Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore โครงสร้างและส่วนประกอบของฟัน

โครงสร้างและส่วนประกอบของฟัน

Published by Kittirat Norkhud 633263005, 2023-01-11 08:51:13

Description: โครงสร้างและส่วนประกอบของฟัน

Search

Read the Text Version

โครงสร้าง และส่วนประกอบของฟัน Dr.Ukrit Ampiphan ทันตสาธารณสุข Dental Public Health

ทันตสาธารณสุข Dental Public Health 4074607 3(2-2-5) Dr.Ukrit Ampiphan วัตถุประสงค์ 1.  อธิบายสาเหตุและอาการของโรคฟันผุและโรคปริทันต์ได้ 2.  ดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ 3.  บอกความหมายของข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพได้ 4.  ตรวจช่องปากตามระบบเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพได้ 5.  วางแผนโครงการทันตสาธารณสุขตามกลุ่มเป้าหมายต่างๆได้ การประเมินผลรายวิชา 1. การให้ความร่วมมือในชั้นเรียน -เข้าเรียน 15 คะแนน (15 ครั้ง) -งานกลุ่ม 5 คะแนน -งานเดี่ยว 5 คะแนน 2. การสอบ 75 คะแนน กลางภาค 35 คะแนน ปลายภาค 40 คะแนน

พื้นฐานก่อนศึกษาทันตสาธารณสุข • การเรียกชื่อฟัน • การขึ้นของฟัน • อวัยวะปริทันต์ • ลักษณะโครงสร้างของฟัน - โครงสร้างภายนอก - โครงสร้างภายใน การแบ่งด้านช่องปากเพื่อการเรียกชื่อฟัน ฟันบนขวา ฟันบนซ้าย ฟันล่างขวา ฟันล่างซ้าย

การแบ่งด้านช่องปากเพื่อการเรียกชื่อฟัน ฟันแท้ Quadrant Quadrant Quadrant Quadrant ฟันน้ำนม Quadrant Quadrant Quadrant Quadrant

หมายเลขแทนการเรียกชื่อฟัน ฟันน้ำนม 54321 12345 54321 12345 ฟันแท้ 87654321 12345678 87654321 12345678

หมายเลขแทนการเรียกชื่อฟัน

ชื่อภาษาอังกฤษฟันน้ำนม ชื่อภาษาอังกฤษฟันแท้

การจำแนกหมายเลขฟัน ชื่อฟัน หน้าที่ของฟัน

ภาพประกอบตำแหน่งฟันและการเรียกชื่อฟัน ฟันแท้ ฟันน้ำนม

การเรียกชื่อฟันในแต่ละซี่ 1.ชื่อของฟัน (ตามหน้าที่) 2.ชนิดของฟัน 3.ด้านที่อยู่ของฟัน (Quadrant) 4.หมายเลขฟัน แบบทดสอบ 43 หมายถึง ฟันเขี้ยวแท้ล่างขวา 11 หมายถึง ฟันตัดแท้บนขวาซี่ที่ 1 หรือซี่กลาง 55 หมายถึง ฟันกรามน้ำนมบนขวาซี่ที่ 2 65 หมายถึง ฟันกรามน้ำนมบนซ้ายซี่ที่ 2 51 หมายถึง …………………….....................…. 75 หมายถึง ………………………...................... 23 หมายถึง ………………………..................... 24 หมายถึง ……………………….....................

การแบ่งด้านเพื่อการตรวจตามระบบเฝ้าระวัง พัฒนาการของฟันน้ำนม lTooth bud ในครรภ์สัปดาห์ที่ 6 lMineralization and Calcification ในครรภ์สัปดาห์ที่ 16 ขึ้นมาในช่องปากซี่แรก อายุประมาณ 6 เดือน ขึ้นซี่แรก ฟันตัดล่างซี่ที่ 1 ขึ้นครบ อายุประมาณ2.5 ปี Jaw บน10 ซี่ Jaw ล่าง 10 ซี่

การขึ้นของฟันน้ำนม การขึ้นของฟันน้ำนม

พัฒนาการของฟันแท้ ขนาดของฟันไม่ได้โตตามร่างกาย จะสร้างตัวเมื่อฟันน้ำนมสร้างตัวเสร็จ มีทั้งหมด 32 ซี่ ขึ้นซี่แรกเมื่ออายุประมาณ 6 ปี(ฟันกรามแท้ล่างซี่ที่ 1) เป็นหลักให้ฟันแท้ซี่อื่นๆ ขึ้นตามแนวที่ถูกต้อง การขึ้นของฟันแท้

การเรียกชื่อด้านต่างๆ ของฟัน ลักษณะโครงสร้างของฟัน โครงสร้างภายนอก ตัวฟัน 1.ด้านบดเคี้ยว 2.ด้านข้าง 3.ด้านติดลิ้นหรือติดเพดาน 4.ด้านติดแก้มหรือริมฝีปาก รากฟัน ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ปกคลุมด้วยเหงือก มีราก แตกต่างกันในแต่ละซี่ คอฟัน รอยต่อระหว่างตัวฟัน กับรากฟัน มองเห็นตรงสันเหงือก

ส่วนประกอบภายนอกของฟัน ลักษณะโครงสร้างของฟัน โครงสร้างภายใน 1.เคลือบฟัน (Enamel) 2.เนื้อฟัน (Dentine) 3.เคลือบรากฟัน (Cementum) 4.โพรงประสาทฟัน (Pulp) 5.สันกระดูก (Alveolar Bone) 6.เอ็นยึดปริทันต์ (Periodontal ligament) 7.เหงือก (Gingiva)

โครงสร้างของฟัน เคลือบฟัน (Enamel) ชั้นนอกสุดของตัวฟัน สิ้นสุดที่คอฟัน เป็นส่วนที่แข็งที่สุดในร่างกาย มีสีขาว หรือสีขาวเหลือง ผิวเรียบเป็นมัน ประกอบด้วยท่อเล็กๆ อัดกันแน่น เรียกว่า Enamel Rods เมื่อมีการแตกหักร่างกายไม่สามารถสร้างให้เหมือนเดิมได้ ไม่มีเส้นประสาทหรือเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยง

เนื้อฟัน (Dentine) มีสีเหลืองอ่อนถึงเข้ม ยาวปกคลุมตั้งแต่ตัวฟันถึงรากฟัน มีโพรงตรงกลางตลอดปลายรากฟัน ประกอบด้วยท่อเล็กๆ อัดกันแน่น เรียกว่า Dentinal tubules มีปลายของเส้นประสาทรับความรู้สึก สามารถสร้างตัวได้จาก Pulp เคลือบรากฟัน (Cementum) เคลือบรากฟันต่อจาก Enamel หุ้มจากคอฟันถึงรากฟัน เป็นที่ยึดเกาะของ Periodontal membrane ไม่เส้นเลือดมาเลี้ยง สามารถสร้างตัวได้เหมือนเนื้อฟัน

โพรงประสาทฟัน (Pulp) โพรงกลางซี่ฟัน ยาวตัวฟันถึงรากฟัน มีรูเปิดที่ปลายรากฟัน มีเส้นเลือด เส้นประสาท หล่อเลี้ยงชีวิตให้กับฟัน ผนังโพรงประสาทจะมี Ameloblast cell ทำหน้าที่สร้างเนื้อฟัน เป็นส่วนที่บ่งบอกว่าฟันซี่นั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ มีขนาดต่างกันในแต่ละซี่ สันกระดูก (Alveolar Bone) กระดูกของขากรรไกร มีลักษณะเหมือนฝัก เพื่อให้รากฟันเสียบอยู่ได้ ประกอบด้วย –Compact bone –Spongy bone เยื่อปริทันต์ (Periodontal ligament) ทำหน้าที่ยึดฟันกับกระดูกเบ้ารากฟัน ต้านแรงกดที่เกิดจากแรงบดเคี้ยว ถ่ายทอดแรงบดเคี้ยวสู่กระดูกเบ้ารากฟัน สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย

เนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับฟัน ร่องเหงือก

เหงือก (Gingiva) มี 3 ส่วน –Free gingiva –Interdental papilla –Attached gingiva หุ้มรอบฟันบริเวณคอฟัน และปกคลุมขากรรไกร ถ่ายทอดแรงบดเคี้ยวสู่กระดูกเบ้ารากฟัน สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย ภาพเหงือก (Gingiva)

เหงือกปกติ (Normal gingiva) มีสีชมพูซีดถึงเข้ม ตามลักษณะสีผิวของบุคคล Free gingiva มีผิวเรียบ ขอบบางแนบชิดกับคอฟัน สามารถขยับเปิดปิดได้เล็กน้อย ร่องเหงือกปกติลึก 0.5-3 มิลลิเมตร สามารถใส่เครื่องมือตรวจฟันได้โดยไม่มีเลือดออก Interdental papilla มีลักษณะแน่น แข็งและหยุ่นอยู่ เต็มซอกฟันทุกซี่ Attached gingiva เมื่อเช็ดให้แห้งจะมีลักษณะ เป็นจุดๆ คล้ายผิวส้ม แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ภาพเหงือกปกติ (Normal gingiva)

โรคฟันผุ (Dental Caries) 1.ทฤษฎีเคโมพาราไซติก (Chemo-Parasitic Theory, Acidogenic Theory) กรดที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารของ Bact. ทำลายอนินทรียสารก่อนทำลายอินทรียสาร (โครงสร้าง ของฟัน) ได้รับการยอมรับมากที่สุด และมีงานวิจัยสนับสนุน 2.ทฤษฎีโปรติโอไลติก (Proteolytic Theory) เกิดจาก Bact. ที่สามารถสร้างกรดได้ (Acidogenic Bacteria) ทำลายอินทรียสารก่อนทำลายอนินทรียสาร 3.ทฤษฎีโปรติโอไลตีส-คีเลชั่น (Proteolysis- Chelation Theory) เกิดภาวะ Deminerization แม้ภาวะ pH กลาง พิสูจน์ไม่ได้แน่นอน

สรุปโรคฟันผุ กระบวนการเผาผลาญอาหารจากเชื้อแบคทีเรีย เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ โครงสร้างของฟันเปราะ เกิดเชื้อแบคทีเรียเข้าไปใน dentinal tubule เชื้อแบคทีเรียบางตัวสามารถสร้างกรดเองได้ ทำลายส่วนอินทรีย์สารร่วมกับกรดที่จากกระบวนการเผา ผลาญอาหาร สาเหตุและปัจจัยเกี่ยวข้องกับโรคฟันผุ เชื้อแบคทีเรีย (Micro organisms) ฟันและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Teeth & Host) อาหารของแบคทีเรีย (Substrate) เวลาที่เชื้อสัมผัสกับฟัน (Time)

สรุปโรคฟันผุ

Microorganisms Streptococcus species - Streptococcus mutants Lactobacillus species Actiomyces species Teeth & Host รูปร่างของฟัน ตำแหน่งที่ขึ้นของฟัน ส่วนประกอบทางเคมี การไหลของน้ำลาย ส่วนประกอบของแร่ธาตุในน้ำลาย การหายใจทางปาก ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย – ระบบ Humoral - ระบบ Cellular

ซี่ฟัน (ฟันแท้) กับโรคฟันผุ Substrate ลักษณะทางกายภาพของอาหาร –แป้ง น้ำตาลซูโคลส –ลักษณะเหนียว อ่อนนุ่ม ติดฟันง่าย ความถี่ในการกิน –ความถี่สูง โอกาสพบฟันผุก็ง่าย

ประเภทของขนมหวาน เสี่ยงต่อโรคฟันผุสูง - อมละลายในช่องปากช้าๆ เช่น ลูกอม ลูกกวาด เสี่ยงต่อโรคฟันผุปานกลาง - มีน้ำตาลในรูปก้อนมากและเหนียวติดฟัน เช่น ขนม บรรจุถุง Cookies, Cake เสี่ยงต่อโรคฟันผุต่ำ - น้ำตาลในรูปของเหลว เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ไอศกรีม นมรสหวาน Time ระยะเวลาที่ผิวฟันสัมผัสกับกรดนานยิ่งทำให้ฟันผุมากขึ้น ในช่องปาก เวลาประมาณ 10 – 60 นาที

การละลายของฟันจากกรดในช่องปาก ประเภทของฟันผุ อัตราการลุกลาม –Acute Caries, Active Caries –Chronic Caries –Arrested Caries ลักษณะการเกิด –Rampant Caries –Nursing Bottle Caries, Early Chidhood Caries (ECC) –Recurrent Caries, Secondary Caries

อุบัติการณ์ & ระบาดวิทยาของโรคฟันผุ ความเจริญ –การคมนาคม –การศึกษาของประชาชน –การได้รับการดูแลจากหน่วยงานต่างๆ พันธุกรรม –รูปร่างของฟัน –เลียนแบบพฤติกรรม –การเลี้ยงดู เพศ –เพศหญิงสูงกว่าเพศชาย –พัฒนาการ และการบริโภคอาหาร อายุ -ฟันน้ำนม ช่วงอายุระหว่าง 2-5 ปี - ฟันแท้ช่วงอายุระหว่าง 11-15 ปี

ลักษณะอาการและการลุกลามของโรคฟันผุ ระยะเริ่มต้น –White spot lesion –สามารถหายได้ด้วยด้วยตัวเอง –ไม่มีอาการใดๆ ระยะต่อมา –ลุกลามถึงรอยต่อระหว่าง Enamel กับ Dentine –อาจเกิดอาการเสียวฟันเมื่อมีสิ่งกระตุ้น ระยะที่เห็นรูผุชัดเจน –Dentine ถูกทำลายมากขึ้น –พบโพรงที่เกิดจากการแตกหักของ Enamel –อยู่ใกล้ Pulp มาก –มีอาการเจ็บปวด อาการเสียวฟันได้ ระยะสุดท้าย –ฟันผุทะลุ Pulp –มีการติดเชื้อที่ปลายราก -เชื้อกระจายไปอวัยวะข้างเคียง

โรคปริทันต์ และโรคเหงือกอักเสบ ปัจจัยสำคัญ Dental Plaque Calculus or tartar Gingivitis เกิดการอักเสบของเหงือกรอบตัวฟัน Periodontitis,Periodontosis เกิดการทำลายกระดู กรอบๆ รากฟัน ลักษณะอาการของโรคเหงือกอักเสบ ระยะที่ 1 –เหมือนเหงือกปกติแต่เมื่อเครื่องมือผ่านหรือไหมขัดฟัน ผ่านจะพบว่ามีเลือกออก ระยะที่ 2 –เหงือกมีสีแดง ยอดเหงือกบวมทู่ มีเลือดออกมากเมื่อ แปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน –ไม่มีอาการเจ็บปวด ระยะที่ 3 –เหงือกแดงมากขึ้น มีกลิ่นปาก เหงือกสามเหลี่ยมบวมมาก ขึ้น ขอบเหงือกสีเข้ม เผยออกจากคอฟัน –มีเลือดออกง่ายกว่าปกติ ระยะปริทันต์ –เริ่มมีการละลายตัวของกระดูกรอบรากฟัน พบหนอง ฝี ที่ เหงือก ฟันเริ่มโยก เคี้ยวอาหารไม่ถนัด มองเห็นฟันยื่น ยาวมากกว่าปกติ

Gingivitis The five stages of Periodontal Disease: Healthy Gums have healthy pink color Gum line hugs teeth tightly No bleeding Early Periodontitis Gums may begin to pull away from the teeth Bleeding, puffiness and inflammation more pronounced Bad breath, bad taste Slight loss of bone, horizontally on X-ray Pockets of 3-4mm between teeth and gums in one or more areas of the mouth

Early Periodontitis Moderate Periodontitis Gum boils or abscesses may develop Teeth look longer as gums begin to recede Front teeth may begin to drift, showing spaces Bad breath, bad taste Both horizontal and angular bone loss on X-ray Pockets between teeth and gum range from 4-6mm deep

Moderate Periodontitis Advanced Periodontitis Teeth may become mobile or loose Bad breath, bad taste are constant Roots may be exposed and are sensitive to hot and cold Sever horizontal and angular bone loss on X-ray Pockets between teeth and gum now in excess of 6mm deep

Advanced Periodontitis

ปัจจัยที่สนับสนุนการเกิดโรคปริทันต์ หินปูน หรือหินน้ำลาย รูปร่างลักษณะและความผิดปกติของฟันและอวัยวะใน ช่องปาก การแปรงฟันผิดวิธี การหายใจทางปาก โรคทางร่างกาย พฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อเหงือก –การใช้ไม้จิ้มฟันอย่างไม่ถูกต้อง –การกัดเล็บ -เคาะฟันเมื่อใช้ความคิด ระบาดวิทยาของโรคเหงือกอักเสบ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดและการกระจายของโรค คิดหาเครื่องชี้วัดความรุนแรงของโรค อายุ เพศ สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม เชื้อชาติ สถานที่ คราบจุลินทรีย์ มีส่วนทำให้เกิดโรค ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากส่วนใหญ่ คือ อายุ และอนามัยช่องปาก

ใบงานที่ 2 ส่งท้ายชั่วโมง เขียนชื่อ-สกุลลงในกระดาษ เขียนชื่อฟันตามการอ่านที่ถูกต้องตามซี่ฟันต่อไป นี้ 15 85 13 54 42 24 38 - ฟันกรามน้ำนมบนขวาซี่ที่ 2 55 - ฟันตัดแท้ล่างซ้ายซี่ที่1 หรือซี่กลาง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook