔ วิชาแล้ว ต้องได้คะแนนไม่ต่ํากว่า ๒๐๐ คะแนน ถือว่าสอบได้ ต่ํากว่า ๒๐๐ คะแนน ถอื วา่ สอบตก ๑.๓ นักธรรมและธรรมศึกษาทุกชั้น เม่ือตรวจดูคะแนนของ แต่ละวิชาท่ีได้แล้วหากมีวิชาใดวิชาหน่ึงได้คะแนนตํ่ากว่า ๒๕ คะแนน แม้จะรวมครบทุกวิชาแล้วได้เกินกว่าเกณฑ์ที่กําหนดก็ตาม ถือว่าการสอบ ครัง้ นเ้ี ป็นการสอบตกดว้ ย ๒. ผู้สอบนักธรรมและธรรมศึกษาทุกชั้น ต้องสอบทั้ง ๔ วิชา ถ้าขาดสอบ วชิ าใดวิชาหนึ่ง สนามหลวงแผนกธรรมไมร่ ับพิจารณา ให้อย่ใู นเกณฑส์ อบตก ๓. การตอบสับข้อให้หักคะแนนเสีย ๒ คะแนนเช่นเดิม คือแทนที่จะ ได้ ๑๐ คะแนนเต็ม ก็ให้เพียง ๘ คะแนนเท่าน้ัน หากตอบไม่หมดข้อคงให้ คะแนนไม่เต็มข้อเท่ากับการตอบ ถ้าผู้ตรวจเห็นว่าฉบับใดผิดมาก ไม่ได้ แมแ้ ตค่ ะแนนเดียว ก็ให้ลง ๐ ไวด้ ้วย ๔. วิชาที่ตอบต้องได้คะแนนทุกวิชา จึงจะยอมรับรวมคะแนนให้ หากเกิดวิชาใดวิชาหน่ึงไม่ได้คะแนนแม้แต่คะแนนเดียว หรือได้ตํ่ากว่า ๒๕ คะแนน ก็ห้ามรวมคะแนนปรับเปน็ ตก แมร้ วมทกุ วิชาแล้วจะได้คะแนนสูงถึง เกณฑ์ ทก่ี าํ หนดไว้ก็ตาม
ฐ แนวตรวจกระท้ธู รรม สําหรับกรรมการพจิ ารณาให้คะแนน ๑. แตง่ ไดต้ ามกําหนด ๒. อา้ งกระทไู้ ดต้ ามกฎ ๓. เชอ่ื มกระทู้ได้ดี ๔. อธิบายความสมกับกระทู้ที่ไดต้ ้ังไว้ ๕. ใช้สํานวนสุภาพเรียบรอ้ ย ๖. ใชต้ ัวสะกดการันตถ์ ูกเป็นสว่ นมาก ๗. สะอาดไม่เปรอะเปอ้ื น ขอให้กรรมการสนามหลวงแผนกธรรมได้ปฏิบัติให้ชอบด้วย ระเบยี บเพอื่ ใหเ้ ป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการสอบทกุ ประการ วิธตี รวจนี้ใหใ้ ช้เฉพาะในการสอบธรรมสนามหลวง สํานักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
๑ ปัญหาและเฉลยขอ้ สอบ นักธรรมชนั้ ตรี - โท - เอก ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ. ๒๕๖๓
๒ ปัญหาวชิ าเรยี งความกระทูธ้ รรม นกั ธรรมชนั้ ตรี สอบในสนามหลวง วันเสาร์ท่ี ๒๖ กันยายน พุทธศกั ราช ๒๕๖๓ ปมาโท มจฺจโุ น ปทํ. ความประมาท เปน็ ทางแห่งความตาย. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔. -------------------- แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล อา้ งสุภาษิตอ่นื มาประกอบด้วย ๑ ข้อ และบอกช่ือคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย สุภาษิตท่ีอ้างมานั้นต้องเรียงเชื่อม ความใหส้ นิทติดต่อสมเร่อื งกบั กระทู้ตั้ง. ชั้นน้ี กาํ หนดใหเ้ ขียนลงในใบตอบ ต้ังแต่ ๒ หน้า (เวน้ บรรทดั ) ขึน้ ไป ใหเ้ วลา ๓ ช่ัวโมง
๓ ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นกั ธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วนั อาทิตย์ท่ี ๒๗ กนั ยายน พุทธศักราช ๒๕๖๓ ๑. สตแิ ปลวา่ อะไร ? เพราะเหตุไรจึงชอ่ื วา่ เป็นธรรมมอี ปุ การะมาก ? ตอบ สติ แปลว่า ความระลกึ ไดฯ้ เพราะอุดหนนุ ให้สําเร็จกิจในทางที่ดฯี ๒. พบงพู ิษแล้วสะดงุ้ กลวั ว่าจะถูกกัด จัดเปน็ โอตตัปปะไดห้ รือไม่ ? เพราะเหตใุ ด ? ตอบ ไมไ่ ดฯ้ เพราะโอตตัปปะ หมายความว่าความเกรงกลัวต่อบาปฯ ๓. พระธรรมคอื อะไร ? มีคุณต่อผ้ปู ฏบิ ัติอยา่ งไร ? ตอบ พระธรรมคือคําส่ังสอนของพระพุทธเจ้าฯ มีคุณ คือยอ่ มรักษาผปู้ ฏิบัติไม่ให้ตกไปในทีช่ ว่ั ฯ
๔ ๔. มลู เหตทุ ที่ าํ ให้บุคคลทําความชัว่ เรยี กว่าอะไร ? มอี ะไรบา้ ง ? ตอบ เรยี กว่า อกศุ ลมูล หมายถึงรากเหง้าของอกุศลฯ มี ๓ คอื ๑. โลภะ อยากได้ ๒. โทสะ คดิ ประทษุ ร้ายเขา ๓. โมหะ หลงไมร่ ู้จรงิ ฯ ๕. ธาตุ ๔ คืออะไรบ้าง ? ฟนั จดั เป็นธาตอุ ะไร ? ตอบ คือ ธาตุดนิ ธาตนุ ํ้า ธาตุไฟ ธาตลุ มฯ เป็นธาตดุ นิ ฯ ๖. ขนั ธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? สังขารขันธ์จัดเป็นรูปหรือนาม ? ตอบ ได้แก่ รูปขนั ธ์ เวทนาขนั ธ์ สัญญาขนั ธ์ สังขารขันธ์ และวญิ ญาณขันธ์ ฯ จัดเปน็ นามฯ ๗. โลกธรรม ๘ คอื อะไรบ้าง? ตอบ คือ มีลาภ ๑ ไม่มีลาภ ๑ มียศ ๑ ไม่มียศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ฯ
๕ คหิ ปิ ฏบิ ัติ ๘. บตุ รธดิ าพงึ ปฏบิ ตั ติ อ่ มารดาบิดาอยา่ งไร ? ตอบ พึงปฏิบตั อิ ยา่ งนี้ ๑. ท่านได้เล้ยี งมาแลว้ เล้ียงท่านตอบ ๒. ทาํ กิจของท่าน ๓. ดํารงวงศ์สกุล ๔. ประพฤติตนใหเ้ ป็นคนควรรบั ทรัพย์มรดก ๕. เมื่อท่านลว่ งลับไปแลว้ ทําบุญอุทศิ ให้ท่านฯ ๙. มติ รแท้ทค่ี วรคบ มกี ่ีประเภท ? อะไรบา้ ง ? ตอบ มี ๔ ประเภทฯ คอื ๑. มิตรมีอุปการะ ๒. มิตรร่วมสุขรว่ มทุกข์ ๓. มิตรแนะประโยชน์ ๔. มิตรมีความรกั ใคร่ฯ ๑๐. ศีลที่คฤหัสถค์ วรรกั ษาเป็นนติ ย์ คือศีลอะไร ? ไดแ้ ก่อะไรบ้าง ? ตอบ คอื ศีล ๕ฯ ได้แก่ ๑. เวน้ จากทาํ ชวี ิตสตั วใ์ ห้ตกล่วงไป ๒. เวน้ จากถือเอาส่ิงของที่เจา้ ของไม่ไดใ้ หด้ ้วยอาการแห่งขโมย ๓. เว้นจากประพฤติผดิ ในกาม ๔. เว้นจากพดู เทจ็ ๕. เวน้ จากดม่ื น้ําเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตง้ั แห่งความ ประมาทฯ ใหเ้ วลา ๓ ช่ัวโมง
๖ ปัญหาและเฉลยวิชาพทุ ธประวัติ นักธรรมชนั้ ตรี สอบในสนามหลวง วนั จนั ทร์ท่ี ๒๘ กันยายน พุทธศกั ราช ๒๕๖๓ ๑. คนในชมพูทวปี แบง่ ออกเปน็ ก่ีวรรณะ ? อะไรบา้ ง ? ตอบ แบง่ เปน็ ๔ วรรณะฯ คือ วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทรฯ ๒. เจ้าชายสทิ ธตั ถะ อบุ ัตขิ นึ้ ในวรรณะใด ? เปน็ ชนชาตใิ ด ? ตอบ วรรณะกษตั ริยฯ์ เปน็ ชนชาติอริยกะฯ ๓. พระพทุ ธเจา้ ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ปรินพิ พาน และถวายพระเพลงิ ในวนั ใด ? ตอบ ประสูตใิ นวนั เพญ็ เดือน ๖ ตรสั รูใ้ นวนั เพญ็ เดอื น ๖ แสดงปฐมเทศนาในวันเพญ็ เดือน ๘ ปรินพิ พานในวนั เพ็ญเดอื น ๖ ถวายพระเพลิงในวันอฏั ฐมีแรม ๘ คา่ํ เดือน ๖ฯ
๗ ๔. อสิตดาบสกลา่ วทาํ นายพระมหาบรุ ษุ วา่ อย่างไร ? ตอบ วา่ มีคติเป็น ๒ คอื ถ้าอย่คู รองฆราวาส จกั ได้เปน็ พระเจา้ จักรพรรดิ ถา้ ออกบวช จกั ได้ตรสั รู้เป็นพระสัมมาสัมพทุ ธเจ้าฯ ๕. เจ้าชายสทิ ธตั ถะทรงปรารภอะไรจงึ เสดจ็ ออกบรรพชา ? ตอบ ทรงปรารภความแก่ ความเจบ็ ความตาย และสมณะ (เทวทตู ๔) ฯ ๖. พระพทุ ธเจา้ ทรงตัดสินพระทยั ว่าจะแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคยี ก์ ่อน เพราะเหตุไร ? ตอบ เพราะทรงระลึกถงึ อุปการคุณของปญั จวัคคยี ์ ว่าไดเ้ ปน็ ผอู้ ุปัฏฐากพระองค์ เมื่อคร้งั ทรงบําเพญ็ ทกุ รกิริยาฯ ๗. สงั เวชนียสถาน ๔ ตําบล เปน็ สถานท่ใี หร้ ะลึกถงึ เหตกุ ารณ์สาํ คญั อะไรบ้าง ? ตอบ เหตกุ ารณ์ท่พี ระพทุ ธองค์ ๑. ประสตู ิ ๒. ตรสั รู้ ๓. ทรงแสดงธรรมจกั กัปปวตั ตนสตู รเป็นครั้งแรก ๔. เสด็จปรินิพพานฯ ๘. ใครถวายบณิ ฑบาตแดพ่ ระพุทธองค์กอ่ นตรสั รู้ และกอ่ น ปรินิพพาน ? ตอบ กอ่ นตรสั รู้ คือนางสชุ าดา ก่อนปรนิ ิพพาน คอื นายจุนทกัมมารบุตรฯ
๘ ศาสนพธิ ี ๙. ปาฏบิ คุ ลิกทานและสงั ฆทาน ตา่ งกันอยา่ งไร ? ตอบ ปาฏบิ ุคลิกทาน คือทานที่ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรปู นี้ สงั ฆทาน คอื ทานท่ถี วายไมเ่ จาะจงรูปใดมอบเปน็ ของกลางใหส้ งฆ์ จัดเฉล่ยี กนั ใช้สอยเองฯ ๑๐. การแสดงความเคารพพระ มกี ีว่ ิธี ? อะไรบา้ ง ? ตอบ มี ๓ วิธฯี คอื ๑. ประนมมอื ในบาลีเรียกว่า ทําอัญชลี ๒. ไหว้ ในบาลีเรยี กว่า นมัสการ ๓. กราบ ในบาลีเรยี กวา่ อภิวาทฯ ให้เวลา ๓ ชวั่ โมง
๙ ปัญหาและเฉลยวิชาวินยั บญั ญตั ิ นกั ธรรมชน้ั ตรี สอบในสนามหลวง วันอังคารท่ี ๒๙ กนั ยายน พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๓ ๑. กจิ ทบ่ี รรพชติ ไมค่ วรทาํ มีก่อี ยา่ ง ? อะไรบา้ ง ? ตอบ มี ๔ อย่างฯ คอื ๑. เสพเมถุน ๒. ลกั ของเขา ๓. ฆ่าสัตว์ ๔. พดู อวดคณุ พิเศษที่ไม่มีในตนฯ ๒. อาบัติคอื อะไร ? วา่ โดยชือ่ มีอะไรบ้าง ? ตอบ อาบัติ คือโทษที่เกิดเพราะความละเมดิ ในข้อทพ่ี ระพุทธเจ้าห้ามฯ มี ๑. ปาราชกิ ๒. สงั ฆาทิเสส ๓. ถลุ ลัจจยั ๔. ปาจติ ตีย์ ๕. ปาฏเิ ทสนียะ ๖. ทกุ กฏ ๗. ทพุ ภาสติ ฯ ๓. สกิ ขาคอื อะไร ? มีอะไรบ้าง ? ตอบ คอื ข้อทภี่ ิกษตุ ้องศึกษาฯ มี ๑. ศีล ความรักษากายวาจาใหเ้ รยี บรอ้ ย ๒. สมาธิ ความรกั ษาใจมนั่ ๓. ปัญญา ความรอบรู้ในกองสงั ขารฯ
๑๐ ๔. ภกิ ษทุ ําคนอน่ื ให้ถงึ แก่ความตาย ตอ้ งอาบัติอะไรหรือไม่ ? ตอบ ถ้าไมจ่ งใจ ไมต่ อ้ งอาบัติ แต่ถา้ จงใจประสงคจ์ ะใหเ้ ขาตาย ต้องอาบัติ ปาราชกิ ฯ ๕. ภกิ ษมุ คี วามกาํ หนดั จับตอ้ งอนปุ สมั บนั ตอ้ งอาบตั อิ ะไร ? ตอบ จบั ต้องอนุปสัมบนั ท่เี ป็นหญิง ตอ้ งอาบตั สิ งั ฆาทิเสส จับต้องอนุปสมั บันทเ่ี ปน็ บัณเฑาะก์ ตอ้ งอาบัติถุลลัจจัย จบั ต้องอนุปสัมบนั ทเี่ ปน็ ชาย ตอ้ งอาบัตทิ กุ กฏฯ ๖. เภสัช ๕ ไดแ้ ก่อะไรบ้าง ? ตอบ ไดแ้ ก่ เนยใส เนยข้น นํา้ มัน นํา้ ผง้ึ น้ําออ้ ยฯ ๗. ภิกษุนาํ เก้าอ้ีของสงฆ์ไปใช้ในที่แจง้ เม่ือหลีกไปจากทนี่ ้นั พงึ ปฏิบตั ิ อยา่ งไร ? ถ้าไม่ปฏบิ ัตอิ ยา่ งนั้น ตอ้ งอาบัติอะไร ? ตอบ พึงเก็บเอง หรอื ใชใ้ ห้ผอู้ ่ืนเกบ็ หรือมอบหมายแกผ่ ู้อ่นื ฯ ตอ้ งอาบัตปิ าจิตตยี ์ฯ ๘. เสขยิ วตั ร คอื อะไร ? ภิกษลุ ะเมดิ ตอ้ งอาบัตอิ ะไร ? ตอบ คอื วตั รท่ีภิกษจุ ะต้องศกึ ษาฯ ต้องอาบตั ิทุกกฏฯ ๙. ในการรบั บิณฑบาต ภกิ ษพุ งึ ปฏิบัตอิ ยา่ งไรจงึ ถกู ตอ้ ง ตามเสขิยวัตร ? จงตอบมาเพียง ๒ ขอ้ ตอบ รบั โดยเคารพแลดูแตใ่ นบาตร รับแกงพอสมควรแกข่ ้าวสุก รับแตพ่ อเสมอขอบปากบาตรฯ (เลือกตอบเพียง ๒ ข้อ)
๑๑ ๑๐. การเถียงกันด้วยเรื่องอะไร จงึ จดั เป็นววิ าทาธิกรณ์ ? ตอบ การเถียงกันวา่ สิ่งน้ีเป็นธรรมเป็นวินยั สงิ่ นไ้ี ม่ใช่ธรรมไมใ่ ช่วนิ ัยฯ ให้เวลา ๓ ช่วั โมง
๑๒ ปัญหาวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมช้ันโท สอบในสนามหลวง วันจนั ทร์ท่ี ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ อคฺคทายี วรทายี เสฏฺฐทายี จ โย นโร ทีฆายุ ยสวา โหติ ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชติ. ผู้ให้ส่ิงที่เลิศ ให้สิ่งท่ีดี ให้สิ่งท่ีประเสริฐ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในภพท่ีตนเกิด. (พทุ ธฺ ) องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๖. ------------------- แต่งอธิบายเป็นทํานองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษิตอ่ืนมาประกอบ ไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ และบอกช่ือคัมภีร์ท่ีมาแห่งสุภาษิตน้ันด้วย ห้ามอ้าง สุภาษิตซ้ําข้อกัน แต่จะซ้ําคัมภีร์ได้ ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียง เชอ่ื มความให้สนิทตดิ ต่อสมเร่ืองกบั กระทู้ตั้ง. ชน้ั น้ี กําหนดให้เขยี นลงในใบตอบ ตัง้ แต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ข้ึนไป. ------------------- ให้เวลา ๓ ชั่วโมง
๑๓ ปัญหาวชิ าธรรม นกั ธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอังคารท่ี ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ๑. สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ม่งุ ผลแหง่ การปฏิบตั ิอย่างไร ? ตอบ สมถกรรมฐานม่งุ ผลคือความสงบใจ วิปสั สนากรรมฐานม่งุ ผลคือความเรืองปญั ญา ฯ ๒. ราคะ โลภะ อิสสา กลน่ิ รส อย่างไหนเป็นกเิ ลสกาม อยา่ งไหนเป็น วัตถุกาม ? ตอบ ราคะ โลภะ อสิ สา เป็นกเิ ลสกาม กล่ิน รส เปน็ วัตถุกาม ฯ ๓. ความตรใิ นฝา่ ยชั่ว เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบา้ ง ? ตอบ เรยี กว่า อกศุ ลวิตก ฯ มี ๑. กามวติ ก ความตริในทางกาม ๒. พยาบาทวติ ก ความตรใิ นทางพยาบาท ๓. วหิ งิ สาวติ ก ความตริในทางเบยี ดเบยี น ฯ
๑๔ ๔. กิเลส กรรม วิบาก ได้ชอ่ื ว่า วัฏฏะ ทแี่ ปลว่าความหมนุ เวยี น อยากทราบวา่ หมนุ เวยี น อยา่ งไร ? ตอบ อยา่ งน้ี คอื กิเลสเกดิ ขน้ึ แลว้ เป็นเหตุให้ทาํ กรรม คร้ันทํากรรมแลว้ ยอ่ มไดร้ บั วบิ ากแหง่ กรรม เม่ือไดร้ บั วิบาก กิเลสเกิดข้ึนอกี วนกนั ไป อยา่ งน้ี ฯ ๕. พระอริยบคุ คล ๔ ไดแ้ กใ่ ครบ้าง ? พระอรยิ บคุ คลประเภทใด ละอวิชชาไดเ้ ด็ดขาด ? ตอบ ไดแ้ ก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ฯ พระอรหันต์ละอวิชชาไดเ้ ด็ดขาด ฯ ๖. มาร ๕ คืออะไรบา้ ง ? ปญั จขนั ธ์ ได้ช่อื ว่าเป็นมารเพราะเหตุไร ? ตอบ คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสงั ขารมาร มจั จมุ าร และ เทวปุตตมาร ฯ เพราะปัญจขนั ธ์นนั้ บางทีทาํ ความลาํ บากให้ อนั เปน็ เหตเุ บ่อื หน่าย จนถงึ ฆ่าตวั ตายเสียเองก็มี ฯ ๗. คนมปี กติรกั สวยรกั งาม จัดเป็นจริตอะไร ? จะพึงแก้ไดด้ ว้ ยการพจิ ารณา กรรมฐานข้อใดได้บ้าง ? ตอบ จัดเป็นราคจริต ฯ จะพึงแกไ้ ดด้ ว้ ยการพจิ ารณากายคตาสติ หรอื อสุภกรรมฐาน ฯ ๘. อนสุ ัย หมายถึงกเิ ลสประเภทใด ? ไดช้ อ่ื เช่นน้ันเพราะเหตไุ ร ? ตอบ หมายถงึ กเิ ลสอยา่ งละเอียดท่นี อนเนอ่ื งอยู่ในสันดาน ฯ เพราะกิเลสชนดิ นี้ บางทไี มป่ รากฏ แต่เมอ่ื มีอารมณ์มาย่ัว ย่อมเกดิ ขึน้ ในทนั ใด ฯ
๑๕ ๙. พระสงฆ์ปฏิบตั ิอยา่ งไร จงึ ไดช้ ื่อวา่ อุชปุ ฏปิ ันโน เป็นผูป้ ฏิบตั ติ รง ? ตอบ คือ ไม่ปฏิบตั ิลวงโลก ไม่มมี ายาสาไถย ประพฤติตรงๆ ตอ่ พระศาสดา และเพ่ือนสาวกด้วยกนั ไม่อาํ พรางความในใจ ไม่มแี ง่มีงอน ฯ ๑๐. ธดุ งค์ ทา่ นบัญญัตไิ วเ้ พือ่ ประโยชน์อะไร ? ภิกษผุ ูถ้ อื บิณฑบาต เป็นวัตรอย่างเครง่ ท่านใหถ้ อื ปฏบิ ตั ิอย่างไร ? ตอบ เพื่อเป็นอุบายขดั เกลากเิ ลส และเป็นไปเพอ่ื ความมักนอ้ ยสันโดษ ฯ อย่างเครง่ เมอ่ื เลกิ บณิ ฑบาต นั่งลงแลว้ แม้มีผูม้ าใส่บาตรอีก ก็ไมร่ ับ ฯ ให้เวลา ๓ ชัว่ โมง
๑๖ ปัญหาวิชาอนุพทุ ธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วนั พธุ ท่ี ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ๑. พุทธบคุ คล มกี ี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? ตอบ มี ๓ ประเภท ฯ คือ ๑. สัมมาสัมพุทธะ ตรัสรู้เองโดยชอบ และสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้ด้วย ๒. ปัจเจกพุทธะ ตรัสรู้เฉพาะตน แต่ไม่สามารถสอนผู้อน่ื ให้รตู้ ามได้ ๓. อนุพุทธะ ตรัสรู้ตาม คือมีพระพุทธเจ้าสั่งสอนจึงรู้ตามได้ และ สามารถสอนผู้อน่ื ให้กระทาํ ตามดว้ ย ฯ ๒. โกณทญั ญพราหมณ์ มเี หตจุ ูงใจอะไร จงึ ได้ออกบวชตามพระมหาบรุ ษุ ? ตอบ เพราะเคยเข้ารว่ มทํานายพระลักษณะของพระมหาบุรุษโดยเช่ือม่ันว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน จึงออกบวชตามด้วยหวังว่า เมือ่ พระมหาบุรษุ ตรสั รูแ้ ล้วจักทรงเทศนาโปรดตนให้รู้ตาม ฯ
๑๗ ๓. พระพุทธองคท์ รงแสดงอนปุ พุ พีกถาแกใ่ ครเป็นคนแรก ? อนุปุพพกี ถานนั้ กล่าวถงึ เร่ืองอะไร ? ตอบ แสดงแก่ยสกุลบตุ รเป็นคนแรก ฯ กล่าวถึงทานการให้ ศีลความรักษากายวาจาให้เรียบร้อย สวรรค์คือ กามคุณอันเลิศท่ีบุคคลจะพึงได้ พึงถึงด้วยกรรมอันดี คือทาน และศีล โทษแหง่ กาม และอานสิ งส์แหง่ ความออกไปจากกาม ฯ ๔. พระชฎลิ ๓ พน่ี ้อง มีช่ือวา่ อะไรบ้าง ? ได้บรรลุพระอรหตั เพราะฟัง พระธรรมเทศนาชอ่ื อะไร ? ตอบ พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกสั สปะ พระคยากัสสปะ ฯ ฟงั อาทิตตปริยายสูตร ฯ ๕. พระพุทธองคท์ รงยกย่องพระสารีบตุ รค่กู ับพระโมคคลั ลานะโดยตรัส อุปมาวา่ อยา่ งไร ? ตอบ ตรัสอุปมาวา่ พระสารบี ตุ ร เปรียบเหมือน มารดาผ้ใู หท้ ารกเกิด พระโมคคัลลานะ เปรยี บเหมือน นางนมผู้เล้ียงทารกนัน้ ทีเ่ กิดแลว้ ฯ ๖. พระสาวกองคใ์ ด เปน็ ผู้มักน้อยสนั โดษอย่างย่ิง ? ท่านทําใจอย่างไร ? ตอบ พระมหากัสสปะ ฯ ทําใจอยา่ งน้ี คอื เม่อื แสวงหาไม่ได้ ก็ไม่สะดงุ้ ตกใจ เม่ือแสวงหาได้แล้ว ก็ไมก่ ําหนดั ยินดีในปัจจยั ๔ นั้น ฯ
๑๘ ๗. พระสาวกผไู้ ด้รบั การอปุ สมบทดว้ ยญัตติจตตุ ถกรรมวาจาเป็นองคแ์ รก คือใคร ? ท่านได้รบั ยกย่องจากพระศาสดาว่าเลิศกว่าภกิ ษุทั้งหลาย อย่างไร ? ตอบ พระราธะ ฯ ได้รับยกยอ่ งว่า เลศิ กว่าภกิ ษุทง้ั หลายผู้มปี ฏิภาณ คือญาณแจม่ แจ้ง ในธรรมเทศนา ฯ ๘. สามเณรรปู แรกในพระพุทธศาสนา คอื ใคร ? ไดบ้ รรลพุ ระอรหัต เพราะฟังธรรมจากใคร ? ตอบ สามเณรราหุล ฯ จากพระสัมมาสมั พุทธเจ้า ฯ ศาสนพธิ ี ๙. จงใหค้ วามหมายของคําต่อไปนี้ การเข้าพรรษา การออกพรรษา ? ตอบ การเข้าพรรษา หมายถึง การท่ีภิกษุผูกใจว่าจะอยู่ ณ ท่ีใดที่หน่ึง ตลอดเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน ไม่ไปค้างแรมให้ล่วงราตรีในท่ีแห่งอ่ืน ระหวา่ งผูกใจนั้นเวน้ แตไ่ ปดว้ ยสตั ตาหกรณียะ ฯ การออกพรรษา หมายถึง กาลที่ส้ินสุดกําหนดอยู่จําพรรษา ของ ภิกษุตามพระวนิ ยั บญั ญัติ มพี ิธเี ปน็ สงั ฆกรรมพเิ ศษโดยเฉพาะ เรียก โดยภาษาพระวินัยว่า ปวารณากรรม คือการทําปวารณาของสงฆ์ผู้อยู่ รว่ มกันตลอดเวลา ๓ เดือน ฯ
๑๙ ๑๐. วันธรรมสวนะ คือวนั อะไร ? ทรงอนุญาตให้มีในวันใดบา้ ง ? ตอบ คือ วนั กําหนดประชมุ ฟังธรรม หรือที่เรียกวา่ “วันพระ” ฯ ในวัน ๘ คํ่า และวัน ๑๔ ค่ํา หรือ ๑๕ คํ่าของปักษ์ท้ังข้างขึ้นและ ข้างแรม ฯ ให้เวลา ๓ ชั่วโมง
๒๐ ปัญหาวิชาวนิ ยั บัญญัติ นกั ธรรมช้ันโท สอบในสนามหลวง วนั พฤหสั บดีที่ ๕ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ๑. อภสิ มาจารคอื อะไร ? ภกิ ษุผ้ไู มเ่ อื้อเฟื้อในอภิสมาจารมโี ทษ อยา่ งไรบา้ ง ? ตอบ คอื ขนบธรรมเนยี มอนั ดงี ามของภิกษุ ฯ มโี ทษปรับอาบัติถุลลัจจัยเปน็ อย่างสูง แต่มีน้อย สว่ นมากปรับอาบตั ิ ทกุ กฏเป็นพืน้ ฯ ๒. บาตรทีท่ รงอนญุ าตมีกี่ชนิด ? อะไรบา้ ง ? ตอบ มี ๒ ชนดิ ฯ คือ ๑. บาตรดินเผา ๒. บาตรเหล็ก ฯ ๓. คําวา่ ถือนิสยั หมายความวา่ อะไร ? ตอบ หมายความวา่ ยอมตนอยู่ในความปกครองของพระเถระผ้มู ีคุณสมบัติ ควรปกครองตนได้ ยอมตนใหท้ ่านปกครองพง่ึ พิงพํานักอาศัยทา่ น ฯ
๒๑ ๔. วตั ถุอนามาส คืออะไร ? ภิกษจุ บั ต้องวตั ถุอนามาสน้ัน ต้องอาบตั ิ อะไรบา้ ง ? ตอบ คอื สงิ่ ทีภ่ ิกษุไมค่ วรจบั ตอ้ ง ฯ ภิกษุจับต้องมาตุคาม เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย และทุกกฏ ตามประโยค จับต้องบัณเฑาะก์ ด้วยความกําหนัด เป็นอาบัติถุลลัจจัย นอกนนั้ เป็นวตั ถุแห่งอาบตั ิทุกกฏท้ังหมด ฯ ๕. วัตรอันภกิ ษคุ วรประพฤตใิ นคําวา่ วัตตสัมปันโน นั้นคอื อะไรบา้ ง ? ตอบ คือ ๑. กิจวตั ร วา่ ดว้ ยกจิ อนั ควรทํา ๒. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ ๓. วิธิวตั ร ว่าดว้ ยแบบอย่าง ฯ ๖. การลุกยืนขึ้นรับ เป็นกิจที่ผู้น้อยพึงทําแก่ผู้ใหญ่ จะปฏิบัติอย่างไร จึงไม่ขัดตอ่ พระวนิ ยั ? ตอบ น่ังอยู่ในสํานักผู้ใหญ่ ไม่ลุกรับผู้น้อยกว่าท่าน นั่งเข้าแถวในบ้าน เขา้ ประชมุ สงฆใ์ นอาราม ไมล่ กุ รับทา่ นผู้ใดผูห้ นึ่ง ฯ ๗. สัตตาหกรณยี ะ คอื อะไร ? มวี ิธีปฏิบตั ิอย่างไร ? ตอบ คือการหลีกไปในระหว่างอยู่จําพรรษาด้วยกรณียธุระและกลับมา ภายใน ๗ วนั ฯ ใหผ้ ูกใจว่าจะกลับมาภายใน ๗ วนั ฯ
๒๒ ๘. กําลงั สวดพระปาฏิโมกขอ์ ยู่ หากมีภิกษอุ ืน่ เขา้ มา จะปฏบิ ตั ิอยา่ งไร ? ตอบ ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ถ้าภิกษุผู้เข้ามาใหม่มากกว่าภิกษุผู้ชุมนุมต้องสวด ตั้งต้นใหม่ ถ้าเท่ากันหรือน้อยกว่า ส่วนท่ีสวดไปแล้วก็ให้เป็นอันสวด แลว้ ให้เธอผู้มาใหมฟ่ ังส่วนที่ยังเหลอื ตอ่ ไป ฯ ๙. อเนสนาไดแ้ ก่อะไร ? มอี ะไรบ้าง ? ตอบ อเนสนาได้แก่ กิริยาแสวงหาเลย้ี งชีพในทางไมส่ มควร ฯ แสดงโดยเค้ามี ๒ อยา่ ง คือ ๑. การแสวงหาเป็นโลกวชั ชะ มโี ทษทางโลก ๒. การแสวงหาเปน็ ปณั ณัตตวิ ชั ชะ มโี ทษทางพระบญั ญัติ ฯ ๑๐. ภณั ฑะของภิกษผุ ู้มรณภาพ จะตกเปน็ ของใคร ? ภิกษผุ อู้ ุปัฏฐาก จะถือเอาดว้ ยวสิ าสะ ไดห้ รอื ไม่ ? จงอธบิ าย ตอบ ตกเปน็ ของสงฆ์ ฯ ไม่ได้ เพราะการจะถือเอาด้วยวิสาสะ ต้องถือเอาในเวลาที่เจ้าของ ภณั ฑะยังมชี วี ติ อยู่ ฯ ใหเ้ วลา ๓ ช่ัวโมง
๒๓ ปัญหาวชิ าเรยี งความแก้กระทู้ธรรม นกั ธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง วันจนั ทร์ท่ี ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ปรสฺส วา อตฺตโน วาปิ เหตุ น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ ปจฺฉาปิ โส สุคติคามิ โหติ. ผูม้ ภี ูมปิ ญั ญา ยอ่ มไม่พดู พล่อยๆ เพราะเหตุแห่งคนอ่นื หรอื ตนเอง ผนู้ ้นั ย่อมมผี ู้บูชาในท่ามกลางชมุ ชน แมภ้ ายหลงั เขาย่อมไปสู่สุคติ. (มโหสธโพธิสตตฺ ) ------------------- ขุ. ชา. วสี ติ. ๒๗/๔๒๗. แต่งอธิบายเป็นทํานองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษิตอ่ืนมาประกอบ ไม่น้อยกว่า ๓ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ท่ีมาแห่งสุภาษิตนั้นด้วยห้ามอ้าง สุภาษิตซ้ําข้อกัน แต่จะซํ้าคัมภีร์ได้ ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้างมาน้ัน ต้องเรียง เช่ือมความให้สนทิ ตดิ ต่อสมเรอื่ งกับกระทตู้ ั้ง. ชัน้ น้ี กําหนดให้เขียนลงในใบตอบ ต้งั แต่ ๔ หน้า (เว้นบรรทดั ) ขึ้นไป. ใหเ้ วลา ๓ ช่ัวโมง
๒๔ ปัญหาวชิ าธรรม นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง วันอังคารท่ี ๓ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ๑. อนิจจตา ความไมเ่ ที่ยงแห่งสังขาร กําหนดรู้ในทางงา่ ยไดด้ ้วย อาการอย่างไร ? ตอบ ดว้ ยความเกิดข้นึ ในเบ้ืองต้น และความสิน้ ในเบอื้ งปลาย ฯ ๒. คาํ ว่า มาร และ บว่ งแห่งมาร หมายถึงอะไร ? ตอบ คําว่า มาร หมายถงึ กิเลสกาม คอื เจตสิกอันเศร้าหมอง ไดแ้ ก่ ตัณหา ราคะ และอรติ เปน็ ต้น คําว่า บ่วงแหง่ มาร หมายถงึ วตั ถุกาม ไดแ้ ก่ รปู เสียง กลิน่ รส และโผฏฐัพพะ ฯ
๒๕ ๓. ไวพจนแ์ หง่ วิราคะ ได้แก่อะไรบา้ ง ? เลือกตอบมา ๕ อย่าง ตอบ ได้แก่ มทนมิ ฺมทโน แปลว่า ธรรมยงั ความเมาใหส้ รา่ ง ปิปาสวินโย แปลว่า ความนําเสยี ซ่งึ ความกระหาย อาลยสมุคฺฆาโต แปลว่า ความถอนข้ึนด้วยดซี ึง่ อาลยั วฏฺฏูปจเฺ ฉโท แปลวา่ ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ ตณหฺ กขฺ โย แปลวา่ ความสิ้นแห่งตัณหา วริ าโค แปลวา่ ความส้นิ กาํ หนดั นโิ รโธ แปลวา่ ความดับ นพิ ฺพานํ แปลวา่ ธรรมชาติหาเคร่ืองเสียบแทงมไิ ด้ ฯ ๔. สันติ ความสงบ หมายถงึ สงบอะไร ? ผมู้ ุ่งสนั ติสุขอย่างแทจ้ ริง ท่านสอนใหล้ ะอะไร ? ตอบ หมายถงึ สงบกาย วาจา ใจ ฯ ท่านสอนให้ละโลกามิส คอื รปู เสียง กลิน่ รส โผฏฐพั พะ อนั น่าปรารถนา นา่ ใคร่ นา่ ชอบใจ ฯ ๕. สอุปาทเิ สสนพิ พาน กับ อนปุ าทเิ สสนพิ พาน ต่างกันอย่างไร ? ตอบ ต่างกัน คือ สอุปาทิเสสนิพพาน เปน็ ความดับกเิ ลสท่ียังมเี บญจขนั ธ์ เหลือ สว่ นอนุปาทเิ สสนิพพาน เป็นความดับกิเลสที่ไมม่ ีเบญจขนั ธเ์ หลือ ฯ ๖. อบาย คอื อะไร ? ในอรรถกถาแจกไวเ้ ปน็ ๔ อย่าง อะไรบา้ ง ? ตอบ คอื โลกทป่ี ราศจากความเจรญิ ฯ
๒๖ มีนิรยะ ติรจั ฉานโยนิ ปติ ตวิ สิ ยะ อสุรกาย ฯ ๗. สติปัฏฐาน ๔ คืออะไรบ้าง ? การกําหนดลมหายใจเข้าออก ชอื่ ว่าเจรญิ สตปิ ฏั ฐาน ขอ้ ไหน ? ตอบ คอื กายานปุ สั สนาสติปฏั ฐาน เวทนานุปสั สนาสติปฏั ฐาน จิตตานปุ สั สนาสติปฏั ฐาน และธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฯ ชอื่ วา่ เจรญิ กายานุปสั สนาสติปฏั ฐาน ฯ ๘. ในพระพุทธคุณ ๙ ประการนนั้ สว่ นไหนเป็นเหตุ ส่วนไหนเปน็ ผล ? เพราะเหตุไร ? ตอบ พระพุทธคณุ ส่วนอตั ตสมบัติ เปน็ เหตุ ส่วนปรหิตปฏบิ ัติ เป็นผล ฯ เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยพระพุทธคุณส่วนอัตตสมบัติก่อนแล้วจึงทรง บาํ เพ็ญพุทธกิจ ให้สาํ เร็จประโยชนแ์ ก่เวไนยสตั ว์ ฯ ๙. วปิ ลั ลาสคืออะไร ? วัตถุท่ีวิปัลลาส มอี ะไรบา้ ง ? ตอบ คอื กิรยิ าท่ถี อื เอาโดยอาการวปิ รติ ผดิ จากความจริง ฯ มี ๔ อยา่ ง คือ ๑. วิปลั ลาสในของท่ไี ม่เท่ยี งวา่ เที่ยง ๒. วปิ ลั ลาสในของทเ่ี ปน็ ทุกขว์ ่าเปน็ สุข ๓. วปิ ัลลาสในของทไี่ มใ่ ช่ตนว่าเปน็ ตน ๔. วปิ ลั ลาสในของทไ่ี ม่งามวา่ งาม ฯ
๒๗ ๑๐. ผ้เู จรญิ มหาสตปิ ัฏฐาน ตอ้ งประกอบด้วยธรรมใดบา้ ง จงึ จะกาํ จดั อภชิ ฌาและโทมนสั ออกได้ ? ตอบ ตอ้ งประกอบด้วยธรรม ๓ คือ ๑. อาตาปี มคี วามเพียรเผากเิ ลสให้เร่ารอ้ น ๒. สัมปชาโน รู้ทัว่ พรอ้ ม ๓. สติมา มสี ติ ฯ ให้เวลา ๓ ช่ัวโมง
๒๘ ปญั หาและเฉลยวิชาพุทธานพุ ุทธประวตั ิ นกั ธรรมช้นั เอก สอบในสนามหลวง วันพธุ ท่ี ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ๑. พุทธานพุ ุทธประวัติ ให้ความรแู้ ก่ผู้ศกึ ษาทางใดบา้ ง ? จงอธบิ าย พอได้ใจความ ตอบ ๑. ทางประวัติศาสตร์ เช่นความเป็นไปของบ้านเมืองในครั้งพุทธกาล และลัทธิธรรมเนียมของประชาชนในสมัยน้นั ๒. ทางจรรยาของพระพุทธเจา้ และจรรยาของเหล่าพระอริยสาวก ๓. ทางธรรมวินัยท่ีปรากฏในตํานานและความเป็นมาแห่งศาสนธรรม พร้อมท้งั ตัวอยา่ งการบํารุงพระพทุ ธศาสนาให้ร่งุ เรอื ง ฯ ๒. อาสยะ และ ปโยคะ ในสตั ตปู การสัมปทา หมายถึงอะไร ? ตอบ อาสยะ หมายถึง ความมีพระหฤทัยเยือกเย็นด้วยความกรุณา ปรารถนาคุณประโยชน์อยู่เป็นนิตย์ แม้ในบุคคลที่ทําผิดต่อพระองค์ มพี ระเทวทัตเป็นตน้ กย็ ังทรงกรุณา ปโยคะ หมายถึง ความมีพระหฤทัยมิได้มุ่งหวังต่ออามิส เทศนา ส่งั สอนสัตว์ ด้วยข้อปฏบิ ัติ คือ ศีล สมาธิ ปญั ญา ฯ
๒๙ ๓. หลงั จากตรัสรแู้ ล้ว ขณะพิจารณาปฏิจจสมปุ บาท พระพทุ ธเจา้ ทรงเปล่งอุทาน ในยามสดุ ท้ายวา่ อย่างไร ? ตอบ ทรงเปล่งอุทานว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นพราหมณ์น้ัน ย่อมกําจัดมารและเสนามาร เสียได้ ดุจพระอาทติ ยอ์ ทุ ยั กาํ จัดมดื ใหส้ วา่ งฉะน้ัน ฯ ๔. โอวาทปาฏิโมกข์ทรงแสดงท่ีไหน ? มใี จความยอ่ วา่ อยา่ งไร ? ตอบ ทว่ี ัดเวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์ ฯ ใจความยอ่ วา่ ไม่ทาํ บาปทัง้ ปวง ทาํ กุศลให้ถึงพร้อม ทําใจให้บรสิ ุทธ์ิ ฯ ๕. พระอัสสชิแสดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชกมีความวา่ อย่างไร ? และมีผลอย่างไร ? ตอบ มีความวา่ ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุของธรรมนั้น และความดบั แหง่ ธรรมน้นั พระศาสดาทรงสอนอยา่ งน้ี ฯ มีผล คอื อุปตสิ สปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหน่ึงมีความ เกดิ ขนึ้ เปน็ ธรรมดา ส่งิ นั้นท้ังหมดมคี วามดบั เปน็ ธรรมดา ฯ ๖. ธรรมุเทศ ๔ ขอ้ ทพ่ี ระรัฐบาลแสดงแกพ่ ระเจา้ โกรัพยะ มใี จความว่า อย่างไรบ้าง ? ตอบ วา่ ๑. โลกคือหมูส่ ตั ว์ อันชราเป็นผู้นํา นําเข้าไปใกล้ ไม่ยั่งยืน ๒. โลกคือหมู่สตั ว์ ไม่มีผปู้ ้องกัน ไม่เป็นใหญจ่ ําเพาะตน ๓. โลกคือหมูส่ ัตว์ ไม่มีอะไรเปน็ ของตน จําต้องละทง้ิ สิ่งทั้ง ปวงไป ๔. โลกคอื หมู่สัตว์ พร่องอยู่เปน็ นิตย์ ไม่รจู้ ักอ่ิม เป็นทาสแหง่ ตัณหา ฯ
๓๐ ๗. พระพทุ ธโอวาท ๓ ขอ้ ท่ที รงประทานแก่พระมหากสั สปะ ว่าอย่างไรบา้ ง ? ตอบ พระโอวาท ๓ ขอ้ วา่ ดังนี้ ๑. กัสสปะ ท่านพึงศึกษาว่าเราจักเข้าไปตั้งความละอายและความ ยําเกรงไว้ในภิกษุทั้งท่ีเป็นผู้เฒ่า ท้ังที่เป็นผู้ใหม่ ท้ังท่ีเป็นปาน กลางอย่างแรงกลา้ ๒. เราจักฟังธรรมอันใดอันหนึ่งซ่ึงประกอบด้วยกุศล เราจักเง่ียโสต ฟงั ธรรมนน้ั พิจารณาเนอ้ื ความ ๓. เราจกั ไม่ละสติเป็นไปในกาย คอื พิจารณากายเป็นอารมณ์ ฯ ๘. พระอานนทพ์ ทุ ธอปุ ัฏฐากไดร้ ับยกย่องจากพระศาสดาวา่ เลศิ กวา่ ภิกษทุ ง้ั หลาย ด้วยคุณสมบัติอะไรบา้ ง ? ตอบ ด้วยคณุ สมบตั ิ ๕ ประการ คอื ๑. เป็นพหสู ูต ๒. มีสติ ๓. มคี ติ ๔. มธี ติ ิ ๕. เปน็ พุทธอปุ ฏั ฐาก ฯ
๓๑ ๙. ภิกษุณีผมู้ ชี ่อื ตอ่ ไปน้ไี ดร้ บั เอตทคั คะในทางไหน ? ก. พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี ข. พระนางเขมาเถรี ค. พระนางอุบลวณั ณาเถรี ง. พระนางปฏาจาราเถรี จ. พระนางธมั มทนิ นาเถรี ฯ ตอบ ก. ได้รบั เอตทัคคะในทางรัตตญั ญู ข. ไดร้ บั เอตทคั คะในทางมีปญั ญา ค. ไดร้ ับเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์ ง. ได้รับเอตทัคคะในทางทรงวนิ ัย จ. ไดร้ ับเอตทัคคะในทางธรรมกถกึ ฯ ๑๐. การทําสงั คายนาครงั้ แรก ใครทําหนา้ ท่ีปจุ ฉาและวสิ ชั นา ? และทําทไ่ี หน ? ตอบ พระมหากัสสปะทาํ หน้าทป่ี จุ ฉา พระอบุ าลที ําหน้าท่วี สิ ชั นาพระวินัย พระอานนท์ทําหนา้ ทว่ี สิ ัชนาพระสูตรและพระอภธิ รรม ฯ ณ ถา้ํ สตั ตบรรณคหู า ฯ ให้เวลา ๓ ช่วั โมง
๓๒ ปัญหาและเฉลยวิชาวนิ ยั บัญญตั ิ นกั ธรรมช้นั เอก สอบในสนามหลวง วันพฤหัสบดีที่ ๕ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ๑. มูลเหตุทที่ าํ ใหเ้ กิดสงั ฆกรรมมีกอ่ี ย่าง ? อะไรบ้าง ? ตอบ มี ๒ อย่าง ฯ คือ ๑. มีภิกษบุ ริษทั เพิม่ จํานวนมากข้ึน ๒. มพี ระพทุ ธประสงค์เพอ่ื ใหส้ งฆ์เป็นใหญใ่ นการบรหิ ารหมู่คณะ ฯ ๒. สงฆ์ผู้จะให้การอุปสมบทแก่กุลบุตร ในพระวินัยมีกําหนดจํานวน ภิกษุไวอ้ ยา่ งไร ? ถา้ ไม่ครบตามจํานวนน้ัน จดั เป็นวบิ ัตอิ ะไร ? ตอบ มกี าํ หนดอย่างนี้ คอื ในมธั ยมชนบท ๑๐ รูปเป็นอย่างตาํ่ ในปจั จนั ตชนบท ๕ รูป เป็นอย่างตาํ่ ฯ จัดเปน็ ปรสิ วบิ ัติ ฯ ๓. สมี ามกี ีป่ ระเภท ? วสิ งุ คามสีมา จัดเข้าในประเภทไหน ? ตอบ มี ๒ ประเภท คอื พัทธสมี า อพัทธสีมา ฯ วสิ งุ คามสีมา เมอ่ื สงฆ์ยังไม่ผกู จัดเปน็ อพทั ธสมี า ครั้นสงฆผ์ ูกแลว้ จัดเปน็ พัทธสีมา ฯ
๓๓ ๔. ภิกษุผูค้ วรไดร้ บั สมมตใิ หเ้ ปน็ ภัตตุทเทสกะ ตอ้ งประกอบด้วย คณุ สมบัติอะไรบา้ ง ? ตอบ ตอ้ งประกอบดว้ ยคณุ สมบตั ดิ ังนี้ คือ ๑. เว้นอคติ ๔ คือ ฉนั ทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ๒. รจู้ กั ภตั รท่ีควรแจกหรอื มคิ วรแจก ๓. ร้จู กั ลาํ ดับท่ีพงึ แจก ฯ ๕. กรานกฐิน ไดแ้ กก่ ารทําอย่างไร ? ตอบ ได้แก่ เม่ือมีผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในเดือนท้ายฤดูฝน พอจะทําเป็นไตร จีวรผืนใดผืนหนึ่งได้ สงฆ์พร้อมใจกันยกให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เหมาะสม ภกิ ษุผไู้ ด้รบั ผ้านัน้ นําไปทาํ เป็นจีวรผืนใดผนื หน่งึ ให้แล้วเสร็จ ในวันนั้น แล้วมาบอกแก่ภิกษุผู้ยกผ้าน้ันให้ เพื่ออนุโมทนา ภิกษุเหล่าน้ัน อนุโมทนา ทงั้ หมดน้ี คือ กรานกฐิน ฯ ๖. การบรรพชา และ การอปุ สมบท สาํ เร็จด้วยวิธีอะไร ? ตอบ การบรรพชาสําเร็จด้วยวธิ ีให้บรรพชาเปกขะรบั ไตรสรณคมน์ การอปุ สมบทสําเร็จด้วยการสวดญตั ติจตุตถกรรมวาจา อันประกอบ ไปดว้ ย สมบัติทั้ง ๔ คือ วัตถุสมบัติ ปริสสมบัติ กรรมวาจาสมบัติ สมี าสมบัติ แก่อปุ สัมปทาเปกขะ ฯ ๗. สัมมุขาวินัยมอี งคเ์ ท่าไร ? อะไรบา้ ง ? ตอบ มอี งค์ ๔ ฯ คือ ๑. ในทพ่ี ร้อมหนา้ สงฆ์ ๒. ในท่ีพร้อมหน้าธรรม ๓. ในที่พร้อมหน้าวินัย ๔. ในทพ่ี รอ้ มหน้าบุคคล ฯ
๓๔ ๘. ภิกษุประพฤติผิดธรรมวินัยอย่างไร จึงทรงอนุญาตให้สงฆ์ ลงอกุ เขปนียกรรมได้ ? ตอบ ประพฤติผิดอย่างน้ี คือ ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทําคืนอาบัติ หรือไม่ สละทฏิ ฐบิ าป ฯ พระราชบัญญตั ิคณะสงฆ์ ๙. พระราชบญั ญตั คิ ณะสงฆ์ คอื อะไร ? ตอบ คือ กฎหมายฉบับหน่ึงว่าด้วยคณะสงฆ์ มีศักด์ิรองลงมาจาก รฐั ธรรมนญู ฯ ๑๐. พระราชบญั ญัตคิ ณะสงฆ์มาตรา ๓๗ ระบหุ น้าทีเ่ จ้าอาวาส ไว้ก่อี ยา่ ง ? อะไรบ้าง ? ตอบ ระบุไว้ ๔ อย่าง ฯ คือ ๑. บาํ รงุ รกั ษาวัด จดั กจิ การและศาสนสมบตั ิของวัดให้เป็นไปด้วยดี ๒. ปกครองและสอดสอ่ งใหบ้ รรพชติ และคฤหสั ถท์ ่ีมที ่ีอยหู่ รอื พาํ นกั อาศยั อยู่ในวัดน้ันปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ขอ้ บงั คับ ระเบยี บ หรอื คําสง่ั ของมหาเถรสมาคม ๓. เปน็ ธุระในการศึกษาอบรมและส่งั สอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิต และคฤหัสถ์ ๔. ให้ความสะดวกตามสมควรในการบําเพญ็ กุศลฯ ให้เวลา ๓ ช่วั โมง
Search
Read the Text Version
- 1 - 47
Pages: