Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับช่องปากและฟัน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับช่องปากและฟัน

Description: สื่อส่งเสริมสุขภาพ

Search

Read the Text Version

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับช่องปากและฟัน งานส่งเสริมสุขภาพพนั กงานสถานประกอบการ บริษัทอินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ จํากัด (มหาชน) Indorama Polyester Industries (Nakhon Pathom)

ความรู้เกี่ยวกับฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและ สัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟัน โผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญเติบโตมาจากเนื้อเยื้อชั้น นอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือ เกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อย อาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้ คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วน สำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหาร ของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กิน พืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อ ใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้น ให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ ฟันกรามเคี้ยวมากนัก

ความรู้เกี่ยวกับฟัน โครงสร้างของเหงือกและฟัน

ความรู้เกี่ยวกับฟัน โครงสร้างของเหงือกและฟัน

ความรู้เกี่ยวกับฟัน มีชั้นเคลือบฟัน (Enamel) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดและมีความ แข็งที่สุดของฟัน ทำหน้าที่รับน้ำหนักในการบดเคี้ยวมี โครงสร้างเป็นผลึก ไม่มีเส้นเลือดและเส้นประสาท จึงเป็นส่วน ที่ไม่ได้รับความรู้สึก เวลาที่ฟันเริ่มผุจึงไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ ชั้นเนื้อฟัน (Dentine) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเข้ามา ประกอบ ด้วยท่อเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งเป็นที่รวมของเส้นประสาทรับความ รู้สึก ดังนั้นเวลาฟันผุถึงชั้นนี้ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน โพรงประสาทฟัน (Pulp) คือ โพรงช่องว่างภายในฟัน เป็นที่ อยู่ของเส้นประสาท และเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงตัวฟัน ทำ หน้าที่ในการรับความรู้สึกร้อน เย็น ปวด เจ็บ กรณีที่ฟันผุมาถึง ชั้นนี้ จะไม่สามารถอุดฟันได้ ชั้นร่องเหงือก (Gingival crevice) คือ ร่องระหว่างตัวฟันกับ ขอบเหงือก ปกติจะมีขอบบาง มีความลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร แต่ถ้ามีโรคเหงือกอักเสบ หรือเป็นรำมะนาด อาจมีอาการบวม ทำให้ร่องนี้ลึกขึ้น และเกิดการอักเสบมากขึ้นได้ เหงือก (Gingiva) คือ ส่วนเนื้อเยื่อที่หุ้มตัวฟัน และกระดูกขา กรรไกรไว้ เคลือบรากฟัน (Cementum) เป็นชั้นบาง ๆ คลุมเนื้อฟัน บริเวณรากฟันไว้ แตกต่างจากเคลือบฟันตรงที่มีความแข็งแรง น้อยกว่า ปกติจะฝังตัวอยู่ในกระดูก แต่ถ้ามีเหงือกร่น หรือเกิด โรครำมะนาด อาจทำให้ส่วนนี้สัมผัสกับน้ำและอากาศ เกิด อาการเสียวฟันได้ กระดูกเบ้ารากฟัน (Alveolar bone) คือส่วน ของกระดูกที่รองรับรากฟัน

ความรู้เกี่ยวกับฟัน ประเภทของฟัน ฟันแท้ (permanent teeth) ฟันน้ำนม (baby teeth) ฟันตัดหน้าซี่กลาง (central incisor) : ขา กรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่ มีหนึ่งราก ฟันตัดหน้าซี่ข้าง (lateral incisor) : ขากรรไกร บน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ฟันตัดหน้าทั้งสอง ประเภททำหน้าที่ตัดอาหาร ในสัตว์ที่กินอาหาร โดยการแทะฟันนี้จะเจริญที่สุด ฟันเขี้ยว (cuspids or canines) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ทำหน้าที่ตัด ฉีก หรือ แยกอาหารออกจากกัน ฟันกรามน้อย (bicuspids or premolars) : ขา กรรไกรบน 4 ซี่ ขากรรไกรล่าง 4 ซี่: ทำหน้าที่ตัด และฉีกอาหาร (สัตว์กินเนื้อเช่น เสือ สุนัข แมว จะมีเขี้ยวและกรามน้อยเจริญดีและแข็งแรงเป็น พิเศษ) ฟันกราม (molars) : ขากรรไกรบน 6 ซี่ ขา กรรไกรล่าง 6 ซี่: ทำหน้าที่เคี้ยวและบดอาหาร

ความรู้เกี่ยวกับฟัน ส่วนประกอบของฟัน เคลือบฟัน (enamel) : เป็นส่วนที่แข็งที่สุดของฟันมี ส่วนประกอบของแคลเซียมและฟอสเฟต เนื้อฟัน (dentine) : เป็นส่วนที่แข็งน้อยกว่า เคลือบฟัน มีความแข็งพอๆกับกระดูก ชั้นนี้มีการสร้าง และสลายอยู่ตลอดเวลา เป็นชั้นที่มีเซลล์เป็นจำนวน มาก โพรงประสาทฟัน (pulp) : เป็นที่อยู่ของเส้นเลือดที่ นำอาหารมาหล่อเลี้ยงฟัน และนำของเสียออกจากฟัน และมีเส้นประสาทรับความรู้สึกของฟัน เคลือบรากฟัน (cementum) : เป็นส่วนของเนื้อเยื่อ ปริทันต์ที่อยู่ภายในรากฟัน ด้านหลังของเหงือก ซึ่งมี เส้นประสาทไหลเวียนมาก ชั้นร่องเหงือก (gingival crevice) : ร่องระหว่าง เหงือกตัวฟันกับขอบเหงือก มีความลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร เหงือก (gingiva) : เนื้อเยื่อที่หุ้มตัวฟันและกระดูกขา กรรไกรไว้ กระดูกเบ้ารากฟัน (alveolar bone) : ส่วนกระดูกที่ รองรับรากฟัน

ความรู้เกี่ยวกับฟัน ฟันของมนุษย์ โดยปกติคนเรามีฟันสองชุด ชุดแรกคือ ฟันน้ำนม (deciduous teeth) ฟันชุดนี้จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุ ประมาณ 6 เดือน และขึ้นครบ 20 ซี่เมื่ออายุ ประมาณ 2 ขวบครึ่ง ตารางแสดงระยะการขึ้นของฟันซี่ต่างๆ (ฟันน้ำนม)

ความรู้เกี่ยวกับฟัน โครงสร้างของฟันน้ำนม

ความรู้เกี่ยวกับฟัน ฟันของมนุษย์ ฟันชุดที่สองคือ ฟันแท้ หรือ ฟันถาวร (permanent teeth) ฟันชุดนี้มีทั้งหมด 32 ซี่ ฟันชุดนี้จะเริ่มขึ้นเมื่อ อายุประมาณ 6 ขวบ แต่จะขึ้นครบ 28 ซี่ เมื่ออายุครบ 12 ปี โดยที่เหลือคือฟันกรามซี่สุดท้าย 4 ซี่จะขึ้นมาใน ช่วงอายุ 18-25 ปี แต่ถ้าฟันทั้ง 4 ซี่ดังกล่าวไม่ขึ้นมาก็จะ กลายเป็น ฟันคุด ตารางแสดงระยะการขึ้นของฟันซี่ต่างๆ (ฟันแท้)

ความรู้เกี่ยวกับฟัน โครงสร้างของฟันแท้

ความรู้เกี่ยวกับฟัน ฟันถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ และมี ความสำคัญต่อบุคลิกภาพ ดังนั้นจึงควรให้ความใส่ใจ ดูแลและรักษาอยู่เสมอ ด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวัน ละสองครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน หรือทุกครั้งหลัง อาหาร เพื่อกำจัดเศษอาหาร และ คราบจุลินทรีย์ และควรพบ ทันตแพทย์ เพื่อตรวจเช็คสภาพฟันทุกๆ 6 เดือน

อ้างอิง วิกิพิเดีย (2565). ฟัน. สืบค้นออนไลน์ วันที่ 1 มกราคม 2566. จาก https://th.wikipedia. org/wiki/%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%99. Dr-phillips (2566). ฟัน. สืบค้นออนไลน์ วันที่ 1 มกราคม 2566. จาก http://dr-phillips. co.th/knowledge-detail.php?lang=th&id =72. อาจารย์ ดร.อุกฤษฏ์ อําไพพันธ์ุ. สื่อการสอน. สืบค้นออนไลน์ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://pubhtml5.com/homepage/ozfez/.