๔๕ แต่หากเปน็ ผ้สู ืบเชอ้ื สายมาจากโนราก็ถือวา่ ยังมีครูอยู่ จาเป็นต้องมาร่วมพิธีนี้เพื่อเป็นการบูชาครูหรือค้าครู อนง่ึ การราโรงครเู ลก็ หรือการคา้ ครู เป็นพิธีกรรมอยา่ งยน่ ย่อ ถอื กันวา่ มีความขลังหรือศักดิ์สิทธิ์น้อยกว่าการ ราโรงครใู หญ่ ดังนนั้ การแกบ้ นและการครอบเทริดหรอื ผกู ผา้ ใหญ่ จึงไม่นิยมทาในโรงครูเล็ก แต่จะทาในโรง ครใู หญ่ ๕. องคป์ ระกอบในการราโนราโรงครู โนราโรงครใู หญ่และโนราโรงครเู ลก็ มีองคป์ ระกอบในการราโรงครูที่สาคัญ ๆ คือ โนราใหญ่ คือ หัวหน้าคณะหรือนายโรงโนรา ซึ่งจะเป็นผู้นาในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในโนรา โรงครู บางแหง่ จะเรยี กโนราใหญว่ า่ “ครูหมอโนรา” คณะโนรา มีประมาณ ๑๕ – ๒๐ คน อาจจะเป็นคณะโนราใหญ่เองหรือเป็นโนราจากหลายคณะ มารวมกันเพือ่ ประกอบพิธกี รรมและใหค้ วามบนั เทงิ แกผ่ ู้ชมด้วย คนทรง หรอื รา่ งทรงครหู มอโนรา ซ่ึงอาจจะเป็นร่างทรงประจาครูหมอโนราองค์นั้น ๆ หรืออาจจะ เป็นผู้มเี ช้ือสายโนรา ลูกหลานตายายโนราทค่ี รหู มอโนราจะเข้าทรง ระยะเวลาและวันทาพิธี มักนิยมทากันในฤดูแล้ง ในแถบจังหวัดตรัง มักทาในราวเดือนย่ีถึงเดือน สาม แถบจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา มักทาในเดือนหกถึงเดือนเก้า โดยไม่จากัดวันขึ้นวัน แรม (ฉตั รชยั ศุกระกาญจน์. ๒๕๒๓ : ๑๑๔) และเรม่ิ ทาพิธเี ข้าโรงครวู นั แรกในวันพุธ ไปส้นิ สุดในวันศกุ ร์ โรงพิธีหรือโรงครู มีลักษณะคล้ายโรงโนรารุ่นเก่า คือสร้างโรงเป็นรูปส่ีเหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๙ ศอก ยาว ๑๑ ศอก มี ๘ เสา ไม่ยกพ้ืน โดยแบ่งออกเป็น ๓ ตอน เสาตอนหน้าและหลังมีตอนละ ๓ เสา ส่วนตอนกลางมี ๒ เสา ไม่มีเสากลาง หน้าโรงหันไปทางทิศเหนือหรือใต้ เรียกว่า “ลอยหวัน” (ลอยตะวัน) ไม่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก เพราะเป็นการ “ขวางหวัน” (ขวางตะวัน) ตามความเช่ือ ของโนราว่าเป็นอัปมงคล หลังคาทาเป็นรูปหน้าจ่ัว มุงด้วยจาก ตรงกลางจ่ัวครอบด้วยกระแชง ถ้าไม่มี กระแชงก็ใช้ใบเตยมาแทนได้ การท่ีต้องครอบกระแชงบนหลังคาจ่ัวนัยว่า เพื่อเป็นเคร่ืองระลึกถึงเมื่อครั้ง นางนวลทองสาลีถูกลอยแพไปในทะเล ก็ได้อาศัยแชงเป็นเคร่ืองมุงแพ เพ่ือกันแดดมาโดยตลอด ชาวบ้าน บางแห่งยังเช่ือว่าโรงพิธีจะมีผีนางโอกะแชงท่ีเรียกว่า “นางโอกะแชงหกเสา” ทาหน้าท่ีรักษาเสาโรงโนรา และ “นางโอกะแชงสองตอน” ทาหน้าที่รักษากระแชงท่ีมุงหลังคาโรงโนราทั้งด้านซ้ายขวา การมีกระแชง มุงหลังคา จงึ เปน็ สัญลักษณ์และเป็นไปตามความเชอื่ ในเรื่องผีนางโอกะแชงด้วย ด้านหลังของโรงพิธีทาเป็น เพิงพกั ของคณะโนรา ด้านขวาหรือดา้ นซ้ายของโรง คาดเป็นรา้ นสูงระดับสายตาจากเสาโรงออกไปรับกับไม้ ชายคาที่ยื่นลงมาเพื่อเป็นที่วางเคร่ืองบูชา เรียกว่า “ศาล” หรือ “พาไล” พื้นโรงปูด้วย “สาดคล้า” (เส่ือ
๔๖ สานด้วยคล้า) แล้วปูทับดว้ ยเส่อื กระจดู วางหมอนปูผา้ ขาวทับ เรยี กว่า “สาดหมอน” บนหมอนวางไม้แตระ และไมก้ ระดาน หรือเชิงเทียนติดเทียนเรียกว่า “เทียนครู” หรือ “เทียนกาศครู” โรงพิธีอาจจะตกแต่งด้วย ผา้ กระดาษสี ธงราย และสิง่ ของอ่นื ๆ อกี ก็ได้ อุปกรณ์ในการประกอบพิธี ท่ีสาคัญได้แก่ผ้าเพดานบนศาลหรือพาไล ผ้าเพดานใหญ่ในโรงพิธี ที่ วางเทริด เสื่อหมอน เคร่ืองเช่ียนพิธี หม้อน้ามนตร์ ไม้หวาย มีดหมอ บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่หรือ บายศรีทอ้ งโรง ดอกไม้ธปู เทยี น หอกแทงจระเข้ หยวกกลว้ ยทารูปจระเข้ ใบชิงหรือกระแชง ขันลงหิน หน้า พรานชายหญิง เทรดิ ย่าม ธนู เชือกคลอ้ งหงส์ เคร่ืองแต่งตัวโนรา หญ้าคา หญ้าครุน ใบเฉียงพร้า ใบหมาก ผู้ เงนิ เหรียญ รวงข้าว มีดโกน หินลับมีด พระขรรค์ หนังเสือ หนังหมี สาหรับที่วางหม้อน้ามนตร์อาจจะทา ดว้ ยไมไ้ ผ่สานเป็นตะกร้าทรงสูงเรยี กว่า “ตรอม” เคร่อื งบูชาประกอบพิธี จะจัดเครื่องบูชาครูเป็น ๒ ส่วน คือ เคร่ืองบูชาถวายครูบนศาลหรือพาไล กับเครื่องบูชาท่ีท้องโรง (ที่พื้นกลางโรง) เคร่ืองบูชาบนศาลหรือพาไลประกอบด้วย หมาก ๙ คา เทียน ๙ เล่ม เคร่ืองเช่ียน ๑ สารับ กล้วย ๓ หวี อ้อย ๓ ท่อน ขนมในพิธีวันสารทเดือน ๑๐ หรือวันชิงเปรต ได้แก่ พอง ลา ขนมบ้า ขนมเบซา ขนมเทียน ๓ สารับ ข้าวสารพร้อมหมากพลูเทียน จัดลงในภาชนะท่ีสานด้วย กระจูดหรือเตยขนาดเล็กเรียกว่า “สอบนั่ง” หรือ “สอบราด” ๓ สารับ มะพร้าว ๓ ลูก เครื่องคาวหวาน หรือที่ ๑๒ จานวน ๑๒ สารับหรือ ๑๒ ชนิด เส่ือ ๑ ผืน หมอน ๑ ใบ ผ้าขาว ๑ ผืน ผ้านุ่งห่มชาย ๑ ชุด บายศรีปากชาม ๑ ปาก หน้าพรานชายหญิงท่ีเรียกว่า “หัวอีทาสี” อย่างละหน้าเป็นอย่างน้อย เทริดตาม จานวนปีท่ีกาหนดว่าให้ทาพิธีครั้งหน่ึง เช่น ถ้าทาพิธี ๗ ปีต่อครั้ง ก็ใช้เทริด ๗ ยอด ถ้าหาเทริดได้ไม่ครบก็ ใชใ้ บเตยทาเปน็ รูปเทริดแทนได้ ที่เพดานศาลหรือพาไลผกู ผ้าดาดเพดาน ใส่หมากพลู ๑ คา ดอกไม้ ๓ ดอก เทยี น ๑ เล่ม และขา้ วตอก ๓ เมด็ บนศาลหรือพาไลใต้ดาดเพดาน ปูผ้าขาวบนหมอนวางหัวพราน หัวทาสี ปกั เทยี นไวท้ ีห่ นา้ พราน มไี มแ้ ตระวางไว้หน้าเทียน วางเคร่ืองเช่ียน หม้อน้ามนตร์ เทริด บายศรี และเคร่ือง สังเวยท่ีเป็นของแห้งใส่สารับวางไว้ตลอด ๓ วัน ส่วนอาหารคาวหวาน และท่ี ๑๒ ต้องเปลี่ยนทุกวันทุก สารับปักเทียนเอาไว้ นอกจากน้ยี งั มี “ราด” คือเงินกานลมี ๓ บาท หรอื ๑๒ บาท ส่วนเคร่ืองบูชาท่ีท้องโรง ประกอบด้วยธปู เทยี น ๙ ชุด ตัดไม้เป็นแพวางบนหมอนซึง่ วางไว้กลางโรง และบายศรที ้องโรง ๑ สารบั เคร่ืองดนตรีและลูกคู่ คือ ทับ ๑ คู่ กลอง ๑ ใบ ปี่นอก ๑ เลา โหม่ง ๑ คู่ ฉ่ิง ๑ คู่ ท่ีขาดไม่ได้ สาหรบั โรงครูคือ แตระหรือไม้แตระ บทประกอบท่าราและบทร้อง มีแตกต่างออกไปบ้างตามชนิดของโรงครู บทประกอบท่ารา หมายถึง บทร้องกลอนของโนราทม่ี ที า่ ราประกอบและใช้ในพธิ กี รรมโนราโรงครู เช่น บทครูสอน บทประถม
๔๗ บทพลายงามตามโขลง บทฝนตกข้างเหนือ เป็นต้น ส่วนบทร้องหมายถึงบทร้องกลอนของโนราที่ไม่มีท่ารา ประกอบเช่น บทกาศครู บทชุมนุมครู บทบชู าครหู มอ บทสง่ ครู เป็นต้น ผู้เข้าร่วมประกอบพิธกี รรมโนราโรงครู นอกจากโนราใหญแ่ ละคณะโนราแล้วก็มี เจ้าภาพ ผู้มาแก้ บน ครอบเทริด เหยียบเสน และชาวบา้ นโดยทว่ั ไป เป็นตน้ ๖. ความเช่ือและพธิ กี รรมท่ีเก่ียวข้องกบั โนราและโนราโรงครู โดยเฉพาะความเชื่อที่เก่ียวเน่ืองกับการประกอบพิธีกรรมยังมีความเข้มข้น และส่งผลกระทบ โดยตรงตอ่ ผู้เป็นโนรา ผูม้ เี ช้ือสายโนรา ลกู หลานตายายโนรา คนทรงครูหมอโนรา รวมทั้งชาวบา้ นโดยท่ัวไป ซึ่งจะได้นามากล่าวโดยสังเขปดังน้ี ๑.๑ ความเชื่อเร่อื งครูหมอโนรา ความเช่ือเรื่องครูหมอโนรา ครูหมอโนราคือบุรพาจารย์หรือครูต้นโนรา และบรรพบุรุษโนราท่ี ล่วงลับไปแล้ว บางแห่งเรียกครูหมอโนราว่า “ตายายโนรา” หรือ “ครูหมอตายาย” ครูหมอโนรามีหลาย องค์ดงั ปรากฏในตานานโนรา บทกาศครแู ละบทรอ้ งกลอนของโนรา เช่น ตาหลวงคง จอมเฒ่าหน้าทอง แม่ ศรีมาลา พระเทพสิงหร เปน็ ต้น แตม่ ีครูหมอโนราทชี่ าวบ้านเช่ือว่าเปน็ บคุ คลสาคญั ท่เี รยี กว่า “พระราชครู” นน้ั มี ๑๒ องค์ แบ่งเปน็ ฝุายชาย ๖ องค์ ฝุายหญิง ๖ องค์ ได้แก่ พระเทพสิงหร ขุนศรีศรัทธา พระม่วงทอง หม่อมรอง พระยาสายฟูาฟาด พรานบุญ แม่ศรีมาลา แม่นวลทองสาลี แม่แขนอ่อนฝุายขวา แม่แขนอ่อน ฝุายซ้าย แม่ศรีดอกไม้ แม่ค้ิวเหิน ดังปรากฏช่ือในบทเชิญครู หรือบทชุมนุมครูของคณะโนราแปลก ชนะ บาล บ้านทา่ แค ตอนหนึง่ ว่า “ราชครขู องน้องทัง้ สบิ สององค์ ค่าลงพอ่ เชิญเสดจ็ มา หญิงหกชายหก อยา่ ไดข้ าดตกเสียเลยหนา ฝุายหญงิ แม่แขนอ่อน แมไ่ ม่เจบ็ ไม่ร้อนให้แม่มา ลกู น่ังเชญิ อยู่ไจ้ไจ้ แม่แขนอ่อนฝาุ ยซ้ายท้ังฝาุ ยขวา ลูกน่ังร้องเชิญแมน่ วลทองสาลี พรอ้ มแลว้ แม่ศรีมาลา แมน่ วลทองสาลีแมศ่ รดี อกไม้ ลูกลืมเสยี ไมไ่ ด้รอ้ งเรียกหา ขอเชญิ แมเ่ ภาแม่เมาเคล่นิ ปาน้ลี ูกเชิญเชิญให้แมม่ า ลกู ไหว้แม่เจา้ ไม่ทนั เที่ยง แมเ่ สียงหวานเสยี งเกล้ยี งใหม้ าหา แม่จนั จุหรีศรีจุหรา แมเ่ ขาเปน็ ภรรยาของตาม่วงทอง
๔๘ แลตา้ โรงครขู นุ ทา ตายายทา่ นมาไม่ขดั ขอ้ ง ร้องเชิญฝุายชายตาม่วงทอง ขอเรียกร้องให้พอ่ เสด็จมา ลกู ไหวม้ ว่ งทองหม่อมรองไมฟ้ าด ลกู นง่ั ประกาศอาราธนา” คณะโนราและชาวบา้ นทว่ั ไปตา่ งมคี วามเชื่อว่าครูหมอโนราเหล่านี้ยังมีความผูกพันกับลูกหลานท่ีมี เชื้อสายโนรา หากลูกหลานเพิกเฉยไม่เคารพบูชาไม่เซ่นไหว้ ครูหมอโนราอาจจะให้โทษหรือลงโทษด้วยวิธี ต่าง ๆ เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ปวดเม่ือยตามร่างกาย หรือเกิดอาการบวมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหรือ เจ็บปุวยกระเสาะกระแสะ มีอาการผอมแห้งแรงน้อย รับประทานอาหารไม่ได้ เรียกอาการเช่นนี้ว่า “ครู หมอย่าง” หรือ “ตายายย่าง” หากอาการต่าง ๆ ที่กล่าวแล้วเกิดข้ึนกับลูกหลานตายายโนราหรือผู้ที่ไม่ ทราบว่าตนเองมีเชื้อสายโนราหรือไม่ ก็ต้องไปหาหมอทางไสยศาสตร์คนทรงครูหมอโนราหรือครูโนรา มาตรวจหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร หากทราบว่ามาจากการกระทาของครูหมอโนราก็จะต้องมีการบน การ เซ่นไหว้ ทาพิธีตั้งหิ้งบูชาโดยครูโนราหรือโนราใหญ่ หรือคนทรงครูหมอโนรา แล้วกล่าวคาสัญญาหรือทา ทานบนทีช่ าวบ้านภาคใตเ้ รียกว่า “เหมฺรฺย” ไว้กับครูหมอโนรา เม่ือหายปุวยหรือปลอดภัยแล้ว ก็จะแก้บน ดว้ ยการเซ่นไหว้ยอมรับนบั ถอื ครูหมอโนราหรืออาจจะจัดโนราโรงครูเพ่ือราถวายและแก้บนต่อไป นอกจาก จะให้โทษแกล่ กู หลานทไี่ มเ่ คารพนับถอื แลว้ หากครหู มอโนราตอ้ งการให้ลูกหลานคนใดเป็นผู้สืบทอดการรา โนราหรือเป็นรา่ งทรงก็อาจจะสาแดงให้เห็นหรือบันดาลให้มีอาการต่าง ๆ เช่นเดียวกัน จนกว่าลูกหลานคน น้ันจะรู้สาเหตุและยอมรับการเปน็ โนราหรือรา่ งทรง อาการเจ็บปุวยก็จะหายเป็นปกติ ส่วนลูกหลานตายาย โนราทไี่ ม่ไดเ้ ป็นโนราโดยตรงแต่มีความเชื่อและเคารพนับถือครูหมอโนรา ก็อาจจะมาราโนราถวายครูหมอ โนราปีละคร้ังในพิธีกรรมโนราโรงครู หรืออาจจะมาเซ่นไหว้ด้วยขนมเดือนสิบ เช่นเดียวกับประเพณีวัน สารทหรือชิงเปรตของภาคใต้ในวันราโนราโรงครู เชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลและไม่ถูกครูหมอโนราลงโทษ นอกจากนี้คณะโนราและลกู หลานตายายโนรายงั เช่ือวา่ หากลูกหลานใหก้ ารเคารพนบั ถอื ครูหมอโนรา ไม่ลบ หลู่ดูหม่ินมีการเซ่นไหว้อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง หรือจัดโนราโรงครูราถวายก็จะส่งผลให้ชีวิต และครอบครัว เจริญม่ันคง จะขอพรหรือขอความช่วยเหลือจากครูหมอโนราในเรื่องใดก็จะสมความปรารถนา ซ่ึงผู้เขียนมี ข้อสังเกตว่า ความเชื่อในเรื่องครูหมอโนรามีส่วนสาคัญที่ทาให้มีการสืบทอดการราโนราอย่างไม่ขาดสาย และโนรายังคงมีบทบาทหน้าที่และมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนทั้งด้านความเช่ือและพิธีกรรมจาก อดีตจนถงึ ปัจจุบนั
๔๙ ๑.๒ ความเช่ือเรอ่ื งไสยศาสตร์ ความเชื่อเร่ืองไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ เวทมนตร์คาถา สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งลึกลับท่ีมีอานาจเหนือมนุษย์และโชคลาง โดยท่ัวไปแล้วหมายถึง ความเช่ือเกี่ยวกับสิ่ง ศักดิ์สิทธ์ิต่าง ๆ เป็นต้นว่า ผีสางเทวดา นางไม้ ฯลฯ ความเช่ือทางไสยศาสตร์เกิดขึ้นในระยะแรก ๆ เม่ือ มนุษย์พยายามค้นหาคาตอบเก่ียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไม่สามารถหาคาตอบจากความรู้เดิมท่ีมีอยู่ เกี่ยวกับธรรมชาติได้ ความเช่ือทางไสยศาสตร์จึงเป็นความเช่ือเก่ียวกับส่ิงท่ีมีอานาจเหนือธรรมชาติ การ ตดิ ต่อกบั ผู้มอี านาจเหนอื ธรรมชาติทาได้โดยพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ เป็นต้นว่า การใช้เวทมนตร์คาถา โดย มีผู้ประกอบพิธีกรรม คือ แม่มด หมอผี คนทรง หรือจ้าแล้วแต่กรณี คติความเช่ือเก่ียวกับไสยศาสตร์มี วตั ถปุ ระสงค์ ๒ ประการ คือ เพ่อื ให้นามาซ่ึงความโชคดี ความสาเรจ็ ความสขุ และความปลอดภัย และเพื่อ ทาลายหรือขจัดปัดเปุา สิ่งอัปมงคลและภัยพิบัติทั้งปวง กล่าวสาหรับความเช่ือเร่ืองไสยศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง กับโนรา ได้แก่ ความเช่อื เกยี่ วกบั โชคลาง ความเช่อื เก่ียวกับเวทมนตร์คาถา โดยเฉพาะการราโนราโรงครูผู้ท่ี เป็นโนราใหญ่หรือหัวหน้าคณะจะต้องมีเวทมนตร์คาถาเพื่อปูองกันเสนียดจัญไร ปูองกันวิญญาณร้ายที่จะ เข้ามาในพธิ ีโนราโรงครู ปูองกันคุณไสยท่ีจะได้รับจากบุคคลอื่น การประกอบพิธีกรรมบางอย่างในโนราโรง ครูจะต้องใช้เวทมนตร์คาถาประกอบ เช่น การเบิกโรง การผูกขี้ผูกเยี่ยว (หมายถึง การควบคุมตนเองไม่ให้ ปวดปสั สาวะหรืออุจจาระในขณะราหรือประกอบพิธกี รรมด้วยการว่าหรือท่องคาถากากับ) การแต่งตัว การ สวมเทริด การแทงเข้ (จระเข้) การเหยียบเสน การตัดผมผีช่อ การราถีบหัวควาย การชักเสียงให้ไพเราะ (หมายถึงการทาให้เสียงตนเองดังและมีความไพเราะติดใจคนฟังด้วยการว่าหรือท่องคาถากากับ) เป็นต้น ความเช่ือเกยี่ วกับสิ่งศักด์ิสิทธิ์และความขลังของโนราโรงครู เช่น เช่ือในเรื่องเทพเจ้าและวิญญาณศักด์ิสิทธิ์ อืน่ ๆ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม เป็นต้น เชื่อในวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ เช่น ทวดเกาะยอ ทวดวัง เนียง ทวดแม่นางเรียม เป็นต้น ความเชื่อในเรื่องพระภูมิเจ้าที่ เช่น พระภูมิบันได พระภูมิเสาห้อง พระภูมิ ผู้ทาหน้าท่ีรักษาประตูซ่ึงชาวภาคใต้ออกเสียงเป็น “นนทรี” หมายถึงพระนันทิศวรผู้ทาหน้าท่ีเฝูาประตู “ตามคติฮินดูเช่ือว่าเมื่อพระศิวะร่ายราพระนันทิศวรก็จะทาหน้าท่ีนั่งตีตะโพน เมื่อพระอิศวรเสด็จไปในท่ี ต่าง ๆ พระนันทิศวรก็จะแปลงกายเป็นโคทรง ยามปกติพระนันทิศวรจะทาหน้าที่เฝูาทวาร” เป็นต้น ส่วน ความเช่ือเก่ียวกับความขลังของโนราโรงครู ชาวบ้านและคณะโนราเชื่อว่าโนราโรงครูเป็นพิธีที่มีความขลัง และศักดิ์สิทธ์ิ สามารถประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น พิธีครอบเทริดหรือผูกผ้าใหญ่ พิธีผูกผ้าปล่อย พิธี แก้บน พธิ ีเหยียบเสน พิธีตัดจุก พิธีตัดผมผีช่อ เป็นต้น ส่วนความเชื่อท่ีเก่ียวข้องกับโนราในเร่ืองอ่ืน ๆ เช่น ความเชื่อในเรื่องอานาจเร้นลับของโนรา เช่น โนราใหญ่หรือหัวหน้าคณะ ขณะทาพิธีในโรงครูเชื่อว่าจะมี อานาจเร้นลับที่สามารถติดต่อและควบคุมวิญญาณต่าง ๆ และภูตผีได้ สามารถการาบหรือทาลายส่ิง
๕๐ ผดิ ปกตหิ รอื ความช่วั รา้ ยที่เกิดจากอานาจจากภูตผีได้ความเชื่อในเรื่องโรงพิธี ความเช่ือในเร่ืองเคร่ืองดนตรี วา่ มีความขลังศักด์สิ ิทธมิ์ ีครรู ักษาจะลบหลู่หรอื ข้ามกรายไม่ได้ เปน็ ต้น ๑.๓ ความเชอื่ เร่ืองการแก้บน ความเช่ือเร่ืองการแก้บน การแก้บน หมายถึง การทาอย่างหน่ึงอย่างใดให้ขาดจากพันธะสัญญาที่ บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ให้ไว้กับเทพเจ้า ส่ิงศักด์ิสิทธ์ิ ครูหมอโนรา เป็นต้น การแก้บนเกิดจากความเชื่อท่ีว่า มนุษย์สามารถติดต่อกับดวงวิญญาณได้ ชาวภาคใต้เช่ือว่าสามารถติดต่อกับดวงวิญญาณได้โดยผ่านพิธี บวงสรวงเซน่ ไหว้ และมีคนกลางในการติดต่อ เช่น คนทรง ศิลปิน หมอไสยศาสตร์ เป็นต้น “การติดต่อกับ วิญญาณเหล่าน้ีมักเน่ืองมาจากการบนบานเพื่อประโยชน์บางอย่างเรียกว่าว่า “เหมฺรฺย” คือการกล่าวอ้าง วิญญาณเหล่าน้ันให้ช่วยเหลือหรือเลิกให้โทษต่าง ๆ” เหมฺรฺยจึงเป็นพันธะสัญญาท่ีมีผู้บนไว้กับสิ่งท่ีเคารพ นับถอื พรหมศกั ด์ิ เจิมสวัสด์ิ และปรีชา นุ่นสขุ (๒๕๒๕ : ๑๒๕) ไดอ้ ธิบายเรื่องเหมรฺ ยฺ เอาไว้ว่า เหมฺรฺยมีทั้ง “เหมฺรฺยปาก” คือการบนบนบานกับวิญญาณด้วยวาจา และ “เหมฺรฺ ยห่อ” เป็นการจัดห่อเหมฺรฺย มีข้าวสาร หมากพลู ดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น ห่อเข้าไว้แล้ว กล่าวบนบานผู้เป็นเจ้าของคาบนบานต้องเก็บห่อเหมฺรฺยไว้ ถ้าคาบนบานน้ันสัมฤทธิ์ผล ตอ้ งจัดการ “แกเ้ หมฺรฺย” คือ ทาพิธีบวงสรวงตามทต่ี กลงไว้ตอนบนบาน หรอื การแกบ้ น ชาวบา้ นและคณะโนราต่างมีความเช่ือในเรื่องการบนและการแก้บนท่ีเก่ียวข้องกับโนราโดยเช่ือว่า สามารถบนบานขอความช่วยเหลอื จากครหู มอโนราในเรอ่ื งต่าง ๆ ไดแ้ มช้ าวบา้ นทั่วไปท่ีไม่ได้มีเช้ือสายโนรา โดยตรงการบนหรอื การแกบ้ นของชาวบ้านและคณะโนรามอี ยู่ ๒ ลกั ษณะ คือ การบน และแก้บนจากการท่ี ชาวบา้ นหรือลกู หลานตายายโนราขอความช่วยเหลือครูหมอโนราในเร่ืองต่าง ๆ เช่น บนให้หายจากอาการ ปุวยไข้ บนให้พ้นจากการถูกเกณฑ์ทหาร บนให้ของหายได้คืน บนให้สอบเข้าเรียนต่อได้ บนให้สอบเข้า ทางานหรือหางานได้ บนเมื่อมีคดีความขึ้นโรงข้ึนศาลให้พ้นโทษหรือได้รับการลดหย่อนบนให้ครอบครัวมี ความสงบสขุ บนให้คนในครอบครัวเลิกจากอบายมุข เปน็ ตน้ แต่ครหู มอโนรา จะไม่รับช่วยเหลือหรือรับบน ในเรื่องที่ผิดศีลธรรม จารีตประเพณี เช่น เรื่องชู้สาว การลักขโมย การมุ่งร้ายต่อผู้อ่ืน เป็นต้น อีกประการ หนึ่งคือการบนและแก้บนจากการท่ีชาวบ้านหรือลูกหลานตายายโนราถูกครูหมอโนราลงโทษ ด้วยสาเหตุ ต่าง ๆ เช่น ลูกหลานเพิกเฉยไม่เซ่นไหว้ตายายโนรา ไม่ตั้งหิ้งบูชาตายายโนรา ต้องการให้สืบทอดการรา โนราหรอื เป็นร่างทรงครหู มอโนรา เป็นต้น ส่วนการบนและการแก้บนจะเป็นไปตามความเช่ือและพิธีกรรม ของโนรา กรณีตัวอย่างการบนและการแก้บนของชาวบ้านท่าคุระ ตาบลคลองรี อาเภอสทิงพระ จังหวัด สงขลา ต่อเจ้าแม่อยู่หัววัดท่าคุระที่ชาวบ้านขอความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับการบนขอความ
๕๑ ช่วยเหลือครูหมอโนรา แต่การแก้บนอาจจะแก้ด้วยการปิดทองพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว บวชพระ บวชชี บวชชพี ราหมณ์ ราโนราถวาย ราออกพรานถวายในโอกาสท่ีมีพิธีโนราโรงครูวัดท่าคุระ หรืองานตายายย่าน ในแต่ละปี (พิทยา บุษรารัตน.์ ๒๕๓๗ : ๑๓๐ – ๑๓๑) ความเชอื่ เรอ่ื งการบนและการแก้บนเป็นความเชื่อที่ มีผลกระทบโดยตรงต่อชาวบ้านและลูกหลานตายายโนราท้ังทางร่างกาย และจิตใจ ชาวบ้านและลูกหลาน ตายายโนราหลายคนตอ้ งตั้งห้ิงบชู าครหู มอโนราต้องมีการบวงสรวงเซ่นไหว้ต้องจัดให้มีการราโนราโรงครู มี การสืบทอดการราโนรา เป็นคนทรงครูหมอโนรา ในทางกลับกันชาวบ้านและลูกหลานตายายโนราเชื่อว่า ตนเองก็ไดร้ ับความคุ้มครองและความช่วยเหลือจากครหู มอโนราในส่ิงท่ีบนบานขอความช่วยเหลือตลอดจน ความสงบสุขและความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน จึงทาให้ความเช่ือเรื่องครูหมอโนราการราโนราโรงครู และศิลปะการร่ายราโนรายังคงอยู่ในชุมชนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา และพื้นที่อ่ืน ๆ ในภาคใต้มาจนถึง ปจั จุบัน ๑.๔ ความเช่ือเรื่องการเหยยี บเสน ความเช่ือเรื่องการเหยียบเสน เสนเป็นเน้ือที่งอกนูนจากระดับผิวหนังเป็นแผ่น ถ้ามีสีแดงเรียก “เสนทอง” ถ้ามีสีดาเรียก “เสนดา” ไม่ทาให้เจ็บปวดหรือมีอันตราย แต่ถ้างอกบนบางส่วนของร่างกาย เช่น บนใบหน้าจะดูน่าเกลียด ถ้าเป็นกับเด็ก ๆ เสนจะโตข้ึนตามอายุ (อุดม หนูทอง. ๒๕๓๑ : ๑๗๑) ชาวบ้านและคณะโนราเช่ือว่าเสนเกิดจากการกระทาของผีที่เรียกว่า “ผีโอกะแชง” ซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่เฝูา เสาโรงโนรา และส่วนหนึ่งเป็นเพราะการทาเครื่องหมายของครูหมอโนราเพื่อต้องการเอาเด็กคนน้ันเป็น โนราโดยผ่านทางผีโอกะแชง เสนไม่สามารถรักษาให้หายได้นอกจากให้โนราทาพิธีเหยียบเสนให้ในวันโนรา เข้าโรงครู ซึ่งมักจะทากันก่อนราคล้องหงส์ โดยผู้ที่เป็นเสน หรือพ่อแม่ผู้ปกครองเตรียมเครื่องประกอบพิธี มามอบให้โนราใหญ่ ได้แก่ ขันน้าหรือถาดใส่น้า หมาก พลู ธูปเทียน ดอกไม้ มีดโกน หินลับมีด เงินเหรียญ เครื่องทอง เครอ่ื งเงิน หญา้ คา หญ้าเข็ดมอน รวงข้าว และเงนิ ๓๒ บาท (ในอดีตใช้ ๑๒ บาท) จากนั้นโนรา ใหญ่จะเอาขันหรือหรือถาดพร้อมด้วยอุปกรณ์ที่ผู้เป็นเสนเตรียมมาใส่ลงในขันหรือถาด ทาพิธีจุดธูปชุมนุม เทวดา ชุมนุมครูหมอโนรา ลงอักขระขอมท่ีหัวแม่เท้าของโนราใหญ่ แล้วราท่าแบบเฆ่ียนพราน หรือ “ท่า ย่างสามขุม” มโี นราหรอื ครหู มอโนราในร่างทรงราประกอบโดยถือกริชพระขรรค์ โนราใหญ่เอาหัวแม่เท้าไป เหยยี บเบา ๆ ตรงท่ีเปน็ เสนโดยหนั หลังใหผ้ ู้ทเ่ี ป็นเสน ว่าคาถากากบั ในขณะเดียวกันโนราหรือครูหมอโนรา ในร่างทรงก็จะเอากริช พระขรรค์ไปแตะตรงที่เป็นเสนพร้อมกับบริกรรมคาถา ทาเช่นนี้ ๓ คร้ัง เสร็จแล้ว เอามีดโกน หินลับมีด และของอ่ืนๆ ในขันน้าหรือถาดไปแตะที่ตัวผู้เป็นเสนจนครบทุกอย่างเป็นเสร็จพิธี จากพิธีกรรมดังกล่าวเช่ือว่า เสนจะค่อยๆ จางหายไป ถ้าไม่หายก็ให้ทาซ้าอีกจนครบ ๓ คร้ัง เสนจะหายไป ในทสี่ ดุ
๕๒ ๑.๕ ความเชื่อเรอ่ื งการรักษาอาการปว่ ยไข้ ความเชื่อเร่ืองการรักษาอาการปุวยไข้ เป็นความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อเร่ืองครูหมอโนรา ชาวบา้ นและคณะโนราเช่ือวา่ ครูหมอโนราและพิธีกรรมในโนราโรงครูสามารถรักษาอาการปุวยไข้บางอย่าง ได้ ซ่ึงอาการปุวยไข้น้ันมาจากสาเหตุ ๒ ประการ คือ อาการปุวยไข้อันเกิดจากความผิดปกติร่างกาย และ โรคภัยต่าง ๆ การรักษาเบ้ืองต้นก็คือการบนบานขอความช่วยเหลือจากครูหมอโนราที่ตนเคารพนับถือให้ หายปวุ ยจากโรคน้ัน ๆ แล้วจะแก้บนเมื่อหายเป็นปกติ อาการปุวยไข้บางอย่าง เช่น การเสียสติ ถูกคุณไสย ถูกวิญญาณผีรา้ ยเขา้ สิงร่าง หรือทช่ี าวบ้านเรียกวา่ “ผเี ข้า” ญาตพิ ่ีน้องต้องพาไปรักษากับครูหมอโนรา โดย ผ่านศลิ ปนิ โนรา หรอื คนทรงครหู มอโนรา การรกั ษาอาการผ้ปู ุวยจะใชท้ ั้งการบน การรดน้ามนตร์ การต้มยา การปดั เปุาด้วยเวทมนตร์คาถา บางครั้งคนทรงครูหมอโนราอาจจะเดินทางไปช่วยเหลือรักษาถึงท่ีบ้านของ ผ้ปู วุ ย เพราะอาการปุวยบางอย่างมีความเก่ียวข้องกบั ครหู มอโนราจะตอ้ งใช้การบน การตั้งหิ้งบูชา หรือการ ราโนราถวายหน้าห้ิงบูชาครูหมอโนราในบางครั้ง อาการปุวยไข้อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากการกระทาหรือการ ลงโทษของครูหมอโนรา อันเนื่องมาจากความต้องการของครูหมอโนรา ท่ีต้องการให้บุคคลหน่ึงบุคคลใด หรือลกู หลานตายายโนรา เป็นผู้สืบทอดการราโนรา เป็นคนทรงครูหมอโนรา หรือเกิดจากความเฉยเมยของ ลูกหลานตายายโนราทไ่ี มเ่ คารพนับถอื ไมบ่ วงสรวงเซน่ ไหวค้ รหู มอโนรา ดงั ได้กล่าวมาแล้วในความเช่ือเร่ือง การแก้บน โดยเฉพาะผู้มีเช้ือสายโนราหรือเป็นลูกหลานตายายโนรา มักจะต้องประสบและเกิดอาการปุวย ไข้ต่าง ๆ เชน่ ปวดท้อง เจบ็ หนา้ อก ปวดบวม ผอมแห้งแรงน้อยท่ีเรียกว่า “ตายายย่าง” ชาวบ้านและคณะ โนราเช่อื วา่ อาการปวุ ยไข้อันมีสาเหตุจากการกระทาของครูหมอโนราจะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการของ โนราเท่าน้ันจึงจะหาย และผู้ปุวยเมื่อหายแล้วก็จะต้องทาตามความต้องการของครูหมอโนรา ไม่ว่าจะเป็น การแกบ้ น การตั้งหิ้งบูชา การจดั โนราโรงครูถวาย ยอมรับเป็นโนราหรือคนทรงครูหมอโนรา อาการปุวยไข้ อันเกิดจากการกระทาของครูหมอโนราจะต้องให้โนรา คนทรงครูหมอโนราเท่านั้นเป็นผู้บนบาน หรือเซ่น ไหว้ และตอ้ งมีการราโนราโรงครถู วายจงึ จะไดร้ บั การยนิ ยอมจากครหู มอโนรา ๗. ข้นั ตอนการจดั พิธกี รรมโนราโรงครู โนราโรงครูมี ๒ ชนดิ คือโนราโรงครูใหญ่กบั โนราโรงครเู ล็ก แตร่ ายละเอียดของพิธีกรรมบางอย่าง เช่น ราคล้องหงส์ ราแทงเข้ (จระเข้) ครอบเทริด จะทากันในโนราโรงครูใหญ่เท่าน้ัน นอกจากนี้โนราโรงครู ในแตล่ ะพน้ื ทอ่ี าจจะมีข้อแตกตา่ งกนั บ้าง พิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การตัดจุก เหยียบเสน ตัดผมผีช่อ การราถีบ
๕๓ หัวควาย จะมีหรือไม่มีก็ได้ ข้ึนอยู่กับความต้องการของเจ้าภาพและผู้เก่ียวข้องอ่ืน ๆ สาหรับโนราโรง ครใู หญ่ จะตอ้ งกระทากนั ๓ วัน มีขน้ั ตอนการจัดพธิ ีกรรม ดังนี้ พิธีกรรมในวันแรก ซึง่ เป็นวนั พุธตอนเย็น เรมิ่ ตง้ั แตพ่ ิธไี หวพ้ ระภูมิและต้ังศาลพระภมู ิ เช่นเดียวกับ การต้ังศาลพระภูมทิ ั่วไป จากนั้นผู้เข้าร่วมจะประกอบพิธีทางศาสนา โดยนิมนต์พระสงฆ์ จานวน ๕ รูป มา สวดชยั มงคลคาถา คร้ันเวลาเย็นหรือย่าค่าที่ชาวบ้านปักษ์ใต้เรียกว่า “เวลานกชุมรัง” คณะโนราจะเข้าโรง โดยเจ้าภาพต้องนาหมากพลูไปรอรับท่ีหน้าบ้าน คณะโนราจะขนอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องแต่งตัวโนรา เทริด หน้าพราน ฯลฯ เดินเข้าโรงพร้อมกับประโคมเครื่องดนตรี หัวหน้าคณะจะเป็นผู้นาเข้าโรงพร้อมกับ บริกรรมคาถาว่า “ออนอ ออพ่อ ออแม่ อออา ออแอ เวียนแวะท้องโรง” นาเคร่ืองและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไป วางไว้ที่กลางท้องโรงเรียกว่า “ตั้งเครื่อง” ได้เวลาจึงทาพิธี “เบิกโรง” เพ่ือเชิญครูหมอโนราให้มาชุมนุมใน โรงพิธี เร่ิมจากเอาพานดอกไม้ธูปเทียน ๒ พาน พานแรกวางไว้เป็นพานครู พานที่ ๒ เอาเทียน ๓ เล่ม หมาก ๓ คา ค่ากานล ๓ บาท หรือ ๑๒ บาท เล็บสวมมือ ๓ อัน กาไลมือ ๓ วง จัดใส่พานจุดเทียน ๓ เล่ม พร้อมกับเทียนใหญท่ เี่ รยี กว่า “เทียนครู” นาเทียน ๓ เล่มไปปักไว้ท่ีกลอง ๑ เล่ม พร้อมกับหมากพลู ๑ คา อีก ๒ เล่มปักไว้ที่ทับใบละ ๑ เล่ม หมากพลูใบละ ๑ คา จุดเทียนที่เคร่ืองสังเวยบนหน้าพรานหน้าทาสีบน ยอดเทรดิ โนราใหญ่ผรู้ ่วมพธิ ยี กพานหมากจุดเทยี นอีก ๑ เล่ม จับสายสญิ จน์ทต่ี อ่ จากเพดานหิ้งบูชาครูหมอ โนราบนบ้านเจ้าภาพมายังโรงโนราตั้งนะโม ๓ จบ กล่าวชุมนุมเทวดา กล่าวชุมนุมครู ทาพิธีซัดหมาก เอา หมากคาแรกวางไวท้ ่กี ลอง ไปเหน็บหลงั คาโรงเพื่อบูชาเทวดา หมากคาท่ี ๒ วางไว้ท่ีทับใบแรก ไปสอดไว้ใต้ เสื่อเพื่อบูชานางธรณี หมากคาท่ี ๓ วางไว้ท่ีทับใบที่ ๒ พร้อมกับเทียน ๑ เล่ม นามาสอดเข้าไปในกาไลมือ ก่อน ๓ รอบ แลว้ จึงชัดเขา้ ไปในทับที่ ตีทับรวั ลกู คู่จะตดี นตรีอืน่ ๆ ข้นึ พรอ้ มกันเป็นเสร็จพธิ ี ตอ่ มาโนราจะ “ลงโรง” คือประโคมดนตรีลว้ น ๆ ประมาณ ๑๒ เพลง จบแล้วทาพิธีร้อง “กาศครู” โนราใหญ่จะแต่งตัวโนรากลางโรงพิธี (เดิมโนราทั่วไปจะแต่งตัวโนรากลางโรงพิธี เพื่อจับบทร้องและบท แสดงต่าง ๆ) กล่าวคาบูชาพระรัตนตรัย ครูบาอาจารย์ เทวดาและสิ่งศักด์ิสิทธ์ิต่าง ๆ เร่ิมตั้งแต่บทร้องท่ี เรียกวา่ “บทขานเอ” “บทหนา้ แตระ” “บทรายแตระ” “บทเพลงโทน” ดังตวั อย่างเช่น “รนื่ เอยรน่ื รนื่ บทขานเอ เอาหลังมาพิงเปน็ แท่น จะไหว้นางธรณีผง่ึ แผน ตีนซา้ ยรองหญงิ รองตนี มนษุ ยท์ ัง้ หลาย นาคเจา้ ฤาสาย ยงั เล่าตนี ขวารองชาย ขานใหโ้ นเนโนไน
๕๔ ................................. ................................... หอมรสครูขา้ ส่งกลิ่นพอ่ มาไรไร หอมมาสาแค่ ลูกเหลียวไปแลหอมไกล” “ฤกษง์ ามยามดี บทหน้าแตระ ชอบฤกษ์จงึ เบกิ โรง ปาน้ีชอบยามพระเวลา ราชครูของนอ้ ง ดาเนินราชครถู ว้ นหนา้ ราชครูของข้า ลอยแล้วใหล้ อ่ งเข้ามา มาแล้วพอ่ อย่าพ้นไป” บทรายแตระ “ลกู กาศราชครเู ทา่ นัน้ แล้ว ผ่องแผว้ เป็นเพลงคาถา ลกู ไหวน้ างหงส์กรงพาลี ไหว้นางธรณเี มขลา ไหว้บรถิ ิวราชา ภมู าหาลาภมหาชยั ลกู ไหว้แมโ่ ภควดี ธรณเี น้อื เย็นไดเ้ ป็นใหญ่” “หตั ถ์ทัง้ สองประคองต้ัง บทเพลงโทน ดงั ดอกปทมุ มา หตั ถ์ทั้งสองประคองเศียร ยกขึน้ เหนือเศยี รรงั ย้ายไปหาขวา น่งั ไหวเ้ วียนแตซ่ า้ ย ไหว้อาจารย์ ไหว้มนุ นี าถพระศาสดา พุทธงั ธมั มงั สังฆา พระคณุ ท่าน ไหวค้ ณุ ศีลาพระบารมี เวลาปาฉะนีไ้ หว้ หลบหลกี หนี ครฑุ ยักษป์ ักษามาพยาบาล ศัตรูหมูม่ ารขอให้ รอบพระโลก”ี ไหวจ้ กั รพรรตฟิ ูาครอบ ไปทวั่ ทุกชั้นขัน้ ขอบ โนราบางคณะเม่ือกล่าวบทกาศครูจบแล้ว โนราใหญ่จะร้องบทท่ีว่าด้วยประวัติความเป็นมา และ ขัน้ ตอนการจดั พธิ ีกรรมโนราโรงครเู รยี กว่า “บทบาลีหนา้ ศาล” ดังตัวอย่างตอนหนง่ึ ว่า “บอกบาลีขานเอ ว่าโนเนโนไน ลักเองผู้ใด ถ้าพบในตารา หากแตง่ ชเู ดมิ ได้ เหมอื นพลายช้างงา ชาติเช้ือโนรา เปน็ เถรเมอื งคนหนง่ึ
๕๕ ตง้ั พระไตรโลกแล้ว พระแก้วราพึง ยงั ขดั ขอ้ งขึง สิ่งหนงึ่ ไม่โถก ไม่ไดต้ งั้ ชาตรี ไว้เปน็ ทปี่ ระโลกโลก ระงับดับโศก สนุกสบาย” จากน้นั จึงกล่าวเชิญครูด้วยบทชุมนุมครูและบทเชิญครูแล้วโนราใหญ่และผู้เข้าร่วมพิธีจะพร้อมกัน กราบครู โดยกราบพร้อมกันจานวน ๙ ครั้ง เม่ือกราบครูแล้วโนราใหญ่จะรา “ถวายครู” คือร่ายราด้วยบท ต่าง ๆ ของโนราเพือ่ บูชาครู และ “จบั บทต้ังเมือง” (โนราบางคณะจะจับบทต้ังเมืองในเช้าวันพฤหัสบดี อัน เปน็ วันท่ีสองของการราโนราโรงคร)ู บทต้ังเมอื งหมายถึงบทร้องเพ่ือการจับจองพื้นท่ีโรงโนราเป็นกรรมสิทธิ์ ของตนตามความเช่ือของโนราว่า เม่ือคร้ังท่ีเจ้าชายน้อยหรือขุนศรีศรัทธาได้ราโนราถวายพระสายฟูาฟาด แล้ว พระองค์ได้ประทานเครื่องต้นของพระองค์ให้เป็นเครื่องแต่งตัวโนรา และประทานแผ่นดินให้ต้ังโรง โนรา ซ่ึงเปรียบเสมือนวา่ เปน็ เมอื ง ๆ หนง่ึ ของโนรา โดยเหตดุ ังกลา่ ว โนราไปต้ังโรงท่ีไหน โดยเฉพาะการต้ัง โรงครู จะต้องมีบทต้ังเมืองด้วย พิธีต้ังเมืองจะใช้ขันทองเหลืองหรือขันลงหินใบใหญ่ที่เรียกว่า “แม่ขัน” โดย คว่าขันลงแล้วเอาผ้าขาวปูทับ ใต้ขันจะมีข้าว ๓ รวงใบเฉียงพร้า ใบหมากผู้ หญ้าคา หญ้าเข็ดมอน มัดเข้า ด้วยกันแล้วเอามีดโกนหินลับมีด เงินเหรียญ ๑ อัน และเทียนชัยใส่รวมเอาไว้ โนราใหญ่จะใช้เท้าขวาเหยียบขัน แลว้ ราบทตา่ ง ๆ ตั้งแต่บทครูสอน บทสอนรา และบทตง้ั เมือง ดงั ตัวอย่างตอนหน่ึงว่า “พอ่ ตัง้ สน้ิ ตงั้ สุด ตง้ั พวกมนุษยไ์ วใ้ ต้หลา้ ตง้ั หญิงคนชายคน ไดเ้ ป็นพชื เป็นผลสบื ตอ่ มา ไดต้ ัง้ นางเออื้ ยเปน็ เจ้าเท่ เสร็จแลว้ ตั้งนางเอ้เป็นเจา้ นา พอ่ ต้งั นายคงเปน็ เจ้าแดน ต้ังนายไกรพลแสนเฝูารกั ษา พอ่ ตัง้ นายคงเป็นเจ้าแดน ตง้ั ปีตง้ั เดอื นตัง้ คนื ตั้งวันถัดกนั มา ไหวท้ า้ วอาทิตย์โคจร ได้ตัง้ เมอื งอดุ รบิญจา เขอเมอื งของพระองค์ นบั ไดห้ า้ พันวา ตรงนั้นแปเมืองราชา นบั ไว้ได้หา้ โยชนป์ ลาย พวกจีนไทยแขก จา่ ยแจกไปทั่วพาวาย ตง้ั รา้ นคา้ ขาย รอ้ งถวายพระพรแจว้ แจว้ ”
๕๖ หลังจากราบทต้ังเมืองแล้ว ก็ถือว่าเป็นเสร็จพิธีในวันแรก คณะโนราจะช่วยกันยกเครื่องสังเวย เทริด หน้าพราน หน้าทาสี ฯลฯ ไปวางไว้บนศาลหรือพาไล เพื่อทาพิธีเซ่นไหว้ในวันรุ่งขึ้น จากนั้นจะเป็น การราทัว่ ไปของคณะโนรา เพื่อใหค้ วามบนั เทิงแกผ่ มู้ ารว่ มพิธีและชาวบ้านโดยทัว่ ไป พิธกี รรมวนั ท่สี อง คือวนั พฤหสั บดี ถอื วา่ เป็นวันครู เป็นวันประกอบพิธใี หญท่ ้งั เพ่ือการเซ่นไหว้ แก้ บน และพิธีกรรมอื่น ๆ เริ่มต้ังแต่ลงโรงกาศครู เช่นเดียวกับวันแรก เพียงแต่วันน้ีนอกจากจะเชิญครูให้มา ชมุ นุมแล้ว จะมกี ารเซน่ ไหวแ้ ละแก้บนด้วย บทเชิญครูจงึ แตกต่างไปจากวนั แรกบ้าง ดงั ตวั อยา่ งตอนหนึ่งวา่ “เชญิ พ่อมาไวไว มารับเอาเครื่องบูชา ลูกแต่งที่เกา้ แตง่ ทส่ี บิ สอง ลูกแต่งรับรองไวท้ ่า ลกู แต่งไมข่ ดั ไมข่ อ้ ง พร้อมท้งั ขา้ วพองขา้ วลา หมากพรา้ วเล่าตาล ของคาวของหวานมีนานา ลูกแต่งไม่ข้องไม่ขดั ผา้ ผลัดลกู ลกู แต่งเอาไว้ท่า ราชครขู องข้า เชญิ พ่อมากันให้พร้อม มาเถดิ มาแหละ ราชครอู ย่าแวะอยา่ อ้อม เชิญมาใหพ้ รอ้ ม มาชุมนุมบนบรรณศาลา” ในขณะท่ีโนราร้องบทเชิญครู ครูหมอโนราหรือตายายโนราก็จะเข้าทรงในร่างทรงซึ่งคนทรงจะ เตรยี มตัว เพื่อเขา้ ทรงอยู่บนบ้านเจ้าภาพหรือในโรงโนราคนทรงจะต้องนุ่งผ้าโจงกระเบนใส่เส้ือสีขาวหรือสี อื่น ๆ มีผ้าสไบพาดเฉียง ซึ่งส่วนใหญ่นิยมผ้าขาว และเตรียมเครื่องบูชาครูคือดอกไม้ธูปเทียนไปด้วยการ เข้าทรงเรียกว่า “จับลง” จะเห็นได้จากอาการผิดปกติของคนทรง เช่นมือ แขน ขาสั่น ลาตัวโอนเอนไปมา เม่อื เข้าทรงเต็มตัวแล้ว คนทรงจะจุดเทียนลุกข้ึนร่ายราตามเสียงเชิดของดนตรีลงมาจากบ้านเจ้าภาพ หาก คนทรงอยู่ในโรงโนราจะลุกข้ึนร่ายราเช่นเดียวกัน ครูหมอโนราหรือตายายโนราบางองค์ก็จะข้ึนไปบนศาล หรือพาไล เพื่อตรวจดูเคร่ืองสังเวยว่ามีสิ่งใดขาดหรือจัดไม่ถูกต้องก็จะทักท้วง เจ้าภาพต้องจัดหาหรือแก้ไข จนเป็นที่พอใจ คร้ันครูหมอโนราหรือตายายโนราลงมานั่งยังโรงพิธีแล้ว เจ้าภาพและลูกหลานก็จะเข้าไป กราบไหวส้ อบถามเร่อื งราวตา่ ง ๆ ขอลาภขอพร แล้วนดั แนะกบั ครูหมอโนราในเร่ืองวันเวลาทจี่ ะราโรงครูใน โอกาสต่อไป สาหรับการรับเคร่ืองสังเวย เม่ือทาพิธีเซ่นไหว้นั้น ครูหมอโนราหรือตายายโนราในบางแห่งจะ ใช้เทียนท่ีจุดแล้วส่องวนไปตามเคร่ืองสังเวย แล้วจะเอาเทียนนั้นจ่อเข้าปากหรืออมควันเทียน โดยท่ัวไป เวลาครูหมอโนราหรือตายายโนราเข้าทรงในร่างทรงเต็มตัวก็มักจะใช้เทียนจุดไฟแล้วจ่อเข้าปากเช่นกัน
๕๗ เรียกว่า “การเสวยดอกไม้ไฟ” เมื่อถึงเวลาจะออกจากร่างทรงดนตรีจะทาเพลงเชิด คนทรงจะสะบัด ตวั อย่างแรง แล้วทุกอยา่ งกลับสอู่ าการปกติ เรียกว่า “บัดทรง” สาหรับวันนี้หากมีผู้มาขอทาพิธีครอบเทริด โนราใหญแ่ ละผู้ชว่ ยอกี สองคนจะแตง่ ตวั เป็นพิเศษเรียกว่า “แตง่ พอก” เพอ่ื ทาพิธคี รอบเทริดหรือผูกผ้าใหญ่ รวมท้ังผู้เข้ารับการครอบเทริดก็จะต้องแต่งพอกด้วย แต่ยังไม่ต้องสวมเทริด การแต่งพอกคือการนุ่งสนับ เพลาแล้วนุ่งผ้าลายตามแบบโนรา เอาผ้าขาวมาผืนหน่ึงพับเข้าเป็นช้ัน ๆ อย่างมีระเบียบตามจานวนเทริด ทตี่ งั้ บนพาไลและต้องจัดพอง ลา ให้ครบตามจานวนผ้าท่ีพับ เพ่ือเซ่นไหว้ครูด้วย ผ้าขาวแต่ละชั้นจะต้องใส่ หมาก ๑ คา เทียน ๑ เล่ม เงิน ๑ บาท เมื่อพับและบรรจุแล้วก็นามาพันไว้รอบสะเอวข้างละอัน มี ผา้ เช็ดหน้า ๑ ผืน ในผา้ เช็ดหน้าจะมีหมาก ๑ คา เทียน ๑ เล่ม เงิน ๑ บาท ผูกเป็นช่อไว้ ๑ คร้ัง เอาปลาย ข้างหน่ึงมาแขวนไว้ข้างสะเอว ต่อจากนั้นจึงนุ่งผ้าลายโดยปกติของโนราทับลงแล้วจึงใส่ผ้าห้อยหน้า หาง หงส์ เครือ่ งลกู ปัด และสวมเทริด เพ่อื ทาพธิ ีในข้ันตอ่ ไป การเซ่นไหว้ครูหมอโนราหรือตายายโนรา หลังจากร้องบทเชิญครูแล้ว เจ้าภาพ ชาวบ้านหรือ ลูกหลานตายายโนราท่ีบนบานและสัญญาเอาไว้ว่าจะแก้บนด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะเป็นของคาวหวาน วัตถุ เครอ่ื งใชห้ รือเครอื่ งแต่งตวั โนรา กจ็ ะนามาสง่ มอบใหก้ บั โนราใหญพ่ รอ้ มพานดอกไม้ธูปเทียน และเงินทาบุญ ท่ีเรียกว่า “เงินชาตายาย” ตามท่ีได้บนเอาไว้ หรือตามกาลังศรัทธาของแต่ละคน จากน้ันจะจุดเทียนที่ เครื่องสังเวย เทียนบนยอดเทริด เทียนบนศาลหรือพาไล เทียนครูท่ีท้องโรง รวมท้ังจุดเทียนเครื่องสังเวย หน้าหิ้งบูชาครูหมอโนราบนบ้านเจ้าภาพด้วยโนราใหญ่ผู้ร่วมพิธียกพานดอกไม้ธูปเทียนขึ้นบูชา จับ สายสิญจน์พร้อมกัน โนราใหญ่กล่าวนาบูชาพระรัตนตรัย กล่าวชุมนุมเทวดา กล่าวชุมนุมครูหมอ กล่าวคา แกบ้ น เซ่นไหว้ และเช้ือเชิญครูหมอโนราหรือตายายโนรามารับเครื่องสังเวยและอวยพรแก่ลูกหลาน โนรา ใหญ่กล่าวคาอทุ ิศส่วนกศุ ลไปให้ครหู มอโนราหรือตายายโนรา แล้วนาเอาหมากพลูมาบริกรรมคาถามอบให้ ผู้มาแกบ้ นทกุ คน ๆ ละ ๑ คา นาไปกินเพ่อื ความเป็นสริ ิมงคล เรียกว่า “หมากจุกอก” เสร็จพิธีเซ่นไหว้และ แกบ้ นด้วยสิง่ ของแล้วโนราท่วั ไปจะราถวายครู การราสอดเครื่องสอดกาไลและพิธีตัดจุก หลังจากโนราท่ัวไปราถวายครูแล้วก็จะมีการราสอด เคร่ืองเพ่ือให้ครโู นราได้ยอมรับการเปน็ โนรา โดยเฉพาะโนราท่ีผ่านการฝึกใหม่ ๆ ส่วนการราสอดกาไลหรือ ไหมร เป็นพิธีกรรมเพื่อรับศิษย์เข้าฝึกการราโนรา ทั้งท่ีเคยหัดรามาแล้วและยังไม่เคยหัดรามาก่อน โดย ผปู้ กครองจะนาบุตรหลานของตนพร้อมพานดอกไม้ธูปเทียนและเงิน ๑๒ บาท ไปกราบครูโนรา โนราใหญ่ รับมอบเครือ่ งบูชาแล้วก็จะสอบถามเพ่ือยืนยันความสมัครใจและคายินยอมจากผู้ปกครอง จากน้ันนากาไล มาสวมมือให้ประมาณ ๓ วง แล้วจับมือท้ังสองของเด็กยกขึ้นตั้งวง เพ่ือเอาเคล็ดในการราโนรา ส่วนการรา
๕๘ สอดเคร่ืองหรือท่ีเรียกว่า “จาผ้า” ผู้เข้าพิธีต้องจัดพานดอกไม้ธูปเทียนและเงิน ๑๒ บาท ไปกราบครูโนรา เม่อื ได้รับการยนื ยันถึงความสมคั รใจแลว้ โนราใหญจ่ ะรดน้ามนตร์ เสกเปุาด้วยคาถา แล้วมอบเครื่องแต่งตัว โนราท่ีเรียกว่า “เคร่ืองต้น” ให้ผู้เข้าทาพิธีไปแต่งตัวและออกมาราถวายครู โดยราบทครูสอน บทสอนรา ตามเวลาอันสมควรเป็นเสร็จพธิ ี จากน้ันจงึ ทาพธิ ีตดั จุก โดยผ้ปู กครองนาพานดอกไม้ธูปเทียน เงิน ๑๒ บาท มามอบให้โนราใหญ่พร้อมกับตัวเด็ก คณะโนราจะให้เด็กนั่งลงบนผ้าขาว โนราใหญ่และครูหมอโนราองค์ สาคัญ ๆ ในรา่ งทรง เช่น พระมว่ งทอง ขุนศรศี รัทธา ทาพธิ รี า่ ยราถือไม้หวายเฆี่ยนพรายและกริช พร้อมกับ น้ามนตร์มาประพรมที่ศีรษะเด็กและเอามือจับที่จุกของเด็ก บริกรรมคาถา ดนตรีเชิด จากนั้นจึงใช้กริชตัด จุกของเด็กพอเป็นพิธี เสร็จแล้วประพรมน้ามนตร์อีกครั้ง ส่งตัวเด็กให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองพาเด็กไปตัดจุก หรือโกนผมจริงตอ่ ไป พธิ ีครอบเทริดหรอื ผกู ผ้าใหญ่ พิธคี รอบเทรดิ หรือผูกผ้าใหญจ่ ะทาหลังจากพธิ ตี ดั จกุ แล้ว หากผู้เข้า พิธยี ังไมเ่ คยตดั จุก จะต้องทาพธิ ีตดั จกุ ก่อน เพื่อแสดงว่าเปน็ ผใู้ หญ่แล้ว และจะตอ้ งมีอายุครอบ ๒๒ ปี ยังไม่ แต่งงาน หากแต่งงานแล้วก็จะต้องทาใบหย่าร้างโดยสมมติกับภรรยาเพื่อมิให้เป็นปราชิกตามความเชื่อใน อดีต เมื่อครอบเทริดแล้วจะต้องไปราโนราให้ครบ ๓ คร้ัง เรียกว่า “รา ๓ วัด” หรือ “๓ บ้าน” แล้วจึงมา เข้าพิธีอุปสมบท จงึ จะถอื ว่าเป็นโนราโดยสมบรู ณ์แตใ่ นปัจจุบันสามารถอุปสมบทได้เลย พิธีครอบเทริดหรือ ผูกผ้าใหญ่ เริ่มโดยผู้เข้าพิธีจัดพานดอกไม้ธูปเทียน และเงิน ๑๒บาท เข้าไปกราบครูโนรา โนราใหญ่จะจัด ให้นั่งบนขันสิบสองนักษัตรท่ีวางคว่าครอบขันอีกใบหนึ่ง ซึ่งใส่น้ามีดโกนหินลับมีด ใบเงิน ใบทองหลาง ใบ ยอ แต่บางแห่งเอาใบยอกับใบทองหลางมาวางซ้อนกันบนเส่ือกลางโรงให้ผู้เข้าพิธีน่ังบน เหนือที่น่ังจะผูก เทรดิ หอ้ ยไว้ โดยมีสายสิญจน์ผูกโยงไปให้โนราใหญ่ ซึ่งตอนน้ีเรียกว่า “อุปัชฌาย์” โนราอีก ๒ คน เรียกว่า “คู่สวด” เส้นหนึ่ง หากผู้เข้าพิธีนิมนต์พระสงฆ์มาในพิธีด้วยก็จะผูกโยงสายสิญจน์ไปให้พระภิกษุถือไว้เส้น หน่งึ อกี เส้นหน่งึ โยงไปให้บิดามารดาและญาตพิ นี่ ้องของผู้เข้าพิธีถือไว้ เมื่อจะครอบเทริด ผู้ถือสายสิญจน์ทั้ง ๓ เส้นจะค่อย ๆ ผ่อนเชือกหย่อนเทริดลงมาโนราคนใดคนหนึ่งจะจับเทริดให้ครอบลงศีรษะขณะหย่อน เทริด หากไม่มีพระภิกษุในพิธีโนราใหญแ่ ละโนราผชู้ ว่ ยจะสวดมนตเ์ ชน่ เดียวกับพระให้ชยันโต เม่ือเสร็จแล้ว ด้ายท่ีผูกเทริดจะพันเทริดเอาไว้ จากน้ันโนราใหญ่ก็ทาพิธีมอบเครื่องหมายความเป็นโนราหรืออุปกรณ์ใน การรา มีพระขรรค์ หอกแทงเข้ (จระเข้) เปน็ ตน้ เพ่อื แสดงว่าได้เป็นโนราใหญ่และสามารถประกอบพิธีโนรา โรงครไู ด้ตอ่ ไป หลงั จากน้ันโนราทไี่ ดร้ ับการครอบเทริดจะราถวายครู โดยเริ่มราที่นักหรือพนัก ซ่ึงจัดเตรียม ไวต้ ั้งแต่บทสรรเสริญครู บทครูสอน บทสอนรา บทประถม และราทาบทพอเป็นพธิ ี เปน็ อนั แล้วเสรจ็
๕๙ พธิ ีแก้บน ดว้ ยการราโนราถวายครู และการราออกพรานหรือจับบทออกพราน หลังจากพิธีครอบ เทริดแล้ว โนราหรือชาวบ้านท่ีได้บทบานเพ่ือขอความช่วยเหลือครูหมอโนรา หรือบนบานเพราะถูกตายาย โนราลงโทษและได้สัญญาหรือทาทานบนไว้ว่าจะแก้บนด้วยการราโนราหรือจับบทออกพราน จะมาแก้บน กันในตอนนี้ โดยช่วงเช้าจะแก้บนได้เฉพาะผู้ที่จะแก้บนด้วยการราโนรา เร่ิมต้ังแต่แต่งตัว แล้วนาพาน ดอกไม้ธปู เทียน เงิน ๑๒ บาทหรือตามที่ครูโนรากาหนด ไปมอบให้โนราใหญ่หรือครูหมอโนราในร่างทรงที่ ตนได้บนเอาไว้ จากน้ันโนราใหญ่หรือผู้ช่วยจะเป็นผู้นาในการรา แล้วให้ผู้แก้บนราตาม บทที่ใช้ราแก้บนมี บทสรรเสริญครู บทครูสอน บทสอนรา ซึ่งจะราบทต่าง ๆ พอเป็นพิธี จบแล้วไปกราบครูโนราอีกครั้ง แล้ว รับการประพรมน้ามนตร์ ส่วนการแก้บนด้วยการออกราพรานหรือจับบทออกพราน จะแก้บนได้ในเวลาท่ี เลยเท่ียงวันไปแล้ว ผู้แก้บนจะต้องแต่งตัวพราน นาเครื่องบูชามามอบให้โนราใหญ่เช่นเดียวกับการแก้บน ดว้ ย การราโนรา โนราใหญ่หรือผู้ช่วยจะเป็นผู้นาในการจับบทออกพรานแล้วใหผ้ ้แู กบ้ นราตาม บทที่ใช้ เช่น บทพระราม บทขนุ ชา้ งขุนแผน เปน็ ตน้ พธิ ผี กู ผา้ ปล่อย เป็นการประกอบพิธีเพ่ือตัดขาดจากความเป็นโนราและไม่ถูกครูหมอโนราหรือตา ยายโนราลงโทษ การทาพิธีผูกผ้าปล่อยอาจทาในเวลากลางคืนของวันพฤหัสบดีก็ได้ ผู้เข้าพิธีเตรียมพาน ดอกไมธ้ ปู เทยี น เงิน ๑๒ บาท มามอบให้โนราใหญ่ กราบขอขมาครูโนราและบอกความจาเป็นท่ีต้องเลิกรา โนรา จากน้ันโนราใหญ่จะมอบเครื่องแต่งตัวโนราให้ผู้เข้าพิธีนาไปแต่งตัว แล้วออกมาราโนราเป็นคร้ัง สุดทา้ ยอยา่ งเต็มความสามารถ จบแล้วโนราใหญ่จะเรียกไปถามคายืนยันอีกครั้ง จากนั้นโนราใหญ่บริกรรม คาถาใหต้ ดั ขาดจากความเป็นโนราแล้วให้ผู้เข้าพิธีออกไปนอกโรงโนราและถอดเคร่ืองแต่งตัวโนราออกแล้ว นาเครื่องแตง่ ตวั โนราทัง้ หมดส่งใหโ้ นราใหญโ่ ดยตอ้ งส่งมาทางขา้ งหลงั ตนเอง และไม่หันไปมองโรงโนราเป็น เสร็จพิธี ในวันที่สองเม่ือเสร็จสิ้นพิธีกรรมต่าง ๆ แล้วก็จะเป็นการราท่ัวไปเพ่ือให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม และ ถอื ว่าเปน็ การราถวายครูด้วย พธิ กี รรมในวันทสี่ าม คอื วนั ศกุ รอ์ ันเป็นวันสดุ ท้ายของพิธกี รรมโนราโรงครูใหญ่โดยเร่ิมตั้งแต่ลงโรง กาศครู เชิญครู และราท่ัวไปเพ่ือถวายครูเช่นเดียวกับวันท่ีหนึ่งและวันที่สองจากนั้นคณะโนราก็จะราบทที่ เรียกว่า “สิบสองบทสิบสองเพลง” เช่น บทสอนรา บทประถม บทนางนกจอก บทนกเป็ดกาน้า บทพระสุ ธน - นางมโนห์รา บทไกรทอง ดงั ตวั อย่าง เช่น บทพระสธุ น - นางมโนห์รา “ขอแสดงแจ้งเร่ืองในเบือ้ งบท ครบกาหนดสบิ สองทานองสาร กลา่ วถงึ นางมโนหร์ าปรีชาชาญ พฤฒาจารยจ์ ะเอาไปเผาไฟ
๖๐ ข้นึ มากราบบาทแม่ผวั สงสารตวั วบิ ัติไม่แคล้วจะตกั ษัย ขอปีกหลกี หนีแม่ผวั ไป ถึงเวยี งชัยไกลลาศปราสาททอง” บทไกรทอง “ชาละวันผันโกรธโดดนา้ ผลงุ รีบหมายม่งุ เอาแพไม่แลเหลยี ว นายไกรยืนรา่ ยมนตรอ์ ยู่คนเดยี ว กุมภลี ์เหลียวฟาดหางเข้ากลางแพ นายไกรขึ้นขหี่ ลงั ไมย่ งั้ หยุด กมุ ภลี ์มุดลอ่ งไปในกระแส สิบสองบทงดไวพ้ อได้แล งดแตเ่ พียงนพ้ี ระราชครู” การเหยียบเสน หลังจากโนราราบทสิบสองบทสิบสองเพลงแล้ว ก็จะทาพิธีเหยียบเสน เสน เป็น เน้ืองอกท่ีข้ึนจากระดับผิดหนัง เป็นแผ่น ถ้ามีสีแดงเรียกว่า “เสนทอง” ถ้ามีสีดาเรียกว่า “เสนดา” เสนไม่ ทาให้เจ็บปวดหรอื มอี นั ตราย เสนอาจจะงอกบนศีรษะ บนใบหนา้ บางส่วนของร่างกายทาให้ดูน่าเกลียด ถ้า เป็นกบั เด็กเสนจะโตขึ้นตามอายุ ชาวบ้านและคณะโนราเช่ือว่าเสนเกิดจากกระทาของ “ผีโอกะแชง” หรือ “ผีเจ้าเสน” หรือเพราะการทาเครื่องหมายของครูหมอโนราหรือตายายโนรา เสนรักษาให้หายได้โดยการ เหยยี บของโนราในพธิ กี รรมโนราโรงครู ดงั นั้นผู้ทเ่ี ป็นเสนหรือผู้ปกครองต้องจัดเตรียมเครื่องประกอบพิธีมา มอบให้โนราใหญ่ ได้แก่ ขันน้าหรือถาดใส่น้า หมากพลู ธูปเทียน ดอกไม้ มีดโกน หินลับมีด เงินเหรียญ เคร่ืองทอง เคร่ืองเงิน หญ้าคา หญ้าเข็ดหมอน รวงข้าว และเงิน ๓๒ บาท (ในอดีตใช้ ๑๒ บาท) จากน้ัน โนราใหญ่จะเอาน้าใส่ขันหรือถาดพร้อมด้วยอุปกรณ์อื่น ๆ ท่ีได้เตรียมมา ทาพิธีจุดธูปเทียน ชุมนุมเทวดา ชุมนุมครูหมอโนรา ลงอักขระขอมที่หัวแม่เท้าของโนราใหญ่ แล้วราท่าแบบเฆ่ียนพราย หรือ “ท่าย่างสาม ขุม” มีโนราหรือครูหมอโนราในร่างทรงราประกอบโดยถือกริช พระขรรค์ โนราใหญ่เอาหัวแม่เท้าไปแตะ ตรงที่เป็นเสนแล้วเอาหัวแม่เท้าไปเหยียบเบา ๆ ตรงที่เป็นเสนโดยหันหลังให้ผู้ท่ีเป็นเสน ว่าคาถากากับใน ขณะเดียวกันโนราหรือครูหมอโนราในร่างทรงก็เอากริช พระขรรค์ ไปแตะตรงท่ีเป็นเสนพร้อมกับบริกรรม คาถาทาเช่นน้ี ๓ ครง้ั เสร็จแลว้ เอามีดโกน หินลับมีด และของอ่นื ๆ ในขนั นา้ หรือถาดไปแตะท่ีตัวผู้เป็นเสน จนครบทุกอย่าง เป็นเสร็จพิธี จากพิธีกรรมดังกล่าวเชื่อว่าเสนจะค่อย ๆ หายไป ถ้าไม่หายให้ทาซ้าอีกจน ครบ ๓ ครง้ั เสนจะหายไปในทีส่ ดุ การตัดผมผชี อ่ ผมผีชอ่ คอื ผมทจ่ี บั ตัวเปน็ กระจุกโดยธรรมชาติ เหมอื นผูกมดั เอาไว้ตั้งแต่แรกคลอด (ปัจจุบันพบน้อยมาก) ชาวบ้านและคณะโนราบางแห่งเช่ือว่าผมผีช่อ เกิดจากความต้องการของครูหมอ โนราหรือตายายโนรา ท่ีจะให้บุคคลบางคนมาเป็นโนราหรือคนทรงครูหมอโนรา จึงผูกผมเป็นเคร่ืองหมาย
๖๑ เอาไว้ โดยเฉพาะครูหมอโนราหรือตายายโนราฝาุ ยอิสลาม ได้แก่ โต๊ะห้าดา ยินมู่หมี และลูกสาวของโต๊ะห้า ดา คือ จันจุหรี ศรีจุหรา เช่ือว่าถ้าใครตัดผมน้ีออกด้วยตัวเองจะเกิดโทษภัย แต่แก้ได้โดยให้โนราใหญ่ตัด ออกให้ในพิธีกรรมโนราโรงครู ผมที่ตัดออกแล้วให้เก็บไว้กับตัวผู้ท่ีเป็นเจ้าของ เชื่อว่าจะเป็นของขลัง สามารถปูองกันอันตรายได้ แต่โนราใหญ่จะต้องทาพิธีขออนุญาตแม้จะตัดผมออกแล้วก็จะผูกผมใหม่อีก ผเู้ ข้าพิธตี ้องเตรียมพานดอกไม้ธูปเทียน เงิน ๑๒ บาท มามอบให้โนราใหญ่ทางคณะโนราจะเตรียมกรรไกร มีดหมอหรือพระขรรค์เอาไว้ เร่ิมพิธีโดยบริกรรมคาถา ผู้เข้าพิธีปูผ้าขาวรองรับผมของตนเอง โนราใหญ่ทา น้ามนตร์รดหวั ผ้เู ขา้ พิธี แลว้ รา “ทา่ สามยา่ ง” หรือ “ท่าย่างสามขุม” ตัดผมท่ีจับตัวกัน ๓ ครั้งด้วยกรรไกร พระขรรค์ หรอื มดี หมอ เกบ็ ผมทต่ี ดั ออกแลว้ ๓ ครง้ั เรียกว่า “สามหยิบ” มอบให้ผู้เข้าพิธีหรือผู้ปกครองไป เกบ็ รักษาไว้ทีบ่ ้าน เชอ่ื วา่ หลงั จากตัดผมผชี อ่ ออกแล้ว ผมทง่ี อกข้ึนใหม่จะไม่ผูกกนั เปน็ กระจุกอีกตอ่ ไป การราคล้องหงส์ ใช้ราเฉพาะในพิธีครอบเทริดหรือผูกผ้าใหญ่และพิธีเข้าโรงครูเท่าน้ัน เพื่อให้พิธี สมบูรณ์ในการราใช้ผู้รา ๘ คน โดยโนราใหญ่เป็น “พญาหงส์” โนราคนอ่ืน ๆ อีก ๖ คนเป็นหงส์ และผู้รา เปน็ พราน ๑ คน วิธรี าสมมตทิ อ้ งโรงเปน็ สระอโนดาต ดงั ความในบทร้องกลอนราคล้องหงส์ตอนหนึ่งวา่ “สอดปีกสองหางไวไว เราหวังจะไปทีส่ ระ ผพู้ ี่บินก่อน พร้อมทงั้ หกหลอ่ นรอ่ นตามหลงั เสร็จแล้วมาถงึ จับต้นไหรองึ แล้วจินรจา ปักษตี วี งร่อนลงสระ มาชาระสระสรงพระคงคา” จากนน้ั จึงรอ้ งกลอนบททานองพญาหงส์ ดังตวั อย่างบทร้องกลอนราคล้องหงส์ ตอนหนึ่งว่า “(ทอยติหน้งิ ติง้ ชา้ เจ้าพญาหงส์เหอ) ปีกเจา้ อ่อนรอ่ นลงในดงปุาไผ่ แลหนา้ แลตาเจา้ ดดี ี เหตุไทรไปมีผวั เมอื งไกล รอ่ นลงในดงปุาไผ่ (ทอยติหนิ้งต้ิงชา้ เจ้าพญาหงสเ์ หอ)” ตอนที่หงส์กาลังร้องกลอนบททานองพญาหงส์ พรานจะออกมาด้อม ๆ มอง ๆ เพ่ือเลือกคล้อง พญาหงส์ ดนตรีเชิด หงส์วิ่งหนีเป็นรูป “ยันต์เต่าเลือน” (เป็นยันต์ท่ีเขียนหรือลงอักขระบนรูปตัวเต่าหรือ กระดองเต่า เพอ่ื ใชป้ อู งกันตัวปูองกันเสนียดจัญไร และให้เกิดโชคลาภ เมตตากรุณา) นายพรานไล่คล้องได้ พญาหงส์ พญาหงส์ใช้สติปัญญาจนสามารถหลุดพน้ จากบ่วง เป็นการจบการรา เช่ือกนั ว่าราคล้องหงส์ในโรง ครูท้งั ตวั พญาหงสห์ รอื โนราใหญ่และผ้แู สดงเป็นพราน มคี รูหมอโนราเขา้ ทรงดว้ ย
๖๒ การราแทงเข้ (จระเข้) ใช้ราเฉพาะในพิธีกรรมโนราโรงครูใหญ่เท่านั้น โดยราหลังจากคล้องหงส์ แล้ว ผู้รามี ๗ คน โนราใหญ่ราเป็น “นายไกร” ท่ีเหลืออีก ๖ คน เป็นสหายของนายไกร อุปกรณ์มีเข้ ๑ ตัว ทาจากต้นกล้วยพังลา (กลว้ ยตานี) ต้นโต ๆ ขุดให้ติดเหง้า นามาแกะสลักส่วนเหง้าให้เป็นหัวเข้ ขาใช้หยวก กล้วยตัดเป็นรูปขาแล้วใช้ไม้เสียบไว้ หางทาด้วยทางมะพร้าว เม่ือเสร็จแล้วใช้ไม้ขนาด ๒ คืบ ๔ อันเป็นขา หยั่ง เช่ือกันว่าคนท่ีจะทาตัวจระเข้นั้น จะต้องเป็นผู้มีความรู้ทางเวทย์มนตร์คาถา เพราะหลังจากทาตัว จระเขเ้ สร็จแลว้ จะตอ้ งทาพธิ ีบรรจุธาตุ เรียกวญิ ญาณไปใส่ เบกิ หูเบิกตา เรียกเจตภตู ไปใส่ หากทาไม่ถูกต้อง ก็อาจเป็นเสนียดจัญไรแก่ตนเอง ก่อนนาเข้าพิธี คนทาจระเข้ต้องทาพิธีสังเวยครูด้วยหมากพลู ดอกไม้ธูป เทียน และเหล้าขาว แล้วนาไปวางข้างโรงโนราด้านตะวันตก ให้จระเข้หันหัวไปทางทิศหรดี หากหันหัวไป ทางทิศอสี าน โนราจะไมแ่ ทง บนตวั หัว และหางจระเข้ติดเทียนไวต้ ลอด ดา้ นหน้าที่จะไปแทงเข้ จะต้องเอา หยวกกล้วยพงั ลา (กลว้ ยตานี) ๓ ทอ่ น มาทาเป็นแพเพือ่ ใหโ้ นราเหยยี บกอ่ นออกไปแทงเข้ นอกจากนี้มีหอก ๗ เลม่ เรยี กชื่อต่างกัน เชน่ หอกพชิ ยั คอกระบวย ใบตะกง ปานฉนะ เปน็ ต้น การราแทงเข้จะเริ่มด้วยโนรา ใหญจ่ ุดเทียนตรงบายศรี และทคี่ รู แล้วขึน้ บทเพลงโทน (จับบทไกรทอง) เน้ือความเป็นการทาขวัญนายไกร และการละเลน่ ในพิธที าขวัญ ดงั ตวั อยา่ งตอนหน่ึงวา่ “วนั เสาร์เก้าชั้นตาครลู ัน่ โหม่ง ให้ไกรทองเข้าโรงพระพธิ ี พรอ้ มดว้ ยบดิ รและมารดา ใหญ้ าตวิ งศามาน่งั ใกลบ้ ายศรี ตาครูจุดเทียนเวยี นแวน่ หวี วาดไว้เกา้ ที่รอ้ งเชิญขวัญ หมพู่ วกขุนโขนคนงาน หัวล้าน นมยานเลน่ ไปพลนั มวยออกราง่าตง้ั ทา่ ขนั สองเทา้ ประจนั กันเข้าลอง พวกแขกโลหติ ถอื กรชิ วี มอื จบั กระบีต่ ีกระบอง มารากระบ่ีตีไม้สอง นงั่ ยองมองรับเขา้ จบั กัน แสนสนกุ ครึกครื้นเจด็ คืนวนั มาเล่นงานทาขวญั เจ้าไกรทอง” จากน้ันโนราจะเปล่ียนเร่อื งมาจบั เรอื่ งราว ฝุายชาละวันว่า เกิดนิมิตฝันประหลาดจึงต้องไปหาพระ อัยกา ใหเ้ ป็นผทู้ านายฝัน พระอยั กาได้ทานายฝันใหว้ า่ เปน็ ลางร้าย จะต้องถึงแก่ชีวิต จากน้ันดนตรีทาเพลง เชดิ โนราว่าบทสัสดีใหญ่ร่ายราด้วยท่าราที่แสดงอานาจองอาจสง่างามแล้วออกจากโรงไปแทงเข้ ก่อนออก จากโรงบริกรรมคาถาแทงเข้ โดยเอาหัวแม่เท้ากดพ้ืนแล้วกล่าวว่า “พุทธัง ระงับจิต ธัมมัง ระงับใจ สังฆังสู ไป ตวั สูคอื ทา่ น ตัวกูคือพระกาล ธัมมัง พุทธัง อะระหัง สูอย่าอ้ือ บรรดาศัตรู เหยียบดิน กินน้า หายใจเข้า ออก ต้องแสงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ทาร้ายแก้ข้าพเจ้าไม่ได้ มีญาเตร จาเมปวิสติ” ต่อจากนั้นโนราออก
๖๓ จากโรงใชเ้ ท้าเหยยี บแพหยวกแล้วกลา่ วบริกรรมคาถาว่า “นางณีเจ้าข้า ตัวยังหรือไม่ สังขาต้ังโลกังชา นาติ ตโิ ล กาวิทู ขา้ พเจ้าจะออกไป อย่าให้มภี ัยอันตราย พุทธงั ระงับจิต ธัมมังระงับใจ สังฆังสูไป ตัวสูคือท่าน ตัว กูคือพระกาล อัมมิพุทธัง อะระหัง สูอย่าอ้ือ บรรดาศัตรู เหยียบดินกินน้า หายใจเข้าออก ต้องแสงอาทิตย์ พระจันทร์ ทาร้ายแก่ข้าพเจ้าไม่ได้ มาอยู่แก่ข้าพเจ้าให้หมด” จากน้ันโนราใหญ่ผู้ราเป็นสหายนายไกร ครู หมอโนราก็ร่ายราไปยังตัวจระเข้ แล้วโนราใหญ่กล่าวบริกรรมคาถากากับว่า “โอมธรณีสาร กูคือผู้ผลาญ อุบาทวใ์ หไ้ ดแ้ กเ่ จ้าไพร จงั ไหรใหไ้ ดแ้ กน่ างธรณี สทิ ธไี ดแ้ กต่ ัวกู” แล้วจึงใช้หอกแทงเข้ เอาเท้าถีบให้เข้หงาย ทอ้ ง โนราคนอ่ืน ๆ กใ็ ช้หอกแทงเขต้ ่อจากโนราใหญ่ แล้วว่าบทปลงอนิจจัง กรวดน้าให้ชาละวัน จบแล้วว่า คาถาถอนเสนยี ดจากเข้ เปน็ อนั จบกระบวนรา เมื่อราบทแทงเข้แล้วคณะโนรากลับเข้าโรงโนรา จากน้ันโนราใหญ่จึงร้องบท “ชาครูหมอ” หรือ “ชาตายาย” เพอื่ เปน็ การบูชาครหู มอโนราหรือตายายโนรา โดยเจ้าภาพ ลูกหลานตายายโนราจะนาเงินมา บชู าครูตามกาลงั ศรัทธาเรียกว่า “เงนิ ชาครหู มอตายาย” เพ่ือทาบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ครูหมอโนราหรือตา ยายโนราใหแ้ ก่เจ้าภาพและลกู หลานตายายโนรา ดังตัวอย่างบทชาครหู มอตอนหนึ่งวา่ “สุขสี ขุ ี ร้อยปอี ยา่ มคี วามเจบ็ ไข้ ความช่วั อย่าเขา้ มาใกล้ ความไขใ้ ห้ไกลกายา ลูกหลานยกยา่ งไปขา้ งไหน ตายายตามไปช่วยรกั ษา ลกู หลานจะไปทาไร่ ใหข้ ้าวงามไดเ้ ทียมปลายปุา เจ้าทองแสแ้ ท้ ตแี กะตเี คียวไมเ่ ก่ยี วเอา ข้าวงามไดเ้ ทยี มภูเขา ได้เมล็ดเจ็ดเกวียน เจ้าทองผมหมอ ลากมาดว้ ยลอ้ ดว้ ยเกวียน” ต่อจากบทชาครูหมอตายาย และลูกหลานได้อุทิศส่วนกุศลไปให้ครูหมอโนราหรือตายายโนราแล้ว โนราใหญ่จะร้องบท “สง่ ครู” เพอ่ื สง่ ครหู มอโนราหรอื ตายายโนรากลบั ดงั ตัวอย่างบทรอ้ งตอนหนง่ึ ว่า “ช้ายมาแล้วพวกเรา ใบไมม้ นั เหงาเหงาไปทง้ั ปุา ช้ายแล้วเวลา พวกโนราจะลาโรง ไมอ่ าจบ้าไปตามนอ้ ง เหมอื นเจ้าพลายทองตามโขลง ช้างไปไมล่ ืมโรง โขลงไปไม่ลืมนอ้ งหนา ตัดว่ารอ้ งส่ง ทกุ องคพ์ ระเทวดา แรกเช้าเชิญมา ถงึ เวลาร้องสง่ ให้พ่อไป
๖๔ ไปหน้าให้มลี าภ ลูกอยูห่ ลงั ใหม้ ีชยั เชิญไปพอ่ ไป ส่งเทยี มทางสองแพรก แพรกหนง่ึ ไปไทย แพรกหนง่ึ ไปแขก ถึงทางสองแพรก แยกไปเถดิ พระเทวดา” เสร็จจากสง่ ครหู มอโนราหรอื ตายายโนราแลว้ โนราใหญ่ก็จะทาพิธี “ตดั เหฺมฺรย (ตัดทานบน) ซึ่งเป็น พิธีตัดเคร่ืองบูชาและเครื่องเซ่นไหว้ตายายให้ขาดแยกจากกัน เป็นเคล็ดว่า “เหฺมฺรย” หรือพันธะสัญญาที่ เคยให้ไว้แก่ครูหมอโนราหรือตายายโนราได้ขาดกันแล้ว ส่ิงท่ีโนราใหญ่ตัดได้แก่ บายศรีท้องโรงเชือกมัด ขื่อโรง จากบนศาลหรือพาไล ๓ ตับ เชือกผูกผ้าหรือเพดานศาลหรือพาไล ๑ มุม เชือกผูกผ้าดาดเพดาน ท้องโรง ๑ มุม และห่อเหฺมฺรย ซ่ึงวางอยู่บนศาลหรือพาไล วิธีตัดเหฺมฺรย โนราใหญ่จะถือมีดหมอ ๑ เล่ม เทียน ๑ เล่ม หมากพลู ๑ คา ไว้ในมือขวาแล้วราท่าตัดเหมรย โดยตัดแต่ละอย่างตามท่ีกล่าวมาแล้วไป ตามลาดับขณะท่ีตัดจะว่าคาถากากับไปด้วย เสร็จแล้วเก็บเคร่ืองบนศาลหรือพาไลไปวางไว้นอกโรง ทาพิธี พลกิ สาดพลิกหมอน ราบนสาดแล้วถอดเทริดออกเปน็ อันเสรจ็ พธิ ีการราโนราโรงครู
บทท่ี ๓ เงอ่ื นไขภาวะ / ปัจจยั คกุ คามของมรดกภมู ปิ ัญญาทางวัฒนธรรมโนราโรงครู ๑. สภาพปัจจุบัน ในการกลา่ วถงึ สภาพของโนราโรงครูในปัจจุบันจาเป็นต้องกล่าวถึงศักยภาพของโนราและ โนราโรงครูท่ีปรากฏต่อสังคมและวัฒนธรรม ประเด็นดังกล่าวเป็นการมองภาพของสังคมและวัฒนธรรม ชมุ ชน รวมท้งั ความเป็นตัวตนของโนราโรงครูทสี่ ามารถดารงอยมู่ าจนถึงปจั จบุ ัน ท้ังท่ีโดยความเป็นจริงแล้ว โนราและโนราโรงครูก็มีพัฒนาการและการเปล่ียนแปลงมาควบคู่กับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะชุมชนบริเวณรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา ดังน้ันจึงจาเป็นต้องพิจารณาถึง บทบาทและหน้าที่ของโนราและโนราโรงครูท่ีมีต่อสังคมและชุมชน ดังจะเห็นได้ว่าโนราและโนรา โรงครู มีอิทธิพลในด้านความคิดและด้านการปฏิบัติตนต่อชุมชน การสื่อสารต่อชุมชน ซึ่งเห็นได้จากภาพสะท้อน ของโนราและโนราโรงครูในบริบทของภูมิปัญญาท้องถิ่น และในฐานะส่ือพื้นบ้านโนราและโนราโรงครู จะแสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์หรือเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างชัดเจน มีส่วนสัมพันธ์กับกิจกรรม ในชีวิตประจาวันท้ังการผลิตและการบริโภคโดยเฉพาะการผลิตและการบริโภคในทางสุนทรียะและ ปทัสถานทางสังคม เราจึงพบวา่ โนราและโนราโรงครคู ือผลติ ผลทางวัฒนธรรมของชุมชน ผู้บริโภคคือชุมชน รวมท้ังเป็นระบบหรือสถาบันหนึ่งของโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม ท่ีมีบทบาทหน้าที่เพื่อตอบสนอง ความต้องการขั้นพ้ืนฐานของสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โนราและโนราโรงครูเป็นสื่อประสานในการ สร้างเครือข่ายชุมชน (ระบบเครือญาติ / ตายายย่าน / ครูหมอสายเดียวกัน / ลูกหลานตายายโนรา) หรือ ระบบความสัมพันธ์ของชุมชน เป็นผู้เสริมสร้างและปฏิบัติให้ระบบคุณค่าของสังคมและชุมชนให้ดารงอยู่ อยา่ งมน่ั คง ระบบคุณค่าหมายถึง ระบบความเช่ือ ศาสนาพิธกี รรม ขนบประเพณี และวิถีปฏิบัติอันเป็นส่วน สาคญั ในการจดั ระเบยี บและการควบคมุ สังคม โนราและโนราโรงครูมีส่วนในการสร้างเศรษฐกิจให้กับสังคม และชุมชน เพราะความเป็นโนรานอกจากนายโรง (โนราใหญ่) หรอื หวั หนา้ คณะแล้ว ยังมีผู้ร่วมคณะ ท้ังผู้รา ผู้แสดง ลูกคู่หรือนักดนตรี คนทรงครูหมอโนรา และบุคคลอื่นๆท่ีเก่ียวข้องทาให้ชุมชนมีอาชีพ มีรายได้ เช่น ช่างทาเคร่ืองแต่งตัวโนรา ช่างทาเทริด หน้าพราน ช่างทาเครื่องดนตรี และอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง กับโนรา เปน็ ตน้
๖๖ ในด้านการสืบทอดความเป็นโนรา และการประกอบพิธีกรรมโนราโรงครู และการส่งผ่าน ไปยังคนรุ่นใหม่ท่ีพบว่ามีรูปแบบในการสืบทอดตามแบบประเพณี โดยเฉพาะการสืบทอดโดยสายสกุล และการสบื ทอดในยคุ ใหมท่ ป่ี รากฏในสถาบันการศึกษา ในชุมชนและในวัด ท่ีผู้รับการสืบทอดคือคนรุ่นใหม่ รวมทั้งการสร้างเครือข่าย ในฐานะท่ีศิลปินเป็นสมบัติของสาธารณชน ไม่จากัดขอบเขตของพ้ืนท่ีทาง ภูมิศาสตร์หรือเขตการปกครอง แต่แพร่กระจายไปตามขอบเขตทางสังคมและวัฒนธรรม ดังจะเห็นได้จาก พิธีกรรมของโนราโรงครูใหญ่ วัดท่าแค ตาบลท่าแค อาเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ที่ถือว่าเป็นศูนย์รวม ของครูหมอโนราเป็นต้นกาเนิดของโนราและครูต้นของโนรา คือ ขุนศรีศรัทธา (ศรัทธาท่าแค) ผู้เข้าร่วม พิธีกรรมดังกล่าว นอกจากโนรา ผู้มีเช้ือสายโนรา ลูกหลานตายายโนรา และชาวบ้านในเขตตาบลท่าแค และบริเวณใกลเ้ คยี งแล้ว ยังมีศิลปินและชาวบ้านจากจังหวัดอื่นๆในภาคใต้มาร่วมพิธีกรรมเป็นจานวนมาก โดยเฉพาะผู้มีเช้ือสายโนรา ลูกหลานตายายโนรา หรือผู้ต้องการครอบเทริดโนราหรือผูกผ้าใหญ่เพื่อความ เป็นโนราโดยสมบูรณ์ หรือแก้บนครูหมอตายายโนราท่ีจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายแทนการจัดพิธีกรรม หรือโนราโรงครูท่ีบ้านตนเองได้ในระดับหนึ่ง เช่นเดียวกับโนราโรงครูวัดท่าคุระ หรือ “งานตายายย่าน” หรือ “งานพิธีสมโภชและสรงน้าเจ้าแม่อยู่หัว” ตาบลคลองรี อาเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา นอกจาก ชาวบ้านในชุมชนวัดท่าคุระ ตาบลคลองรี และบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังมีผู้มีเชื้อสายโนรา ลูกหลานตายาย โนรา และชาวบ้านโดยทั่วไปมาร่วมในพิธีกรรม ทั้งการแก้บน ราโนราถวาย บวชพระ บวชชี บวชชี พราหมณ์ จากจงั หวดั ตา่ งๆในภาคใตเ้ ปน็ จานวนมากเช่นเดยี วกัน เราจึงได้เห็นการสร้างระบบความสัมพันธ์ ทางสังคมผ่านศิลปินโนราและพิธีกรรมโนราโรงครูในรูปแบบต่างๆท่ีมีท้ังระบบเครือญาติ ระบบอุปถัมภ์ ระบบผูกเกลอผูกดอง และระบบสาวย่านนับโยด และส่งผลต่อความเป็นอยู่ของชุมชน โดยเฉพาะบริเวณ รอบลมุ่ ทะเลสาบสงขลา และนามาซ่ึงการแลกเปลี่ยน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน รวมทั้งความเอื้ออาทร และความเป็นระบบหมูพ่ วกในชุมชนดังกล่าว และส่วนหน่ึงคือ อัตลักษณ์และศักยภาพของชุมชนที่สะท้อน ผ่านการดารงอยู่ของโนราและโนราโรงครู อย่างไรก็ตามในสภาพปัจจุบันของโนราและโนราโรงครู จากการศึกษาวิจัย และการเก็บ ขอ้ มลู ภาคสนามจะพบว่า ประเพณีการราโนราโรงครูยังแพร่กระจายอยู่ท่ัวไปในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง กระบ่ี ตรัง และมีความเข้มข้นในบริเวณรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา ทั้งจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ในเกือบทุกอาเภอ โดยเฉพาะชุมชนที่มีศิลปินโนรา ผู้มีเช้ือสายโนรา ลูกหลานตายายโนรา ตัวอย่างเช่น ชุมชนบางกล่า อาเภอบางกล่า จังหวัดสงขลา ชุมชนควนเนียง อาเภอ ควนเนียง จังหวัดสงขลา ชุมชนบ้านคอหงส์ ชุมชนวัดคลองแห ชุมชนบ้านเกาะเสือ อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ชุมชนบ้านคลองหอยโข่ง อาเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ชุมชนบ้านเก้าเส้ง ชุมชน
๖๗ เกาะยอ ชุมชนบ้านน้ากระจาย ชมุ ชนบา้ นควนขัน อาเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ชุมชนบ่อแดง ชุมชน วัดท่าคุระ อาเภอสทิงพระจังหวัดสงขลา ชุมชนวัดหัวเตย อาเภอปากพะยูน ชุมชนบ้านป่าบอน อาเภอ ป่าบอน ชุมชนบ้านกงหรา อาเภอกงหรา ชุมชนบ้านควนคง ชุมชนวัดท่าแค ชุมชนบ้านท่ามิหรา ชุมชน บ้านตานาน ชุมชนบ้านลาปา อาเภอเมืองพัทลุง ชุมชนบ้านโคกวา ชุมชนบ้านทะเลน้อย อาเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ชุมชนตาบลทุ่งใหญ่ อาเภอทุ่งสง ชุมชนท่าศาลา อาเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ชมุ ชนบา้ นนาโยงเหนือ อาเภอนาโยง ชุมชนเขาวิเศษ อาเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ชุมชนบ้านท่าไทร อาเภอ ทา่ ฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมชนบางใหญ่ อาเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ชุมชนเขาพนม อาเภอเขาพนม จงั หวดั กระบี่ เปน็ ตน้ แต่เมื่อสภาพสังคมเปล่ียนแปลงไปตามความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ผลพวงของการพัฒนาจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรมและการเข้ามาแทนท่ีของ สื่อสมัยใหม่ ได้ส่งผลให้ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม และวิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ขณะที่ส่ือบันเทิง สมัยใหม่มีความหลากหลาย ประหยัดและสามารถบริโภคได้ตามความต้องการ แม้ว่าโนราและโนราโรงครู จะยงั คงอยู่ แตก่ ต็ ้องปรับเปล่ียนตนเอง รูปแบบ และเน้ือหาในการแสดงรวมทั้งการประกอบพิธีกรรมโนรา โรงครู ตามสภาพของสังคมและต้องประสบกับปัญหาและข้อจากัดในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาวะขาด แคลนลูกคู่ โดยเฉพาะ นายปี่ ปัญหาการสืบทอดการแสดงโนรา เน่ืองจากความนิยมของผู้ชมลดลง คนรุ่น ใหม่จึงไม่นิยมฝกึ หัดโนราเพราะโอกาสในการแสดงน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากค่านิยมของประชาชน ภาวะบีบ รัดทางเศรษฐกจิ คา่ ราดสูงขน้ึ (การจัดโนราโรงครใู นปัจจุบนั ครงั้ หน่ึงต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท คนรุ่นใหม่ท่ีไม่มีฐานคิดและแปลกแยกจากวัฒนธรรมพื้นบ้านจึงมองเห็นว่าโนราเป็นเร่ืองล้าสมัย ซ่ึง แตกต่างไปจากอดีตที่ ๑ ) ระบบความเชื่อเรื่องครูหมอตายายมีความแพร่หลายและเป็นสรณะสาคัญของ การดาเนนิ ชวี ิต ๒ ) ความเชื่อเรื่องครูหมอมีความเหนยี วแน่นและซบั ซ้อน ๓ ) ระบบเครอื ญาติ การผูกเกลอ ผูกดองมคี วามเข้มแข็งและถือเป็นเรื่องจริงจัง ๔) ภาษาและวรรณกรรมมีคุณค่าและความสาคัญในชีวิต ๕ ) ดนตรีพนื้ บา้ นและ / หรือ การละเลน่ พื้นบา้ นเปน็ รสนิยมท่คี นหมู่มากเข้าถึง ๖ ) สังคมหมู่บ้านก็ต้องพ่ึงพา ตนเองแต่มีความเข้มแข็ง ๗ ) ทุกคนมีความเท่าเทียมและมีพื้นท่ีชีวิตท่ีเหมือนๆกัน ๘ ) มีความใกล้ชิดกับ ธรรมชาติและเป็นสังคมเกษตรกรรม แต่สภาพการณ์ปัจจุบันของสังคมและชุมชนที่โนราเคยเป็น “ส่ือ กระแสหลัก” หรือเป็นความนิยมหลักของสังคมท้องถิ่นภาคใต้ มาเป็น “ส่ือทางเลือก” หรือกระแสรอง ขณะทตี่ วั ศิลปนิ โนราท่ีเคยมสี ถานภาพทางสังคมเป็นที่เคารพนับถือในชุมชนในฐานะศิลปินท่ีเป็นเสมือนครู และหมอก็ลดน้อยลง เหลือสถานภาพแค่ผู้ให้ความบันเทิง รสนิยมของผู้คนกลายเป็นรสนิยมและการเสพ
๖๘ สุนทรียภาพแบบคนเมืองและสังคมบริโภคนิยมแบบตะวันตก จึงเบียดขับความไพเราะ ความงดงาม และ ความขบขันของวัฒนธรรมพน้ื บ้าน ปรากฏการณด์ งั กลา่ ว จงึ เป็นดังคากลา่ วของ เธียรชัย อิศรเดช (๒๕๕๐ : ๗ ) ในบทความ เร่อื ง “โนรา : วฒั นธรรมพืน้ บ้านในสถานการณ์รว่ มสมัย” ไวต้ อนหนงึ่ ว่า ในนาทีท่ีโนราคนสาคัญๆของท้องถ่ินล้มหายตายจากไปปีต่อปี พร้อมๆกับท่ีโนรา รุ่นใหมก่ ็ไม่มโี อกาสได้เกดิ มาอยา่ งกล้าแกร่งอย่างคนรุ่นก่อนเมื่อโรงเรียนได้แยกชีวิตวัยเยาว์ ออกไปจากวิถีชีวิตพ้ืนบ้านเช่นน้ี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขนาดใหญ่เหล่านี้ส่งผลกระทบ ต่อโนราหลายประการ เชน่ เปล่ยี นทา่ ทตี อ่ พิธีกรรมโดยลดความสาคัญเหลือแค่ ๑ ) ทาตาม ประเพณีหรือ ๒) ทาเพราะวัตถุประสงค์อื่นๆท่ีแอบแฝงเน้นเป้าหมายรองแทนเป้าหมาย หลัก ธุรกิจเป็นเร่ืองท่ีต้องมาก่อนโดยเฉพาะในพิธีกรรมระดับชุมชนที่เป็นงานประจาปี ขณะเดียวกันพิธีกรรมที่ประกอบข้ึนนั้นก็มีลักษณะ ๓) ทาพอเป็นพิธีมากข้ึน บางโรงเล่น ไม่ครบตามประเพณีโบราณท่ีแท้จริง ลูกหลานที่มาร่วมก็รีบมารีบกลับ ๔ ) การมีส่วนร่วม ลดลงเพราะระบบการจัดการด้วยเงินท่ีส่ังได้และง่ายกว่าไม่ยุ่งยากส่งผลให้เกิดการเน้น ผลผลิตมากกว่ากระบวนการ การว่าจ้างแบบครบวงจรเข้ามาเสียบแทนการขอแรง ทาให้ งานพิธีกรรมมักจะเน้นเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ ซ่ึงปรากฏขยายไปถึงโนราราและ การแสดงทว่ั ไปด้วย ในขณะเดียวกันหากเราพิจารณาถึงเงื่อนไขภาวะวิกฤติของโนราและโนราโรงครู ที่เก่ียวข้องกับเหตุปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมท่ีส่งผลต่อการดารงอยู่ของโนราโรงครูในปัจจุบันก็อาจ มองเห็นได้จากเหตุปัจจยั ต่อไปน้ี ๑. การส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีหน่วยงานทางการศึกษา หน่วยงานทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม รวมท้ังนักวิชาการและหน่วยงานราชการในท้องถิ่น ต้ังแต่ สานกั งานวฒั นธรรมระดบั จงั หวดั อาเภอ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตาบล จะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนา ประเพณีและพิธีกรรมของโนราโรงครูมากขึ้น ทั้งในรูปแบบของงบประมาณ บุคลากรและการจัดการ แต่ก็กระทาได้ในขอบเขตอันจากัด และส่วนหน่ึงก็มีบทบาทและเงื่อนไขให้ศิลปิน ต้องปรับรูปแบบของพิธีกรรม เนื้อหาของพิธีกรรม และการจัดการที่เป็นไปในทางธุรกิจมากข้ึน ต้องมีการ ผสมผสานหรือจัดร่วมกับกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ได้เก่ียวข้องกับโนราโรงครูโดยตรง เช่น การแสดงดนตรี การจาหน่ายสินคา้ และการแสวงหารายได้ในรูปแบบต่างๆ
๖๙ ๒. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมทาให้ระบบคุณค่าและความเช่ือแบบดั้งเดิม ต้องคลี่คลายลงไป ความเชื่อในเรื่องส่ิงศักดิ์สิทธ์ิและครูหมอโนราลดน้อยลงไป การจัดกิจกรรมโนราโรงครู ในบางพน้ื ทจี่ งึ จัดทาพอเปน็ พิธี ตัดกระบวนการ ขั้นตอน และองค์ประกอบบางอย่างออกไป ไม่เคร่งครัดใน พิธีกรรม เช่น การแก้บนโดยการราโนราถวายครูหมอตายาย การแก้บนด้วยการราออกพราน การเหยียบ เสน ก็อาจปรับเปล่ียนวันเวลา ค่าราด เพ่ือสนองความต้องการของชาวบ้าน หรือข้อจากัดของเวลาแล ะ ผเู้ ข้าร่วมพธิ ี เป็นต้น ๓. ระบบการศึกษาท่ีเปล่ียนไปทาให้เยาวชนห่างไกลจากคติความเช่ือและพิธีกรรมของ ชุมชนรวมทัง้ ระบบคุณค่า และวิถชี ีวิตแบบดั้งเดมิ ของชุมชนไม่ได้อยู่ในระบบและกระบวนการจัดการศึกษา ในปัจจุบัน คนรุ่นใหม่จึงห่างไกลวิถีของชุมชน แม้จะมีพิธีกรรมโนราโรงครู แต่ก็คลายความเข้มข้นลงไป และโดยธรรมชาติของวัฒนธรรมพ้ืนบ้านก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอันเน่ืองมาจาก ข้อจากัดในการสืบทอด ของการละเล่นพื้นบ้าน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ ที่สามารถรับวัฒนธรรมจาก สังคมเมืองและวัฒนธรรมต่างชาติ การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว ธุรกิจการท่องเท่ียวเติบโต รวมท้ังระบบ การศกึ ษาท่ีส่งผลใหค้ นรุน่ ใหม่แปลกแยกจากท้องถิน่ ของตนเองดังกลา่ วแลว้ ๔. การเปลย่ี นแปลงอาชพี การเคลอ่ื นยา้ ยแรงงาน มสี ่วนอย่างสาคัญท่ีทาให้ผู้สืบทอดการ ราโนราลดน้อยลงไปในปัจจุบัน ชาวบ้านจาเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอาชีพเพ่ือความอยู่รอดจากสังคม เกษตรกรรมเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมและสังคมบริการ จึงต้องอพยพเข้าเมือง และห่างไกลจากชุมชน วิถีของชุมชน เราจึงพบคนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาฝึกหัดการราโนราน้อยลง แม้จะมีการส่งเสริมใน สถาบันการศึกษา วัด บ้าน และชุมชน แต่ก็มีข้อจากัดหรือดาเนินการได้ในระดับหนึ่งไม่ใช่การสร้างศิลปิน หรอื โนราอาชีพทจ่ี ะไปสืบทอดโนราโรงครูอีกต่อไป และผลของการเปล่ียนแปลงอาชีพ และการเคลื่อนย้าย แรงงาน ทาให้ผู้มีเช้ือสายโนรา ลูกหลานตายายโนรา ต้องตัดขาดจากครูหมอโนราและความเป็นโนราโดย ไม่ต้องถูกครหู มอตายายลงโทษ โดยการทาพิธใี ห้ของครูโนราอาวโุ ส หรอื ทาในพิธกี รรมโนราโรงครูท่ีเรียกว่า “พิธีผูกผ้าปล่อย” ความเป็นโนราและเช้ือสายโนราหมดไป ปรากฏการณ์ดังกล่าวน่าจะมีเพ่ิมมากข้ึน ในสภาพสังคมปัจจุบัน ๕. ความเจริญของเทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ ทาให้โนราต้องปรับตัวเพ่ือความอยู่ รอดและต้องมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ท้ังเรื่องพาหนะในการเดินทาง เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ในการประกอบ พิธีกรรม เช่น เครื่องขยายเสียง โรงโนราแบบสาเร็จรูป เคร่ืองเซ่นไหว้ ท่ีส่งผลให้ค่าราดโนราสูงข้ึน และ ส่งผลต่อความรับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายของเจ้าภาพและชุมชนที่จัดพิธีกรรมโนราโรงครู ดังคากล่าวของ เธยี รชยั อศิ รเดช (๒๕๕๐ : ๙) ตอนหนง่ึ วา่
๗๐ ในเส้นทางพัฒนาการดูเหมือนว่าบางครั้งเราต่างพัฒนาไปด้วยกันในแบบเดิน สวนทางกัน อย่างกรณีงานโรงครูขณะท่ีชาวบ้านปรับตัวไปสู่การว่าจ้างสาเร็จรูปแบบ เบ็ดเสร็จทุกขั้นตอนเนื่องจากสังคมเปลี่ยนการขอแรงไม่มีอย่างแต่ก่อน โนราเองก็ปรับตัว ไปสู่การเน้นความอลังการงานสร้าง เพิ่มเครื่องขยายเสียง เครื่องไฟ ขนาดของเวที และ ปริมาณนางราทาให้ยอดค่าจ้างการรับงานถีบตัวสูงข้ึน เม่ือค่าตัวแพงข้ึนและชาวบ้าน ก็มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ผลก็คือ พยายามลดในส่วนอื่นหรือการพยายามผลักภารกิจการเล่น โนราให้ห่างออกไป ปัจจุบันการเล่นโรงครูในท้องถ่ินภาคใต้จะใช้เงินไม่ต่ากว่า ๔๐,๐๐๐ บาท ประมาณการระดับกลางอยู่ท่ี ๖๐,๐๐๐ บาท หากรวมค่าจัดการท้ังหมด เรียกได้ว่า การทาโนราโรงครูครง้ั หนง่ึ ใชเ้ งนิ เกือบแสนบาทหรือกวา่ นัน้ กรณีตัวอย่าง โนราโรงครูวัดท่าแค ตาบลท่าแค อาเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จัดข้ึน โดยคณะโนรา ผ้มู เี ชอ้ื สายโนรา ลูกหลานตายายโนรา ชาวบ้านในชมุ ชนท่าแคและบริเวณใกล้เคียง โดยการ นาของโนราแปลกท่าแค (แปลก ชนะบาล) เพราะมีความเช่ือว่าวัดท่าแค เป็นท่ีอยู่ของครูต้นโนรา คือ “ขุนศรีศรัทธา” เป็นท่ีฝังกระดูกของขุนศรีศรัทธาและเป็นสถานที่ฝึกหัดการราโนราเป็นครั้งแรกท่ี เรียกว่า “โคกขุนทา” และเป็นสถานท่ีรวมของครูหมอโนราองค์อื่นๆ โดยเฉพาะครูต้นของโนราท่ีเรียกว่า “พระราชครู” ทั้ง ๑๒ องค์ และจัดเป็นโรงครูใหญ่ โดยความร่วมมือของศิลปินและชาวบ้านที่ร่วมกันออก แรง ออกข้าวสาร อาหาร และเงินจานวนหน่ึง สาหรับ ๓ วันของการประกอบพิธีกรรมจนเป็นประเพณีสืบ ทอดกันต่อมา และในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริม จากพระองค์เจ้าเฉลิมพล ฑิฆัมพร โนรา โรงครใู หญ่วดั ท่าแค จึงขยายให้ใหญ่ข้ึน เมื่อโนราแปลก ชนะบาล ถึงแก่กรรมผู้รับเป็นโนราใหญ่สืบ ทอดต่อมาคือ โนราสมพงษ์ ชนะบาล การจัดการราโนราโรงครู จึงออกมาในรูปของคณะกรรมการจัดงาน มีผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย มีหน่วยงานราชการรองรับ เป็นสานักงานเทศบาลตาบลท่าแค สภาวัฒนธรรม อาเภอเมืองพัทลุง สภาวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง โดยเฉพาะการได้รับ งบประมาณสนับสนนุ จากกระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติ ในสมัยท่ีนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ซ่ึงเป็นชาวพัทลุง และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โนราโรงครูท่าแคจึงมีการสร้างโรงราถาวรขึ้นโดยเฉพาะและ มีการตั้งกองทุนเพ่ือสร้างศาลและอนุสรณ์ของขุนศรีศรัทธาต่อไป โนราโรงครูใหญ่วัดท่าแค จึงเป็นการจัด ทีผ่ สมผสานกิจกรรมตา่ งๆเข้าด้วยกัน เช่น การแสดงดนตรี นาฏศิลป์ การอภิปราย การจาหน่ายสินค้าและ ผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งการประกอบพิธีกรรมก็มีความยืดหยุ่น ปรับแต่งให้เหมาะสมกับเวลา และจานวน ชาวบ้านท่ีมาร่วมกิจกรรมและแก้บน เช่น จับบทราสั้นๆพอเป็นพิธี ไม่เคร่งครัดเวลาในการแก้บนตาม
๗๑ ขนบนิยมเดิม โดยยึดตามความสะดวกเป็นสาคัญ และมีกาหนดการเอาไว้ให้ชาวบ้านได้เตรียมการอย่าง ชดั เจน เช่น ชาวบ้านท่ีจะราแก้บนครูหมอโนรา เร่ิมต้ังแต่ลงทะเบียนรับบัตรคิว จ่ายค่าบูชาครู ๑๓๒ บาท นาบัตรคิวไปแต่งเครื่องมโนราห์ด้านหลังโรงมโนราห์ ๑๕๐ บาท เจ้าหน้าท่ีจะเรียกตามบัตรคิวเป็นชุดๆ ละ ๖ คน รบั เครื่องบชู า (เชี่ยนหมาก) ราในโรงมโนราห์ เป็นต้น ในทานองเดยี วกนั โนราโรงครูวดั ท่าคุระ ตาบลคลองรี อาเภอสทงิ พระ จังหวัดสงขลา หรือ “งานตายายย่าน” หรือ “งานพิธีสมโภชและสรงน้าเจ้าแม่อยู่หัว” ที่พัฒนาการมาจากอดีตถึงปัจจุบัน มีผู้คนจากสถานที่ต่างๆเข้ามาร่วมเพื่อแก้บน “เจ้าแม่อยู่หัว” เป็นจานวนมาก ทั้งทาพิธีบวชพระ บวชชี บวชชีพราหมณ์ ราโนราแก้บน ราออกพรานแก้บน รวมท้ังสรงน้า “พระพุทธรูปเจ้าแม่อยหู่ ัว” งานประเพณี ดังกล่าว จึงต้องมีคณะกรรมการรับผิดชอบ มีฝ่ายจัดเลี้ยงอาหาร รับลงทะเบียนในการแก้บน อุปกรณ์ ในการราและการแก้บน โดยเฉพาะพิธีกรรมในโนราโรงครูจะต้องรวบรัด ย่นย่อ มุ่งสนองการแก้บน ของชาวบา้ นเปน็ หลกั ดังที่พิทยา บุษรารัตน์ (๒๕๓๗) ได้กล่าวถึงสภาพของการราโนราโรงครูวัดท่าคุระใน งานวิจัย เรอ่ื ง “โนราโรงครูวัดท่าครุ ะ ตาบลคลองรี อาเภอสทิงพระ จงั หวดั สงขลา” ไว้ตอนหนงึ่ วา่ พธิ กี รรมโนราโรงครูวดั ทา่ ครุ ะในปัจจุบนั เป็นชนดิ โนราโรงครูเล็กหรือโรงค้าครูหรือโรงแก้ บนค้าครู เพราะจัดเพียง ๒ วัน คือ วันพุธเข้าโรงประกอบพิธีกรรมแล้วออกโรงในตอนเย็นหรือค่าของ วันพฤหัสบดี จุดมุ่งหมายใหญ่ก็เพ่ือจัดโนราโรงครูราถวายและแก้บนเจ้าแม่อยู่หัวของชาวบ้านท่าคุระและ ตาบลใกล้เคียง การประกอบพิธีกรรมและองค์ประกอบในการจัดพิธีกรรม ก็ไม่เคร่งครัดเช่นเดียวกับโนรา โรงครูทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการจัดเครื่องบูชาครูโนราบนพาไล จะจัดอย่างย่นย่อ และทาเพียงให้ครบตาม พิธีกรรม ท้ังนี้ผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่าเป็นเพราะข้อจากัดในเรื่องเวลาและมีผู้มาแก้บนเป็นจานวนมาก หากปฏิบัติตามข้นั ตอนและรปู แบบของพิธีกรรมทุกอย่าง จะไม่สามารถดาเนินการตามเวลาและจานวนคน ทม่ี ารว่ มพิธีได้ หรืออาจจะเป็นเพราะการประยุกต์พิธีกรรมให้สั้นและง่าย รวมท้ังน่าจะข้ึนอยู่กับคณะโนรา ทมี่ าประกอบพิธีกรรมโนราโรงครูด้วยว่าจะยึดถือเคร่งครัดตามขนบนิยมเดิมหรือไม่ และน่าจะมีส่วนสาคัญ ท่ีจะส่งผลต่อการคล่ีคลายและการเปลี่ยนแปลงการจัดโนราโรงครูวัดท่าคุระต่อไปในวันข้างหน้า เพราะ ทาให้ดูด้อยความขลังและความศักด์ิสิทธิ์ลงไป การคานึงแต่ผลทางธุรกิจมากเกินไปย่อมจะส่งผลเสีย ตอ่ ประเพณแี ละวฒั นธรรมท่ดี ีงามของท้องถ่ินที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมาด้วยความเชื่อและศรัทธาเสื่อมความ นิยม และเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมพ้ืนบ้านเป็นอย่างยิ่ง ผู้ท่ีมีส่วนเกี่ยวข้องจึงพึงสังวรในเรื่องน้ีด้วย อย่างไรก็ตามผู้วิจัยเชื่อว่า แต่เดิมน้ันการจัดโนราโรงครูวัดท่าคุระคงจะจัดเต็มรูปแบบเป็นลักษณะของ โนราโรงครูใหญ่ คือ “การรามโนห์รา ตามแบบฉบับด้ังเดิม เริ่มต้นด้วย ต้ังเครื่องโหมโรง ประกาศราชครู
๗๒ ราเบิกโรง - ราแม่บท ออกพราน ราคล้องหงส์ แทงจระเข้ เฆี่ยนพราย และแสดงเรื่อง” (วิชัย อินทวงศ์. ๒๕๒๔ :๒) หรือ จากคาบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ท่ีเป็นชาวบ้านท่าคุระ ก็กล่าวตรงกันว่ารูปแบบและ ขั้นตอนของพิธีกรรมโนราโรงครูวัดท่าคุระมีรายละเอียดแตกต่างไปจากปัจจุบันน้ี จึงเป็นเร่ืองท่ีทางวัด ท่าคุระ คณะกรรมการ และหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง ควรได้พิจารณาหาทางปรับปรุงเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริม ประเพณีการราโนราโรงครูวัดท่าคุระหรืองานตายายย่านให้เป็นมรดกวัฒนธรรมของชาวบ้านท่าคุระ ท่ยี ั่งยืนสบื ไป ๒. ปัจจยั คกุ คาม กล่าวได้ว่าโนราโรงครูและความเช่ือที่เก่ียวข้องกับโนรายังคงมีบทบาทและหน้าที่ต่อการ ตอบสนองความตอ้ งการและช่วยแกป้ ญั หาให้กับคนในสังคมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งมีบทบาท สาคัญต่อระบบความเชื่อและความรู้สึกนึกคิดของประชาชน ตราบน้ันโนราโรงครูก็จะยังดารงอยู่ได้ไม่ว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปมากน้อยเพียงใดก็ตาม กล่าวอีกนัยหน่ึงแม้ว่าสังคมจะได้พัฒนาทางวัตถุ ไปมากเพียงใดก็ตาม แต่จิตใจและความนึกคิดของมนุษย์ก็ยังคงมีความคล้ายคลึงกับจิตใจและความนึกคิด ของมนุษย์ในยุคบรรพกาล ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และปัญหา อื่นๆ เชน่ การเจบ็ ปว่ ย การขาดทีพ่ ง่ึ และการขาดความมั่นคงในชีวิตน้ัน ในที่สุดปัญหาเหล่าน้ีก็จะกลายมา เป็นความเดือดร้อนทางใจ หรืออาจเรียกว่าเป็นปัญหาทางด้านจิตวิทยาของประชาชน ในเมื่อโนราโรงครู ความเช่ือและพิธกี รรมในโนราโรงครสู ามารถสนองตอบความต้องการและช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนทาง ใจของประชาชนได้ในระดับหนึ่ง องค์ประกอบต่างๆท่ีกล่าวมาแล้วจึงมีส่วนสาคัญอย่างยิ่งในการดารงอยู่ ของโนราโรงครู เพียงแต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบ เน้ือหา องค์ประกอบ และลดข้ันตอนของการดาเนินการ เพื่อ สนองตอบผู้คนและชุมชนในสังคม ค่านิยม และความเชื่อที่เปล่ียนแปลงไปตามความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์ การศึกษา ระบบคมนาคม และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการส่ือสาร ท่ีทาให้มี การสืบทอดน้อยลงไป รวมท้ังความเช่ือและพิธีกรรมท่ีคลี่คลายไปจากอดีตทั้งนี้มีเหตุจากปัจจัยคุกคามท่ี สาคัญหลายประการ ดังนี้ ๑. ปจั จัยดา้ นนโยบายการพฒั นาประเทศไปสคู่ วามทันสมยั หลังจากรัฐบาลได้เริ่มประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๐๙) จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาดงั กลา่ ว รัฐบาลมุ่งเนน้ การพัฒนาประเทศเพ่ือเพิ่มรายได้ของประชาชาติ และเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ส่งผลให้เกิดการเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและ
๗๓ วัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการเน้นการพัฒนาที่วัตถุมากกว่าการพัฒนาจิตใจ ได้ส่งผ ลให้ วัฒนธรรมด้านต่างๆถูกละเลยและถูกทาลายจากสังคมสมัยใหม่ ชุมชนขาดความมั่นใจและพึ่งพาตนเอง ไม่ได้ การพัฒนาท่ีเน้นทุนทางเศรษฐกิจจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม ที่วัดความเจริญ และทันสมยั จากรายได้ประชาชาติเป็นสาคัญ ชุมชน หมู่บ้าน อาเภอ จังหวัด ต้องเปลี่ยนแปลงและปรับตัว เขา้ สสู่ งั คมสมัยใหมๆ่ จากสงั คมพ่ึงพาตนเองและสังคมแลกเปลี่ยนเป็นสังคมแบบเงินตราหรือแบบตัวใครตัว มัน วิถีชีวิต ระบบความเชื่อ ระบบคุณค่าและมรดกวัฒนธรรมของชุมชนถูกละเลยและหรือถูกทาลายโดย ระบบคิดของความทันสมัย เพราะมองเห็นเป็นเรื่องล้าสมัย ไม่มีเหตุผลของวิทยาศาสตร์ และไม่ทันการณ์ จึงถกู ละเลย หรอื ไดร้ ับการปฏบิ ัตเิ พ่ือให้ครบกระบวนการตามประเพณีมากกว่าท่ีจะปฏิบัติเพราะความเชื่อ และความศรทั ธาอยา่ งจริงจงั โนราโรงครกู ็เชน่ เดยี วกัน แม้จะดารงอยู่ก็คลี่คลายและลดบทบาทหน้าท่ีลงไป ความเชื่อและคุณค่าบางอย่างก็สูญหายไปพร้อมกับผู้เฒ่าผู้แก่ท่ีล้มหายตายจากไปจากชุมชน ดังนั้น นโยบายการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมาจึงเป็นปัจจัย คุกคามสาคญั ที่ส่งผลให้โนราโรงครตู ้องปรบั ปรุงเปล่ียนแปลง ท้ังรูปแบบ และเนื้อหา ให้สามารถสนองตอบ ความต้องการและการเปล่ยี นแปลงของชมุ ชนและสงั คม จงึ สามารถดารงอยู่และมคี วามมั่นคงต่อไป ๒. การเปล่ยี นแปลงค่านิยมทง้ั จากภายนอกและภายในชมุ ชน ผลพวงจากการพัฒนาและการจัดการศึกษาของรัฐ อิทธิพลของสังคมเมืองและลัทธิ บริโภคนิยมได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อผู้คนในสังคมชนบท อันเป็นผลพวงจากภายนอก ในขณะเดียวกันผู้คน ในชมุ ชนหรอื สังคมชนบทกต็ อ้ งปรับตวั เองไปสคู่ วามทันสมัยท่ีสามารถเช่ือมโยงติดต่อสัมพันธ์กับสังคมเมือง ทีไ่ ดช้ ่อื ว่ามคี วามเจริญก้าวหน้าและทันสมัยในกระแสโลกาภวิ ตั น์อันเปน็ เหตจุ ากปจั จยั ภายในที่ส่งผลต่อการ เปลยี่ นแปลงคา่ นิยมที่เคยเคารพเช่ือฟังผู้อาวุโส หรืออาบน้าร้อนมาก่อน เป็นคนยึดโยงระบบความสัมพันธ์ แบบเครือญาติในชุมชน กลายเป็นคนล้าสมัย คร่าครึหรืองมงาย พิธีกรรมและความเช่ือเรื่องโนราโรงครู จงึ ถกู มองว่าเป็นเรื่องล้าสมัย ไม่ใช่แนวทางในการแก้ปัญหาทางจิตใจ ร่างกาย และสังคมอีกต่อไป เพราะมี ระบบสาธารณสุขท่ีทันสมยั ในการแก้ปัญหาพื้นฐาน เธยี รชัย อศิ เดช (๒๕๕๐ : ๒) กล่าวไว้วา่ การเปล่ียนแปลงจากภายในอาจหมายถึง การที่ตัวเราเองถูกถอดรสนิยม ถูก เปล่ยี นคา่ นยิ ม ถกู เคลือ่ นโลกทัศน์ให้ตอบรับต่อรูปแบบใหม่ๆ มากกว่ารูปแบบเดิมที่เป็นผล พวงมาจากบริบทสังคมและวัฒนธรรมในยุคก่อน ซึ่งแน่นอนว่าแตกต่างอย่างมากในยุคน้ี การถกู “เปลี่ยนไส้” จากข้างในมีความสาคัญมากต่อการเปล่ียนแปลงทางวัฒนธรรมเพราะ เมือ่ “ตวั ตน” ข้างในเปล่ียนไปแล้ว การเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกก็ไม่ใช่เร่ืองยาก ด้วยไม่มี
๗๔ ใครอยากทาอะไรท่ีขัดใจตนเอง มนุษย์ต้องการสร้างความลงตัวของความขัดแย้งท่ีรายรอบ ซึ่งคือ บทบาทของ “วัฒนธรรม” ท่ีผ่านมา วัฒนธรรมเคยทาหน้าท่ีประสานความขัดแย้ง ท้ังหลายให้สงบราบร่ืนและยังคงทาหน้าท่ีน้ันอยู่ หากชีวิตยุคใหม่ไปกันไม่ได้กับรูปแบบเก่า วัฒนธรรมจะพยายามจัดระเบยี บตัวเองให้อยู่ในสถานการณท์ ่ดี ีทสี่ ดุ สาหรับทกุ คน ดังนัน้ การเปล่ียนแปลงคา่ นิยมท้งั จากภายนอกและภายในชุมชนมีส่วนอย่างสาคัญท่ีทาให้ คนเปลี่ยนทัศนะความคิด ความรู้สึกและวิถีปฏิบัติเลือกทาหรือไม่ทาอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เคยปฏิบัติสืบ ต่อกันมา การเปลย่ี นค่านิยมจึงเป็นปจั จัยคุกคามตอ่ การดารงอยแู่ ละการสบื ทอดโนราโรงครเู ชน่ เดียวกัน ๓. ความเจรญิ ทางเทคโนโลยแี ละระบบการสื่อสารสมัยใหม่ ความเจริญทางเทคโนโลยีและระบบการสื่อสารสมัยใหม่ทาให้การติดต่อสื่อสารมีความ สะดวกรวดเร็ว ความรู้สึกของผู้คนที่เคยคิดว่าชนบทมีช่องว่างและห่างไกลจากสังคมเมืองก็ถูกความเจริญ และการส่ือสารสมัยใหม่ทาให้ผู้คนสามารถติดต่อและรับรู้เร่ืองราวต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม แม้จะอยู่ห่างไกล กนั ได้พร้อมๆกัน ขณะเดียวกนั ความเจรญิ ทางเทคโนโลยีและการส่อื สาร ทาใหช้ าวบา้ นมที างเลือกในการรับ ข่าวสารและความบันเทิงท่หี ลากหลายท้ังวิทยุ โทรทัศน์ และส่ือต่างๆ รวมท้ังความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ และลัทธิบริโภคนิยมที่ส่งผ่านช่องทางการส่ือสารอย่างรวดเร็ว ฉับไว ทันการณ์ ผู้คนในสังคมและชุมชน จาเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการ จารีตประเพณี และความเชื่อในเรื่องไสย ศาสตรแ์ ละอิทธิผลของสิ่งเหนือธรรมชาติลดน้อยลงไป มีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์และรูปแบบความสัมพันธ์ แบบด้ังเดิม ไม่สามารถตอบสนองวิถีชีวิตสมัยใหม่ได้ จึงค่อยเสื่อมความนิยมและถูกทาลายในการปฏิบัติ โนราโรงครูก็เช่นเดียวกันจะมีบทบาทอยู่กับคนท่ีเข้าสู่วัยกลางคนข้ึนไปเป็นส่วนใหญ่ ส่วนคนรุ่นใหม่แม้จะ รับรแู้ ละเข้าร่วมปฏบิ ัติ แต่ก็ไม่ไดใ้ หค้ วามสนใจคณุ คา่ และความหมายท่ีมีนัยสาคัญต่อวิถีชีวิตและชุมชนแต่ อย่างใด ดังนั้นความเจริญทางเทคโนโลยีและระบบการสื่อสารสมัยใหม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยคุกคาม ตอ่ การดารงอย่ขู องโนราโรงครูดังกลา่ วแลว้ ๔. การขาดการสืบทอดและสร้างผ้ชู มรุ่นใหม่ โนราและโนราโรงครูเป็นการแสดงพื้นบ้านที่ชาวบ้านโดยเฉพาะผู้สูงอายุและมีวัฒนธรรม รว่ มสมัยกับศิลปินโนรา จึงนิยมชมชอบและดูเป็น ส่วนคนรุ่นใหม่ไม่สนใจท่ีจะดูหรือชมการแสดงโนราหรือ โนราโรงครู หรือดูแล้วไม่เข้าใจในขนบนิยม รูปแบบและเน้ือหา จาเป็นจะต้องให้คนเหล่านั้นได้เรียนรู้และ เกิดความภาคภูมิใจในมรดกวัฒนธรรมของชุมชน ในขณะเดียวกันการสืบทอดความเป็นโนราและโนรา โรงครู ซ่ึงเคยสืบทอดโดยจารีตประเพณี โดยเฉพาะผู้มีเชื้อสายโนรา แม้ว่าการสืบทอดในปัจจุบันจะมีการ
๗๕ ขยายเครือข่ายมากข้ึน ท้ังการส่งเสริมและสืบทอดโดยสถาบันการศึกษา สถาบันวัฒนธรรม วัด และบ้าน แต่ข้อจากัดในหลายด้าน ส่วนใหญ่เป็นเพียงการสร้างผู้ราโนราได้ในเบื้องต้น ในท่าพื้นฐานต่างๆ ไม่ใช่การ สร้างศิลปินหรือนายโรงโนราท่ีทาพิธีโนราโรงครูต่อไป แม้จะสามารถสร้างโนราได้บ้าง แต่มีข้อจากัดหลาย ด้านทีจ่ ะพัฒนาเป็นคณะหรือโนราโรงใหญ่ได้ ส่วนผู้ชมรุ่นใหม่ท่ีอาจจะซึมซับน้ันมักจะเป็นผู้มีเชื้อสายหรือ ลูกหลานตายายโนรา แต่สว่ นหนึง่ กห็ า่ งไกลจากวถิ ีด้งั เดิมของพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และชุมชน เมื่อเข้าสู่ระบบ การศึกษาและต้องเข้ามาทางานในเมือง จึงยากเป็นอย่างยิ่งที่จะทาให้คนรุ่นใหม่ส่วนหน่ึงเห็นคุณค่าและ ประโยชน์ของประเพณกี ารราโนราโรงครทู ี่บริบททางสงั คมวัฒนธรรมได้เปลี่ยนไปแล้ว การขาดการสืบทอด และสรา้ งผู้ชมร่นุ ใหม่จึงเป็นปัจจัยคุกคามต่อการดารงอยู่ของโนราโรงครูอกี ปัจจัยหนง่ึ ดว้ ย ๕. การเผชญิ กับภาวะเศรษฐกจิ และการดน้ิ รนเพื่อความอยู่รอดในปัจจุบนั ความเจรญิ เติบโตทางเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในระยะเวลา ท่ีผ่านมา ทาให้เกิดการขยายตัวทางการค้า อุตสาหกรรม และเกิดการปรับเปล่ียนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และสังคมเป็นการผลิตเพ่ือการค้าและการส่งออกท่ีกว้างใหญ่ โดยใช้แรงงานท่ีชานาญเฉพาะทาง และการ ทาให้ชุมบทกลายเป็นเมือง การเคลื่อนย้ายของผู้คนและแรงงาน การขยายวิถีชีวิตแบบชาวเมืองโดยผ่าน การมีไฟฟ้า ถนนหนทางและสื่อมวลชนต่างๆ รวมทั้งการเข้าสู่ระบบทุนนิยมและบริโภคนิยม ชาวบ้านจึง ต้องดิ้นรนต่อสู้เพ่ือความอยู่รอดหรือมีชีวิตที่ใกล้เคียงกับคนเมืองตามสมัยนิยม เวลาของชีวิตจึงหมดไปกับ การหาเงนิ เพื่อใชจ้ ่าย หรือใชเ้ วลาส่วนใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรม ทาให้ห่างจากเครือญาติและชุมชน ไม่มี เวลาท่ีจะได้ร่วมกิจกรรมกับครอบครัวและชุมชนเช่นในอดีต จิตสานึกท่ีจะมีส่วนร่วมในการสืบทอดมรดก วัฒนธรรมของท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากยิ่ง เพราะเพียงด้ินรนให้มีกินมีใช้ไปวันๆก็หนักหนาสาหัส อยแู่ ล้ว การเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจและการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในปัจจุบันจึงเป็นปัจจัยคุกคามต่อการ ดารงอยู่และการสืบทอดโนราโรงครูเชน่ เดยี วกัน ๖. การละเลยระบบและคุณค่าดง้ั เดิมของชุมชน กล่าวได้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรมท่ีมีผลพวงมาจากแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในระยะเวลาที่ผ่านมาที่มีเจตนาย่างเป็นรูปธรรมเพ่ือ “ทาให้ประชาชน อยู่ดีมี สุข รัฐมีความมั่นคง ประชาชนมีความม่ังค่ังและทันสมัย”แต่ผลที่ตามมาคือวิถีชีวิตของชุมชนที่มีมาแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นวิธีคิด ระบบการให้คุณค่า ความเช่ือ ระบบการสื่อสารและอื่นๆ อันหมายถึงโลกทรรศน์และ ชีวทัศน์ของชาวบ้านเสอื่ มสลายลง ชมุ ชนในความสมั พนั ธ์ทางการผลติ แบบดั้งเดิมแตกสลาย ส่ิงท่ีตามมาคือ ภาพการไม่สามารถพึ่งพาตนเองของชุมชน จาเป็นต้องอาศัยปัจจัยด้วยการซ้ือด้วยเงินจากภายนอก
๗๖ แทบทั้งส้ิน ในขณะท่ีประชาชนได้รับการศึกษาสูงข้ึน หรือการกระจายโอกาสทางการศึกษามีมากขึ้น การรับรู้ข่าวสาร และการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทาให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบการถ่ายทอดท่ีส่ัง สมกนั มาแต่ในอดีต รวมท้ังการละเลยระบบคณุ คา่ ดงั้ เดมิ ของชมุ ชน อันรวมถึงความเช่ือ ค่านิยม และระบบ คุณคา่ ในเรอ่ื งโนราโรงครดู ้วย เพราะการได้มีโอกาสปะทะสงั สรรคก์ ับชมุ ชนภายนอกท่ีสะดวกรวดเร็ว ทาให้ เกดิ การแลกเปล่ียนและถ่ายโอนระบบความเชื่อและค่านิยม รวมทั้งทัศนะที่ได้รับจากสังคมเมืองและความ เปน็ วทิ ยาศาสตรใ์ นวธิ คี ดิ และความเชอ่ื จงึ เปน็ ปจั จยั คุกคามใหร้ ะบบคุณค่าด้ังเดิมของชุมชนค่อยเสื่อมคลาย และหมดไปในท่สี ุด กล่าวโดยสรปุ เงื่อนไขภาวะ / ปจั จัยคุกคามของมรดกภูมิปญั ญาทางวัฒนธรรมโนราโรงครู นั้น มองในสภาพปัจจุบันจะเห็นถึงศักยภาพของโนราโรงครูท่ียังดารงอยู่ในปัจจุบัน มีความเช่ือและการ ปฏิบัติอย่างเข้มข้นในบางพ้ืนที่ของภาคใต้ โดยเฉพาะในชุมชนบริเวณรอบลุ่มทะเลสาบสงขลาท่ีโนราและ โนราโรงครูยังเป็นส่ือประสานในการสร้างเครือข่ายชุมชนหรือระบบความสัมพันธ์ของชุมชน เพียงแต่ต้อง ปรบั เปลี่ยนรูปแบบและเนื้อหาบางส่วนไปบ้างตามยุคสมัยหรือมีการผสมผสานระหว่างของเก่ากับของใหม่ ทท่ี าให้ชุมชนผู้ปฏบิ ัติสามารถรบั ได้ ในขณะเดียวกนั โนราโรงครกู ็ยังได้รับการสง่ เสริมจากภาครัฐและเอกชน รวมท้ังสถาบันการศึกษา เพียงแต่มีเหตุปัจจัยบางอย่างเข้ามากระทบต่อการสืบทอดและการดารงอยู่ เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ระบบการศึกษา การเปล่ียนแปลงอาชีพ ความเจริญของ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ท่ีทาให้โนราและโนราโรงครูต้องปรับตัวเพ่ือความอยู่รอดและการ สนองตอบความต้องการของชุมชนและสังคมในปัจจุบัน ส่วนปัจจัยคุกคามท่ีมีต่อความเช่ือ และพิธีกรรม โนราโรงครูรวมท้ังการสืบทอด ได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบายการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย การเปลี่ยนแปลงค่านยิ มท้ังจากภายนอกและภายในชุมชน ความเจริญทางเทคโนโลยีและระบบการส่ือสาร สมัยใหม่ การขาดการสืบทอดและการสร้างผู้ชมรุ่นใหม่ การเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจและการดิ้นรนเพื่อ ความอยู่รอดในปัจจุบัน รวมท้ังการละเลยระบบและคุณค่าดั้งเดิมของชุมชน ล้วนส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ การดารงอยู่ และการสืบทอดโนราโรงครูจึงเป็นเร่ืองของผู้เป็นเต้าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ท้ังโนรา ผู้มีเชื้อสายโนรา ลูกหลานตายายโนรา ชาวบ้าน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันแสวงหา แนวทางในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนาให้โนราโรงครูดารงอยู่อย่างมั่นคงและมีการสืบทอดอย่างย่ังยืน ต่อไป
บทที่ ๔ การสงวนรกั ษาและแนวทางการส่งเสริมใหโ้ นราโรงครูเป็นมรดกภูมปิ ญั ญา ทางวฒั นธรรมของชาติ / มนุษยชาติ กลา่ วได้ว่าความเช่อื และพธิ กี รรมในโนราโรงครูเป็นมรดกวัฒนธรรมที่มีการสั่งสม สืบทอด ปรับเปล่ียน ตามสภาวะแวดล้อมและเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรม แต่ยังคงรักษาบทบาทหน้าท่ีต่อการ ตอบสนองความต้องการและช่วยแก้ไขปัญหาให้กับคนในสังคมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมท้ังมีบทบาท สาคัญต่อระบบความเชื่อและความรู้สึกนึกคิดของประชาชน จึงส่งผลต่อสถานภาพของโนราโรงครูที่ยังคง ดารงอยู่ การสืบทอดและการสงวนรักษาจากอดีตถึงปัจจบุ ัน กลา่ วคือ ๑. การสงวนรักษา และแผนงานในการสงวนรักษา กล่าวได้ว่าความเช่ือเร่ืองครูหมอโนรา พิธีกรรมในโนราโรงครูมีส่วนสาคัญในการ อนุรักษ์ส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะการสงวนรักษาและการสืบทอดการราโนราและ / หรือ โนราโรงครู หากจะเปรียบเทียบกบั ศิลปะการละเลน่ ประเภทอื่นๆในภาคใตแ้ ลว้ ไม่วา่ จะเป็นหนังตะลุง เพลง บอก ลิเกป่า ฯลฯ จะพบว่าความเชื่อในเรื่องครูหมอโนราและการปฏิบัติต่อครูหมอของตนนั้น โนราจะมี ความเข้มข้นมากกว่าศิลปะการละเล่นอ่ืนๆที่กล่าวแล้ว นอกจากน้ีพิธีกรรมบางอย่างท่ีทากันในโนราโรงครู ถือว่าเป็นพิธีกรรมท่ีขลังและศักด์ิสิทธิ์ เช่นพิธีครอบเทริดหรือผูกผ้าใหญ่ ให้แก่โนราใหม่เพื่อเป็นโนราที่ สมบรู ณ์ น่ันคือผทู้ ่ีผ่านพิธีกรรมครอบเทริดหรือผูกผ้าใหญ่แล้วสามารถเป็นโนราใหญ่หรือนายโรงโนราและ ประกอบพิธีกรรมในโนราโรงครูต่อไปได้ อันเป็นการสงวนรักษาและการสืบทอดมรดก ทางวัฒนธรรมโนรา และโนราโรงครูจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหน่ึง เมื่อได้เป็นโนราใหญ่แล้วบางคนก็จะได้ไปต้ังคณะโนราของ ตนเอง โดยมีผู้เข้าร่วมคณะท้ังคนรา คนแสดง และลูกคู่ ซึ่งเป็นผลโดยตรงของการสืบทอดการราโนรา นอกจากน้ันการทาพิธีราสอดเครื่องสอดกาไลหรือสอดไหมรยฺของโนรารุ่นใหม่ในพิธีกรรมโนราโรงครูเพ่ือ การยอมรับการเป็นโนราขอครูโนรา (ครูหมอตายายโนรา) ต่อบุคคลนั้นๆที่เข้าทาพิธีย่อมจะปลูกฝังความ เชื่อ ความรัก และความศรัทธาในการราโนราให้แก่คนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น นับเป็นวิธีการทางจิตวิทยาหรือ เปน็ ภมู ปิ ัญญาของชาวบ้านในการสรา้ ง การสงวนรกั ษา และการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นของ ตน ส่วนพิธีกรรมอื่นๆในโนราโรงครูได้มีส่วนตอกย้าบทบาทและหน้าท่ีของศิลปินที่มีต่อปัจเจกบุคคลและ
๗๘ สังคมในการทาหน้าที่ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาพื้นฐานของสังคม ท้ังการบาบัดอาการทางจิตและทาง กายภาพ เช่น การบนและการแก้บน การรักษาอาการป่วยไข้ เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าวความเชื่อในเร่ืองครู หมอโนรา โนราโรงครแู ละพธิ ีกรรมในโนราโรงครจู ึงสามารถดารงอยใู่ นสังคมไดอ้ ย่างมน่ั คง เพราะเป็นระบบ ความเช่ือที่มีความสมั พนั ธก์ ับวิถีชีวิตและระบบความเชอ่ื อนื่ ๆ ของคนในสังคมเชื่อมโยงเป็นระบบโครงสร้าง อันเดียวกัน จนสืบเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากน้ัน การสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโนราโรงครูยังดาเนินการในรูป แบบต่างๆท้ังโดยความเช่ือ จารีตประเพณี การสืบทอดเชื้อสายโดยวงศ์ตระกูล ระบบเครือญาติ ลูกหลานตายายโนรา และการสอน ศิษย์ สร้างศิษย์มาสืบทอดความเป็นโนราและเป็นนายโรงโนราเพ่ือประกอบพิธีกรรมโนราโรงครูต่อไป รวมท้ังชุมชนผู้เป็นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมก็ให้การสนับสนุนและถือเป็น วิถีปฏิบัติของชีวิตและชุมชน เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ความเช่ือในเรื่องครูหมอตายายโนราของศิลปินผู้มีเชื้อสายโนราว่าเม่ือถึงช่วงเวลา หนึ่งครูหมอตายายโนราจะเป็นผู้เลือกลูกหลานคนหน่ึงคนใด เป็นผู้สืบทอดความเป็นโนรารักษาเช้ือสาย โนราต่อไป และจากความเช่ือเรื่องไสยศาสตร์ ความเช่ือเรื่องการแก้บน ความเชื่อเรื่องการตัดจุก การ เหยียบเสน การตัดผมผีช่อ ความเช่ือเร่ืองการรักษาอาการป่วยไข้มีผลกระทบต่อชาวบ้านและลูกหลานตา ยายโนราโดยตรง จึงยังต้องให้ความนับถือครูหมอโนรา ต้องต้ังห้ิงบูชาครูหมอโนรา ต้องเซ่นไหว้ และจัด พิธีกรรมโนราโรงครู ทั้งโรงครูเล็กหรือโรงครูใหญ่ตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนั้นการ ฝกึ หัดศิษย์หรือการฝากตัวเป็นศิษย์กับครูโนราเพ่ือฝึกและเรียนรู้การราโนรา รวมทั้งชุมชนและวัดท่ีให้การ ส่งเสริมการราโนราก็มีส่วนอย่างมากในการสงวนรักษาและการสืบทอดการราโนรา ซึ่งต่อมา สถาบันการศึกษาท้ังระดับประถม มัธยม และระดับอุดมศึกษาก็เข้ามาสนับสนุน ท้ังการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพรแ่ ละพฒั นา จงึ เป็นอีกแนวทางหนงึ่ ของการดารงอย่ขู องโนราและโนราโรงครตู ่อไป ส่วนการดาเนินงานของผู้วิจัยกับชุมชนน้ันเร่ิมต้ังแต่ประชุมทีมงานเพื่อทาความเข้าใจใน ภารกิจที่ต้องดาเนินงานร่วมกัน กาหนดตัวบุคคลที่จะทาหน้าที่เก็บข้อมูลและประสานงานในแต่ละชุมชน รวมท้ังวันเวลาที่จะดาเนินการ ต่อมาคือการสารวจชุมชนหาผู้รู้ ศิลปิน ชาวบ้าน และผู้เก่ียวข้อง ชี้แจง โครงการต่อชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง คัดเลือกตัวบุคคลท่ีเป็นตัวหลักในชุมชนหรือผู้ประสานงานจังหวัด จัดเวทีและการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ร่วมบันทึกข้อมูลและองค์ความรู้ การสร้างจิตสานึก การสงวนรกั ษาและการสร้างผู้สืบทอดโนราโรงครูต่อมาคือ การเติมเต็มข้อมูล จากศิลปิน ปราชญ์ชาวบ้าน เยาวชน ครู ชาวบ้าน และผู้มีส่วนเก่ียวข้องกับโนราโรงครู การตอบคาถามยูเนสโก (Unesco) จานวน ๓๐ ข้อ โดยเติมเต็มข้อมูลจากเวทีต่างๆด้วยการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) รวมท้ังการคืนความรู้สู่ชุมชน
๗๙ การประชมุ เพื่อหาข้อสรุปจากกลุ่มต่างๆ และได้รับการยืนยันและยินยอมให้นาโนราโรงครูขึ้นทะเบียนเป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (รายละเอียดปรากฏในส่วนที่ ๒ กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน) โดยมี พื้นที่หลักในการดาเนินการคือ จังหวัดพัทลุง ในพื้นท่ีวัดท่าแค อาเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด สงขลา คือ วัดท่าคุระ อาเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา วัดคลองแห อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ ยังได้เก็บรวบรวมข้อมูลหรือเข้าร่วมและสังเกตการณ์การประกอบพิธีกรรมโนราโรงครูในบริเวณรอบลุ่ม ทะเลสาบสงขลา กรณีจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา เช่น การประกอบพิธีกรรมโนราโรงครู บ้าน ท่ามิหรา ตาบลท่ามิหรา อาเภอเมืองพัทลุง บ้านตานาน ตาบลตานาน อาเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง บ้านเกาะยอ ตาบลเกาะยอ บ้านน้ากระจาย ตาบลน้ากระจาย จังหวัดสงขลา เป็นต้น และคณะโนรา ผปู้ ระกอบพธิ กี รรมโนราโรงครเู ขตตาบลทุ่งใหญ่และบริเวณใกล้เคียง ตาบลทุ่งใหญ่ อาเภอทุ่งสง ตาบลโพธิ์ ทองและบริเวณใกล้เคียง อาเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ในเขตบ้านคลองไทร อาเภอท่าฉาง จงั หวัดสุราษฏร์ธานี และโนราโรงครบู ้านนาโยงเหนือและบริเวณใกล้เคียง ตาบลนาโยงเหนือ อาเภอนาโยง และโนราโรงครูในเขตบ้านโคกสะบ้าและบริเวณใกล้เคียง ตาบลโคกสะบ้า อาเภอนาโยง จังหวัดตรัง เป็นต้น แผนงานในการสงวนรกั ษา ในการที่จะกล่าวถึงแผนงานในการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโนราโรงครู น้นั จาเป็นตอ้ งทาความเขา้ ใจก่อนว่า ประเพณแี ละพิธีกรรมรวมท้ังความเช่ือในการจัดโนราโรงครูของเหล่า ศิลปินโนรา ครูโนรา ผู้มีเชื้อสายโนรา ลูกหลานตายายโนราและชาวบ้านในชุมชนยังคงปฏิบัติและสืบทอด กันมาอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่อาจจะปรับเปลี่ยนรูปแบบ และเนื้อหา ตามยุคสมัยและการเปล่ียนแปลงทาง สังคมและวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันศิลปินโนราผู้อาวุโสก็ยังคงทาหน้าท่ีในฐานะครูโนราหรือโนราใหญ่ ในการประกอบพิธกี รรรมโนราโรงครูให้กับผู้มีเช้ือสายโนรา ลูกหลานตายายโนรา แม้ว่าคนรุ่นใหม่เหล่านั้น ท่ีบางส่วนไม่ได้ราโนรา หรือเป็นศิลปินโนราแต่บุคคลเหล่านั้นยังคงให้การเคารพ มีความเช่ือและความ ศรัทธาในครูหมอตายายโนราผู้เป็นบรรพบุรุษของตน ท้ังการต้ังห้ิงบูชา การราโนราถวาย การบนและ การแก้บน ท้ังโนราโรงครูใหญ่แลโนราโรงครูเล็กหรือ “โรงแก้บนค้าครู” ซ่ึงกระจายอยู่ทั่วไปในชุมชน ภาคใต้ และแหล่งชุมชนที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี และชุมชนที่เก่ียวข้องกับประวัติ และตานานโนรา เชน่ ชุมชนในตาบลท่าแคและบริเวณใกล้เคียง อาเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ชุมชนใน ตาบลคลองรีและบริเวณใกล้เคียง อาเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา บ้านทุ่งใหญ่ ตาบลทุ่งใหญ่ และบริเวณ ใกล้เคียงอาเภอทุ่งสง ชุมชนบ้านท่าศาลาและบริเวณใกล้เคียง อาเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมชนนาโยงเหนือ ตาบลนาโยงและบริเวณใกล้เคียงอาเภอนาโยง จังหวัดตรัง เป็นต้น ในขณะเดียวกัน
๘๐ ครูโนราในแต่ละสายก็พยายามสร้างผู้สืบทอดความเป็นโนราและเป็นนายโรงโนราท่ีสมบูรณ์สามารถ ประกอบพิธกี รรมโนราโรงครตู ่อจากตนเองไดท้ ้งั ที่เปน็ บุตรหลานโดยสายเลือดหรือเช้อื สายโนรา รวมทั้งการ ฝึกศิษย์และทาพิธีครอบมือหรือผูกผ้าใหญ่ให้กับโนรารุ่นใหม่ท่ีมีความพร้อมซึ่งคนเหล่านี้ก็จะทาหน้าที่จาก รุ่นตอ่ รนุ่ สว่ นชุมชนผู้เปน็ เจา้ ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมก็มีการรวมกลุ่มกันสนับสนุนให้เยาวชนรุ่น ใหม่ได้ฝึกราโนราและ/หรือหนังตะลุง ท้ังโดยการนาของศิลปิน ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการท้องถ่ิน พระสงฆ์ เกิดเป็นชมรม เป็นสมาพันธ์ หรือมีสถาบันการศึกษาเข้ามารองรับและได้รับการสนับสนุนทั้งจาก ภาครัฐและเอกชน กรณตี วั อยา่ งของวดั คลองแห ตาบลคลองแห อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยการนา ของพระครปู ลัดสมพร ฐานธมฺ โม เจ้าอาวาสวัดคลองแหในปัจจุบัน “วัดคลองแหจะมีการสอนราโนราให้กับ เยาวชนเป็นประจาทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และในเดือนเมษายนจะมีการเข้าค่ายอบรมเยาชนรักษ์หนัง ตะลุง - โนราโรงครู และจัดมหกรรมหนังตะลุง – โนราโรงครูเป็นประจาทุกปี” กิจกรรมดังกล่าวได้รับการ สนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และส่วนหน่ึงจึงเป็นท่ีมาของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศให้ศูนย์วัฒนธรรมวัด คลองแหเป็น “ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชคลองแห” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยหู่ ัว เน่อื งในวโรกาสมีพระชนม์มายุครบ ๘๔ พรรษา ประจาปี ๒๕๕๖” นอกจากนั้นยังมีพ้ืนที่ต่างๆใน ภาคใต้ที่มีการดาเนินการในลักษณะเดียวกัน ดังนั้นแผนงานในการสงวนรักษาจึงควรเป็นแนวทางในการ อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ และพัฒนา มรดกภมู ปิ ญั ญาทางวัฒนธรรมโนราโรงครู ดังต่อไปน้ี ๑. การรวมพลังเพื่อการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่และพัฒนาการแสดงโนราและโนรา โรงครู สร้างความร่วมมือระหว่างศิลปิน นักวิชาการ นักธุรกิจ องค์กรท่ีเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน แสวงหาแนวทางในการดาเนินการท้ังที่เป็นภารกิจโดยตรง การสนับสนุน ส่งเสริม และการประสานความ ร่วมมือ เพื่อการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ และพัฒนาการแสดงโนราและโนราโรงครูให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกนั กรณีสถาบันการศึกษา สถาบันทางวัฒนธรรม และนักวิชาการ ควรดาเนินการในเร่ือง ต่อไปนี้ ๑) สร้างคลังข้อมูล เช่น รวบรวมประวัติ ตัวอย่างผลงาน สถานที่ติดต่อ เป็นต้น ๒) เพิ่มพูนปัญญา ด้วยการประชุมสัมมนา ศึกษาเพิ่มเติม สร้างเสริม ประสบการณ์ ๓) จดั หาโอกาสใหเ้ ขาได้แสดงความสามารถ ปรากฏตัวต่อสาธารณชน มีพื้นท่ี มี เวทีหรอื สนามในการแสดง
๘๑ ๔) ประสาทวิทยาการ ด้วยการให้เป็นวิทยากร เป็นครูผู้สอน หรือให้การ ฝึกอบรม ๕) สื่อสารสู่ชุมชน เผยแพร่ทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์ จัดนิทรรศการ ส่ือสารทาง สิ่งพมิ พบ์ รกิ ารขอ้ มลู ๖) ยกย่องเชิดชูเกียรติผลงาน ท้ังในระดับอาเภอ จังหวัด และ/หรือ ระดับชาติ ๗) รับพระราชการทานปรญิ ญา (กิตติมศักดิ์) เป็นตน้ แผนงานในการดาเนินการ ๑. ศึกษา สารวจ สถานภาพในปจั จุบนั ของราและโนราโรงครู ๒. ศึกษา สารวจ หน่วยงาน องค์กร สถาบันทั้งภาครัฐและเอกชน ท่ีมีส่วน เก่ยี วขอ้ งกับการอนรุ กั ษ์ สง่ เสรมิ เผยแพร่และพัฒนาการแสดงโนราและโนราโรงครู ๓. ประชุมสัมมนาศิลปิน องค์กร นักวิชาการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโนราและโนรา โรงครูเพือ่ สร้างเครอื ข่าย ๔. จดั ต้งั องคก์ รกลางเพ่ือร่วมกันในการอนุรักษ์ สงเสริม เผยแพร่และพัฒนาการ แสดงโนราและโนราโรงครู ท้งั ในระดับจงั หวดั ระดบั ภาค ระดับประเทศ ๒. การแสวงหาแนวร่วมและสร้างร่มบารมี เพื่อการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่และ พัฒนาการแสดงโนราและโนราโรงครู สร้างความร่วมมือและสร้างร่มบารมีในการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่และพัฒนาการแสดงโนราและโนราโรงครู องค์กร หน่วยงานให้การสนับสนุนให้ความร่วมมือสร้าง พลงั ศรัทธา ใหค้ วามอนุเคราะห์ การแสดงโนราโรงครูจนสามารถยนื หยัดอยู่ได้ในสังคมปจั จุบัน แผนงานในการดาเนนิ การ ๑) การประชุมและจัดทาแผนงานโครงการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่และ พัฒนาการแสดงโนราและโนราโรงครู ๒) การประชุมและประสานงาน องค์กรในระดับจังหวัดที่มีการจัดงานประจาปี หรอื งานอ่ืนๆเพอ่ื ให้โนรามพี ้นื ท่ีในการแสดง ๓) เสนอโครงการ แนวทาง รูปแบบ การดาเนินการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ และพัฒนาการแสดงโนราและโนราโรงครูต่อสานักงานวัฒนธรรมจังหวัด และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
๘๒ ๔) จัดทาหลักสูตรโนราและโนราโรงครูในรายวิชาท้องถ่ินศึกษาในระดับต่างๆ โดยประสานกบั หนว่ ยงานทางการศกึ ษา ทั้งในระดบั ประถม มธั ยม และอุดมศึกษา ๕) นาโครงการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่และพัฒนาการแสดงโนราและโนราโรง ครเู สนอตอ่ สถาบนั และบุคคลสาคัญในระดับชาติ เพอ่ื ขอการสนับสนนุ ในรูปแบบตา่ งๆ ๓. การจัดต้ังกองทุนเพือ่ การอนรุ ักษ์ สง่ เสริม เผยแพร่การแสดงโนราและโนราโรงครู จัดต้ังกองทุน โดยการแสดงหาเงินทุน แหล่งทุนเพื่อจัดตั้งเป็นกองทุนช่วยเหลือ จัด สวสั ดกิ ารแกศ่ ลิ ปินโนรา รวมทัง้ เป็นกองทนุ ในการอนรุ กั ษ์ สง่ เสรมิ เผยแพร่และพัฒนาอยา่ งยั่งยนื แผนงานในการดาเนนิ การ ๑) การดาเนินการของบประมาณสนับสนุนในการจดั ต้งั กองทนุ ตอ่ บคุ คล องคก์ ร สถาบันทั้งภาครัฐและเอกชน ทง้ั ในระดับทอ้ งถิน่ ระดับจงั หวดั ระดับภาค ระดับประเทศและกองทุนจาก ตา่ งประเทศ ๒) การจดั กจิ กรรมการแสดงโนรา รวมทัง้ กิจกรรมอ่ืนๆเพ่ือการหารายได้มาจัดตง้ั กองทุน ๓) การจัดต้ังมูลนิธิเพ่ือการดาเนินการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่และพัฒนาโนรา และโนราโรงครู ๔. การจัดตั้งองค์กร เครือข่าย และสร้างกลไกขับเคลื่อน เพื่อการอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพรแ่ ละพฒั นาโนราและโนราโรงครู จดั ตัง้ องคก์ ร เครอื ข่าย และสรา้ งกลไกขับเคลื่อนโดยการแสวงหาแนวทางในการ จัดตั้งองค์กร เครือข่ายในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ เพื่อเป็นองค์กรรองรับ และมีหน้าที่ โดยตรงในการผลดั ดันภารกิจการอนรุ ักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่และพฒั นาโนราและโนราโรงครู แผนงานในการดาเนินการ ๑) ประชุมสัมมนา จัดตง้ั องค์กรเครือข่ายศิลปนิ พนื้ บ้าน โนราและโนราโรงครู ๒) การสง่ เสรมิ การจดั กิจกรรมการเรยี นการสอน เพื่อนสร้างโนรารนุ่ ใหมท่ ้ังใน ระดับชุมชน และสถาบันการศกึ ษาในทกุ ระดบั ๓) การจดั กิจกรรมชุมชน เน้นการแสดงโนราและโนราโรงครู ใหเ้ ปน็ งานมหกรรม ประจาปี
๘๓ ๕. การสรา้ งศลิ ปะธรุ กิจเพือ่ สร้างมูลคา่ เพิม่ ในการอนุรักษ์ ส่งเสริมเผยแพร่และพัฒนา โนราและโนราโรงครู สร้างความร่วมมือระหว่างศิลปิน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน นาศิลปะการแสดง โนราและโนราโรงครูออกเผยแพร่ในรปู แบบต่างๆที่สามารถหารายได้และเกิดผลในทางธุรกิจ การท่องเท่ียว การจาหน่ายผลิตภณั ฑท์ ่ีเกี่ยวเน่ืองกบั โนราและโนราโรงครู รวมท้ังการผลิตสื่อโสตทัศนูปกรณ์ออกเผยแพร่ และจาหน่ายโดยธรุ กิจเอกชน แผนงานในการดาเนนิ การ ๑) แสวงหาแนวร่วมในการทาธรุ กจิ ในรูปแบบต่างๆทเี่ กี่ยวเนอื่ งกับโนรา ๒) ส่งเสริมให้ศลิ ปิน ชมุ ชน สรา้ งผลิตภัณฑท์ ่เี ก่ยี วเน่ืองกับโนรา เพ่ือสร้างเป็น สนิ คา้ ของท่รี ะลึก ออกจาหน่ายโดยการจดั การตลาดอยา่ งครบวงจร ๓) การนาโนราออกสาธติ หรือจดั กจิ กรรมการแสดงในเชิงธุรกิจการท่องเทย่ี วทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ ๔) การประสานงานกบั ส่อื มวลชนเพื่อการเผยแพรก่ ารแสดงโนราในเชงิ ธรุ กจิ ๖. การศึกษาวิจัย เพื่อการอนุรักษ์ ส่งเสริมเผยแพร่และพัฒนาโนราและโนราโรงครู สร้างนักวิจัยและจัดหาแหล่งทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยเรื่องโนราและโนราโรงครูในมิติต่างๆเพื่อนาไป ประยุกต์ใช้ในการสร้างองค์ความรู้ การอนุรักษ์เผยแพร่และพัฒนาโนราและโนราโรงครู รวมท้ังส่งเสริมให้ องค์กร สถาบัน ชุมชน ได้เข้ามามีส่วนรว่ มในการศกึ ษาวจิ ัยอยา่ งกวา้ งขวาง แผนงานในการดาเนินการ ๑) การศกึ ษาวิจยั เพ่ือสรา้ งองคค์ วามรู้เกี่ยวกับโนราและโนราโรงครใู นระดับต่างๆ ๒) การศึกษาวิจัยเพ่ือแสวงหาแนวทางไปประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่และพัฒนาโนราและโนราโรงครู ๓) การศึกษาวิจัยเพื่อการสืบทอดการแสดงโนราและโนราโรงครู การออกสาธิต หรอื จัดกจิ กรรมการแสดงโนราในเชิงธุรกจิ การทอ่ งเท่ียวทัง้ ในประเทศและตา่ งประเทศ ๒. แนวทางการสง่ เสริมใหโ้ นราโรงครูเป็นมรดกภมู ปิ ัญญาทางวฒั นธรรมของชาติ การส่งเสริมให้โนราโรงครูเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ มีแนวทางการ ส่งเสรมิ ดังนี้ ๑. การศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลเรื่องราวโนราและโนราโรงครูให้ครอบคลุมในพื้นท่ี ภาคใต้เพื่อการสร้างองค์ความรู้ที่จะนาไปสู่การอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่พิธีกรรมของโนราโรงครูให้
๘๔ ชุมชนได้เห็นความสาคัญและคุณค่าของโนราโรงครู กล่าวคือ โนราโรงครูเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของ ชมุ ชน ผบู้ ริโภค คือ ชมุ ชน การปกรกั ษาโนราโรงครู คอื การรกั ษาสถาบันท่ีสาคัญทางสังคมท่ีเป็นความเช่ือ และศาสนาแบบชาวบ้าน ทาให้การประกอบพิธีกรรมโนราโรงครูมีเหตุผล และมีคุณูปการต่อการแก้ไข ปัญหาพ้ืนฐานและตอบสนองความต้องการปัจเจกชนและสังคม ทาให้สังคมดารงอยู่อย่างปกติสุขและ ช่วยเหลือพึ่งพาอาศยั ซ่ึงกันและกัน ๒. โนราและโนราโรงครูเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนและท้องถิ่น ทั้งภูมิ ปัญญาในการสร้างตานานและประวัติความเป็นมาของโนรา ภูมิปัญญาในการผสมผสานคติความเช่ือ ภูมิ ปัญญาในการปลูกฝังทัศนคตินิยมต่อโนราและการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลและสังคม โดยเฉพาะ พิธีกรรมโนราโรงครูเป็นพิธีกรรมที่แสดงออกถึงความสานึกในความกตัญญูรู้คุณต่อครูบาอาจารย์ต่อบิดา มารดา ต่อพ่อแม่ตายาย ทงั้ ทล่ี ่วงลับไปแล้วและยงั มีชวี ิตอยู่ โดยเฉพาะศิลปินนั้นมคี วามมั่นคงในการยกย่อง นับถือครูอาจารย์ บิดามารดา และผู้มีพระคุณ ย่อมจะเป็นแบบอย่างแก่โนรารุ่นหลัง รวมทั้งลูกหลาน ตายายโนราและชาวบ้านท่ัวไปได้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง ภูมิ ปัญญาในการอนุรักษ์ ส่งเสริมเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมและการสืบทอดการราโนรา ภูมิปัญญาในการนาเอาคติความเชื่อ วัฒนธรรมพื้นบ้านและ บริบททางสังคมมาปรับใช้ในการแสดงโนรา ภูมิปัญญาที่เป็นการสร้างสรรค์พิเศษ ดังจะเห็นได้จากการ ประดิษฐ์ทา่ ราต่างๆ บทขับรอ้ งกลอน วรรณกรรมท่ีนามาแสดง เครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี เป็นต้น มรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดังกล่าวจึงควรได้รับการผลิตซ้า การอนุรักษ์และการสืบทอดด้วยวิธีการต่างๆ ท้ัง ด้วยตัวศิลปิน นักวิชาการ องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในรูปแบบต่างๆ และเป็นส่วนหน่ึงของ การสรา้ งสรรค์ภูมปิ ัญญาและวัฒนธรรมพ้นื บา้ นด้านต่างๆของผคู้ นและชุมชนใหย้ ่ังยืนสืบไป ๓. การสร้างกระบวนการถ่ายทอดและสืบทอดการราโนราและโนราโรงครูสู่เยาวชนรุ่น ใหมด่ ้วยกระบวนการต่างๆทั้งการสืบทอดในแบบประเพณี การสืบทอดในชุมชน การสืบทอดในวัด ดังกรณี ตัวอย่าง วัดคลองแห อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พระปลัดสมพร ฐานะธรรมโม เจ้าอาวาสวัดคลองแห คนปจั จุบนั และประธานศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน จังหวัดสงขลา ได้จัดให้มีกิจกรรมฝึกหัด หนังตะลุงและโนรา รวมท้งั โนราโรงครใู นเวลาต่อมา กิจกรรมดังกล่าวประสบผลสาเร็จและมีความย่ังยืนมา จนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการจะสร้างกระบวนการถ่ายทอดและสืบทอดการราโนราและโนราโรงครู จาเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดขึ้นใน “หลักสูตรท้องถ่ินศึกษาในทุกระดับ ท้ังระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอดุ มศกึ ษา เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างศิลปินโนรารุ่นใหม่แล้วยังอาจจะเป็นการสร้างนายโรงโนรา ที่จะทาหน้าที่ในพิธีกรรมโนราโรงครูในโอกาสต่อไป ประเด็นสาคัญ คือ การได้สร้างผู้ชมโนรารุ่นใหม่ท่ีมี
๘๕ ความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมการราโนราและโนราโรงครูขึ้นเป็นการปลูกฝังมรดกภูมิปัญญาทาง วฒั นธรรมโนราโรงครใู หม้ คี วามแพรห่ ลายอยา่ งกว้างขวางและมคี วามยัง่ ยืนสบื ไป” ๔. การขอจดทะเบียนโนราโรงครูของภาคใต้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เนื่องจาก โนราและโนราโรงครูเป็นศิลปะการละเล่นท่ีมีความสาคัญท้ังในด้านการให้ความบันเทิงและการประกอบ พิธีกรรมโดยเฉพาะโนราโรงครู ซ่ึงมีบทบาทหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมน้ันนับเป็นจุดแข็งของโนราใน การรักษา สถานภาพ เพราะการเซ่นไหว้ครูหมอตายายโนรา การทาพิธีแก้บน การครอบเทริดหรือผูกผ้า ใหญ่และพิธีกรรมอื่นๆล้วนตอบสนองความต้องการและช่วยแก้ไขปัญหาให้กับคนในสังคมทั้งด้านร่างกาย และจติ ใจ รวมท้ังมีบทบาทสาคัญต่อระบบความเชื่อและความรู้สึกนึกคิดของประชาชน ดังนั้นการเสนอให้ โนราโรงครเู ปน็ มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ จะทาใหป้ ระชาชนได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสาคัญ ในอัน ทจี่ ะชว่ ยกนั อนรุ กั ษ์ ส่งเสรมิ เผยแพร่ และพฒั นาโนราและโนราโรงครูให้มคี วามมั่นคงและยั่งยนื สืบไป ๓. พิกัดทางภมู ิศาสตร์ โน รา แล ะโ น รา โร งค รู แพ ร่ก ระจ าย อย่ าง ก ว้า งข วา ง ใน พ้ื น ที่ภ า คใ ต้ข อง ป ระเท ศไ ท ย นับตั้งแต่เหนือสุดคือ จังหวัดชุมพร ถึงใต้สุดคือ จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกและ ภาคใต้ฝ่ังตะวันออก โดยเฉพาะบริเวณท่ีมีความเข้มข้นของความเช่ือและพิธีกรรมได้แก่บริเวณรอบลุ่ม ทะเลสาบสงขลา ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา รวมท้ังจังหวัดตรังใน บรเิ วณภาคใตฝ้ ง่ั จะวนั ตก ท้งั นีจ้ ากการศกึ ษาภาคสนาม การรวบรวมข้อมูล และการสัมภาษณ์หัวหน้าคณะ โนราโรงครูในบางจังหวัดทราบว่าคณะโนราโรงครูบางคณะได้ไปประกอบพิธีกรรมโนราโรงครูและหรือทา พิธีแก้บนให้กับชาวบ้านในจังหวัดต่างๆ แม้ว่าในบางจังหวัดของภาคใต้ไม่มีความเข้มข้นในเร่ืองการแสดง โนราและพิธีกรรมโนราโรงครู เช่น จังหวัดกระบี่ ภูเก็ต ยะลา นราธิวาส สตูล แต่เนื่องจากมีชาวบ้านใน จงั หวดั นครศรีธรรมราช พทั ลุง สงขลา มกี ารอพยพไปทามาหากนิ หรือตั้งถิ่นฐานในจังหวัดน้ันๆ โดยที่กลุ่ม คนเหล่าน้ันมีเช้ือสายโนราหรือเคยนับถือครูหมอโนรา จึงยังคงมีความเช่ือและการประกอบพิธีกรรมโนรา โรงครู โดยรับคณะโนราโรงครูจากจังหวดั นครศรธี รรมราช ตรัง พัทลงุ ไปแก้บนหรือประกอบพิธีกรรมโนรา โรงครูให้ และบางคณะก็ไปร่วมประกอบพิธีกรรมโนราโรงครูให้ชาวมาเลย์เช้ือสายไทยในรัฐตอนเหนือของ ประเทศมาเลเซีย ทัง้ ในรฐั ปะลสิ รฐั เกดะห์ รัฐเประ และรัฐกลันตนั จึงกล่าวได้ว่าการแพร่กระจายของโนรา โรงครูภาคใต้ตั้งอยู่ระหว่างพิกัดภูมิศาสตร์ คือ ต้ังแต่ละติจูดท่ี ๑๑ องศา ๔๒ ลิปดาเหนือ ลงมาจนถึง ละติจูดที่ ๕ องศา ๓๗ ลิปดาเหนือ และลองติจูด ๙๘ องศาตะวันออก กับลองติจูด ๙๘ องศาตะวันออก
๘๖ กับลองติจูดที่ ๑๐๒ องศาตะวันออกคิดเป็นพ้ืนที่ประมาณ ๗๐ , ๑๘๙ ตารางกิโลเมตร ดังปรากฏในแผนที่ ภาคใตท้ ี่แสดงดงั นี้
บทที่ ๕ สรุปผล อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ สรุปผล โนราโรงครู เป็นความเชื่อและพิธีกรรมที่แสดงให้เห็นถึงมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท่ีมี ความสมั พันธก์ บั วิถชี ีวิตของชาวบ้านในภาคใต้ ทัง้ นเี้ พราะโนราโรงครูเป็นพิธีกรรมทางความเชื่อที่เป็นความ เชื่อทางพระพุทธศาสนาระดับชาวบ้าน อันหมายถึงความเชื่อในหลักธรรมคาสอนของพุทธศาสนา ซึ่ง ผสมผสานกับลัทธิพราหมณ์และความเชื่อในเร่ืองไสยศาสตร์หรือผีสางเทวดา อันรวมไปถึงการเซ่นไหว้ บรรพบุรษุ การเขา้ ทรงและพิธีกรรมทางความเช่ือ อ่ืนๆทป่ี รากฏในโนราโรงครู เชน่ พธิ ีครอบเทริด หรือผูก ผา้ ใหญ่ พธิ รี าสอดเครื่องหรือสอดกาไล เป็นการแสดงออกถึงคุณธรรมด้านการดารงคุณค่าในการเคารพนับ ถือครูบาอาจารย์ มีความกตัญญูรู้คุณ มีเมตตาธรรมเป็นเครื่องชี้นาในการช่วยเหลือผู้ท่ีได้รับความทุกข์ ความเดอื ดร้อน ช่วยคล่ีคลายปัญหาทั้งดา้ นร่างกายและจติ ใจ จึงมสี ว่ นสาคัญในการสืบทอดและรักษามรดก ภมู ิปัญญาทางวัฒนธรรมโนราโรงครูจากอดตี จนถึงปัจจุบนั ในดา้ นองคค์ วามรูม้ รดกภูมปิ ัญญาทางวัฒนธรรมโนราโรงครู สรปุ เป็นประเด็นได้ ดังนี้ ๑. ประวัติและความเป็นมาของโนรา ประวัติความเป็นมาของโนรา ปรากฏท้ังท่ีเป็น ตานานบอกเล่า หลกั ฐานเอกสาร บทกาศครู บทรอ้ งกลอนโนรา ตานานท้องถิ่นที่เก่ียวข้องกับโนรา และข้อ วินจิ ฉยั ของผรู้ ู้ของถิ่นในเรื่องความเป็นมาของโนรา เช่น ตานานโนราที่เล่าโดยขุนอุปถัมป์นรากร (โนราพุ่ม เทวา) ตานานโนราที่ปรากฏในรูปกลอน ๔ ตานานโนราที่เล่าโดยโนราวัดจันทร์เรือง ตานานนางนวลทอง สาลี ตานานขนุ ศรัทธาท่าแค และตานานท้องถ่ินที่เก่ียวข้องกับโนรา เช่น ตานานนางเลือดขาว ตานานเจ้า แมอ่ ยู่หวั ตานานตายายพราหมณ์จันทร์ เปน็ ตน้ ๒. ความเป็นมาของประเพณีการราโนราโรงครู กล่าวได้ว่าความเป็นมาของโนราโรงครูมี ที่มาจากตานานโนรา ซึ่งเป็นการราโนราถวายเทวดาและบูชาตายายพราหมณ์จันทร์ของนางนวลทองสาลี ก่อนกลับบ้านเมืองโดยถือว่าเป็นการราโนราโรงครูคร้ังแรกของโนราและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาจนถึง ปัจจุบัน นอกจากน้ันยังเชื่อว่าโนราโรงครูคงเป็นพิธีกรรมเพื่อการไหว้ครู ครอบครู ที่มีมาพร้อมกับการเกิด โนราในภาคใตเ้ ช่นเดียวกบั ศิลปะการละเลน่ และการแสดงอื่นๆนัน่ เอง
๘๘ ๓. รูปแบบและเนื้อหาของโนราโรงครู โนราโรงครูแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือโนราโรง ครูใหญ่ และโนราโรงครูเล็ก โนราโรงครูใหญ่ หมายถึงโนราโรงครูเต็มรูปแบบ ปกติการราโนราโรงครูใหญ่ ทากนั ๓ วนั จงึ จบพิธี เรมิ่ ตัง้ แตว่ นั พธุ ไปสิ้นสุดในวันศุกร์และจะต้องทาเป็นประจา เช่น ทุกปี ทุกสามปี ทุก ห้าปี แล้วแตจ่ ะกาหนด การราเช่นนจี้ าเป็นต้องใชเ้ วลาเตรยี มการนานใช้ทุนคอ่ นข้างสูง ต้ังแต่การปลูกสร้าง โรง การติดตอ่ คณะโนรา การเตรียมเคร่อื งเซ่นไหว้ และการเตรยี มอาหารเพ่ือจัดเลี้ยงแขกท่ีมาร่วมงาน เป็น ตน้ ส่วนโนราโรงครูเล็ก หมายถึง การราโรงครอู ย่างยน่ ยอ่ ใชเ้ วลาราเพียง ๑ คนื กบั ๑ วนั เท่าน้นั ๔. องค์ประกอบในการราโนราโรงครู โนราโรงครูใหญ่และโนราโรงครูเล็กมีองค์ประกอบ ในการราโรงครูท่ีสาคัญๆคือ โนราใหญ่ คณะโนรา คนทรง ระยะเวลาและวันทาพิธี โรงพิธีหรือโรงครู อุปกรณ์ในการประกอบพิธี เคร่ืองบูชาประกอบพิธี เครื่องดนตรีและลูกคู่ บทประกอบท่าราและบทร้อง รวมทั้งผเู้ ข้าร่วมประกอบพิธีกรรมโนราโรงครู ๕. ความเชื่อและพิธีกรรมท่เี ก่ียวขอ้ งกับโนราและโนราโรงครู ๕.๑ ความเช่ือที่เก่ียวข้องกับโนราและโนราโรงครู ได้แก่ ความเชื่อเร่ืองครูหมอ โนรา ความเช่ือเร่ืองไสยศาสตร์ ความเช่ือเรื่องการแก้บน ความเช่ือเรื่องการเหยียบเสน ความเชื่อเรื่องการ รกั ษาอาการป่วยไข้ ๕.๒ ข้นั การจัดพธิ ีกรรมโนราโรงครู โนราโรงครูมี ๒ ชนดิ คอื โนราโรงครูใหญ่กับ โนราโรงครูเล็กแต่รายละเอียดของพิธีกรรมบางอย่าง เช่น ราคล้องหงส์ ราแทงเข้ (จระเข้) ครอบเทริด จะทากันในโนราโรงครูใหญ่เทา่ นนั้ นอกจากนโ้ี นราโรงครใู นแตล่ ะพื้นทอ่ี าจจะมขี อ้ แตกตา่ งกันบ้าง พิธีกรรม ต่างๆ เช่น การตัดจุก เหยียบเสน ตัดผมผีช่อ การราถีบหัวควาย จะมีหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ของเจ้าภาพและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ สาหรับโนราโรงครูใหญ่มีการจัดพิธีกรรมจานวน ๓ วัน มีข้ันตอนดังนี้ วันแรกซ่ึงเป็นวันพุธตอนเย็น เริ่มตั้งแต่พิธีไหว้พระภูมิโรง ต้ังศาลพระภูมิ คณะโนราเข้าโรง ลงโรง กาศครู ว่าบทบาลีหน้าศาลร้องเชิญครูด้วยบทชุมนุมครู กราบครู โนราใหญ่ราถวายครู จับบทตั้งเมือง ราโนราเพื่อ ความบันเทิงทั่วไป พิธีกรรมวันที่สอง คือวันพฤหัสบดี เร่ิมตั้งแต่ลงโรง กาศครู ชุมนุมครู เซ่นไหว้ครูหมอ โนรา แกบ้ น ราสอดเคร่ืองสอดกาไลและพิธีตัดจุก พิธีครอบเทริดหรือผูกผ้าใหญ่ พิธีแก้บนด้วยการราโนรา ถวายครูและการราออกพรานหรือจับบทออกพราน พิธีผูกผ้าปล่อย (เพ่ือตัดขาดจากความเป็นโนรา) พิธกี รรมวันทสี่ ามอนั เปน็ วันสดุ ทา้ ยของพิธกี รรม เร่มิ ตงั้ แต่ ลงโรง กาศครู เชิญครู ราถวายครู ราสิบสองบท สบิ สองเพลง ทาพิธเี หยียบเสน การตดั ผมผีชอ่ การราคลอ้ งหงส์ การราแทงเข้ (จระเข้) ร้องบทชาครูหมอตา ยาย รอ้ งบทสง่ ครู (ส่งครูหมอตายาย) ตัดเหมรย (ตัดทานบน) เก็บเครื่องบนศาลหรือพาไล ทาพิธีพลิกสาด พลิกหมอน ราบนสาด โนราใหญ่ถอดเทริดออกเป็นเสร็จพธิ รี าโนราโรงครู
๘๙ กล่าวได้ว่า โนราโรงครู เป็นพิธีกรรมในการนับถือบรรพบุรุษ ซ่ึงยังมีการจัดพิธีและแนว ปฏิบัติรองรับอย่างเข้มข้นในหมู่บ้านต่างๆโดยเฉพาะในเขตภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนกลาง ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตรัง กระบ่ี ระนอง ซ่ึงชาวบ้านที่มีบรรพบุรุษ รุ่นใดรุ่นหน่ึงเป็นโนราจะต้องนับถือครูหมอตายายโนราและสืบทอดการทาพิธีโนราโรงครู ด้วยเหตุที่ พธิ ีกรรมโนราโรงครูและการนบั ถอื ครหู มอตายาโนราเป็นวิธีการของชาวใต้ในการนับญาติ และการรวมกลุ่ม รวมท้ังมีส่วนในการแก้ปัญหาต่างๆท้ังของปัจเจกบุคคล และสังคมส่วนรวมที่เป็นปัญหาพ้ืนฐานท้ังด้าน ร่างกายและจิตใจที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ ปากท้อง ความขัดแย้ง การอบรมส่ังสอนสมาชิกใหม่ ความล้ีลับและอานาจเหนือธรรมชาติ ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ การติดต่อสื่อสารกัน การแสดงออกและการ พักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น แม้ว่าพิธีกรรมโนราโรงครูยังคงดารงอยู่ได้ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทาง สงั คมและวฒั นธรรม กย็ ังจาเป็นจะต้องได้รบั การอนรุ กั ษ์ ส่งเสริม และพัฒนา ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและ เอกชนโดยเฉพาะชุมชนผู้เป็นเจ้าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม รวมทั้งการรวบรวมและจัดทาข้อมูล เพ่ือเสนอให้โนราโรงครเู ปน็ มรดกภูมปิ ัญญาทางวัฒนธรรมของชาตติ ่อไป อภปิ รายผล การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโนราโรงครูในภาคใต้คร้ังนี้ ผลการเก็บข้อมูลมีประเดน็ ท่ีน่าสนใจดังนี้ ๑. องค์ความรู้และการประกอบพิธีกรรมโนราโรงครูในภาคใต้พบว่า ความเช่ือเรื่องครู หมอโนรา พิธีกรรมในโนราโรงครูมีส่วนสาคัญในการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะ การสืบทอดการราโนรา เพราะความเช่ือในเร่ืองครูหมอโนราหรือครูหมอตายายโนราและการปฏิบัติต่อครู หมอของตนน้ันเป็นไปด้วยความเข้มข้น พิธีกรรมบางอย่างท่ีทากันในโนราโรงครูถือว่าเป็นพิธีกรรมท่ีขลัง และศกั ดส์ิ ิทธิ์ เชน่ พธิ คี รอบเทรดิ หรือผูกผ้าใหญแ่ ลว้ สามารถเป็นโนราใหญห่ รอื นายโรงโนราและเป็นผู้ท่ีจะ ประกอบพิธีกรรมโนราโรงครูต่อไปได้ อันเป็นการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากคนรุ่นหน่ึงไป ยังอกี รุ่นหน่ึง เมอ่ื ได้เป็นโนราใหญแ่ ล้ว บางคนกจ็ ะไปต้ังคณะโนราของตนเอง และต้องมีผู้ร่วมคณะท้ังคนรา คนแสดง และลูกคู่ ซ่ึงเป็นผลโดยตรงของการสืบทอดการราโนรา นอกจากน้ันในพิธีกรรมโนราโรงครูยังมี การทาพิธีราสอดเครื่องสอดกาไรหรือสอดไหมรของโนรารุ่นใหม่ทั้งท่ีฝึกราโนราได้แล้วแ ละผู้ที่จะสมัคร เขา้ ฝกึ โนราใหม่ เพอ่ื ให้ครหู มอโนราไดย้ อมรบั บคุ คลนัน้ ๆเขา้ เป็นโนรา ในการเข้าประกอบพิธีกรรมดังกล่าว มีส่วนอย่างสาคัญในการปลูกฝังความเชื่อ ความรัก และความศรัทธาในการราโนราให้แก่คนรุ่นใหม่มาก ยิ่งข้ึน นับว่าเป็นวิธีการทางจิตวิทยาหรือเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการสร้างและสืบทอดมรดก
๙๐ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นของตน ส่วนพิธีกรรมอื่นๆในโนราโรงครูได้มีส่วนตอกย้าบทบาท และหน้าที่ของศิลปินท่ีมีต่อปัจเจกบุคคลและสังคมในการทาหน้าที่ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาพื้น ฐาน ของบุคคลและสังคม ท้ังการบาบัดอาการทางจิตและทางกายภาพ เช่น การบน การแก้บน การเหยียบเสน การตัดผมผีช่อ และการรักษาอาการป่วยไข้ เป็นต้น วัฒนธรรมดังกล่าวสามารถสนองตอบความต้องการ ของบุคคลในสังคมทั้งทางจิตใจและร่างกายตามทฤษฎีการหน้าที่ (Functionalish) อันส่งผลให้วัฒนธรรม นั้นดารงอยูแ่ ละได้รับการสืบทอดต่อไป ๒. ประเพณีและพิธีกรรมโนราโรงครูยังคงแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในภาคใต้ และในบาง พ้ืนท่ี ยังคงปฏิบัติกันอยู่อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะพื้นที่ในบริเวณรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา อันได้แก่ จังหวัด นครศรีธรรมราช ในเขตอาเภอชะอวด และหัวไทร จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา ส่วนจังหวัดอื่นๆนอกจาก จะมคี ณะโนราโรงครโู ดยตรงแลว้ กลุ่มชาวบ้านทม่ี ีเชอ้ื สายโนราหรือเปน็ ลกู หลานตายายโนรา และยังเคารพ นับถือครูหมอโนราก็อาจจะรับคณะโนราโรงครู จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรั ง พัทลุง สงขลา ไปประกอบพิธีกรรมโนราโรงครูให้ และในบางจังหวัดท่ีไม่ใช่พื้นทางวัฒนธรรมของหลังตะลุงและโนรา แต่มีชาวบ้านผู้มีเช้ือสายโนราหรือลูกหลานตายายโนรา จากจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา หรือ จังหวัดอ่ืนๆ อพยพไปต้ังรกรากหรือทามาหากินในจังหวัดน้ันๆ เช่น จังหวัดสตูล ยะลา นราธิวาส ก็มักจะ รบั โนราไปแกบ้ นหรือราโนราโรงครู เปน็ ต้น อย่างไรกต็ าม สภาพการเปล่ยี นแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งคติความเช่ือและค่านิยมของคนในสังคมอันเป็นผลจากการพัฒนาและความเจริญทางเทคโนโลยี และการเข้ามาของวัฒนธรรมการบริโภคและสื่อสมัยใหม่ ที่วิถีปฏิบัติต่อความเช่ือและประเพณีท้องถิ่นลด ความสาคญั ลงไป และไมม่ เี วลามากพอเหมอื นสงั คมในอดตี ชาวบา้ นมีความจาเป็นในทางเศรษฐกิจ ต้องด้ิน รนเพ่ือความอยู่รอด การทากิจกรรมตามประเพณีของชุมชนก็ต้องปรับเปลี่ยนตามความเห มาะสม ท้ังรูปแบบและเน้ือหา เช่นเดียวกับพิธีกรรมโนราโรงครู ก็ต้องปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมทั้งด้าน องค์ประกอบและขั้นตอนของพิธกี รรม และเพือ่ เป็นการประหยดั คา่ ใชจ้ า่ ยในการจัดโนราโรงครู ก็อาจไปจัด ร่วมกันท่ีบ้านของโนราใหญ่ซ่ึงต้องประกอบพิธีกรรมโนราโรงครูอยู่แล้ว หรือไปร่วมกันแก้บนกับโนราโรง ครูใหญ่ท่ีมีการจัดเป็นประเพณีประจาปี เช่นโนราโรงครูใหญ่วัดท่าแค ตาบลท่าแค อาเภอเมืองพัทลุง จังหวดั พัทลงุ จะมีผมู้ ีเช้ือสายโนราลูกหลานตายายโนราและชาวบ้านจากท่ีต่างๆ มาร่วมกันแก้บน ราโนรา ถวายครู ครอบเทริดหรือผูกผ้าใหญ่และประกอบพิธีกรรมอ่ืนๆตามความเช่ือท่ีเก่ียวเน่ืองกับโนรา โดยไม่ ตอ้ งจัดโนราโรงครทู บ่ี า้ นของตนเอง อนั เป็นลักษณะเฉพาะของวฒั นธรรมพ้นื บ้านท่ีต้องปรับตัวเพ่ือความอยู่ รอดและการมีบทบาทหน้าที่ในสังคมประเด็นสาคัญคือ การตอกย้าให้เห็นถึงการสร้างระบบความสัมพันธ์ ทางสงั คมในรูปแบบต่างๆ เครือข่ายของโนราและโนราโรงครู มีทั้งระบบเครือญาติ ระบบอุปถัมภ์ ระบบผูก
๙๑ เกลอผูกดอง และระบบสาวย่านนับโยด ที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของชุมขน โดยเฉพาะบริเวณรอบลุ่ม ทะเลสาบสงขลา และนามาซึ่งการแลกเปล่ียน การพ่ึงพาอาศัยซ่ึงกันและกัน รวมทั้งความเอื้ออาทร และ ความเป็นระบบหมู่พวกในชุมชนน้ันๆ และส่วนหนึ่งคือ อัตลักษณ์และศักยภาพของชุมชนที่สะท้อนการ ดารงอย่ขู องโนราและโนราโรงครู ๓. การอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ และพัฒนาโนราโรงครูในภาคใต้ให้ยั่งยืนสืบไป รวมท้ัง การรวบรวมและการจัดเก็บข้อมูลโนราโรงครูในภาคใต้ของประเทศไทยเพื่อเสนอให้เป็นมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม กล่าวได้ว่าบทบาทในการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ และพัฒนาโนราและโนราโรงครูเป็น หนา้ ที่ของรัฐ สถาบนั ทางการศึกษาและวัฒนธรรม หน่วยงานเอกชน และบุคคลผู้มีส่วนเก่ียวข้องโดยทั่วไป นับต้ังแต่การให้การศึกษาในระบบทุกระดับ การกาหนดนโยบายของรัฐ รวมท้ังการจัดต้ังหน่วยงาน วัฒนธรรมในระดับย่อย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนชาวบ้านและชุมชนในการสืบทอดประเพณีและพิธีกรรม ส่วนในทางวิชาการจาเป็นต้องใช้กระบวนทัศน์ในการพินิจพิจารณา รวมท้ังการวิเคราะห์และสังเคราะห์ มรดกภมู ปิ ัญญาทางวฒั นธรรมท้งั ด้านโนราและโนราโรงครู โดยเฉพาะปรากฏการณ์ของวัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือการแสดงพ้ืนบ้านท่ีเป็นมา เป็นอยู่ และเป็นไปในท่ามกลางกระแสการพัฒนา วัฒนธรรมในการผลิต วัฒนธรรมในการบริโภคที่เป็นวตั ถนุ ยิ ม และการเคล่ือนเปล่ียนทางสังคมและวัฒนธรรมท่ีมีแนวโน้มท่ีจะถูก ยึดครองตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ด้วยการสร้างความตระหนักและรู้เท่าทันเท่านั้น ท้องถ่ินและชุมชนจึงจะ สามารถหยดั ยืนความเป็นอตั ลักษณแ์ ละเอกลักษณ์ของตน และมีวิธีเลือกสรรในการปกป้องความเป็นตัวตน เอาไว้ โดยศิลปิน ผู้เกี่ยวข้องและชุมชนจาต้องรับรู้ สถานภาพ แนวโน้มของการเปล่ียนแปลง เหตุปัจจัย ข้อจากัด และปัญหาอุปสรรคต่อการดารงอยู่ การสานต่อ หรือการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โนราและโนราโรงครู ต้องอาศัยวิธีการ กระบวนการทั้งศิลปิน กลุ่มบุคคล องค์กร และชาวบ้านในท้องถิ่น หรือชุมชน นักวิชาการหน่วยราชการ เอกชนท่ีเป็นแหล่งเงินทุน สื่อสารมวลชนและส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ด้วยการประสาน การสร้างความร่วมมือในฐานะเครือญาติทางวัฒนธรรมเพื่อการค้าจุน รักษา ส่งเสริม เผยแพร่ และพัฒนาให้โนราและโนราโรงครู เป็นอัตลักษณ์และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น และชุมชนไวใ้ นทศิ ทางท่ีพงึ ประสงค์ตอ่ ไป
๙๒ ข้อเสนอแนะ ผลการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโนราโรงครูในภาคใต้ครั้งน้ี คณะผู้รวบรวมมีข้อเสนอแนะ ดงั น้ี ๑. ข้อเสนอแนะทัว่ ไป ๑.๑ ควรไดน้ าผลการรวบรวมและจัดเก็บขอ้ มลู โนราโรงครคู รั้งนี้ไปเผยแพร่ต่อนักวิชาการ และบุคคลท่ัวไป เพื่อจะได้มองเห็นถึงคุณค่าและการแพร่กระจายของโนราโรงครูในภาคใต้ ซ่ึงข้อมูล ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยและนาไปสู่การอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่และพัฒนาโนราและ โนราโรงครูต่อไป ๑.๒ ควรนาผลการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลไปใช้พัฒนาเป็นหลักฐานของท้องถ่ิน และ นาไปสู่การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร “ท้องถิ่นศึกษา” หรือ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” เพื่อให้เยาวชนได้ ศกึ ษาเรยี นรแู้ ละมสี ว่ นรว่ มในการอนุรกั ษ์ สง่ เสรมิ เผยแพร่ และพฒั นาต่อไป ๑.๓ ควรส่งเสริมให้ชาวบ้าน หน่วยงานในท้องถ่ินท้ังภาครัฐและเอกชนได้สนับสนุนและ ส่งเสริมประเพณีการราโนราโรงครูและกิจกรรมอ่ืนๆที่เก่ียวเนื่องกับโนราและวัฒนธรรมชุมชน เพ่ือ ประโยชน์ในการเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของตนเอง และสามารถนาไปปรับใช้เป็นทุนทาง วฒั นธรรมและธุรกจิ ทางวฒั นธรรม เพอ่ื ส่งเสริมการท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรมท่สี รา้ งมลู ค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ ชมุ ชนไดอ้ กี ด้วย ๒. ข้อเสนอแนะเพอ่ื การรวบรวมและจดั เกบ็ ขอ้ มูล ๒.๑ ควรมกี ารศกึ ษารวบรวมและจดั เก็บข้อมูลราโรงครูในแต่ละท้องถิ่นหรือในภาคใต้แต่ ละส่วนที่มีประเพณีและพิธีกรรมที่มีลักษณะเฉพาะและมีความหลากหลายเพ่ือประโยชน์ในการสร้างองค์ ความรู้ การสง่ เสรมิ และการศกึ ษาวจิ ยั ในโอกาสตอ่ ไป ๒.๒ ควรมีการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของภาคใต้ใน สาขาศิลปะการแสดงของภาคใต้ด้านอ่ืนๆ เช่น หนังตะลุง เพลงบอก ลิเกป่า ลิเกฮูลู เป็นต้น เพ่ือเสนอให้ เป็นมรดกภูมปิ ญั ญาทางวัฒนธรรมในขอบเขตของประเทศไทยและของโลกต่อไป
บรรณานกุ รม คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, สานักงาน.พุ่มเทวา – ที่ระลึกงานเชิดชูเกียรติศิลปินภาคใต้ : ขุนอุปถัมภ์ นรากร. กรุงเทพฯ : สานกั งานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, ๒๕๒๓. ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์. “พิธีกรรมท่ีน่าศึกษาในโนราโรงครู” ในพุ่มเทวา – ที่ระลึกงานเชิดชูเกียรติศิลปิน ภาคใต้ : ขุนอปุ ถัมภ์นรากร. หน้า ๑๑๑ – ๑๒๕. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แหง่ ชาติ, ๒๕๒๓. ชัยวุฒิ พิยะกูล. การศึกษา “เพลานางเลือดขาว” ฉบับวัดเขียนบางแก้ว อาเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. ปริญญานพิ นธ์ ศศ.ม.สงขลา : มหาวิทยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒสงขลา, ๒๕๓๘. ถา่ ยเอกสาร _______________. ความรู้เร่ืองโบราณวิทยาเมืองพัทลุง. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ, ๒๕๒๗. ดารงราชานุภาพ, สมเดจ็ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ. ตานานละครอิเหนา. พระนคร : คลงั วทิ ยา, ๒๕๐๗. เทพ บุณยประสาท. “วัฒนธรรมและประเพณี” , ในรายงานกิจการประจาปี ๒๕๐๐ จังหวัดพัทลุง. พัทลุง : จังหวดั พัทลุง, ๒๕๐๐. เทวสาโร (นามแฝง). เทพสาร บรรพ ๒. พัทลุง : โรงพมิ พ์สกลุ ไทย, ๒๕๐๘. ประทมุ ช่มุ เพ็งพนั ธ์.ุ “นางเลอื ดขาว”, ใน ประวัตศิ าสตรแ์ ละโบราณคดนี ครศรธี รรมราช ชุดท่ี ๒. หน้า ๒๑๙ – ๒๓๓. กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พก์ รุงสยาม, ๒๕๒๕. ________________. “เมืองพทั ลงุ สมัยโบราณ”, ใน รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์และโบราณคดีพัทลุง. บรรณาธิการโดย สารูป ฤทธิ์ชู. หน้า ๓๖ – ๕๑. พัทลุง : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง โรงเรียน สตรพี ทั ลุง, ๒๕๓๑. ปรานี วงษเ์ ทศ. พ้นื บ้านพ้นื เมอื ง. กรุงเทพฯ : เรอื นแกว้ การพิมพ,์ ๒๕๒๕. ปรีชา กาญจนาคม และมนูญ ทรงกัลยาวัตร. “พัทลุงในอดีต”, ใน รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์และ โบราณคดีพัทลุง. บรรณาธิการ โดย สารูป ฤทธ์ิชู. หน้า ๕๖ – ๗๒. พัทลุง : ศูนย์วัฒนธรรม จังหวดั พัทลงุ โรงเรยี นจงั หวดั พัทลงุ โรงเรยี นสตรีพทั ลงุ , ๒๕๓๑.
๒๐๑ ผาสุข อินทราวุธ. “ละครชาตรีหรือโนห์รา”, ใน ประวัติศาสตร์และโบราณคดีนครศรีธรรมราช ชุดท่ี ๔ เอกสารประกอบการสัมมนาทางวชิ าการประวตั ิศาสตร์นครศรีธรรมราช คร้ังท่ี ๔. หน้า ๙๘ – ๑๐๕. นครศรีธรรมราช : วทิ ยาลัยครนู ครศรธี รรมราช, ๒๕๒๙. พรหมศักด์ิ เจิมสวัสดิ์ และปรีชา นุ่นสุข. “ศาสนาและความเช่ือต่างๆ ของชุมชนโบราณในภาคใต้”, ใน รายงานการสัมมนาเร่ืองประวัติศาสตร์ – โบราณคดีศรีวิชัย. หน้า ๑๑๐ – ๑๒๗. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศลิ ปากร, ๒๕๒๕. พิทยา บุษรารัตน์. การแสดงพื้นบ้าน : การเปล่ียนแปลงและความสัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรม บริเวณ ลุ่มทะเลสาบสงขลา กรณีศกึ ษาหนงั ตะลุงและโนราช่วงการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงปัจจุบัน. กรงุ เทพฯ : สานักงานกองทุนสนบั สนนุ การวิจัย (สกว.) ๒๕๔๔. _____________. โนราโรงครูตาบลท่าเค อาเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. สงขลา : มหาวิทยาลัยศรีนครนิ ทรวโิ รฒ สงขลา, ๒๕๓๕. ถา่ ยเอกสาร. _____________. รายงานการวิจัยโนราโรงครูวัดท่าคุระ ตาบลคลองรี อาเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา, กรุงเทพฯ : สานกั งานคณะกรรมการวฒั นธรรมแห่งชาต,ิ ๒๕๓๗. ถา่ ยเอกสาร. _____________. รายงานการวิจยั ตานานโนรา : ความสมั พันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมบริเวณลุ่มทะเลสาบ สงขลา. สงขลา : สถาบันทกั ษิณคดศี กึ ษา มหาวิทยาลยั ทกั ษณิ , ๒๕๔๐. ถ่ายเอกสาร ภิญโญ จิตต์ธรรม. โนรา. สงขลา : โรงเรยี นฝกึ หัดครสู งขลา, ๒๕๐๘. มนตรี ตราโมท. การละเล่นของไทย. พมิ พ์ครงั้ ท่ี ๒. กรงุ เทพฯ : สานกั พมิ พ์มติชน, ๒๕๔๐. ยงยทุ ธ ชูแวน่ . “พัทลงุ : จากเมืองปลายแดนของอยธุ ยาสเู่ มอื งภายในอาณาจักรสมยั ต้นรัตนโกสนิ ทร์”, ใน รายงานการสมั มนาประวติศาสตร์ และโบราณคดีพัทลุง. บรรณาธิการ โดย สารูป ฤทธ์ิชู. หน้า ๑๑๗ – ๑๓๔. พทั ลุง : ศนู ย์วัฒนธรรม จงั หวดั พัทลงุ โรงเรยี นสตรีพัทลุง, ๒๕๓๑. วิเชียร ณ นคร. “ตานานและความเป็นมาของโนราห์หรือโนรา”, ใน พุ่มเทวา – ที่ระลึกงานเชิดชูเกียรติศิลปิน ภาคใต้ : ขุนอุปถัมภ์นรากร. หน้า ๗๓ – ๙๙. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แหง่ ชาติ, ๒๕๒๓. สาโรช นาคะวิโรจน์. โนรา. สงขลา : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครู สงขลา, ม.ป.ป.
Search