การประพฤติพรหมจรรย์ หนังสอื สอนพระพทุ ธศาสนาแกเ่ ด็ก พันเอก วัชระ คงอดิศักดิ์ เปรยี ญ แต่ง ไดร้ ับพระราชทานรางวัล ช้ันที่ ๑ ในการประกวดประจำ�พุทธศักราช ๒๕๓๓
“...การประพฤติดีปฏิบัติชอบนั้น เกิดจากการท่ีบุคคลได้ พจิ ารณาดว้ ยปญั ญา จนเหน็ กระจา่ งวา่ การกระท�ำ นน้ั ๆ กอ่ ใหเ้ กดิ ผลดี เปน็ ประโยชนแ์ ท้ทง้ั แก่ตนแกส่ ว่ นรวม เมื่อคดิ เหน็ ดังน้ี จิตใจ ก็จะต้ังม่ันในความดี ก่อเกดิ เป็นศรัทธาอนั มัน่ คง ในอนั ท่ีจะปฏบิ ตั ิ บำ�เพญ็ ความดีใหย้ ิง่ เพมิ่ พูนขนึ้ ...ผมู้ ีศรทั ธาม่นั อย่ใู นความดี จึงได้ อุทิศตน อุทิศเวลา ปฏิบัติกิจการงานอย่างเต็มกำ�ลังความรู้ความ สามารถ ด้วยความอุตสาหะ เสียสละ จนงานที่ทำ�บรรลุผลสำ�เร็จ มีผลดีทั้งแก่ตนแก่ส่วนรวมเป็นท่ีประจักษ์เด่นชัด กรณียกิจท่ีท่าน ได้ปฏิบัติบำ�เพ็ญมานี้ ย่อมจะเป็นแบบอย่างอันดีของบุคคลท่ัวไป
ได้พิจารณาให้เห็นถึง ประโยชน์ของการประพฤติดีปฏิบัติชอบ และน้อมน�ำ ใหห้ นั มาศรทั ธายึดมั่นในความดี …” พระราชดำ�รัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ในพิธีพระราชทานรางวลั เกยี รตคิ ณุ แก่บุคคล หนว่ ยงาน และ โครงการดีเด่นของชาติ ประจ�ำ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ ณ ศาลาดสุ ดิ าลยั สวนจติ รลดา วนั อังคาร ท่ี ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗
พระพุทธรปู ทรงเครอื่ งปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา พระประธานในพระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรอี ยธุ ยา
คำ�น�ำ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี มพี ระ- ราชประสงค์ท่ีจะให้เด็กไทยสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาให้มากข้ึน จึงมีพระราชบัญชาให้คัดเลือกหนังสือที่ชนะการประกวดหนังสือ สอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก ท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชพิธี วิสาขบูชา นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๒ มาจัดพิมพ์ใหม่ เพื่อ พระราชทานให้แกโ่ รงเรยี นและห้องสมดุ ต่าง ๆ สำ�นักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม- บรมราชกมุ ารี ไดค้ ดั เลอื กหนงั สอื ทไ่ี ดร้ บั พระราชทานรางวลั ชน้ั ท่ี ๑ พุทธศักราช ๒๕๓๓ เรื่อง การประพฤติพรหมจรรย์ ซ่ึงแต่งโดย พนั เอก วชั ระ คงอดศิ กั ด์ิ เปรยี ญ มาจดั พมิ พใ์ หม่ โดยมกี ารปรบั ปรงุ รูปแบบการพิมพ์เพ่ือให้น่าสนใจและเหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน มากย่ิงข้ึน แต่ยังคงเนื้อหาสาระตามต้นฉบับเดิม และหวังเป็น อย่างย่ิงว่าหนังสือนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และผู้สนใจ ท่วั ไป สมตามพระราชประสงค์ของสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี สำ�นักงานโครงการ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศกั ราช ๒๕๕๗
สารบญั บทน�ำ ๙ บทที่ ๑ การประพฤติพรหมจรรย์ ๑๗ บทที่ ๒ การประพฤติพรหมจรรย์ (ต่อ) ๓๓ บทที่ ๓ ประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์ ๔๕ บทที่ ๔ โทษของการไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ๕๗ บทส่งท้าย ๖๗
การ ประพฤติ พรหมจรรย์ บทน�ำ เยน็ วนั อาทติ ยว์ นั หนง่ึ ภายหลงั รบั ประทานอาหารเยน็ แลว้ ลุงพรหมกับป้าพิมพ์ พงศ์ธรรม กำ�ลังนั่งพักผ่อนอยู่ในห้องรับแขก เดก็ หญงิ ฐติ มิ า และเดก็ ชายภาณพุ งษ์ ผเู้ ปน็ หลานไดเ้ ขา้ มายกมอื ไหว้ คุณลุงคณุ ปา้ แล้วน่ังพบั เพียบลงบนพ้ืน ภาณพุ งษพ์ ดู วา่ “คณุ ลงุ คณุ ปา้ ครบั เมอ่ื ตอนบา่ ย มผี ชู้ ายคนหนง่ึ มาหาคณุ ลงุ คุณป้า หลานได้บอกเขาว่า คุณลุงคุณป้าออกไปทำ�ธุระนอกบ้าน อกี ไมน่ านคงจะกลบั ขอให้เขารอก่อน เขาบอกวา่ มธี รุ ะจำ�เปน็ จะ ต้องไปท่ีอื่นอีก ไม่สามารถจะรอพบได้ เขาได้นำ�ดอกไม้ธูปเทียน ฝากกราบคุณลุงคณุ ป้า และฝากบตั รเชญิ ไวด้ ้วยครบั ” พดู จบกย็ กพานดอกไมธ้ ปู เทยี นพรอ้ มกบั บตั รเชญิ สง่ ใหค้ ณุ ลงุ ลุงพรหมรับพานดอกไม้รูปเทียนแล้ว ส่ังให้หลานชายเปิดซองอ่าน ข้อความในบตั รเชิญให้ฟัง ภาณพุ งษ์อา่ นข้อความในบตั รเชิญวา่ 9
“นายพล พงศธ์ รรม ขอลาอปุ สมบท ณ พทั ธสมี า วดั มหาโลก ต�ำ บลบา้ นครวั อ�ำ เภอบา้ นหมอ จงั หวดั สระบรุ ี ในวนั อาทติ ยท์ ่ี ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. กรรมใด ที่ข้าพเจ้าลว่ งเกนิ ท่านทางกาย วาจา ใจ ขอท่าน ไดโ้ ปรดอโหสกิ รรมนน้ั เพอ่ื ความบรสิ ทุ ธแ์ิ หง่ พรหมจรรยข์ องขา้ พเจา้ ด้วยเทอญ” เมอ่ื หลานชายอา่ นจบ ลงุ พรหมไดถ้ ามวา่ “ขอ้ ความในบตั ร ลาบวชน้ี มตี อนใดบา้ งทห่ี ลานทง้ั สองไมเ่ ขา้ ใจ ลงุ อนญุ าตใหถ้ ามได”้ ภาณุพงษ์ได้ถามว่า “คุณลุงครับ หลานไม่เข้าใจคำ�ว่า อโหสิกรรมครับ” ลงุ พรหมอธบิ ายใหห้ ลานฟงั วา่ อโหสกิ รรม ไดแ้ ก่ การยกโทษให้ เชน่ ผจู้ ะบวชมาขอใหล้ งุ กบั ปา้ อโหสกิ รรมให้ หมายความวา่ ใหย้ กโทษ ความผดิ ตา่ ง ๆ ทเ่ี ขาอาจไดเ้ คยลว่ งเกนิ ลงุ กบั ปา้ ทง้ั ทางกาย วาจา ใจ มาบา้ ง คนไทยเราถือเป็นธรรมเนยี มวา่ ผู้ทีจ่ ะบวชเป็นพระ ในพระพทุ ธศาสนา อโหสกิ รรมใหล้ ูกเอย๋ ลูกขอขมา กอ่ นบวชต้องไปขอขมา ตอ่ ผู้ท่ีตนเคารพนบั ถอื และมติ รสหาย ใหเ้ ขา ยกโทษความผิดต่าง ๆ ให้ เพอ่ื ผบู้ วชมคี วามบรสิ ุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง หลานภาณพุ งศถ์ ามเรอ่ื งความหมายของอโหสกิ รรมมากด็ แี ลว้ เพราะค�ำ วา่ “อโหสกิ รรม” น้ี พวกเดก็ อาจจะไมค่ อ่ ยเขา้ ใจความหมาย 10
ทำํ�ไมเรยี กการบวชวา่ ฐติ ิมาไดถ้ ามคุณลงุ บ้างวา่ พรหมจรรยค์ ะ “คุณลุงขา หลานสงสยั ค�ำ วา่ พรหมจรรย์ ค่ะ ท�ำ ไมในบตั รลาบวชนี้ จงึ เรยี กการบวชว่า เป็นพรหมจรรย์ล่ะคะ” ลุงพรหมตอบปัญหาหลานสาววา่ “หลานฐติ มิ าถามปัญหา ดีมาก เพราะคำ�ว่า พรหมจรรย์ เป็นคำ�ยาก พวกเด็กคงไม่ค่อย เข้าใจ ลุงขออธิบายให้หลานทั้งสองฟงั ดงั นี้ ค�ำ วา่ พรหมจรรย์ มาจากค�ำ พระวา่ พรฺ หมฺ จรยิ แยกออก เป็น ๒ คำ� คอื พรฺ หฺม คำ�หน่งึ กับ จริย ค�ำ หนึ่ง ค�ำ วา่ พฺรหฺม แปลวา่ พระพรหม หรอื ประเสรฐิ ค�ำ ว่า จริย แปลวา่ ความประพฤติ แปลรวมกัน ค�ำ วา่ พฺรหมฺ จริย จงึ แปลว่า ความประพฤติ อยา่ งพระพรหม หรือ ความประพฤตอิ ย่างประเสริฐ ที่แปลว่า “ความประพฤติอย่างพระพรหม” หมายความ ตามคำ�สอนในศาสนาพราหมณ์ว่า พระพรหม เป็นเทวดาชั้นสูง อยู่ในสวรรคช์ น้ั พรหม ผูท้ ่ีจะไปเกิดเปน็ พระพรหม จะต้องบำ�เพ็ญ คุณธรรมสำ�เร็จฌานสมาบัติอยู่ในโลกมนุษย์ เมื่อตายไป จึงจะได้ ไปเกดิ เป็นพระพรหม พระพรหมนน้ั ไมม่ กี ารเสพเมถนุ หรอื รว่ มประเวณกี นั เพราะ ในสวรรคช์ ัน้ พรหม ไมม่ เี ทวดาเพศหญงิ หรอื นางฟ้าไปเกดิ คงมแี ต่ พระพรหมซึ่งเป็นเพศชายล้วน และพระพรหมแต่ละองค์ ก็สำ�เร็จ ฌานสมาบตั ไิ ปจากโลกมนษุ ย์ ไมม่ จี ติ ก�ำ หนดั ยนิ ดใี นกามารมณเ์ ลย 11
และพระพรหม ยงั มคี ุณธรรม ประพฤติประจำ� ๔ ประการเรียกวา่ พรหมวหิ าร คอื เมตตา มคี วามรกั และ ปรารถนาดตี อ่ ชาวโลก กรณุ า มคี วามสงสารคอย ชว่ ยเหลอื เมอ่ื ชาวโลก ประสบความทุกข์ มุทิตา มคี วามยินดี เมอื่ ชาวโลกได้ดีมีความเจรญิ อุเบกขา มคี วามยตุ ธิ รรมต่อชาวโลก พระพทุ ธองคท์ รงสอนวา่ มนุษย์ท่ีน�ำ เอาคุณธรรม ของพระพรหมมาปฏิบัติ เชน่ เว้นจากการรว่ มประเวณี และประพฤติพรหมวหิ ารธรรม ๔ ประการดงั กล่าว กจ็ ดั วา่ ประพฤตพิ รหมจรรย์ คือ ประพฤตติ นเชน่ พระพรหม ทแ่ี ปลวา่ “ความประพฤตอิ นั ประเสรฐิ ”นน้ั หมายความวา่ มคี วามประพฤตปิ ระเสรฐิ กวา่ คนธรรมดาสามญั เชน่ ทา่ นเรยี กเพศ ของพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนาว่า เพศพรหมจรรย์ เพราะ พระสงฆใ์ นพระพทุ ธศาสนา มคี วามประพฤตสิ งู เชน่ มศี ลี ๒๒๗ ขอ้ และยงั มคี ุณความดีอย่างอน่ื อกี มาก ดงั นน้ั ผทู้ บ่ี วชเปน็ พระภกิ ษุ จงึ เรยี กวา่ ประพฤตพิ รหมจรรย์ เพราะเปน็ ผมู้ คี วามประพฤตอิ นั ประเสริฐดังกลา่ วแลว้ 12
ขอใหห้ ลานทง้ั สอง จงจดจ�ำ ความหมายของค�ำ วา่ “พรหมจรรย”์ ๒ ประการ ตามทล่ี งุ อธบิ ายใหฟ้ งั น้ี จะไดค้ วามเขา้ ใจเรอ่ื งพระพทุ ธศาสนา อยา่ งถูกต้อง ฐิติมาได้ซกั ถามคุณลงุ ต่อไปวา่ “คุณลุงขา ถ้าเช่นนั้น ผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ จะต้อง เป็นพวกผู้ชายเท่านั้น เพราะพวกผู้ชายได้บวชเรียนเป็นพระภิกษุ ประพฤติพรหมจรรย์ได้ ส่วนพวกผู้หญิงอย่างหลาน ไม่มีโอกาส จะประพฤตพิ รหมจรรย์ได้เลยใช่ไหมคะ” ลุงพรหมไดต้ อบค�ำ ถามแกค้ วามสงสยั ของหลานสาวว่า “ลุงคิดว่า คงมีพวกผู้หญิงจำ�นวนมากที่มีความคิดว่า ไม่มี โอกาสประพฤติพรหมจรรย์ เพราะไม่มีโอกาสได้บวชเรียนเป็น พระภิกษเุ ช่นพวกผู้ชาย แต่ความจริงแล้ว แมพ้ วกผู้หญงิ กม็ ีโอกาส ประพฤตพิ รหมจรรยไ์ ด้ เพราะการประพฤติ พรหมจรรย์นัน้ มิใชแ่ ต่เพยี งบวช เป็นพระภกิ ษอุ ย่างเดยี วเทา่ นนั้ แมก้ ารประพฤตคิ ณุ ธรรมอยา่ งอน่ื นอกจากบวชเปน็ พระภกิ ษุ กจ็ ดั วา่ เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ไดเ้ ช่นกนั ซ่ึงในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ตรัสหลักการ ประพฤติพรหมจรรยไ์ ว้ ๑๐ ประการดังนี้ คอื 13
๑. ทาน การให้ ๒. เวยยาวัจจะ การขวนขวายในกิจการที่เปน็ ประโยชน์ ๓. เบญจศีล การรักษาศีล ๕ ๔. อปั ปมญั ญา การแผจ่ ติ ทป่ี ระกอบดว้ ยคณุ ธรรมมเี มตตา เป็นต้นใหก้ ว้างขวาง ๕. เมถนุ วริ ตั ิ การงดเวน้ จากการเสพเมถุน ๖. สทารสันโดษ ความยนิ ดใี นภริยาของตน ๗. วิรยิ ะ ความเพียร ๘. อุโบสถ การรักษาศลี ๘ ๙. อริยมรรค การปฏบิ ัติมรรค ๘ ๑๐. ศาสนา การปฏบิ ตั ศิ าสนธรรม ตามหลักการประพฤติพรหมจรรย์ ๑๐ ประการน้ี หลาน ท้ังสองจะเห็นว่า ผู้ท่ีประพฤติพรหมจรรย์ได้นั้น มิใช่เพียงแต่ไป บวชเป็นภิกษแุ ลว้ ประพฤติพรหมจรรยไ์ ดเ้ ท่าน้ัน แม้ฆราวาสชายหญิงที่มิได้บวชเป็นพระภิกษุ แต่ประพฤติ คุณธรรม ๑๐ ประการน้ี หรอื ประพฤติได้เพียงแตล่ ะขอ้ กเ็ รยี กว่า ประพฤติพรหมจรรย์ คือ มีความประพฤติที่ประเสริฐ เพราะหาก มนุษย์ประพฤติในหลักธรรม ๑๐ ประการนี้ได้ ก็จัดว่าเป็นบุคคล ท่มี คี วามประพฤติประเสรฐิ เปรียบได้กบั พระพรหมเช่นกนั และการประพฤตพิ รหมจรรยน์ ้นั ยอ่ มเป็นสิรมิ งคลแกช่ ีวิต ทำ�ให้ประสบความเจรญิ ก้าวหนา้ ดังทพ่ี ระพทุ ธเจ้าตรสั ไวใ้ นมงคลสตู รว่า 14
ตโป จ พรฺ หมฺ จริยญจฺ อรยิ สจฺจานทสสฺ นํ นิพฺพานสจฉฺ กิ ิรยิ า จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ แปลว่า การบำ�เพ็ญตบะ ๑ การประพฤติพรหมจรรย์ ๑ การเหน็ อรยิ สจั ๑ การท�ำ ซง่ึ พระนพิ พานใหแ้ จง้ ๑ ทง้ั ๔ ประการน้ี จัดเป็นมงคลสงู สดุ หลานรักทัง้ สอง วนั นี้ ลุงได้ตอบค�ำ ถามของหลาน ๒ เรื่อง คอื เรอ่ื งอโหสกิ รรม กบั เรอ่ื งการประพฤตพิ รหมจรรย์ หวงั วา่ หลาน คงมีความเขา้ ใจพอสมควร สำ�หรับเร่ืองการประพฤติพรหมจรรย์น้ัน ลุงจะได้นำ�มา อธบิ ายใหฟ้ งั อีกในโอกาสตอ่ ไป วันนี้ ลุงขอยุตเิ พียงเทา่ นี้ กล่าวจบแล้ว ลุงพรหมก็นำ�ภริยาและหลานท้ังสองไป สวดมนต์ไหวพ้ ระ ซง่ึ เป็นกิจประจำ�วัน ในหอ้ งพระต่อไป 15
ค�ำ ถามประจ�ำ บท ๑. นายพล พงศธ์ รรม ได้น�ำ เอา ดอกไมธ้ ปู เทยี นและบตั รลาบวช มาฝากไวใ้ หล้ งุ พรหมกบั ปา้ พมิ พ์ เพื่อประสงค์อะไร ? ๒. ๓. ค�ำ วา่ “ขอใหอ้ โหสิกรรม” ค�ำ ว่า “พรหมจรรย”์ หมายความว่า มคี วามหมาย ขอให้ท�ำ อะไร ? อยา่ งไรบา้ ง ? ๔. ๕. พระพรหมบนสวรรค์ คนอืน่ นอกจากพระภกิ ษุจะ ประพฤตพิ รหมจรรยไ์ ดห้ รือไม่ มคี ุณธรรม ยกตัวอยา่ งหลักการประพฤติ อยา่ งไรบา้ ง ? พรหมจรรย์มา ๒ ขอ้ ? 16
บท๑ที่ การประพฤติ พรหมจรรย์ เยน็ วนั อาทติ ยต์ อ่ มา ฐติ มิ าและภาณพุ งษ์ ไดเ้ ขา้ ไปหาลงุ พรหม และป้าพิมพ์ ซ่ึงนั่งพักผ่อนอยู่ในห้องรับแขกเช่นในวันอาทิตย์ก่อน เมอ่ื ท�ำ ความเคารพทา่ นทง้ั สอง และนง่ั พบั เพยี บลงบนพน้ื แลว้ ฐติ มิ า ได้พูดว่า “คุณลุงขา หลานได้ฟังเร่ืองการประพฤติพรหมจรรย์จาก คุณลุงเม่ือวันอาทิตย์ที่แล้ว ครั้งแรกคิดว่าพวกผู้ชายเท่านั้น จึงจะ ประพฤติพรหมจรรยไ์ ด้ โดยไปบวชเปน็ พระภิกษุอยู่ทว่ี ัด แต่เม่ือได้ฟังคำ�อธิบายเร่ืองหลักการประพฤติพรหมจรรย์ ๑๐ ประการแลว้ จงึ ไดร้ บั ความรใู้ หมแ่ ละดใี จวา่ พวกผหู้ ญงิ อยา่ งหลาน ก็มีโอกาสประพฤติพรหมจรรย์ได้ ขอให้คุณลุงได้กรุณาอธิบาย การประพฤตพิ รหมจรรย์แต่ละข้อต่อไปเถิดค่ะ” ลุงพรหมกล่าวว่า “ลุงดีใจ ท่ีหลานทั้งสอง แม้ยังเป็นเด็ก อายนุ อ้ ย กม็ คี วามสนใจเรอ่ื งราวทางพระพทุ ธศาสนา เพราะปรกติ 17
พวกเด็กมักจะไม่ค่อยสนใจฟัง และศึกษาเล่าเรียนเร่ืองทางศาสนา โดยเหน็ ว่าเปน็ เรือ่ งไมค่ อ่ ยสนุก ฟังเข้าใจยาก แต่ความจริง เรื่องทางศาสนา เป็นเร่ืองท่ีมีประโยชน์ หาก ผใู้ หญม่ วี ธิ เี ลา่ ใหพ้ วกเดก็ ฟงั โดยใชส้ �ำ นวนงา่ ย ๆ จะท�ำ ใหพ้ วกเดก็ มีความสนใจ และฟังเรื่องทางศาสนาสนกุ เหมือนกัน และผู้ท่ีมีความสนใจเรื่องราวทางศาสนานี้ ย่อมจะเป็นผู้มี ความเจริญ ดังที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า “ผู้ชอบธรรม เป็น ผปู้ ระสบความเจริญ แต่ผชู้ ังธรรม เป็นผู้ประสบความเส่อื ม” ถา้ หลานทง้ั สองอยากเปน็ คนมคี วามเจรญิ กา้ วหนา้ จงสนใจ ฟังเรอ่ื งราวทางศาสนาใหม้ าก ต่อไปน้ี ลุงจะอธิบายหลักการประพฤติพรหมจรรย์ ๑๐ ประการ ให้หลานทง้ั สองฟังแตล่ ะขอ้ ต่อไป ประการท่ี ๑ ทาน การให้ เร่ืองทาน คือ การให้ เป็นหลักคำ�สอนสำ�คัญข้อหน่ึงใน พระพุทธศาสนา และเป็นขอ้ แรกของการประพฤติพรหมจรรย์ คอื ความประพฤติทีป่ ระเสริฐ เพราะคนท่ีจะเปน็ คนประเสริฐ หรอื เป็นพระพรหมได้ จะต้อง ปฏิบตั ิธรรมข้อแรกคือทานให้ไดเ้ สียก่อน 18
คำ�ว่า “ทาน” นี้ตามรูปศัพท์แปลว่า การให้ ท่านแบ่ง ทานไว้ ๒ ประเภท คอื อามสิ ทาน ไดแ้ ก่ การให้วตั ถุสงิ่ ของ และ ธรรมทาน ไดแ้ ก่ การให้ความรู้ ประโยชนข์ องทาน การให้ ทส่ี �ำ คญั กค็ อื ก�ำ จดั ความตระหน่ี ในจติ ใจได้ หลานท้งั สองจะสังเกตไดว้ ่า จติ ใจของคนเราน้ัน ไมม่ ี ผมขอตงั ค์ไปซอ้ื อยากได้สิ่งน้ันสง่ิ นี้ ลูกบอลหนอ่ ยครบั เม่อื เราไดเ้ งนิ ทอง สิ่งของใด ๆ มาแลว้ มกั จะหวงไว้ ไม่อยากใหแ้ กใ่ คร ลักษณะความหวงแหนอย่างน้ี พระท่านเรียกว่า ตระหน่ี คือ ความโลภเห็นแก่ตัว แต่คุณธรรมคือทานการให้นี่แหละจะ กำ�จัดความตระหนี่ คือ ความโลภเห็นแก่ตวั ได้ ตามที่ลุงได้อธิบายเรื่องทานให้ฟังแล้วนี้ หลานคงจะเห็น แล้วว่า ทาน การให้ หรือการเสียสละน้ีมีความจำ�เป็นอย่างย่ิง ทค่ี นเราจะตอ้ งปลกู ฝงั ไวใ้ นจติ ใจของตน คอื ฝกึ หดั ใหเ้ ปน็ คนเสียสละ ไมเ่ ห็นแก่ตัว รู้จกั เอื้อเฟอ้ื ชว่ ยเหลือผู้อื่น สงั คมมนษุ ยท์ อ่ี ยรู่ ว่ มกนั มคี วามสขุ กเ็ พราะมนษุ ยเ์ รามกี าร เสยี สละชว่ ยเหลอื กนั เชน่ ในคราวทเ่ี พอ่ื นมนษุ ยป์ ระสบความทกุ ข์ เดือดร้อน เช่น ถูกนำ้�ท่วมบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง เราก็บริจาคทรัพย์ ช่วยเหลือกัน ทำ�ให้ผู้ประสบความทุกข์เดือดร้อน ผ่อนคลายจาก ความทุกข์เดือดรอ้ น มีความสขุ ตามสมควรแกอ่ ตั ภาพ 19
หากมนษุ ยเ์ ราแตล่ ะคน ตา่ งมคี วามตระหนเ่ี หน็ แกต่ วั เสยี แลว้ ขอใหห้ ลานทง้ั สองคิดดเู ถิดว่า สงั คมมนษุ ยเ์ ราจะเดอื ดร้อนเพียงใด หลานทั้งสองจะสังเกตได้ว่า บุคคลสำ�คัญท้ังในทางศาสนา และทางโลก ทม่ี คี นเคารพบชู ายกยอ่ งสรรเสรญิ มาก กค็ อื ผทู้ ป่ี ระพฤติ คุณธรรม คือ ทาน การเสียสละน่ีเอง เช่น พระพุทธเจ้าของเรา ทค่ี นทว่ั โลกเคารพบชู านบั ถอื มาก กเ็ พราะพระองคท์ รงบำ�เพญ็ ทาน เสียสละสูงมาก เช่น เม่ือตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงใช้เวลา ตลอด ๔๕ ปี เสด็จเทศนาส่ังสอนประชาชนโดยมิได้คำ�นึงถึง ความทุกข์ลำ�บากส่วนพระองค์ มุ่งแต่ช่วยประชาชนให้พ้นทุกข์ ประสบความสขุ ตลอดเวลา แมใ้ กลเ้ วลาจะเสดจ็ ดบั ขนั ธปรนิ พิ พาน พระองค์ก็ยังทรงอดทนต่อทุกขเวทนา ได้เทศนาสอนพระสุภัททะ จนได้เป็นพระอรหันต์ ซ่ึงเป็นพระสาวกรปู สดุ ทา้ ย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ของเรา ทพ่ี วกเราชาวไทย เคารพบชู าเทิดทูนมาก กเ็ พราะพระองค์ทรงเป่ยี มล้น ดว้ ยพระคณุ คือความเสียสละ ช่วยเหลอื ประชาราษฎร์ตลอดเวลา พระองคม์ ิไดท้ รงคำ�นึงถึงความทกุ ข์ลำ�บากส่วนพระองค์ มุ่งแตจ่ ะทรงชว่ ยเหลือประชาชนให้ประสบความสขุ เปน็ สำ�คัญ ตามที่ลุงอธิบายความสำ�คัญของทาน การให้การเสียสละ ซง่ึ เปน็ การประพฤตพิ รหมจรรยข์ อ้ แรก หลานทง้ั สองคงเหน็ แลว้ วา่ บคุ คลทม่ี คี ณุ ธรรมคอื ทาน การใหก้ ารเสยี สละน้ี จดั วา่ เปน็ ผมู้ คี วาม 20
ประพฤติสูงมาก เป็นผู้ที่น่าเคารพนับถือ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ ข้อท่ี ๑ ประการที่ ๒ เวยยาวจั จะ การขวนขวายในกจิ การท่เี ป็น ประโยชน์ พูดถึงเร่ืองคุณธรรมข้อนี้ หลานทั้งสองคงเคยได้ยินคำ�ว่า “ไวยาวัจกร” คำ�น้ี ใช้เรียกบคุ คลทที่ างวดั ต่าง ๆ ได้แตง่ ต้งั ใหเ้ ปน็ ผ้ดู ำ�เนนิ กิจการแทนวัด ส่วนมากจะให้เป็นผ้จู ัดการเรอ่ื งเงนิ ของวัด เพราะพระสงฆท์ า่ นจะไมเ่ ข้าไปยงุ่ เกย่ี วกับเร่อื งเงนิ ของวดั จะมอบ ใหเ้ ป็นหนา้ ทข่ี องฆราวาสดำ�เนนิ การแทน ท่ีลุงนำ�เรื่องไวยาวัจกรของวัดมาเล่าให้หลานท้ังสองฟัง ก็เพื่อให้เข้าใจความหมายของ “เวยยาวัจจะ” ซึ่งเป็นหลักการ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อท่ี ๒ ได้แก่ การช่วยขวนขวายในกิจการ ที่เป็นประโยชน์ อย่างไวยาวัจกร ก็เป็นผู้ขวนขวายช่วยเหลือทำ� ประโยชน์เช่นกัน การขวนขวายในกิจการทเี่ ปน็ ประโยชน์นี้ หมายถึง การมกี ศุ ลจิต เขา้ ไปช่วยเหลือกิจการตา่ ง ๆ ด้วยแรงกาย เปน็ ต้น เช่น เวลาคนอื่นท�ำ บญุ ก็ไปช่วยเหลอื เปน็ ตน้ วา่ ชว่ ยทำ�อาหารบ้าง ชว่ ยยกสำ�รับกบั ขา้ วบา้ ง ช่วยลา้ งถ้วยชามบ้าง 21
มเี รอ่ื งเลา่ วา่ ในสมยั พทุ ธกาล ทา่ นอนาถบณิ ฑกิ เศรษฐแี ละ นางวิสาขามหาอุบาสิกาจะมีผู้ขอร้องให้ไปช่วยเหลือในเวลาทำ�บุญ ให้ทาน และงานด้านสงั คมสงเคราะห์อื่น ๆ ทา่ นทัง้ สองกเ็ ต็มใจไป ช่วยเหลอื ชาวบา้ นมิไดม้ คี วามรงั เกียจเลย หลานทง้ั สอง คงไดย้ นิ ชอ่ื ของมลู นธิ สิ องแหง่ ในประเทศไทย คือ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง กับมูลนิธิร่วมกตัญญู ซ่ึงได้บำ�เพ็ญประโยชน์ ชว่ ยเหลือเพื่อนมนุษย์อยู่เสมอ เชน่ ไปช่วยเก็บศพ ชว่ ยน�ำ อาหารไปเลีย้ งคน ประสบภัย เช่น ถูกไฟไหม้บ้าน เจา้ หน้าทผ่ี ทู้ �ำ งาน ของมลู นิธกิ ต็ ง้ั ใจ ทำ�งานช่วยเหลอื กจิ การ เป็นอย่างดี โดยมิได้หวังผลตอบแทนใด ๆ การช่วยเหลือทำ�กิจการท่ีเป็นประโยชน์ต่าง ๆ เหล่าน้ี เรียกว่า เวยยาวัจจะ คอื การขวนขวายทำ�กจิ การทีเ่ ปน็ ประโยชน์ การขวนขวายทำ�กิจการที่เป็นประโยชน์ดังกล่าวมา จัดว่า เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ คือ เป็นความประพฤติที่ประเสริฐ เพราะผทู้ จ่ี ะบ�ำ เพญ็ คณุ ธรรมขอ้ นไ้ี ด้ จะตอ้ งเปน็ ผมู้ อี ธั ยาศยั เออ้ื เฟอ้ื ช่วยเหลือผู้อื่น และในสังคมมนุษย์ มีความจำ�เป็นต้องใช้คุณธรรม คอื ชว่ ยเหลอื กนั ดว้ ยแรงกายนี้ เปน็ การสมานสามคั คกี นั เปน็ อยา่ งดี มีเร่อื งเล่าว่า ในสมยั พุทธกาล ขณะท่ีพระสงฆก์ ำ�ลังทำ�จีวร พระพุทธเจา้ กเ็ สด็จไปช่วยเหลือในการทำ�จีวรดว้ ย เพราะสมัยก่อน 22
พระสงฆต์ อ้ งเยบ็ จวี รใชเ้ อง แสดงใหเ้ หน็ วา่ พระพทุ ธองคท์ รงบ�ำ เพญ็ คณุ ธรรมขอ้ นี้ เพ่อื มุง่ ให้เกิดความสามัคคีในหมู่สงฆเ์ ป็นสำ�คญั เรื่องการขวนขวาย ชว่ ยเหลอื กิจการต่าง ๆ นี้ ได้กลายมาเป็นคณุ ลักษณะ ทีด่ เี ด่นของชาวไทยเรา คอื เรามกี ารชว่ ยเหลอื กนั ทำ�งาน เช่น ชว่ ยกันท�ำ นา เรียกวา่ “ลงแขกด�ำ นา” บา้ ง “ลงแขกเกี่ยวขา้ ว” บ้าง หรือช่วยในกิจการอื่น ๆ เชน่ ชว่ ยปลูกบา้ น ชว่ ยสร้างถนน หนทาง เปน็ ตน้ ตวั อยา่ งการสรา้ งถนนขน้ึ ดอยสเุ ทพ จงั หวดั เชยี งใหม่ ซ่ึงเป็นทางยาวหลายกิโลเมตร หากใช้เงินงบประมาณทางราชการ ก่อสรา้ งจะต้องใชเ้ งินจ�ำ นวนมาก แต่ประชาชนชาวภาคเหนือจำ�นวนมาก โดยการนำ�ของ ทา่ นครบู าศรวี ชิ ยั ซึ่งเป็นพระสงฆผ์ มู้ ีเมตตาสูง เป็นที่เคารพนับถือ ของชาวบ้านมาก ได้ใช้แรงกายร่วมกันสร้างถนนสายสำ�คัญน้ี จนสำ�เรจ็ เรยี บรอ้ ย ดงั ปรากฏทกุ วันน้ี ตามทล่ี งุ ไดอ้ ธบิ ายเรอ่ื ง พรหมจรรยข์ อ้ ท่ี ๒ คอื การขวนขวาย ในกิจการท่เี ป็นประโยชน์ หลานท้งั สองจะเห็นได้วา่ คณุ ธรรมขอ้ น้ี มีความจำ�เป็นแก่สังคมมาก และผู้ประพฤติธรรมข้อน้ีได้ เรียกว่า เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือ มีความประพฤติประเสริฐ ควรแก่ การยกย่องสรรเสรญิ 23
ประการท่ี ๓ เบญจศีล การรักษาศลี ๕ เร่ืองศีล ๕ น้ี หลานทั้งสองคงจำ�ได้ทั้งคำ�พระและคำ�แปล แล้ว เพราะเราเป็นชาวพุทธ ได้ฟังพระสงฆ์ให้ศีลอยู่เป็นประจำ� ลุงขอทบทวนศีล ๕ ให้หลานทง้ั สองฟังอีกครัง้ หนง่ึ คอื ๑. การไม่ท�ำ ลายชีวติ ของผูอ้ ่นื ๒. การไม่ลกั ทรพั ย์ ๓. การไมป่ ระพฤตผิ ิดประเวณี ๔. การไม่พูดเทจ็ ๕. การไมเ่ สพสรุ าเมรัยและสง่ิ เสพย์ติดให้โทษ ผทู้ ร่ี กั ษาศลี ๕ ขอ้ นไ้ี ด้ จดั วา่ เปน็ การประพฤตพิ รหมจรรย์ คอื ความประพฤตทิ ีป่ ระเสรฐิ ควรแก่การเคารพนบั ถอื ศลี ๕ ข้อนี้ จดั เป็นมนุษยธรรม แปลวา่ ข้อปฏิบตั ิสำ�หรับ มนุษย์ หมายความว่า ศีล ๕ ข้อน้ี เป็นเครื่องวัดความเป็นมนุษย์ ของคนเรา เพราะมนษุ ย์ แปลวา่ ผมู้ ใี จสงู และผมู้ ใี จสงู เชน่ นจ้ี ะตอ้ ง มคี วามประพฤติดี เชน่ มีศลี ๕ ข้อนี้ จึงจะจดั ว่าเปน็ คนดีมีใจสูง หากคนละเมิดศีล ๕ ขอ้ คอื ทำ�ลายชวี ิตของผู้อ่นื ลักทรัพย์ผู้อื่น ผิดลูกเมยี ผ้อู ืน่ กล่าวค�ำ เท็จ และเสพสง่ิ เสพยต์ ิดให้โทษ จัดว่าเปน็ คนใจตำ�่ และไมเ่ รียกว่าเปน็ มนุษย์ อาจจะถกู ประณามว่า มคี วามประพฤติเลวทรามต�ำ่ ชา้ กว่าสตั วเ์ ดรจั ฉานเสยี อีก 24
เช่น ผู้ชายที่ข่มขืนเด็กนักเรียนผู้มีอายุยังน้อยแล้วฆ่าตาย อยา่ งทารณุ ดงั ทว่ี ทิ ยโุ ทรทศั น์ และหนงั สอื พมิ พน์ �ำ มาเปน็ ขา่ วอยเู่ สมอ ใครได้เห็นและได้ยนิ การกระทำ�ของชาย ผู้ประพฤตชิ ว่ั เชน่ นี้ จะรู้สึกเวทนาเด็กหญิง ผูน้ ั้นมาก ท่มี าถกู ฆา่ ตาย อย่างทารุณจากมนษุ ย์ ผู้มีใจเหยี้ มโหด และประณามชายผนู้ ้ันว่า เปน็ ผู้มคี วามประพฤตเิ ลวทราม ท่ีชายผู้น้ันกลายเป็นฆาตกรผู้เหี้ยมโหดเช่นนี้ ก็เพราะเขา ไมร่ กั ษาศีลข้อที่ ๑ คือ งดเว้นจากการท�ำ ลายชีวิตของผอู้ ื่น แมผ้ ู้ที่ ละเมดิ ศลี ขอ้ อน่ื ๆ กจ็ ดั วา่ เปน็ ผมู้ จี ติ ใจต�ำ่ มคี วามประพฤตเิ ลวทราม เช่นกัน ดงั นน้ั ศลี ๕ ขอ้ น้ี ทา่ นจงึ จดั วา่ เปน็ มนษุ ยธรรม เพราะชว่ ย ยกระดบั จติ ใจมนุษยใ์ หส้ ูงข้นึ เป็นคนดี และผทู้ รี่ ักษาศลี ๕ นี้ จดั วา่ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือ มีความประพฤติประเสริฐ ควรแก่ การยกย่องสรรเสรญิ ลงุ ขอเตอื นหลานทง้ั สอง จงเหน็ ความส�ำ คญั ของศลี ๕ ตอ้ ง ทอ่ งจ�ำ ใหไ้ ด้ และปฏบิ ตั ใิ หไ้ ดด้ ว้ ย และรกั ษาศลี ๕ ใหม้ ปี ระจ�ำ ตนไว้ ตลอด เพราะพวกเดก็ ไทยอยา่ งพวกหลาน จดั เปน็ อนาคตของชาตไิ ทย คนทเ่ี กิดมาเป็นผู้ใหญอ่ ยา่ งลงุ กบั ป้า นบั แต่วนั จะล่วงลับดบั ไป 25
พวกเดก็ ๆ อยา่ งหลานนบั วนั จะเตบิ โตเปน็ ผใู้ หญเ่ ปน็ ก�ำ ลงั ของประเทศชาติ หากคนไทยเราส่วนมากท่นี ับถือพระพุทธศาสนา ต่างพากันปฏิบัติตามคำ�สอนของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะที่สำ�คัญ ก็คือ รักษาศีล ๕ ข้อนี้ เมื่อรักษาหรือประพฤติปฏิบัติตามได้แล้ว คนเราจะเปน็ คนดมี คี ณุ ภาพ และเปน็ ก�ำ ลงั พฒั นาชาตไิ ทย ใหเ้ จรญิ ก้าวหนา้ มากกวา่ ทเี่ ปน็ อยู่ในปัจจบุ ัน หากคนไทยรกั ษาศีล ๕ ขอ้ นไ้ี ด้ อาชญากรรมตา่ ง ๆ ที่ก่อให้เกดิ ความ ไม่สงบในประเทศ เชน่ การฆ่ากัน การลกั ทรพั ย์กนั การผิดลูกเมียกัน การพดู เทจ็ หลอกลวงกนั และการเสพสุราเมามาย เสพสิ่งเสพติดให้โทษ ที่กำ�ลัง ระบาดอยู่ จะลดน้อยลงไปมากทเี ดยี ว หลานทั้งสองได้ฟังลุงอธิบายเรื่องศีล ๕ ให้ฟังโดยย่อแล้ว จะเห็นว่าศีล ๕ มีความจำ�เป็นแก่มนุษย์เป็นอย่างมากที่จะต้อง น�ำ ไปปฏบิ ตั ิ ดังนั้น คนท่รี ักษาศลี ๕ ได้ ท่านจึงเรียกว่า เป็นผปู้ ระพฤติ พรหมจรรย์ คือ เป็นผู้ทีม่ ีความประพฤตอิ นั ประเสรฐิ 26
ประการท่ี ๔ อปั ปมญั ญา การแผจ่ ิตท่ีประกอบดว้ ย คุณธรรมมีเมตตาเปน็ ตน้ ให้กว้างขวาง เรื่องอัปปมัญญา ซึ่งเป็นพรหมจรรย์ข้อน้ี หลานท้ังสอง คงไม่คอ่ ยได้ยนิ และไม่เขา้ ใจความหมาย ค�ำ วา่ “อปั ปมัญญา” แปลตามศพั ท์วา่ “การแผจ่ ติ ออกไป ให้กว้างขวางไม่มีขอบเขต” หมายถึง แผ่คุณธรรมของพระพรหม คือ เมตตา ความรักและปรารถนาดี กรุณา ความสงสาร มุทิตา ความยินดี อุเบกขา ความยุติธรรม ให้แผ่กว้างออกไปแก่มนุษย์ และสัตว์ท่วั โลก ไม่จำ�กัดอย่ใู นวงแคบ ท่พี ระทา่ นสอนใหป้ ฏบิ ตั คิ ณุ ธรรมขอ้ น้ี กเ็ พ่อื ฝึกจิตของเรา ใหม้ คี วามรกั และปรารถนาดตี อ่ คนทว่ั โลก การฝกึ จติ ไดเ้ ชน่ นท้ี �ำ ให้ เกดิ ประโยชน์ ๒ อยา่ ง คอื ประโยชนแ์ กต่ นเอง และประโยชนแ์ กผ่ อู้ น่ื ทว่ี า่ “ใหป้ ระโยชนแ์ กต่ นเอง” นน้ั หมายความวา่ คนทฝ่ี กึ จติ ให้มีคุณธรรมเช่นมีเมตตาต่อผู้อื่น ถ้าเราหมั่นแผ่เมตตาอยู่บ่อย ๆ เช่น แผ่ในเวลาเย็นหลังจากสวดมนต์ไหว้พระ อย่างท่ีลุงพาหลาน ทั้งสองแผ่เมตตาอยู่เสมอ จะทำ�ให้จิตใจของเราสบาย ไม่มีความ อาฆาตพยาบาทม่งุ รา้ ยต่อใคร ตามปรกติคนเราอาจจะโกรธคนอื่น แลว้ เก็บความไมพ่ อใจไว้ เชน่ หลานทัง้ สองอาจจะ เคยทะเลาะกับเพ่อื น โกรธเพื่อนแล้ว เก็บความโกรธไว้ ทำ�ใหใ้ จเดอื ดร้อน ไม่สงบ 27
ดงั นน้ั ถา้ เราหมน่ั แผเ่ มตตาเสยี ความขนุ่ มวั ในจติ ใจของเรา จะหายไป ทำ�ให้จิตใจของเราปลอดโปร่งมีความสุข การแผ่เมตตา อยู่เสมอ จึงเปน็ ประโยชนแ์ กต่ ัวเรา คอื ท�ำ ให้จิตใจของเรามีความ สงบสขุ ไมเ่ ดอื ดรอ้ นว่นุ วาย ส่วนท่ีว่า “ใหป้ ระโยชน์แก่ผ้อู ่ืน” นัน้ หมายความวา่ ผู้อ่นื ทเ่ี ราแผเ่ มตตาไปให้ เขากจ็ ะไดร้ บั พลงั คอื กระแสแหง่ เมตตาจากเรา ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่แผ่เมตตาไปยังลูกที่อยู่ห่างไกล ก็ทำ�ให้ลูก ได้รบั กระแสเมตตาจากพ่อแม่ ลกู จะมคี วามสขุ เหมือนพ่อแม่มานั่ง อยใู่ กล้ ๆ จติ ของคนเรา เพยี งดวงเดียว ที่แผ่เมตตาออกไป ยังมีพลังเชน่ น้ี ถ้าจิตรวมกัน หลายดวงแผ่ออกไป จะเกดิ เปน็ พลังมหาศาล หากมนุษย์ทั่วโลกต่างตั้งใจแผ่เมตตาต่อกันแล้ว จะทำ�ให้ มนุษย์เรามีความรักปรารถนาดีต่อกันอย่างกว้างขวาง ไม่ต้องเกิด สงครามประหัตประหารกัน อย่างที่เกิดอยู่ในประเทศที่อยู่ใกล้เรา ขณะน้ี เราปรารถนาให้ประเทศท่ีกำ�ลังทำ�สงครามฆ่าฟันกัน เลิก รบราฆ่าฟันกันด้วยการหันหน้าเข้าหากัน เจรจากันด้วยสันติวิธี และแผจ่ ิตเมตตาปรารถนาดตี ่อกนั 28
การแผ่พลังจิตที่เรียกว่า “อัปปมัญญา” ดังท่ีลุงได้นำ�มา เล่าให้หลานท้ังสองฟังโดยย่อนี้ เป็นคุณธรรมท่ีมีประโยชน์ในการ ฝกึ จติ ของคนเรามาก แมเ้ ดก็ ๆ อยา่ งหลานทง้ั สองกน็ �ำ มาฝกึ ปฏบิ ตั ิ ไดโ้ ดยหดั แผเ่ มตตาดังกล่าวแลว้ ดงั น้นั ผูท้ ปี่ ระพฤตคิ ณุ ธรรมขอ้ น้ี ได้ ท่านจึงเรียกว่า ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะมีความประพฤติ อันประเสรฐิ ควรแกก่ ารยกยอ่ งสรรเสริญ ประการที่ ๕ เมถนุ วิรตั การงดเว้นจากการเสพเมถุน คำ�ว่า “เมถุน” หมายถึง การที่ชายหญิงสมสู่สืบพันธ์ุกัน เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ เม่ือเติบโตถึงวัยหนุ่มสาว ก็จะต้องมีความรักใคร่ และมีความสัมพันธ์ทางเพศอยู่ร่วมเป็น ผวั เมยี กนั หลานทง้ั สองจะสงั เกตเห็นสตั วต์ า่ ง ๆ เช่น หมู หมา กา ไก่ ท่ีคนเราเลี้ยงไว้ เมื่อมันเติบโตขึ้น ตัวผู้กับตัวเมียก็สมสู่กันตาม ธรรมชาตขิ องมัน ส�ำ หรบั มนษุ ย์เรา เปน็ ผู้มจี ิตใจ ประเสริฐสงู กวา่ สตั ว์ เราจงึ มขี นบประเพณี ของสงั คม และศีลธรรม ควบคุมจติ ใจให้มนษุ ยม์ ีขอบเขต เกีย่ วกับความรักใคร่เปน็ คคู่ รองกัน 29
เช่น ประเพณีของไทย ห้ามเด็กท่ีอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน ไม่ให้ไปยุ่งเก่ยี วกับความรกั ใคร่ ถงึ จะรักใคร่กนั กไ็ ม่ใหล้ ว่ งละเมิด ถงึ กับไดเ้ สียเปน็ ผวั เมยี กัน จึงมีคำ�โบราณสอนลูกหลานว่า “อย่าชิงสุกก่อนห่าม” หมายความว่าพวกเด็กจงต้ังใจศึกษาเล่าเรียนให้สำ�เร็จเสียก่อน แลว้ จงึ คอ่ ยคดิ มีคูค่ รองในภายหลงั เหมอื นมะมว่ งทเ่ี ราปลอ่ ยไวใ้ หส้ กุ บนตน้ เสยี กอ่ นแลว้ จงึ สอย ลงมา ก็จะไดร้ บั ประทานมะม่วงสกุ ทม่ี ีรสหวานอรอ่ ย ถา้ เราขน้ึ ไป สอยลงมาขณะทม่ี นั ยงั หา่ มอยู่ คอื ยงั ไมส่ กุ กจ็ ะไดร้ บั ประทานมะมว่ ง ทม่ี รี สเปรย้ี ว ไมห่ วานอรอ่ ย เปรยี บเหมอื นเดก็ ทย่ี งั ไมถ่ งึ เวลาควรจะ มีคคู่ รอง แตก่ ลบั ไปไดเ้ สยี เปน็ ผัวเมียกัน ท�ำ ให้เกดิ ความเดือดรอ้ น แก่ตนเอง และผปู้ กครองเปน็ อย่างยิ่ง ค�ำ วา่ “เมถนุ วริ ตั ”ิ หมายถงึ การงดเวน้ จากเมถนุ คอื การสมสกู่ นั ทางเพศน่ันเอง เร่ืองเมถุนซ่ึงเป็นความสุขทางกามารมณ์ หรือ ความสุขทางเพศนั้น พระท่านสอนว่า เป็นความสุขของชาวบ้าน มใิ ชเ่ ปน็ ความสขุ แท้ เพราะท�ำ ใหจ้ ติ ใจเรา่ รอ้ น ไมส่ งบ ทา่ นจงึ สอนวา่ ผ้ทู ่ีต้องการความสุข อยา่ งแท้จริงนนั้ จะต้องงดเวน้ จาก ความสขุ ทางกามารมณ์ แล้วไปบวชเป็นภิกษุ ประพฤติพรหมจรรย์ ไมม่ ีลกู เมยี เวน้ การเสพเมถนุ โดยเดด็ ขาด 30
ดังน้ัน พระภิกษุ สามเณรที่ไปบวชอยู่ในวัด จึงเรียกว่า ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะท่านปฏิบัติคุณธรรมข้อเมถุนวิรัติ คือ เว้นการร่วมเพศ สว่ นฆราวาสชาวบา้ นทป่ี ระพฤตเิ มถนุ วริ ตั ไิ ด้ กจ็ ดั วา่ ประพฤติ พรหมจรรยไ์ ด้ชั่วคราว เช่น เม่ือถึงวันพระ ๘ คำ�่ ๑๕ คำ่� ชายหญงิ ที่เป็นอบุ าสกอุบาสกิ าไปสมาทานศีล ๘ งดการเสพเมถนุ ตลอดวนั และคนื หนง่ึ กจ็ ดั วา่ ประพฤตพิ รหมจรรยไ์ ดช้ ว่ั คราว หรอื สามภี รยิ า ที่แต่งงานกัน หากงดการร่วมเพศกันในเวลาใด ก็จัดว่าประพฤติ คุณธรรม คือ ประพฤติพรหมจรรยข์ อ้ เมถนุ วริ ัตติ ่อกัน เมถุนวิรตั ิ คอื การท่มี นุษยเ์ ว้นการเสพเมถนุ จดั ว่าเปน็ การ ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะคนท่ีประพฤติคุณธรรมข้อน้ีได้ จัดว่า เป็นผู้มีความประพฤติประเสริฐ ควรได้รับการยกย่องสรรเสริญ เพราะสามารถหลีกออกจากความสุขของชาวบ้านไปแสวงหา ความสุขที่แท้จริงในทางศาสนาได้ ลงุ ไดอ้ ธบิ ายพรหมจรรย์ ๕ ขอ้ ใหห้ ลานทง้ั สองฟงั มรี ายละเอยี ด แตล่ ะข้อ คงจะเปน็ ประโยชนใ์ ห้ความรู้แกห่ ลานไดต้ ามสมควร ส�ำ หรับพรหมจรรยท์ เ่ี หลอื อกี ๕ ข้อ ลุงจะนำ�มาอธบิ ายให้ หลานฟังในโอกาสต่อไป สำ�หรับวันนี้ ลุงขอยุติการสนทนาธรรม ไว้เพียงเทา่ น้”ี กลา่ วจบ ลงุ พรหมกไ็ ดน้ �ำ ภรยิ าและหลานทง้ั สอง ไปสวดมนต์ ไหว้พระในห้องพระตอ่ ไป 31
ค�ำ ถามประจ�ำ บท ๑. ผู้ชอบธรรม กับผชู้ ังธรรม ไดร้ ับผลต่างกันอยา่ งไร ? ๒. ๓. ทาน คืออะไร ปฏบิ ัติอยา่ งไร ให้ประโยชน์แก่ผู้น�ำ ไป จงึ เรยี กวา่ เวยยาวัจจะ ปฏบิ ัติอย่างไรบา้ ง ? การขวนขวายในกิจการ ท่เี ป็นประโยชน์ ? ๔. ๕. เบญจศีลคืออะไร เมถนุ วิรัติ คอื อะไร ให้ประโยชนแ์ กผ่ นู้ ำ�ไป ชาวบา้ นจะน�ำ มาปฏิบตั ิ ปฏบิ ัติอยา่ งไร ? ไดอ้ ย่างไร ? 32
บท๒ท่ี พกรารหปมระจพรฤรตยิ ์ (ต่อ) เยน็ วนั อาทติ ยต์ อ่ มา ฐติ มิ ากบั ภาณพุ งษไ์ ดเ้ ขา้ ไปหาลงุ พรหม และป้าพิมพ์ ในห้องรับแขกเช่นกับวันก่อน เม่ือสองคนไหว้คุณลุง และคุณป้าน่ังลงบนพื้นแล้ว ภาณุพงษ์พูดว่า “คุณลุงครับ ทำ�ไม ค�ำ พระจงึ จำ�ยากนักละ่ ครับ อยา่ งเรื่องพรหมจรรย์ ๑๐ ข้อ ทคี่ ุณลุง ใหน้ �ำ ไปทอ่ ง หลานทอ่ งอยู่นานจึงจำ�ได”้ ลุงพรหมกล่าวว่า “หลานรัก การศึกษาเร่ืองทางศาสนา ในบางคร้ังมีความจำ�เป็นต้องจำ�หัวข้อธรรมให้ได้ คำ�พระเป็น ศพั ทเ์ ฉพาะทต่ี อ้ งจ�ำ ครง้ั แรกอาจจะจ�ำ ยากบา้ ง แตเ่ มอ่ื เราทอ่ งบอ่ ย ๆ กจ็ ำ�ได้ เช่น เมื่อหลานเรยี นเรอ่ื งวิทยาศาสตร์ ก็ตอ้ งจำ�ศัพท์เฉพาะ ทางวิทยาศาสตร์ให้ไดเ้ ชน่ กนั อย่างเรือ่ งพรหมจรรย์ ๑๐ ข้อ เม่อื หลานทง้ั สองทอ่ งจ�ำ ได้ กเ็ ปน็ ประโยชนแ์ กต่ นเอง ท�ำ ใหศ้ กึ ษาเรอ่ื งทาง ศาสนาเป็นผลดี ลงุ ขอชมเชยหลานท้งั สอง ทสี่ นใจเร่ืองทางศาสนา ที่ลุงสอน และสามารถจำ�เรอ่ื งพรหมจรรย์ ๑๐ ข้อ ไดเ้ ป็นอยา่ งดี 33
ต่อไปนี้ ลุงจะอธิบายพรหมจรรย์ต่อจากวันอาทิตย์ก่อน ขอให้หลานทงั้ สองจงตง้ั ใจฟังเรอ่ื งพรหมจรรย์ต่อไป” แล้วลุงพรหม ได้อธิบายเรื่องการประพฤติพรหมจรรย์ให้ หลานท้งั สองฟังต่อไป ประการท่ี ๖ สทารสนั โดษ การยินดใี นภรยิ าของตน คำ�ว่า “สันโดษ” ตามศัพท์ แปลว่า ยินดหี รือพอใจในสิง่ ที่ ตนมอี ยู่ ค�ำ ว่า “สทาระ” แปลว่า ภรยิ าของตน เมือ่ แปลรวมกนั “สทารสันโดษ” จึงแปลวา่ ยินดใี นภริยา ของตน หมายความว่า ผู้ชายท่ีแต่งงาน ได้ผู้หญิงคนหนึ่งมาเป็น ภริยาแล้ว ก็พอใจรักใคร่ภริยาของตนคนเดียว ไม่ไปยุ่งเก่ียวกับ หญิงอ่นื อีก คุณธรรมข้อน้ที ่านสอนรวมไปถงึ ผู้หญิงด้วย คือ หญิงที่ แต่งงานมีสามีแล้ว ก็มีความสันโดษ ยินดีเฉพาะในสามีของตน คนเดียว ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับชายอ่ืนเชน่ กัน เหตทุ พ่ี ระพทุ ธเจา้ ทรงสอนใหส้ ามแี ละภรยิ า มคี วามสนั โดษ พอใจในคู่ครองของตนคนเดียวเช่นนี้ ก็เพ่ือมุ่งให้เกิดความสงบสุข ในครอบครัว เพราะชายทเ่ี ป็นสามี เมื่อมีภรยิ าแล้วก็ต้องการ ให้ภรยิ ามคี วามรัก และภกั ดใี นตนผู้เดียว และภริยาก็ตอ้ งการให้ สามรี กั ใคร่ตนคนเดียว 34
เมอ่ื สามปี ระพฤตนิ อกใจไปรกั ใครห่ ญงิ อน่ื ภรยิ าจงึ เกดิ ความ หึงหวง ทะเลาะวิวาทกัน แม้เม่ือภริยาไปนอกใจรักใคร่ชายอื่น สามกี ไ็ ม่พอใจ เกิดความหึงหวง ทะเลาะววิ าทเชน่ กนั เพอ่ื ป้องกัน การแตกร้าวและววิ าทกนั ของสามีและภริยาดังกลา่ ว พระพุทธเจ้า จึงทรงสอนเร่ืองสทารสันโดษ คือ ให้สามีมีความสันโดษซื่อสัตย์ ในภรยิ าของตน และภรยิ ามีความสนั โดษซ่อื สตั ย์ในสามีของตน หลานจะสังเกตเห็นครอบครัวที่มีความสงบสุข ไม่ทะเลาะ ววิ าทหยา่ รา้ งกนั กเ็ พราะสามภี รยิ าในครอบครวั นน้ั มคี วามสนั โดษ ซอ่ื สตั ยต์ อ่ กนั คอื ไมน่ อกใจกนั เชน่ ลงุ กบั ปา้ แตง่ งานครองชวี ติ สมรส ร่วมกันมานาน ๓๐ กว่าปี จนมีลูกเติบโตเป็นหนุ่มสาว มีอาชีพ การงานแลว้ ลงุ กบั ปา้ ไมเ่ คยนอกใจกนั ไมเ่ คยทะเลาะววิ าทกนั มแี ต่ ความรกั ใครต่ อ่ กนั เพราะเราประพฤตอิ ยใู่ นคณุ ธรรม คอื ความสนั โดษ พอใจรกั ใครต่ อ่ กนั น้ี ครอบครวั จงึ มแี ตค่ วามราบรน่ื สงบสขุ ตลอดมา แตค่ รอบครวั ทส่ี ามภี รยิ าขาดความสนั โดษ คอื นอกใจกนั แลว้ จะเกดิ การทะเลาะวิวาท หยา่ ร้างกัน ไม่มคี วามสงบสขุ เลย ดงั นัน้ การประพฤตพิ รหมจรรย์ขอ้ ที่ ๖ คือ สทารสนั โดษ ไดแ้ ก่ การทส่ี ามแี ละภรยิ ามคี วามพอใจรกั ใครต่ อ่ กนั จงึ เปน็ ประโยชน์ ในครอบครวั มาก เพราะท�ำ ใหค้ รอบครวั สงบสขุ ไมเ่ ดอื ดรอ้ นวนุ่ วาย สามกี จ็ ดั วา่ ประพฤตพิ รหมจรรย์ เพราะเปน็ ผมู้ คี วามประพฤตปิ ระเสรฐิ เปน็ สามที ด่ี ี ควรแกก่ ารยกยอ่ งสรรเสรญิ และภรยิ ากจ็ ดั วา่ ประพฤติ พรหมจรรย์ เพราะเป็นผู้มีความประพฤติประเสริฐ เป็นภริยาท่ีดี ควรแกก่ ารยกย่องสรรเสรญิ เชน่ กัน 35
ประการที่ ๗ วริ ยิ ะ ความเพียร คำ�ว่า “วิริยะ” ตามศัพท์ แปลว่า กล้าหาญ หรือเข้มแข็ง หมายความว่า คนที่มีความเพียรนั้น จะเป็นผู้มีจิตใจเข้มแข็ง ไมย่ อ่ ทอ้ หวาดกลวั ความยากล�ำ บากและอปุ สรรคตา่ ง ๆ ยกตวั อยา่ งเชน่ พระพุทธเจ้าของเรา ได้ทรงบำ�เพ็ญเพียรอย่างแรงกล้า ไม่ท้อถอย เป็นเวลานานถงึ ๖ ปี จงึ ได้ตรัสรู้ ในระหว่างท่ที รงบ�ำ เพ็ญเพยี รนน้ั ไดท้ รงอธิษฐานว่า “แมเ้ นอ้ื เลอื ดจะเหอื ดแห้ง เหลือเพยี งแต่ หนงั เอน็ กระดูก หากยงั ไม่ได้ บรรลถุ ึงผล ทปี่ รารถนาแลว้ เราจะไมห่ ยุด ทำ�ความเพียรอยา่ งเด็ดขาด” เพราะพระพทุ ธองคท์ รงอธษิ ฐานบ�ำ เพญ็ เพยี รอยา่ งแรงกลา้ ยอมอทุ ศิ ชวี ติ เชน่ น้ี จงึ สามารถบรรลพุ ระโพธญิ าณ ส�ำ เรจ็ เปน็ พระ- พุทธเจา้ ซึ่งเปน็ กจิ ที่ท�ำ ได้ยากอยา่ งย่งิ หากพระพุทธองค์ไมท่ รงใช้ ความเพียรอย่างแรงกล้า มีความท้อแท้และท้อถอยแล้ว พระองค์ จะไม่ไดต้ รสั รเู้ ปน็ พระพุทธเจ้าเลย ดงั นน้ั คณุ ธรรมขอ้ วริ ยิ ะ คอื ความเพยี รนจ้ี งึ มปี ระโยชนม์ าก ควรทบ่ี คุ คลทกุ ระดบั จะไดน้ �ำ ไปปฏบิ ตั ิ แมแ้ ตพ่ วกเดก็ ๆ อยา่ งหลาน ทง้ั สองกน็ �ำ ไปปฏบิ ตั ไิ ด้ คอื มคี วามขยนั หมน่ั เพยี รในการเรยี นหนงั สอื 36
แม้การเรยี นหนังสอื จะยากลำ�บากบา้ ง ก็ต้องมจี ิตใจเข้มแขง็ มีความตงั้ ใจศกึ ษาเลา่ เรียน ไม่ทอ้ แทท้ ้อถอย กจ็ ะมี ความส�ำ เรจ็ ในการศกึ ษา เล่าเรยี นสงู ข้ึนโดยล�ำ ดบั หากขาดความพากเพยี รพยายามทอ้ แทเ้ สยี แลว้ จะไมป่ ระสบ ความส�ำ เรจ็ ในการศกึ ษาเล่าเรียนเลย แมผ้ ใู้ หญท่ ป่ี ระกอบการงานเลย้ี งชพี กต็ อ้ งมคี วามพากเพยี ร ตั้งใจทำ�งานอย่างเข้มแข็ง ไม่ท้อถอย จึงจะสามารถสร้างฐานะ มคี วามเจรญิ กา้ วหนา้ ในทางโลก ตวั อยา่ ง คนทม่ี คี วามขยนั หมน่ั เพยี ร แลว้ สรา้ งฐานะมคี วามเจรญิ กา้ วหนา้ มอี ยมู่ าก ทง้ั ในประเทศไทยและ ตา่ งประเทศ เชน่ ในประเทศไทยเรา มบี คุ คลร�ำ่ รวยเปน็ มหาเศรษฐี หลายคน ตามประวตั ปิ รากฏวา่ บคุ คลผมู้ ง่ั คง่ั เหลา่ นน้ั ในเบอ้ื งตน้ ของ ชีวิต เป็นคนยากจนมาก แต่ได้อาศัยความขยันหมั่นเพียร มีจิตใจ เข้มแข็ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ต้ังหน้าประกอบอาชีพด้วยความ พากเพียรพยายาม ผลของความพากเพียรพยายามอย่างมากน้ัน ท�ำ ใหบ้ คุ คลผนู้ น้ั แสวงหาทรพั ยส์ นิ เงนิ ทองไดม้ าก และเจรญิ กา้ วหนา้ โดยลำ�ดับ จนกระท่ังมฐี านะเป็นมหาเศรษฐี คนท่ีมีคุณธรรม คือ ความเพียรน้ี จัดว่าเป็นผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ คือ ความประพฤติประเสริฐ เพราะผู้มีความขยัน หมน่ั เพยี รนน้ั เปน็ คนมคี วามประพฤตดิ ี ควรไดร้ บั การยกยอ่ งสรรเสรญิ 37
ประการที่ ๘ อุโบสถ การรักษาศีล ๘ ได้แก่ การรักษาศลี ๕ และเพิ่มมาอีก ๓ ขอ้ สำ�หรบั การ รกั ษาศลี ๕ หรอื เบญจศลี ซึ่งเปน็ การประพฤติพรหมจรรยข์ ้อท่ี ๓ ลงุ ได้อธบิ ายใหห้ ลานท้ังสองฟงั แล้ว สว่ นศลี ๘ นก้ี ไ็ ดแ้ ก่ ศลี ๕ ขอ้ เวน้ แตข่ อ้ ๓ กาเมสมุ จิ ฉาจาร ไม่ประพฤติผดิ ประเวณีเปลี่ยนเป็น ไม่ประพฤตผิ ดิ พรหมจรรย์ คอื ไมร่ ว่ มประเวณกี บั หญงิ ชายใด ๆ ในขณะรกั ษาศลี ๘ แมแ้ ตก่ บั ภรยิ า หรือสามีของตน ก็งดร่วมประเวณี สำ�หรับในศีล ๕ ร่วมประเวณี กบั หญงิ ชายทเี่ ป็นภรยิ าสามีของตนได้ ห้ามรว่ มประเวณเี ฉพาะกับ หญิงชายอ่นื ที่มิใช่ภรยิ าสามีของตนเท่านัน้ ทวี่ า่ ในศลี ๘ นอกจากศลี ๕ แลว้ เพิม่ มาอกี ๓ ขอ้ นัน้ คือ เพม่ิ ขอ้ ท่ี ๖ ไดแ้ ก่ เวน้ การบรโิ ภคอาหารในเวลาวกิ าล ตง้ั แต่ เท่ยี งวนั แล้วไป ขอ้ ๗ ไดแ้ ก่ เวน้ การฟอ้ นร�ำ ขบั รอ้ ง ประโคมดนตรี ดกู ารเลน่ มหรสพตา่ ง ๆ และเวน้ การประดบั ตกแตง่ รา่ งกายดว้ ยมาลยั ดอกไม้ ของหอม ข้อ ๘ เว้นจากการนอนบนที่นอนสงู และทน่ี อนใหญ่ ฆราวาสผรู้ ักษาศีลอุโบสถ หรอื ศีล ๘ นี้ เมื่อถงึ วนั พระ ๘ คำ�่ ๑๕ ค่ำ� จะพากันไปรบั ศีล ๘ ขอ้ นี้ จากพระสงฆ์ แล้วรักษา ปฏบิ ตั ติ ลอดวนั และคนื หนึ่ง 38
ในขณะทร่ี กั ษาศลี อโุ บสถน้ี จะไปอยทู่ ว่ี ดั ตลอดเวลาทร่ี กั ษา ศีล หรือจะกลับมานอนที่บ้านก็ได้ เช่นวันพรุ่งนี้เป็นวันพระข้ึน ๑๕ คำ่� ลุงกับป้าก็จะพากันไปรักษาศีลอุโบสถอยู่ท่ีวัดตลอดวัน และคืนหนึ่ง การรักษาศีลอุโบสถ หรือการรักษาศีล ๘ น้ี จะเรียกว่า เปน็ การถอื บวชของฆราวาสกไ็ ด้ คอื สปั ดาหห์ นง่ึ ฆราวาสชาวบา้ น จะละจากธรุ ะ การงานทางบา้ นทเ่ี ปน็ เรอ่ื งกงั วล แลว้ ไปอยวู่ ดั ชว่ั คราว เพอ่ื สวดมนตภ์ าวนารกั ษาศลี ปฏบิ ตั ธิ รรม น�ำ ความสงบสขุ มาใหแ้ ก่ ชีวิตของตน เพราะการที่อยู่วัดจะได้รับความสงบสุขกว่าอยู่ท่ีบ้าน มีโอกาสได้อบรมจติ ใจเปน็ พเิ ศษ ผู้รักษาศีลอุโบสถในวันพระเช่นนี้ ผู้ชายเรียกว่า อุบาสก ผู้หญิงเรียกวา่ อุบาสิกา บคุ คลผรู้ กั ษาศีลอโุ บสถนี้ ทา่ นจัดวา่ เป็น ผปู้ ระพฤตพิ รหมจรรย์ เพราะเปน็ ผมู้ คี วามประพฤตปิ ระเสรฐิ สามารถ รักษาศลี สูงขึน้ กว่าชาวบ้านธรรมดา ควรแกก่ ารยกย่องสรรเสริญ แม้แต่พวกเด็ก อย่างหลานท้งั สอง ก็สามารถจะไปรักษา ศีลอโุ บสถกบั พ่อแม่ หรอื ผปู้ กครองในวนั พระได้ แตเ่ ม่ือรกั ษาศลี ๘ จะทำ�ให้ หิวโหยในเวลาเย็น เพราะงด บริโภคอาหารตอนเยน็ ๑ มื้อ ในวันรกั ษาศีล ๘ ถา้ หลานปฏิบัติไดก้ ็จะไดบ้ ญุ มากทเี ดียว 39
ประการที่ ๙ อริยมรรค การปฏิบัติมรรค ๘ คำ�ว่า “มรรค” แปลว่า หนทางหรือข้อปฏิบตั ิ “อริย” แปลวา่ ประเสรฐิ แปลรวมกัน อริยมรรค ก็คือ หนทางหรือข้อปฏิบัติที่ ประเสรฐิ ๘ ประการ ไดแ้ ก่ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสงั กปั ปะ ความด�ำ รชิ อบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมนั ตะ การทำ�งานชอบ ๕. สัมมาอาชวี ะ การเลย้ี งชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สมั มาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ อริยมรรค คือ ทางปฏิบัติอันประเสริฐ ๘ ข้อนี้ จัดเป็น หลักธรรมสำ�คัญในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นทางปฏิบัติทำ�ให้ ผปู้ ฏิบัตไิ ดบ้ รรลถุ งึ ความสุขคือพระนพิ พาน ดับกเิ ลสตณั หา และพระนพิ พานเชน่ น้ี มอี ยเู่ ฉพาะในพระพทุ ธศาสนาเทา่ นน้ั หลานทั้งสองคงเคยได้ยินคำ�ว่า “พระอรหันต์” คำ�ว่า “อรหันต์” แปลวา่ เปน็ ผไู้ กลจากกเิ ลสตณั หา หรอื ดบั กเิ ลสตณั หา ไดแ้ ก่ บรรลุ ถึงพระนิพพานน่นั เอง ท่านผ้ทู ่ไี ด้บรรลุเป็นพระอรหันต์ช้นั สูงสุดใน ทางพระพทุ ธศาสนาน้ี กไ็ ดป้ ฏบิ ตั ใิ นอรยิ มรรค ๘ ขอ้ ทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ทรงสอนไวน้ ี้ ดังนั้น อริยมรรค ๘ ประการ จึงเป็นหลักธรรมสำ�คัญใน 40
ทางพระพทุ ธศาสนา แมฆ้ ราวาสชาวบา้ นกส็ ามารถน�ำ อรยิ มรรค ๘ ข้อนี้มาปฏิบัติได้ แม้จะไม่ได้สำ�เร็จเป็นพระอรหันต์ แต่หากได้นำ� อริยมรรคมาปฏิบตั ิแต่ละขอ้ ได้ จะท�ำ ให้การด�ำ เนนิ ชีวิต ไปในทาง ทถี่ ูกตอ้ ง ไม่ผดิ พลาด ตวั อย่างเชน่ มีอรยิ มรรคข้อแรก คอื สมั มาทฐิ ิ ความเห็นชอบ จะท�ำ ใหเ้ ปน็ คน มคี วามเห็นถูก ทำ�นองคลองธรรม ไมก่ ลายเป็นคน มคี วามเห็นผิด เช่นเห็นว่าพ่อแม่ ครูอาจารย์ไม่มีบุญคุณแก่ตน เห็นว่า การท�ำ บุญไม่ได้บุญ หลานทง้ั สอง จะเหน็ ไดว้ า่ อรยิ มรรค ๘ ประการน้ี มปี ระโยชน์ มาก สามารถจะนำ�ไปปฏิบัติให้บรรลุถึงประโยชน์ช้ันสูงในทาง พระพุทธศาสนา และสามารถนำ�มาปฏิบัติในชีวิตประจำ�วันได้ เป็นอย่างดี แม้พวกเดก็ อย่างหลานท้งั สอง ก็สามารถนำ�มาปฏิบตั ิ ตาม สมควรแกฐ่ านะของตน ดงั นน้ั ผทู้ ป่ี ฏบิ ตั อิ รยิ มรรค ๘ ประการนไ้ี ด้ ทา่ นจงึ เรยี กวา่ ประพฤตพิ รหมจรรย์ คอื มคี วามประพฤตปิ ระเสรฐิ สามารถปฏบิ ตั ธิ รรมชน้ั สงู ทางพระพทุ ธศาสนาได้ ควรแกก่ ารยกยอ่ ง สรรเสรญิ 41
ประการที่ ๑๐ ศาสนา การปฏบิ ัตศิ าสนธรรม ค�ำ วา่ “ศาสนา” แปลวา่ “ค�ำ สง่ั สอน” ไดแ้ ก่ พระพทุ ธศาสนา ซง่ึ เปน็ ค�ำ สง่ั สอนของพระพทุ ธเจา้ และค�ำ สง่ั สอนของพระพทุ ธเจา้ น้ี มจี �ำ นวนมากถึงแปดหม่ืนสพี่ ันพระธรรมขนั ธ์ แต่เม่ือสรุปลงให้ส้ันซ่ึงเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา มีเพียง ๓ ประการ คือ สิกขา ๓ ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา การรกั ษาศลี เจรญิ สมาธปิ ญั ญาใหบ้ รบิ รู ณน์ เ้ี รยี กวา่ ปฏบิ ตั ศิ าสนธรรม ผ้ทู ่ไี ม่รักษาศีลและเจริญสมาธิปัญญาน้ี ยังไม่จัดว่าได้เข้าถึง พระพุทธศาสนา และผู้ที่จะปฏิบัติศาสนธรรมได้อย่างสมบูรณ์น้ี จะต้องออกบวชเป็นพระภิกษุ อุทิศชีวิตในพระพุทธศาสนา ส่วน ฆราวาสชาวบ้าน ถึงจะปฏิบัติศาสนธรรมได้ แต่ก็ไม่สามารถจะ ปฏิบัติไดบ้ ริบูรณเ์ ชน่ พระภิกษสุ งฆใ์ นพระพทุ ธศาสนา ดงั นั้น พรหมจรรยข์ ้อท่ี ๑๐ นี้ ทา่ นจงึ จดั เปน็ พรหมจรรย์ รวบยอด คอื เป็นข้อสงู สดุ ในพระพทุ ธศาสนา การปฏบิ ตั ิศาสนธรรม ซึ่งเป็นพรหมจรรยส์ งู สุดน้ี พวกเด็กผ้ชู ายอย่าง หลานภาณพุ งษ์มีโอกาส จะปฏิบตั พิ รหมจรรย์ขอ้ น้ีได้ เม่ือเตบิ โตเป็นผ้ใู หญ่ สามารถจะเขา้ ไปบวช เปน็ พระภกิ ษเุ ขา้ ถึง พระพทุ ธศาสนาไดอ้ ย่างสมบรู ณ์ 42
ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติศาสนธรรม คือ ได้บวชอุทิศชีวิตใน พระพทุ ธศาสนา จงึ จดั วา่ ประพฤตพิ รหมจรรย์ เพราะมชี วี ติ ประเสรฐิ ทไ่ี ดป้ ฏบิ ตั ติ นตามหลกั ศาสนาไดส้ มบรู ณ์ เปน็ ทน่ี า่ เคารพกราบไหว้ บชู าเป็นอย่างยงิ่ วันน้ี ลุงได้อธิบายเรื่องการประพฤติพรหมจรรย์ ๕ ข้อ ให้หลานทั้งสองได้ฟัง รวมกับท่ีเคยอธิบายในวันก่อนอีก ๕ ข้อ จึงเป็นอันว่าหลานท้ังสองได้ฟังเร่ืองการประพฤติพรหมจรรย์ ๑๐ ประการ จบบรบิ รู ณ์ ในคร้ังต่อไป ลุงจะได้อธิบายเร่ืองประโยชน์ที่ได้รับจาก การประพฤตพิ รหมจรรย์ให้หลานท้งั สองฟงั อีก สำ�หรับวนั น้ี ลุงขอ ยุติไว้เพียงเท่านี้ กล่าวจบ ลุงพรหมได้นำ�ภริยาและหลานทั้งสอง ไปสวดมนตไ์ หว้พระในหอ้ งพระต่อไป 43
ค�ำ ถามประจ�ำ บท ๑. เมถุนวริ ตั ิ การงดเว้นจาก การเสพเมถนุ กับสทารสันโดษ ความพอใจในภริยาของตน มีข้อความต่างกนั อย่างไร ? ๒. ๓. ศีลอโุ บสถ คอื อะไร อริยมรรค แปลว่าอะไร จงอธิบาย ? มกี ่ีประการ อะไรบ้าง ? ๔. ๕. คำ�สอนของพระพุทธศาสนา ฆราวาสกบั พระภิกษุ มีทัง้ หมดกขี่ ้อ และค�ำ สอน ใครมีโอกาสปฏิบตั ิ ศาสนธรรมได้สมบรู ณ์ ที่เป็นเนอ้ื หามีกอี่ ย่าง กว่ากนั เพราะเหตใุ ด ? อะไรบ้าง ? 44
บท๓ที่ ประโยชน์ของ การประพฤติ พรหมจรรย์ เยน็ วนั อาทติ ยต์ อ่ มา ฐติ มิ ากบั ภาณพุ งษไ์ ดเ้ ขา้ ไปหาลงุ พรหม และป้าพิมพ์ในห้องรับแขกเช่นกับในวันอาทิตย์ก่อน เม่ือทั้งสอง ไหว้คุณลุงคุณป้า นั่งลงบนพื้นแลว้ ภาณุพงษ์ถามวา่ “คุณลุงครับ หลานมีความสงสัยเร่ืองการบวช เพราะใน เวลากอ่ นเขา้ พรรษา มพี วกผชู้ ายไทยไดเ้ ขา้ ไปบวชเปน็ พระภกิ ษใุ น พระพุทธศาสนามาก แต่พอออกพรรษาพระที่บวชใหม่เหล่าน้ัน กล็ าสกิ ขาออกมาเปน็ ฆราวาสเกอื บหมด หลานอยากทราบวา่ การบวช เปน็ พระภิกษใุ นพระพทุ ธศาสนา ได้ประโยชน์อะไรบ้างครับ” ลุงพรหมได้กล่าวว่า “คำ�ถามของหลานภาณุพงษ์ เป็น คำ�ถามท่ีดีมาก เพราะการบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา จดั วา่ เปน็ การประพฤตพิ รหมจรรย์ เขา้ กบั เรอ่ื งประพฤตพิ รหมจรรย์ ที่ลงุ ได้น�ำ มาอธิบายใหห้ ลานท้ังสองฟังมา ๓ คร้ังแลว้ 45
และเมื่อก่อนเข้าพรรษา หลานชายของลุงที่อยู่ต่างจังหวัด ช่ือพล ก็มาลาลุงและป้าไปบวชในพระพุทธศาสนา ดังที่ลุงได้ให้ หลานฐิติมาอ่านข้อความในบัตรลาบวชเม่ือก่อนเข้าพรรษา และ ขณะนีก้ ็ก�ำ ลงั บวชเปน็ พระภกิ ษอุ ยู่ช่ือ พระภกิ ษุพล เรอ่ื งการบวชเปน็ พระภกิ ษุ ทห่ี ลานภาณพุ งษถ์ ามลงุ จดั เปน็ การประพฤตพิ รหมจรรยข์ อ้ ท่ี ๑๐ คอื การปฏบิ ตั ศิ าสนธรรม ลงุ ได้ อธบิ ายประโยชนแ์ หง่ การปฏบิ ตั ธิ รรมขอ้ นโ้ี ดยยอ่ แลว้ ในครง้ั นจ้ี ะได้ อธบิ ายประโยชนข์ องการบวชมาใหห้ ลานทง้ั สองฟงั อยา่ งละเอยี ดตอ่ ไป หลานทง้ั สองเรยี นวชิ าพระพทุ ธศาสนาในโรงเรยี น คงไดท้ ราบ พระประวตั ิของพระพทุ ธเจา้ มาแลว้ ว่า สมยั พระองคเ์ ปน็ เจา้ ชายสทิ ธตั ถะ เสดจ็ ออกจากพระราชวงั ในกรงุ กบลิ พสั ด์ุ ไปทรงแสวงหาพระโพธญิ าณเพอ่ื ตรสั รเู้ ปน็ พระพทุ ธเจา้ พระองคไ์ ด้ทรงอธษิ ฐาน เพศบรรพชาเป็นนักบวช มีชอ่ื วา่ “ภิกษ”ุ ที่ฝัง่ แมน่ �ำ้ อโนมานที โดยไดป้ ลงพระเกศา และพระมสั สุ (ผมและหนวด) แล้วครองผา้ กาสาวพสั ตร์ (ผา้ ยอ้ มนำ�้ ฝาด) พระองคท์ รงบ�ำ เพญ็ เพยี รอยู่ ๖ ปจี งึ ไดต้ รสั รเู้ ปน็ พระพทุ ธเจา้ แลว้ ทรงเทศนาสง่ั สอนประชาชน ไดม้ ผี ศู้ รทั ธาเลอ่ื มใสเขา้ มาขอบวช เปน็ จ�ำ นวนมาก พระองคก์ ท็ รงอนญุ าตใหบ้ วชเปน็ พระภกิ ษุ ปฏบิ ตั ธิ รรม 46
ในพระพุทธศาสนา สามารถตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ตามพระองค์ แลว้ พระภกิ ษสุ งฆเ์ หลา่ นน้ั กไ็ ดเ้ ปน็ ก�ำ ลงั ชว่ ยพระองคใ์ นการเผยแพร่ ประกาศพระพทุ ธศาสนา จนมีผูน้ บั ถอื พระพทุ ธศาสนาจำ�นวนมาก พระองค์ทรงประกาศ พระพุทธศาสนา เปน็ เวลายาวนาน ถงึ ๔๕ ปี จนกระทงั่ พระพทุ ธศาสนา ประดษิ ฐานมั่นคง ในชมพูทวีป (ประเทศอนิ เดยี ) แล้วพระองค์ก็เสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษา เมอ่ื พระพทุ ธเจา้ เสดจ็ ดบั ขนั ธปรนิ พิ พานแลว้ พระภกิ ษสุ งฆ์ สาวกก็ประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อมา จนกระทั่ง พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศไทยของเรา และชาวไทย ก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำ�ชาติ โดยมีผู้บวช เป็นพระภิกษุสืบอายุพระพุทธศาสนาส่ังสอนประชาชนสืบมา จนถงึ ทุกวันนี้ ท่ีลุงนำ�เรื่องการผนวชของพระพุทธเจ้า และการบวชของ พระภิกษุสงฆ์สาวกมาเล่าให้หลานทั้งสองฟังตั้งแต่ต้นโดยย่อ กเ็ พอ่ื ให้ทราบว่า การบวชในพระพุทธศาสนา มีความสำ�คัญและยงั ประโยชน์ให้เกิดแก่ผู้เข้าไปบวชมาก เพราะผู้เข้าไปบวชได้เข้าไป ปฏิบัติหลักธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีจิตใจได้รับความ สขุ สงบ และมกี ายวาจาต้งั อยใู่ นระเบียบวนิ ัย นา่ เคารพเลื่อมใส 47
ผเู้ ขา้ ไปบวชเปน็ พระภกิ ษนุ น้ั แมจ้ ะบวชอยปู่ ระจ�ำ หรอื บวช อยชู่ ่ัวคราว ก็ไดร้ บั ประโยชนม์ ากนอ้ ยตามโอกาสที่ไดเ้ ขา้ ไปบวช เช่น พระสงฆท์ ที่ ่าน บวชศกึ ษาเลา่ เรียน จนมีความรู้เร่อื ง พระพุทธศาสนาดีแล้ว ท่านกอ็ ยู่ประจำ�สัง่ สอน สบื ตอ่ อายุพระพุทธศาสนาตอ่ ไป ส่วนพระภิกษุสงฆ์บางรูป ท่านไม่สามารถจะบวชสืบต่อไป ท่านก็ลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาส และฆราวาสผู้เคยบวชศึกษา เลา่ เรยี นมาแลว้ กม็ โี อกาสเขา้ มาสมคั รรบั ราชการและประกอบอาชพี อยา่ งอื่น บคุ คลเหลา่ นี้ จดั วา่ เป็นผูม้ ีความรู้และมคี วามประพฤตดิ ี ไดป้ ระสบความเจรญิ รงุ่ เรอื งกา้ วหนา้ ในอาชพี ทางฆราวาส เปน็ ก�ำ ลงั สร้างความเจรญิ ให้แก่ประเทศชาตเิ ปน็ อยา่ งดี การท่ีบุคคลผู้เป็นชายเข้าไปบวชในพระพุทธศาสนานั้น ไดก้ ลายเปน็ ประเพณที ด่ี งี ามของประเทศไทยเรา คอื ผชู้ ายมอี ายคุ รบ บวชตง้ั แต่ ๒๐ ปขี น้ึ ไปจะตอ้ งบวชเปน็ พระภกิ ษุ ในสมยั โบราณนยิ ม บวชตลอดฤดูฝน ๓ เดือน แล้วก็ลาสิกขาเป็นฆราวาสถือว่าผู้ได้ บวชเรียนเป็นพระแล้ว เป็นผู้ได้รับการอบรมดีแล้วจึงไปแต่งงาน มีครอบครวั ต่อไป แต่ในปจั จบุ นั ผ้ชู ายบางคนมีธรุ การงานประจำ� ไม่สามารถ จะปลกี ตวั ไดน้ านถึง ๓ เดอื น ก็บวชเพยี ง ๑๕ วันบ้าง ๗ วนั บา้ ง ตามโอกาสทจ่ี ะบวชได้ แตก่ ารบวชในพระพทุ ธศาสนานน้ั ถา้ มโี อกาส 48
Search